วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 19:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2008, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ช่วงนี้ สมาชิก อาจได้ยินการโฆษณา อาหารเสริมบางชนิด

ที่กล่าวว่า ช่วยให้การทำงานของระบบประสาทส่วนกลางดีขึ้น



มีผลการวิจัยยืนยัน มาจากสถาบันวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ ว่า อาหารเสริมชนิดนี้สามารถทำให้ระบบประสาทกลางทนต่อความเครียด-ความอ่อนล้า ได้ดีขึ้นจริง....

มีผลการวิจัยยืนยันรับรอง ว่า สามารถเพิ่มคลื่นสมองในย่านความถี่ ที่แสดงภาวะ"ผ่อนคลาย แต่ ตื่นตัว"(high band alfa wave)ของระบบประสาทกลาง ได้จริง....

และ มีการทดลองจริงในคน รับรองว่า ช่วยให้การทำงานของระบบประสาทกลางดีขึ้น



ในเมืองไทย เมื่อปีก่อน ก็มีการจัดประชุมวิชาการเรื่องนี้ขึ้น โดย สถาบันโภชนาการมหิดล และ องค์กรวิชาชีพทางสาธารณสุข

แต่ ก็ยังมีอีกหลายประเด็น ที่ยังต้องพิจารณาให้รอบด้าน
และ นักวิชาการในเมืองไทย ก็มีความเห็นที่แตกต่างกันอยู่ เช่น

คุ้มค่าไหม กับ ราคาที่ต้องจ่ายไป....
กินน้ำเต้าหู้ธรรมดา(ถุงล่ะ 5ถึง6 บาท) สามารถได้สารนี้ไหม....
และ ๆลๆ สารพัดคำถาม

ผมคงไม่สรุปแทนใครครับ



แต่ ผมจะเสนอ พุทธวิธี ที่สามารถทำให้ จิตอยู่ในภาวะที่"ผ่อนคลาย แต่ตื่นตัว"... นุ่มนวล ควรแก่การงาน




หลักธรรม นั้นคือ โพชฌงค์เจ็ด

ธรรมใดเป็นไปเพื่อโพธะ ธรรมนั้นชื่อว่าโพชฌงค์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2008, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


รายละเอียดทางวิชาการ ที่เป็นกลาง เกี่ยวกับเทโนโลยีอาหารเสริม

http://gotoknow.org/blog/nutrition-nuh/202003



ส่วน เรื่องคลื่นสมอง

http://www.crossroadsinstitute.org/eeg.html




ทางพุทธธรรม รู้จักวิธีการ ที่ให้เกิด"ภาวะจิต ที่ผ่อนคลายแต่ตื่นตัว" นุ่มนวล ควรแก่การงาน (สมาหิโต) มาเป็นประโยชน์....นานแล้ว

นานกว่าที่นักวิทยาศาสตร์ เขาเพิ่งมารู้กัน...ตั้ง 2500กว่าปีแล้ว


หลักโพชฌงค์เจ็ด นั่นล่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2008, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีบทความที่น่าสนใจ มาฝาก

บางท่านอาจไม่เคยอ่าน


http://www.jitwiwat.org/docs/articles/060211_wisit.htm

พุทธธรรมกับสมองส่วนหน้า

ในเรื่องของสมอง สมองส่วนหน้านั้น เป็นวิวัฒนาการล่าสุดที่จะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่ออายุครบบวช ๒๐ ปี โดยตั้งอยู่บริเวณหน้าผากหรือที่ตั้งของตาที่สาม อันเปรียบได้ว่าเป็นปัญญาที่ข้ามพ้นความเป็นทวิภาค หรือทวิภาวะออกไป ในคลื่นอัลฟานั้น สมองส่วนหน้าได้ถูกกระตุ้นให้ทำงาน โดยคุณลักษณะหลักในของทำงานในสมองส่วนหน้า คือการใคร่ครวญ ซึ่งตรงกับคุณลักษณะของอุปจารสมาธิ หรือสมาธิในฌานชั้นต้นสองประการ ในภาษาบาลีคือ วิตก วิจาร ซึ่งไม่ได้หมายความว่า วิตกกังวล หรือวิพากษ์วิจารณ์ แต่หมายถึงความคิดแบบใคร่ครวญ การเฝ้ามองอย่างเนิ่นนานโดยพลิกดูมุมมองต่างๆ อย่างรอบด้าน ซึ่งไปตรงกับคำทางพุทธว่าโยนิโสมนสิการด้วยเช่นกัน

การทำงานของสมองส่วนหน้าแบบนี้ มีนักวิทยาศาสตร์ทางสมอง คือ เดวิด เดวิดสัน หนึ่งในบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่ไปสนทนากับสมเด็จองค์ทะไลลามะเนืองๆ ได้ศึกษาว่า เมื่อมีการใคร่ครวญเกิดขึ้น มันไปกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนหน้า และเมื่อสมองส่วนหน้าทำงาน ร่องอารมณ์ที่มีศูนย์ปฏิบัติการอยู่ที่อมิกดาลานี้จะทำงานน้อยลงหรือหยุดทำงาน และในทางกลับกัน เมื่อร่องอารมณ์ในอมิกดาลาทำงาน สมองส่วนหน้าจะทำงานน้อยลงหรือเฉื่อยลง กล่าวคือ เมื่อเกิดร่องอารมณ์ การใคร่ครวญของมนุษย์จะถูกลดทอนลง เหมือนกับคำพูดที่ว่า “เห็นช้างตัวเท่าหมู”

นี่คือการเชื่อมโยงงานวิจัยทางสมองเข้ากับองค์ความรู้ในพุทธธรรม
ถ้าเชื่อมอัลฟากับโหมดปกติเข้ากับพุทธธรรม จะเห็นได้ว่า สภาวะในคลื่นอัลฟาก็คือความผ่อนคลายแบบตื่นตัว ที่เชื่อมโยงกับเจ้าตัวเล็กในศาสตร์แห่งแม่มด เจ้าตัวเล็กจะมองชีวิตอย่างสนุกสนาน ไม่มีถูกไม่มีผิด ไม่มีระบบโรงเรียน ตรงนี้ ผลพวงที่ได้ทันที คือปีติ สุข อันเป็นองค์คุณอีกสองประการของฌานชั้นต้น

อาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เมื่อจิตมีปิติ มีความสุข และใคร่ครวญ จิตก็จะเป็นสมาธิโดยธรรมชาติ หรืออาจกล่าวได้ว่า จิตในโหมดปกติจะเป็นสมาธิของมัน หรือในคลื่นอัลฟา เมื่อเราหยุดและช้าลง ไปสู่คลื่นสมองที่ช้าลง ไปสู่การใคร่ครวญของสมองส่วนหน้า ไปสู่โยนิโสมนสิการ ไปสู่การเฝ้ามองอย่างเนิ่นนาน ไปสู่การฟังอย่างลึกซึ้ง จนกระทั่งเรากับสิ่งที่เรารับรู้เป็นสิ่งเดียวกัน ผู้สังเกตกับผู้ถูกสังเกตเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อนั้น เราก็เข้าถึงองค์คุณประการที่ห้าของฌานชั้นต้น นั่นคือ เอกัคตา
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจยิ่งคือ แม้ว่าพระพุทธองค์จะดำดิ่งไปในฌานชั้นไหนๆ ได้ก็ตาม แต่กลับมาตรัสรู้ที่ฌานชั้นต้นนี้เอง

เรียนรู้ที่จะผ่อนคลาย

คนที่มีความเครียดและไม่ผ่อนคลาย มักจะไม่รู้ตัวและคิดว่าตัวเองไม่เครียด แต่ความเครียดมันค่อยๆ สะสมเพิ่มพูนโดยเราไม่รู้ตัว จนกระทั่งกลายมาเป็นวิถีชีวิตของเรา เป็นส่วนหนึ่งของความชินชา จนกระทั่ง เราคิดว่านี่คือความเป็นปกติของเรา ที่มากับความเครียดก็คือการดำรงชีวิตอยู่ในคลื่นเบต้า ในความเร่งรีบบีบคั้น เราอยู่ในความเร่งรีบบีบคั้นจนจำเจ จนกระทั่งคิดว่าชีวิตและการทำงานแบบนี้เป็นเรื่องธรรมดา เราจึงมีวิถีชีวิตอยู่กับความกลัว ความวิตกกังวล ร่องอารมณ์และความคิดที่วนเวียนอยู่ในเทปม้วนเก่ากันจนชินชา

เราต้องกลับมาเรียนรู้เรื่องการผ่อนคลาย มาเรียนรู้การกลับมาใช้ชีวิตในความเป็นปกติจริงๆ ในความผ่อนคลาย โปร่งโล่ง สบายใจ สบายกาย ในสภาวะที่กายก็ผ่อนคลาย จิตใจก็ไม่เร่งรีบ หากรู้สึกว่ามีเวลา สามารถดำเนินชีวิต กระทำการงาน ในจังหวะและลีลาที่เป็นตัวของตัวเอง



...........................


ปล.

ผมเห็นว่า เป็นบทความที่ดี มีมุมมองที่น่าสนใจ
แต่ ผมเองก็ไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมดน่ะครับ


ส่วนคลื่นสมองนั้น จำง่ายๆ

คลื่นสมองความถี่สูง เช่น เบต้า เป็นภาวะกระสับกระส่าย รีบเร่ง เครียด ย้ำคิดย้ำทำ

คลื่นสมองความถี่ที่ต่ำกว่า เช่น อัลฟ่า (โดยเฉพาะย่าน ไฮ แบนด์)เป็น ภาวะที่ ผ่อนคลายแต่ตื่นตัว... เหมาะสม ในการใช้เรียนรู้ เพราะ จะมีการใช้ความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ อย่างเป็นระบบระเบียบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2008, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


การภาวนา เป็นทั้ง ศาสตร์ และ ศิลป์


คือ ในขณะที่มีหลักการ วิธีการปฏิบัติ และ จุดหมายที่ชัดเจน.... คือ เป็นศาสตร์
แต่ ก็มีเทคนิก หรือ กุศโลบายอยู่ด้วย.... คือ เป็นศิลป์ อยู่ในตัว




แม้นแต่ จิต ซึ่งเป็นอนัตตา พระพุทธองค์ยังทรงสอนถึงวิธีปฏิบัติต่อจิตเอาไว้มากมาย

พระพุทธองค์ทรงสอนให้ ยกจิตที่หดหู่ขึ้น ด้วย ธัมมะวิจัย วิริยะ ปิติ (วิปัสสนา)
พระพุทธองค์ทรงสอนให้ ข่มจิตที่ฟุ้งซ่านลง ด้วย ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา(สมถะ)
โดย ใช้ สติเป็นแกนกลาง...
ใน พระสูตรที่ตรัสถึง โพชฌงค์




หรือ จะสังเกตุง่ายๆ คือ

ในสภาพทั่วไป

เวลาผ่อนคลาย ...ประสาทก็มักจะไม่ตื่นตัว . เช่น เคลิ้มหลับ หรือ หลับ

หรือ

ถ้าตื่นตัว...ประสาทก็มักจะไม่ผ่อนคลาย .เช่น ตกใจ โกรธ

แต่ พระพุทธองค์ทรงสอนถึง ภาวะแห่งจิตที่นุ่มนวล ควรแก่การงาน...
ซึ่ง ในขณะที่ผ่อนคลาย ไม่เกร็ง ไม่เครียด แต่ ก็ตื่นตัว พร้อมที่จะเรียนรู้ หรือ พิจารณาค้นคว้าอรรถธรรมได้ด้วย


ท่านผู้รู้บางท่าน จะกล่าวถึง
รู้ซื่อๆ
รู้เล่นๆ
รู้สบายๆ
ผมมองว่า....ก็ สื่อ ถึงสิ่งนี้อยู่ เช่นกัน



เคย มีงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยในอเมริกา(university of pensylvania)

เขา ศึกษาเปรียบเทียบ คนสองกลุ่ม ที่ไม่เคยศึกษาเรื่องสมาธิภาวนามาก่อน
กลุ่มที่หนึ่ง ไม่ให้ฝึกอานาปานสติ...กลุ่มที่สอง ให้ฝึกอานาปานสติ.
โดยทั้งสองกลุ่มนี้ มีความสามารถในการเรียนรู้ก่อนทดลองใกล้เคียงกัน
แล้ว เปรียบเทียบ ความสามารถในการเรีนยรู้ของสองกลุ่มเปรียบเทียบกัน หลังจบคอร์ส อานาปานสติ...
ผล ปรากฏว่า กลุ่มที่ฝึกอานาปานสติ มีประสิทธิภาพการเรียนรู้ เป็นระบบระเบียบ ที่สูงกว่า อีกกลุ่มอย่างชัดเจน

สภาวะจิต ที่ผ่อนคลาย แต่ตื่นตัว... จึงมีประโยชน์ ต่อการเรียนรู้ทางโลก อย่างชัดเจน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2008, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่ ชา สุภัทโท :b8:

ท่านได้กล่าวถึง ความเพียรพยายามที่มากเกินไป เอาไว้อย่างน่าสนใจ


ปุจฉา ท่านอาจารย์เป็นห่วงลูกศิษย์ที่พากเพียรมาก หมายความว่าอย่างไร

วิสัชชนา

ถูกแล้ว ผมเป็นห่วง ผมเป็นห่วงว่าเขาเอาจริงเอาจังจนเกินไป เขาพยายามเกินไป แต่ขาดปัญญา เขาเคี่ยวเข็นตนเองไปสู่ความทุกข์ยากโดยไม่จำเป็น บางคนมุ่งมั่นที่จะรู้แจ้ง เขาขบฟันแน่นและ ใจดิ้นรนอยู่ตลอดเวลา อย่างนี้เป็นความพยายามมากเกินไป คนทั่วไปก็เช่นเดียวกัน พวกเขาไม่รู้ถึง สภาพเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง (สังขาร) สังขารทั้งปวง จิตและร่างกายล้วนเป็นของไม่เที่ยง จงเฝ้าดู และอย่ายึดมั่นถือมั่น

บางคนคิดว่าเขารู้ เขาวิพากวิจารณ์ จับตามองและลงความเห็นเอาเอง อย่างนี้ก็ตามใจเขา ทิฐิ ของใครก็ปล่อยให้เป็นของคนนั้น การแบ่งเขาแบ่งเรานี้อันตราย เปรียบเหมือนทางโค้งอันตรายของถนน ถ้าเราคิดว่าคนอื่นด้อยกว่าหรือดีกว่า หรือเสมอกันกับเรา เราก็ตกทางโค้ง ถ้าเราแบ่งเขาแบ่งเรา เราก็จะเป็นทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2008, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


โพชฌงค์ปริต เป็นบทสวดที่ใช้ไว้สวดให้แก่ผู้ที่เจ็บป่วยตั้งแต่ สมัยพุทธกาล

ความจริงที่ว่า "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว"

ถ้าใจสดชื่นด้วยธรรม กายย่อมสดชื่นตามด้วยได้
หรือ ที่เรียกว่า ธรรมโอสถ

เคยมีการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันIgA ในน้ำลายคน
พบว่า เวลาเครียดระดับภูมิจะตกลงอย่างชัดเจน
นี่ คือคำอธิบายว่า เวลาเครียดทำไม ถึงไม่สบายง่ายๆ

ในต่างประเทศ เคยมีการวิจัยให้คนไข้โรคหัวใจฝึกสมาธิ
ปรากฏว่า กลุ่มที่ฝึกสมาธิ มีอาการดีกว่ากลุ่มไม่ฝึกสมาธิ อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ


โพชฌงค์ ที่เป็นองค์ธรรมที่นำไปสู่โพธะ
ประกอบด้วยทั้งฝ่าย สติ สมาธิ ปัญญา....



โพชฌงค์ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้หรือองค์ของผู้ตรัสรู้มี ๗ อย่าง
คือ
๑. สติ
๒. ธัมมวิจยะ (การสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม)
๓. วิริยะ
๔. ปิติ (ความอิ่มใจ)
๕. ปัสสัทธิ(ความผ่อนคลายกายใจ)
๖. สมาธิ
๗. อุเบกขา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2008, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


จาก หนังสือ พุทธธรรม หน้า877

"เมื่อ อินทรีย์บางอย่างแรงไป บางอย่างอ่อนไป ตามปกติต้องแก้ด้วยการเจริญโพชฌงค์ ข้อที่ตรงเรื่องกัน

เช่น วิริยะแรงไป แก้ให้ลดลงด้วยการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นต้น"


ท่านกล่าวถึง การใช้ ปัสสัทธิสัมโพฌชงค์(ความผ่อนคลายกาย-ใจ เป็นส่วนแห่งสมาธิ) ปรับถ่วงดุลย์กับ วิริยะสัมโพฌชงค์(ที่เป็นส่วนแห่งวิปัสสนา)

กล่าว ง่ายๆ ก็คือ
ถ้าตั้งใจมาก มุ่งมั่นที่จะรู้ธรรม จะเข้าใจไตรลักษณ์ มากจนเกินไป(วิริยะทางใจมากเกินไป).... ก็ให้ผ่อนคลายใจลงบ้าง(ด้วยปัสสัทธิ)
ก็จะกลายเป็น ในลักษณะที่มีผู้รู้ ท่านกล่าวไว้ว่า
"รู้ซื่อๆ"
"รู้ สบายๆ"
"รู้ไป เรื่อยๆ"




ในทางกลับกัน ถ้าสมาธิ(หรือ ปัสสัทธิสัมโพฌชงค์)มากไป ก็จะกลายเป็นติดสุขจากสมาธิ เป็นพระฤาษีไป... เพราะ สมาธิที่มากไป ความเกรียจคร้าน(โกสัชชะ)ก็จะเข้าครอบงำ... คือ เอะอะอะไร ก็จะทำจิตให้สงบฝ่ายเดียว โดยไม่ใช้อานิสงส์แห่งสมาธิมาพิจารณาสภาวธรรม



ส่วน สติ....นั้น ไม่มีคำว่ามากเกิน
สติ ยิ่งมากยิ่งดี

เพราะ มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น ที่จะเป็นผู้มีสติสมบูรณ์พร้อม

จาก หนังสือพุทธธรรม

"ส่วนสติ เป็นข้อยกเว้น ....ท่านว่า ยิ่งสติมีกำลังก็ยิ่งดี มีแต่จะช่วยธรรมข้ออื่นๆได้ดียิ่งขึ้น..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2008, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เกี่ยวกับเรื่อง การมุ่งมั่นที่จะรู้ธรรมจนมากเกินไป(วิริยะมากเกินไป)

เป็น บทวิสัชชนาธรรม

โดย หลวงปู่ ชา สุภัทโท :b8:


ปุจฉา ได้พากเพียรอย่างหนักในการปฏิบัติกรรมฐาน แต่ไม่ได้ผลคืบหน้า

วิสัชชนา เรื่องนี้สำคัญมาก

อย่าพยายามที่จะเอาอะไรๆ ในการปฏิบัติ

ความอยากอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้น หรือรู้แจ้งนั้น จะเป็นความอยากที่ขวางกั้นท่านจากการหลุดพ้น

ท่านจะเพียรพยายามอย่างหนักตามใจท่านก็ได้ จะเร่งความเพียรทั้งกลางคืนกลางวันก็ได้ แต่ถ้าการฝึกปฏิบัตินั้นยังประกอบด้วยความอยาก ที่จะบรรลุเห็นแจ้งแล้ว ท่านจะไม่มีทางที่จะพบความสงบได้เลย แรงอยากจะเป็นเหตุให้เกิดความสงสัย และ ความกระวนกระวายใจ

ไม่ว่าท่านจะฝึกปฏิบัติมานานเท่าใดหรือหนักเพียงใด ปัญญา (ที่แท้)จะไม่เกิดขึ้นจากความอยากนั้น

ดังนั้น จงเพียงแต่ละความอยากเสีย

จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติ แต่อย่ามุ่งหวังที่จะบรรลุถึงอะไร อย่ายึดมั่นถือมั่นแม้ในเรื่องการฝึกปฏิบัติหรือในการรู้แจ้ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2008, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีพระสูตร

ที่ตรัสกล่าวถึง การไม่พัก ไม่เพียร ข้ามโอฆสงสาร




โอฆตรณสูตรที่ ๑

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว
เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

[๒] เทวดานั้น ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลคำนี้
กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ข้าพระองค์ขอทูลถาม พระองค์
ข้ามโอฆะได้อย่างไร ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้แล้ว ฯ
ท. ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะได้
อย่างไรเล่า ฯ
พ. ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้
เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้
ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก เราไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล ฯ

เทวดานั้นกล่าวคาถานี้ว่า
นานหนอ ข้าพเจ้าจึงจะเห็นขีณาสวพราหมณ์ผู้ดับรอบแล้ว
ไม่พัก ไม่เพียรอยู่ ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลก ฯ

[๓] เทวดานั้นกล่าวคำนี้แล้ว พระศาสดาทรงอนุโมทนา ครั้งนั้นแล
เทวดานั้นดำริว่า พระศาสดาทรงอนุโมทนาคำของเรา จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
ทำประทักษิณแล้วก็หายไป ณ ที่นั้นแล ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2008, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


RELAX ALERTNESS หรือ ภาวะที่ระบบประสาทผ่อนคลายแต่ตื่นตัว
เป็น สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ และ นักการศึกษา ในตะวันตก ให้ความสนใจมาก
ตรงกับคลื่นสมองในความถี่อัลฟา
เป็น ภาวะที่เหมาะสมที่สุด ต่อการใช้ความคิดที่เป็นระบบระเบียบ


ผมจะลองประมวลความถี่คลื่นสมอง กับ ภาวะจิต เมื่อเทียบกับทางพุทธธรรม เท่าที่ผมพอจะเข้าใจ
ถูก-ผิด ประการใด ขออภัยล่วงหน้า


เบต้าเวฟ (13-15เฮิรทซ์) เป็นคลื่นของ คนกำลังวุ่นวายต่อการงาน หรือ คลื่นสมองขั้นพื้นฐานของคนปกติทั่วๆไปตามท้องถนน ในตลาด น่าจะเข้ากับ ขณิกสมาธิ(ตามการแบ่งแบบยุคหลังพุทธกาล).เกี่ยวกับ ความจำระยะสั้นๆ หรือ การใช้ความคิดที่ไม่ซับซ้อนมากนัก

อัลฟาเวฟ (8-12เฮิรทซ์) เป็นคลื่นของคน กายสงบ กายสบาย ใจสงบ ใจสบาย(กายลหุตา จิตลหุตา กายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ) ...เหมาะสำหรับการเรียนรู้ และ ความจำระยะยาว .ความจริงคลื่นนี้ อาจได้มาด้วยวิธีที่ไม่ยุ่งยาก หรือ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรมากนัก เช่น การใช้สติกำหนดลมหายใจ การฟังเพลงคลาสสิกเบาๆ สวดมนต์นานๆหน่อย การดูดดื่มอยู่กับธรรมชาติที่สงบ. น่าจะเป็น อุปาจรสมาธิ นับ รวมทั้งองค์แห่งรูปฌานขั้นต้นๆ

ธีต้าเวฟ (4-7เฮิรทซ์) เป็นคลื่นของ จิตสงบลึก อาจมีความสุขท่วมท้น และ สามารถเข้าถึงระดับจิตใต้สำนึก น่าจะตรงกับอัปปานาสมาธิ หรือ รูปฌานขั้นท้าย เช่น ตติยฌาน จตุตฌาน

เดลต้าเวฟ (0.5-3เฮิรทซ์) เป็นคลื่น ของจิตสงบลึกสุด เช่น นอนหลับสนิท สลบ โดนยาสลบ น่าจะนับรวมถึงอรูปฌานต่างๆ. ขั้นนี้ไม่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้แล้ว.จิตมันสงบลึกจนเกินไปแล้ว.แต่ ก็มีผู้กล่าวว่า มีส่วนช่วยให้สมองได้พักอย่างเต็มที่สุดๆ



กำลังแห่ง สัมมาสมาธิ ที่มีปรากฏในพระสูตร จะนับ รูปฌานหนึ่ง ถึง สี่...
ซึ่งก็น่า จะรวม อัลฟาเวฟ และ ธีต้าเวฟ

แต่ ต้องไม่ลืมว่า สัมมาสมาธินั้น นอกจากจะมีข้อกำหนดอยู่ที่กำลังแห่งสมาธิแล้ว.... สัมมาสมาธิ ยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ ในมหาจัตตารีสกสูตร ว่า ห้อมล้อมด้วยองค์แห่งอริยมรรคอีกทั้งเจ็ด(กล่าวให้ กระชับ ก็คือ สมาธิขั้นแน่วแน่ หรือ เอกัคตารมณ์ที่บังเกิดในการภาวนาตามหลักการแห่งสติปัฏฐาน)

สัมมาสมาธิ จึง แตกต่างจาก ฌานของฤาษีชีไพรทั่วๆไป ดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2008, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ประทับ บัลลังก์ ตั้งจิต

แนบสนิท ใสเย็น เป็นผล

ฌานจิต เฉิดฉัน บันดล

หลุดพ้น ญานสาม ตามมา ๆลๆ


ตรงประเด็น



กล่าวถึง เหตุการณ์ในคืน วันตรัสรู้
ฌ โคนไม้โพธิ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา


เมื่อตอนผมศึกษาใหม่ๆ มักจะมีคนเล่าให้ฟัง เกี่ยวกับการตรัสรู้ ของพระพุทธองค์ ว่า

"พระพุทธเจ้าฝึกสมถะอยู่นานจนสำเร็จฌานชั้นสูงกับมหาฤาษี เทียบเท่ามหาฤาษีแล้ว แต่ไม่ตรัสรู้...
ต่อมาจึง ละทิ้งสมถะ หันมาเจริญวิปัสสนา จึงตรัสรู้"


เมื่อก่อน ผมไม่ได้อ่านรายละเอียดในพระสูตร ผมก็เชื่อว่า
"ต้องทิ้งสมถะ แล้ว หันมาเจริญวิปัสสนา จึงจะพ้นทุกข์"
โดยไม่ได้ย้อนไปตรวจสอบ กับพระสูตร


ความจริงแล้ว
เหตุการณ์ตั้งแต่ เสด็จออกบรรพชา ไปฝึกอรูปฌานแบบฤาษี แล้ว มาทรมานตน จนถึง ย้อนกลับมาเจริญอานาปนสติ และ ตรัสรู้นั้น

มีปรากฏในพระสูตร



สคารวสูตร


http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=906254

[๗๕๒] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีต ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียร อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้ แม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต จักเสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียร อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้. ถึงสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียรอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้. ถึงเช่นนั้น เราก็ไม่ได้บรรลุญาณทัศนะอันวิเศษของพระอริยะอย่างสามารถ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้
จะพึงมีทางอื่นเพื่อความตรัสรู้กระมังหนอ.
เรามีความคิดเห็นว่า ก็เราจำได้อยู่ ในงานของท้าวศากยะผู้พระบิดาเรานั่งอยู่ที่ร่มไม้หว้ามีเงาอันเย็น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนี้กระมังหนอ จะพึงเป็นทางเพื่อความตรัสรู้. เราได้มีวิญญาณอันแล่นไปตามสติว่า ทางนี้แหละเป็นทางเพื่อความตรัสรู้.
เรามีความคิดเห็นว่า เรากลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมนั้นหรือ?
จึงมีความคิดเห็นว่า เราไม่กลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม.

[๗๕๓] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า อันบุคคลผู้มีกายอันถึงความซูบผอม
เหลือทนอย่างนี้ จะบรรลุถึงความสุขนั้นไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงกินอาหารหยาบ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาสเถิด. เราจึงกินอาหารหยาบ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส. สมัยนั้น ภิกษุ(ปัญจวัคคีย์) ๕ รูป บำรุงเราอยู่ด้วยหวังใจว่า พระสมณโคดมจักบรรลุธรรมใด จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย. แต่เมื่อเรากินอาหารหยาบ คือ ข้าวสุกและขนมกุมมาส. พวกภิกษุ (ปัญจวัคคีย์) ๕ รูปนั้น เบื่อหน่ายเราหลีกไปด้วยความเข้าใจว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก.

ฌาน ๔
[๗๕๔] ดูกรภารทวาชะ ครั้นเรากินอาหารหยาบมีกำลังดีแล้ว
จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เรามีอุมีเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข
เราบรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

ญาณ ๓
[๗๕๕] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ๆลๆ




พระสูตรนี้ เป็นการตรัสเล่าถึง การแสวงหาโมกขธรรมของพระพุทธองค์
เริ่มตั้งแต่ต้น จนตรัสรู้....

มีที่น่าสนใจ คือ พระองค์เองเคยไปฝึกบำเพ็ญอรูปสมาบัติ
คือ อากิญจัญญายตน กับ ท่านอาฬารดาบส
และ เนวสัญญานาสัญญายตน กับ อุทกดาบสมาแล้ว
แต่พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า ไม่ใช่ทางตรสรู้ จึงหลีกออกมา
และ ไปบำเพ็ญทุกรกิริยา จนเกือบสิ้นพระชนม์.... แต่ ก็ไม่บรรลุพระโพธิญาณ

จึงทรงหวลระลึก ถึง รูปฌานที่๑ ที่พระพุทธองค์เคยบำเพ็ญได้ตอนยังเป็นเจ้าชายสิตทัตถะ ดังที่ตรัสว่า

"....เรามีความคิดเห็นว่า ก็เราจำได้อยู่ ในงานของท้าวศากยะผู้พระบิดา
เรานั่งอยู่ที่ร่มไม้หว้ามีเงาอันเย็น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนี้กระมังหนอ จะพึงเป็นทางเพื่อความตรัสรู้. เราได้มีวิญญาณอันแล่นไปตามสติว่า ทางนี้แหละเป็นทางเพื่อความตรัสรู้.

เรามีความคิดเห็นว่า เรากลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมนั้นหรือ?
จึงมีความคิดเห็นว่า เราไม่กลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม....."




ดังนั้น จากพระสูตรนี้

1.พระพุทธเจ้า ใช้สมาธิเป็นบาทในการเจริญญาณ3 ในคืนนั้น.. ไม่ได้ละทิ้งสมถะ แล้วหันมาเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว อย่างที่มีการเข้าใจกัน

2.สมาธิที่พระพุทธองค์ใช้ในคืนวันตรัสรู้ เป็นวิธีแห่งอานาปานสติที่พระพุทธองค์เคยบำเพ็ญได้ ในตอนเป็นเจ้าชายสิตทัตถะ.... ไม่ได้ใช้ สมาธิแบบฤาษี

3.ในพระสูตรนี้ และ มีอีกบางพระสูตร พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "ไม่กลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม".....
แต่ ก็ทรงสอนไม่ให้ยึดติดในสุขนี้ เพราะมีวิมุติสุข ที่ยิ่งกว่านี้อีก

เป็น ลักษณะ

ทรงสอนให้รู้จักใช้ประโยชน์ ของสมาธิ (ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา) อย่างที่ควรเป็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2008, 22:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 14:05
โพสต์: 54


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไมเจ้าชายสิตธัตถะกว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าทรงลำบากมากและใช้เวลานานครับ :b10: :b10: :b10: :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2008, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เสฏฐวุฒิ เขียน:
ทำไมเจ้าชายสิตธัตถะกว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าทรงลำบากมากและใช้เวลานานครับ :b10: :b10: :b10: :b10:



จาก หนังสือพุทธธรรม


พวกนิครนถ์มีความเห็นว่า “ความสุขจะพึงลุถึงด้วยความสุขไม่ได้ ความสุขจะพึงลุถึงได้ด้วยความทุกข์”
ดังนั้น พวกนิครนถ์จึง บำเพ็ญตบะ กระทำอัตตกิลมถานุโยค คือ ทรมานตน-
(ม.มู.12/220/187)

พระพุทธเจ้าเมื่อก่อนตรัสรู้ ก็เคยทรงเข้าพระทัยอย่างนั้น จึงได้ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเสียเวลาไปยาวนาน
(ม.ม.13/489/443



และ มีที่กล่าวไว้ในบุพกรรมของพระองค์ในอดีตชาติ ว่าเป็นสาเหตุให้พระองค์ต้องทรงไปลำบากมาก และ ใช้เวลานานในการที่จะตรัสรู้


(1) พุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโลติที่ ๑๐ (๓๙๐) ว่าด้วยบุพจริยาของพระองค์เอง
เล่มที่ ๓๒

เราชื่อว่าโชติปาละ ได้กล่าวกะพระสุคตเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ในกาลนั้นว่า
"จักมีโพธิมณฑลแต่ที่ไหน โพธิญาณท่านได้ยากอย่างยิ่ง"

ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราได้ประพฤติกรรมที่ทำได้ยากมาก (ทุกกรกิริยา) ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมตลอด ๖ ปี แต่นั้นจึงได้บรรลุโพธิญาณ แต่เราก็มิได้บรรลุโพธิญาณอันสูงสุดด้วยหนทางนี้ เราอันบุรพกรรมตักเตือนแล้ว จึงแสวงหาโพธิญาณโดยทางที่ผิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2008, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สุขที่ ไม่อาศัยเหตุแห่ง เวทนา และ ตัณหา นั่นย่อมเป็นสุขที่ดับเย็นอย่างแท้จริง
เป็น บรมสุข เหนือสุขทั้งหลาย

นั่นคือ พระนิพพาน




บางท่านอาจแปลกใจว่า

อ้างคำพูด:
จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ นิพพาน ก็เป็น
ความสุข และเป็นบรมสุข คือ สุขสูงสุดด้วย – (ม.มฺ. 13/287/281 ฯลฯ )


แล้ว ทำไม ในสุข10ขั้น จึงไม่มีคำว่า สุขจากนิพพาน อยู่ในนั้น???



ความจริง สุขจากนิพพาน นั้น อยู่ในข้อ10นั่นเอง คือ

อ้างคำพูด:
10. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ อันถึงภาวะที่ดับสัญญาและเวทนาทั้งหมด


คือ สุข ที่ พระอรหันต์ และ พระอนาคามี ท่านประจักษ์เมื่อเข้านิโรธสมาบัตินั่นเอง

ดัง ที่ปรากฏใน

http://202.44.204.76/cgi-bin/stshow.pl? ... &lend=8973

นิพพานสูตร

[๒๓๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์

ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข ดูกรอาวุโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข

เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่าน
พระสารีบุตรว่า ดูกรอาวุโสสารีบุตร นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้
อย่างไร ฯ

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า

ดูกรอาวุโส นิพพานนี้ไม่มีเวทนานั่นแหละเป็นสุข

ๆลๆ



อีกประการหนึ่ง

ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง อาสวะทั้งหลายของเธอสิ้นรอบแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา

ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยาย แม้นี้ ฯ




และ จาก

อรรถกถาปริปุณณกเถรคาถา

ก็นิพพานสุขใด อันสงบประณีตล่วงส่วนทีเดียว อันเราเสวยอยู่ในวันนี้ คือในบัดนี้ ด้วยสามารถแห่งการเข้านิโรธสมาบัติ

นิพพานสุขนั้น อันเรารู้แล้ว คือกำหนดแล้ว ได้แก่อบรมดีแล้ว ฉันใด โภชนะมีรสตั้ง ๑๐๐อันเราบริโภคแล้ว ในเวลาครองราชย์ก็ดี และสุธาโภชน์ที่เราบริโภคแล้ว
ในอัตภาพของเทวดาก็ดี ก็ฉันนั้น ประมาณไม่ได้ คือกำหนดไม่ได้.

เพราะเหตุไร
เพราะนิพพานสุขนี้ อันพระอริยเจ้าทั้งหลายเสพแล้ว ไม่เป็นที่ตั้งแห่งกิเลสทั้งหลาย
แต่โภชนะมีรสตั้งร้อยนั้น อันปุถุชนเสพแล้ว เป็นไปกับด้วยอามิส (และ) เป็นที่ตั้งของกิเลสทั้งหลาย
โภชนะที่มีรสตั้งร้อย จึงไม่เข้าถึงการนับ คือไม่ถึงเสี้ยว ได้แก่ไม่เข้าถึงส่วนแห่งเสี้ยวของนิพพานสุขนั้น.




สุขจากสมาบัติทั้งแปด(รูปฌานสี่ อรูปฌานสี่)แม้นจะพ้นจากกามสุขแล้ว แต่ ยังต้องอาศัยเวทนาอยู่ จึงยังไม่ใช่ที่สุดของความสุข

ส่วน นิพพานสุข นั้น ไม่อาศัยเวทนา จึงเป็นที่สุดของความสุข... เป็น บรมสุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2008, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็น

บทสวดโพชฌงคปริต กับ ผลต่อธาตุขันธ์ของพระอริยเจ้ายามอาพาธ
เมื่อเทียบกับ ผลต่อร่างกายของปุถุชนยามเจ็บป่วย



ผมเห็นด้วย100%ครับ
ว่า พระอริยเจ้าท่านย่อมได้รับผลจากการฟังบทสวดโพชฌงคปริต มากกว่าปุถุชน อย่างเทียบกันไม่ได้

และ ในพระไตรปิฎก ที่ปรากฏว่า หลังฟังบทสวดโพชงคปริต แล้วอาพาธระงับอย่างรวดเร็วนั้น ก็ล้วนเป็นเหตุการณ์ที่เกิดกับพระอริยเจ้าทั้งสิ้น

เพราะ จิตของพระอริยเจ้าท่านย่อมบริสุทธิ์ด้วยศีล และ มีกำลังแห่งสมาธิ และ ปัญญา มากกว่าปุถุชนมากมาย นั่นเอง....



ปุถุชนบางท่าน อาจฟังบทสวด แล้วไม่เข้าใจความหมายเสียด้วยซ้ำ ว่าแปลว่าอะไร ต้องปฏิบัติอย่างไร


แต่ ผมเคยรับทราบ ว่า มีกรณีหนึ่ง
มีผู้ป่วย ด้วยมะเร็งสมองระยะสุดท้าย... ท่าน ตั้งใจสวดโพชฌงคปริตอย่างมาก (ผมก็ไม่ทราบว่า ท่านเจริญธรรม ในองค์แห่งโพชฌงค์ควบคู่ไปด้วยหรือไม่). ปรากฏว่า อาการเจ็บปวดทรมานของท่านดีขึ้นมาก. แม้น ในตอนจะตาย ท่านก็ตายอย่างมีสติ และ ไม่ทุรนทุราย มาก. อาจเป็นเพราะ จิตอันมีศรัทธาในพระธรรมคุณก็ได้



ในประเทศตะวันตก ณ เวลานี้
เขานำเอา สมาธิภาวนาแนวสติปัฏฐาน ไปประยุกต์ใช้ ในการรักษาการเจ็บป่วย ทั้งทางกาย และ ทางจิต.. โรงพยาบาล หลายแห่ง ในอเมริกา ใช้สติปัฏฐาน ไปช่วยเสริมการรักษามานานแล้ว

โรงพยาบาลในเมืองไทยเราบางแห่ง (ทั้งๆที่ ไทยเป็นต้นตำรับของสมาธิภาวนาแท้ๆ) ก็เริ่ม ปฏิบัติตามทางประเทศตะวันตกกันให้เห็นแล้ว.


http://www.budpage.com/bn188.shtml

โรงพยาบาลและคลีนิคมากกว่า 200 แห่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้การฝึกจิตส่งเสริมผู้ป่วยที่มีปัญหาทั้งทางจิตใจและร่างกาย

Paul Keinarth แพทย์แห่ง Austin ได้เริ่มนั่งสมาธิฝึกจิตเมื่อสี่ปีแล้ว ในช่วงที่อยู่ในภาวะที่จิตใจย่ำแย่ ความคิดที่มีแต่การแข่งขัน ความกังวลและความเครียด ทำให้เขามีปัญหาในการนอนหลับ อีกทั้งยังห่างเหินกับครอบครัวอีกด้วย

Keinarth ผู้ชึ่งปัจจุบันสอนคอร์สการฝึกสติ กล่าวว่า "การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างเหลือเชื่อ ปัจจุบันผมใช้ชิวิตอย่างสบายปลอดโปร่ง แทนที่จะใช้ชีวิตจมปลักอยู่กับเรื่องราวเก่าๆมากมายที่ได้เกิดขึ้นกับผมและผู้อื่น มีความผูกพันมากขึ้นระหว่างผมกับครอบครัว และผมได้ปรับจิตใจให้มีขันติความอดทนมากยิ่งขึ้น

Dr. James Ruiz นักรังสีวิทยา จาก Baton Rouge, La., กล่าวว่าความสนใจของเขาในเรื่องการมีสติอยู่กับตัวเริ่มขึ้นสมัยที่ลูกชายวัยหกขวบของเขายังเป็นทารก เมื่อลูกร้องไห้กลางดึก เขาจะอุ้มลูกไว้ในขณะที่ตัวเองก็จะเดินไปทำสมาธิไป เขากล่าวว่า การเจริญสติให้ตั้งมั่นอยู่กับตัวนั้นได้ทำให้วิถีชีวิตของคนที่เป็นพ่อแม่ได้เปลี่ยนแปลงไป "สิ่งที่ทำให้คุณโกรธนั้นไม่ใช่เพราะการตื่นขึ้นมากลางดึกเมื่อได้ยินเสียงลูกร้อง " เขาว่า " หากแต่สิ่งที่ทำให้คุณโมโหคือการที่คุณต้องการกลับไปยังที่นอนนั่นเอง " การเจริญสติคือการปลดปล่อยความรู้สึกนั้นไป ยอมรับความเป็นจริงและสนใจกับสิ่งที่อยู่ข้างหน้าคุณ"



และ ปัจจุบัน ก็มีผลการวิจัยจำนวนมาก จากประเทศตะวันตก ที่บ่งชี้ให้เห็นว่า

การที่จิตผ่อนคลายความเครียด(ปัสสัทธิ นั่นเอง) ช่วยให้การเจ็บป่วยทางกาย ดีขึ้นได้จริง


ส่วนตัวผมเอง เวลาผมเจ็บป่วย
ผมก็ ทำทั้งสองอย่าง คือ พยายามเจริญอานาปานสติ และ สติปัฏฐาน เท่าที่จะทำได้... รวมทั้ง สวดโพชฌงคปริตไปด้วย
แต่ ผมคงไม่ไปคาดหมายว่า จะได้ผลลัพธ์เหมือนที่ปรากฏต่อพระอริยเจ้าในครั้งพุทธกาลหรอกครับ
ได้แค่ไหน..ผม ก็เอาแค่นั้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 61 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร