Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เทศน์กัณฑ์สุดท้าย (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 02 ม.ค. 2007, 12:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

เทศน์กัณฑ์สุดท้าย
โดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย


พระพุทธเจ้าย่อมรู้ว่า พระองค์เกิดในภพนั้นชาตินั้น เพราะบุญอะไร เพราะกรรมอะไร บางทีก็ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน บางทีก็เกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา อินทร์ พรหม เป็นภูตผีปีศาจก็เคยเป็นมาแล้ว ที่ไปเป็นเช่นนั้นเพราะบุญอะไร เพราะกรรมอะไรจึงเป็นเช่นนั้น เพราะฉะนั้นคำสอนของพระองค์ที่ว่า สิ่งนี้เป็นบาปอย่าทำ นั่นแสดงว่าพระองค์เคยทำบาปตกนรกมาแล้ว สิ่งใดที่พระองค์สอนว่าสิ่งนี้เป็นบุญทำให้มากๆ ทำแล้วจะขึ้นสวรรค์ พระองค์ก็เคยทำบุญอย่างนั้น ขึ้นสวรรค์มาแล้ว การบำเพ็ญฌาน การบำเพ็ญสมาธิได้สำเร็จฌานสมาบัติ ได้ไปเกิดเป็นพระพรหม พระองค์ก็เคยบำเพ็ญฌานเกิดเป็นพระพรหมมาแล้ว

เพราะฉะนั้นคำสอนของพระองค์ ทุกคำพูดเป็นเรื่องส่วนตัวของพระองค์ ในฐานะที่เราปฏิญาณตนถึงพระองค์ว่า พุทธํ สรณํ คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะที่พึ่ง ที่ระลึกก็หมายความว่าเราจะต้องยกท่านเป็นครูเป็นอาจารย์เรา ยอมตัวเป็นศิษย์ของพระองค์ท่าน เมื่อเป็นเช่นนั้นลูกศิษย์ที่ปฏิบัติตามคำสั่งคำสอนของครูจึงกลายเป็นลูกศิษย์ที่ดีได้

เพราะฉะนั้นหลักที่เราจะยึดเป็นหลักในการที่จะปฏิบัติให้มันเข้าถึงครูของเราเอง เราจะเริ่มต้น ตั้งแต่การเจริญพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ว่ากันโดยหลักและวิธีปฏิบัติกันซะเลย มันจะได้จำง่ายๆ แล้วจะได้นำไปปฏิบัติเข้าใจว่าชาวพุทธเรามีที่สักการะบูชาในบ้านของเราทุกคนทุกครัวเรือน เวลาเราจะปฏิบัติเรากราบพระ ไหว้พระสวดมนต์ อรหํ สมฺมา สมฺพุทฺโธ ภควา สฺวากฺขาโต...สุปฏิปนฺโน...ธูปเทียนไม่จำเป็นก็ไม่ต้องจุดเพราะภัยอันตรายมันจะเกิดอัคคีภัยได้ เพราะความผิดพลาดอาจจะมีได้ ถ้าหากว่าบ้านเรือนของท่านผู้ใดที่มันไม่เหมาะสมที่จะจุดก็ไม่ต้องจุด ถ้ามีที่บูชา ถ้ามีแจกัน เชิงเทียน กระถางธูป ดอกไม้ใส่แจกัน เทียนปักไว้ที่เชิงเทียน ธูปปักไว้ที่กระถาง อธิษฐานจิตบูชาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ แล้วก็ไหว้พระ

อรหํ สมฺมา สมฺพุทฺโธ ภควา พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ กราบทีหนึ่ง

สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ธมฺมํ นมสฺสามิ กราบทีหนึ่ง

สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สงฺฆํ นมามิ กราบทีหนึ่ง

อันนี้เป็นการนมัสการหรือไหว้พระรัตนตรัยตอนต้น

ทีนี้เพื่อความแน่นอน เรามาน้อมจิตน้อมใจกล่าวคำนอบน้อม

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ๓ จบ แต่จิตใจน้อมนึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ต่อไปก็สวดบทสวดมนต์ อิติปิโส ฯลฯ สวากขาโต ฯลฯ สุปฏิปนโน ฯลฯ ตามลำดับ พอจบแล้วก็แผ่เมตตา คือเจริญเมตตาพรหมวิหาร

ทีนี้หากว่าใครยังไม่เข้าใจในหลักการปฏิบัติสมาธิภาวนา ก็ไม่ต้องไปกังวลอะไรให้มากนัก เพียงแต่ว่ามาอธิษฐานจิต ขอบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงคุ้มครองข้าพเจ้าตลอดทั้งครอบครัวคนเกี่ยวข้องให้มีความสุขกายสุขใจ แล้วก็มีการสำรวมจิตสวด

อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ ฯลฯ

สวดซ้ำๆ อยู่นั่น เลิกจากสมาธิแล้ว เวลานอนสวดไปจนกว่าจะนอนหลับ ทำอย่างนี้ทุกๆ วัน แล้วเราจะได้สมาธิขึ้นมาเอง สมาธิไม่ต้องไปเอาลึกซึ้งถึงขนาดได้ญาณก็ได้ ในเมื่อเราสวดบ่อยๆ เข้า ให้สังเกตดูจิตของเรา ถ้าหากว่าจิตนี้มีสติสัมปชัญญะ สติความระลึก สัมปชัญญะความรู้พร้อมอยู่ที่จิต นั้นแสดงว่าคุณของพระพุทธเจ้าได้บังเกิดในจิตของเรา แล้วให้สังเกตต่อไปว่า สติสัมปชัญญะตัวนี้ถ้าอยู่ปกติคือนิ่งอยู่เฉยๆ มันก็จะรู้อยู่ที่จิต แต่ถ้าหากว่าจิตขยับมีความคิด สติตัวนี้มันจะรู้ ถ้าหากว่าเราลุกขึ้น สติตัวนี้มันก็จะรู้ตัวว่ายืน ถ้าเราก้าวเดินไปสติตัวนี้มันก็จะรู้ตัวว่าก้าวเดิน ถ้าเรานั่งลงสติตัวนี้มันก็จะรู้ตัวว่านั่งลง ถ้าเรานอนลงสติตัวนี้มันก็จะรู้ตัวว่านอนลง เมื่อจิตของเราพอมีสติรู้อยู่ทุกขณะจิต เราก็มีพุทธะ ผู้รู้อยู่ในจิต คำว่าพุทโธ พุทโธ ที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนให้ภาวนาพุทโธนั่นแหละ

ทีนี้ในเมื่อเรามาเจริญคุณของพระพุทธเจ้าเป็นนิจศีลประจำทุกๆ วัน ในเมื่อจิตของเรามีสติสัมปชัญญะ รู้เตรียมพร้อมอยู่ที่จิตตลอดเวลา จิตของเราก็เป็นผู้รู้ ผู้ตื่นเป็นคุณพระธรรม เราก็มีคุณพระธรรมอยู่ในจิตในใจ

ทีนี้ผู้มีคุณพระธรรมอยู่ในจิตในใจจะต้องเป็นผู้มีความรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี แล้วก็จะตั้งใจละความชั่ว ประพฤติความดี ทำใจให้บริสุทธิ์สะอาดอยู่เสมอ อันนี้เป็นลักษณะของผู้มีคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์อยู่ในจิตในใจ

เมื่อใจของเรามีคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ จิตของเราก็มีฤทธิ์มีอิทธิพล เราสามารถที่จะทำธุรกิจการงานอันเป็นเรื่องชีวิตประจำวัน ด้วยความขยันขันแข็งและด้วยความจริงใจ ด้วยความวิริยะอุตสาหะ พากเพียรพยายาม เมื่อคุณธรรมอันนี้มันเกิดขึ้นในใจแล้วมันจะเป็นอย่างนั้น สำหรับหลักการภาวนาของบุคคลผู้ยังไม่เข้าใจ แต่ถ้าหากว่าเราสวดอิติปิโสประจำวันนั้นหลายๆ บท วันละ ๑๐๘ จบ ก็ยิ่งดี ในเมื่อจิตของเราได้สมาธิแล้วเราจะรู้เองหรอกว่า วิธีการภาวนานั้นคือทำอย่างไร



.............................................................

คัดลอกมาจาก
http://www.geocities.com/thaniyo/
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง