วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2013, 00:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b10: :b10:
ตามความคิดเอกอนไม่ทัน..เรยย..อิอิ


สัญญาอดีต มากระทบ เป็น ผัสสะปัจจุบัน
เราเกาะติดไปกับเรื่องราว
หรือ ผัสสะ ล่ะ

ถ้าอยู่กับผัสสะ เราจะเห็นการปรากฎของสัญญา การตั้งอยู่ และการดับไปของสัญญา
แต่ถ้าเราเกาะติดไปกับเรื่องราว มันจะนำไปสู่ การปรุง ด้วยสัญญาเก่า ...

เรื่องกรรมเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
มันไม่มีกรรมเก่า ... มันเป็นลักษณะของการหมายมั่น
มันเป็นผัสสะ ปัจจุบัน แต่สัญญาที่เป็นไป กรรมจึงถูกเข้าใจไปในหลายความเข้าใจ
กลายเป็นกรรมของปุถุชนบ้าง กรรมแบบนั้นกรรมแบบนี้

เรื่องกรรม ต้องเอามรรค เอาการปฏิบัติเข้าจับ
ความเข้าใจจะค่อยๆมีขึ้นมาเอง...การเข้าไปเข้าใจกรรมด้วยมรรคปฏิบัติ
ทำใจให้อยู่เหนือกรรม...

ความเห็นตามมรรคที่เหมาะสม
มันจะทำเกิดอารมณ์อันเป็นสันติกับการปรากฏ
นำไปสู่เจตนาที่บริสุทธิ์

การมีเจตนาที่บริสุทธิ์...ทำให้จิตไม่มีกรรมมารบกวนใจ
ความกังวลในเรื่องกรรมก็จะน้อย ...

ธรรมทุกอย่างต้องปฏิบัติ...แล้วจะค่อยรู้ไปเอง

นี่เอกอนอธิบายแบบลวก ๆ นะ

กรรม ในความเข้าใจเอกอน ไม่ใช่ตัณหา อุปทาน ภพ

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2013, 10:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


... เมื่อนั่งเทียนตอบสุ่ม ๆ ไปตามมีตามเกิดแล้ว ...
เอกอนก็ไม่วายต้องดั้นด้นเไปหาอากู๋ เพื่อเช็คหาพระสูตร อันเหมาะเจาะ ...
....
เพราะ เอกอนก็ยังเป็นปุถุชนคนธรรมด๊า ธรรมดา น่ะเน๊อะ
แบบว่า ก็กลัวพล่ามมากแล้วจะมั่วเหมือนกัลลล์...อิอิ

บังเอิญ...ที่หาเจอ..... :b4: :b4:

Quote Tipitaka:
245 กรรม เหตุของกรรม และวิธีดับกรรม

ปัญหา กรรมคืออะไร อะไรเป็นเหตุของกรรม จะดับกรรมได้ดีโดยวิธีใด ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรมบุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉนคือผัสสะ (การกระทบกันระหว่างตากับรูป หูกับเสียง เป็นต้น) เป็นเหตุเกิดแห่งกรรม ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือกรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี ทำให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี ที่ให้วิบากในมนุษยโลกก็มี ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม
“ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรม ว่ามี ๓ ประการ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑ กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ นี้เรียกว่า วิบากแห่งกรรม
“ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ... สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม
“ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัด กรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์ อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลสเป็นที่ดับกรรมนี้”

นิพเพธิกสูตร ฉ. อํ. (๓๓๔)
ตบ. ๒๒ : ๔๖๔-๔๖๕ ตท. ๒๒ : ๔๒๒-๔๒๓
ตอ. G.S. III : ๒๙๔


:b4: :b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2013, 10:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุ....มีเพื่อนดี..มันดีอย่างนี่เอง...ไม่ได้ปลูกทุเรียนก็ยังได้กินทุเรียนกะเขาบ้าง..

:b12: :b16: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2013, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


"เราเข้าใจคุณน้ำค่ะ ว่าทำไมคุณน้ำ ถึงกลัวการสร้างเหตุกับผู้อื่น
แต่ทีนี้ ในความคิดของเราน่ะคะ"

คุณเต้

คุณรู้แค่ไหน ย่อมนำมาแสดงแค่นั้น วันใดคุณเต้ รู้ชัดในเรื่องของเหตุและผล คุณจะเริ่มหยุดการสร้างเหตุนอกตัวมากขึ้น

ไม่ใช่แค่หยุดการสนทนา ไม่ใช่หยุดเพราะ กลัว การสร้างเหตุกับผู้อื่น อย่างที่คุณเข้าใจ ณ ตอนนี้

ไม่ได้หยุด เพราะ กลัว
แต่หยุด เพราะ รู้ค่ะ


คำว่า "หยุดการสร้างเหตุนอกตัว" หมายถึง เมื่อมีสิ่งใดเกิดขึ้น เป็นเหตุให้เกิด ความรู้สึกยินดี/ยินร้าย ให้มีสติรู้อยู่ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

หมายความตามนี้นะ คุณเต้ ไมได้หมายถึง เช่น เห็นคนทะเลาะตบตีกัน ก็อย่าไปร่วมกับเค้า หรือไปช่วยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

คือ ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วแต่เหตุปัจจัยของสิ่งๆนั้น ส่วนจะเข้าร่วมหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยอีกน่ะแหละ

เหมือนเหตุนี้เช่นกัน ที่น้ำเห็นคุณเต้ เข้ามาถามคำถาม
เรามีเหตุร่วมกันอยู่ จึงอดไม่ได้ ที่จะแวะเวียนเข้ามาหาคุณเต้

เมื่อมีเหตุอยู่ ผลย่อมมีเกิดขึ้น เป็นธรรมดา
เมื่อไม่สร้างเหตุต่อ ผลจะเอามาจากไหน ยกเว้น เหตุปัจจัย ที่ยังมีอยู่

ก็ไม่รู้ว่า คุณเต้จะเข้าใจในสิ่งที่ น้ำได้บอกกับคุณเต้มาตลอดนั้น ได้มากน้อยแค่ไหน ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยอีกน่ะแหละ

บางสิ่ง เมื่อยังมีติดข้องอยู่ ผลย่อมมีเกิดขึ้นตามมา ถ้าวางลงไปได้ ผลจะมีเกิดขึ้นอีกหรือไม่
ก็ขึ้นอยู่กับ เหตุปัจจัยที่มีอยู่นั้น ว่าหมดเชื้อแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่หมด เหตุมี ผลย่อมมี

เมื่อถึงเวลา เหตุปัจจัยพร้อม จิตย่อมปล่อยวาง ตามเหตุปัจจัยเอง โดยไม่ต้องไปพยายามคิด ที่จะปล่อยวาง

เหตุ

ขณะผัสสะเกิด เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกนึกคิดใดๆก็ตาม ให้กระทำไว้ในใจ คือ รู้อยู่ในใจ
ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

เป็นเหตุให้ สภาวะ การให้ทาน การเป็นผู้มีศิล ภาวนา เกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัย ได้แก่

การให้ทาน หมายถึง การให้อภัยทานต่อผู้อื่น ทุกๆการกระทำ ที่เขาทำกับเรา ให้อภัยทุกอย่าง

การเป็นผู้มีศิล หมายถึง การเป็นผู้สังวร ระวัง ได้แก่ เป็นผู้มีสติ สัมปชัญญะ รู้อยู่ในกายและจิตของตัวเอง

ภวานา หมายถึง เป็นผู้มีสมาธิ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม รู้ชัดอยู่ภายในกายและจิต ความรู้สึกนึกคิดอะไรเกิดขึ้น ก็รู้

สภาวะนี้ เป็นสภาวะสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ การรู้ชัดอยู่ภายใน กาย เวทนา จิต ธรรม

เป็นผู้ที่ละอภิชชา โทมนัสเสียได้ หมายถึง การไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
เป็นการละ โดยการกระทำ ละแบบหยาบๆ

เมื่อไม่สร้างเหตุออกไป เหตุไม่มี ผลย่อมไม่มี หากเหตุยังมีอยู่ ผลย่อมมีอยู่ เพียงแค่รู้
และตั้งใจทำความเพียรต่อไป


อานนท์ ! ความทุกข์นั้น เรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดขึ้น.

ความทุกข์นั้นอาศัยปัจจัยอะไรเล่า ?
ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยคือ ผัสสะ,

ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่า กล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป็นการกล่าวตู่เรา ด้วยคำไม่จริง ;
แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ควรถูกติไปด้วย.

อานนท์ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้งสี่พวกนั้น :

สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ ตนทำเอาด้วยตนเอง,
แม้ความทุกข์ ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้ ;

สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติ ความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้,
แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้ ;

สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย

แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้ ;

ถึงแม้สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่า เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำเองหรือใครทำให้ก็เกิดขึ้นได้ ก็ตาม.

แม้ความทุกข์ที่ พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้อยู่นั่นเอง.
- นิทาน. สํ. ๑๖/๔๐/๗๕.


ผล


ภิกษุ ท. ! ….ส่วนบุคคล เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง จักษุ ตามที่เป็นจริง.
เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง รูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง, เมื่อรู้เมื่อเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ตามที่เป็นจริง,
เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง จักขุสัมผัส ตามที่เป็นจริง,

เมื่อรู้เมื่อเห็นซึ่งเวทนาอันเกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริงแล้ว ;

เขาย่อมไม่กำหนัดในจักษุ, ไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย, ไม่กำหนัดในจักขุวิญญาณ, ไม่กำหนัดในจักขุสัมผัส,
และไม่กำหนัดในเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม.

เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ลุ่มหลงแล้ว ตามเห็นอาทีนวะ (โทษของสิ่งเหล่านั้น) อยู่เนืองๆ,
ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดต่อไป;

และตัณหา อันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน
เป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ นั้นอันเขาย่อมละเสียได้;

ความกระวนกระวาย (ทรถ) แม้ ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้,
ความกระวนกระวาย แม้ ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้;
ความแผดเผา (สนฺตาป) แม้ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้,
ความแผดเผา แม้ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้;
ความเร่าร้อน (ปริฬาห) แม้ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้,
ความเร่าร้อน แม้ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้.

บุคคลนั้นย่อม เสวยซึ่งความสุข อันเป็นไป ทางกายด้วย.
ซึ่งความสุขอันเป็นไป ทางจิต ด้วย.

เมื่อบุคคลเป็นเช่นนั้นแล้ว ทิฏฐิ ของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ;
ความดำริของเขา ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ; ความพยายาม ของเขา ย่อมเป็นสัมมาวายามะ ;
สติ ของเขา ย่อมเป็นสัมมาสติ; สมาธิ ของเขา ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ;

ส่วน กายกรรม วจีกรรม และ อาชีวะ ของเขา เป็นธรรมบริสุทธิ์อยู่ก่อนแล้วนั่นเทียว.
ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้ ของเขานั้น ย่อม ถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ.

เมื่อเขาทำอริยอัฏฐังคิกมรรค ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้,
สติปัฏฐาน แม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ ;
สัมมัปปธาน แม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ ;
อิทธิบาท แม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ ;
อินทรีย์ แม้ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ ;
พละ แม้ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ ;
โพชฌงค์ แม้ทั้ง ๗ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ.

ธรรมทั้งสองคือ สมถะ และวิปัสสนา ของเขานั้น ย่อมเป็นธรรมเคียงคู่กันไป.
บุคคลนั้น ย่อม กำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ;
ย่อมละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง ;
ย่อมทำให้เจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง;
ย่อม ทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ก็ ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ?

คำตอบ พึงมีว่า ปัญจุปาทานขันธ์ ทั้งหลาย กล่าวคืออุปาทาน
ขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ :

ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรม อันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ก็ ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงละด้วย ปัญญาอันยิ่ง ?
คำตอบ พึงมีว่า อวิชชา ด้วย ภวตัณหา ด้วย :

ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แลชื่อว่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ก็ ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ?
คำตอบ พึงมีว่า สมถะ ด้วย วิปัสสนา ด้วย :

ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ก็ ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ?
คำตอบ พึงมีว่า วิชชา ด้วย วิมุตติ ด้วย :

ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.


หมายเหตุ:

และอย่างที่ได้บอกไปแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้น เกินจากนั้น แล้วแต่เหตุปัจจัย ไม่มีติดใจอะไร แล้วแต่เหตุปัจจัยที่มีอยู่ของแต่ละคน ผู้ที่ดับเหตุที่ตนได้ ย่อมอยู่อย่างเป็นสุข

ส่วนความทุกข์ที่มองเห็น จะเห็นแต่ทุกข์ โทษ ภัยของการเกิดและของสังขาร/อัตภาพร่างกายนี้
เรื่องนอกตัว ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีอยู่ ถ้าไม่ไปยุ่งกับสิ่งเหล่านั้น สิ่งเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ตามเหตุปัจจัยของสิ่งๆนั้นเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2013, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
"เราเข้าใจคุณน้ำค่ะ ว่าทำไมคุณน้ำ ถึงกลัวการสร้างเหตุกับผู้อื่น
แต่ทีนี้ ในความคิดของเราน่ะคะ"

คุณเต้

คุณรู้แค่ไหน ย่อมนำมาแสดงแค่นั้น วันใดคุณเต้ รู้ชัดในเรื่องของเหตุและผล คุณจะเริ่มหยุดการสร้างเหตุนอกตัวมากขึ้น

ไม่ใช่แค่หยุดการสนทนา ไม่ใช่หยุดเพราะ กลัว การสร้างเหตุกับผู้อื่น อย่างที่คุณเข้าใจ ณ ตอนนี้

ไม่ได้หยุด เพราะ กลัว
แต่หยุด เพราะ รู้ค่ะ


คำว่า "หยุดการสร้างเหตุนอกตัว" หมายถึง เมื่อมีสิ่งใดเกิดขึ้น เป็นเหตุให้เกิด ความรู้สึกยินดี/ยินร้าย ให้มีสติรู้อยู่ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

หมายความตามนี้นะ คุณเต้ ไมได้หมายถึง เช่น เห็นคนทะเลาะตบตีกัน ก็อย่าไปร่วมกับเค้า หรือไปช่วยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

คือ ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วแต่เหตุปัจจัยของสิ่งๆนั้น ส่วนจะเข้าร่วมหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยอีกน่ะแหละ

เหมือนเหตุนี้เช่นกัน ที่น้ำเห็นคุณเต้ เข้ามาถามคำถาม
เรามีเหตุร่วมกันอยู่ จึงอดไม่ได้ ที่จะแวะเวียนเข้ามาหาคุณเต้

เมื่อมีเหตุอยู่ ผลย่อมมีเกิดขึ้น เป็นธรรมดา
เมื่อไม่สร้างเหตุต่อ ผลจะเอามาจากไหน ยกเว้น เหตุปัจจัย ที่ยังมีอยู่

ก็ไม่รู้ว่า คุณเต้จะเข้าใจในสิ่งที่ น้ำได้บอกกับคุณเต้มาตลอดนั้น ได้มากน้อยแค่ไหน ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยอีกน่ะแหละ

บางสิ่ง เมื่อยังมีติดข้องอยู่ ผลย่อมมีเกิดขึ้นตามมา ถ้าวางลงไปได้ ผลจะมีเกิดขึ้นอีกหรือไม่
ก็ขึ้นอยู่กับ เหตุปัจจัยที่มีอยู่นั้น ว่าหมดเชื้อแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่หมด เหตุมี ผลย่อมมี

เมื่อถึงเวลา เหตุปัจจัยพร้อม จิตย่อมปล่อยวาง ตามเหตุปัจจัยเอง โดยไม่ต้องไปพยายามคิด ที่จะปล่อยวาง

เหตุ

ขณะผัสสะเกิด เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกนึกคิดใดๆก็ตาม ให้กระทำไว้ในใจ คือ รู้อยู่ในใจ
ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

เป็นเหตุให้ สภาวะ การให้ทาน การเป็นผู้มีศิล ภาวนา เกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัย ได้แก่

การให้ทาน หมายถึง การให้อภัยทานต่อผู้อื่น ทุกๆการกระทำ ที่เขาทำกับเรา ให้อภัยทุกอย่าง

การเป็นผู้มีศิล หมายถึง การเป็นผู้สังวร ระวัง ได้แก่ เป็นผู้มีสติ สัมปชัญญะ รู้อยู่ในกายและจิตของตัวเอง

ภวานา หมายถึง เป็นผู้มีสมาธิ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม รู้ชัดอยู่ภายในกายและจิต ความรู้สึกนึกคิดอะไรเกิดขึ้น ก็รู้

สภาวะนี้ เป็นสภาวะสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ การรู้ชัดอยู่ภายใน กาย เวทนา จิต ธรรม

เป็นผู้ที่ละอภิชชา โทมนัสเสียได้ หมายถึง การไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
เป็นการละ โดยการกระทำ ละแบบหยาบๆ

เมื่อไม่สร้างเหตุออกไป เหตุไม่มี ผลย่อมไม่มี หากเหตุยังมีอยู่ ผลย่อมมีอยู่ เพียงแค่รู้
และตั้งใจทำความเพียรต่อไป


อานนท์ ! ความทุกข์นั้น เรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดขึ้น.

ความทุกข์นั้นอาศัยปัจจัยอะไรเล่า ?
ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยคือ ผัสสะ,

ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่า กล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป็นการกล่าวตู่เรา ด้วยคำไม่จริง ;
แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ควรถูกติไปด้วย.

อานนท์ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้งสี่พวกนั้น :

สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ ตนทำเอาด้วยตนเอง,
แม้ความทุกข์ ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้ ;

สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติ ความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้,
แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้ ;

สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย

แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้ ;

ถึงแม้สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่า เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำเองหรือใครทำให้ก็เกิดขึ้นได้ ก็ตาม.

แม้ความทุกข์ที่ พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้อยู่นั่นเอง.
- นิทาน. สํ. ๑๖/๔๐/๗๕.


ผล


ภิกษุ ท. ! ….ส่วนบุคคล เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง จักษุ ตามที่เป็นจริง.
เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง รูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง, เมื่อรู้เมื่อเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ตามที่เป็นจริง,
เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง จักขุสัมผัส ตามที่เป็นจริง,

เมื่อรู้เมื่อเห็นซึ่งเวทนาอันเกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริงแล้ว ;

เขาย่อมไม่กำหนัดในจักษุ, ไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย, ไม่กำหนัดในจักขุวิญญาณ, ไม่กำหนัดในจักขุสัมผัส,
และไม่กำหนัดในเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม.

เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ลุ่มหลงแล้ว ตามเห็นอาทีนวะ (โทษของสิ่งเหล่านั้น) อยู่เนืองๆ,
ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดต่อไป;

และตัณหา อันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน
เป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ นั้นอันเขาย่อมละเสียได้;

ความกระวนกระวาย (ทรถ) แม้ ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้,
ความกระวนกระวาย แม้ ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้;
ความแผดเผา (สนฺตาป) แม้ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้,
ความแผดเผา แม้ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้;
ความเร่าร้อน (ปริฬาห) แม้ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้,
ความเร่าร้อน แม้ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้.

บุคคลนั้นย่อม เสวยซึ่งความสุข อันเป็นไป ทางกายด้วย.
ซึ่งความสุขอันเป็นไป ทางจิต ด้วย.

เมื่อบุคคลเป็นเช่นนั้นแล้ว ทิฏฐิ ของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ;
ความดำริของเขา ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ; ความพยายาม ของเขา ย่อมเป็นสัมมาวายามะ ;
สติ ของเขา ย่อมเป็นสัมมาสติ; สมาธิ ของเขา ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ;

ส่วน กายกรรม วจีกรรม และ อาชีวะ ของเขา เป็นธรรมบริสุทธิ์อยู่ก่อนแล้วนั่นเทียว.
ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้ ของเขานั้น ย่อม ถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ.

เมื่อเขาทำอริยอัฏฐังคิกมรรค ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้,
สติปัฏฐาน แม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ ;
สัมมัปปธาน แม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ ;
อิทธิบาท แม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ ;
อินทรีย์ แม้ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ ;
พละ แม้ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ ;
โพชฌงค์ แม้ทั้ง ๗ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ.

ธรรมทั้งสองคือ สมถะ และวิปัสสนา ของเขานั้น ย่อมเป็นธรรมเคียงคู่กันไป.
บุคคลนั้น ย่อม กำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ;
ย่อมละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง ;
ย่อมทำให้เจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง;
ย่อม ทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ก็ ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ?

คำตอบ พึงมีว่า ปัญจุปาทานขันธ์ ทั้งหลาย กล่าวคืออุปาทาน
ขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ :

ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรม อันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ก็ ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงละด้วย ปัญญาอันยิ่ง ?
คำตอบ พึงมีว่า อวิชชา ด้วย ภวตัณหา ด้วย :

ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แลชื่อว่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ก็ ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ?
คำตอบ พึงมีว่า สมถะ ด้วย วิปัสสนา ด้วย :

ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ก็ ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ?
คำตอบ พึงมีว่า วิชชา ด้วย วิมุตติ ด้วย :

ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.


หมายเหตุ:

และอย่างที่ได้บอกไปแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้น เกินจากนั้น แล้วแต่เหตุปัจจัย ไม่มีติดใจอะไร แล้วแต่เหตุปัจจัยที่มีอยู่ของแต่ละคน ผู้ที่ดับเหตุที่ตนได้ ย่อมอยู่อย่างเป็นสุข

ส่วนความทุกข์ที่มองเห็น จะเห็นแต่ทุกข์ โทษ ภัยของการเกิดและของสังขาร/อัตภาพร่างกายนี้
เรื่องนอกตัว ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีอยู่ ถ้าไม่ไปยุ่งกับสิ่งเหล่านั้น สิ่งเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ตามเหตุปัจจัยของสิ่งๆนั้นเอง
ผัดผักรวมจานหนึ่ง

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2013, 09:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชีวิตหลังความตายและพระนิพพาน ยังคงเป็นปริศนาให้ไขกันต่อไปสำหรับปุถุชน

ความเป็นอนัตตาของธรรมทั้งปวงดูเหมือนจะไปสร้างความเคว้งคว้างว่างเปล่า
...ไร้ที่ยึดที่เกาะให้กับใครหลายคน..

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2013, 20:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ปลีกวิเวก เขียน:

ความเป็นอนัตตาของธรรมทั้งปวงดูเหมือนจะไปสร้างความเคว้งคว้างว่างเปล่า
...ไร้ที่ยึดที่เกาะให้กับใครหลายคน..


เพราะจิต...มีที่ยึดเป็นปกติ...

จะยึดได้นี้ก็ต้องเคยรู้เคยเห็นมาก่อน...พออันที่ไม่เคยเจอ....จิตก็จะควานหาสิ่งที่เคยรู้มาเทียบเคียง...ครั้นไปบังคับมันว่า...ไม่ใช่สิ่งที่คิดได้...มันก็เลยเคว้ง...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2013, 01:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ปลีกวิเวก เขียน:
ความเป็นอนัตตาของธรรมทั้งปวงดูเหมือนจะไปสร้างความเคว้งคว้างว่างเปล่า
...ไร้ที่ยึดที่เกาะให้กับใครหลายคน..


smiley smiley smiley

น้อยคนที่จะพูดถึง อนัตตา พร้อมกับ อาการนี้

:b1:

รู้ ไม่เคว้ง
เคว้ง ไม่รู้
ไปตั้งอยู่ เคว้ง ก็เลย ไร้ที่ยึดที่เกาะ
ตั้งอยู่ที่ รู้ ก็จะรู้ อาการ"เคว้ง" รู้อาการ"ไร้ที่ยึดเกาะ" อารมณ์มันเป็นเช่นนั้น

ต้องลองเป็นผู้รู้เท่าทันอารมณ์...
แล้วเราจะรู้...อาการเคว้งที่ต้องการหลักให้ยึดเกาะมันหน้าตาเป็นไง....
อาการไร้หลัก มันหลอกเราให้คิดว่า มันมีหลัก และเราต้องไปเกาะหลัก
แต่จริง ๆ แล้ว ... เมื่ออาการไร้ที่ยึดเกาะ...ดับไป
ไม่ได้หมายความว่า...มันมีหลักโผล่ขึ้นมาให้เกาะ...
มันเป็นเพียงสิ่งหนึ่งที่ดับไป ...

:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2013, 05:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


[quote="รสมน"]อุทิศเจาะจง

ประวัติหลวงปู่มั่น ตอนที35พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จมาอนุโมทนาหลวงปู่มั่น

พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จมาอนุโมทนา

หลังจากท่านเดินทางถึงแดนแห่งวิมุตติแล้ว คืนต่อ ๆ มามีพระพุทธเจ้าพร้อมพระสาวกจำนวนมากเสด็จมาอนุโมทนาวิมุตติธรรมกับท่านเสมอมิได้ขาด

คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นกับพระสาวกบริวารเป็นจำนวนหมื่นเสด็จมาเยี่ยม

คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นกับสาวกบริวารจำนวนแสนเสด็จมาเยี่ยม

คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีสาวกเท่านั้นเสด็จมาเยี่ยมอนุโมทนา

จำนวนพระสาวกที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาแต่ละพระองค์นั้นมีจำนวนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ท่านว่าขึ้นอยู่กับวาสนาของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ไม่เหมือนกัน ที่พระสาวกตามเสด็จมาด้วยแต่ละพระองค์นั้น มิได้ตามเสด็จมาทั้งหมดในบรรดาพระสาวกของแต่ละพระองค์ที่มีอยู่ แต่ที่ตามเสด็จมามากน้อยต่างกันนั้น พอแสดงให้เห็นภูมิพระวาสนาบารมีของแต่ละพระองค์นั้นต่างกันเท่านั้น

บรรดาพระสาวกจำนวนมากของแต่ละพระองค์ที่ตามเสด็จมานั้น มีสามเณรติดตามมาด้วยครั้งละไม่น้อยเลย ท่านสงสัยจึงพิจารณาก็ทราบว่า คำว่าพระอรหันต์ในนามธรรมนั้นมิได้หมายเฉพาะพระ แต่สามเณรที่มีจิตบริสุทธิ์หมดจดก็นับเข้าในจำนวนสาวกอรหันต์ด้วย ฉะนั้นที่สามเณรติดตามมาด้วยจึงไม่ขัดกัน

ในพระโอวาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ประทานอนุโมทนาแก่พระอาจารย์มั่นนั้น ส่วนใหญ่มีว่า

เราตถาคตทราบว่าเธอพ้นโทษจากอนันตรทุกข์ในที่คุมขังแห่งเรือนจำของวัฏทุกข์ จึงได้มาเยี่ยมอนุโมทนา ที่คุมขังแหล่งนี้ใหญ่โตมโหฬารและแน่นหนามั่นคงมาก และมีเครื่องยั่วยวนชวนให้เผลอตัวและติดอยู่รอบตัวไม่มีช่องว่าง จึงยากที่จะมีผู้แหวกว่ายออกมาได้ เพราะสัตว์โลกจำนวนมากไม่ค่อยมีผู้สนใจกับทุกข์ที่เป็นอยู่กับตัวตลอดมา ว่าเป็นสิ่งที่ทรมานและเสียดแทงร่างกายจิตใจเพียงใด พอจะคิดเสาะแสวงหาทางออกด้วยวิธีต่าง ๆ เหมือนคนเป็นโรคแต่มิได้สนใจกับยา ยาแม้มีมากจึงไม่มีประโยชน์สำหรับคนประเภทนั้น ธรรมของเราตถาคตก็เช่นเดียวกับยา สัตว์โลกอาภัพเพราะโรคกิเลสตัณหาภายในใจเบียดเบียนเสียดแทง ทำให้เป็นทุกข์แบบไม่มีจุดหมายว่าจะหายได้เมื่อไร

สิ่งตายตัวก็คือโรคพรรค์นี้ ถ้าไม่รับยาคือธรรมจะไม่มีวันหายได้ ต้องฉุดลากสัตว์โลกให้ตายเกิดคละเคล้าไปกับความทุกข์กายทุกข์ใจ และเกี่ยวโยงกันเหมือนลูกโซ่ตลอดอนันตกาล ธรรมแม้จะมีเต็มไปทั้งโลกธาตุ ก็ไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ไม่สนใจนำไปปฏิบัติรักษาตัวเท่าที่ควรจะได้รับจากธรรม ธรรมก็อยู่แบบธรรม สัตว์โลกก็หมุนตัวเป็นกงจักรไปกับทุกข์ในภพน้อยภพใหญ่แบบสัตว์โลก โดยไม่มีจุดหมายปลายทางว่าจะสิ้นสุดทุกข์กันลงได้เมื่อใด ไม่มีทางช่วยได้ ถ้าไม่สนใจช่วยตัวเองโดยยึดธรรมมาเป็นหลักใจและพยายามปฏิบัติตาม

พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้เพิ่มจำนวนองค์และสั่งสอนมากมายเพียงไร ผลที่ได้รับก็เท่าที่โรคประเภทคอยรับยามีอยู่เท่านั้น ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ว่าพระองค์ใด มีแบบตายตัวอยู่อย่างเดียวกัน คือสอนให้ละชั่วทำดีทั้งนั้น ไม่มีธรรมพิเศษและแบบสอนพิเศษไปกว่านี้ เพราะไม่มีกิเลสตัณหาพิเศษในใจสัตว์โลกที่พิเศษเหนือธรรมซึ่งประกาศสอนไว้ เท่าที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายประทานไว้แล้วเป็นธรรมที่ควรแก่การรื้อถอนกิเลสทุกประเภทของมวลสัตว์อยู่แล้ว นอกจากผู้รับฟังและปฏิบัติตามจะยอมแพ้ต่อเรื่องกิเลสตัณหาของตัวเสียเอง แล้วเห็นธรรมเป็นของไร้สาระไปเสียเท่านั้น

ตามธรรมดาแล้วกิเลสทุกประเภทต้องฝืนธรรมดาดั้งเดิม คนที่คล้อยตามมันจึงเป็นผู้ลืมธรรมไม่อยากเชื่อฟังและทำตาม โดยเห็นว่าลำบากและเสียเวลาทำในสิ่งที่ตนชอบ ทั้งที่สิ่งนั้นให้โทษ ประเพณีของนักปราชญ์ผู้ฉลาดมองเห็นการณ์ไกล ย่อมไม่หดตัวมั่วสุมอยู่เปล่า ๆ เหมือนเต่าถูกน้ำร้อนไม่มีทางออก ต้องยอมตายในหม้อที่กำลังเดือดพล่าน โลกเดือดพล่านอยู่ด้วยกิเลสตัณหาความแผดเผา ไม่มีกาลสถานที่ที่พอจะปลงวางลงได้ จำต้องยอมทนทุกข์ทรมานไปตาม ๆ กัน โดยไม่นิยมสัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์อยู่บนอากาศและใต้ดิน เพราะสิ่งแผดเผาเร่าร้อนอยู่กับใจ ความทุกข์จึงอยู่ที่นั่น

ที่นี่เธอเห็นพระตถาคตอย่างแท้จริงแล้วมิใช่หรือ?

พระตถาคตแท้คืออะไร คือความบริสุทธิ์แห่งใจที่เธอเห็นแล้วนั้นแล ที่พระตถาคตมาในร่างนี้ มาในร่างแห่งสมมุติต่างหาก เพราะพระตถาคตและพระอรหันต์อันแท้จริงมิใช่ร่างแบบที่มากันนี้ นี่เป็นเพียงเรือนร่างของตถาคตโดยทางสมมุติต่างหาก

ท่านพระอาจารย์กราบทูลว่า

ข้าพระองค์ทราบพระตถาคตและพระสาวกอรหันต์อันแท้จริงไม่สงสัย ที่สงสัยก็คือ พระองค์ทั้งหลายกับพระสาวกท่านที่เสด็จไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานไม่มีส่วนสมมุติยังเหลืออยู่เลย แล้วเสด็จมาในร่างนี้ได้อย่างไร?

พระพุทธเจ้าตรัสว่า

ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งแม้มีความบริสุทธิ์ทางใจด้วยดีแล้ว แต่ยังครองร่างอันเป็นส่วนสมมุติอยู่ ฝ่ายอนุปาทิเสสนิพพานก็ต้องแสดงสมมุติตอบรับกัน คือต้องมาในร่างสมมุติซึ่งเป็นเครื่องใช้ชั่วคราวได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างเป็นอนุปาทิเสสนิพพานด้วยกันแล้วไม่มีส่วนสมมุติยังเหลืออยู่ ตถาคตก็ไม่มีสมมุติอันใดมาแสดงเพื่ออะไรอีก ฉะนั้นการมาในร่างสมมุตินี้จึงเพื่อสมมุติเท่านั้น ถ้าไม่มีสมมุติเสียอย่างเดียวก็หมดปัญหา

พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่องอดีตอนาคตก็ทรงถือเอานิมิต คือสมมุติอันดั้งเดิมของเรื่องนั้น ๆ เป็นเครื่องหมายให้ทราบ เช่น ทรงทราบอดีตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายว่าทรงเป็นมาอย่างไรเป็นต้น ก็ต้องถือเอานิมิตของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น และพระอาการนั้น ๆ เป็นเครื่องหมายพิจารณาให้รู้ ถ้าไม่มีสมมุติของสิ่งนั้น ๆ เป็นเครื่องหมาย ก็ไม่มีทางทราบได้ในทางสมมุติ เพราะวิมุตติล้วน ๆ ไม่มีทางแสดงได้ ฉะนั้นการพิจารณาและทราบได้ ต้องอาศัยสมมุติเป็นหลักพิจารณา

ดังที่เราตถาคตนำสาวกมาเยี่ยมเวลานี้ ก็จำต้องมาในรูปลักษณะอันเป็นสมมุติดั้งเดิม เพื่อผู้อื่นจะพอมีทางทราบได้ว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ๆ และพระอรหันต์องค์นั้น ๆ มีรูปลักษณะอย่างนั้น ๆ ถ้าไม่มาในรูปลักษณะนี้แล้ว ผู้อื่นก็ไม่มีทางทราบได้

เมื่อยังต้องเกี่ยวกับสมมุติในเวลาต้องการอยู่ วิมุตติก็จำต้องแยกแสดงออกโดยทางสมมุติเพื่อความเหมาะสมกัน

ถ้าเป็นวิมุตติล้วน ๆ เช่นจิตที่บริสุทธิ์รู้เห็นจิตที่บริสุทธิ์ด้วยกัน ก็เพียงแต่รู้อยู่เห็นอยู่เท่านั้น ไม่มีทางแสดงให้รู้ยิ่งกว่านั้นไปได้ เมื่อต้องการทราบลักษณะอาการของความบริสุทธิ์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ก็จำต้องนำสมมุติเข้ามาช่วยเสริมให้วิมุตติเด่นขึ้น พอมีทางทราบกันได้ว่าวิมุตติมีลักษณะว่างเปล่าจากนิมิตทั้งปวง มีความสว่างไสวประจำตัว มีความสงบสุขเหนือสิ่งใด ๆ เป็นต้น พอเป็นเครื่องหมายให้ทราบได้โดยทางสมมุติทั่ว ๆ ไป ผู้ทราบวิมุตติอย่างประจักษ์ใจแล้ว จึงไม่มีทางสงสัยทั้งเรื่องวิมุตติแสดงตัวออกต่อสมมุติในบางคราวที่ควรแก่กรณี และทรงตัวอยู่ตามสภาพเดิมของวิมุตติ ไม่แสดงอาการ

ที่เธอถามเราตถาคตนั้น ถามด้วยความสงสัย หรือถามพอเป็นกิริยาแห่งการสนทนากัน

ท่านกราบทูลว่า




ข้าพระองค์มิได้มีความสงสัยทั้งสมมุติและวิมุตต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2013, 05:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


นำข้อความที่คุณรสมน..ในกระทู้ข้าง ๆ มาให้ดู...

คงพอจะนึกสภาพออกนะ...ว่า...นิพพานอยู่กันอย่างไร

เป็นพลังงานที่ไม่ต้องอาศัยสมมุติ....ไม่มีอะไรอย่างสมมุติ....เสมือนจุดพลังงาน
เช่น
รู้กัน..แบบไม่ต้องพูด...สัญญาแบบสมมุติเลยไม่ต้องใช้..เป็นต้น

นี้ขันธ์แบบโลก ๆ ขันธ์แบบสมมุติ...ก็เสมือนว่าดับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2013, 14:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ทุกท่าน

ไม่มีอะไร ได้อะไร ไม่มีอะไร บรรลุถึงอะไร

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร