Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 กิเลสกับธรรม (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 07 ธ.ค.2006, 9:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

กิเลสกับธรรม
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๓
ณ สวนแสงธรรม



เป็นห่วงชาวพุทธเหลือเกิน กิเลสเหมือนน้ำตาล แต่ที่แท้เป็นยาพิษ สุข ทุกข์ บุญ บาป แยกกันไม่ออก ความอยากสร้างความชั่วตลอดเวลา ผลก็เป็นบาปเป็นกรรมอยู่ตลอดเวลา สอนอะไรไม่ฟัง ฟังแต่ เรื่องของกิเลสอย่างเดียว

กิเลสมีแต่อยากจะร่ำอยากจะรวย สร้างบาปสร้างกรรม ขนาดจิตดวงนี้ (หลวงตาหมายถึงจิตของหลวงตาเอง- deedi) ตั้งใจฟัดกับกิเลส อุตส่าห์ขึ้นเขาไปแล้วยังโดนกิเลสฟัดเอาตั้งแต่ยังไม่เริ่ม ยกแรก ไม่ใช่สู้กับกิเลส แต่แค่ตั้งรับก็แย่แล้ว กิเลสเร็วและรุนแรงขนาดนั้น ฟัดเราหงายๆๆ ต่อหน้าต่อตา...น้ำตาร่วงสู้มันไม่ได้...ตั้งสติทำความเพียร สติล้มพับ ลงกิเลสจับตรงไหน คำว่า "อิ่ม-พอ" ก็ไม่มี

คนที่ยังไม่ถึงธรรม กิเลสจับเป็นตัวเดียวกัน มีแต่ความบาป ความอยาก ความทะเยอทะยาน เหมือนกับอยากเอามรรค (การทำชั่ว) ผล (ความทุกข์)

ต้องมาสร้างความเพียรต่อสู้กัน หลวงตานั่งภาวนาจนก้นแตก ก้นเลอะ นี่คือความเคียดแค้นซัดกับกิเลสในน้ำหนักที่เท่ากัน "กิเลสเอาเราขนาดไหน เราก็จะเอากิเลสขนาดนั้น" อำนาจกิเลส กลุ้มรุมจิตใจชาวโลก แต่กิเลสไม่ได้ตกนรกกับเรา เราเองที่ตกนรกนะ

กิเลสไม่ได้อยู่ที่กาย กิเลสอยู่ที่ใจ เหมือนฝึกม้าพยศ กิเลสไม่มีพอ ไม่เคยอิ่ม หิวตลอด อยากตลอด เหมือนเชื้อไฟกองใต้ภูเขา กิเลสเก่งแบบนี้ แต่พอธรรมเก่ง ธรรมก็พอกันกับกิเลส ตามฟาดฟัน กันตลอด ธรรมทำกิเลสหมอบได้ จนขาดสะบั้นลงในที่สุด

ความเพลินในธรรม เหมือนกับที่เราเพลินในกิเลสนั่นแหละ เวลาที่ธรรมมีกำลัง เวลากล้า ก็กล้าทุกอย่าง สติปัญญาก็ผ่องใส ร่มเย็น รวดเร็ว ทันกัน ถึงวาระแล้วเป็นของเค้าเอง เผาเชื้อไฟ อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ตามเผากันไปเรื่อยๆ ("ไหม้" = ธรรมเผากิเลส) เมื่อไม่มีอะไรแล้ว ก็หยุด ก็หมด ไม่ต้องบังคับ หยุดเป็นอัตโนมัติ หมดเชื้อแล้วก็หยุดของ มันเอง

เวลาปฏิบัติ รู้ตรงไหน ก็เข้าใจทันที "อ๋อ" ของมันเอง ไม่ต้องไปถามใครที่ไหน

หลวงตาวิตกวิจารณ์ต่อจิตใจของชาวพุทธ เอาแต่ข้างนอก ไม่สนใจเข้ามาข้างใน หลักของชาวพุทธก็คือให้ ภาวนา เป็น หลักของใจ เหนื่อยก็มา "พุทโธๆ" ไปซะ

พระพุทธองค์จึงทรงท้อพระทัย โลกุตรธรรม- ธรรมเหนือโลก เหนือกิเลส

อารมณ์ของธรรม - จะทำให้สงบ เบาลงๆ อารมณ์ของกิเลส- จะทำให้เฟ้อไปหมด

เวลาจิตเป็นสมาธิ จะไม่อยากคิด เพราะว่าคิดแล้วจะกวนใจ ธรรมชาติจิตแท้ๆ จะนิ่ง สบาย นั่งตรงไหนก็เพลินตรงนั้น เพลินอยู่กับธรรม ไม่กังวลข้างนอก เพลิน สบายอยู่ข้างใน ไม่เหมือนพวกวุ่นวายบ้าอยู่ข้างนอก

ไปที่ไหนก็แน่ว สบาย อิ่มอารมณ์ ได้อาหารที่เหมาะสมแล้วก็ ไม่อยากจะยุ่ง

ปัญญาต่างหากที่แก้กิเลส สมาธิมีแต่นิ่งสงบสบาย ปัญญานี่ เพลินจนลืมหลับลืมนอน นอนไม่หลับ เห็นตัวเป็นธรรมจักร ฆ่ากิเลสไปเลย

เหมือนควายมีอะไรมาก็ชนก็ขวิด แต่เรานี่ไม่มีชนไม่มีขวิด เวลาจะเห็นโทษของกิเลส ธรรมก็พอกัน กิเลสจึงอยู่ไม่ได้ หมุนติ้วๆ



................................................................

คัดลอกจาก
http://www.dharma-gateway.com/
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง