วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 04:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2008, 07:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คามินธรรม เขียน:
หลวงพ่อชา ก็พูดไว้เหมือนกันว่า ฌาน ไม่จำเป็นสำหรับการเจริญจิตภาวนา
อ้างคำพูด:

ในการปฏิบัติของเรา จำเป็นที่จะต้องเข้าถึงฌานหรือไม่

หลวงพ่อชา - ไม่ ฌานไม่ใช่เรื่องจำเป็น
ท่านต้องฝึกจิตให้มีความสงบ และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (เอกัคคตา) แล้วอาศัยอันนี้สำรวจตนเอง ไม่ต้องทำอะไรพิเศษไปกว่านี้

ถ้าท่านได้ฌานในขณะฝึกปฏิบัตินี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่อย่าไปหลงติดอยู่ในฌาน

หลายคนชะงักติดอยู่ในฌาน มันทำให้เพลิดเพลินได้มากเมื่อไปเล่นกับมัน
ท่านต้องรู้ขอบเขตที่สมควร ถ้าท่านฉลาดท่านก็จะเห็นประโยชน์และขอบเขตของฌาน
เช่นเดียวกับที่ท่านรู้ขั้นความสามารถของเด็ก และขั้นความสามารถของผู้ใหญ่

http://mahamakuta.inet.co.th/practice/m ... l#mk722_21


สาธุครับ

ขออนุญาต เสนอความเห็น เพิ่มเติม น่ะครับ
คำว่า "ฌาน ไม่จำเป็นในการเจริญวิปัสสนา" นั้นถูกต้องครับ
แต่ ฌาน ในความหมายนี้ หมายถึง โลกียะฌาน(เอกัคคตาจิตที่เป็นโลกียะ) ครับ

เพราะ ฌาน เป็นความหมายที่กว้าง
มีทั้ง โลกียฌาน(คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล ใช้คำว่า อารัมณูปนิชฌาน)
และ โลกุตระฌาน(คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล ใช้คำว่า ลักขณูปนิชฌาน) หรือ เอกัคคตาจิต ที่เป็นโลกุตระ

ที่บอกว่า โลกียะฌาน (เอกัคคตาจิตที่เป็นโลกียะ) ไม่จำเป็นต้องมีก่อนจึงจะเจริญวิปัสสนาได้นั้นถูกต้องครับ

เพราะ ที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ว่า

Quote Tipitaka:
ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ? จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ?

พระอานนท์ตอบ ว่า
“....ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
(หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
(หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป....
มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....”

ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐)
ตบ. ๒๑ : ๒๑๒ ตท. ๒๑ : ๑๘๓-๑๘๔
ตอ. G.S. II : ๑๖๒


คำอธิบาย เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า(เจริญสมถะอันมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น) มี ดังนี้ครับ

Quote Tipitaka:
[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อม เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น อย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่ ***จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนา นั้นเป็นอารมณ์ *** เพราะ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านเป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้

วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ


จะเห็นได้ว่า มี การเจริญวิปัสสนาโดยตรงเลย โดยไม่ต้องผ่านโลกียฌานก็ได้ (เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า) แต่ นี่ไม่ใช่การเจริญวิปัสสนาล้วน อย่างที่เข้าใจผิดกันในปัจจุบันครับ... และ ถ้าเจริญวิปัสสนาถูก โลกุตระฌานจะเป็นของที่ปรากฏตามมาเอง

อนึ่ง ฌานที่เป็นโลกุตระ (สัมมาสมาธิ) หรือ ตรงกับ สมาธินทรีย์ นั้น... เป็น องค์แห่งอริยมรรค ครับ.ถ้าปราศจาก องค์ธรรมนี้เสียแล้ว ย่อมไม่ครบองค์แห่งอริยมรรคครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2008, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คือ เมื่อกล่าวถึงคำว่า ฌาน

โดยทั่วไป ชาวพุทธจะมีความรู้สึกเป็น3แบบ

1. ฌาน มีความหมายเดียว
และ ในกลุ่มนี้ ก็จะมีแยกออกเป็น2ส่วน คือ

1.1 เชื่อว่า ฌาน มีความหมายเดียว และ ทั้งหมดล้วนเป็นมิจฉาสมาธิ(ปิดกั้นขัดขวางการเกิดปัญญา)ทั้งสิ้น เพราะ อดีตอาจารย์ดาบสของพระพุทธเจ้าไม่สามารถตรัสรู้ธรรมได้ ทั้งๆที่ได้ฌาน

1.2 เชื่อว่า ฌาน มีความหมายเดียว และ ทั้งหมดล้วนจัดเป็นสัมมาสมาธิ(สนับสนุนให้เกิดปัญญา)ทั้งสิ้น เพราะ เห็นว่าพระพุทธเจ้าในคืนตรัสรู้ทรงใช้ฌาน๔เป็นบาทแห่งการตรัสรู้

2. เห็นว่า ฌาน มีสองแบบคือ

เป็น โลกียฌาน(อารัมณูปนิชฌาน) ซึ่ง อาจจะนำไปสู่การเกิดปัญญา(บ่ายหน้าไปสู่ สัมมาสมาธิ)ก็ได้ ถ้าใช้ในทางที่ถูก หรือ ไม่นำไปสู่การเกิดปัญญา(เป็นมิจฉาสมาธิ)ก็ได้ถ้าไม่รู้จักใช้ประโยชน์ในทางที่ถูก

และ โลกุตระฌาน(ลักขณูปนิชฌาน ที่เป็น สัมมาสมาธิ)

บทความที่ ท่าน จขกท นำมาลงนี้.... ทางสำนักนี้ ดูเหมือนท่านจะเข้าใจฌาน(สมถะ)ในความหมายเดียว คือ ฌานแบบทิ้งดิ่งของอดีตอาจารย์ดาบสของพระพุทธเจ้า

เขายังไม่เข้าใจ ฌาน(เอกัคคตาจิต)ที่สามารถนำมาสนับสนุนการเจริญวิปัสสนา..ซึ่ง ฌานนี้บ่ายหน้าไปสู่สัมมาสมาธิ

และเขายังไม่เข้าใจ โลกุตระฌาน(เอกัคคตาจิตที่เป็นโลกุตระ) ที่ เป็นองค์ประกอบแห่งอริยมรรคสมังคี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2008, 09:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีบทความเรื่อง ฌาน ที่ทรงคุณค่า และ น่าสนใจ อยู่ที่กระทู้นี้ครับ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=19430


ใครสนใจ คำว่า ฌาน .... ไม่ควรพลาดโดยประการทั้งปวง


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2008, 09:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วน เรื่องที่ทางสำนักนั้น เขาเน้น การเจริญสติปัฏฐาน เป็นหลักนั้น...ผมเห็นด้วย100%ครับ


เพราะ มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรที่มีรายละเอียดในการปฏิบัติมากที่สุด
และ สัมมาสติ (เจริญภาวนาในหลักมหาสติปัฏฐาน) ก็ คือ องค์ธรรมหลักที่ขับเคลื่อนการเจริญอริยมรรค
อีกทั้ง การเจริญภาวนาในหลักมหาสติปัฏฐาน นั้น ก็มีทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา พร้อมบริบูรณ์ในตัวเอง

เพียงแต่ ทางสำนักนั้น เขาอาจจะเข้าใจคำว่า สมถะ ในเพียงด้านเดียว



อนึ่ง การเจริญภาวนาในหลักมหาสติปัฏฐาน(เจริญสัมมาสติ)นั้น
ถ้า เจริญถูกต้อง จนเป็นสตินทรีย์(สติที่เป็นใหญ่) ก็ จะนำให้ เกิด สมาธินทรีย์(สมาธิที่เป็นใหญ่ หรือ เอกัคคตาจิตแบบโลกุตระ)ขึ้น แน่นอน

ศรัทธาที่เป็นใหญ่(สัทธินทรีย์) ย่อมยังให้บังเกิด ความเพียรที่เป็นใหญ่(วิริยินทรีย์)
ความเพียรที่เป็นใหญ่(วิริยินทรีย์) ย่อมยังให้บังเกิด สติที่เป็นใหญ่(สตินทรีย์)
สติที่เป็นใหญ่(สตินทรีย์) ย่อมยังให้บังเกิด สมาธิที่เป็นใหญ่(สมาธินทรีย์)
สมาธิที่เป็นใหญ่(สมาธินทรีย์) ย่อมยังให้บังเกิด ปัญญาที่เป็นใหญ่(ปัญญิณทรีย์)


จาก สัทธาสูตร

[๑๐๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักยึดหน่วงนิพพานให้
เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต.

[๑๐๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่า
อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า
จักรู้ชัดอย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้นอันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดไม่ปรากฏแก่
เหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชาเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความ
ดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืดคืออวิชชา นั้นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีต
คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด
ความดับ นิพพาน.

[๑๐๑๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์




เมื่อจิตมีสติสืบเนื่อง เป็นมหาสติ (หรือ สตินทรีย์)... จิตย่อมตั้งมั่นไม่ไหลไปกับอารมณ์(เอกัคคตาจิต หรือ สมาธินทรีย์)สามารถเห็นสภาวธรรม ตามเป็นจริงได้.... ปัญญาดับทุกข์ที่แท้จริง(หรือ ปัญญิณทรีย์) จึงจะบังเกิดขึ้นได้

ปัญญิญทรีย์ ย่อมไม่สามารถมีได้ หากปราศจากสัมมาสมาธิ(เอกัคคตาจิตแบบโลกุตระ หรือ สมาธินทรีย์)

เอกัคคตาจิตแบบโลกุตระ หรือ สมาธินทรีย์ ย่อมไม่สามารถมีได้ หากปราศจาก สตินทรีย์(สัมมาสติ)

และ สมาธิ ที่เป็นผลมาจากการเจริญภาวนาตามหลักการแห่งสติปัฏฐาน จึง มั่นใจได้ว่า เป็นสัมมาสมาธิ แน่นอน



ดังนั้น การเจริญภาวนาตามหลักการมหาสติปัฏฐาน จึงเป็น คำตอบที่สำคัญในเรื่อง การดับทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2008, 14:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อีกประการหนึ่ง ที่ผมเห็นด้วย กับ ทางสำนัก ที่ เน้นการเจริญภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน

เพราะ การเจริญภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน ไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่อง นิมิต เท่าใดนัก
โอกาสจะไปหลงนิมิต จนเพี้ยนหลุดโลก(ปรากฏให้เห็นบ่อยๆ ) ก็ย่อมน้อยกว่า การเจริญสมาธิภาวนาแบบที่อาศัยภาพนิมิต แน่ๆ


ก็ ในเมื่อ การเจริญภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน เช่น กายคตาสติ ก็สามารถเกิดสมาธิขั้นฌานได้(จากพุทธพจน์)เช่นกัน และ เป็นวิปัสสนาอยู่ในตัว
อีกทั้งปลอดภัยต่อผู้ภาวนา
และ มีคำรับรองเป็นพุทธพจน์ที่ชัดเจนและละเอียดมาก....
ผมจึงเห็นด้วย กับสำนักที่เน้นการเจริญภาวนาตามหลักการแห่งสติปัฏฐาน

แต่ ก็ไม่เห็นด้วย ถ้า จะกล่าวถึง สมถะ ในเพียงแง่มุมที่เป็นลบอย่างเดียว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2008, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฎฐาน หมายถึง
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่าง ๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่างคือ ๑.กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย ๒.เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา, ๓.จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต ๔.ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม; เรียกสั้น ๆ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม
(คัดความจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)

ที่ข้าพเจ้านำมาให้ท่านทั้งหลาย ได้อ่าน และมิใช่ให้อ่านแต่เพียงอย่างเดียว ให้ท่านทั้งหลายพิจารณาด้วยว่า ความหมายทางศัพท์ภาษาในสมัยโบราณนั้น ความจริงแล้วเมื่อแปลหรือตีความหมายเป็นภาษาไทยก็พอได้ใจความ และสามารถทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจได้ในระดับหนึ่ง
แต่บุคคลผู้เรียนรุ้ ในเรื่อง กาย เวทนา จิต ธรรม หรือสติปัฎฐานสี่ นั้น หาได้มีความรู้ ความเข้าใจ อย่างถ่องแท้ แต่ดันทุรัง (ขอใช้คำนี้) ต่างคนต่างคิดต่างคนต่างเข้าใจ และต่างคนต่างสอน จนมั่วไปหมด
ที่พวกคุณกล่าวไปทั้งหมดนั้น ถูกบ้างผิดบ้าง ไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ก็ยังเขียนกันอุตลุต
ถ้าข้าพเจ้าเขียนบอกอะไรไป มีบางคน หาว่าข้าพเจ้าโอ้อวด อวดเก่ง ไม่ได้คิดพิจารณาให้เป็นไปตามหลักความจริง
ข้าพเจ้าบอกแล้วว่า หลักธรรมต่างๆที่ข้าพเจ้าเคยเขียนสอนไว้ในหลายๆเวบฯ เป็นแม่แบบ เป็นบรรทัดฐาน และไม่ได้คัดค้านหรือขัดกับสิ่งที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก
เพียงแต่ศัพท์ภาษาเป็นภาษาไทย และคนละยุคคนละสมัย จะว่าไป ก็ไม่ใช่ความแตกต่าง
ลองอ่าน ความหมายของสติปัฎฐาน ข้างต้น แล้วพิจารณาดูเถิด ยังมีอีกมากมาย ที่ข้าพเจ้าไม่อยากเขียน เพราะมีความคิดเห็นว่า เขียนไป ก็คงจะถูกหาว่า ไปขัดคัดค้านสิ่งที่มีอยู่เดิม เช่น กายคตาสติ หมายถึง สติที่เป็นไปในกาย แต่กลับให้ความหมายหรือเข้าใจว่า "สติอันพิจารณากายให้เห็นตามสภาพที่มีส่วนประกอบ ซึ่งล้วนเป็นของไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ ทำให้เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงใหลมัวเมา"
ซึ่งความจริงแล้ว คำว่า กายคตาสตินั้น หมายถึง การเรียนรู้ หรือ การทำความเข้าใจ เกี่ยวกับการระลึกได้ การนึกถึง ฯลฯ ให้เป็นไปตามระบบการทำงาน แห่งสรีระร่างกาย อย่างนี้เป็นต้น
และเพราะด้วยเหตุนี้ ความมั่วในการสอน ความมั่วในการเรียนการสอน ทางพุทธศาสนาจึงเกิดขี้นเป็นเวลานาน ด้วยอวิชชา คือ ความไม่รู้ แต่อวดอุตริฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2008, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 23:07
โพสต์: 151

ที่อยู่: BKK.

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยเบื้องต้น แวะมามีแนวคิดการปฏิบัติธรรมเช่นเดียวกับหลวงปู้ดุลย์และสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี เพราะวัดที่เคยบวชสอนแวะมาให้รู้จักใจตัวเอง เห็นความทุกข์ในการเวียนว่ายตายเกิด และลดอัตตา

.....................................................
จงระมัดระวังกาย วาจา ใจ ไม่ให้ไปทำร้ายใคร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


แวะมา เขียน:
โดยเบื้องต้น แวะมามีแนวคิดการปฏิบัติธรรมเช่นเดียวกับหลวงปู้ดุลย์และสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี เพราะวัดที่เคยบวชสอนแวะมาให้รู้จักใจตัวเอง เห็นความทุกข์ในการเวียนว่ายตายเกิด และลดอัตตา


ตอบ...
ที่คุณกล่าวมา เป็นความคิดที่บิดเบือนจากความเป็นจริงในพุทธศาสนา
พุทธศาสนา ไม่ได้สอนให้เห็นความทุกข์ในการเวียนว่ายตายเกิด และไม่ได้สอนให้ลดอัตตา
แต่พุทธศาสนา สอนให้รู้จักตนเองและผู้อื่น คำว่ารุ้จักตนเองและผู้อื่น หมายความว่า สอนให้รู้ว่า มนุษย์และสิ่งมีชีิวิตอื่นใดนั้น มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นธรรมดา ,มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา และจากคำว่า เกิด แก่ เจ็บตาย ยังเปลี่ยนเป็นคำพูด หรือเปลี่ยนเป็นภาษา ได้อีกว่า "สรรพสิ่งทัังที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรม นามธรรม ล้วน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป ไม่ช้า ก็เร็ว เป็นธรรมดา
จริงอยู่ คำว่าความทุกข์ นั้น หมายถึง ความโลภ ความโกรธ ความหลง แต่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็สามารถทำให้เกิดการหลุดพ้นได้ ในระดับหนึ่ง ต่อเมื่อเข้าใจในหลักธรรมดีแล้ว ปฏิบัติดีแล้ว ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็จะสามารถขจัดออกจากร่างกายได้

ที่กล่าวไปทั้งหมด ข้างต้น เป็นเพียง หลักวิชชาการทางพุทธศาสนา จะเรียกว่า เป็นกระพี้ คือส่วนอธิบายให้เกิดความเข้าใจในหลักทางพุทธศาสนา ก็ได้ ขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 23:07
โพสต์: 151

ที่อยู่: BKK.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอรับฟังค่ะ คุณBuddha :b8:
และจะเอาไปพิจารณาอีกทีนะค่ะ
:b12: :b12: :b12: :b12:

.....................................................
จงระมัดระวังกาย วาจา ใจ ไม่ให้ไปทำร้ายใคร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


แวะมา เขียน:
ขอรับฟังค่ะ คุณBuddha :b8:
และจะเอาไปพิจารณาอีกทีนะค่ะ
:b12: :b12: :b12: :b12:


ถ้าหากคุณต้องการที่จะพิจารณาเพื่อการขจัดอาสวะแห่งกิเลสให้เบาบางลงบ้าง หรือต้องการที่จะพิจารณาเพื่อต้องการให้ใจสงบ
ข้าพเจ้าแนะนำให้คุณพิจารณา ในเรื่อง สมถะ และวิปัสสนา กัมมัฏฐาน เพื่อประกอบและทำความเข้าใจในการปฏิบัติธรรม ตามหลักพุทธศาสนา ดังต่อไปนี้

สมถะ กัมมัฏฐาน และ วิปัสสนา กัมมัฏฐาน แบบง่ายๆ
สมถะ กัมมัฏฐาน หมายถึง การปฏิบัติสมาธิ แบบธรรมดา คือ การเอาใจจดจ่อ หรือ การเอาใจฝักใฝ่ หรือการเอาใจเข้าไปผูกอยู่ ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อไม่ให้เกิดความคิด เพื่อไม่ให้เกิด อารมณ์ หรือเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึก หรือ เพื่อไม่ใช้เกิดสภาพสภาวะจิตใจในรูปแบบต่างๆกัน เช่น ดีใจ เสียใจ ห่วงหา วิตก กังวล ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น
รวมความแล้ว สมถะ กัมมัฏฐาน คือ การฝึกควบคุมสรีระร่างกาย ในด้าน ความคิด อารมณ์ ความรู้สึกฯลฯ มิให้ฟุ้งซ่าน คือให้สงบ
ผลแห่งการฝึกปฏิบัติ สมถะ กัมมัฏฐาน หรือสิ่งที่ได้รับจากการปฏิบัติ สมถะ กัมมัฏฐาน ก็คือ สติ- สัมปชัญญะ ทำให้สมองสติปัญญา ดีขึ้น ฯลฯ


วิปัสสนา กัมมัฏฐาน หมายถึง การปฏิบัติสมาธิ โดยการเอาใจจดจ่อ หรือเอาใจฝักใฝ่ หรือการเอาใจเข้าไปผูกอยู่ในหลักวิชชาการอันเป็นญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา และหรือ หลักธรรมะทั้งหลาย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติได้ หรือจะเรียกแบบภาษาทั่วๆไปว่า "ปัญญา"
วิปัสสนา กัมมัฏฐาน จะต้องประกอบ ด้วยสมถะ กัมมัฏฐาน คือต้องมีการปฏิบัติ สมถะ กัมมัฏฐานมาดีแล้ว จึงจะสมควรฝึกวิปัสสนา หรือจะกล่าวอีกในรูปแบบหนึ่ง ก็คือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นขั้นตอนต่อจากสมถะ กัมมัฏฐาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 14:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 23:07
โพสต์: 151

ที่อยู่: BKK.

 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: ขอบคุณค่ะ

.....................................................
จงระมัดระวังกาย วาจา ใจ ไม่ให้ไปทำร้ายใคร


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 91 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร