วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 00:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2015, 10:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1067

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เราอย่าจับผิดใครเลย :b43: :b40: :b37: เพราะความผิดจะเกิดกับเราไปตลอดชืวิต :b27: :b25: :b38: :b53: ชาตินื้จะไม่ได้พบความถูกอืกเลย ผิดเพราะเรารู้ไม่ท้น ถูกเพราะเรารู้ทันถืงต้นเหตุ คือ จะพูดจะทำจะคิด ผู้ที่จะไม่จับผิดใครไม่มือยู่ในโลก ถ้าเราไม่จับผิดใครก็เก่งกว่าคนทั้งโลก การเกิดขึ้นแห่งบัณฑิต หาได้ยากเกิดขึ้นมาก็เพื่อ ประโยชน์แห่งคนทั้งโลก คนดึ เขาจะไม่จับผิดใครให้เดือดร้อนทั้งเราและเขา ผู้ทื่ไม่จับผิดใครได้ตลอดเวลา พึงรู้ว่าเขาเป็นคนดียิ่งกว่าคนดี ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งตนและผู้อื่น การไม่จับผิดต้องฝึกให้ติดเป็นนิสัย ด้วยการสังเกตุใส่ใจขยันระลึกรู้ดูให้ถึงตันเหตุ แห่งความเกิด ความดับ คุณโทษ และทางออก แห่งสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง ตันเหตุทั้งหมด อยู่ทื่จะคิด ด้บความคิดได้แล้วจะเข้าใจถึงความเข้าจริง :b53: :b45: :b43: :b35: :b45: :b48: :b47: :b44: กำหนดจะคิดดับๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2015, 15:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1067

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าสอนให้สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็นเท่านั้นแหละ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2015, 17:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1067

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


  ดูก่อน คามณี ศาสดาบางคนในโลกนี้มักพูดอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า  ผู้ฆ่าสัตว์ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ลักทรัพย์ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ดูก่อนท่านคามณี  สาวกที่เลื่อมใสในศาสดานั้นย่อมมีความเห็นว่า สัตว์ที่เราฆ่ามีอยู่ ทรัพย์ที่เราลักมีอยู่ การประพฤติในกามของเรามีอยู่ ดังนั้นแม้เราเองก็ต้องไปอบายตกนรก ดูก่อนคามณี ผู้นั้นหากยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละความเห็นนั้น เขาย่อมตั้งอยู่ในนรกเหมือนถูกนำตัวไปวางไว้ฉะนั้นเทียว (เพราะจิตผูกพัน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2015, 12:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


muisun เขียน:
พระพุทธเจ้าสอนให้สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็นเท่านั้นแหละ...


[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำ ให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้า ยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจ เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่ง ในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา จักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออก ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด รู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจัก ทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว อานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจัก เป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจ ออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วย ปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2015, 12:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


[๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ พิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอ เมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภ ความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณา ธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติ- *ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้ ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น ได้เป็นอย่างดี ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้ เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความ- *เพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อ เธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอัน ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรม นั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อม เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิส ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้ ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ ชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึง ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิต ตั้งมั่น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น ได้เป็นอย่างดี ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้ เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2015, 12:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูได้ที่นี่คับ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘)

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 924&Z=4181


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2015, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2015, 20:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1067

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การห้ามพระไม่ให้บิณฑบาตไม่ใช่เพิ่งมีในสมัยนี้ แต่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล มีเจ้าเมืองห้ามไม่ให้พระพุทธเจ้าพร้อมหมู่สงฆ์ไม่ให้เข้าบิณฑบาตร ปิดประตูเมือง พระพุทธเจ้าทรงเตือนว่าอย่าทำเช่นนั้น เพราะเท่ากับทำลายคนถึงสามคน คือ คนให้เขาก็จะไม่ได้บุญ คนรับก็จะไม่ได้ทาน คนห้ามก็จะเดือดร้อนหาทางแก้ไม่ถูกถึงขั้นถูกแผ่นดินสูบ แต่เจ้าเมืองไม่เชื่อ พระพุทธเจ้าทรงบอกว่าจะถูกแผ่นดินสูบลงสู่อเวจีมหานรก ในวันเวลานั้น เจ้าเมืองจึงหนีขึ้นไปบนปราสาทชั้นบนแล้วบอกให้ข้าทาสหลายคนคอยปิดล้อมตัวเองไว้ไม่ให้ลงมาตีนบันได แต่พอถึงเวลาที่พระองค์บอกไว้เจ้าเมืองก็พุ่งพรวดพราด ข้าทาสมากมายก็กั้นไม่อยู่ถูกแผ่นดินสูบตรงตีนบันได ดังพุทธพระยากรณ์

อาตมาบิณฑบาตมาสามสิบกว่าปี เจอคนที่ชอบหาความเดือดร้อนใส่ตัวมาเยอะแล้ว เขาชอบความเดือดร้อน ต้องการความเดือดร้อนตลอดชีวิต ตกเป็นทาสแห่งความชอบ ชัง เฉย อิจฉา ปองร้าย แม้แต่พระก็ไม่ละเว้น การบิณฑบาตรเป็นอาชีพที่บริสุทธิ์ ไม่ได้ทำให้ตัวเองเดือดร้อน ไม่ได้ทำให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อน ไม้ได้ฆ่าเอง ไม่ได้ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ได้ลักขโมยเอง ไม่ได้ให้ผู้อื่นลักขโมย ไม่ได้โกหกใคร ไม่ได้ให้ใครโกหก ไม่ได้ดื่มสุราเอง ไม่ได้ให้ใครดื่มสุรา ไม่ได้ผิดในกามเอง ไม่ได้ให้ใครผิดในกาม ไม่มีอาชีพอะไรที่บริสุทธิ์ผ่องใสไร้บาปปลอดความชั่วร้ายใดๆ ทั้งสิ้น
พระบิณฑบาตก็ไม่ได้ไปธรรมดาอย่างคนชั่วร้าย คิดว่าเอาเปรียบผู้อื่นเที่ยวขอเค้าไปทั่ว แต่ไปด้วยการภาวนา ดับ ชอบ ชังเฉย จะคิดดับๆ ผลงานทางใจจึงมีมาก ทำให้แม้แต่พระยามารก็ต้องเดือดร้อน เพราะพระยามารชอบทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อน ถ้าใครไม่อยากเดือดร้อนทุรนทุรายไร้ที่พึ่งหาความสุขสงบไม่ได้ตลอดชีวิตก็ให้รีบดับความคิดซะ เพราะไม่มีอะไรที่จะชั่วร้ายเกินกว่าความคิดอีกแล้ว คนที่คิดมากจึงชั่วร้ายมาก คิดน้อยก็ชั่วร้ายน้อย คนที่หยุดคิดจึงบริสุทธิ์ผ่องใสไร้ความเศร้าโศก ไม่เป็นทาสชอบ ชัง เฉย จึงไม่แพ้ใคร ไม่เสมอใคร และไม่แย่กว่าใคร ถ้าไม่อยากเดือดร้อนก็ดับความคิดซะ ด้วยการใส่ใจขยันสังเกตระลึกรู้ดูความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จะคิดหนอๆ แล้วเราจะได้บุญวิเศษ รู้เองเห็นเอง หมดความเดือดร้อน ไม่ต้องมาบ้าคอยจับผิดใคร เพราะจับเท่าไหร่ก็คือความผิดของตัวเองทั้งนั้น ผิดทั้งชีวิตนั่นแหละ หาความถูกไม่เจอหรอก ขอบอกอย่าโง่เที่ยวไปจับผิดใครจะความสุขไม่ได้ตลอดชีวิต ก็รู้แก่ใจอยู่แล้ว บัณฑิตผู้รู้ทันดับทันเขาไม่จับผิดใครหรอก แล้วเขาก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ (อย่ายุ่ง ถ้าไม่อยากยุ่งยากให้กับความอยาก..ก็พ้นบาปแล้ว...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2015, 21:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:
อัตตนา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษโจทความผิดของตัวไว้เสมอ

พระพุทธเจ้า..สอนให้จับผิดตัวเอง...

การจะจับผิดตัวเอง..ได้นี้...มันต้องคิดนะคุณ

คิดบ้าง....อย่าหยุดคิดไปซะหมด...นะครับ

huh huh huh


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2015, 21:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_13619982696158.jpeg
IMG_13619982696158.jpeg [ 18.07 KiB | เปิดดู 3610 ครั้ง ]
:b43:
สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น ไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการ คิด นึก ฝึก หัด

สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น จักเกิดขึ้นได้ เมื่อทำลายเหตุทุกข์ขาดสะบั้น เหตุทุกข์นั้นคือความเห็นผิด ยึดผิดว่า กายใจนี้เป็น กู เป็นเรา
smiley
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2015, 22:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b43:
สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น ไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการ คิด นึก ฝึก หัด

สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น จักเกิดขึ้นได้ เมื่อทำลายเหตุทุกข์ขาดสะบั้น เหตุทุกข์นั้นคือความเห็นผิด ยึดผิดว่า กายใจนี้เป็น กู เป็นเรา
smiley


เจริญ..ละท่าน

พระพุทธเจ้าสอนให้....คิด..นึก..ฝึก..หัด

คิด...นี้ผมก็ยกอานาปานาสสติ...มาให้ดูแล้ว
นึก....ก็อนุสติ10
ฝึก..หัด...นี้ก็อิทธิบาท4 สัมมัปทาน4 ...เรื่อยไปจนถึง...โพชฌงค์7 มรรค 8 นี้ก็ฝึกหัด..ทั้งนั้น


หาก..สักแต่ว่ารู้...ไม่ได้เกิดจาก..คิด..นึก..ฝึก..หัด....อย่างที่อโสกะว่า....ก็ได้ชื่อว่า..ไม่ได้เกิดโพธิปักขิยธรรม37 ...ย่อมไม่ใช่..อริยะมรรค..นะซิ

แต่เพราะ...สักแต่ว่ารู้...เป็นผล...จากการกระทำอันเป็นมรรค...คือ..คิด..นึก..ฝึก..หัด..คิดก็คิดอยู่ในธรรม..นึก..ก็นึกอยู่ในธรรม...ฝึก..ก็ฝึกอยู่ในธรรม...หัด..ก็หัดอยู่ในธรรม..ผลจึงวางจสักแต่ว่า..ต่อธรรมที่ปรากฏต่อหน้าเราได้..

ไม่มีอะไรไม่เกิดจากเหตุปัจจัย....นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2015, 00:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1424530919118.jpg
FB_IMG_1424530919118.jpg [ 20.34 KiB | เปิดดู 3550 ครั้ง ]
:b12:
มองคนละมุมเสียแล้วละ กบ

คิดสักแต่ว่า นึกสักแต่ว่า ฝึกสักแต่ว่า หัดสักแต่ว่า จักไม่เกิด สักแต่ว่า

คิด นึก ฝึก หัด ตามอริยสัจ 4 นั้น เป็นการเพียรทำลายเหตุทุกข์ เมื่อเหตุทุกข์ดับ ผลทุกข์ก็ดับ สิ่งที่เหลือไว้ให้คือ ผลสุข นิโรธ หรือ นิพพาน
onion
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2015, 14:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1067

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าพิจารณาต้น กลาง สุด ได้ เห็นสิ่งแรกเกิดได้ เห็นต้น กลาง สุด เห็นความเกิดความดับได้ เป็นมหาสติปัฎฐาน 4 ไม่ใช่อนุสติ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 82 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron