วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 16:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 85 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2018, 04:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ทางสายเอก" คนชอบพูดๆกัน ไม่ว่าที่นี่หรือที่ไหนๆ บาลีเป็น เอกมคฺโค แปลว่า ทางสายเดียว,มรรคาเอก,ทางสายเอก (เอกะ. หนึ่ง, เดียว) อะไรว่ากันไป :b16:

รูปภาพ

เห็นชอบพูดกันเลยจัดให้ พูดๆสะก่อนจะละโลกนี้ไป ตายแล้วจะไม่ได้พูด :b32: ยังหายใจเข้า-ออกอยู่จะได้ทำกันหรือไม่, ทำทำถูกไหม ทำแล้วถึงจุดหมายปลายทางหรือไม่ หรือทำแล้วเข้ารกเข้าพงกันไป (อยากพูดตรงๆอีกประโยคหนึ่ง แต่กลัวว่าจะแรงไปเลยเก็บไว้ในใจ) :b32: เป็นอีกขั้นหนึ่งตอนหนึ่ง

มีคนร้องอ๋อแน่ๆ :b35:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2018, 05:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูทางสายเอก

สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ


สติปัฏฐาน (สติ+ปัฏฐาน) แปลว่า ที่ตั้งของสติบ้าง การที่สติเข้าไปตั้งอยู่ คือมีสติกำกับอยู่บ้าง ฯลฯ ว่าโดยหลักการก็ คือ การใช้สติ หรือวิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิดผลดีที่สุด ดังความแห่งพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นโสกะ และปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรมรรค เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งนิพพาน นี้คือสติปัฏฐาน ๔" (ที.ม.10/273/245 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2018, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้ช่องทางเกิดการโต้เถียงกันใหญ่โต ก็เสริมประเด็นนี้ให้หน่อย คิกๆๆ

กรัชกาย
คุณโรส เขาเป็นอะไร แล้วจะทำยังไง นี่


อ้างคำพูด:
จิตสร้างคำหยาบคายลามกกับพระรัตนตรัย ทำไงดีครับ

มันเริ่มจากคำหยาบเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อน แล้วพอมันเกิดขึ้น
ผมจะรู้สึกแย่ แล้วพอเวลาผ่านไป ผมอยากปฏิบัติธรรม
ให้ได้ตามหลักมรรค 8 จิตมันเริ่มรู้ว่าต้องระวังให้มากขึ้น
กลายเป็นเกร็งมากขึ้น มีคำหยาบมากขึ้นกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ผมก็พยายามทำใจว่าใจจริงเราเคารพ
พระรัตนตรัย กลายเป็นทำศึกสองด้าน ด้านหนึ่งระวัง
ไม่ให้จิตสร้างคำหยาบ ด้านหนึ่งเจริญปัญญา

ผมควรจะทำอย่างไรดีครับ มันจะทำให้มรรค 8 ด่าง
พร้อยมั้ยครับ ย้ำอีกทีว่าใจผมเคารพพระรัตนตรัย
ในรอบหลายปีมานี่ ไม่เคยมีวาจาหรือการกระทำที่
ลบหลู่พระรัตนตรัยครับ มีแต่คำหยาบที่จิตผลิตมา
หลอกหลอนวันละหลาย ๆ ประโยค


Rosarin
เวลาคิดตามคำสอนนี่ต้องคิดตามทีละ1ทาง
จะคิดพร้อมกันทั้ง6ทางไม่ได้ไงคะเฉพาะทางตา
ที่เป็นใหญ่ในการเห็นเท่านั้นที่มีแสงพอหลับตาเห็นก็ไม่มี
คิดจำเอาไว้ว่ายังมีแต่แท้ที่จริงจักขุปสาทะรูปไม่มีตอนหลับตา
จำและคิดผิดว่ายังคงมีเห็นหลงผิดไงคะหลับตาไม่มีจักขุวิญญาณน๊า



กรัชกาย
เขาถามว่า ไปไหนมา ?


Rosarin
อุชุปะติปัตติคืออุชุปฏิปัณโณ
ตรงไหมล่ะอุชุแปลว่าตรงๆไม่มีอ้อม
คิดตรงคำเป็นไหมปะติปัตติแปลว่ถึงเฉพาะตัวจริงธัมมะคือปรมัตถะสัจจะไงคะ
จะคิดตามทางเกิดของจิตคิดตามประโยคไหนก็กำลังมีและคิดตามได้ไม่พร้อมกันไงคะเช่น
กำลังเห็นเป็นธัมมะ...ลืมตาดูอะไรอยู่ล่ะตาไม่บอดก็กำลังเห็นนี่
กำลังได้ยินเป็นธัมมะ...จะตั้งใจฟังไม่ตั้งใจฟังก็ได้ยินเสียงมีเสียงอะไรบ้างล่ะ
เอาแค่2ทางนี่เป็นคนละขณะจิตคิดตรงทางได้ทีละทางทีละประโยคถูกไหม
เวลาอ่านก็เริ่มแต่พยางค์แรกเรียงลำดับไปจนครบพยางค์จำอักษรตีความ
น่านน่ะคือจิตคืดนึกตามเสียงอ่านตนเองเกิดหลังจิตเห็นดับรู้ไม่ตรงทาง
ทางเกิดสติปัญญาตามคำสอนได้คือระลึกตามเสียงตรงปัจจุบันขณะ
จิตได้ยินเสียงคำวาจาสัจจะของตถาคตที่ทำได้คิดตรงถูกตัวตนไง


กรัชกาย
ไม่ได้ฟังเสียงเสียงกาอะไรเรยยย


Rosarin
หยาบคายคือกิเลสของคนที่อ่านโดยไม่เข้าใจถูกตามคำตถาคตน๊า
ตถาคตตรัสแสดงความเลวของภิกษุนอกพระธรรมและพระวินัยว่า
เป็นอลัชชี/ภิกษุดังแกลบ/ภิกษุหยากเยื่อ/มหาโจร/เศรษฐีหัวโล้น
รับเงินทองทำนิสัยแบบตอนเป็นคฤหัสถ์มีคุณธรรมอะไรให้กราบ
ประพฤติตนไม่สมควรแก่พระธรรมและพระวินัยปล้นคำสอนเพื่อ
ละโมบต่อการรับลาภสักการะชื่อเสียงเกียรติยศไม่มีหิริโอตัปปะ


กรัชกาย
งั้นเอาใหม่ไม่ยาวสั้นๆ บอกว่าฟังหลวงตาเทศน์ได้ฌาน 3 แล้ว คุณโรสแนะนำแนวทางเขาหน่อยสิขอรับ


อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิแล้วรู้สึกกลัว จิตไม่นิ่ง ไม่รู้เกิดจากอะไรค่ะ รบกวนผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยค่ะ


Rosarin
คนคิดไตร่ตรองตามไม่เป็นก็งี้แหละ
คิดแต่จะเอาตัวตนไปทำมันไม่ตรงไงคะ

การระลึกรู้ตามคำสอนได้คือกำลังระลึกตามทีละคำตรงกับที่ตนกำลังคิด
ตามระลึกได้อยู่ตามเสียงขณะกำลังฟังเพื่อระลึกตามได้ตรงกับที่ตนคิดได้

ไปนั่งหลับตามีตัวตนไปนั่งทำคิดเองตามความรู้โดยไม่รู้ตรงตามคำสอนทันที
มีแต่ความเห็นผิดทำตนเองให้ไม่รู้จักคิดตามคำสอนอยู่คือไม่รู้ตามคำสอนคือคิดผิดไง555

viewtopic.php?f=1&t=56566&start=225


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2018, 09:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: ... :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2018, 09:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
อวิชชาแปลว่าโง่ที่คิดไม่ตรง1คำตามคำสอน


Quote Tipitaka:
ยมกวรรคที่ ๒
อวิชชาสูตร
[๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อน
แต่นี้ อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า ก็
เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อม
กล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา
ควรจะกล่าวว่านิวรณ์ ๕ แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓ แม้ทุจริต ๓ เรา
ก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓ ควร
กล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์ แม้การไม่สำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้
กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่าความ
ไม่มีสติสัมปชัญญะ แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้
กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า
การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายเราก็กล่าวว่า
มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบ
คาย ควรกล่าวว่าความไม่มีศรัทธา แม้ความไม่มีศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร
มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรกล่าวว่า การ
ไม่ฟังสัทธรรม แม้การไม่ฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟัง
สัทธรรมให้บริบูรณ์ การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้
บริบูรณ์ ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้
บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะ
ให้บริบูรณ์ ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้
บริบูรณ์ การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ทุจริต ๓
ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์ นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้
บริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย
ให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็มย่อม
ยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็มย่อมยังแม่น้ำใหญ่
ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็มย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทรสาครนั้น มี-
*อาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่คบ
สัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้น
เหมือนกันแล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗ แม้
โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของ
โพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔ แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร
มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓
แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของ
สุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์ แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่า
มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควร
กล่าวว่า สติสัมปชัญญะ แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า
ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจ
โดยแยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า
ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า
ศรัทธา แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็น
อาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่า
มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าว
ว่า การคบสัปบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์
ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้
บริบูรณ์ ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำ
ไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะ
ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อม
ยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์
อย่างนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย
ให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็ม
ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยัง
แม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทร
สาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... โพชฌงค์ ๗ ที่
บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และ
บริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๑


Rosarin เขียน:
เดี๋ยวนี้เลยค่ะคือปัจจุบันขณะเอกอนคิดตรงคำไหน
:b32: :b32:

ก็เห็นว่าคู่สนทนาหยิบ "อวิชชา" ขึ้นมา ก็ไม่ได้อยู่ในคำสอนแล้วค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2018, 18:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อาจารย์กรัชกายก็นำเสนอธรรมต่อเถอะค่ะ

เดี๋ยวลูกค้าก็คงจะมาเอง

:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2018, 18:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อวิชชา คุณโรสพูดบ้อยบ่อย เอามาให้ดูทั้ง อวิชชา (อ = ไม่ + วิชชา =ความรู้) และ วิชชา


อวิชชาสวะ (อวิชชา+อาสวะ) อาสวะคืออวิชชา, กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ทำให้ไม่รู้ตามความเป็นจริง


อวิชชา ความไม่รู้จริง, ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง มี ๔ คือ ความไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง (ไม่รู้ทุกข์ ไม่เห็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ทางให้ถึงความดับทุกข์)

อวิชชา ๘ คือ อวิชชา ๔ นั้น และเพิ่ม ๕. ไม่รู้อดีต ๖. ไม่รู้อนาคต ๗. ไม่รู้ทั้งอดีตทั้งอนาคต ๘. ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท

วิชชา ความรู้ในอริยสัจจ์, ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ;

วิชชา ๓ คือ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. จุตูปปาตญาณ ๓. อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้นไป

วิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ ๒. มโนมยิทธิ ๓. อิทธิวิธิ ๔. ทิพพโสต ๕. เจโตปริยญาณ ๖. ปุพเพนิวาสานุสติ ๗. ทิพพจักขุ ๘. อาสวักขยญาณ


(อาสวักขยญาณ - ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้นไป ประเสริฐที่สุด)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2018, 04:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


แน้ๆๆ คุณลุงกรัชกายคะ
เพราะคุณลุงไม่ได้เรียนปริยัติ เรยไม่รู้ว่า

ทางสายเอก มี 44 หมวด นะคะ

กาย 14 หมวด
เวทนา 9 หมวด
จิต 16 หมวด
ธรรม 5 หมวด



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2018, 04:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
แน้ๆๆ คุณลุงกรัชกายคะ
เพราะคุณลุงไม่ได้เรียนปริยัติ เรยไม่รู้ว่า

ทางสายเอก มี 44 หมวด นะคะ

กาย 14 หมวด
เวทนา 9 หมวด
จิต 16 หมวด
ธรรม 5 หมวด


อืม...ผู้จัดเจนปริยัติช่วยขยายความ ๔๔ หมวดว่ามีอะไรบ้าง
จักเป็นพระคุณยิ่งครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2018, 09:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติ ไม่ใช่ให้นั่งนับหมวดว่า รูปมีเท่านั้นเท่านี้หมวด รูปมี 28 อะไรบ้างก็นับไป ม่ายช่ายๆๆ

รูปภาพ

รูปก็คือกาย,ร่างกาย ที่เห็นๆนั่งหัวโด่ ยืนหัวเด่อยู่นี่อยู่นั่นแหละ :b32: @ กายานุปัสสนา

@ เวทนานุปัสสนา

@ จิตตานุปัสสนา

@ ธัมมานุปัสสนา

ครบเลยชีวิตคนๆหนึ่ง เขานั่งสังเกตพิจารณาอยู่กับที่สติปัฏฐาน 4 เข้าหมดเลย (ถ้าทำเป็นทำถูก) :b13:

ดังนั้น ชีวิตคือร่างกายซึ่งมีวิญญาณครอง ยาววา หนาคืบ มีครบหมด ทั้งการปฏิบัติ, วิธีปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ก็อยู่ในนี้ (ความไม่รู้ไม่เข้าใจ, ความรู้ความเข้าใจก็อยู่ที่นี้) ทุกข์ก็อยู่ในนี้ เหตุให้เกิดทุกข์ก็อยู่ในนี้

กุศลอกุศลก็อยู่ในนี้ องค์ประกอบของมรรคก็อยู่ในนี้ อานาปานะ (ลมเข้า ลมออก) ก็อยู่ที่นี้ สมาธิ ปัญญาก็อยู่ในนี้ (แต่ต้องทำภาวนา เพื่อให้มันมีมันเป็นขึ้นมา)

ยังขาดอะไรอีก มีอะไรอีก ไหนลองว่ามาสิ ช่วยกันเถียงมาสิ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2018, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาอีกที ตัวอย่างนี้ซึ่งเคยนำมาให้พินาบ่อยๆแล้ว :b16:


ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร พอวันที่สามนั่งไปซักพักประมาณสิบนาทีเริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจน เวียนหัวจึงนั่งต่อไม่ได้ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น

เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

จนลาสิกขามา ก็เริ่มมาหาอ่านเอง จนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฏฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปป ก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วก จนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีก ซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

คำถามครับ

1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว
เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรม พิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนา ทำให้เราเข้าใจว่าทุกอย่าง มีเกิดดับ ของมันเป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด

แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ
หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน



ตัวอย่างนี้ บอกเราหมด ขาดอย่างเดียว คือ วิธีปฏิบัติ (อย่าติดพุทโธ) ว่าให้รู้ตามเป็นจริง หรือตามที่มันเป็นของมัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2018, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูความหมาย กาย,ร่างกายหน่อย ซึ่งก็ยังมีผู้เข้าใจผิดอยู่ว่า กาย ใน กายานุปัสสนา เนี่ย ไม่ใช่กาย, ร่างกาย ซึ่งเห็นๆกันอยู่นี่ สังเกตดูดีๆ บาลีศัพท์เดียวมีอรรถะตั้งร้อยว่า


กายบริหาร (กาย+บริหาร) การรักษาร่างกายให้เหมาะสมแก่ความเป็นสมณะ เช่น ไม่ไว้ผมยาวเกินไป ไม่ไว้หนวดเครา ไม่ไว้เล็บยาว ไม่ผัดหน้า ไม่แต่งเครื่องประดับกาย ไม่เปลือยกาย เป็นต้น

กาย, กาย- (กายยะ) น. ตัว เช่น ไม่มีผ้าพันกาย, และ มักใช้เข้าคู่กับคำว่า ร่าง เป็น ร่างกาย, ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า หมู่, พวก เช่น พลกาย หมู่ทหาร.


กาย กอง, หมวดหมู่, ที่รวม, ชุมนุม เช่น สัตวกาย (มวลสัตว์) พลกาย (กองกำลังทหาร) รถกาย (กองทหารรถ) ธรรมกาย (ที่รวม หรือที่ชุมนุมแห่งธรรม)
1. ที่รวมแห่งอวัยวะทั้งหลาย หรือ ชุมนุมแห่งรูปธรรม คือ ร่างกาย บางทีเรียกเต็มว่า รูปกาย 2. ประชุมแห่งนามธรรม หรือกองแห่งเจตสิก เช่น

ในคำว่า “กายปัสสัทธิ” (ความสงบเย็นแห่งกองเจตสิก) บางทีเรียกเต็มว่า นามกาย (แต่ในบางกรณี นามกาย หมายถึง นามขันธ์ ทั้งหมด ทั้ง ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หรือ ทั้งจิต และเจตสิก)

นอกจากความหมายพื้นฐาน ๒ อย่างนี้แล้ว ยังมีความหมายปลีกย่อย และความหมายเฉพาะ ตามข้อความแวดล้อมอีกหลายอย่าง เช่น ในคำว่า “กายสัมผัส” (สัมผัสทางกาย) หมายถึง กายอินทรีย์ที่รับรู้โผฏฐัพพะคือสิ่งต้องกาย,

ในคำว่า “กายทุจริต” (ทุจริตด้วยกาย) หมายถึง กายทวาร ที่ใช้ทำกรรม คือ เคลื่อนไหวแสดงออกและทำการต่างๆ

ในคำว่า “กายสุข” (สุขทางกาย) หมายถึง ทางทวาร ทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ซึ่งคู่กับเจโตสุข หรือสุขทางใจ,

ในคำว่า “กายภาวนา” (การพัฒนากาย) หมายถึง อินทรียสังวร คือ ความรู้จักปฏิบัติให้ได้ผลดีในการใช้ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ดังนี้ เป็นต้น


กรัชกาย (กะรัดชะ) (แบบ) น. ร่างกาย เช่น เจ้างามยามประจงจัดกรัชกาย. (กลบทบัวบานกลีบขยาย) (ป. ก = สรีร + รช = ธุลี + กาย = กรชกาย = กายอันเกิดด้วยธุลีในสรีระ) (ลิปิ). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย ฯ พ.ศ. 2525 หน้า 49

(พูดไปทำไมมี เปิดพจนานุกรมพุทธศาสน์, พจนานุกรมราชบัณฑิตย์ ว่ากันเลย รู้แล้วรู้รอดไป :b32:)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2018, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
โลกสวย เขียน:
แน้ๆๆ คุณลุงกรัชกายคะ
เพราะคุณลุงไม่ได้เรียนปริยัติ เรยไม่รู้ว่า

ทางสายเอก มี 44 หมวด นะคะ

กาย 14 หมวด
เวทนา 9 หมวด
จิต 16 หมวด
ธรรม 5 หมวด


อืม...ผู้จัดเจนปริยัติช่วยขยายความ ๔๔ หมวดว่ามีอะไรบ้าง
จักเป็นพระคุณยิ่งครับ



นั่นแน้ เพราะคุณลุงหมาน ไม่เจนจัดในพระปริยัติ

เรยให้เม มาแย่งซีนลุงกรัชกาย

เดี่ยวขยายความมากไป ลุงกรัชกายจะไม่มีอะไรมาตัดแปะ

กาย 14 หมวด
คือ

1 อานาปา
2 อิริยาบท
3 สัมปชัญยะ
4 กายปฎิกูล
5 ธาต
6 ลุงหมาน ลุงกรัชกาย ป่าช้า กระดูกผีของคุณลุงทั้งสอง อีก 9 หมวด 9 วาระ ไงคะ


เวทนา 9 หมวด คือ
1 สุข
2 ทุกข์
3 อทุกข์มสุข
4 อามิสสุข
5 นิราสมิสสุข
6 สามิสทุกข์
7 นิรามิสทุกขสุข
8 สามิสสอทุกข์มสุข
9 นิราสมิสอทุกข์มสุข

จิต 16 หมวด
1 มีราคะ
2 ปราศจากราคะ
3 มีโทสะ
4 ปราศจากโทสะ
5 มีโมหะ
6 ปราศจากโมหะ
7 มีหดหู่
8 มีฟุ้งซ่าน
9 เป็นการข่มกิเลส
10 ไม่เป้นการข่มกิเลส
11 มีธรรมที่ยิ่งกว่า
12 ไม่มีธรรมที่ยิ่งกว่า
13 ไม่เป็นสมาธิ
14 เป็นสมาธิ
15 ไม่หลุดพ้น
16 หลุดพ้น

ส่วนธรรม 5 หมวด คือ

1 นิวรณ์ 5 + อวิชชานิวรณ์
2 ขันธ์ 5
3 อายตนะ 12
4 โพชฌงค์ 7
5 อริยะสัจ 4





โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2018, 01:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
"ทางสายเอก" คนชอบพูดๆกัน ไม่ว่าที่นี่หรือที่ไหนๆ บาลีเป็น เอกมคฺโค แปลว่า ทางสายเดียว,มรรคาเอก,ทางสายเอก (เอกะ. หนึ่ง, เดียว) อะไรว่ากันไป :b16:

รูปภาพ

เห็นชอบพูดกันเลยจัดให้ พูดๆสะก่อนจะละโลกนี้ไป ตายแล้วจะไม่ได้พูด :b32: ยังหายใจเข้า-ออกอยู่จะได้ทำกันหรือไม่, ทำทำถูกไหม ทำแล้วถึงจุดหมายปลายทางหรือไม่ หรือทำแล้วเข้ารกเข้าพงกันไป (อยากพูดตรงๆอีกประโยคหนึ่ง แต่กลัวว่าจะแรงไปเลยเก็บไว้ในใจ) :b32: เป็นอีกขั้นหนึ่งตอนหนึ่ง

มีคนร้องอ๋อแน่ๆ :b35:

:b12:
ยังอีกยังไม่เข้าใจกันอีกบอกว่า
ไปนั่งเดาสภาพธรรมเองโดยไม่ฟัง
มันเดาส่งเดชไปเองขาดพึ่งคำตถาคต
ต้องมีปรโตโฆสะกล่าวคำสัจจะให้คิดถูกตาม
เดี๋ยวนี้เป็นปัจจุบันขณะตามปกติเป็นปกติเข้าใจไหมคะ
จิรกาลภาวนากล่าวตรงสัจจะเพื่อเข้าใจถูกตามและถ่ายทอดได้ตรงตามคำตถาคต
ทุกคำในพระไตรปิฎกมีแล้วที่กายใจตนเองยังไม่ทำอะไรก็กำลังเกิดดับตามเหตุตามปัจจัยไม่มีใครเลือกทำ
:b32: :b32: :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2018, 01:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
ฟังเพื้อให้มีความคิดเห็นที่กำลังเห็นถูกตามได้
เพราะทุกคนกำลังเห็นผิดคลาดเคลื่อนไม่เห็นสีไงคะ
ดูตาเนื้อตนเองตามปกติเป็นปกติตถาคตบอกว่ารู้ตรงปัจจุบัน
ปัจจุบันก็คือเดี๋ยวนี้ทุกคนไม่ได้เห็นสีแต่เห็นผิดเป็นคนสัตว์วัตถุไงค๊ะ
:b32: :b32: :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 85 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 118 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร