Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลวงพ่อเปรื่อง ฐานังกโร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 เม.ย.2007, 9:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อเปรื่อง ฐานังกโร


วัดสันติวัฒนา
ต.สักหลง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์



๏ อัตโนประวัติ

“หลวงพ่อเปรื่อง ฐานังกโร” หรือ “พระวินัยวงศาจารย์” เป็นพระเถระนักปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน ที่ชาวเมืองเพชรบูรณ์และพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปต่างเลื่อมใสศรัทธา ในฐานะผู้บำเพ็ญศาสนกิจเพื่อความจำเริญรุ่งเรืองแห่งพระพุทธศาสนา ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาตินานัปการ ถึงพร้อมด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม ดำเนินตามรอยธรรมพระบูรพาจารย์สายกัมมัฏฐาน

หลวงพ่อเปรื่อง มีนามเดิมว่า เปรื่อง รูปน้อย เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2474 ตรงกับวันพุธ แรม 9 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม ณ บ้านเลขที่ 33 หมู่ 2 ต.สักหลง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายเรือง และนางน้อย รูปน้อย ปัจจุบัน สิริอายุ 80 พรรษา 58 (เมื่อปี พ.ศ.2554) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสันติวัฒนา ต.สักหลง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ และเจ้าคณะอำเภอหล่มสัก (ธรรมยุต) จ.เพชรบูรณ์


๏ การศึกษาเบื้องต้นและการอุปสมบท

ในช่วงวัยเยาว์ ได้รับการศึกษาที่โรงเรียนบ้านหนองบัว จ.เพชรบูรณ์ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนลาออกมาช่วยครอบครัวพ่อแม่ ทำไร่ ทำนา และทำสวน

ย่างเข้าวัยหนุ่มฉกรรจ์ มีจิตใจฝักใฝ่และศรัทธาหลักธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบกับที่ครอบครัวได้เข้าวัดฟังธรรมและรักษาศีลเป็นประจำ จึงได้ขออนุญาตบุพการีบวช ต่อมาท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดศรีบุญเรือง ต.หล่มสัก อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2495 โดยมี พระครูสุธรรมคณี วัดสามัคคีวัฒนา ต.หล่มสัก อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังจากอุปสมบทแล้ว ได้อยู่ทำวัตรปฏิบัติพระอุปัชฌาย์ และศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม จนกระทั่งสามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก จึงได้รับหน้าที่ให้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุ-สามเณร ภายในวัด และทำหน้าที่เป็นผู้สวดปาติโมกข์ ทุกปักขคณนาตลอดทั้งปี


๏ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสันติวัฒนา

พ.ศ.2510 เมื่อญาติโยม อุบาสก และอุบาสิกา ร่วมกันสร้างวัดขึ้นใหม่ คือ วัดสันติวัฒนา ที่บ้านสักหลง ชาวบ้านได้นิมนต์ให้ท่านมาอยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส


๏ ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์

พ.ศ.2514 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ (ธรรมยุต)

พ.ศ.2518 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และเจ้าคณะอำเภอหล่มเก่า-อำเภอน้ำหนาว (ธรรมยุต) จ.เพชรบูรณ์

พ.ศ.2541 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอหล่มสัก และอำเภอเขาค้อ (ธรรมยุต) จ.เพชรบูรณ์


๏ การปฏิบัติศาสนกิจ

เนื่องจากท่านเป็นพระที่มีความรอบรู้ในเรื่องนวกรรม จึงได้ร่วมชักชวนญาติโยมตำบลสักหลง ทำการก่อสร้างศาลาการเปรียญ อุโบสถ กุฏิกัมมัฏฐาน ปรับภูมิทัศน์ภายในวัดให้มีความร่มรื่น ด้วยการปลูกต้นไม้ และนำพันธุ์ไม้หายากมาปลูก ทำให้ภายในวัดมีความร่มรื่นเย็นสบาย จนได้รับเกียรติคุณจากกรมการศาสนา ให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างติดต่อกันหลายปี

เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาบวช ได้ศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรม หลวงพ่อเปรื่องได้กำหนดให้พระภิกษุ-สามเณรต้องลงอุโบสถ ทำวัตรเช้า วัตรเย็น ทุกวัน และฟังพระสวดปาติโมกข์ ตลอดทั้งปี

นอกจากนี้ ยังอบรมให้พระภิกษุ-สามเณร ยึดมั่นปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติตามกฎหมายคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม ฝึกปฏิบัติตามหลักธุดงควัตร ยึดหลักสันโดษ มักน้อยในปัจจัย 4 ไม่ยึดติดในอติเรกลาภ จึงทำให้พระภิกษุ-สามเณร ที่จำพรรษา ณ วัดแห่งนี้ ไม่เคยมีอธิกรณ์ใดๆ ให้เกิดความเสื่อมเสีย


๏ งานด้านการศึกษาสงฆ์

หลวงพ่อเปรื่องได้ส่งเสริมให้พระภิกษุ-สามเณรภายในวัด ได้รับการศึกษาด้านพระปริยัติธรรม แต่ละปีจึงมีพระภิกษุ-สามเณรสอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี โท และเอก ปีละหลายรูป

รวมทั้ง ยังจัดส่งพระภิกษุ-สามเณรในวัด ไปศึกษาด้านกัมมัฏฐาน ณ สำนักวัดป่าต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงหลักธรรมของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง


๏ ลำดับสมณศักดิ์

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2549 หลวงพ่อเปรื่อง ได้รับพระราชทานสถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระวินัยวงศาจารย์”


๏ เป็นพระสายปฏิบัติที่เคร่งครัด

หลวงพ่อเปรื่อง เป็นพระสายปฏิบัติที่เคร่งครัด ได้ให้การศึกษาอบรมญาติโยม และประชาชนทั่วไป ด้วยการเน้นเรื่องของการปฏิบัติตน การฝึกทำสมาธิ เพื่อสร้างฐานทางสติให้มีความมั่นคง ไม่วอกแวก และมีสติ

ภายในวัดจึงมีกุฏิกัมมัฏฐาน ไว้เพื่อให้ญาติโยมที่ชอบความสงบเข้ามาปฏิบัติธรรม ทำสมาธิ และปฏิบัติกัมมัฏฐาน ได้ทุกวัน สุดแต่ใครจะมีเวลา แต่ละวันจึงมีญาติโยมที่เลื่อมใส เดินทางมาเคารพกราบไหว้ พร้อมกับทำนุบำรุงศาสนสถานและถาวรวัตถุอย่างพร้อมสรรพ

อย่างไรก็ตาม ด้วยวัยกว่า 80 ปี สังขารของหลวงพ่อจึงร่วงโรยไปตามกาลเวลา เวลาใดปลอดญาติโยม ท่านจะเข้าอุโบสถวิปัสสนากรรมฐาน แต่หากมีญาติโยมมาหา ท่านยินดีที่จะใช้เมตตาบารมีชี้ทางพ้นทุกข์ให้


๏ พระธรรมเทศนา

หลวงพ่อจะเน้นในเรื่องของความเป็นผู้สันโดษ มักน้อย ใช้ชีวิตอย่างพอดี พอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ธรรมที่แสดงจึงเรียบง่าย ทุกคนได้ฟังแล้วมีความเข้าใจ นับเป็นพระที่มีกุศโลบายในการสั่งสอนรูปหนึ่ง โดยนำอบายมุข 6 มาผูกเป็นกลอนสอนคนให้เข้าใจ คือ

“อุปกิเลสที่เป็นหนทางให้เกิดความฉิบหายแก่คนทั้งหลาย ซึ่งเรียกว่า ผี 6 ตัว ซึ่งได้แก่ ผีตัวที่หนึ่ง ชอบดื่มสุราเป็นอาจิณ ไม่ชอบกินข้าวปลา เป็นอาหาร ผีตัวที่สอง ชอบเที่ยวยามวิกาล ไม่รักบ้านรักลูกรักเมียตน ผีตัวที่สาม ชอบเที่ยวดูการละเล่น ไม่เว้นบาร์คลับละครโขน ผีตัวที่สี่คบคนชั่วมั่วกับโจร หนีไม่พ้นอาญาตราแผ่นดิน ผีตัวที่ห้า ชอบเล่นม้า กีฬาบัตร สารพัดถั่วโปไฮโลสิ้น ผีตัวที่หก เกียจคร้านการทำกิน มีทั้งสิ้นหกผีอัปรีย์เอย”

หลวงพ่อเปรื่อง เป็นพระกัมมัฏฐานที่มีวัตรปฏิบัติดีงาม ครองตนอยู่ในผ้ากาสาวพัสตร์อย่างสมถะ ไม่สะสมทรัพย์สินใดๆ มักน้อย ถือสันโดษ มานานหลายสิบปีแล้ว ที่สำคัญท่านเป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูง กระทั่งเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนอย่างกว้างขวาง

แม้ล่วงอายุเข้าสู่วัยไม้ใกล้ฝั่ง แต่สุขภาพพลานามัยของหลวงพ่อเปรื่อง ยังแข็งแรงสมบูรณ์ดี ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติศาสนกิจใดๆ ทั้งสิ้น เป็นเนื้อนาบุญที่พุทธศาสนิกชนสามารถกราบไหว้ได้สนิทใจโดยแท้

Image
พระวินัยวงศาจารย์ (หลวงพ่อเปรื่อง ฐานังกโร)



.............................................................

♥ คัดลอกเนื้อหามาจาก ::
หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 1 คอลัมน์ มงคลข่าวสด
วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 5981
♥ ขอกราบขอบพระคุณที่มาของรูปภาพทุกแหล่ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 06 พ.ย.2009, 5:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กระทู้ในบอร์ดใหม่

ประวัติและปฏิปทาหลวงพ่อเปรื่อง ฐานังกโร

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=26750
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง