Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ระดับจิตที่เป็นสมาธิ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ธ.ค.2004, 3:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ระดับจิตที่เป็นสมาธินั้นคือจิตที่มีกุศลสมบูรณ์ หรือยังกุศลให้สมบูรณ์

จิตที่เป็นกุศลนี้อาจเรียกว่าใจเป็นบุญก็ได้ แต่บุญในระดับใดเล่า? ถ้าให้เข้าใจง่ายกำหนดชั้นของสวรรค์ เช่นชั้นกามาวจร 6 ชั้น สวรรค์ชั้นสูงนั้นจิตเป็นอุปจารสมาธิเต็มที่ ถ้าชั้นพรหมโลก จิตก็เป็นอัปณาสมาธิ(ซึ่งก็มีระดับสูงต่ำ อาจแยกตามลำดับองค์ฌานก็ได้)

ทีนี้เมื่อเราจะภาวนาให้จิตมีสมาธินั้น ต้องยังกุศลให้เกิดขึ้นในดวงจิตให้มาก อันนี้ก็ทำไม่ง่าย เพราะว่าในการทำบุญถวายทาน เวลาเราอธิษฐานหรือตั้งใจ บางทีเราปรารถนาแบบชาวโลกมากไป และจิตที่เป็นอกุศลก็อาจเกิดขึ้นในบางขณะแทรกกันไป ในชีวิตเราจึงมีจิตที่เป็นอกุศลเกิดดับอยู่ ถ้าเราทำให้เราใจบุญเต็มที่ จิตเป็นอกุศลก็เกิดได้ยาก



ดังนั้นคยที่เจริญภาวนาควรทำบุญให้ถึงพร้อมในหลายๆด้าน และระวังอารมณ์ในชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงผลกระทบต่างๆ ระวังและสำรวมศีลให้มาก มีจาคะ และมีธรรมอื่นๆ เช่นเมตตา ขันติ ความเพียร ความศรัทธา กุศลต่างๆเหล่านี้ต้องยังให้เกิดขึ้นในจิตให้จิตชื่นบาน จึงจะเจริญสติแล้วปล่อยวางอารมณ์ต่างๆลง



การรักษาศีลก็ควรทำอย่าให้บกพร่อง เพื่อไม่ให้อกุศลตกค้างอยู่ในจิต ระวังบาปทางกายวาจาใจให้มาก ถ้าไม่ทำอย่างนี้ หมายเอากุศลเพียงนิดหน่อยที่เกิดแล้วเจริญภาวนา ผลภาวนานั้นย่อมไม่เต็มกำลังไม่เต็มที่ แม้ผู้ที่ปฏิบัติอยู่แล้วถ้าไม่ระวังอารมณืก็ใช่ว่าจะทำสมาธิได้ตามต้องการทุกครั้ง ต่างมีปัญหาอุปสรรคเหมือนกัน แล้วแต่ใครจะมีมาก มีน้อย และรู้จักที่จะแก้ไขปัญหา รู้ว่าปัญหาเกิดจากเหตุใด และแก้อย่างไรเท่านั้น
 
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2004, 9:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน





ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2004, 9:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน





ขออนุโมทนาสาธุครับคุณโอ่



ว่าจะคุยแต่ผมไม่ค่อยมีความรู้และชำนาญในเรื่องสมาธิเลย

กลัวว่ากล่าวออกไปแล้วเกิดผิดพลาดขึ้นมา เดี๋ยวจะเป็นกรรมเป็นเวรกับผมเปล่าๆ



คือผมปฏิบัติทางด้านสติปัฏฐาน ส่วนใหญ่จะเน้นเกี่ยวกับสตินะครับ



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ดนุวัติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ธ.ค.2004, 8:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท่านสายลมเจริญสติปัฏฐาน ลองย้อนไปดูเรื่องสติสัมโภชฌงค์ดูนะครับ จะทราบเรื่องสมาธิ
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ธ.ค.2004, 9:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมคิดว่าเรื่องสมาธิไม่ได้เป็นความรู้มาก และเราไม่ได้พูดในเชิงวิชสการเท่าไร เป็นการพูดแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ แต่ละคนก็มีไม่เหมือนกัน มีต่างๆกันไป ผมมักแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆที่ไปทำกันที่วัด(ประจำทุกวัน) แม้สมาธิจะมีบ้างหรือไม่มีก็ไม่เป็นไร เพราะแค่ควบคุมสตินี่ก็พอโขแล้ว เราพูดกันแค่เจริญสติ



แต่ที่วัดนั้นมีบุคคลมาก มีประสบการณ์แปลกๆ บางคนก็หวาดกลัวอาการแปลกๆ แต่ละเรื่องก็ต้องอธิบาย บางคนไม่สบายเวลาทำสมาธิ ถ้าเพ่งมองทางหน้าผาก บางทีก็เห็นสิ่งที่มาทำให้เขาไม่สบาย บางทีก็ไม่เห็น เพราะรวมสมาธิไม่ได้ดี อันนี้ไม่ควรทำ เพราะจะส่งจิตออกไปนอกนานเกินไป



หลักของการทำสมาธิก็คือทำจิตให้สดชื่นด้วยบุญ เช่นการเจริญความดีในอนุสติ เช่นจาคะ นึกถึงเรื่องการให้ เรื่องของเมตตาจิต ซึ่งอยู่กับจริตของเราว่าชอบอย่างไร เมื่อนึกอย่างนั้นจนแช่มชื่นแล้วจึงภาวนา รวมทั้งระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ หัดฝึกระลึกเพื่อให้กุศลจิตเกิดขึ้น



เมื่อกุศลจิตเกิดขึ้นแล้ว มานั่งภาวนา การนึกถึงกุศลจิตนี้มีการปรุงแต่งมาก อารมณ์ที่เป็นสังขารปรุงแต่งนี้ ทำให้ใจแช่มชื่น แต่เวลาภาวนา เราต้องเจริญสติ



ถ้าเราระลึกถึงลมหายใจเข้าออก โดยหายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ ในทางปฏิบัติแล้วถ้าไม่ทำประจำ หรือถึงแม้ทำประจำก็ตาม เวลาหายใจเข้าซึ่งเราทำสติให้รู้ตัวว่าเรากำลังรู้ว่าเราหายใจเข้า ลมหายใจผ่านปลายจมูเข้าไป ไหลเข้าไปถึงส่วนไหนเราก็รู้ตามไป แต่ในความเป็นจริง เราก็ยังเผลอคิดถึงสิ่งอื่นๆอยู่ดี เผลอคิดเบาๆบ้าง เผลอไปคิดจนลืมลมหายใจบ้าง



แม้คนที่ปฏิบัตินาน ไม่เคยลืมลมหายใจแม้แต่ครั้งเดียว ไม่ว่าจะกี่ชั่วโมง ไม่เผลอเลยก็ ตาม แต่ว่ายังสามารถคิดเรื่องอื่นได้ด้วย ปรกติแล้วมันจะคิดเรื่องอื่นไม่ได้ เมื่อสติได้ที่มันจะเหลือแต่เรื่องลมหายใจอย่างเดียวจริงๆ



คำว่าดุลยภาพในขณะที่รู้แต่ลมหายใจนั้น ผมคิดว่าเป็นสิ่งเดียวกันกับอินทรีย์ห้าเสมอกัน จึงได้สมาธิโดยมันรวมกันเบาๆเป็นขณิก มากกว่านั้นเป็นอุปจาร มากกว่านั้นเป็นอัปนาสมาธิ



อัปนาสมาธิที่พูดกันนักกันหนาเป็นยังไง อารมณ์มันเป็นยังไง อัปนาสมาธิด้วยวิธีเจริญอานาปานสติ จิตจะรวมลงไป แล้วร่างกายจะหายไป เหลือแต่จิตที่รู้อยู่อย่างเดียว เป็นเวลานานมาก ไม่รู้สิ่งภายนอกเลย เสียงนี่ไม่ได้ยิน



แต่อัปนาที่เกิดจากอุคหนิมิตแปลก เพราะจิตรวมตัวเหมือนกัน แต่จิตเรากลายเป็นเหมือนลมเข้าไปในลำตัวเราที่เหมือนโพรงหรือถ้ำ



ความหนักแน่นของจิตก่อนการรวมตัวเป็นยังไง เมื่อเราเพ่งอุคหนิมิต จิตจะตั้งมั่น มันคั้งมั่นขนาดไหน จะเปรียบเทียบว่าอุปจารเหมือนเราเอาไม้ไผ่ที่มาปลายเรียวปักไว้บนดิน ไม้ไผ่มันยังสั่นไหวนิดๆ จิตก็สั่นไหวทำนองนั้น ยังคิดอะไรได้



แต่อัปนาสมาธินั้น เหมือนเอาเสาซิเมนต์ ฝังลงในหลุมซิเมนต์ มันหนักแน่นไม่หวั่นไหวเลย จิตตั้งมั่นในลักษณะนี้ ไม่มีทางที่จะเขวไปไหนตามอารมณ์ได้เลย หนักแน่นจนมันรวบความคิดทั้งหมดเข้าไปแช่แข็งไว้เลยทีเดียว จิตตั้งมั่นของอัปนาสมาธิไม่หวั่นไหวลงไปในลักษณะนี้



ถ้าจิตยังหวั่นไหว คิดโน้นคิดนี้ได้แม้แต่เบาๆตามอามรมณ์ นั่นไม่ใช่อัปนาสมาธิ ดังนั้นเมื่อได้อัปนาสมาธิแล้ว เจ้าตัวย่อมรู้ปราศจากความสงสัย เพราะมันตั้งมั่นชนิดที่ไม่พบมาก่อน นั่นเป็นอัปนาสมาธิ



ทีนี้เมื่อได้นิมิต จิตกลายเป็นเหมือนลม หรือตัวเราเหมือนลมไหลเข้าไปอยู่ในร่างกาย อาการเช่นนี้จิตกับกายแยกออกจากกัน ถ้าเราเข้าอุปจารจิตไม่แยก จิตก็อยู่ทุกแห่งของร่งกาย จะรวมก็รวมอยู่บริเวณหน้าอก แต่จิตก็ไม่รวมมากยังรู้ส่วนอื่นๆของร่างกายอยู่ จิตไม่แยกออกจากกาย



แต่เมื่อจิตแยกจากกายเข้าไปในกาย มันเข้าไปทำไม มันเข้าไปเพื่อจะแล่นออกจากกาย นั่นคือถอดจิตออกไปเที่ยวแต่มัน เพราะมันแยกออกจากกายแล้ว อุคหนิมิตทำให้จิตเป็นอย่างนี้ได้ ออกจากกายพุ่งขึ้นไปท้องฟ้าเวหาหนจริงๆ ทิ้งร่างกายไว้



จิตมีอาการอย่างนี้ และเป็นของมันเอง เมื่อเรารู้ตัวมันออกไปนอกกายจริงๆเสียแล้ว เป็นอย่างนี้ก็มี



การได้ยินและการเห็นในนิมิต เสียงที่ได้ยินอยู่ที่หูขวาก็ได้ หูซ้ายก็ได้ ไม่ดังที่หูก็ได นิมิตเหล่านี้จะเกิดหลังจิตรวมเข้าสมาธิแล้วถอยออกมา และรู้ตัวในอุปจารสมาธิ จิตกำลังถอน นิมิตการได้ยิน และการเห็นจะปรากฏ



สิ่งที่เห็นในนิมิตนั้นอธิษฐานให้เห็นสิ่งที่อยากเห็นได้หรือไม่ เมื่อเกิดนิมิตในลักษณะสว่างแบบกระจกใส ในขณะที่เป็นอุปจารสมาธิ ให้กำหนดสติรู้ให้ทั่วพร้อมไปทั้งตัว ให้น้ำหนักสติเท่ากันหมด ทำความรู้ตัวให้เกิดอย่างนี้ แล้วกำหนดว่าจะเห็นอะไร การกำหนดนั้นไม่มีความอยากรู้อยากเห็น เพราะสติเกิดทั่วพร้อม จึงเป็นแต่สักกำหนดไปเท่านั้น และรู้สักว่ารู้ ให้ทำความรู้ตัวให้เป็นอย่างนี้ จะสามารถรู้เห็นสิ่งที่เป็นอนาคตได้ไม่ผิดพลาดเลย



ความรู้เห็นอย่างนี้ก็เกิดขึ้นได้ เมื่อได้อัปนาสมาธิแล้ว แค่เจริญอุปจารเท่านั้น แต่ว่าเมื่อไม่ชำนาญไม่ทำให้เป็นวสีแล้ว ทำด้วยความอยากมันก็ไม่เกิด มันต้องเกิดด้วยอารมณ์ที่ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ดังนั้นนักทำสมาธิจงพยายามสร้างอารมณ์ไม่ยินดียินร้ายให้เป็นนิสัย และมีสติให้มาก



การรู้จิตใจของอทิสมานกายที่พบเห็น ไม่ว่าเทพยดา หรือจิตของวิญญาณชั้นต่ำลงมารู้โดยใจที่เหมือนความคิดก็ได้ รู้โดยใจที่ความคิดเป็นถ้อยคำชัดเจน แต่ไม่มีเสียงพูดก็ได้ ไม่ว่าจะรู้อย่างไร ความรู้นั้นชัดไม่มีข้อสงสัย



สมาธิไปพบสิ่งอย่างนี้ได้ อันนี้เป็นเรื่องธรรมดาของสมาธิ ไม่ได้เป็นเรื่องแปลก การเห็นโลกอื่น ในที่อื่นก็ไม่มีอะไรแปลกเลย แต่คนในโลกคิดว่าเรื่องอย่างนี้ช่างแปลกจริง ก็โลกอื่นเขามีของเขาอยู่แล้ว มันอยู่กับแบบนั้นมาแล้ว



สิ่งที่เราควรสนใจก็คือเรื่องชีวิตของเรา ความน่ากลัวในสังสารวัฏฏ์นี่แหละน่ากลัวที่สุด สังสารวัฏฏ์นี่เป็นการท่องเที่ยวที่อันตรายน่าหวาดกลัว เหมือนเดินบนเส้นด้ายพลาดตกได้ตลอดเวลา เรากำลังอยู่ในอันตรายที่ร้ายแรงยิ่งว่าเหตุการณ์ร้ายแรงบนโลกที่เป็นข่าวใหญ่ๆ ก็คือสังสารวัฏฏ์นี่แหละ ผมบอกว่าผมกลัวจริงๆ



เมื่อกลัวนั้นเราต้องหาทางทำอะไรให้ได้มาก เช่นรักษาอุโบสถศีลอย่างจริงจัง เจริญสติให้มาก ทิ้งความคิดเรื่องราวต่างๆในโลกออกไปให้มาก และเราจะอยู่อย่างเป็นสุขถ้าทานข้าวแล้วไม่อร่อย ถ้าทานข้าวแล้วอร่อยก็แย่แล้ว ความสันโดษในรสชาติอาหารก็มีเหมือนกัน เราทำชีวิตให้สันโดษให้หมดทุกด้าน แล้วความโลภจะลดลง เพราะมันพอใจในความมักน้อย นี่คือธรรมะที่เรียกว่าสันโดษ เราน้อมเข้ามาสูใจและทำเกิดขึ้นในตัวเรา



การที่เราจะประพฤติธรรมะอะไรบ้าง เราทำให้ธรรมะเหล่านั้นเข้ามาสู่ใจ ด้วยวิธีคิดทำนองนี้ เข้ามาแล้วก็รักษาธรรมนั้นไว้ เอาไว้เป็นความประพฤติ เป็นเกราะกำบังภัยให้แก่เราทุกด้าน เราจะเป็นผู้ไม่กลัวภัย ไม่มีความหวาดหวั่นในสิ่งใดๆ เป็นผู้กล้าแม้ในการทำความดีอื่นๆ มีชีวิตยู่โดยปราศจากความกลัว ไม่มีสิ่งน่ากลัวใดๆในโลกเหลืออยู่เลย เมื่อธรรมที่ประพฤตินั้นคุ้มครองเรา และการดำเนินชีวิตเช่นนี้พอเป็นความสุขแม้เล็กน้อย



การดำเนินชีวิตไปทำนองนี้ก็เป็นประโยชน์แก่สมาธิ เป็นประโยชน์แก่การเจริญสติ ที่เป็นไปอย่างเนืองๆ เราทำให้มันเป็นอาชีพของเราเสียเลย อาชีพวิปัสสนา เราต้องพยายามประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ หรือเอื้อต่อการปฏิบัติสมาธิภาวนา



ถ้าทำอย่างนี้แล้วก็ไม่ต้องถามใครว่าจะภาวนายังไงดี แต่ถ้าเราใช้ชีวิตแบบชาวโลกเต็มที่ หรือเกือบเต็มที่ แม้จะพอใจการกุศล การให้ทาน แต่การภาวนายังไม่เกิดผลดี เพราะกุศลต่างๆที่เราประกอบนั้น มันมีความปรุงแต่ง และเราเข้าไปเสพความปรุงแต่งนั้นมากกว่าการเจริญสติ ทำให้การภาวนามีปัญหา



การสร้างกุศลให้แก่ตัวเอง ก็โดยการเลือกความประพฤติให้แก่ตัวเอง ทำในสิ่งที่คนคิดว่ายาก (จริงๆไม่ยาก) ทวนกระแสของคนในโลกไปเรื่อยๆ ต้องฝึกชีวิตให้ทวนกระแส อย่าไปตามโลก ตามแล้วไม่มีผลดี อย่าไปอยากไม่ว่าอยากเป็นนักการเมืองหรืออะไรอย่าไปอยาก ใครอยากปล่อยให้อยากไป เพราะคนเหล่านั้นตามกระแสโลก และไปสู่กับกัดของความหลงแน่นอนไม่ต้องสงสัยเลย แต่ว่าเมื่อเราจะฝึกภาวนา ฝึกให้มีสมาธิไว้บ้าง ปล่อยวางสิ่งในโลกลงไปเรื่อยๆ แล้วสบายที่สุด เป็นชีวิตที่ ไม่รู้จะพูดยังไง เรียกว่ายอดเยี่ยมก็แล้วกัน เพราะว่ามันสงบ เป็นปุถุชนก็สงบอยู่ในโลกได้ พอประทังอยู่ได้ (ถึงไม่ได้กระแสนิพพานก็ตามก็ประทังอยู่ได้)



นี่เป็นหลักคิดการเจริญสมาธิ ระดับจิตที่เป็นสมาธิ ก็คือระดับความคิดแบบนี้ ถ้าดีกว่านี้ก็ดี แต่ผมก็ทำไม่ได้ดีกว่านี้
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง