วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 16:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www




1911-6.jpg
1911-6.jpg [ 38.29 KiB | เปิดดู 6243 ครั้ง ]
สวัสดีครับอาจารย์ และพี่ๆ ทุกท่าน :b8:
รบกวนตอบปัญหาของผมหน่อยครับ
:b5:

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

ผมอ่านเจอประโยคที่ว่า " นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง "

เกิดความสงสัยว่าเมื่อเราปฏิบัติตนให้พ้นทุกข์ มุ่งสู่นิพพาน

เมื่อเราตายไป ละวางสังขารได้แล้ว...

กายนี้....จิตนี้ไม่ใช่ของเรา...


แล้ว.....ใครเล่าหรืออะไรที่จะมาเสวยสุขคือนิพพานอันเป็นสุขอย่างยิ่งนี้ได้.....


:b10: :b10: :b10: :b10: :b10: :b10: :b10:

ขอบคุณครับอาจารย์ทุกๆ ท่าน
:b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาณ เขียน:
สวัสดีครับอาจารย์ และพี่ๆ ทุกท่าน :b8:
รบกวนตอบปัญหาของผมหน่อยครับ
:b5:

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

ผมอ่านเจอประโยคที่ว่า " นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง "

เกิดความสงสัยว่าเมื่อเราปฏิบัติตนให้พ้นทุกข์ มุ่งสู่นิพพาน

เมื่อเราตายไป ละวางสังขารได้แล้ว...

กายนี้....จิตนี้ไม่ใช่ของเรา...


แล้ว.....ใครเล่าหรืออะไรที่จะมาเสวยสุขคือนิพพานอันเป็นสุขอย่างยิ่งนี้ได้.....


:b10: :b10: :b10: :b10: :b10: :b10: :b10:

ขอบคุณครับอาจารย์ทุกๆ ท่าน
:b8:


ตอบ...
การที่เขาทั้งหลายเหล่านั้น กล่าวว่า "นิพพาน เป็นสุขยิ่ง" ก็เป็นเพียงการเปรียบเทียบ หรือสมมุติว่า นิพพาน คือ ความสุข ชนิดหนึ่ง ซึ่งความจริงแล้ว นิพพานไม่ใช่ความสุขดอกนะคุณ เพราะนิพพาน คือการรู้จักขจัดอาสวะแห่งกิเลส ได้อย่างหมดจด เท่านั้น
ส่วนคำถามที่ว่า "เกิดความสงสัยว่าเมื่อเราปฏิบัติตนให้พ้นทุกข์ มุ่งสู่นิพพาน เมื่อเราตายไป ละวางสังขารได้แล้ว กายนี้ จิตนี้ไม่ใช่ของเรา"
ก็ต้องให้คุณถามตัวคุณเองว่า เวลาคุณนอนหลับไปนั้น คุณรู้ไหมว่า จิตเป็นของใคร ของคุณหรือว่าไม่ใช่คุณ ส่วนร่างกายนั้น ถ้าเป็นกายหยาบคือร่างกายโดยทั่วไป เมื่อตายย่อมใช้การไม่ได้ แต่ยังมีกายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งในทางศาสนา เรียกว่า "จิตวิญญาณ" และ"จิตวิญญาณ" ก็คือ "จิตวิญญาณของเรา" เหมือนเมื่อคุณฝันไป นั่นแหละ คือจิตของคุณละขอรับ
คำตอบอาจวกวนสักนิด แต่คงเกิดความเข้าใจได้ว่า "เมื่อตายไป จิตยังเป็นของเรา และเป็นจิตวิญญาณที่ บรรลุหรือสำเร็จนิพพานแล้ว ไม่ใช่จิตที่แตกย่อยเพราะความโลภ โกรธ หลง ในสิ่งต่างๆ
แต่จะรวมเป็นดวงเดียว อันเดียว ร่างเดียว ในสภาพของปรมณู หรือ จิตวิญญาณ ตามศัพท์ทางศาสนา ฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 23:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มันเป็นการเล่นคำน่ะครับ

เช่น อาการร้อน หนาว หิว
มันเป็นปกติธรรมดาของมนุษย์ชาติทุกผู้ทุกนาม
ดังนั้น ไม่ว่าี้ภาษาไหน วัฒนธรรมไหน ดินแดนไหน ก็จะมีคำศัพท์ของสิ่งเหล่านี้


แต่อะไรก็ตามที่อยู่ในสภาวะนิพพาน มันเหนือคำพูดทั้งปวง มันไม่ใช่เรื่องปกติที่เกิดกันทุกคน ทุกชาติ ทุกภาษา
เลยจะหาคำเฉพาะที่หมายถึงสภาวะนั้นตรงๆ เลยไม่มี
หาคำพูดภาษามนุษย์อธิบายไม่ได้
นิพพานเป็นบรมสุข น่าจะหมายถึง สิ่งที่"ยิ่งกว่า"ความสุข

อย่างความสุขที่ได้จากการสูบบุหรี่ ถามว่ามันเป็นความสุขไหม ก็เป้นความสุขนะ
นั่งสมาธิจนสงบเกิดความสุขขึ้นมา นั่นก็ความสุข
มันก็เป็น .."ความสุข" เหมือนกัน
แต่เอาเข้าจริง .. คนละสุข


อย่างเราเข้าห้องน้ำถ่ายออก
เราไม่ได้อะไรขึ้นมาเลยนะ ไม่มีอะไรเข้ามาในร่างกาย
แต่เราถ่ายของเสียออกไป เราก้มีความสุข
ความสุข ...จากการ ...เสียออกไป ...แล้วก็ไม่ได้อะไรขึ้นมาด้วยนะ...
สูญเสียไป แต่เป้นสุข

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 05:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณฌานคิดพันกันนุงนัง และคิดข้ามมิติ
ที่ท่านว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
ถามว่า ทำไมจึงเป็นสุข
เพราะอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ดับไป จึงเป็นสุข
แล้วอวิชชา ตัณหา อุปาทานเป็นต้นนี่ล่ะอยู่ไหน
ตอบ อยู่ที่จิตใจของแต่ละคนๆนั่น เมื่อตนดับได้ก็เป็นสุข ตนนั้นก็เป็นสุข

นำหลักสั้นมาให้พิจารณา

(เมื่ออวิชชา ตัณหา อุปาทานดับไป นิพพานก็ปรากฏแทนที่พร้อม
กัน
จะพูดให้มั่นเข้าอีกก็ว่า การดับอวิชชา ตัณหา อุปาทานนั่นแหละ
คือนิพพาน)


ธรรมชาติกายใจนี้ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาอยู่แล้ว
แต่เพราะมีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน จึงทำให้มนุษย์มองพลาดไปว่า เป็นเราเขาเป็นสัตว์เป็นบุคคลขึ้น
ก็จึงเป็นทุกข์ เมื่อดับกิเลสดังกล่าวได้จึงเป็นสุข

สังขารได้แก่ธรรมชาติที่ปรุงแต่ความคิดให้รักโกรธหลง เป็นต้น ซึ่งก็เนื่องมาจากอวิชชา ตัณหาเป็นต้นนั่น
เมื่อปฏิบัติธรรมถูกต้องวิชชาเกิดขึ้นทุกข์ก็ดับก็นิพพาน ท่านจึงว่านิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

วางสังขาร ก็วางตอนเป็นๆยังมีลมหายใจอยู่นี่แหละ ไม่ใช่วางเอาหลังจากตายแล้ว :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาหลัก

“อาศัยเครื่องไม้ เถาเชือก ดินฉาบ และหญ้ามุง มีช่องว่างแวดล้อม ย่อมเรียกกันว่าเป็นเรือนฉันใด
อาศัยกระดูก เส้น เอ็น หนัง มีช่องว่างแวดล้อม ย่อมเรียกกันว่าเป็นตัวคน (รูป) ฉันนั้น”
(ม.มู.12/346/358)

มารถามพระวชิราภิกษุณีว่า

“สัตว์นี้ (ตัวบุคคลนี้) ใครสร้าง ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน สัตว์เกิดที่ไหน สัตว์ดับที่ไหน ?”

พระวชิราภิกษุณีตอบว่า

“นี่แน่ะมาร ท่านเชื่อหรือว่าเป็นสัตว์ (เป็นตัวบุคคล) ท่านมีความเห็น (อย่างนั้น) หรือ ? นี่คือกองแห่งสังขาร ล้วนๆ จะหาตัวสัตว์ในที่ไม่ได้เลย เพราะประชุมส่วนประกอบเข้าด้วยกัน ย่อมมีศัพท์เรียกว่า รถ ฉันใด เมื่อขันธ์ (กองรูปธรรมและนามธรรม) ทั้งหลายมีอยู่ ก็มีสมมุติเรียกว่า สัตว์ฉันนั้น แท้จริงทุกข์ (สภาพไม่คงตัว) เท่านั้นเกิดมี และทุกข์ก็ตั้งอยู่และเสื่อมสลายไป นอกจากทุกข์ (สภาพไม่คงตัว) ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ”
(สํ.ส.15/553/196)


อีกตัวอย่างหนึ่ง


พระเสลาภิกษุณีตอบว่า

“ร่างนี้ ไม่มีใครสร้าง ตัวนี้ไม่มีใครบันดาล อาศัยเหตันก็เกิดมี เพราะเหตุสลายมันก็ดับ เม็ดพืชอย่างใดอย่างใดอย่างหนึ่งที่เขาหว่านในนา อาศัยรสในแผ่นดินและยางในเมล็ดพืชทั้งสองนี้ ก็ย่อมงอกงามขึ้นได้
ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ประดาขันธ์ ธาตุทั้งหลาย และอายตนะทั้ง 6 เหล่านี้ อาศัยเหตุย่อมเกิดมี
เพราะเหตุสลาย ก็ย่อมดับไป”
(สํ.ส. 15/551/197)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อถามว่า “ใครเป็นผู้เสวยสุขในนิพพาน”

ตอบแบบภาษาสมมุติเพื่อให้เห็นภาพก็ว่า ใครดับอวิชชา ตัณหา อุปาทานได้ ผู้นั้นได้สิทธิ์เสวยนิพพานสุข

หากตอบแบบธรรมล้วนๆ แท้ๆ ก็ตอบตามหลักนี้

“ผู้ทำ....ไม่มี ผู้เสวยก็ไม่มี มีแต่ธรรมล้วนๆ ย่อมเป็นไป ความเห็นอย่างนี้ จึงเป็น สัมมาทัศนะ”
(วิสุทธิ. 3 /226)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


เคยได้ยินมาว่า นิพพาน แปลว่า สุก = สุข
ข้าวสุก เขาเรียกกันว่า ข้าวนิพพาน = หมอเชื้อที่จะเกิดได้อีก(เอาไปปลูกเป็นต้นข้าวไม่ได้แล้ว)
ถ้าจิตนิพพาน ก็น่าจะเป็น จิต ที่สุข = หมดกรรมที่เป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ( หมดการดำริ , หมดเจตนา )

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยพยัญชนะ หรือตามตัวอักษร นิพพาน มาจาก นิ อุปสรรค (แปลว่า ออกไป หมดไป
ไม่มี ) + วาน (แปลว่า พัด ไป หรือเป็นไปบ้าง เครื่องร้อยรัดบ้าง)

ใช้เป็นกิริยาของไฟ หรือการดับไฟ หรือของที่ร้อนเพราะไฟ แปลว่า ดับไฟ หรือดับร้อน หมายถึง
หายร้อน เย็นลง หรือเย็นสนิท (แต่ไม่ใช่ดับสูญ)

แสดงภาวะทางจิตใจ หมายถึง เย็นใจ สดชื่น ชุ่มชื่นใจ ดับความร้อนใจ หายร้อนรน ไม่มีความกระวนกระวาย
หรือแปลว่า เป็นเครื่องดับกิเลส คือทำให้ราคะ โทสะ โมหะ หมดสิ้นไป

ในคัมภีร์รุ่นรองและอรรถกถาฎีกาส่วนมากนิยมแปลว่า ไม่มีตัณหาเครื่องร้อยรัด หรือออกไปแล้วจากตัณหา
ที่เป็นเครื่องร้อยติดไว้กับภพ *
.........

*ข้อความแสดงวิเคราะห์ศัพท์นิพพานมาในคัมภีร์มากมายหลายแห่ง โดยเฉพาะ ขุ.จู.30/381/184
วินย.อ. 1/255 ฯลฯ แต่ส่วนมากซ้ำกันหรือคล้ายกัน
นอกจากความหมายที่กล่าวมาแล้ว ยังอาจแปลว่า ปราศจากป่า คือไม่มีป่ากิเลส ไม่มีดงกิเลส
องฺ.ฉกฺก.22/314/386 ฯลฯ
หรือ แปลว่า ดับทุกข์ทั้ง 3 ชนิดคือ ทุกขทุกข์ วิปริณามทุกข์ และ สังขารทุกข์
(วิสุทธิ.ฎีกา.2/246)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตอบคุณ ฌาน ดังนี้ครับ

ถาม : ใครเล่าหรืออะไรที่จะมาเสวยสุขคือนิพพานอันเป็นสุขอย่างยิ่งนี้ได้

ตอบ : ความสุขจากนิพพาน เป็นความสุขที่เกิดจากการสิ้นกิเลส ตัณหา อุปาทาน แต่แท้จริงแล้วผู้เสวยนิพพานมิได้มีอยู่ เพราะชีวิตของคนเรานั้นเป็นเพียงขันธ์ห้ามารวมตัวกันเท่านั้น แล้วสมมุติเรียกว่าคน ดังนั้นคนที่เสวยสุขอันเกิดจากนิพพานก็ได้ผู้ที่สมมุติกันว่าพระอรหันต์เท่านั้นครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b10: :b10: ใครเสวยอารมณ์สุขในนิพพาน :b10: :b10:

ขอขอบคุณอาจารย์และพี่ๆทุกท่านอย่างมากครับที่ได้แสดงความเห็น :b8:

ผมพอสรุปแนวทางที่แต่ละท่านให้ความเห็นไว้ 4 ประการ(ผิดถูกอย่างไร อ.ช่วยเติมด้วยครับ) :b11:

1.ผู้ที่เสวยอารมณ์นิพพานว่าเป็นสุขอย่างยิ่งนั้นคือ จิต นั่นเองซึ่งยังเป็นของเรา

2.เป็นการใช้คำทางโลกเปรียบเทียบ

3.ใครดับอวิชชา ตัณหา อุปาทานได้ ผู้นั้นได้สิทธิ์เสวยนิพพานสุข(พระอรหันต์)

4.ผู้ทำ....ไม่มี ผู้เสวยก็ไม่มี มีแต่ธรรมล้วนๆ ย่อมเป็นไป

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ต้องขอยกข้อความบางตอนของท่านอาจารย์กรัชกายมานะครับ

จากกระทู้ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=18339

อ้างคำพูด:
1.สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ แปลว่า ภาวะของนิพพานที่เป็นไปกับด้วยอุปาทิเหลืออยู่ หรือนิพพานที่ยังเกี่ยวข้องกับขันธ์ 5 ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเกี่ยวข้องกับขันธ์ 5 ในกระบวนการรับรู้เสวยอารมณ์


อ้างคำพูด:
ขยายความออกไปว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ ภาวะจิตของพระอรหันต์ซึ่งปลอดโปร่งเป็นอิสระไม่ถูกปรุงแต่งบังคับด้วยราคะ โทสะ และโมหะ ทำให้พระอรหันต์นั้น ผู้ยังมีอินทรีย์สำหรับรู้อารมณ์ต่างๆ บริบูรณ์ดีอยู่ตามปกติ เสวยอารมณ์ทั้งหลายด้วย...จิตใจที่เป็นอิสระ


ประเด็นที่ 1
คงไม่มีปัญหาอะไรถ้าเป็นนิพพานชนิดนี้....จิตใจของเราเป็นผู้เสวยอารมณ์นั้นใช่ไหมครับ...

อ้างคำพูด:
2.อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แปลว่า ภาวะของนิพพานที่ไม่มีอุปาทิเหลืออยู่ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับ
ขันธ์ 5 ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์พ้นจากเวลาเสวยอารมณ์ด้วยอินทรีย์ 5 หรือนิพพานของพระอรหันต์ที่นอกเหนือจากความเกี่ยวข้องกับขันธ์ 5 ในกระบวนการรับรู้เสวยอารมณ์


ประเด็นที่ 2
ผมเลยสงสัยว่า.......แล้วรับรู้อย่างไรว่านิพพานสุขอย่างยิ่ง(ถ้าไม่ใช่คำเปรียบเปรย)
ผมคิดเอาเองนะครับว่า ท่านน่าจะใช้ภาษาเข้าใจง่ายๆว่านิพพานนั้นมีสุขอย่างยิ่งจริงๆ ไม่ได้เป็นเชิงเปรียบเทียบให้ตีความยากวุ่นวาย....ดุจธรรมที่แสดงเข้าใจง่ายเหมือนของคว่ำแล้วจับหงาย (ไม่รู้เขียนถูกปะครับ)


อ้างคำพูด:
นิพพานในข้อที่สองนี้ เป็นด้านที่เพ่งถึงภาวะของนิพพานเองแท้ๆ ที่ประจักษ์แก่พระอรหันต์พ้นจากกระบวนการรับรู้เสวยอารมณ์ภายนอก นอกเหนือจาการดำเนินชีวิตตามปกติ เป็นภาวะที่พูดถึงหรือบรรยายได้เพียงแค่ลักษณะของการเกี่ยวข้องกับนิพพานนั้น ถึงจุดที่ประสบการณ์อย่างที่รู้ที่เข้าใจกัน ซึ่งไม่ใช่นิพพานได้สิ้นสุดลง ส่วนภาวะของนิพพานเองแท้ๆ ซึ่งลึกเลยไปกว่านั้น เป็นเรื่องของผู้ประสบและประจักษ์เองจะรู้และเข้าใจ คือเป็นสันทิฏฐิกะ


ประเด็นที่ 3
ถ้าเป็นเรื่องที่ลึกเลยไปกว่านั้น(พ้นจากกระบวนการรับรู้เสวยอารมณ์ภายนอก)ก็น่าจะเป็นการรับรู้ภายในใชไหมครับ

อ้างคำพูด:
** ธัมมายตนะ อายตนะภายนอกอย่างที่ 6 ได้แก่ ธรรมารมณ์ ซึ่งแยกได้เป็นขันธ์ 5 กับนิพพาน
(นิพพานเป็นธรรมนอกเหนือจากขันธ์ 5 ดังในคัมภีร์ชั้นหลัง มีคำแสดงลักษณะนิพพาน อีกคำหนึ่งว่า
ขันธวินิมุต แปลว่า พ้นจากขันธ์ คือจัดเข้าในขันธ์ 5 ไม่ได้ (ปญฺจ.อ. 389 ฯลฯ) แต่กระนั้นก็จัดเข้าใน
ธัมมายตนะด้วย (วิภงฺค.อ.67 ฯลฯ)


ประเด็นที่ 4
กระบวนการรับรู้ภายในนั้นคือธัมมายตนะใช่ไหมครับ
แล้วอะไรรับรู้ในธัมมายตนะนั้น


:b34: :b34: :b34: เสนอประเด็นให้อาจารย์แต่ละท่านพิจารณาครับ :b10: :b10: :b10:

ขอบคุณครับ :b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้เสวยสุขในโลก คือ พระอรหันต์สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ แต่เพราะท่านยังมีขันธ์ 5 ซึ่งเป็นอนัตตาอยู่ ท่านจึงยังเกิดทุกข์ทางกาย อันเนื่องจากการแก่ เจ็บ ตาย

ผู้เสวยสุขในนิพพาน คือ พระอรหันต์อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แต่เพราะขันธ์ของท่านได้เปลี่ยนเป็น
ธรรมขันธ์หรือธรรมกาย ธรรมกายตัวนี้เป็นอายตนะนิพพาน อายตนะนิพพานหรือธรรมกายเป็นสิ่งเดียวที่เป็นอัตตา
" อัตตา " ที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึงในอนัตตลักขณะสูตร หมายถึง สิ่งนั้นต้องเที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวน
เป็นธรรมดา บังคับให้เป็นไปได้ดังใจ
ดังนั้น ธรรมกายจึงบรรจุจิตพุทธะหรือจิตบริสุทธิ์เอาไว้

อายตนะนิพพาน หรือธรรมกาย หรือธรรมขันธ์ เป็นกายแท้หรืออัตตา มันไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
ตัวนี้เองที่เป็นสุข


ส่วนอายตนะทางโลกคือ ขันธ์ 5 เป็นกายเก๊ เป็นอนัตตา มันจึงเกิด แก่ เจ็บ ตาย และหลีกเลี่ยงความทุกข์
ตามกฏไตรลักษณ์ไม่พ้น


แก้ไขล่าสุดโดย พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เมื่อ 20 ต.ค. 2008, 19:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณฌาณครับ



มีขันธ์ 2 ขันธ์อยู่ในตัวเราครับ ขันธ์แรกเป็นขันธ์ 5 ซึ่งเป็นอนัตตา เกิด แก่ เจ็บ ตาย ขันธ์ที่ 2 เป็นธรรมขันธ์ หรือ ธัมมายตนะ เป็น ขันธวินิมุต แปลว่า พ้นจากขันธ์ 5 คือจัดเข้าในขันธ์ 5 ไม่ได้ ธรรมขันธ์ หรือ ธัมมายตนะ ตัวนี้เป็นตัวที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย

พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน ปทโสธนมูลจักกวาร

ธัมมายตนะ เป็นอายตนะด้วย เป็นธัมมายตนะด้วย อายตนะที่เหลือนอกนั้น เรียกว่า
อายตนะ แต่ไม่ใช่ธัมมายตนะ.


ความหมายคือ อายตนะที่เหลือนอกนั้น = ขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวธรรมขันธ์ หรือ ธัมมายตนะ


ธัมมะคือธัมมายตนะหรือ?
ยกเว้นธัมมายตนะเสียแล้ว ธรรมที่เหลือนอกนั้น เรียกว่าธัมมะ แต่ไม่ใช่ธัมมายตนะ
ธัมมายตนะ เป็นธัมมะด้วย เป็นธัมมายตนะด้วย


ธัมมะ หมายถึง "สถานที่ แสดงธรรมที่นำพาให้ถึงความหลุดพ้น ซึ่งก็คือขันธ์ 5 ของเราเป็นสถานที่นำพาให้ถึงความหลุดพ้น

ธัมมายตนะ เป็นธัมมะด้วย เป็นธัมมายตนะด้วย หมายความว่า ธัมมายตนะอยู่ในตัวขันธ์ 5 นั่นเอง แต่แยกกันอยู่ คือ เป็น ธัมมะ(ขันธ์ 5) และเป็นธัมมายตนะ(ธรรมกายหรือธรรมขันธ์)ด้วย


ยากที่จะมีใครบอกคุณฌาณให้รู้ในสิ่งนี้ได้ เพราะมันเป็นความลับของฟ้าที่อยู่ในพระไตรปิฎก คุณจะเชื่อผมหรือไม่ก็ไม่เป็นไรนะครับ เพราะเรื่องนี้เป็นธรรมะในระดับโลกุตตระธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้นในเรื่อง ธรรมขันธ์ หรือ ธัมมายตนะ ที่เป็นตัวที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย มันอยู่ร่วมกับตัวขันธ์ 5 ได้อย่างไร คุณต้องดูที่เลข 1 ครับ แท้จริงเลข 1 ก็คือ 1+0 = 1 1 เป็นตัวที่บรรจุกิเลสต่างๆเอาไว้ พอเราดับกิเลสออกหมดแล้ว มันก็เหลือ 0 แต่ 0 ตัวนี้เป็น 0 มหัศจรรย์ เพราะมันมีอยู่ และมันเป็นองค์ประกอบของตัวเลขทุกตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 15:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


natdanai เขียน:
เคยได้ยินมาว่า นิพพาน แปลว่า สุก = สุข
ข้าวสุก เขาเรียกกันว่า ข้าวนิพพาน = หมอเชื้อที่จะเกิดได้อีก(เอาไปปลูกเป็นต้นข้าวไม่ได้แล้ว)
ถ้าจิตนิพพาน ก็น่าจะเป็น จิต ที่สุข = หมดกรรมที่เป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ( หมดการดำริ , หมดเจตนา )


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 38 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron