วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 175 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2008, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวะนิพพาน

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17297

เมื่อสังสารวัฏฏ์หายไป ก็กลายเป็นวิวัฏฏ์ขึ้นเองทันที เป็นของเสร็จพร้อมกันในตัว ไม่ต้องเดินทางออกจากสังสารวัฏฏ์ที่แห่งหนึ่ง ไปสู่วิวัฏฏ์อีกแห่งหนึ่ง เว้นแต่จะเป็นการพูดในเชิงภาพพจน์ หรือ อุปมา
เมื่ออวิชชา ตัณหา อุปาทานดับไป นิพพานก็ปรากฏแทนที่พร้อม กัน จะพูดให้มั่นเข้าอีกก็ว่า การดับอวิชชา ตัณหา อุปาทานนั่นแหละคือนิพพาน

(ไม่พึงยึดติดศัพท์ สังสารวัฏฏ์ - ในที่นี้หมายถึงกิเลสวัฏฏ์ เรามักเข้าใจศัพท์นนี้ว่า หมายการเวียนตายเวียนเกิดในแต่ละภพชาติชั่วชีวิตหนึ่งๆเท่านั้น)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2008, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



มีพุทธพจน์ที่ตรัสเกี่ยวกับนิพพานไว้อีกแห่งหนึ่ง (ลิงค์นั้น) แล้วมีผู้เข้าใจศัพท์บาลี “อายตนะ”
ผิด โดยแปลว่า แดน เหมือนที่แปล “อายตนะ” ในขันธ์ 5 จึงเรียกนิพพานที่เข้าใจผิดนั้นว่า
อายตนะนิพพาน ที่สถิตอยู่หรือตั้งอยู่ที่ขอบจักรวาลอันไกลโพ้น :b21:


พุทธพจน์นั้นมีว่า :b42:

“มีอยู่นะ ภิกษุทั้งหลาย อายตนะที่ไม่มีปฐวี ไม่มีอาโป ไม่มีเตโช ไม่มีวาโย
ไม่มีอากาสานัญจายตนะ ไม่มีวิญญาณัญจายตนะ ไม่มีอากิญจัญญายตนะ
ไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่มีโลกนี้ ไม่มีปรโลก ไม่มีดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
ทั้งสองอย่าง เราไม่กล่าวอายตนะนั้นว่าเป็นการมา การไป การหยุดอยู่ การจุติ
การอุบัติ อายตนะนั้น ไม่มีที่ตั้งอาศัย (แต่ก็) ไม่เป็นไป ทั้งไม่ต้องมีเครื่องยึดหน่วง นั่นแหละคือจุด
จบของทุกข์” ขุ.อุ.25/158-161/206-208)


การแปลความหมายบาลีบางคำเป็นเหตุให้ตีความแตกต่างกันไปคนละทาง เช่นคำว่า “อายตนะ” ในคาถา บางท่านถือตามคำแปลว่า “แดน” แล้วตีความหมายเป็นถิ่นฐานหรือสถานที่ บางท่านหมายถึง
มิติอีกอย่างหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2008, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ขอความรู้ใหม่ๆ จากคุณพลศักดิ์ไว้

กรัชกาย เขียน:
2.ขอคำอธิบายเฉพาะคำว่า “นิพพาน” จากคุณพลศักดิ์ครับ


ท่านตอบแล้วตามความเห็นของท่าน ผู้ศึกษาพึงพิจารณาเทียบเคียงนิพพพานที่ว่า ดับอวิชชา ตัณหา อุปาทานดังกล่าวดูเถิด

อนึ่ง ท่านแสดงความเห็นเกี่ยวกับนิพพานไว้ชัดอีกแห่งหนึ่ง => :b41:

1. ผมไม่มีอาจารย์ที่อยู่ในโลกใบนี้ครับ อาจารย์ของผมอยู่ในพระนิพพาน พระองค์ท่านเสด็จมาสอนธรรมผม
เพราะผมบังเอิญเข้าไปในนิพพานได้โดยไม่ได้ตั้งใจ
วันนั้นผมทำสมาธิ และก็เดินสมาธิอยู่ พอผมนั่งพัก มันก็รู้สึกหนักอะไรในหัวสมองของวิญญาณของผม ผู้รู้เองว่า มันหนักผลบุญ เพราะตลอดชีวิตผมทำบุญมาก ผมเลยตัดสินใจยกผลบุญเหล่านั้นให้สรรพวิญญาณต่างๆ ซึ่งผมรู้และเห็นของจริงว่า มีมากมายมหาศาลการยกผลบุญทั้งหมดไปนั้น ผมเต็มใจและไม่เสียดาย วิญญาณดวงไหนมาคืนบุญให้ผม ผมก็ไม่เอา เท่านั้นแหละครับ ผมบรรลุภาวะนิพพานเลย นิพพานมันอยู่แค่เอื้อมนี่เอง คือ เราต้องไม่เอาทุกสิ่งในโลก ละมันให้หมด บุญอะไรก็ไม่เอา แล้วเราจะพบนิพพาน นิพพานเป็น สุขประเสริฐ ที่ไม่
เหมือนสุขใดๆในโลก สุขในโลกมาจากการให้ หรือไม่ก็การรับ แต่นิพานคือละวางทั้งหมด

2. วันที่ผมเจอนิพพานนั้น มีแสงประหลาดมาหาผมตอนผมกึ่งหลับกึ่งตื่น แสงนั้นเต็มไปด้วยความสุข
อันประเสริฐ ผู้ที่อยู่ในแสงถามผมว่า มีอะไรจะให้ช่วยไหม ผมตอบว่าไม่มีท่านก็ถามผมว่า เข้าใจไหม ผมก็บอก
เข้าใจ ฯลฯ สุดท้ายท่านก็ไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2008, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17297

ศัพท์ เป็นต้นว่า “เกวละ” ที่พระอรรถกถาจารย์ใช้เรียกนิพพาน (สันฤตเป็น “ไกวัลย์” ซึ่งคุณพลศักดิ์เคย
พูดถึง) เป็นคำแสดงจุดหมายสูงสุดที่ใช้ในศาสนาเชน (ไชนะของนิครนถ์)
ทางฝ่ายพุทธศาสนา ในขั้นบาลียังไม่พบใช้คำนี้หมายถึงนิพพานโดยตรง เป็นแต่เรียกผู้บรรลุนิพพาน
ว่า (เกวลี” บ้าง “เกพลี” บ้าง หลายแห่ง เช่น สํ.ส. 15/656/245;
องฺ.ติก. 20/498/207 ; ม.ม. 13/597/544; องฺ.ทสก.24/12/18;
ขุ.สุ.25/362/422 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2008, 11:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
4. ขอคำอธิบายคำว่า"อัตตา" ครับ


คุณพลศักดิ์สรุปความเห็นส่วนตัวไว้ตอนท้ายว่า


ดังนั้น อัตตา โดยสมมุติจึงเป็นอนัตตา ตามความหมายของพระพุทธองค์ ซึ่งพระองค์ให้
ละความยินดีด้วยอำนาจความพอใจในสิ่งที่เป็นอนัตตา อันไม่มีสาระแก่นสารเสีย


ผิดหรือถูกอย่างไร พิจารณาเทียมเคียงความหมาย "อัตตา" =>


ปัจจุบัน ได้มีความสับสนเกิดขึ้นบ้างในการใช้คำศัพท์ที่มีความหมายเกี่ยวกับตัวตน ที่เป็นปัญหาในกรณีนี้ คือ อัตตา


อัตตา เป็นคำบาลี รูปสันสกฤต เป็น อาตมัน แปลว่า ตน ตัว หรือตัวตน พุทธธรรมสอนว่า ตัวตน หรืออัตตานี้
ไม่มีอยู่จริง แต่เป็นสิ่งที่สมมุติขึ้นเพื่อสะดวกในการสื่อสาร เพื่อความหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ในความเป็นอยู่ประจำวัน กำหนดตามชื่อที่บัญญัติขึ้นหรือตั้งขึ้นสำหรับเรียกหน่วยรวมหรือภาพรวมหนึ่งๆ อัตตานี้จะเกิด
ปัญหาขึ้น ก็ต่อเมื่อคนหลงผิดเกิดความยึดถือขึ้นมา ว่ามีตัวตนจริงๆ หรือเป็นตัวตนจริงๆ เรียกว่ารู้ไม่เท่าทันความเป็นจริง หรือหลงสมมุติ

ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอัตตานี้ พึงทราบว่า อัตตาไม่ใช่กิเลส มิใช่สิ่งที่จะต้องละ เพราะอัตตาไม่มีอยู่จริง
จึงไม่มีอัตตาที่ใครจะละได้
อัตตามีอยู่แต่เพียงในความยึดถือ สิ่งที่จะต้องทำก็มีเพียงการรู้เท่าทันตามเป็นจริงว่า ไม่มีอัตตา หรือไม่เป็น
อัตตา อย่างที่เรียกว่า รู้ทันสมมุติเท่านั้น

พูดอีกนัยหนึ่งว่า ละความยึดถือในอัตตา ละความยึดถือว่าเป็นอัตตา หรือ ถอนความหลงผิดในภาพของอัตตา
หรือในบัญญัติแห่งอัตตาเสียเท่านั้น เรื่องอัตตาและการปฏิบัติต่ออัตตาในความหมายที่ใช้ทั่วไปมีเพียงเท่านี้


ดูความหมายอัตตาเต็มๆที่
viewtopic.php?f=2&t=18973

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2008, 14:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ อัตตา ที่แปลเป็นไทยว่า ตัว, ตน, หรือตัวตน ว่าเมื่อเข้าใจผิดแล้ว ปรุงแต่งความคิดไปได้เพียงใด และเสทือนถึงการปฏิบัติอย่างไร


ช่วงนี้มีแต่ความ ฟุ้งซ่าน และไม่รู้สึกตัว เหมือนจิตติดอยู่ที่ตัวตน และไม่มีตัวตนก็เลยดูแค่มีตัวเรากับไม่มีตัวเรา ไม่รู้ว่าดูตรงนี้ถูกหรือเปล่า เพราะรู้ว่าคิดและก็ตามไปดูต่อว่ามีตัวเราไหมและก็เห็นว่าไม่มีตัวเราไม่รู้ว่าตรงนี้รู้ถูกหรือเปล่า หรือจิตไปสร้างภพของความจำได้ขึ้นมา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2008, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



การรู้เข้าใจธรรมไม่ง่ายนัก ดูอีกตัวอย่างหนึ่งที่เช้าใจผิด



อยู่ต่างแดน คุณพ่อคุณแม่อยู่เมืองไทย ราวปีก่อน ได้เริ่มปฏิบัติธรรมแล้ว พบว่ามันช่วยให้หายใจร้อนได้มาก คุณพ่อก็เป็นคนใจร้อนแบบอย่างแรง และก็ค่อนข้างเป็นคนรักสบาย เลยพยายามให้คุณพ่อฟังซีดีธรรมะ และก็ให้ท่านอ่านบทความหรือหนังสือธรรมะ เกิดว่าท่านจะใจเย็นลงได้บ้างพยายามทำทุกอย่างให้ท่านได้เข้าใกล้พระธรรมมากขึ้น
คำแปลบทสวดมนต์ก็ส่งไป คือท่านชอบสวดมนต์มาแต่ไหนแต่ไร แต่ท่านไม่ทราบความหมาย ก็หวังว่าคำแปลบทสวดต่างๆจะช่วยให้เข้าใจธรรมะขึ้นบ้าง แต่อุปสรรคเรื่องระยะทางก็เป็นปัญหาเหมือนกัน ทำให้ไม่สามารถไปอธิบายอะไรได้มาก พยายามโทรไปทุกอาทิตย์ บางทีโทรไปก็ไม่อยู่

ท่านก็ศึกษาธรรมะ อ่านบทความต่างๆ แต่คงด้วยความที่อ่านเอง คิดเอง วิเคราะห์เองคนเดียว เลยไม่มีใครช่วยบอกกับท่านว่ากำลังเข้าใจอะไรถูกหรือผิด


ล่าสุดที่คุยกับท่าน (คือเมื่อวานนี้) ก็ถามว่าปฏิบัติถึงไหนแล้ว ฟังการอธิบายของท่าน รู้สึกสลดเล็กน้อย ย่อๆคือท่านเข้าใจ ดังนี้

1. ท่านบอกว่าต้นตอของทุกข์ที่ท่านจะดับตอนนี้ คือ กายภาพที่ชราลงๆ ท่านเดินไม่ค่อยได้ จะเซมากๆ ท่านบอกว่าศาสนาพุทธเน้นเหตุและผล ฉะนั้นวิธีดับทุกข์คือต้องหาคำตอบว่าทำไมคนเราต้องแก่เกิดทางวิทยาศาสตร์จะหาทางออกได้ แม้จะบอกว่าทำไม่ได้หรอก ไม่มีใครหยุดความชราภาพได้ ท่านก็ไม่เห็นด้วยกับเรา

2. ท่านว่าท่านเข้าใจว่ากายนี้มันเหมือนบ้านที่ยืมมา เมื่อตายก็ต้องคืนเขา แต่ที่ท่านรักสบายทุก
วันนี้ เพราะสรวงสวรรค์ส่งให้ท่านมาเกิดและมอบกายนี้มาให้ท่าน ท่านต้องดูแลกายที่เทพให้มาเป็น
อย่างดี ท่านยืนยันอย่างนั้นมากๆ เลยไม่สามารถไปแก้ตรงนี้ได้เลย จึงต้องปล่อยให้ท่านเชื่อ
อย่างนั้นไป (แม้เราจะบอกว่า อย่างนี้ก็คล้ายกับความคิดในศาสนาคริสต์นะ ท่านก็ยังไม่ยอมรับ...อ้อ ท่าน
ไม่ได้เล่นฌาณ ไม่ได้มีตาวิเศษเห็นเทพ ท่านคิดเอาเองว่าใช่)

3. ท่านพยายามสอนเราว่า สติคือให้เดินระวังๆ อย่าไปล้ม กินของดีๆ อย่ากินมั่วๆ เดี๋ยวเจ็บตัว
ฉะนั้นท่านจะพยายามหายาดี ยาวิเศษมาโดยตลอด เราพยายามบอกให้ท่านเติมสติในการรู้อารมณ์
ต่างๆ ท่านว่าท่านไม่เห็นว่ามันเกี่ยวกับการดับทุกข์ตรงไหน เราว่าถ้าเวลาโกรธแล้วสติมา ความโกรธจะ
ดับลง ท่านว่า เวลาโกรธทำไมท่านจะไม่มีสติ รู้สิว่าโกรธ ไม่เห็นจะดับได้เลย แม้จะบอกว่าต้อง
ค่อยฝึกไปแล้วจะเข้าใจเองว่ามันดับได้อย่างไร ท่านก็ไม่เข้าใจอยู่ดี

4. ข้อสุดท้ายแรงสุด ท่านบอกว่า ท่านอ่านศึกษาธรรมะมาเยอะมาก ตอนนี้ท่านได้บรรลุธรรมแล้ว
ถึงขั้นโสดาบัน (เราฟังไม่ออกว่าเป็นมุก แต่หวังอย่างยิ่งว่าเป็นมุกฝืดๆช็อตหนึ่ง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2008, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


[quote="กรัชกาย"


1. ส่วนคำอธิบาย "ธรรม" ต่อไปนี้ เป็นอีกความเห็นหนึ่ง ผู้ศึกษาพึงพิจารณาเปรียบเทียบดูเถิด

(ยกมาทั้งชุดเลย)

1. สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
2. สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์
3.ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา

ความเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
-สังขารทั้งปวง กับ ธรรมทั้งปวง

ผู้ศึกษาจะสังเกตเห็นว่าในข้อ 1 และข้อ 2 ท่านกล่าวถึงสังขารทั้งปวง ว่าไม่เที่ยง และเป็นทุกข์
แต่ในข้อที่ 3 ท่านกล่าวธรรมทั้งปวงว่า เป็นอนัตตา คือไร้ตัวหรือมิใช่ตน

การใช้คำที่ต่างกันเช่นนี้ แสดงว่ามีความแตกต่างกันบางอย่างระหว่างหลักที่ 1 และที่ 2 คือ
อนิจจตา และทุกขตา กับหลักที่ 3 คือ อนัตตตา และความแตกต่างกันนี้จะเห็นได้ชัด ต่อเมื่อเข้าใจ
ความหมายของคำว่า สังขาร และคำว่า ธรรม

นิยามที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในอนัตตลักขณสูตร คือ "สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
(เป็นอนัตตา)เป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา"
นั่นคือ ขันธ์ ๕ = อนัตตา


นั่นคือ ความหมายของอนัตตาครับ

คราวนี้ผมถามคุณว่า "ก็สิ่งใดเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?"

คุณจะตอบว่าอะไร?........ อัตตา ไม่ใช่หรือครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2008, 22:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


2. หลักอนัตตา แห่งไตรลักษณ์นี้ ท่านใช้ในความหมายที่กว้างที่สุดเต็มที่สุดขอบเขตของศัพท์ คือ หมายถึง สภาวะ หรือสภาพทุกอย่าง ไม่มีขีดจำกัด

“ธรรม” ในความหมายเช่นนี้ จะเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อแยกแยะแจกแจงแบ่งประเภทออกไป เช่น จำแนกเป็นรูปธรรมและนามธรรม บ้าง
โลกียธรรม และ โลกุตรธรรมบ้าง
สังขตธรรม และอสังขตธรรมบ้าง
กุศลธรรมและอกุศลธรรม และอัพยากฤต (=สภาวะที่เป็นกลางๆ) บ้าง

"ธรรม" ที่จำแนกเป็ดชุดเหล่านี้ แต่ละชุดครอบคลุมความหมายของธรรมได้หมดสิ้นทั้งนั้น
แต่ชุดที่ตรงกับแง่ที่ควรศึกษาในที่นี้คือ ชุด สังขตธรรม และอสังขตธรรม
ฯลฯ


คำตรัสสอนของพระพุทธเจ้าชัดเจนที่สุดแล้วครับ แต่สมมุติสงฆ์และเฆราวาลพยายามไปมั่วคำสอน
เอาเอง อนัตตากับอัตตามันแตกต่างกันที่
1. มันเที่ยงหรือไม่เที่ยง
2. มันทุกข์หรือไม่ทุกข์
3 มันแปรปรวนหรือไม่แปรปรวน

ลักษณะของอสังขตธรรมแสดงว่า อสังขตธรรม (ธาตุ) เป็นอัตตา เนื่องจาก
ถ้ามันไม่เที่ยง ทกข์ แปรปรวน พระพุทธองค์จะเรียกมันว่าอนัตตา สิ่งที่อยู่ใน 3 ภพ ล้วนแล้วแต่เป็นอนัตตา ยกเว้นพระนิพพานเท่านั้น ที่เป็นอัตตา


อ้างอิง: อสังขตสูตร

[๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ประการนี้ ๓ ประการ
เป็นไฉน คือ ไม่ปรากฏความเกิด ๑ ไม่ปรากฏความเสื่อม ๑ เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปร
ปรวน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2008, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"อัตตา" ได้แก่ ความยึดมั่นของปุถุชนว่า ขันธ์ 5 ว่าเป็นอัตตา หรือขันธ์ใดขันธ์ 1 ว่าเป็นอัตตา เป็นแค่ความรู้สึกหรืออาการยึด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2008, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก็อัตตามันไม่มีแล้วจะไปหาที่ไหน มันเป็นแค่อาการยึด แล้วจะไปหาไปคิดสร้างอัตตาที่ไหนล่ะคุณพลศักดิ์ ไปศึกษาให้ดี :b1:


ตัดความเยื่อใยอยากมีอัตตาทิ้งเสีย ทฤษฎีเกี่ยวกับอัตตาทั้งหลายก็หมดความหมายไปเอง ดับอุปาทาน คือถอนความยึดมั่นในอัตตาเสียเท่านั้น ท่านก็จะเห็นโลกและชีวิตหรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่มันเป็น ไม่ต้องมาเสียเวลาคิดคาดคะเนสร้างทฤษฎีอัตตาใดๆให้วุ่นวาย พอดับความยึดมั่นที่ทำให้เกิดมีอัตตาแล้ว อัตตาก็หายไปเอง นิพพานคือดับทุกข์เท่านั้น ไม่ใช่ดับอัตตา เพราะไม่มีอัตตาที่จะต้องดับ

ขอให้นึกถึงพุทธพจน์ว่า เราสอนแต่ทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น


viewtopic.php?f=2&t=18840

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2008, 23:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณกรัชกายครับ



อัตตาใน 3 ภพ นั้นเป็นอัตตาอุปทาน หรืออัตตาทิฏฐิครับ
พระพุทธเจ้าเรียกสิ่งนี้ว่า อนัตตา อัตตามันมีอยู่ในพระนิพพานที่เดียวครับ

กรุณาอ่านนิยามคำว่า อัตตา ในอนัตตลักขณสูตรอีกครั้ง แบบไม่มีทิฏฐิมานะซิครับ แล้ว
คุณจะเข้าใจ แต่ถ้าคุณมีทิฏฐิมานะ 100 ปี คุณก็ไม่เข้าใจ เพราะใจมันไม่ยอมรับอย่างเดียว
ก็ในเมื่อทิฏฐิมันอยู่เหนือเหตุผลซะแล้ว จะคุยกันรู้เรื่องได้อย่างไร

อย่างพวกพันธมิตรนั่นแหละ ทุกฝ่ายแม้แต่คุณอภิสิทธิ์ก็ยืนยันว่า ไม่มีการญัตติแก้รัฐธรรมนูญ
แต่ไอ้พันธมิตร พวกบ้านี่มันเข้าใจไหมครับ ใจมันมีทิฏฐิ ยังไงมันก็ไม่รับ เช่นเดียวกับคุณ และพวกที่
บอกว่า นิพพานเป็นอนัตตา ทั้งๆที่ พระพุทธเจ้าตรัสสอนอย่างชัดเจนที่สุดแล้วว่า:


"สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา" = อนัตตา


ดังนั้น

"สิ่งใดเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ต้องเรียกสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา" = อัตตา



คุณก็ยังจะเถียงอีกว่า นิพพานเป็นอนัตตาอีก ก็ป่วยการพูดครับ เพราะคนมีทิฏฐิ เหตุผลเขาย่อมไม่ฟัง
เพราะใจต้องการจะเอาชนะอย่างเดียว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2008, 23:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ก็อัตตามันไม่มีแล้วจะไปหาที่ไหน มันเป็นแค่อาการยึด แล้วจะไปหาไปคิดสร้างอัตตาที่ไหนล่ะคุณพลศักดิ์ ไปศึกษาให้ดี :b1:


ตัดความเยื่อใยอยากมีอัตตาทิ้งเสีย ทฤษฎีเกี่ยวกับอัตตาทั้งหลายก็หมดความหมายไปเอง ดับอุปาทาน คือถอนความยึดมั่นในอัตตาเสียเท่านั้น ท่านก็จะเห็นโลกและชีวิตหรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่มันเป็น ไม่ต้องมาเสียเวลาคิดคาดคะเนสร้างทฤษฎีอัตตาใดๆให้วุ่นวาย พอดับความยึดมั่นที่ทำให้เกิดมีอัตตาแล้ว อัตตาก็หายไปเอง นิพพานคือดับทุกข์เท่านั้น ไม่ใช่ดับอัตตา เพราะไม่มีอัตตาที่จะต้องดับ

ขอให้นึกถึงพุทธพจน์ว่า เราสอนแต่ทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น


viewtopic.php?f=2&t=18840


ตัดความเยื่อใยอยากมีอัตตาทิฏฐิหรืออัตตาอุปทานซึ่งเป็นอนัตตาทิ้งเสีย แล้วคุณจะพบอัตตา

ถอนความยึดมั่นในอัตตาทิฏฐิหรืออัตตาอุปทานซึ่งเป็นอนัตตาเสียเท่านั้น แล้วคุณจะพบอัตตา

สมเด็จพระสังฆราช
อริยวงศาคตญาณ (แพ ติสูรเทโว)

"สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุ ได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน จะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา

ความหมาย: สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา = อัตตาทิฏฐิ หรือ อัตตาอุปทาน

เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุ ได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน จะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที
แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา = เมื่อใจยังมีทิฏฐิ ย่อมไม่ได้ความ บริสุทธิ์ ก็ย่อมไม่มี ทางเห็นว่า ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา เพียงแต่พูดโก้ๆเท่านั้น
แล้วใจที่ยังมีทิฏฐิ ไม่มีความบริสุทธิ์ ไฉนจึงจะไป เห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา ได้


ผมเปิดประตูแห่งความรู้จริงให้คุณแล้วนะ แต่ผมไม่สามารถเปิดใจที่มีทิฎฐิของคุณได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2008, 23:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

ขอให้นึกถึงพุทธพจน์ว่า เราสอนแต่ทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น [/color]

viewtopic.php?f=2&t=18840



ทุกข์มันเกิดที่จิตอนัตตา ดับทุกข์จากจิตอนัตตาได้แล้ว จึงจะเห็นจิตอัตตา


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า:

ดูกรอานนท์ ผู้ใดผู้หนึ่งในบัดนี้ก็ดี โดยที่เราล่วงไปแล้วก็ดี :
จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
คือมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่



ย้ำ! "พวกเธอจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง"

คือ จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง



*** ตนหรืออัตตา = ธรรม นั่นเอง ***


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2008, 00:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

มีพุทธพจน์ที่ตรัสเกี่ยวกับนิพพานไว้อีกแห่งหนึ่ง (ลิงค์นั้น) แล้วมีผู้เข้าใจศัพท์บาลี “อายตนะ”
ผิด โดยแปลว่า แดน เหมือนที่แปล “อายตนะ” ในขันธ์ 5 จึงเรียกนิพพานที่เข้าใจผิดนั้นว่า
อายตนะนิพพาน ที่สถิตอยู่หรือตั้งอยู่ที่ขอบจักรวาลอันไกลโพ้น :b21:


พุทธพจน์นั้นมีว่า :b42:

“มีอยู่นะ ภิกษุทั้งหลาย อายตนะที่ไม่มีปฐวี ไม่มีอาโป ไม่มีเตโช ไม่มีวาโย
ไม่มีอากาสานัญจายตนะ ไม่มีวิญญาณัญจายตนะ ไม่มีอากิญจัญญายตนะ
ไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่มีโลกนี้ ไม่มีปรโลก ไม่มีดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
ทั้งสองอย่าง เราไม่กล่าวอายตนะนั้นว่าเป็นการมา การไป การหยุดอยู่ การจุติ
การอุบัติ อายตนะนั้น ไม่มีที่ตั้งอาศัย (แต่ก็) ไม่เป็นไป ทั้งไม่ต้องมีเครื่องยึดหน่วง นั่นแหละคือจุด
จบของทุกข์” ขุ.อุ.25/158-161/206-208)


การแปลความหมายบาลีบางคำเป็นเหตุให้ตีความแตกต่างกันไปคนละทาง เช่นคำว่า “อายตนะ” ในคาถา บางท่านถือตามคำแปลว่า “แดน” แล้วตีความหมายเป็นถิ่นฐานหรือสถานที่ บางท่านหมายถึง
มิติอีกอย่างหนึ่ง



มีอีกเรื่องที่คุณได้ข้อมูลผิดๆมา คือ

ขันธ์ 5 เป็นอายตนะของสังขตธาตุ

ธรรมชันธ์ หรือธรรมกาย เป็นอายตนะนิพพาน หรืออายตนะของอสังขตธาตุ ครับ

ในปารมิตาหฤทัยสูตร พระโพธิสัตว์อวโอกิเตศวรตอบพระสารีบุตรว่า

ธรรมกายก็คือ ปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นสภาวธรรมแห่งพระตถาคตตรัสรู้
ก็คือ อายตนะนิพพานนั้นเอง ย่อมปราศจากการมา
ในอดีตฤาการไปในอนาคต แลในปรัตยุบันกาล”


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 175 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 52 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร