Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องง่าย อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
satima
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 120

ตอบตอบเมื่อ: 09 มี.ค.2006, 8:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แท้จริงแล้วการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องง่าย
แต่ง่ายจนยากเพราะเราคิดไม่ถึงว่าจะง่ายขนาดนี้
ดังนั้นแทนที่เราจะพยายามปรุงแต่งการปฏิบัติต่างๆ นานา
ขึ้นมาตั้งมากมายด้วยความยากลำบาก

(ซึ่งเกือบทั้งหมดก็คือปุญญาภิสังขารซึ่งเราสร้างขึ้นเองด้วยอำนาจบงการ
ของอวิชชา โดยหวังว่าเมื่อเราปรุงแต่งการปฏิบัติได้ดีถาวรแล้วเราจะบรรลุ
มรรคผลได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง)

เราก็ควรหันมารู้เท่าทันจิตที่แอบปรุงแต่งสิ่งต่างๆ ขึ้นมา
เมื่อรู้ทันว่าจิตแอบปรุงแต่งแล้ว ความปรุงแต่งทั้งหลายนั้นก็จะดับไปเอง
เมื่อความปรุงแต่งทั้งหลายดับลงแล้ว ความรู้สึกเป็นตัวตนจะมีไม่ได้เลย
ขันธ์หรือรูปนามจะแสดงความเป็นของสูญต่อหน้าต่อตา
เพราะความเป็นตัวตนเกิดจากความคิดนึกปรุงแต่งล้วนๆ
เมื่อปราศจากความเป็นตัวตนของขันธ์
ก็ปราศจากเครื่องรองรับความทุกข์ทางใจ
ความทุกข์ทางใจก็ตั้งอยู่ไม่ได้

นี้เองเป็นที่สุดแห่งทุกข์ทางใจในปัจจุบัน จนตราบถึงวันสิ้นขันธ์
ก็เป็นอันสิ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงแต่เพียงเท่านั้น

จากข้อความข้างต้น เป็นธรรมะของครูบาอาจารย์ ที่ท่านแนะ
แนวทางการปฏิบัติ ที่เรียกว่า "ทางเอก"

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
satima
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 120

ตอบตอบเมื่อ: 11 มี.ค.2006, 8:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การละสักกายทิฏฐิ

พระโสดาบันคือผู้ละสักกายทิฏฐิได้เด็ดขาด พวกเราผู้ที่ปรารถนาจะบรรลุโสดาปัตติผล
จึงควรสนใจศึกษาเรื่องสักกายทิฏฐิให้ดี

สักกายทิฏฐิคือความเห็นผิดว่ากายใจหรือรูปนามหรือขันธ์ ๕ เป็นตัวเราของเราอย่างแท้จริง
ดังนั้นเมื่อปรารถนาจะละความเห็นผิดเกี่ยวกับรูปนาม
ก็จำเป็นจะต้องศึกษาเข้ามาที่รูปนามหรือกายใจของตน
จะเที่ยวไปศึกษาเรื่องอื่นเพื่อจะทำลายความเห็นผิดเกี่ยวกับรูปนามไม่ได้
จำเป็นต้องหมั่นศึกษารูปนามของตนจนเกิดความรู้ถูกเข้าใจถูก
ว่าตัวเราไม่มี มีแต่รูปกับนาม
เมื่อเกิดความรู้ถูกแล้ว ความเห็นผิดก็เป็นอันถูกละไปเองเรียบร้อยแล้ว

ขอให้พวกเราหยุดความพยายามที่จะทำลายสักกายทิฏฐิด้วยวิธีการต่างๆ
แล้วหันมาปลุกจิตให้ตื่นขึ้นเป็นจิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
แทนที่จะเป็นเพียงจิตผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง
เมื่อจิตตื่นขึ้นมาแล้วก็หมั่นมีสติตามรู้กายตามรู้ใจอยู่เนืองๆ
นี้ไม่ใช่เรื่องที่ยากเลย แต่มันยากตรงที่พวกเราเอาแต่คิดหรือพยายาม
หาวิธีปฏิบัติต่างๆ นานา แทนที่จะทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
คือรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาแล้วตามรู้กายตามรู้ใจไปตามความเป็นจริง
ด้วยจิตใจที่ปกติธรรมดานี้เอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
satima
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 120

ตอบตอบเมื่อ: 23 มี.ค.2006, 8:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความสุขเป็นลำดับๆ ของนักปฏิบัติธรรมมีดังนี้คือ
๘.๑ ความสุขจากการมีศีล
๘.๒ ความสุขจากการเจริญสมถกรรมฐาน
๘.๓ ความสุขจากการมีสติเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
๘.๔ ความสุขจากการมีปัญญารู้รูปนามตามความเป็นจริง
๘.๕ ความสุขเมื่อละความเห็นผิดว่ารูปนามเป็นตัวเราของเราได้
๘.๖ ความสุขเมื่อละความยึดถือรูปนามได้

๘.๓ ความสุขจากการมีสติเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เมื่อจิตจดจำสภาวะของรูปนามใดได้ จิตจะเกิดสติระลึกรู้ขึ้นได้เองเมื่อรูปนามนั้นปรากฏขึ้น ทันทีที่จิตมีสติ จิตจะเป็นกุศลโดยอัตโนมัติ และจิตที่เป็นกุศลจะมีเวทนาได้เพียง ๒ ชนิดเท่านั้นคือ

โสมนัสเวทนาและอุเบกขาเวทนา จะมีความทุกข์คือโทมนัสเวทนาไม่ได้เลย เนื่องจากโทมนัสเวทนาเกิดร่วมได้กับอกุศลจิตเท่านั้น โสมนัสเวทนาและอุเบกขาเวทนาจัดได้ว่าเป็นความสุขทางใจได้ทั้งคู่ คือ

ตัวอุเบกขาเวทนาแม้จะไม่ใช่ความสุขในระดับโสมนัสเวทนา แต่ก็จัดว่าเป็นความสุขได้เหมือนกัน เพราะจิตไม่ถูกความทุกข์โทมนัสครอบงำ เพื่อนนักปฏิบัติท่านใดที่เกิดสติและจิตตื่นขึ้นมาแล้วนั้น จะเข้าใจในสิ่งที่ผู้เขียนกล่าวนี้ได้ด้วยตนเอง คือ

ทันทีที่สติเกิดขึ้น จิตจะเกิดความรู้เนื้อรู้ตัว เกิดสภาวะรู้ ตื่น เบิกบาน สงบ สะอาด และสว่างขึ้นมาเอง จิตจะมีความสุขโสมนัสโชยแผ่วขึ้นมาเอง หรือเกิดอุเบกขาเวทนาอันอบอุ่นนุ่มนวลเบาสบายขึ้นมาเองโดย ไม่ต้องทำอะไรเลย ซึ่งต่างจากความสุขอันเกิดจากการทำสมถกรรมฐาน ที่ต้องทำ สมถกรรมฐานจนจิตสงบแล้ว จึงเกิดโสมนัสเวทนาและอุเบกขาเวทนาขึ้นมา

สตินั้นเมื่อเคยเกิดขึ้นแล้วก็จะยิ่งเกิดได้ง่ายขึ้นๆ เพราะยิ่งปฏิบัติไปนานวันจิตจะยิ่งรู้จักและจดจำสภาวะของรูปนามได้มากขึ้นทุกที ยิ่งรู้จักและจดจำสภาวธรรมได้มากสติก็ยิ่งเกิดบ่อย ยิ่งสติเกิดบ่อยก็ยิ่งมีความสุข ยิ่งมีความสุขก็ยิ่งมีฉันทะคือความพอใจที่จะมีสติระลึกรู้รูปนามบ่อยๆ ยิ่งมีฉันทะก็ยิ่งมีความเพียรคือจิตจะขยันรู้รูปนาม ยิ่งมีความเพียรก็ยิ่งใส่ใจ

ยิ่งใส่ใจจิตก็ยิ่งเคล้าเคลียคอยเรียนรู้รูปนามอยู่เนืองๆ และเมื่อเรียนรู้บ่อยเข้า จิตจะเกิดปัญญาคือเข้าใจความเป็นจริงของรูปนาม จนละความเห็นผิดและปล่อยวางความถือมั่นในรูปนามลงได้ในที่สุด

สรุปแล้วการมีสติระลึกรู้รูปนามทำให้เกิดความสุขในปัจจุบัน โดยไม่ต้องทำอะไรเลยและไม่ต้องอิงอาศัยกามคุณอารมณ์ภายนอกด้วย การเจริญสติจึงให้ความสุขตลอดสายของการปฏิบัติแม้ในระหว่างที่ยังต้องปฏิบัติอยู่ จัดว่า เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันได้อีกอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการทรงจิตไว้ในฌาน และเป็นความสุขที่ให้ปัญญาด้วย ไม่เหมือนการทำฌานซึ่งให้แต่ความสุขสงบเพียงอย่างเดียว

(แอบคัดลอกมาตามที่คุณmaibox ได้โพสต์ไว้ค่ะ เนื่องจากหนังสือเล่มนี้ ยังอยู่ในระหว่างตรวจปรู๊ฟ จึงยังไม่สมบูรณ์ แต่โดยเนื้อธรรมนั้น สมบูรณ์อยู่แล้ว จึงนำมาเผื่อแผ่ ไปพลางๆ ค่ะ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ฝุ่น
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 23 มี.ค. 2006
ตอบ: 1

ตอบตอบเมื่อ: 23 มี.ค.2006, 8:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ

พี่สติมาขา.... อยากได้ไฟล์ ทางเอกของหลวงพ่อจังค่ะ
อายหน้าแดง

พี่ส่งให้หน่อยน่ะน่ะ

ขอบพระคุณค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
satima
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 120

ตอบตอบเมื่อ: 23 มี.ค.2006, 11:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขำ น้องฝุ่นคะ พี่ก็ไม่มีค่ะ
ได้คัดลอกมาจากคุณธนาอีกที ในช่วงสั้นๆ ค่ะ
เพราะว่าหนังสือยังอยู่ในช่วงตรวจปรู๊ฟค่ะ
ถ้าผ่านการตรวจเรียบร้อย และพี่ได้รับแล้ว
จะส่งให้นะคะ สู้ สู้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
สุดทางรัก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 มิ.ย.2007, 7:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-การปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสัจธรรม หรือพูดรวบยอดว่าการทำที่สุดแห่งทุกข์นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

ถ้าง่ายอย่างว่า พระพุทธเจ้าคงไม่ตรัสว่า ธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นั้นละเอียดลึกซึ้ง หยั่งรู้ได้

ยาก ทวนกระแส....หรอกกระมัง

-บางทีความคิดเช่นนั้นเกิดจากความเข้าใจผิดปฏิบัติผิด ของตนแล้วคิดทึกทักเอาว่า สิ่งที่ตนรู้

นั่นแหละคือธรรม อย่างนี้ก็อาจว่าง่ายได้เหมือนกัน

เพราะสิ่งที่ตนทำตนปฏิบัติเห็นว่ายากเกินไปก็ไม่เอา ทอดทิ้งเสีย คือเปลี่ยนเป็นไม่ทำเสีย จึงว่า

ง่ายๆ ฯลฯ...แล้วก็พูดว่า ไม่ทำนี่ล่ะธรรม ไม่สู้ไม่เอานี่ล่ะธรรม แต่หารู้ไม่ว่า คือตัณหา มันสั่งไม่

ให้ทำ เพราะมันยาก ขำ
 
สุดทางรัก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2007, 5:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ตัณหาให้กระทำ ต่อเมื่อการกระทำนั้นเป็นเงื่อนไขอันจำเป็นที่จะให้ได้สิ่งที่ตัณหา

ต้องการ

แต่ถ้ามีทางอื่นใดที่จะให้ได้สิ่งที่ต้องการโดยไม่ต้องทำ ตัณหาก็จะให้หลีกเลี่ยงการ

กระทำเสีย หันไปเลือกทางไม่ต้องการทำนั้น พูดง่ายๆว่าไม่ให้ทำ

ตัณหาจึงเป็นแรงจูงใจไม่ให้ทำเสียมากกว่า

เมื่อจะจูงใจไม่ให้ทำนั้น ตัณหาอาจแสดงออกในรูปของความเกียจคร้าน โดยติดอยู่กับสุข

เวทนาที่กำลังเสพเสวยในภาวะเดิม ไม่อยากพรากจากไป

หรือแสดงออกในรูปของความกลัว เช่น กลัวจะประสบทุกขเวทนาในเวลากระทำการ

หรือกลัวสูญเสียความมั่นคงถาวรยิ่งใหญ่ของอัตตา เป็นต้น

บางคราวในเมื่อการไม่กระทำจะเป็นเงื่อนไขให้ตัณหาได้สิ่งที่มันต้องการ คือได้เวทนาอร่อยเพิ่ม

ขึ้นหรือเสริมความถาวรมั่นคงยิ่งใหญ่ของอัตตาได้มากขึ้น ตัณหาก็ให้ไม่ทำ
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 16 มิ.ย.2007, 8:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ก่อนที่จะทรงประกาศธรรม

ได้มีพุทธดำริว่า “ธรรมที่เราเข้าถึงแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นยาก หยั่งรู้ตามยาก สงบ ประณีต ตรรก

หยั่งไม่ถึง (ไม่ใช่วิสัยของตรรก) ละเอียดอ่อนเป็นวิสัยที่บัณฑิตจะพึงทราบ”

-ธรรมในที่นี้ หมายถึงปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน (จะว่าอริยสัจ 4 ก็ได้ใจความเท่ากัน)


(พุทธธรรมหน้า 232)
 
satima
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 120

ตอบตอบเมื่อ: 03 ส.ค. 2007, 9:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จะยากหรือจะง่ายขึ้นอยู่กับวาสนาบารมี

วาสนาบารมี มาจากความเพียรที่มีมามาก และสั่งสมมาพอควร

ในการภาวนานั้นใช่ว่าจะมาทำเอาชาตินี้แล้วจะได้เลย เราจะเห็นว่า
บางคนก็พอใจแต่เรื่องทาน เรื่องศีล ส่วนเรื่องภาวนายังไม่อยากทำ
ดูเป็นเรื่องยาก ดูจะทำไม่ได้ และก็เริ่มต้นทำผิดๆ ซึ่งยิ่งทำให้ยากขึ้นไป
เรื่อยๆ เพราะเดินผิดทาง

แต่เมื่อใดก็ตาม ภาวนาได้แล้วจะเริ่มรู้สึกจริงๆ ว่า เส้นทางของการภาวนา
ไม่ได้ยากเย็นอย่างที่คิด เช่น บางคนคิดว่า การถือศีลยาก ทั้งๆ ที่ศีลก็คือ
ความปกติของกายใจนี้เอง เมื่อใดก็ตามที่ทำไปเพื่อให้กายใจปกติ นั่นเป็น
ศีล และจะสมบูรณ์เมื่อมีสติฯ รู้เห็นกายใจที่กระทำ

ข้อความข้างต้นของกระทู้มาจากที่นี่

http://www.wimutti.net/download/books/web/tangake/main.htm?a=1

ขอให้ลองติดตามอ่าน เมื่อเข้าใจและลงมือภาวนาก็จะพบว่า
การปฏิบัติธรรมไม่ได้ยาก จริงดังคำของครูบาอาจารย์
มันยากเพราะกิเลสมันไม่อยากให้ปฏิบัติเท่านั้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ทศพล
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 10 ก.พ. 2008
ตอบ: 153
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 5:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
"ธรรมทาน คือ ทานอันสูงสุด"
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"

http://www.wimutti.net
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง