Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2006, 11:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ


ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน 60 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติ ประชาชนชาวไทยทุกคนล้วนประจักษ์และ ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงอุทิศพระวรกายและพระสติปัญญา บำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าให้ดีขึ้นในทุกด้าน โดยเฉพาะประชาชนผู้ยากไร้ด้อยโอกาสในชนบทห่างไกล

๏ ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์นั้น ได้ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” คำว่า “ครองแผ่นดินโดยธรรม” เป็นหลักการเงื่อนไขในการครองแผ่นดินของพระองค์ ทรงใช้คำง่ายๆ คือ ธรรมะ หรือ ธรรมาภิบาล ได้พระราชทานคำแปลอย่างง่ายที่สุดก็คือ ความดีและความถูกต้อง เพราะฉะนั้นในการครองแผ่นดินของพระองค์ทรงดำรงอยู่ในความดีความถูกต้องตลอดเวลา


๏ เพื่อประโยชน์สุขของมหาชน

และนอกเหนือไปจากนั้น ได้ทรงกำหนดเป้าหมายในการครองแผ่นดินของพระองค์ด้วย คือเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม คำว่า “ประโยชน์สุข” นี้ เป็นคำที่ยิ่งใหญ่ และเป็นคำที่ลึกซึ้งยิ่ง ณ วันนี้ประเทศไทยควรเหลียวกลับมายึดคำว่า “ประโยชน์สุข” เป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ ซึ่งพระองค์ท่านได้ทรงยึดคำนี้มาโดยตลอด คือเมื่อร่ำรวยแล้วต้องมีความสุขด้วย นั่นคือคำว่าประโยชน์สุขที่จะเกิดขึ้น


๏ ทรงขอให้บ้านเมืองและประชาชนมีพอกิน

นอกจากนั้น คำที่เรียบง่ายที่รับสั่งมาตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราชย์ คือ “ขอให้บ้านเมืองของเรา ประชาชนชาวไทยนั้นพอกินกันเถิด” พอมีพอกินกันเถิด คำว่า “พอมีพอกิน” นั้นเป็นคำที่ยิ่งใหญ่ ถ้าประเทศใดไม่มีพอมีพอกินแล้ว คิดว่าประเทศนั้นย่อมไม่สามารถอยู่รอดได้ มิไยจะมีความเจริญเติบโตอย่างไรทางด้านวัตถุ แต่ถ้าหากไม่มีพอมีพอกินแล้ว ความสงบสุข ความผาสุก คงจะไม่เกิดขึ้นบนแผ่นดินนั้นอย่างแน่นอนที่สุด

เพราะฉะนั้นตลอดระยะเวลา 60 ปี ที่ทรงครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพยายามสร้าง “ความมีกินกับความพอกิน” ให้เกิดขึ้นบนแผ่นดินไทย เราคนไทยเคยเอ่ยอย่างภาคภูมิใจว่าเราเป็น 1 ใน 7 ประเทศ ในโลกนี้เท่านั้น ที่มีอาหารเหลือกินนำออกไปขายเลี้ยงดูชาวโลก โดยเฉพาะข้าว จนถึงทุกวันนี้ต่อให้ใช้เทคโนโลยีสูงส่งเพื่อจะผลิตอะไรอย่างไร ผลสุดท้ายความสำคัญก็กลับมาที่ข้าว ยามใดที่ประเทศชาติเกิดวิกฤติขึ้นมา ก็ได้ข้าวนี่แหละที่ช่วยเหลือให้เรารอดพ้นขึ้นมา เพราะฉะนั้นอย่ามองข้ามสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไป ส่วนความเจริญทางด้านวัตถุ หรือเทคโนโลยีที่สูงส่งต่างๆนั้น พอเกิดภาวะวิกฤติจริงๆ ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรเราได้ แต่คำว่าพอมีพอกินต่างหากที่ทำให้ประเทศ ชาติของเราเงยหน้าอ้าปากและเราก็มีความสุขขึ้นมาได้


๏ ไม่มีอะไรจะให้นอกจากความสุข

ผมได้เข้าไปถวายงานพระองค์ท่านตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ผมจำได้ว่าวันแรกที่เข้าเฝ้าฯนั้น พระองค์ท่านรับสั่งได้จับใจมากและผมได้ยึดเป็นวิถีชีวิตของผมมาจนกระทั่งบัดนี้ ประโยคแรกนั้นเป็นเงื่อนไขในการเข้าไปถวายงานพระองค์ พระองค์ท่านรับสั่งว่า “ดีแล้วขอบใจที่มาช่วยงานฉัน แต่เข้ามาทำงานกับฉันนั้น ฉันไม่มีอะไรจะให้นะ นอกจากความสุขที่จะมีร่วมกันในการทำประโยชน์ ให้กับผู้อื่น” ประโยคแรกที่ผมได้รับ จนกระทั่งมาถึงเวลานี้ นับเป็นระยะเวลายี่สิบกว่าปีแล้ว จนบัดนี้ยังฝังแน่นอยู่ในหัวใจ ฝังแน่นอยู่ในสมอง “ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากความสุขที่จะมีร่วมกันในการทำความสุขให้กับผู้อื่น” นี่คือสิ่งที่พระราชทานให้


๏ เสด็จถิ่นทุรกันดาร

สมัยก่อนประชาชนยังยากจนอยู่ ในช่วงแรกๆ ของ พ.ศ. 2524 ที่ผมได้มีโอกาสได้เข้าไปถวายงาน ช่วงแรกๆ นั้น ทั้งปีแทบไม่ได้อยู่บ้านเลย เพราะเสด็จแปรพระราชฐานแห่งละ 2 เดือน เดือนละ 4 ภาค ก็ 8 เดือน ที่เหลือ 2 เดือนเท่านั้นเองที่อยู่กรุงเทพฯ ได้ตามเสด็จฯ ทุกวัน เหนื่อยยากมาก เมื่อเวลาที่จะทรงให้ออกไป ณ ที่ใด จะรับสั่งอย่างเรียบง่ายว่า “เดี๋ยวบ่ายวันนี้ไปเที่ยวกัน” การไปเที่ยวของพระองค์คือการออกไปเดินบุกป่าฝ่าดง ลุยน้ำลุยท่าตากแดดตากฝน ขึ้นเขาลูกแล้วลูกเล่า สิ่งนี้คือไปเที่ยว ซึ่งความสุขของพระองค์อยู่ตรงนั้น ทรงสนุกสนาน และก็จะได้เห็นพระองค์ท่านประทับอยู่ท่ามกลางพสกนิกร และผมรู้สึกจริงๆ ว่าทรงมีความสุข

ถึงแม้ว่าทรงจะเหน็ดเหนื่อยพระวรกาย พระเสโทไหลอาบพระวรกาย อาบพระพักตร์หมดก็ตาม พระองค์จะเสด็จออกจากพื้นที่กลับมาตี 1 ตี 2 ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะฉะนั้นจากพระราชภารกิจของพระองค์ ผมจึงคิดว่าเราอยู่ได้ทุกวันนี้เพราะพระมหากษัตริย์ คิดว่าคำพูดนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกินเลยแม้แต่น้อย ผมคิดว่าเหล่าพสกนิกรของพระองค์ล้วนประจักษ์ในความจริงข้อนี้ เพราะฉะนั้นพระองค์จึงทรงอยู่ใกล้ชิดประชาชน ทรงประทับอยู่ในดวงใจของประชาชนทุกผู้คน พระองค์รับสั่งว่า เราจะอยู่สุขสบายได้อย่างไร หากคนที่อยู่รอบข้างเรานั้นยังเดือดร้อนอยู่ ต้องแบ่งเบาความทุกข์ยากของเขาบ้างตามกำลังและความสามารถเท่าที่จะทำได้

เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าตลอดเวลา 60 ปีนั้น ภาพของพระองค์ท่านทรงอยู่ใกล้ชิดประชาชน ทรงโน้มพระวรกายลงไปหาประชาชนที่มาเฝ้าแหนเฝ้าฯ กันเป็นชั่วโมงๆ ภาพของพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงคุกเข่าต่อหน้าประชาชน ภาพที่ประทับนั่งพับเพียบอยู่กลางดินกลางทราย กลางถนนลูกรัง หรือทรงสนทนากับประชาชนนั้น เป็นภาพที่เราคนไทยเห็นกันมาตลอดระยะเวลา 60 ปี ซึ่งเป็นภาพที่หายากที่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใด จะมาประทับนั่งพับเพียบอยู่กับประชาชนกลางดินกลางทรายเช่นนั้น


มีต่อ >>>>>
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2006, 11:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

๏ การพัฒนาต้องอยู่บนหลักของภูมิสังคม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า “...การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศ ทางภูมิศาสตร์และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ในสังคมวิทยา ภูมิประเทศตามสังคมวิทยาคือ นิสัยใจคอของคนเราจะไปบังคับให้คนคิดอย่างอื่นไม่ได้ เราต้องแนะนำ เราเข้าไปช่วยโดยที่จะคิดให้เขาเข้ากับเราไม่ได้ แต่ถ้าเราเข้าไปแล้ว เราเข้าไปดูว่าเขาต้องการอะไรจริงๆ แล้วก็อธิบายให้เขาเข้าใจหลักการ ของการพัฒนานี้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง...”

การพัฒนาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดถือสภาพความเป็นจริงของ “ภูมิประเทศ” ทั้งในด้านพื้นที่ดิน ด้านสังคมวิทยาที่เกี่ยวกับนิสัยใจคอ อัธยาศัยของคนในพื้นที่พัฒนาเป็นหลัก โดยทรงเน้นว่าจะพัฒนาอะไรหรือจะทำการอะไรนั้น ขอให้ยึดหลักประการสำคัญคือ ให้สอดคล้องกับภูมิสังคม

ภูมิ หมายถึง ลักษณะของภูมิประเทศ ซึ่งก็คือสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเรานั่นเอง หรือจะพูดแบบชาวบ้านก็คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ นั่นเอง เพราะสภาพภูมิประเทศของเรานั้น แม้จะอยู่ประเทศเดียวกันแต่ลักษณะธรรมชาติจะไม่เหมือนกัน ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคอีสาน ก็ยังมีภูมิที่ไม่เหมือนกัน เช่น ภาคเหนือเป็นภูเขา ภาคใต้เป็นพรุ ภาคกลางเป็นที่ราบลุ่ม ส่วนภาคอีสานเป็นที่ราบสูงแห้งแล้ง เป็นต้น

สังคม หมายถึง มนุษย์ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นๆ แม้จะเป็นคนไทยด้วยกันอยู่ในประเทศเดียวกันแล้วก็อาจจะคิดไม่เหมือนกันหมด หรือว่าตัดสินใจในกรณีที่เกิดขึ้นต่อสิ่งที่อยู่ข้างหน้านั้นในลักษณะที่ไม่เหมือนกันทั้งหมด เช่น คนอยู่ทางเหนือ อยู่ทางใต้ เหตุการณ์ๆ หนึ่งที่เผชิญอยู่นั้นก็อาจจะตัดสินใจไม่เหมือนกันก็ได้ เพราะเขาตัดสินใจไปตามวัฒนธรรม ค่านิยมทางสังคม สิ่งแวดล้อมประเพณี การอบรม บ่มฝังมา เขาก็ต้องตัดสินใจไปตามนั้น และหากไปเปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้ว ความแตกต่างก็ยิ่งมากขึ้นเป็นทวีคูณ


๏ อย่าไปเปลี่ยนแปลงเขา

ผมจำได้ว่าเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปที่จอมทองครั้งหนึ่งมีหมู่บ้านกะเหรี่ยงอยู่ตรงนั้น พวกเขาแบ่งกลุ่มไว้อย่างดี กลุ่มหนึ่งทำนา กลุ่มหนึ่งเลี้ยงสัตว์ กลุ่มหนึ่งทำพืชไร่พืชสวนและอื่นๆ และเขาจะเอื้อกัน พอกลุ่มหนึ่งล้มเหลวอีก 2 กลุ่มก็จะเข้ามาพยุง พระองค์ท่านทรงหันมารับสั่งว่า “นี่อย่าไปเปลี่ยนแปลงเขานะ” อันนี้เป็นระบบประเพณีภูมิปัญญาของชาวบ้านเขาและเป็นหลักการปฏิบัติของชาวบ้านที่ดีแล้ว อย่าไปเปลี่ยนแปลงเขา


๏ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

ในกรณีของภาคใต้ก็รับสั่งว่า เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเข้าใจเสียก่อนว่าต้องเข้าใจภูมิประเทศ เข้าใจคน เข้าใจหลักปฏิบัติ เข้าใจประเพณี เข้าใจจารีตต่างๆ และพร้อมกันนั้น นอกจากเราเข้าใจเขาแล้ว จะทำอย่างไรให้ เขาเข้าใจเราด้วย การเข้าใจนี้เป็น 2 ทางความสำเร็จคือต่างฝ่ายต่างเข้าใจซึ่งกันและกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าหากันและผลสุดท้ายการ พัฒนาก็เป็นผลที่สอดคล้องต้องกันตกลงร่วมกันเห็นพ้องต้องกัน สิ่งนั้นแหละ คือ สุดยอดของการพัฒนาตามแนวทางของพระองค์ท่าน


๏ ทรงให้ รู้ รัก สามัคคี

ทรงสอนคนไทยให้ รู้ รัก สามัคคี รู้ หมายถึงรู้ถึงปัญหา รู้ถึงวิธีการแก้ปัญหา เมื่อรู้แล้วต้องมีความรัก เป็นพลังผลักดันให้ปฏิบัติ และอย่าคิดคนเดียว ทำคนเดียว ต้องใช้ความสมัครสมาน สามัคคีปฏิบัติร่วมกัน


๏ พระราชทานหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ทรงให้ยึดหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน คือคำว่า “พอ” คือพอประมาณเดินเส้นทางสายกลางตลอด ทำอะไรด้วยเหตุด้วยผล ตั้งอยู่ในความพอดีและมีภูมิคุ้มกันตลอดเวลา และทุกอย่างต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรม


๏ นานาประเทศล้วนซาบซึ้งในพระเกียรติคุณ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า พระองค์ทรงทำราชการ เพราะฉะนั้น ตลอดระยะเวลา 60 ปีนั้นทรงทำตลอด ทรงทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยมาก ทรงช่วยเหลือประเทศและประชาชนทุกแง่ทุกมุม ไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นในแผ่นดินไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแก้ไขมาตลอดยาวนานตลอด 60 ปี ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ปัญหาต่างๆ ก็ได้ทุเลาเบาบางลงเป็นอันมาก

พระราชกรณียกิจขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการพัฒนาประเทศ มิเพียงแต่พสกนิกรของพระองค์จะสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น เหล่านานาประเทศทั่วโลกก็ได้ซาบซึ้งใน พระเกียรติคุณดังกล่าวและได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญและรางวัลต่างๆ เพื่อร่วมเชิดชูพระเกียรติคุณด้วย และใน ปี พ.ศ.2549 นี้ องค์การสหประชาชาติได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวว่า เป็นครั้งแรก ที่องค์การสหประชาชาติได้จัดทำ รางวัลเกียรติยศนี้เพื่อมอบแก่บุคคลดีเด่นที่ได้อุทิศตลอดช่วงชีวิต สร้างผลงาน ที่มีคุณค่าต่อการพัฒนา ความก้าวหน้าของคนจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาจากชาวโลกว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนาพระบรมธรรมิกราชผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นสมเด็จพระบรมธรรมิกราชผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ต่ออาณาประชาราษฎร์และต่อประเทศไทย พระองค์ได้ทรงนำพาประเทศไทยให้สามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่าง มีความสุขและดำรงเกียรติภูมิของความเป็นประเทศไทยและคนไทยมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

เนื่องในวโรกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมพรรษา 79 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2549 ขอถวายพระพรด้วยความจงรักภักดี และด้วย ความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน พระพลานามัยสมบูรณ์ทรงสถิตอยู่เป็น มิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดไปชั่วกาลนาน


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล




......................................................................

คัดลอกมาจาก
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คอลัมน์ข่าวสังคม-สตรี
ปีที่ 57 ฉบับที่ 17850 วันอังคารที่ 5 ธันวาคม 2549
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2006, 12:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

และขอให้คนไทยเห็นแก่ประเทศชาติโดยรวม มากกว่าเห็นแก่ประโยขน์ส่วนตนและพวกพ้อง สาธุ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
gradkeaw
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2005
ตอบ: 3
ที่อยู่ (จังหวัด): หนองบัวลำภู

ตอบตอบเมื่อ: 07 ธ.ค.2006, 9:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ใช่แล้วค่ะ .. ถ้าคนไทยสมัครสมานปรองดองทำตามพระราชดำรส บ้านเมืองนี้จะพ้นวิกฤตในไม่ช้าได้ ขอภาวนาให้คนไทยทุกศาสนาปรองดองรักกลมเกลียวกัน สาธุ สาธุ
 

_________________
ยินดีเป็น กัลยาณมิตร ของทุกท่านนะคะ
การเปิดโอกาสที่จะได้สนทนาและสร้างเครือข่ายของ
กัลยาณมิตรนั้นเป็นเรื่องสมควรกับยุคสมัย
การสัญญาว่าจะเป็นกัลยาณมิตรที่ดีนั้น น่าเป็นอีกช่องทาง
ที่จะทำให้หัวใจชาวพุทธเข็มแข้งไม่เปราะบาง และมีธรรมะเป็นที่พึ่ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง