ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ขอความรอบรู้เพิ่มเติมจากคุณพลศักดิ์ วังวิวัฌน์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=19132
หน้า 4 จากทั้งหมด 12

เจ้าของ:  พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ [ 25 พ.ย. 2008, 11:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอความรอบรู้เพิ่มเติมจากคุณพลศักดิ์ วังวิวัฌน์

คุณ"กรัชกาย"ครับ



บุคคลทั้งหลายถึงที่สุดโลก ออกจากโลกได้แล้ว จึงชื่อว่าถึงพระนิพพาน

โลกก็คือ ที่อยู่ของจิตอวิชชา อายตนะของจิตอวิชชา คือ เบญจขันธ์
นิพพานก็คือ ที่อยู่ของจิตวิชชา(บริสุทธิ์) อายตนะของจิตพุทธะ คือ ธรรมขันธ์

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 25 พ.ย. 2008, 14:28 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอความรอบรู้เพิ่มเติมจากคุณพลศักดิ์ วังวิวัฌน์

ขอบคุณครับ :b1:
ขอความรู้ประเด็นอื่นต่อนะครับ ที่ขอคำอธิบายคำว่า "รูป" ในขันธ์ 5 กับคำว่า "รูป" ที่ รูป (รส กลิ่น เสียง ฯลฯ) เหมือนหรือต่างกัน หากเหมือนๆกันอย่างไร ถ้าต่างกันๆกันยังไง คุณพลศักดิ์ยังไม่ตอบนะครับ ช่วยตอบชัดๆเพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษาทีครับ เหมือนหรือต่างกัน มีผู้สงสัยกันมากครับ


http://board.palungjit.com/showthread.php?t=160893

เจ้าของ:  พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ [ 26 พ.ย. 2008, 15:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอความรอบรู้เพิ่มเติมจากคุณพลศักดิ์ วังวิวัฌน์

กรัชกาย เขียน:
ขอบคุณครับ :b1:
ขอความรู้ประเด็นอื่นต่อนะครับ ที่ขอคำอธิบายคำว่า "รูป" ในขันธ์ 5 กับคำว่า "รูป" ที่ รูป (รส กลิ่น เสียง ฯลฯ) เหมือนหรือต่างกัน หากเหมือนๆกันอย่างไร ถ้าต่างกันๆกันยังไง คุณพลศักดิ์ยังไม่ตอบนะครับ ช่วยตอบชัดๆเพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษาทีครับ เหมือนหรือต่างกัน มีผู้สงสัยกันมากครับ


http://board.palungjit.com/showthread.php?t=160893



"รูป" ในขันธ์ 5 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ หรือ มหาภูตรูป 4

อายตนะภายใน 6 คือ. 1. ตา 2. หู 3. จมูก 4. ลิ้น 5. กาย 6. ใจ และอายตนะภายนอก ๖
รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์ที่เกิดกับใจ

กิเลส คือ โลภ โกรธ หลง

มันทำงานดังนี้ครับ

เช่น ความโลภ เกิดจากเมื่อขันธ์ 5 ไปเจอเงินที่ทำตกไว้ 1,000 บาท

การเจอเงินก็คือ เงินคือรูป เป็นอายตนะภายนอก
การเห็นด้วยตา เป็นอายตนะภายใน
พอมันกระทบกัน เราก็เกิดการปรุงแต่งในจิตว่า อยากได้เงิน 1,000 บาทนั้น ความโลภ(อารมณ์ที่เกิด
กับใจ) ก็เกิดขึ้น

ความโกรธหรือโทสะ ก็เหมือนกันคับ เช่น เมื่อขันธ์5 ของคนหนึ่ง ถูกคนอื่นด่า การได้ยินเสียงเป็นอายตนะภายนอก การรับรู้เสียงด่าด้วยหู เป็นอายตนะภายใน เมื่ออายตนะภายในและภายนอก
ประสานกัน อารมณ์จึงเกิดกับใจอีกทอดหนึ่ง เช่น โกรธ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 26 พ.ย. 2008, 18:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอความรอบรู้เพิ่มเติมจากคุณพลศักดิ์ วังวิวัฌน์

(ตามแนวอภิธรรมแบ่ง รูป 28 เจตสิก 52 จิต 89 หรือ 121)

1. รูป มี 28 คือ
1) มหาภูตรูป 4 (เรียกง่ายๆว่า ธาตุ 4)
1. ปฐวีธาตุ = ธาตุดิน (สภาพที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่)
2. อาโปธาตุ = ธาตุน้ำ (สภาพที่ดึงดูดซาบซึม )
3. เตโชธาตุ = ธาตุไฟ (สภาพที่แผ่ความร้อน)
4. วาโยธาตุ = ธาตุลม (สภาพที่สั่นไหว)

2) อุปาทายรูป 24 คือ (รูปอาศัยหรือรูปที่สืบเนื่องมาจากมหาภูตรูป)
-ปสาทรูป มี 5 คือ
1. ตา
2. หู
3. จมูก
4. ลิ้น
5. กาย
(จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย)

-อารมณ์มี 4 คือ
1.รูป -(สีต่างๆ = สิ่งที่พึงเห็นด้วยจักขุปสาท)
2.เสียง
3.กลิ่น
4.รส
(รูปะ สัททะ คันธะ รสะ; (โผฏฐัพพะ ไม่นับเพราะตรงกับ ปฐวี เตโช และวาโย)

-ความเป็นหญิง (อิตถีภาวะ= อิตถินทรีย์ )
-ความเป็นชาย (ปุริสภาวะ = ปุริสินทรีย์)
-ที่ตั้งของจิต (หทัยวัตถุ)
-การแสดงให้รู้ความหมายด้วยกาย (กายวิญญัติ)
-การแสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจา (วจีวิญญัติ)
-ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต)
-ช่องว่าง (อวกาศ)
-ความเบาของรูป (รูปลหุตา)
-ความอ่อนหยุ่นของรูป (รูปมุทุตา)
-ภาวะที่ควรแก่การงานของรูป (รูปกัมมัญญตา)
-ความเจริญหรือขยายตัวของรูป (รูปอุปจยตา)
-การสืบต่อของรูป (รูปสันตติ)
-ความเสื่อมตัว (ชรตา)
-ความสลายตัว (อนิจจตา)
-และ อาหาร (หมายถึง โอชา)
-คำว่า หทัยวัตถุ แปลกันว่าหัวใจ และถือว่า เป็นที่ทำงานของจิตนั้น
เป็นมติในคัมภีร์รุ่นหลัง ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก

(ในรูป 28 นั้น แบ่งเป็น โอฬาริกรูป กับ สุขุมรูปอีก)
สุขุมรูป มี 16 ได้แก่ อาโป อิตถีภาวะ ปุริสภาวะ หทัยวัตถุ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ชีวิตินทรีย์ อาหารรูป อากาศ

วิการรูป 3 คือ ลหุตา มุทุตา กัมมัญญตา และ ลักขณะรูป 4 อุปจยตา สันตติ ชรตา อนิจจตา.
สุขุมรูป-เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนิทัสสนอัปปฏิฆรูป –รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบหรือถูกต้อง
ไม่ได้ อันนับเนื่องในธรรมายตนะ)

ศึกษาต่อที่

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14614

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 29 พ.ย. 2008, 14:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอความรอบรู้เพิ่มเติมจากคุณพลศักดิ์ วังวิวัฌน์

อ้างคำพูด:
พระพุทธองค์ตรัสว่า

"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเป็นธรรม"

มารในใจของสมมุติสงฆ์อรรถกถาจารย์ ก็ทำให้พวกเขาคิดตีความเป็นอุปมาอุปมัยอะไรบ้าๆบอๆไปอีกพระพุทธองค์ตรัสอีกว่า พระองค์เป็นพรหมกาย เป็นธรรมกาย เป็นพรหมภูต พวกนี้ก็ตีความ
เป็นอุปมาอุปมัยอีก
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ 29 พ.ย. 51 06:43


ตามหากระทู้คุณพลศักดิ์ ไปพบอยู่ในห้องดับจิต :b2:

viewforum.php?f=12

ที่ขอความรู้ไว้ยังไม่ได้คำตอบเลย จึงนำมาสนทนาที่นี่ต่อ

คุณยกมากล่าวเสมอๆ ว่า


"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเป็นธรรม"


คุณพลศักดิ์ ตีความคำว่า “เห็นธรรม” อย่างไร ธรรมในที่นี้ หมายถึงข้อธรรมใด ครับ

เจ้าของ:  พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ [ 29 พ.ย. 2008, 21:12 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอความรอบรู้เพิ่มเติมจากคุณพลศักดิ์ วังวิวัฌน์

กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
พระพุทธองค์ตรัสว่า


"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเป็นธรรม"


คุณพลศักดิ์ ตีความคำว่า “เห็นธรรม” อย่างไร ธรรมในที่นี้ หมายถึงข้อธรรมใด ครับ


เห็นธรรมคือ ปฏิบัติจนเห็นความจริงว่า ทุกสรรพสิ่งในโลกและจักรวาล รวมทั้งใน 3 ภพ ล้วนแล้ว
แต่เป็นอนัตตา เมือปฏิบัติได้ถึงขั้นนั้น อัตตาทิฏฐิ หรือ อัตตาอุปทานจะดับไป สิ่งที่เกิดขึ้นจะมีอัตตาแท้จริงออกมา อัตตาแท้จริงนั้นเรียกว่า ธรรมกาย อสังขตธาตุ พุทธะ หรือพระวิสุทธิเทพ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 29 พ.ย. 2008, 21:50 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอความรอบรู้เพิ่มเติมจากคุณพลศักดิ์ วังวิวัฌน์

อ้างคำพูด:
"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเป็นธรรม"


พุทธพจน์ดังกล่าวตรัสแก่พระวักลิมาจากบาลีท่อนนี้ โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ - ผู้ใดเห็นธรรม
ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา (ตถาคต)

ส่วนที่เกินมา (ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเป็นธรรม) ตรงนี้ไม่มี

ธรรมในที่นี้ หมายถึงปฏิจจสมุปบาท ดังพุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้น ย่อมเห็นธรรม
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น ย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท”
(ม.มู.12/346/359)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 30 พ.ย. 2008, 11:17 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอความรอบรู้เพิ่มเติมจากคุณพลศักดิ์ วังวิวัฌน์

(เพื่อให้เห็นเค้าร่างปฏิจจสมุปบาท จะนำมาลงตรงนี้ซักเล็กน้อย)

ปฏิจจสมุปบาท-การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆจึงเกิดมี

ตัวกฎหรือตัวสภาวะ

ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมอีกหมวดหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในรูปของกฎธรรมชาติ
(มัชเฌนธรรมเทศนา) หรือหลักความจริงที่มีอยู่โดยธรรมดา ไม่เกี่ยวกับการอุบัติของพระศาสดาทั้งหลาย

พุทธพจน์แสดงปฏิจจสมุปบาทในรูปของกฎธรรมชาติว่าดังนี้

“ตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุ (หลัก) นั้น ก็ยังคงมีอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม คือ
หลักอิทัปปัจจยตา *

ตถาคตตรัสรู้ เข้าถึงหลักนั้นแล้ว จึงบอก แสดง วางเป็นแบบ ตั้งเป็นหลัก เปิดเผย แจกแจง ทำให้เข้าใจง่าย และจึงตรัสว่า “จงดูสิ”
“เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ”

“ภิกษุทั้งหลาย ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา คือหลักอิทัปปัจจยตา ดังกล่าวมาแล้วนี้แล เรียกว่า
ปฏิจจสมุปบาท” (สํ.นิ. 16/61/30 )


ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาท จะเห็นได้จากพุทธพจน์ว่า



“ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้น ย่อมเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น ย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท”

(ม.มู.12/346/359)

“ภิกษุทั้งหลาย แท้จริง อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อใด อริยสาวกรู้ทั่วถึงความเกิดและความดับของโลกตามที่มันเป็นอย่างนี้ อริยสาวกนี้ เรียกว่าเป็นผู้มีทิฐิสมบูรณ์ก็ได้ ผู้มีทัศนะสมบูรณ์ก็ได้ ผู้ลุถึงสัทธรรมนี้ก็ได้ ว่าผู้ประกอบด้วยเสขญาณก็ได้ ผู้ประกอบด้วยเสขวิชชาก็ได้ ผู้บรรลุกระแสธรรมแล้วก็ได้ พระอริยะผู้มีปัญญาชำแรกกิเลสก็ได้ ผู้อยู่ชิดประตูอมตะก็ได้”
(สํ.นิ. 16/184/-187/94-96 ฯลฯ )

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 30 พ.ย. 2008, 11:20 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอความรอบรู้เพิ่มเติมจากคุณพลศักดิ์ วังวิวัฌน์

* อิทัปปัจจยตา –เป็นชื่อหนึ่งของหลักปฏิจจสมุปบาท แปลตามตัวอักษรว่า การประชุมปัจจัยของสิ่ง
เหล่านี้ คือ ภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย
ในอภิธรรม นิยมเรียกว่า ปัจจยาการ แปลว่า อาการที่เป็นปัจจัย (mode of
conditionality)

ตถตา -ภาวะที่เป็นอย่างนั้น (objectivity)

อวิตถตา -ภาวะที่ไม่คลาดเคลื่อนไปได้ (necessity)

อนัญญถตา- ภาวะที่ไม่เป็นอย่างอื่น (invariability)

อิทัปปัจจยตา-ภาวะที่มีสิ่งนี้ๆเป็นปัจจัย (conditionality)

ปฏิจจสมุปบาท-การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆเกิดขึ้น (dependent origination)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 30 พ.ย. 2008, 11:23 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอความรอบรู้เพิ่มเติมจากคุณพลศักดิ์ วังวิวัฌน์


“สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้จักธรรมเหล่านี้ รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านี้
รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักทางดำเนินถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้ ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นแล จึงควรแก่การยอมรับว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ และยอมรับได้ว่าเป็นพราหมณ์
ในหมู่พราหมณ์ และจึงได้ชื่อว่า ได้บรรลุประโยชน์ของความเป็นสมณะ และ ประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

(สํ.นิ. 16/41,94-5,306-8/19,53,158 )

อย่างไรก็ดี มีพุทธพจน์ตรัสเตือนไว้ ไม่ให้ประมาทหลักปฏิจจสมุปบาทนี้ว่าเป็นหลักเหตุผล
ที่เข้าใจง่าย เพราะเคยมีเรื่องที่พระอานนท์เข้าไปกราบทูลพระองค์และได้ตรัสตอบ ดังนี้

“น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาเลยพระเจ้า หลักปฏิจจสมุปบาทนี้ ถึงจะเป็นธรรมลึกซึ้งและปรากฏเป็นของลึกซึ้ง
ก็ยังปรากฏแก่งข้าพระองค์ เหมือนเป็นธรรมง่ายๆ”

“อย่ากล่าวอย่างนั้น อย่ากล่าวอย่างนั้นอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้งและปรากฏเป็นของ
ลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดหลักธรรมข้อนี้แหละ หมู่สัตว์นี้จึงวุ่นวายเหมือนเส้นด้ายที่ขอด
กันยุ่ง จึงขมวดเหมือนกลุ่มด้ายที่เป็นปม จึงเป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่าย และหญ้าปล้อง จึงผ่านพ้น อบาย
ทุคติ วินิบาต สังสารวัฏ ไปไม่ได้” (สํ.นิ. 16/224-5/110-1)


ผู้ศึกษาพุทธประวัติแล้ว คงจำพุทธดำริเมื่อครั้งหลังตรัสรู้ใหม่ๆ ก่อนเสด็จออกประกาศพระศาสนาได้ว่า
ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าน้อมพระทัยไปในทางที่จะไม่ทรงประกาศธรรม ดังความในพระไตรปิฎกว่า

“ภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความดำริเกิดขึ้นว่า “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นของลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบระงับ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกะ ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้”

“ก็แหละ หมู่ประชานี้ เป็นผู้เริงรมย์อยู่ด้วยอาลัย * ยินดีอยู่ในอาลัย ละเริงอยู่ในอาลัย
สำหรับหมู่ประชาผู้เริงรมย์ รื่นระเริงอยู่ในอาลัย (เช่นนี้) ฐานะอันนี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก
กล่าวคือ หลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสมุปบาท ถึงแม้ฐานะอันนี้ ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ
ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน ก็ถ้าเราพึงแสดง
ธรรม และคนอื่นไม่เข้าใจซึ่งต่อเรา ข้อนั้นก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบาก
เปล่าแก่เรา” (วินย. 4/7/8; ม.มู.12/321/323)
........

* อาลัย -ความผูกพัน ความยึดติด เครื่องอิงอาศัย ชีวิตที่ขึ้นต่อปัจจัยภายนอก

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 30 พ.ย. 2008, 11:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอความรอบรู้เพิ่มเติมจากคุณพลศักดิ์ วังวิวัฌน์

พุทธดำริตอนนี้ กล่าวถึงหลักธรรม 2 อย่าง คือ ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน เป็นการย้ำทั้งความยากของ

หลักธรรมข้อนี้ และความสำคัญของหลักธรรมนี้ ในฐานะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และจะทรงนำมาสอนแก่หมู่

ประชา

เจ้าของ:  พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ [ 30 พ.ย. 2008, 17:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอความรอบรู้เพิ่มเติมจากคุณพลศักดิ์ วังวิวัฌน์

“ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้น ย่อมเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น ย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท”

ปฏิจจสมุปบาทไม่ได้อยู่ที่การอ่านท่องจำจากตำรา และในตำราที่คุณเรียน ก็ไม่ใช่
ปฏิจจสมุปบาทแท้จริงด้วย ผู้ที่จะเห็นปฏิจจสมุปบาทของแท้ได้ ต้องปฏิบัติถึงขั้นอริยะบุคคล
ขั้นอรหันต์เท่านั้น

แม้แต่พระอานนท์ตอนนั้นเป็นพระโสดาบันแล้ว ท่านนึกว่าตนเองรู้ แต่จริงๆ พระอานน์มองปฏิจจสมุปบาท
แตกต่างจากพระพุทธองค์ที่ทรงหมดกิเลสแล้วเลย

พระอานนท์จึงได้กราบทูลว่า

“น่าอัศจรรย์นัก พระเจ้าข้า” ปฏิจจสมุปบาท นี้เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง แต่ถึงอย่างนั้นก็
ปรากฏเหมือนเป็นธรรมง่าย ๆ แต่ข้าพระองค์”


แต่พระพุทธองค์ตรัสห้ามในทันทีว่า

“อานนท์! เธออย่าพูดอย่างนี้ อานนท์! เธออย่าพูดอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง........"

เจ้าของ:  พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ [ 30 พ.ย. 2008, 17:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอความรอบรู้เพิ่มเติมจากคุณพลศักดิ์ วังวิวัฌน์

แต่เฉพาะคำว่า วิญญาณ สมมุติสงฆ์ก้ยังตีความไม่ได้เลย

อวิชชา เป็นเหตุให้เกิดสังขาร สังขารเป็นเหตุให้เกิดวิญญาณ +++ วิญญาณตัวนี้คือ วิญญาณธาตุ

วิญญาณ ทำให้เกิดนามรูป +++ นามรูป ก็มีวิญญาณอยู่ เป็นวิญญาณขันธ์

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 02 ธ.ค. 2008, 17:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอความรอบรู้เพิ่มเติมจากคุณพลศักดิ์ วังวิวัฌน์


พุทธธรรมนั้น ถ้ารู้แจ้งเข้าใจจริงแล้ว เมื่อพูดชี้แจงอธิบาย แม้จะไม่ใช้ศัพท์ธรรมคำบาลีสักคำเดียว ก็
เป็นพุทธธรรม
แต่ตรงข้าม ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจ หรือรู้ผิดเข้าใจผิด แม้จะพูดออกมาทุกคำล้วนศัพท์บาลี
ก็หาใช่พุทธธรรมไม่ กลายเป็นแสดงลัทธิอื่นที่ตนสับสนหลงผิดไปเสีย :b1: :b12:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 02 ธ.ค. 2008, 17:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอความรอบรู้เพิ่มเติมจากคุณพลศักดิ์ วังวิวัฌน์


อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่รู้เข้าใจด้วยกันแล้ว คำศัพท์กลับเป็นเครื่องหมายรู้ที่ช่วยสื่อถึงสิ่งที่เข้าใจได้
โดยสะดวก พูดกันง่าย เข้าใจทันที หรือแม้สำหรับผู้ศึกษาประสงค์จะเข้าใจ หากอดทนเรียนรู้คำศัพท์สักหน่อย คำศัพท์เหล่านั้นแหละจะเป็นสื่อแห่งการสอนที่ช่วยให้เข้าใจพุทธธรรมได้รวดเร็ว
หากจะชี้แจงสั่งสอนกันโดยไม่ใช่คำศัพท์เลย ในที่สุดก็จะต้องมีศัพท์ธรรมภาษาอื่น รูปอื่น ชุดอื่น เกิดขึ้นใหม่อยู่ดี แล้วข้อนั้นอาจจะนำไปสู่ความสับสนยิ่งขึ้น
โดยนัยนี้ คำศัพท์อาจเป็นสื่อนำไปสู่ความเข้าใจพุทธธรรมก็ได้ เป็นกำแพงกั้นไม่ให้เข้าถึงพุทธธรรมก็ได้
เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว พึงนำศัพท์ธรรมมาใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน คือ รู้เข้าใจ ใช้ถูกต้อง รู้กาลควรใช้ไม่ควรใช้ ให้สำเร็จประโยชน์ แต่ไม่ควรยึดติดถือคลั่ง

หน้า 4 จากทั้งหมด 12 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/