Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระอสีติมหาสาวก (ผศ.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 07 มี.ค.2008, 5:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๔๐ กลุ่มพระชาวแคว้นโกศล


พระองคุลิมาล หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว ขณะเสวยวิมุติสุขอยู่นั้นเกิดปีติโสมนัส ท่านจึงได้กล่าวแสดงความรู้สึกว่า

ผู้ใด เคยประมาทมาก่อนแล้วเลิกประมาทเสียได้ภายหลัง
ผู้นั้น ย่อมเป็นเหมือนพระจันทร์ที่โผล่พ้นเมฆหมอก
คือทำโลกนี้ให้สว่างไสวได้
ผู้ใด ทำบาปกรรมไว้แล้ว ละได้ด้วยกุศล (มรรคจิต)
ผู้นั้น ย่อมเป็นเหมือนพระจันทร์ที่โผล่พ้นเมฆหมอก
คือทำโลกนี้ให้สว่างไสวได้
ภิกษุใด แม้จะยังหนุ่ม แต่หมั่นปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
ภิกษุนั้น ย่อมเป็นเหมือนพระจันทร์ที่โผล่พ้นเมฆหมอก
คือทำโลกนี้ให้สว่างไสวได้

ต่อมาท่านออกบิณฑบาต แต่กลับถูกขว้างปาด้วยก้อนดินและท่อนไม้จนบาตรแตก ตัวท่านเองก็บาดเจ็บ จึงจำต้องกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วัดเชตวัน พระพุทธเจ้าทรงสอนท่านให้อดทนและทรงสอนว่าท่านกำลังได้รับผลกรรมที่ทำไว้ ท่านจึงแผ่เมตตาจิตไปในสรรพสัตว์แล้วกล่าวว่า

ขอศัตรูทั้งหลายของเรา จงฟังธรรมกถาของพระศาสดา
ขอศัตรูทั้งหลายของเรา จงหมั่นปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
ขอศัตรูทั้งหลายของเรา จงคบกัลยาณมิตรและยึดถือแต่ธรรม
ขอศัตรูทั้งหลายของเรา จงฟังธรรมของท่านผู้สอนให้มีความอดทนไม่โกรธ
ตามกาลอันสมควรเถิด
และขอให้ปฏิบัติตามธรรมนั้นด้วย
ขอย่าได้เบียดเบียนเราหรือใครๆ เลย
ขอให้ได้บรรลุถึงสันติภาพที่ยวดยิ่งคือนิพพาน
ขอให้ช่วยคุ้มครองสัตว์ทั้งหลายให้ปลอดภัย
คล้ายบิดามารดาคุ้มครองบุตร

ต่อมาท่านได้พูดถึงวิธีปฏิบัติธรรมของท่าน รวมทั้งสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้า ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณฝึกท่านให้ละความเห็นผิดได้ ความว่า

คนบางพวกฝึกสัตว์ด้วยท่อนไม้ ตาขอ และแส้
แต่พระพุทธเจ้าทรงฝึกเรา โดยมิได้ใช้ท่อนไม้และศัตราเลย
เมื่อก่อนเรามีชื่อว่า “อหิงสกะ” หมายถึงไม่เบียดเบียนใคร
เมื่อก่อนเราเป็นโจร ใครต่อใครเรียกเราว่า “องคุลิมาล”
เราถูกห้วงน้ำใหญ่คือกิเลสพัดไป จนได้มาพบพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
เมื่อก่อนเรามีมือเปื้อนเลือด ใครต่อใครเรียกเราว่า “องคุลิมาล”
มาบัดนี้ เชิญท่านดูเถิด การถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งมีผลมาก
เพราะทำให้เราถอนตัณหาตัวนำให้ไปเกิดได้หมดสิ้นแล้ว
เราทำกรรมที่นำไปให้เกิดในทุคติไว้มาก
มาบัดนี้ ได้รับผลกรรมนั้นแล้ว
เรากำลังบริโภคอาหารอย่างคนไม่มีหนี้

ต่อมาท่านต้องการจะให้กำลังใจพระทั้งหมดที่ยังเป็นปุถุชน ให้เกิดอุตสาหะในการปฏิบัติธรรม จึงกล่าวถึงการทำตัวไม่ประมาทพร้อมทั้งกล่าวถึงความรู้สึกของท่านหลังได้บรรลุอรหัตผลว่า

คนโง่มัวแต่ประมาท แต่คนฉลาดจะรักษาความไม่ประมาทไว้
ให้เป็นเหมือนทรัพย์อันมีค่า
ท่านทั้งหลายอย่าประมาทเลย อย่าสนิทสนมกับความยินดีในกามเลย
เพราะคนไม่ประมาท เพ่งพินิจอยู่ ย่อมจะบรรลุถึงบรมสุขได้
เรามาดีแล้วที่ได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า
เราคิดดีแล้วที่ได้คิดบวชเป็นสาวกของพระองค์
เพราะทำให้ได้บรรลุวิชชา ๓ ตามลำดับ
นับว่าได้ทำตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนแล้ว
เมื่อก่อน เราอยู่ที่ไหน ไม่ว่าจะเป็นป่า โคนไม้
ภูเขา หรือในถ้ำ ก็อยู่อย่างหวาดเสียว
มาบัดนี้เราอยู่อย่างเป็นสุข ทั้งยามยืน เดิน นั่ง นอน
เพราะพระพุทธเจ้าทรงช่วยเหลือเราให้พ้นแล้วจากมือมาร
เมื่อก่อนเราเป็นพราหมณ์อุภโตสุชาต (มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายบิดามารดา)
มาบัดนี้ ได้มาเป็นโอรสของพระพุทธเจ้าผู้เป็นธรรมราชา

พระเสละ หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว พาพระบริวาร ๓๐๐ รูปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า

ข้าแต่พระผู้เป็นดวงตาของโลก
นับแต่วันที่ข้าพระองค์ได้ถึงพระองค์เป็นที่พึ่งมา วันนี้เป็นวันที่ ๘ แล้ว
๗ วันที่ผ่านมานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายถูกฝึกฝนอย่างหนัก
จนประสบผลสำเร็จในศาสนาของพระองค์
ข้าแต่พระผู้เป็นดวงตาของโลก พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า
คือตื่นจากหลับด้วยอำนาจกิเลสเองแล้ว ยังปลุกผู้อื่นให้ตื่นตามด้วย
พระองค์เป็นพระศาสดา คือ สอนทั้งเทวดาและมนุษย์
พระองค์เป็นพระมุนีผู้มีอำนาจเหนือมาร
ทรงตัดกิเลสที่นอนเนื่องในพระทัยมานานแสนนานได้แล้ว
ทรงข้ามพ้นการเวียนว่ายตายเกิดได้ด้วยพระองค์เอง
แล้วยังช่วยส่งหมู่สัตว์ให้ข้ามพ้นตามด้วย
พระองค์เป็นเหมือนพญาราชสีห์ เพราะไม่ทรงกลัวภัยอันใด
ทรงทำลายอาสวะ ละความยึดมั่นได้หมด

หลังจากกราบทูลถึงการบรรลุอรหัตผลของท่านและบริวารแล้ว ท่านได้ทูลขอโอกาสถวายบังคมพระบาทของพระพุทธเจ้าว่า

ข้าแต่พระผู้ยอดกล้า ภิกษุ ๓๐๐ รูปนี้
ยืนประคองอัญชลีอยู่พร้อมหน้า
ขอพระองค์ทรงเหยียดพระบาทออกมาเถิด
ภิกษุทั้งหมดนี้จะถวายบังคมพระบาทของพระศาสดาของพวกเขา

ครั้นพระพุทธเจ้าทรงเหยียดพระบาทออกมาแล้ว ท่านพร้อมด้วยพระ ๓๐๐ รูป ก็พร้อมกันถวายบังคม


มีต่อ >>> ตอนที่ ๔๑
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 01 เม.ย.2008, 7:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๔๑ กลุ่มพระชาวแคว้นโกศล


พระวังคีสะ ตอนบวชใหม่ๆ เห็นผู้หญิงหลายคนแต่งตัวสวยงามมาที่วัดแล้วเกิดกำหนัด หลังจากข่มความกำหนัดได้แล้ว ท่านได้สอนตนเองว่า

ความคิดเลวทรามเช่นนี้พรั่งพรูครอบงำเรา
เหมือนลูกธนูที่คนแม่นธนูยิงใส่ศัตรูพรั่งพรูนับพันลูก จนหลบหลีกไม่ทัน
หญิงเอ๋ย แม้หล่อนจะมามากกว่านี้
ก็ทำอันตรายอันใดแก่เราไม่ได้หรอก
เพราะเรามั่นคงอยู่ในธรรมแล้ว

ท่านต้องต่อสู้กับกามราคะอย่างหนัก คราวหนึ่งได้สารภาพกับพระอานนท์ว่า

กามราคะแผดเผากระผมให้เร่าร้อน
กามราคะแผดเผาจิตของกระผมให้เร่าร้อน
ข้าแต่ท่านผู้เป็นพุทธสาวก
ขอได้โปรดบอกธรรมเครื่องดับความเร่าร้อนด้วยเถิด

ต่อมา หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว ท่านได้กล่าวรำพึงกับตนเองว่า

เมื่อก่อน เราตระเวนไปบ้านโน้นเมืองนี้ มีคนเคารพมาก
แต่เดี๋ยวนี้มาได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้สำเร็จสรรพธรรมแล้ว (จึงได้หยุดตระเวน)
พระองค์ทรงแสดงแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธา
เราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้วจึงรู้แจ้งเรื่องขันธ์ อายตนะและธาตุ
อย่างตรงตามเป็นจริง เป็นเหตุให้ต้องออกบวช
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นมาก็เพื่อช่วยเหลือ
ผู้ที่พร้อมทำตามคำสอนของพระองค์ไม่ว่าหญิงหรือชาย
การที่เราได้มาเฝ้าพระองค์จนถึงสำนัก
นับว่าเป็นการมาดี เพราะทำให้ได้บรรลุธรรมอันประเสริฐ

พระลกุณฑกภัททิยะ หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว ท่านยังพักอยู่ในวัดอัมพาฏการาม ซึ่งอยู่กลางป่า ว่ากันว่าวัดอัมพาฏการามนั้นน่ารื่นรมย์สวยงามด้วยแนวป่า มีเงาไม้ร่มรื่นสมบูรณ์ด้วยน้ำฉันน้ำใช้ ขณะพักอยู่ ณ ที่นั้น ท่านได้ยินเสียงดนตรีบรรเลงแว่วมาแต่ไกล จึงกล่าวว่า

เราผู้ชื่อว่า “ภัททิยะ” อยู่ในอัมพาฏการาม ที่สวยงามร่มรื่นกลางป่า
เราเพ่งพิจารณาอย่างระมัดระวังอยู่กลางป่านั้น
จนสามารถถอนตัณหาพร้อมทั้งรากเหง้าได้หมดสิ้น
ยามนี้ คนบางพวกเขาสนุกสนานอยู่กับเสียงตะโพน เสียงพิณและเสียงบัณเฑาะว์
แต่เรากลับสนุกสนานอยู่กับคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ที่โคนต้นไม้
หากพระพุทธเจ้าจะพึงประทานพรแก่เรา
เราขอเลือกรับพร คือ กายคตาสติ
เพราะกายคตาสติเหมาะนักสำหรับชาวโลก

ท่านเป็นคนร่างเตี้ยเล็ก แต่มีเสียงไพเราะ จึงมีคนเป็นจำนวนมากหลงใหลในเสียงของท่าน แต่ในขณะเดียวกันก็รู้สึกขบขันเมื่อเห็นตัวท่าน เพื่อเป็นการเตือนสติคนเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า

คนที่หมิ่นเราเรื่องรูปร่าง กับคนที่หลงใหลในเสียงของเรา
มีสภาพไม่ต่างกัน คือตกอยู่ในอำนาจฉันทราคะ
พวกเขาไม่รู้จักเราจริง

พระกุมารกัสสปะ หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว ท่านประสงค์จะสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย จึงกล่าวว่า

น่าอัศจรรย์จริง พระพุทธเจ้า
น่าอัศจรรย์จริง พระธรรม
น่าอัศจรรย์จริง พระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแหล่งที่พระสาวกได้อาศัยประพฤติพรหมจรรย์
จนทำให้รู้แจ้งซึ่งธรรม

พระนันทกะ หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว วันหนึ่งภริยาเก่าเห็นท่านเที่ยวบิณฑบาต นางมองดูท่านด้วยความเสน่หาแล้วหัวเราะ ท่านได้กล่าวแก่นางว่า

น่าเกลียดจริงหนอ ร่างกายที่เต็มด้วยของไม่สะอาด
มีกลิ่นเหม็น ชุ่มด้วยกิเลส ส่งเสริมมารให้กำเริบ
น่าเกลียดจริงหนอ ร่างกายนี้มีช่อง ๙ ช่อง
มีของไม่สะอาดไหลออกเนืองนิตย์
น้องหญิง เธออย่าคิดถึงเรื่องเก่าๆ
อย่าเล้าโลมอริยสาวกของพระพุทธเจ้า
ให้ยินดีด้วยอำนาจกิเลสเลย
เพราะอริยสาวกเหล่านั้นไม่ยินดีกามคุณแม้ในสวรรค์
จะป่วยการกล่าวไปใยถึงกามคุณของมนุษย์เล่า

พระสุภูติ หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว วันหนึ่งท่านนั่งขัดสมาธิอยู่บนหญ้าแห้งในกระท่อม ขณะนั้นมีฝนตกลงมาโปรยปราย ไม่เพียงพอจะใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกอย่างที่ชาวบ้านต้องการ ท่านต้องการจะช่วยบรรเทาภัยที่เกิดจากความแห้งแล้งให้ชาวบ้าน ท่านจึงกล่าวเป็นเชิงปรารภว่า

กระท่อมของเรามุงมิดชิดแล้ว
หน้าต่างก็ปิดสนิทแล้ว
ตกมาตามสบายเถิดฝนเอ๋ย
จิตของเรามั่นคง หลุดพ้นหมดแล้ว
เราบำเพ็ญเพียรอยู่
ฝนเอ๋ย ตกมาเถิด

พระกังขาเรวตะ ดังได้กล่าวแล้วว่าเป็นคนชอบสงสัย และพระพุทธเจ้าทรงช่วยเปลื้องความสงสัยของท่านได้ตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อได้บรรลุอรหัตผลแล้ว วันหนึ่งหลังจากฉันอาหารแล้วท่านมาหวนพิจารณาถึงพระปัญญาของพระพุทธเจ้าแล้ว มีความประสงค์จะสรรเสริญพระปัญญาคุณนั้น จึงกล่าวว่า

เชิญดูพระปัญญาของพระพุทธเจ้าเถิด
เป็นดุจดังไฟสว่างไสวในเวลาเที่ยงคืน
พระพุทธเจ้าทรงสามารถกำจัดความสงสัย
ของเวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้มาถึงสำนักพระองค์ได้
จึงชื่อว่าเป็นผู้ให้ดวงตาและแสงสว่าง

พระสาคตะ ไม่พบหลักฐานว่าท่านได้กล่าววาจาอันใดไว้เป็นอนุสรณ์


มีต่อ >>> ตอนที่ ๔๒
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2008, 7:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๔๒ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ คือ กลุ่มพระที่เป็นชาวแคว้นสักกะโดยกำเนิด นอกจากกลุ่มพระปัญจวัคคีย์และพระนาลกะแล้ว ก็ยังมีพระสาวกที่เป็นชาวแคว้นสักกะอื่นๆ อีก ๑๔ รูป คือ พระนันทะ พระราหุล พระภัททิยะ (กาฬิโคธาบุตร) พระอนุรุทธะ พระอานนท์ พระภคุ พระกิมพิละ พระอุบาลี พระเมฆิยะ พระนาคิตะ พระสีวลี พระปุณณมันตานีบุตร พระมหาอุทายี และพระกาฬุทายี แต่ละรูปมีประวัติที่น่าศึกษาดังนี้

สถานะเดิม

พระนันทะ เกิดในวรรณะกษัตริย์ ตระกูลศากยะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางมหาปชาบดีโคตมี (พระน้านาง) ว่าโดยศักดิ์แล้ว จึงเป็นพุทธอนุชาและมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดา คือ เจ้าหญิงรูปนันทา และเหตุที่มีชื่อว่านันทะ แปลว่า ผู้ทำให้พระญาติบันเทิงพระทัย เพราะในวันที่ท่านเกิดพระญาติต่างบันเทิงพระทัย

พระราหุล เกิดในวรรณะกษัตริย์ ตระกูลศากยะ เป็นพระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ (พระพุทธเจ้า) กับพระนางยโสธรา เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าสุทโธทนะ

พระภัททิยะ (กาฬิโคธาบุตร) เกิดในวรรณะกษัตริย์ ตระกูลศากยะ เป็นโอรสของพระนางกาฬิโคธา ผู้เป็นธิดาของเจ้าศากยะพระองค์หนึ่ง

พระอนุรุทธะ เกิดในวรรณะกษัตริย์ ตระกูลศากยะ เป็นโอรสของเจ้าชายสุกโกทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ มีพระเชษฐาร่วมสายโลหิต คือ เจ้าชายมหานามะ ซึ่งต่อมาได้ครองราชสมบัติต่อจากพระเจ้าสุทโธทนะ

พระอานนท์ เกิดในวรรณะกษัตริย์ ตระกูลศากยะ เป็นโอรสของเจ้าชายอมิโตทนะ พระอนุชาอีกพระองค์หนึ่งของพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางกีสาโคตมี

พระภคุ เกิดในวรรณะกษัตริย์

พระกิมพิละ เกิดในวรรณะกษัตริย์ ตระกูลศากยะ

พระอุบาลี เกิดในวรรณะหีนชาติ (วรรณะชั้นต่ำ) ในตระกูลช่างกัลบก เป็นช่างกัลบกประจำพระองค์เจ้าชายศากยะ

พระเมฆิยะ เกิดในวรรณะกษัตริย์

พระนาคิตะ เกิดในวรรณะกษัตริย์ ตระกูลศากยะ

พระสีวลี เกิดในวรรณะกษัตริย์ เป็นโอรสของพระนางสุปปวาสา เป็นชาวเมืองกุณฑโกลิยนคร ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งของกษัตริย์โกลิยวงศ์ อันเป็นพระญาติข้างฝ่ายพุทธมารดา

พระปุณณมันตานีบุตร เกิดในวรรณะพราหมณ์ เป็นบุตรของน้องสาวของพระอัญญาโกณฑัญญะ เกิดที่หมู่บ้านโทณวัตถุ ซึ่งเป็นหมู่บ้านพราหมณ์

พระมหาอุทายี เกิดในวรรณะพราหมณ์
รับราชการในตำแหน่งปุโรหิตของพระเจ้าสุทโธทนะ

พระกาฬุทายี เกิดในวรรณะกษัตริย์
รับราชการในตำแหน่งมหาอำมาตย์ของพระเจ้าสุทโธทนะ

ชีวิตฆราวาส

พระนันทะ โดยเหตุที่เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ จึงได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดีเช่นเดียวกับเจ้าชายสิทธัตถะผู้เป็นพระเชษฐา พระราชบิดาทรงหวังอย่างยิ่งที่จะให้สืบราชสมบัติ จึงทรงจัดให้อภิเษกสมรสกับนางชนบทกัลยาณี (หญิงงามประจำแคว้น) ขึ้นในคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปเยี่ยมเมืองกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรก

งานอภิเษกสมรสของท่านจัดพร้อมกับงานขึ้นปราสาทใหม่ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ ๓ นับจากวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงเมืองกบิลพัสดุ์ และพระราชบิดาได้ทูลอาราธนาพระองค์ให้เสด็จไปในงานนั้นด้วย พร้อมกับพระสาวกที่ตามเสด็จมาทั้งหมด เพื่อเสวยพระกระยาหาร

พระราหุล หากจะว่าตามภาษาสามัญแล้วท่านเป็นลูกกำพร้ามาตั้งแต่เกิด เนื่องจากพระบิดาได้เสด็จออกผนวชตั้งแต่วันที่ท่านเกิด ท่านจึงรู้จักและคุ้นเคยอยู่กับแต่พระมารดาเท่านั้น หาได้รู้จักพระบิดาไม่

วันที่ ๗ นับจากวันที่เสด็จถึงเมืองกบิลพัสดุ์ พระพุทธเจ้าได้พบกับท่าน กล่าวคือ พระนางยโสธราพระมารดาได้ส่งท่านเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าขณะเสวยพระกระยาหารอยู่ในพระราชวัง โดยก่อนส่งไปนั้น พระมารดาทรงชี้ให้ท่านดูพระบิดาแล้วตรัสบอกว่า “ลูกรัก ลูกเห็นพระสมณะรูปนั้นไหมซึ่งมีพระ ๒๐,๐๐๐ รูปแวดล้อม มีพระฉวีวรรณงดงามดังทอง มีพระรูปงามดังรูปพรหม พระสมณะรูปนั้นแหละคือพระบิดาของลูกที่จากไปตั้งแต่วันที่ลูกเกิด”

วันนั้นจึงเป็นวันแรกที่ท่านได้เห็นพระบิดา จากนั้นพระมารดาตรัสบอกให้ทูลขอทรัพย์สมบัติจากพระบิดา ท่านทำตามที่พระมารดาตรัสบอกเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และอาศัยความสัมพันธ์ทางสายเลือด ท่านรู้สึกอบอุ่นใจเป็นที่สุด แสดงท่าร่าเริงเบิกบานอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน “ข้าแต่พระบิดา ร่มเงาของพระองค์ดูช่างร่มรื่น” ท่านกราบทูลขณะเข้าไปถวายบังคม พระพุทธเจ้าทรงมองดูพระปิโยรสด้วยพระเนตรอ่อนโยน แต่มิได้ตรัสอะไร พอเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว หลังจากตรัสอนุโมทนาก็เสด็จกลับนิโครธาราม ฝ่ายพระปิโยรสก็ ตามเสด็จมาด้วยติดๆ พลางทูลฉอเลาะ

“ข้าแต่พระบิดา โปรดประทานสมบัติให้แก่ลูกเถิด” ท่านตามเสด็จพระพุทธเจ้าไปจนกระทั่งถึงนิโครธาราม และวันนั้นเป็นวันที่ชีวิตฆราวาสของท่านสิ้นสุดลง ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุประมาณ ๗ ขวบ


มีต่อ >>> ตอนที่ ๔๓
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ค.2008, 6:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๔๓ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


พระภัททิยะ (กาฬิโคธาบุตร) เป็นเจ้าชายเชื้อสายศากยะพระองค์หนึ่ง มีพระสหายสนิทคือ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายอานนท์ เจ้าชายภคุ และเจ้าชายกิมพิละ รวมทั้งเจ้าชายเทวทัตแห่งเมืองเทวทหะด้วย โดยเฉพาะกับเจ้าชายอนุรุทธะนั้นสนิทกันมาก

พระอนุรุทธะ เป็นเจ้าชายเชื้อสายศากยะพระองค์หนึ่ง มีพระสหายสนิท คือ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายอานนท์ เจ้าชายภคุ และเจ้าชายกิมพิละ รวมทั้งเจ้าชายเทวทัตแห่งเมืองเทวหะด้วย โดยเฉพาะกับเจ้าชายภัททิยะนั้นสนิทกันมาก โดยฐานะที่เป็นเจ้าชายท่านได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี ปรารถนาสิ่งใดจะได้สมปรารถนา ท่านไม่เคยไม่ได้อะไรที่ปรารถนา แม้กระทั่งคำว่า “ไม่มี” ก็ไม่เคยได้ยิน ชีวิตฆราวาสของท่านเต็มไปด้วยความอบอุ่น เนื่องจากพระมารดาทรงดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี คราวหนึ่งท่านเคยทูลถามพระมารดาว่า รักท่านหรือไม่ พระมารดาตรัสตอบว่า รักมากดังแก้วตาดวงใจ นอกจากนั้นท่านกับพระเชษฐาก็สนิทกันเป็นพิเศษถึงขึ้นสามารถปรับทุกข์กันได้

พระอานนท์ เป็นเจ้าชายเชื้อสายศากยะพระองค์หนึ่ง มีพระสหายสนิท คือ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายภคุ เจ้าชายกิมพิละ รวมทั้งเจ้าชายเทวทัตแห่งเมืองเทวหะด้วย แต่ท่านมีพิเศษกว่าเจ้าชายพระองค์อื่นๆ ตรงที่เกิดวันเดียวกับพระพุทธเจ้า ดังนั้น จึงจัดเป็นสหชาต (ผู้เกิดพร้อมกัน) ของพระพุทธเจ้า

พระภคุ เป็นเจ้าชายเชื้อสายศากยะพระองค์หนึ่ง มีพระสหายสนิท คือ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายอานนท์ เจ้าชายกิมพิละ รวมทั้งเจ้าชายเทวทัตแห่งเมืองเทวทหะด้วย แต่ดูเหมือนว่าท่านจะสนิทสนมเป็นพิเศษกับเจ้าชายกิมพิละ

พระกิมพิละ เป็นเจ้าชายเชื้อสายศากยะพระองค์หนึ่ง มีพระสหายสนิท คือ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายอานนท์ เจ้าชายภคุ รวมทั้งเจ้าชายเทวทัตแห่งเมืองเทวทหะด้วย แต่ดูเหมือนท่านจะสนิทสนมเป็นพิเศษกับเจ้าชายภคุ

พระอุบาลี เป็นช่างกัลบก ทำหน้าที่แต่งพระเกศาถวายเจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายภคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอานนท์ และมีความจงรักภักดีต่อเจ้าชายทุกพระองค์

พระเมฆิยะ พระนาคิยะ ทั้ง ๒ ท่านเป็นเจ้าชายเชื้อสายศากยะ สันนิษฐานว่าจะมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันและอาจเป็นเพื่อนที่สนิทกัน ท่านมีความเป็นอยู่สุขสบายตามฐานะของเจ้าชาย

พระสีวลี อยู่ในท้องของพระมารดานานถึง ๗ ปี ๗ เดือน และ ๗ วัน ดังนั้น ท่านจึงแปลกพิเศษ กว่าเด็กอื่นๆ กล่าวคือ เมื่อประสูติจากครรภ์พระมารดาแล้วสามารถทำงานได้เลย เพราะวันที่ประสูติท่านนั้น พระบิดาพระมารดาได้นิมนต์พระพุทธเจ้ามาเสวยพระกระยาหารในวังพร้อมด้วยพระสาวกรูปสำคัญ เช่น พระสารีบุตร ท่านมีโอกาสใช้ชีวิตฆราวาสเพียง ๗ วัน

พระปุณณมันตานีบุตร เป็นบุตรพราหมณ์ตระกูลสูง สันนิษฐานว่าจะได้รับการศึกษาสูงด้วย เนื่องจากท่านเป็นหลานของพระอัญญาโกณฑัญญะผู้เชี่ยวชาญในตำราดูลักษณะคน ซึ่งศึกษาจบพระเวท โดยเหตุที่เกิดในตระกูลสูงและมีฐานะดี ชีวิตฆราวาสของท่านจึงสุขสบายตามสมควรแก่ฐานะ

พระมหาอุทายี เป็นบุตรพราหมณ์ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ สันนิษฐานว่าท่านจะเกิดที่หมู่บ้านโทณวัตถุซึ่งเป็นหมู่บ้านเดียวกับพระอัญญาโกณฑัญญะและพระปุณณมันตานีบุตร เหตุที่สันนิษฐานเช่นนั้นก็เพราะหมู่บ้านโทณวัตถุเป็นหมู่บ้านที่พวกพราหมณ์ตระกูลต่างๆ ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ และตระกูลของพระมหาอุทายีน่าจะรวมอยู่ในตระกูลพราหมณ์เหล่านั้นด้วย

พระกาฬุทายี เป็นบุตรอำมาตย์ของพระเจ้าสุทโธทนะ ต่อมาท่านได้เข้ารับราชการและก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จนได้รับตำแหน่งมหาอำมาตย์ ท่านเป็นสหชาต (ผู้เกิดพร้อมกัน) ของพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกับพระอานนท์


มีต่อ >>> ตอนที่ ๔๔
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ค.2008, 7:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๔๔ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


การออกบวช

พระนันทะ ออกบวชในวันเดียวกับวันที่ท่านอภิเษกสมรส กล่าวคือหลังจากเสวยพระกระยาหารแล้ว พระพุทธเจ้าก็ตรัสอนุโมทนา จากนั้นทรงส่งบาตรให้ท่านถือทำนองจะบอกให้รู้ว่าพระองค์จะเสด็จกลับนิโครธาราม ขณะที่พระองค์เสด็จออกมาจากพระราชวังพร้อมด้วยพระสาวกนั้น เจ้าชายนันทะพระอนุชาก็ทรงถือบาตรตามเสด็จมาด้วย ระหว่างนั้นพระนางชนบทกัลยาณีคู่อภิเษกสมรสในชุดเจ้าสาวก็เสด็จมาร้องบอกให้เจ้าชายรีบเสด็จกลับพระตำหนัก

เจ้าชายนันทะทรงหวังอยู่เสมอว่าถึงที่ตรงนั้นๆ พระพุทธเจ้าก็คงจะทรงรับเอาบาตรคืนไป แต่แล้วก็ผิดหวัง เพราะพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงท่าทีจะรับเอาบาตรไปจากพระองค์เลย เจ้าชายตามเสด็จพระพุทธเจ้าไปจนถึงนิโครธาราม ณ ที่นั้นเอง พระพุทธเจ้าได้ตรัสถาม

“นันทะ เธอจักบวชหรือ”

เจ้าชายนันทะทรงคาดไม่ถึงว่าจะได้ยินพระพุทธดำรัสตรัสถามเช่นนี้ ไม่ทันได้ตั้งสติ ประกอบกับมีความเคารพในพระพุทธเจ้า จึงเกรงพระทัยและทูลตอบรับคำ

“จักบวช พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้าจึงทรงรับสั่งให้พระสาวกช่วยกันจัดการบวชให้เจ้าชายนันทะ ตามหลักฐานปรากฏว่าเจ้าชายบวชหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองกบิลพัสดุ์ได้ ๔ วัน โดยที่เพียงแต่ได้อภิเษกสมรสเท่านั้น แต่มิทันได้อยู่ร่วมหอกับคู่อภิเษกก็ออกบวชเสียก่อน

พระราหุล ออกบวชเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา โดยออกบวชหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงเมืองกบิลพัสดุ์ได้ ๗ วัน เหตุการณ์ที่นำท่านให้ได้บวชนั้นสรุปได้ว่าท่านเข้าไปทูลขอราชสมบัติจากพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบิดาตามคำชี้แนะของพระนางยโสธราพระมารดา พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าท่านขอทรัพย์สมบัติที่เป็นโลกิยะ ซึ่งจะทำให้ต้องประสบกับความคับแค้นไม่สิ้นสุด จึงทรงจะให้ท่านได้ทรัพย์สมบัติที่เป็นโลกุตตระ ซึ่งเที่ยงแท้ยั่งยืนและทำให้ประสบกับความสุข ดังนั้น จึงทรงมอบหมายให้พระสารีบุตรบวชให้ท่านด้วยวิธีบวชแบบติสรณคมนูปสัมปทา

พระภัททิยะ พระอนุรุทธะ พระอานนท์ พระภคุ พระกิมพิละ และพระอุบาลี ออกบวชในคราวเดียวกัน กล่าวคือ หลังจากเสด็จโปรดพระประยุรญาติแล้ว พระพุทธเจ้าทรงพาพระสาวกเสด็จไปประทับที่อนุปิยอัมพวัน ซึ่งเป็นนิคมของพวกมัลละ ครั้งนั้นเจ้าชายศากยะซึ่งนำโดยภัททิยะ ได้ชวนกันเดินทางไปเฝ้าเพื่อทูลขอบวชโดยมีช่างกัลบกประจำพระองค์ติดตามไปด้วย คือ อุบาลี

มูลเหตุที่ทำให้ท่านออกบวชนั้น สืบเนื่องมาจากคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระประยุรญาติ ได้มีพระประยุรญาติ ออกบวชตามเสด็จกันเป็นจำนวนมาก พระประยุรญาติผู้ใหญ่ครั้นเห็นเจ้าชายที่กล่าวพระนามมานี้ไม่ได้ออกบวชเหมือนเจ้าชายพระองค์อื่นๆ จึงสงสัยและตรัสถามถึงสาเหตุซึ่งเจ้าชายเหล่านั้นไม่สามารถให้คำตอบได้ จึงรู้สึกละอายพระทัยและปรึกษากัน

เดิมทีเดียวในกลุ่มพระสหายที่จะออกบวชด้วยกันนั้นไม่มีเจ้าชายอนุรุทธะ แต่มีเจ้าชายมหานามะรวมอยู่ด้วย เจ้าชายมหานามะเป็นพระเชษฐาของเจ้าชายอนุรุทธะ เมื่อทรงปรึกษากับเจ้าชายที่เอ่ยพระนามมาแล้วนั้น เจ้าชายมหานามะจึงทรงปรึกษากับเจ้าชายอนุรุทธะเป็นการส่วนพระองค์ว่าใครจะออกบวช

เจ้าชายอนุรุทธะไม่สามารถตัดสินพระทัยได้ ด้วยไม่ทราบว่าการออกบวชคืออะไร เจ้าชายมหานามะจึงตรัสอธิบายให้ทราบว่า การออกบวช คือ การสละบ้านเรือน สละยศ ตำแหน่งและโลกิยสุขทั้งมวล ผู้ออกบวชจะต้องอยู่คนเดียว กินอาหารมื้อเดียวและนอนคนเดียว ต้องโกนผมและหนวดให้เกลี้ยง นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด เลี้ยงชีวิตด้วย อาหารที่ตามแต่จะได้ คำอธิบายของเจ้าชาย มหานามะชัดเจนจนทำให้เจ้าชายอนุรุทธะตัดสินพระทัยได้ทันที

“เสด็จพี่ หม่อมฉันเป็นคนอ่อนแอ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็บวชไม่ได้หรอก”

เจ้าชายมหานามะ จึงรับสั่งต่อไป

“ถ้าอย่างนั้นก็ต้องเรียนรู้การงานซึ่งคนอยู่ครองเรือนจำต้องทำ”

จากนั้นเจ้าชายมหานามะก็ตรัสอธิบายถึงวิธีทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลักที่กษัตริย์ศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ยึดประกอบมาแต่บรรพบุรุษ โดยทรงอธิบายว่าคนครองเรือน ต้องทำนาทุกปี เพื่อจะได้มีข้าวไว้บริโภค การทำนาต้องเริ่มต้นด้วยการไถ ไถแล้วจึงคราด คราดแล้วจึงหว่านหรือปลูกข้าวกล้า ครั้นข้าวสุกแล้วก็ต้องเก็บเกี่ยวและหอบเข้าลานเพื่อนวด

วิธีการทำนาทั้งหมดที่เจ้าชายมหานามะตรัสบอกมานี้ เจ้าชายอนุรุทธะไม่เคยได้ทราบมาก่อน เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาพระองค์ไม่เคยทอดพระเนตรเห็นคนตำข้าว ไม่เคยทอดพระเนตรเห็นคนหุงข้าว และไม่เคยทอดพระเนตรเห็นแม้แต่คนคดข้าว เคยเห็นก็แต่ข้าวที่คนคดใส่จานไว้แล้ว ฉะนั้น จึงรู้จักข้าวว่าเกิดในถาดทองคำเท่า นั้น หารู้จักว่าข้าวเกิดในนาไม่ เช่นเดียวกับเจ้าชายอีก ๒ พระองค์ คือ เจ้าชายกิมพิละ และเจ้าชายภัททิยะ ที่ไม่ทรงทราบว่าข้าวเกิดในนา เจ้าชายกิมพิละทรงทราบแต่ว่าข้าวเกิดในฉาง เพราะทรงเห็นคนขนข้าวเข้า ฉาง ส่วนเจ้าชายภัททิยะทรงทราบแต่ว่าข้าวเกิดในหม้อ เพราะทรงเคยเห็นคนหุงข้าว

เจ้าชายอนุรุทธะทรงพิจารณาตามที่พระเชษฐาตรัสบอก ทรงเห็นว่าถ้าอยู่ครองเรือนจะต้องทำมาหากินเพื่อเลี้ยงชีวิตไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งดูแล้วจำเจและซ้ำซาก จึงตัดสินพระทัยใหม่

“เสด็จพี่ ถ้าเป็นฆราวาสต้องทำงานหนักอย่างเสด็จพี่ว่ามา หม่อมฉันก็ขอลาบวชดีกว่า เนื่องจากหม่อมฉันเบื่อหน่ายกับความซ้ำซากจำเจ”

เจ้าชายมหานามะไม่ทรงขัดข้อง เจ้าชายอนุรุทธะจึงเข้าเฝ้าพระมารดาเพื่อทูลขอพระราชานุญาต พระมารดาไม่ทรงประสงค์ให้พระโอรสออกบวช จึงทรงบ่ายเบี่ยงให้เจ้าชายอนุรุทธะไปชวนเจ้าชายภัททิยะ ซึ่งหมายความว่าหากเจ้าชายภัททิยะยินดีออกบวช เจ้าชายอนุรุทธะก็ออกบวชได้ด้วย แต่แรกนั้นเจ้าชายภัททิยะไม่ประสงค์จะออกบวช ด้วยได้รับราชาภิเษกให้เป็นกษัตริย์ของเจ้าชายศากยะอีกกลุ่มหนึ่งแล้ว แต่เป็นด้วยบุญบารมีที่จะได้บรรลุมรรคผล จึงทำให้ทนการชักชวนของเจ้าชายอนุรุทธะไม่ได้ จึงตรัสตอบตกลง และหลังจากนั้นอีก ๗ วัน เจ้าชายที่กล่าวพระนามมาทั้งหมดก็ได้เสด็จออกบวช โดยมีเจ้าชายภัททิยะเป็นผู้นำ ณ อนุปิยอัมพวันดังกล่าวมาแล้ว พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ทุกพระองค์ด้วยวิธีบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา

ส่วนพระอุบาลี ในฐานะเป็นช่างกัลบกประจำพระองค์ของเจ้าชายทั้ง ๕ คราวที่เจ้าชายศากยะเหล่านั้นออกบวชก็ตามเสด็จออกบวชด้วย ตามหลักฐานระบุว่าแรกทีเดียวนั้น เจ้าชายศากยะทรงคิดไม่ถึงว่าท่านจะออกบวชด้วย ทุกพระองค์ครั้นเสด็จเลยเขตแดนแคว้นสักกะแล้วก็ทรงเปลื้องเครื่องประดับออกแล้วห่อมอบให้พร้อมทั้งรับสั่งว่า

“กลับได้แล้วอุบาลี เครื่องประดับที่มอบให้นี้พอเลี้ยงตัวไปได้ตลอดชีวิตเทียวนะ”

แต่แล้วเจ้าชายทุกพระองค์ก็ต้องตกตะลึง เพราะอุบาลีไม่ยอมรับของที่ทรงมอบให้ ตรงกันข้ามกลับทิ้งตัวลงเกลือกกลิ้งร้องไห้อยู่แทบพระบาท ส่วนเจ้าชายศากยะเหล่านั้นก็หาได้ยินยอมไม่ อุบาลีเมื่อเห็นว่าไม่สามารถขัดขืนคำสั่งได้ จึงลุกขึ้นถือห่อของกลับเมืองกบิลพัสดุ์อย่างไม่สู้เต็มใจนัก ขณะที่เดินกลับนั้นอุบาลีก็ครุ่นคิดถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าอยู่ตลอดเวลา เขาคิดว่าจะทูลอย่างไรเมื่อไปเผชิญหน้ากับเจ้าศากยะทั้งหลาย ในที่สุดก็สรุปได้ว่า

“พวกเจ้าศากยะถึงคราวดุร้ายก็ร้ายนักเหลือ เห็นเราถือเครื่องประดับของเจ้าชายศากยะกลับไป จะมีใครเชื่อว่าเจ้าชายศากยะได้ออกบวชหมดแล้ว ดีไม่ดีจะเข้าใจว่าเราฆ่าเจ้าชายศากยะทิ้งแล้วชิงเอาเครื่องประดับมา แล้วอาจจะฆ่าเราเสียก็ได้ เมื่อเจ้าชายศากยะเหล่านี้ยังทิ้งสมบัติทิ้งเครื่องประดับเหมือนบ้วนน้ำลายทิ้ง ออกบวชได้ แล้วไฉน เราจะทิ้งบ้างไม่ได้เล่า”

ครั้นคิดได้อย่างนี้ อุบาลีก็แก้ห่อเครื่องประดับออกแล้วเอาแขวนไว้ที่ต้นไม้ โดยตั้งใจให้เป็นทานแก่ผู้พบเห็น จากนั้นจึงรีบเดินย้อนกลับไปหาเจ้าชายศากยะเหล่านั้น แล้วบอกความประสงค์ของตนเองให้ทราบ ฝ่ายเจ้าชายศากยะเหล่านั้นเมื่อทรงเห็นว่าไม่สามารถทัดทานได้ จึงให้อุบาลีตามเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วย เจ้าชายศากยะเหล่านั้นพร้อมใจกันกราบทูลพระพุทธเจ้าให้บวชให้อุบาลีก่อน โดยให้เหตุผลว่า

“พวกข้าพระองค์เป็นเจ้าชายเชื้อสายศากยะถือตัวจัด อุบาลีนี้ก็รับใช้พวกข้าพระองค์มานาน ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดบวชให้เขาก่อนเถิด พวกข้าพระองค์จักได้ไหว้เขาได้ ด้วยวิธีการอย่างนี้จะช่วยให้พวกข้าพระองค์ลดความถือตัวลง พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้าทรงทำตามที่เจ้าชายศากยะเหล่านั้นทูลขอ พระองค์ทรงบวชให้อุบาลีก่อนด้วยวิธีบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา จากนั้นจึงทรงบวชให้เจ้าชายศากยะทีหลัง


มีต่อ >>> ตอนที่ ๔๕
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2008, 8:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๔๕ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


พระเมฆิยะ พระนาคิตะ สันนิษฐานว่า จะออกบวชเมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จเมืองกบิลพัสดุ์ครั้งแรก ทั้งนี้ เพราะทั้ง ๒ ท่านเป็นเจ้าชายเชื้อสายศากยะที่อยู่ในกลุ่มเจ้าชายที่พระบิดาพระมารดาเคยถวายตัวคราวที่พระพุทธเจ้าประสูติว่า จักให้เป็นบริวารตามเสด็จเมื่อพระองค์ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พันธสัญญาข้อนี้ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยพระเจ้าสุทโธทนะ ซึ่งพระองค์ทรงกล่าวเตือนว่า แม้ลูกชายของเราจะมิได้เป็นพระเจ้าจักพรรดิ แต่ก็ได้เป็นพระพุทธเจ้า จึงสมควรที่เจ้าชายทั้งหลายที่เคยถวายตัวไว้จะได้ออกบวชตามเสด็จเป็นพุทธบริวาร ปรากฏว่าจากพระราชปรารภของพระเจ้าสุทโธทนะในครั้งนั้น พระประยุรญาติต่างอนุญาตให้โอรสออกบวชตามเสด็จพระพุทธเจ้าเป็นจำนวนมาก เจ้าชายเมฆิยะและเจ้าชายนาคิตะก็น่าจะอยู่ในหมู่เจ้าชายที่ออกบวชตามเสด็จครั้งนั้นด้วย

มีหลักฐานปรากฏชัดอยู่ว่า ก่อนออกบวชนั้น เจ้าชายนาคิตะได้ทรงสดับ มธุปิณฑิกสูตร ที่พระพุทธเจ้าแสดงความว่า

ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด
ถ้าในเหตุนั้นไม่มีสิ่งที่จะพึงเพลิดเพลินชื่นชมสยบไชร้
อันนี้แหละเป็นที่สุดแห่งอนุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน)
คือ ราคะ ปฏิฆะ ทิฐิ วิจิกิจฉา ภวราคะ อวิชชา
เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศัตรา การทะเลาะ การถือผิด
การโต้เถียงกัน การด่าว่ากัน การส่อเสียดยุยง และการ กล่าวเท็จ
อกุศลกรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมดับไปไม่เหลือในเพราะเหตุนั้น

ส่วนเจ้าชายเมฆิยะไม่มีระบุไว้ว่า ท่านได้ฟังธรรมะอะไรหรือไม่

พระสีวลี ออกบวชในวันที่ ๗ หลังจากที่ประสูติจากครรภ์พระมารดา โดยพระบิดาและพระมารดาได้มอบถวายให้พระสารีบุตร

เรื่องมีอยู่ว่า นับแต่วันประสูติจากครรภ์พระมารดา พระบิดาและพระประยุรญาติได้นิมนต์พระพุทธเจ้าและพระสาวกมาฉันภัตตาหารที่พระตำหนัก เจ้าชายสีวลีโดยเหตุที่อยู่ในครรภ์พระมารดานานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน เมื่อประสูติออกมาจึงทรงทำงานได้เลย ดังนั้นจึงได้ช่วยเลี้ยงพระด้วย พระสารีบุตรจับตาดูเจ้าชายพระองค์น้อยมาแต่วันแรก ครั้นถึงวันที่ ๗ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่รับนิมนต์ไว้ จึงได้สนทนากับเจ้าชายเพื่อสร้างความคุ้นเคย

เมื่อเสร็จภัตกิจ พระพุทธเจ้าตรัสอนุโมทนา จากนั้นพระสารีบุตรได้สนทนากับเจ้าชายน้อย “เธอทุกข์ทรมานอยู่ในท้องแม่มานานขนาดนี้ ออกบวชไม่ดีกว่าหรือ”

เจ้าชายน้อยตรัสตอบว่า “ถ้าบวชได้ก็จะบวช”

ขณะนั้นเองพระนางสุปปวาสาทอดพระเนตรเห็นเจ้าชายน้อยสนทนาอยู่กับพระสารีบุตร จึงเสด็จเข้าไปใกล้ พระสารีบุตรได้ถวายพระพรให้ทราบว่ากำลังชวนเจ้าชายออกบวช และเจ้าชายน้อยก็สนพระทัย พระนางสุปปวาสาทรงดีพระทัยเป็นอย่างมาก จึงตรัสอนุญาตให้พระเถระช่วยจัดการบวชให้ตามที่เจ้าชายประสงค์

เมื่อพระนางสุปปวาสาและพระประยุรญาติ รวมทั้งพระบิดา อนุญาตแล้ว พระสารีบุตรก็นำเจ้าชายน้อยไปวัด แล้วจัดการบวชให้เป็นสามเณร และนับแต่วันที่ท่านบวช ลาภสักการะก็เกิดขึ้นเป็นอย่างมากแก่ภิกษุสงฆ์ที่รวมในวัดนั้น

พระปุณณมันตานีบุตร ออกบวชเมื่อคราวที่พระอัญญาโกณฑัญญะเดินทางกลับมาบ้านเกิด กล่าวคือหลังจากจำพรรษาแรก ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันแล้ว พระพุทธเจ้าทรงส่งพระสาวก ๖๐ รูปออกไปประกาศพระพุทธศาสนา หนึ่งในจำนวนนั้นมีพระอัญญาโกณฑัญญะรวมอยู่ด้วย ท่านได้เดินทางกลับไปบ้านเกิดและได้แสดงธรรมโปรดบรรดาญาติ ปุณณมันตานีบุตรสังเกตดูกิริยาอาการของหลวงลุงอยู่ตลอดเวลา รู้สึกเลื่อมใสจึงได้ขอบวช พระอัญญาโกณฑัญญะได้บวชให้ท่านตามประสงค์

พระมหาอุทายี ออกบวชเมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปเมืองกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรก เพื่อโปรดพระประยุรญาติ กล่าวคือ ท่านได้เห็นพระพุทธเจ้าทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ด้วยการทำให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมา และทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ เพื่อให้พระประยุรญาติเหล่านั้นคลายทิฐิมานะ แล้วก็เลื่อมใสในพุทธานุภาพ ดังนั้น เมื่อได้โอกาสที่เหมาะสมจึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วทูลขอบวช พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ท่านตามที่ทูลขอ

พระกาฬุทายี ออกบวชเมื่อคราวที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงแต่งตั้งให้ท่านเป็นทูต แล้วส่งไปนิมนต์พระพุทธเจ้าให้เสด็จมาเมืองกบิลพัสดุ์ กล่าวคือ ก่อนพาบริวาร ๑,๐๐๐ คนเดินทางมายังเมืองราชคฤห์ตามที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงส่งมานั้น ท่านได้ขอพระราชานุญาตเพื่อออกบวชไว้ด้วย ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะก็ทรงอนุญาต ทั้งนี้เป็นด้วยพระเจ้าสุทโธทนะทรงเพียรพยายามส่งทูตไปทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าให้ เสด็จมาเมืองกบิลพัสดุ์ถึง ๙ คณะแล้ว คณะทูตเหล่านั้นครั้นไปถึงได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมแล้วเกิดศรัทธาทูลขอบวช โดยที่มิได้ทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบถึงพระประสงค์ของพระเจ้าสุทโธทนะ คณะของพระกาฬุทายีเป็นคณะที่ ๑๐ ขณะที่ท่านพาบริวารเดินทางไปถึงวัดเวฬุวันนั้น พระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรมอยู่ หลังจากพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจบ ท่านได้พาบริวารเข้าเฝ้าแล้วทูลขอบวช ต่อมาได้กราบทูลให้ทรงทราบถึงพระประสงค์ของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระพุทธเจ้าก็ทรงรับนิมนต์เสด็จมาเมืองกบิลพัสดุ์


มีต่อ >>> ตอนที่ ๔๖
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ย. 2008, 12:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๔๖ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


การบรรลุอรหัตผล

พระนันทะ โดยเหตุที่ออกบวชด้วยความไม่เต็มใจ ใจของท่านยังกังวลอยู่กับคู่อภิเษกสมรส คำร้องวิงวอนให้รีบกลับของนางยังคงดังก้องหูอยู่ แม้ว่าบัดนี้จะจากมาอยู่ห่างไกลถึงวัดพระเชตวัน เมืองสาวัตถีแล้วก็ตาม ก็หาได้ลดความคิดถึงลงไปได้ไม่ ตรงกันข้ามกลับทวีความคิดถึงมากยิ่งขึ้น จนไม่มีแก่ใจที่จะบำเพ็ญสมณธรรม และวันหนึ่งท่านได้บอกแก่เพื่อนพระว่า “ผมจะสึก”

พระพุทธเจ้าทรงทราบความข้อนั้น จึงรับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้าแล้วตรัสถามถึงเหตุผล ท่านได้กราบทูลโดยไม่ปิดบังว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า วันที่พระองค์ทรงพาข้าพระองค์ออกจากพระตำหนักนั้น นางชนบทกัลยาณีคู่อภิเษกของข้าพระองค์เห็น ทั้งๆ ที่นางกำลังเกล้าผมได้เพียงครึ่งเดียว แต่ด้วยความห่วงใย จึงรีบวิ่งกลับมาร้องบอกข้าพระองค์ให้รีบกลับ ภาพของนางติดตาตรึงใจของข้าพระองค์มาตลอดเวลา จึงทำให้ข้าพระองค์ไม่สงบพอที่จะบำเพ็ญสมณธรรมได้ ด้วยเหตุนี้แหละพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์จึงอยากสึก”

พระพุทธเจ้าทรงเข้าใจความรู้สึกของท่านได้ดี พระองค์มิได้ตรัสอะไร แต่จับแขนท่านแล้วใช้พลังฤทธิ์นำท่านเหาะไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ระหว่างทางที่เสด็จไปนั้นพระองค์ทรงชี้ให้ท่านดูนางลิงตัวหนึ่ง ซึ่งมีหูแหว่งจมูกวิ่นและหางด้วน กำลังนั่งจับเจ่าอยู่บนตอไม้ที่ถูกไฟไหม้เกรียมอยู่ในนาแห่งหนึ่ง จากนั้นเมื่อเสด็จถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ทรงชี้ให้ท่านดูนางฟ้า ๕๐๐ นาง ผู้มีเท้าแดงดุจนกพิราบที่กำลัง มาเข้าเฝ้าท้าวสักกะ พระนันทะมองดูนางฟ้าเหล่านั้นด้วยความสนใจ พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูความคิดของท่านตลอดเวลา เมื่อทรงเห็นเป็นโอกาสอันเหมาะจึงตรัสถาม

“นันทะ ระหว่างนางชนบทกัลยาณีกับนางฟ้าทั้ง ๕๐๐ นาง ที่เธอเห็นเมื่อสักครูนี้ ใครสวยกว่ากัน”

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า” ท่านกราบทูล “ระหว่างนางชนบทกัลยาณีกับนางฟ้า ๕๐๐ นางเมื่อเทียบกันแล้ว นางชนบทกัลยาณีของข้าพระองค์ก็ไม่ต่างอะไรจากนางลิงบนตอไม้”

คำตอบนี้แสดงให้เห็นว่า บัดนี้พระนันทะคลายความคิดถึงนางชนบทกัลยาณีไปได้แล้ว โดยขณะนี้ความสนใจมาจับอยู่ที่นางฟ้า ๕๐๐ นางแทน พระพุทธเจ้าทรงทราบดีถึงความรู้สึกของท่าน จึงตรัสแบบให้ความหวังว่า

“นันทะ เชิญสำราญให้เต็มที่เถิด ตถาคตขอรับประกันว่า เธอจะได้นางฟ้าเหล่านั้นแน่ แต่ขอให้ตั้งใจปฏิบัติธรรมให้ได้ก่อน”

ข้อเสนอของพระพุทธเจ้าแม้จะมีเงื่อนไข แต่พระนันทะก็เต็มใจรับ ทั้งนี้เป็นด้วยความหวังว่าจะได้นางฟ้ามาเชยชม ดังนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าทรงพาท่านกลับลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่านจึงขะมักเขม้นบำเพ็ญสมณธรรม

พระในวัดเชตวัน ทราบถึงการบำเพ็ญสมณธรรมอย่างเอาจริงเอาจังของท่านว่ามีเงื่อนไขที่จะได้นางฟ้าเป็นข้อผูกพัน จึงพากันเรียกท่านเชิงสัพยอกว่า “คนรับจ้าง” บ้าง “คนมีค่าไถ่” บ้าง เมื่อถูกเรียกบ่อยๆ เข้า ท่านรู้สึกละอายใจ จึงหลีกออกจากหมู่คณะไปอยู่ตามลำพัง

ท่านคิดอยู่เสมอที่จะเปลื้องตนไปจากคำเรียกเป็นเชิงสัพยอกนั้น จึงเร่งบำเพ็ญเพียร และไม่ช้านักก็ได้บรรลุอรหัตผล และทันทีที่ได้บรรลุอรหัตผลนั้นท่านก็รู้แจ้งว่า ท่านได้เปลื้องตนให้พ้นไปจากวาทะว่า “คนรับจ้าง” และ “คนมีค่าไถ่” ได้แล้วโดยสิ้นเชิง

พระราหุล เป็นผู้ที่ใคร่ต่อการศึกษาอย่างมากนับตั้งแต่วันที่บวช ท่านจะลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ กอบทรายมาเต็มกำมือแล้วตั้งจิตปรารถนา ขอให้ได้รับคำแนะนำพร่ำสอนมากเท่าเมล็ดทรายจากพระพุทธเจ้าและจากพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ตามหลักฐานระบุว่า ก่อนบรรลุอรหัตผล ท่านยังเป็นเด็กชอบพูดเล่น พระพุทธองค์จึงทรงสอนท่านให้สำรวมในการพูด ความว่า

บุคคลผู้ไม่มีความละอายในการพูดเท็จทั้งที่รู้ตัวอยู่
ย่อมทำบาปกรรมได้ทุกอย่าง
ฉะนั้น ต้องสำเหนียกเสมอว่า
จักไม่กล่าวเท็จ แม้เพียงประสงค์จะให้หัวเราะเล่น

ครั้งที่ ๒ เมื่อท่านอายุได้ ๑๘ ปี พระพุทธเจ้าทรงมีพระประสงค์จะบ่มปัญญาพิจารณาไตรลักษณ์ของท่านให้แก่กล้า จึงตรัสสอน ความว่า

รูปทุกชนิดทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ทั้งที่มีอยู่ภายในหรือภายนอก ทั้งที่หยาบหรือละเอียด
ทั้งที่ทรามหรือประณีต ทั้งที่อยู่ใกล้หรือไกล
เธอพึงพิจารณารูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาชอบ
ตามความเป็นจริงว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา

ครั้งที่ ๓ เมื่อท่านมีอายุ ๒๐ ปี พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า ปัญญาของท่านแก่กล้าแล้ว จึงตรัสเตือนให้ท่านทำทุกข์ให้หมดสิ้นให้ได้ ความว่า

เธอละกามคุณ ๕ ที่น่ารักใคร่ชอบใจ
ออกจากเรือนมาด้วยศรัทธา จงทำทุกข์ให้สิ้นไปให้ได้
จงคบกัลยาณมิตร จงอยู่ในเสนาสนะที่สงบสงัด
ปราศจากเสียงอึกทึกครึกโครม
จงรู้จักฉันอาหารแต่พอประมาณ
อย่าติดใจในจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
จงอย่ากลับมาสู่โลกนี้อีก
จงสำรวมในพระปาฏิโมกข์และในอินทรีย์ ๕
จงมีสติอยู่กับตัว จงมากด้วยความเบื่อหน่าย
จงเว้นนิมิตรอันสวยงามที่ประกอบด้วยราคะ
จงอบรมจิตให้มั่นคง
แน่วแน่ในความสำคัญว่าไม่สวยไม่งาม
จงอบรมจิตให้ไม่มีนิมิตร
จงถอนความถือตัว อันเป็นกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานให้ได้
เพราะเมื่อละความถือตัวได้แล้ว เธอจักจาริกไปอย่างสงบ

พระราหุลฟังพระพุทธเจ้าสอนพลางพิจารณาตามพลาง เมื่อจบพระธรรมเทศนาท่านก็ได้บรรลุอรหัตผล


มีต่อ >>> ตอนที่ ๔๗
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2008, 6:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๔๗ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


พระภัททิยะ ได้บรรลุอรหัตผลในปีที่บวชนั้นเอง โดยเมื่อบวชและได้ฟังพระพุทธเจ้าสั่งสอนแล้ว ท่านก็ปลีกตนจากหมู่คณะ เข้าอยู่ป่าตามลำพังตั้งมั่นอยู่ในศีล อบรมจิตและปัญญาจนเกิดความรู้แจ้ง ได้บรรลุอรหัตผลสมตามที่ปรารถนา

พระอนุรุทธะ ในพรรษาที่บวชนั้นเองก็ได้ทิพจักขุญาณ (ความรู้ที่ทำให้เกิดตาทิพย์) จากนั้นท่านก็ได้เรียนกรรมฐาน จากพระสารีบุตร แล้วลาไปบำเพ็ญสมณธรรมที่ป่าปาจีนวังสทายวัน ในแคว้นเจตี (หรือเจติยะ) ขณะที่บำเพ็ญเพียร อยู่ในป่า ท่านตรึกมหาปุริสวิตก (ความตรึกของบุคคลผู้ยิ่งใหญ่) ได้ ๗ ข้อ ดังนี้

๑. ธรรมนี้ (ศาสนานี้) เป็นของผู้มักน้อยไม่ใช่ของผู้มักมาก

๒. ธรรมนี้เป็นของผู้สันโดษ ไม่ใช่ของผู้ไม่สันโดษ

๓. ธรรมนี้เป็นของผู้สงัด ไม่ใช่ของผู้คลุกคลีด้วยหมู่คณะ

๔. ธรรมนี้เป็นของผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ของผู้เกียจคร้าน

๕. ธรรมนี้เป็นของผู้มีสติมั่นคง ไม่ใช่ของผู้หลงลืมสติ

๖. ธรรมนี้เป็นของผู้มีจิตมั่นคง ไม่ใช่ของผู้มีจิตไม่มั่นคง

๗. ธรรมนี้เป็นของผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของผู้ทรามปัญญา

ขณะที่ท่านกำลังตรึกมหาปุริสวิตก ๗ ข้ออยู่นั้น พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูวาระจิตของท่าน เห็นว่ามีคุณธรรมแก่กล้า สามารถจะบรรลุอรหัตผลได้หากได้ฟังข้อแนะนำเพิ่มเติม จึงเสด็จมาตรัสบอกให้ท่านตรึกมหาปุริสวิตกต่อไปเป็นข้อที่ ๘ ว่า

๘. ธรรมนี้เป็นของผู้ยินดีในธรรมไม่เนิ่นช้า ไม่ใช่ของผู้ยินดีในธรรมที่เนิ่นช้า

พระอนุรุทธะพิจารณาตามแนวเทศนาที่พระพุทธเจ้าตรัสแนะนำจนเกิดความรู้แจ้ง และได้บรรลุอรหัตผล

พระอานนท์ บรรลุโสดาปัตติผลหลังจากบวชไม่นาน แต่มาบรรลุอรหัตผลภายหลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๓ เดือน รวมเวลาที่ท่านเป็นพระอริยบุคคล ชั้นโสดาบันอยู่นานถึง ๔๒ ปี และได้บรรลุอรหัตผลเมื่ออายุได้ ๘๐ ปี

การที่ท่านได้บรรลุอรหัตผลช้ากว่าพระชาวกบิลพัสดุ์รูปอื่นๆ โดยเฉพาะพระอดีตเจ้าชายศากยะที่ออกบวชพร้อมกันนั้น เป็นเพราะว่าท่านไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม เนื่องจากต้องขวนขวายอยู่กับการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ท่านได้บรรลุอรหัตผลก่อนมีการทำปฐมสังคายนา (สังคายนาครั้งที่ ๑) เพียงไม่กี่ชั่วโมง มีเรื่องเล่าว่า คราวทำปฐม สังคายนานั้นพระมหากัสสปะและพระมหาเถระรูปอื่นๆ อาทิ พระอนุรุทธะ ได้ร่วมกันคัดเลือกพระเข้าร่วมทำปฐมสังคายนาได้ครบจำนวน ๕๐๐ รูป ซึ่งทั้ง ๔๙๙ รูปต่างล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้วิชชา ๓ บรรลุอภิญญา ๖ แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔ และเชี่ยวชาญด้านพระปริยัติธรรม มีพระอานนท์อยู่เพียงรูปเดียวที่เป็นพระอริยะชั้นโสดาบัน ซึ่งยังจะเข้าร่วมประชุมด้วยไม่ได้ เพราะคุณสมบัติยังไม่ครบถ้วน แต่ในการทำปฐมสังคายนานั้นจะขาดท่านก็ไม่ได้ เพราะท่านเป็นผู้เดียวที่ได้ฟังพระธรรมเทศนาทุกกัณฑ์จากพระพุทธเจ้า ดังนั้นคณะ สงฆ์ซึ่งมีพระมหากัสสปะเป็นประธาน จึงมีมติเลือกให้ ท่านเป็น ๑ ในพระจำนวน ๕๐๐ รูป ที่จะเข้าร่วมทำปฐมสังคายนา แต่มีเงื่อนไขว่า ท่านต้องเร่งบำเพ็ญเพียรให้ได้บรรลุอรหัตผลเสียก่อน

หลังจากได้รับทราบมติของคณะสงฆ์แล้ว พระอานนท์ก็เร่งบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก ด้วยการเจริญกายคตาสติ คือ ตั้งสติกำหนดอาการ ๓๒ ในร่างกาย รวมทั้งการเคลื่อนไหวอิริยาบถขณะเดินจงกรม แต่แล้วก็ไม่ได้บรรลุอรหัตผลหรือแม้แต่มรรคผลขั้นต่อไปใดๆ เลย ทั้งนี้เป็นเพราะท่านปฏิบัติเคร่งเครียดเกินไปจนจิตฟุ้งซ่าน คืนจะบรรลุอรหัตผลนั้น ท่านมาคิดได้ว่าปฏิบัติไม่ถูก จึงคิดบำเพ็ญเพียรแต่พอเหมาะ จากนั้นจึงลงจากที่จงกรมเข้าที่พัก

ท่านนั่งอยู่บนเตียงสักครู่หนึ่ง ครั้นแล้วจึงเอนกายลงด้วยตั้งใจว่า จักนอนพักผ่อนสักครู่หนึ่ง พอยกเท้าพ้นจากพื้นแต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน ระหว่างนี้เองจิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะคลายความยึดมั่นลงได้

ท่านเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าเพียงรูปเดียวที่บรรลุอรหัตผลโดยไม่อยู่ในอิริยาบถ ๔ คือ ยืน นั่ง เดิน นอน และหลังจากบรรลุอรหัตผลได้ไม่นานก็รุ่งเช้า เมื่อฉันภัตตาหารเช้าแล้ว ขณะที่พระสงฆ์ ๔๙๙ รูป เข้าไปนั่งคอยท่านอยู่ในมณฑปที่ถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขาเวภาระ เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธนั้น ท่านก็ได้แสดงฤทธิ์ให้ปรากฏ เพื่อประกาศให้คณะสงฆ์ได้ทราบว่า ท่านได้บรรลุอรหัตผลแล้ว ด้วยการดำดินแล้วไปโผล่ขึ้นตรงอาสนะที่จัดเตรียมไว้ให้ท่านนั่ง จากนั้นการปฐมสังคายนาจึงได้เริ่มขึ้น

พระภคุ กับ พระกิมพิละ ได้บรรลุอรหัตผลในเวลาใกล้เคียงกัน โดยวันที่จะบรรลุอรหัตผลนั้น พระภคุปฏิบัติธรรมอยู่ตามลำพัง ขณะนั่งปฏิบัติธรรมอยู่นั้นท่านถูกความง่วงครอบงำ จึงลุกออกจากเสนาสนะเดินไปยังที่จงกรม เกิดพลาดหกล้มลงคลุกฝุ่นบนพื้นดินใกล้กับบันไดขึ้นที่จงกรม ท่านไม่ท้อถอย ลุกขึ้นปัดฝุ่นแล้วเดินไปขึ้นที่จงกรม ก่อนเดินจงกรมท่านได้ยืนข่มความง่วงจนจิตเป็นสมาธิแล้วจึงออกเดิน ขณะเดินอยู่นั้นท่านเจริญวิปัสสนาไปด้วย โดยกำหนดเอาการเคลื่อนไหวอิริยาบถเป็นอารมณ์จนเกิดวิปัสสนาญาณ ท่านเห็นโทษของสังขารอย่างแจ้งชัด จึงเกิดความเบื่อหน่ายคลายความยึดถือแล้วได้บรรลุอรหัตผล ส่วนพระกิมพิละมีกล่าวไว้แต่เพียงว่าท่านได้บรรลุอรหัตผล แต่ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมของท่าน


มีต่อ >>> ตอนที่ ๔๘
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2008, 6:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๔๘ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


พระอุบาลี ครั้นบวชแล้วท่านได้อยู่เรียนกรรมฐานกับพระพุทธเจ้า วันหนึ่งท่านประสงค์จะอยู่ตามลำพังจึงเข้าไปทูลลาพระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตโดยให้เหตุผลว่า

“อุบาลี หากไปอยู่ตามลำพัง เธอก็จักเจริญด้านเดียวเท่านั้น คือ ด้านวิปัสสนาธุระ แต่ถ้าอยู่ในสำนักของตถาคต เธอจักเจริญทั้ง ๒ ด้าน คือ ทั้งด้านวิปัสสนาธุระและด้านคันถธุระ”

การที่พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ก็เพราะทรงเห็นว่า ในอนาคตท่านจักได้รับภาระสำคัญอย่างหนึ่งคือร่วมทำสังคายนา ฉะนั้น จึงทรงมีพระประสงค์ให้ท่านได้เรียนรู้พระพุทธพจน์อย่างกว้างขวาง จะได้เป็นประโยชน์แก่ภาระสำคัญนั้น

พระอุบาลีปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าตรัสแนะนำ คือ ศึกษาพระพุทธพจน์ควบคู่ไปกับการเจริญวิปัสสนา ไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตผล

พระเมฆิยะ ครั้นบวชแล้ว ท่านก็อยู่ถวายการรับใช้พระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเวลานั้นพระพุทธเจ้ายังไม่มีพระพุทธอุปัฏฐากประจำ พระสาวกต่างผลัดเปลี่ยนกันถวายการรับใช้ และท่านก็เป็นรูปหนึ่งที่ทำหน้าที่อยู่ด้วย

คราวหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับอยู่ที่เขตเมือง ชาลิกา (จาลิกาบรรพต) พระเมฆิยะในฐานะพระพุทธอุปัฏฐาก (ชั่วคราว) ก็ได้ตามเสด็จไปด้วย ที่เขตเมืองชาลิกานั้นมีป่ามะม่วงอยู่แห่งหนึ่งน่ารื่นรมย์เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสงบ จะไปอยู่ตามลำพัง ป่ามะม่วงแห่งนั้นอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกิมิกาลา พระเมฆิยะเห็นแล้วคิดอยากจะไปอยู่ จึงเข้าไปทูลลาพระพุทธเจ้า

“อย่าเลย เมฆิยะ เธออย่าเพิ่งไปอยู่ตามลำพังเลย”

พระพุทธเจ้าตรัสห้าม พระเมฆิยะไม่เชื่อ ยังคงทูลลาและยืนยันจะไปอยู่ป่ามะม่วงนั้นให้ได้ พระพุทธเจ้าตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง เมื่อทรงเห็นว่าห้ามพระเมฆิยะไม่ได้แน่ พระองค์จึงทรงอนุญาต ท่านดีใจมาก รีบกราบลาพระพุทธเจ้า แล้วเดินทางไปอยู่ป่ามะม่วงนั้นทันที

ป่ามะม่วงเงียบสงบ แต่จิตของพระเมฆิยะกลับไม่สงบ ท่านคิดฟุ้งซ่านไปต่างๆ โดยเฉพาะคิดถึงความ สุขสบายครั้งยังเป็นเจ้าชาย เมื่อไม่สามารถจะควบคุมให้สงบลงได้ จึงเดินทางกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วกราบทูลความจริงให้ทรงทราบ

พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกให้ท่านทราบถึงเหตุผล ที่ทรงทัดทานไว้แต่ตอนแรกว่า สภาพจิตของท่านยังไม่พร้อมที่จะอยู่ตามลำพัง จากนั้นจึงตรัสสอนถึงวิธีอบรมจิตให้สงบ ๕ วิธี

ประเด็นสำคัญทรงสอนให้อยู่ใกล้กัลยาณมิตร ท่านยอมปฏิบัติตาม ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าจิตของท่านสงบแล้ว จึงตรัสสอนให้เจริญวิปัสสนาต่อไป โดยทรงสอนให้ท่านเห็นว่า “ความสำคัญว่าไม่มีอัตตา คือตัวตน ย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าไม่เที่ยง ภิกษุผู้สำคัญว่าไม่มีอัตตาคือตัวตนจึงบรรลุนิพพาน อันเป็นสภาพเพิกถอนความรู้สึกว่าเรามีเรา เป็นได้ในปัจจุบันนี้เอง”

ท่านปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตผล

พระนาคิตะ ครั้นบวชแล้วก็ได้เจริญวิปัสสนาตามแนวมธุปิณฑิกสูตรที่ท่านได้ฟังมา ไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตผล

พระสีวลี ได้ฟังตจปัญจกกรรมฐานจากพระสารีบุตร ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์เป็นอันดับแรก โดยพระอุปัชฌาย์สอนให้ท่านกำหนดส่วนของร่างกายที่เห็นได้ง่ายก่อน ๕ ส่วน คือ เกสา (ผม) โลมา (ขน) นขา (เล็บ) ทันตา (ฟัน) ตโจ (หนัง) จากนั้นพระอุปัชฌาย์ได้สอนให้ท่านพิจารณาถึงความทุกข์ทรมานขณะอยู่ในครรภ์พระมารดานานถึง ๗ ปี ท่านบรรลุอรหัตผลเวลาปลง ผมเสร็จพอดี มีหลักฐานเกี่ยวกับการบรรลุธรรมของท่านว่า ท่านได้บรรลุโสดาปัตติผลเวลาปลงผมจุกที่ ๑ เสร็จ บรรลุสกิทาคามิผล เวลาปลงผมจุกที่ ๒ เสร็จ บรรลุอนาคามิผล เวลาปลง ผมจุกที่ ๓ เสร็จ และบรรลุอรหัตผลเวลาปลงผมจุกที่ ๔ ซึ่งเป็นจุกสุดท้ายเสร็จ

พระปุณณมันตานีบุตร ครั้นบวชแล้วได้เรียนกรรมฐานจากพระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านบำเพ็ญเพียรพิจารณาตามที่พระอุปัชฌาย์สอนไม่นานก็บรรลุอรหัตผล

พระกาฬุทายี บรรลุอรหัตผลก่อนบวช เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อทูลลาพระเจ้าสุทโธทนะแล้ว ท่านพร้อมด้วยบริวาร ๑,๐๐๐ คน ก็รีบเดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวันทันที และมาถึงเวลาเย็นซึ่งเป็นเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ ท่านพร้อมด้วยบริวารจึงถือโอกาสยืนฟังอยู่ท้ายสุดพร้อมกับพิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน จนเกิดความรู้แจ้งได้บรรลุอรหัตผลพร้อมกับเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจบพอดี จากนั้นจึงทูลขอบวช แล้วนิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองกบิลพัสดุ์ ตามที่พระพุทธบิดาประสงค์

พระมหาอุทายี ครั้นบวชแล้วท่านได้เจริญวิปัสสนาตามแนวมธุปิณฑิกสูตรที่ได้ฟังมา ก่อนบวชไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตผล


มีต่อ >>> ตอนที่ ๔๙
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 04 ธ.ค.2008, 4:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๔๙ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


งานสำคัญ

พระปุณณมันตานีบุตร เมื่อศึกษาดูแล้วจะพบว่าในบรรดาพระกลุ่มเมืองแคว้นสักกะ ซึ่งนอกจากพระอัญญาโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิแล้ว ท่านบวชก่อนพระกลุ่มแคว้นสักกะรูปอื่นๆ ต่อจากนั้นก็คือ พระกาฬุทายี พระนันทะ พระราหุล พระเมฆิยะ พระนาคิตะ พระมหาอุทายี ตามลำดับ สุดท้ายก็คือ พระอุบาลี พระภัททิยะ พระอนุรุทธะ พระอานนท์ พระภคุ พระกิมพิละ ส่วนพระสีวลี ยังไม่สามารถระบุให้แน่ชัดลงไปได้ว่าบวชก่อนหรือหลังพระสาวกรูปใด

การกล่าวถึงว่า พระสาวกรูปใดบวชก่อนนั้น ก็เพื่อประโยชน์ในการกล่าวถึงงานเผย แพร่พระพุทธศาสนาของท่านไปตามลำดับอาวุโสที่บวช

พระปุณณมันตานีบุตร หลังจากได้บรรลุอรหัตผลแล้ว ท่านได้เป็นกำลังสำคัญในการช่วยพระพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนามาตลอดเวลา ผลงานชิ้นสำคัญของท่านคือ ท่านได้สอนกถาวัตถุ ๑๐ ประการ ให้พระอานนท์ฟัง คราวที่พระอานนท์บวชใหม่ๆ จนพระอานนท์ได้บรรลุโสดาปัตติผลกถาวัตถุ คือ เรื่องที่ควรพูดมี ๑๐ อย่าง ได้แก่

๑. อัปปิจฉกถา เรื่องความมักน้อย
๒. สันตุฏฐิกถา เรื่องความสันโดษ
๓. ปวิเวกกถา เรื่องความสงัด
๔. อสังสัคคสถา เรื่องความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ
๕. วิริยารัมภกถา เรื่องการปรารภ ความเพียร
๖. สีลกถา เรื่องศีล
๗. สมาธิกถา เรื่องสมาธิ
๘. ปัญญากถา เรื่องปัญญา
๙. วิมุตติกถา เรื่องความหลุดพ้น
๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถาเรื่องความรู้ความเห็นว่าหลุดพ้น

พระปุณณมันตานีบุตร ได้สอนเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา นอกจากสอนพระอานนท์ให้ได้บรรลุโสดาปัตติผล ต่อมายังได้สอนกุลบุตรชาวเมืองกบิลพัสดุ์อีก ๕๐๐ คนจนเลื่อมใสแล้วมาขอบวชในสำนักของท่าน

ท่านได้แสดงกถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้ให้ปฏิบัติ ไม่นานพระเหล่านั้นก็ได้บรรลุอรหัตผล อยู่มาวันหนึ่งพระสัทธิวิหาริกทั้งหมดนั้นประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เนื่องจากยังไม่เคยเห็นพระองค์จริง ท่านจึงได้ส่งพระเหล่านั้นมาเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวัน ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองกบิลพัสดุ์ที่ท่านจำพรรษาอยู่ถึง ๖๐ โยชน์ (ประมาณ ๙๖๐ กิโลเมตร) ครั้นไปถึงวัดเวฬุวันแล้ว พระ ๕๐๐ รูปนั้นก็พร้อมกันเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมาจากไหน”

พระพุทธเจ้าตรัสปฏิสันถาร

“มาจากเมืองชาติภูมิ (เมืองกบิลพัสดุ์) พระเจ้าข้า” พระ ๕๐๐ รูป กราบทูล

“ในแคว้นแดนนั้น เพื่อนพรหมจรรย์ยกย่องใครว่ากล่าวกถาวัตถุ ๑๐ ประการ”

“ยกย่องพระปุณณมันตานีบุตร พระอุปัชฌาย์ของเหล่าข้าพระองค์ พระเจ้าข้า”

ขณะนั้น พระสารีบุตรเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่ด้วย ได้ยินพระพุทธเจ้าตรัสสนทนากับพระสัทธิวิหาริกของพระปุณณมันตานีบุตรแล้ว ประสงค์จะรู้จักกับพระปุณณมันตานีบุตร จึงตั้งความหวังว่าท่านคงได้พบและสนทนากับพระปุณณมันตานีบุตรสักวันหนึ่งเป็นแน่

พระสารีบุตรหวังอยู่เช่นนั้น จนต่อมาพระพุทธเจ้าพาพระสาวกเสด็จมาประทับที่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองกบิลพัสดุ์กว่าวัดเวฬุวัน พระปุณณมันตานีบุตรทราบข่าว จึงเดินทางมาเฝ้า พระพุทธเจ้าตรัสธรรมปฏิสันถารต้อนรับท่าน ครั้นแล้วทรงอนุญาตให้ท่าน เลือกพักได้ตามอัธยาศัย ท่านถวายบังคมพระพุทธเจ้าแล้วไปพักกลางวันอยู่ในป่าอันธวัน

พระสารีบุตร ได้ทราบจากพระรูปหนึ่งว่าพระปุณณมันตานีบุตรมาเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว ขณะนี้กำลังไปพักผ่อนอยู่ ณ โคนต้นไม้ใหญ่แห่งหนึ่งในป่าอันธวัน จึงเดินทางไปหาท่าน โดยเหตุที่พระเถระทั้ง ๒ ไม่เคยเห็นกันมาก่อน พระสารีบุตรจึงทักท่านว่า

“ผู้มีอายุ ท่านเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าหรือ”

“ใช่ ท่านผู้เจริญ”

พระปุณณมันตานีบุตรตอบ

“ผู้มีอายุ ท่านประพฤติพรหมจรรย์เพื่อให้ศีลบริสุทธิ์หรือ”

“ไม่ใช่ ท่านผู้เจริญ”

“ผู้มีอายุ ถ้าอย่างนั้นท่านประพฤติพรหมจรรย์เพื่อให้ปัญญาบริสุทธิ์หรือ เพื่อให้ข้ามความสงสัยได้อย่างบริสุทธิ์หรือ เพื่อให้เกิดความรู้ความเห็นว่าอย่างใดเป็นทางไม่เป็นทางอย่างบริสุทธิ์หรือ เพื่อให้เกิดความรู้ความเห็นในข้อปฏิบัติอย่างบริสุทธิ์หรือ และเพื่อให้เกิดความรู้ความเห็นธรรมอย่างบริสุทธิ์หรือ”

“ไม่ใช่ ท่านผู้เจริญ แต่ข้าพเจ้าประพฤติพรหมจรรย์เพื่อต้องการอนุปาทาปรินิพพาน”

เมื่อได้ทราบความประสงค์ในการออกบวชของพระปุณณมันตานีบุตรแล้ว พระสารี บุตรก็สนทนาธรรมต่อไปถึงเรื่องว่า อะไรคือ อนุปาทาปรินิพพาน ซึ่งพระปุณณมันตานีบุตรก็ได้ตอบให้ทราบอย่างแจ่มชัดว่า

“อนุปาทาปรินิพพานไม่ใช่ความบริสุทธิ์ ๗ อย่าง คือ ไม่ใช่การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่ใช่การรักษาจิตให้บริสุทธิ์ ไม่ใช่การอบรมปัญญาให้บริสุทธิ์ ไม่ใช่การข้ามความสงสัยได้อย่างบริสุทธิ์ ไม่ใช่ความรู้ความเห็นว่าอันใดเป็นทางหรือไม่ใช่ทางบริสุทธิ์ ไม่ใช่ความรู้ความเห็นถึงข้อปฏิบัติอย่างบริสุทธิ์ และไม่ใช่ความรู้ความเห็นธรรมที่บริสุทธิ์ เพราะธรรมที่ว่ามานี้ทั้งหมดถึงอย่างไรก็ยังมีอุปาทานคือความยึดมั่นเกาะเกี่ยวอยู่ แต่ธรรมทั้งหมดนี้เป็นธรรมช่วยส่งไปถึงอนุปาทาปรินิพพานตามลำดับ เปรียบเหมือนรถ ๗ ผลัด”

จากนั้นพระปุณณมันตานีบุตรได้ยกอุปมาให้พระสารีบุตรฟังว่า

“ระยะทางระหว่างเมืองสาวัตถีกับเมืองสาเกตจะไปถึงด้วยรถ ๗ ผลัด พระเจ้าปเสนทิโกศล เมื่อจะเสด็จจากเมืองสาวัตถีไปเมืองสาเกตก็ต้องเสด็จไปด้วยรถ ๗ ผลัดนั้น โดยขึ้น ประทับราชรถผลัดแรกที่ประตูราชวัง จนกระทั่งเสด็จถึงราชรถผลัดที่ ๒ จึงทรงสละราชรถ ผลัดแรกแล้วขึ้นประทับราชรถผลัดที่ ๒ นั้นไป เวลาเสด็จถึงราชรถผลัดที่ ๓ ก็ทรงสละราชรถผลัดที่ ๒ ขึ้นประทับราชรถผลัดที่ ๓ เวลาเสด็จถึงราชรถผลัดที่ ๔ ก็ทรงสละราชรถผลัดที่ ๓ ขึ้นประทับราชรถผลัดที่ ๔ เวลาเสด็จถึงราชรถผลัดที่ ๕ ก็ทรงสละราชรถผลัดที่ ๔ ขึ้นประทับราชรถผลัดที่ ๕ เวลาเสด็จถึงราชรถผลัดที่ ๖ ก็ทรงสละราชรถผลัดที่ ๕ ขึ้นประทับราชรถผลัดที่ ๖ เวลาเสด็จถึงราชรถผลัดที่ ๗ ก็ทรงสละราชรถผลัดที่ ๖ ขึ้นประทับ ราชรถผลัดที่ ๗ ไปจนถึงประตูพระราชวังเมืองสาเกต เมื่อเสด็จถึงเมืองสาเกตแล้วเมื่อหมู่อำมาตย์หรือพระประยูรญาติทูลถามว่าเสด็จมาด้วยราชรถคันนี้หรือ พระเจ้าปเสนทิโกศล หากจะตรัสตอบให้ถูกต้องตามเป็นจริงก็จะต้องตรัสตอบว่า พระองค์เสด็จมาด้วยราชรถ ตามลำดับดังที่เสด็จมานั้น อุปมานี้เป็นฉันใด ความบริสุทธิ์ ๗ อย่างที่ว่ามานั้นก็เป็นฉันนั้น ทุกข้อไม่ใช่อนุปาทาปรินิพพาน แต่เป็นธรรมส่งไปถึงอนุปาทาปรินิพพาน คือ ความดับสนิท แห่งขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่กิเลสตัณหาเข้าไปเจือจับไม่ได้อีก”

เมื่อพระเถระทั้ง ๒ สนทนากันแล้ว ต่างก็ได้ถามชื่อของกันและกัน

“ผมชื่อปุณณะ แต่เพื่อนพรหมจารีมักเรียกผมว่า มันตานีบุตร”

“ผมชื่ออุปติสสะ แต่เพื่อนพรหมจารีมักเรียกผมว่า สารีบุตร”

ก่อนจากกันพระเถระทั้ง ๒ ยังได้กล่าวชื่นชมกันและกันอีก โดยพระสารีบุตรกล่าวชื่นชม พระปุณณมันตานีบุตรว่า

“น่าอัศจรรย์ พระปุณณมันตานีบุตรเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ดี ปัญหาอันลึกซึ้งที่เกี่ยวข้องอยู่ในกถาวัตถุ ๑๐ ประการท่านกล่าวแก้ได้แล้ว นับเป็นลาภที่เพื่อนพรหมจารีได้เห็นได้ใกล้ชิดท่าน แม้พวกผมก็ต้องถือว่าเป็นลาภที่ได้เห็นและได้ใกล้ชิดท่าน”

พระปุณณมันตานีบุตรก็ได้กล่าวชื่นชมพระสารีบุตรว่า

“ท่านสารีบุตร เมื่อผมได้สนทนากับพระสาวกผู้คล้ายกับพระบรมศาสดาเช่นนี้ก็ยังไม่รู้จักเลยว่าท่านคือพระสารีบุตร ถ้าผมรู้คงจะตอบโต้กับท่านได้ไม่ถึงเพียงนี้หรืออาจจะพูดไม่ออกก็ได้”

บทสนทนาของพระเถระทั้ง ๒ แม้จะถือเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่งานเผยแผ่ธรรมะ แต่ก็ถือเป็นแบบอย่างได้ว่า ผู้ที่จะเผยแพร่ธรรมะนั้นต้องขวนขวายเข้าหาบัณฑิตและเปิดใจกว้าง ยอมรับความรู้จากคู่สนทนาเสมอ


มีต่อ >>> ตอนที่ ๕๐
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 5:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๕๐ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


พระกาฬุทายี ได้มีบทบาทอย่างสำคัญในการทำให้พวกเจ้าศากยะเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยที่เมื่อบวชแล้วหลังจากทูลนิมนต์ให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาเมืองกบิลพัสดุ์ได้แล้ว ก็เหาะล่วงหน้ามายังเมืองกบิลพัสดุ์ เพื่อแจ้งข่าวให้พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบก่อน พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นท่านยืนอยู่ในอากาศ จำไม่ได้ จึงตรัสถาม

“ท่านเป็นใคร มาจากไหน”

“ขอถวายพระพร มหาบพิตร” พระกาฬุทายีถวายพระพร “อาตมาเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า พระบิดาของอาตมาไม่มีใครเอาชนะได้ ทรงมีพระรัศมี ๖ ประการแผ่ซ่านออกจากพระวรกาย ทรงหาใครเปรียบมิได้ มหาบพิตร พระองค์เองนั่นแหละเป็นพระบิดาของพระบิดาของอาตมา ฉะนั้นเมื่อว่าโดยศักดิ์แล้ว พระองค์จึงเป็นพระอัยกา (พระเจ้าปู่) ของอาตมา และอาตมาก็คือ พระนัดดา (หลาน) ของพระองค์”

คำถวายพระพรเป็นนัยๆ ของพระกาฬุทายีทำให้พระเจ้าสุทโธทนะจำได้ พระองค์ทรงดีพระทัยเป็นอย่างยิ่งที่อดีตราชทูตของพระองค์รักษาสัญญา โดยได้กลับมาแจ้งข่าวที่พระองค์ทรงประสงค์ให้ทรงทราบจึงตรัสนิมนต์ให้ลงมานั่งบนตั่งในพระราชวัง จากนั้นทรงรับสั่งให้เจ้าหน้าที่จัดภัตตาหารมาใส่บาตร พระกาฬุทายีครั้นรับประเคนภัตตาหารนั้นแล้วก็แสดงท่าจะทูลลา พระเจ้าสุทโธทนะทรงเห็นพระกาฬุทายีแสดงอาการดังนั้น ก็ทรงทราบได้ทันทีว่าพระเถระจะไปฉันภัตตาหารที่อื่น จึงตรัสถามถึงที่ที่จะไป

“ขอถวายพระพร มหาบพิตร” พระกาฬุทายีถวายพระพร

“อาตมาประสงค์จะไปฉันภัตตาหารในสำนักของพระพุทธเจ้า”

“พระพุทธเจ้าที่อยู่ที่ไหน พระคุณเจ้า” พระเจ้าสุทโธทนะ ตรัสถาม

“ขอถวายพระพร มหาบพิตร ขณะนี้พระพุทธเจ้ากำลังเสด็จพุทธดำเนินมาตามเส้นทางจากแคว้นมคธสู่เมืองกบิลพัสดุ์ เพื่อทรงเยี่ยมมหาบพิตร”

ระยะทางจากเมืองราชคฤห์ถึงเมืองกบิลพัสุดุ์ไกลได้ ๖๐ โยชน์ พระพุทธเจ้าทรงพาพระสาวก ๒๐,๐๐๐ รูป เดินทางได้วันละ ๑ โยชน์ (ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร) และวันนี้นับเป็นวันแรกที่พระองค์ทรงพาพระสาวกออกเดินทาง

ฝ่ายพระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อทรงทราบว่าพระกาฬุทายีจะนำภัตตาหารไปถวายพระพุทธเจ้า จึงตรัสบอกให้ท่านฉันภัตตาหารนั้นก่อน พระกาฬุทายีทำตามพระราชประสงค์ จากนั้นพระเจ้าสุทโธทนะได้รับสั่งให้เจ้าหน้าที่จัดภัตตาหารอีกชุดหนึ่งถวายให้พระกาฬุทายีนำไปถวายพระพุทธเจ้า

“ตราบใดที่พระลูกเจ้าของโยมยังเสด็จมาไม่ถึง ขอพระคุณเจ้าจงนำอาหารจากพระราชวังนี้ไปถวายได้ทุกวัน”

พระเจ้าสุทโธทนะตรัสปวารณา ฝ่ายพระกาฬุทายีหลังจากฉันภัตตาหารแล้วก็แสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ และบรรดาข้าราชบริพาร คำสอนของท่านส่งผลให้พระเจ้าสุทโธทนะและบรรดาข้าราชบริพารเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ก่อนที่จะได้เห็นพระพุทธเจ้า พระกาฬุทายียังได้แสดงปาฏิหาริย์อีกส่วนหนึ่ง โดยตั้งจิตอธิษฐานให้บาตรที่มีอาหารเต็มอยู่นั้นลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วท่านก็เหาะตามขึ้นไปรับบาตรนั้นแล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้า พระกาฬุทายีนำอาหารไปถวายพระพุทธเจ้าด้วยวิธีนี้ทุกวัน พระเจ้าสุทโธทนะพร้อมด้วยข้าราชบริพารเห็นเหตุการณ์นี้ตลอด จึงยิ่งเพิ่มความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยมากยิ่งขึ้น และพระพุทธเจ้าก็ทรงเสวยพระกระยาหารที่พระกาฬุทายีนำมาถวายจากเมืองกบิลพัสดุ์ทุกวัน

จนกระทั่งเสด็จพุทธดำเนินถึง ซึ่งกินเวลา ๖๐ วันพอดี ณ เมืองกบิลพัสดุ์ นั่นเอง พระเจ้าสุทโธทนะและพระประยุรญาติทรงถวายการต้อนรับพระพุทธเจ้าและพระสาวกอย่างสมพระเกียรติ โดยทรงนิมนต์ให้เสด็จเข้าประทับ ณ อุทยานอันรื่นรมย์ ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะและพระประยุรญาติทรงตั้งพระทัยมอบถวายให้เป็นวัดสำหรับพระพุทธเจ้าประทับอยู่กับพระสาวก และมีชื่อปรากฏว่า “นิโครธาราม” (สวนของพระเจ้านิโครธ)

ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่เพื่อโปรดพระประยุรญาติเป็นครั้งแรกนั้น ได้มีเหตุการณ์สำคัญๆ เกิดขึ้นดังนี้

๑. พระพุทธเจ้าทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ โดยครั้งแรกแสดงยมกปาฎิหาริย์ เพื่อเป็นการปราบทิฐิมานะของพระประยูรญาติผู้ใหญ่ที่ยังกระด้างกระเดื่อง ด้วยเห็นว่าพระองค์เป็นลูกหลานซึ่งยิ่งใหญ่ไปกว่าตนนั้นไม่ได้ ต่อมาทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ โดยทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมา ปาฏิหาริย์ทั้ง ๒ นี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงขณะที่พระประยุรญาติเสด็จมาชุมนุมต้อนรับพระองค์และพระสาวกอยู่ที่วัดนิโครธาราม

กล่าวถึงฝนโบกขรพรรษ ตามรูปศัพท์ชวนให้สันนิษฐานว่า ฝนที่ตกลงมาเหมือนน้ำบนใบบัวคือ ไม่เปียกผู้ไม่ประสงค์จะให้เปียก เหมือนใบบัวไม่มีน้ำเปียกติดอยู่ ท่านพรรณนาลักษณะไว้ ๔ ประการ คือ

๑. มีสีแดงดังเท้านกพิราบ
๒. เปียกเฉพาะผู้ที่ต้องการให้เปียก
๓. เม็ดฝนนี้ไม่ติดกาย เมื่อถูกกายแล้วก็หล่นลงพื้นดิน
๔. ไม่เจิ่งนองอยู่บนพื้นดิน เมื่อตกลงมาแล้วก็ซึมหายไปในแผ่นดินทันที

๒. พระพุทธเจ้าทรงแสดงมหาเวสสันดรชาดก โดยทรงแสดงหลังจากทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกแล้ว เพราะฝนโบกขรพรรษมีหยาดน้ำเย็นซึ่งทำให้พระประยูรญาติต่างชุ่มชื่นพระทัย เพื่อเป็นการสนับสนุนความรู้สึกของพระประยุรญาติ พระองค์จึงทรงแสดงเวสสันดรชาดกขึ้นตามลำดับและจบด้วยยกเหตุการณ์ตอนที่กษัตริย์ ๖ พระองค์ได้กลับมาพบกันเมื่อครั้งที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรมาตรัสเล่า ซึ่งกษัตริย์ ๖ พระองค์นั้น คือ พระเวสสันดร พระนางมัทรี พระกุมารีกัณหา พระกุมารชาลี พระราชบิดา พระราชมารดา ซึ่งได้พลัดพรากจากกันแล้วได้กลับมาพบอีก ทุกพระองค์ทรงดีพระทัยมากจนถึงวิสัญญีภาพ (สลบ) ทรงฟื้นรู้สึกพระองค์ต่อเมื่อได้มีฝนโบกขรพรรษตกลงมาต้องพระวรกาย

๓. พระเจ้าสุทโธทนะทรงบรรลุอนาคามิผล โดยหลังจากทรงแสดงเวสสันดรชาดกโปรดพระพุทธบิดาและพระประยุรญาติแล้ว รุ่งขึ้นเช้า พระพุทธเจ้าก็เสด็จออกบิณฑบาตไปตามถนนในเมืองกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบจึงรีบเสด็จไปห้าม โดยทรงอ้างว่าไม่ใช่ประเพณี ไม่ใช่วัตรปฏิบัติของบรรดาเจ้าศากยะที่ต้องออกมาขอเขากิน แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ใช่ประเพณีของบรรดาเจ้าศากยะก็จริง แต่ว่าเป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าที่ต้องออกบิณฑบาต จากนั้นได้ตรัสธรรมโปรดพระพุทธบิดาว่า

ภิกษุไม่พึงประมาทในการลุกขึ้นรับอาหารที่ประตูบ้าน
พึงประพฤติหน้าที่ (ธรรม) ให้สุจริต
ไม่พึงประพฤติหน้าที่ให้ทุจริต
เพราะผู้ที่ประพฤติหน้าที่ได้สุจริตเป็นปรกติ
ย่อมอยู่เป็นสุข ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

พระเจ้าสุทโธทนะทรงตั้งพระทัยสดับธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงนั้น ทรงพิจารณาตามอย่างพินิจพิเคราะห์ จนเกิดความรู้แจ้ง ละความถือพระองค์ลงได้ จึงได้บรรลุโสดาปัตติผล บัดนี้ พระองค์ทรงหมดความสงสัยในพระรัตนตรัย ตรงกันข้ามทรงเชื่อมั่นว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ประเสริฐจริง ควรแก่สักการะ จึงทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าและพระสาวกให้รับภัตตาหารในพระราชวังในวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันที่ ๒ ที่ได้เสด็จมาถึงเมืองกบิลพัสดุ์

วันที่ ๒ นั้นเอง เมื่อเสวยพระกระยาหารแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงธรรมโปรดอีก จากการที่ทรงสดับพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ พระนางมหาปชาบดีโคตมี (พระน้านาง) ก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล ส่วนพระเจ้าสุทโธทนะทรงบรรลุสกทาคามิผล วันที่ ๔ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมปาลชาดกโปรดอีก พระเจ้าสุทโธทนะทรงสดับพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ก็ได้บรรลุอนาคามิผล และการบรรลุอนาคามิผลนี้ได้เป็นปัจจัยให้พระองค์ได้บรรลุอรหัตผลคราวจะสวรรคตในเวลาต่อมา

๔. พระนางยโสธราทรงบรรลุโสดาปัตติผล ในวันที่ ๔ อันเป็นวันเดียวกับที่ทรงโปรดพระพุทธบิดาให้ได้บรรลุอนาคามิผลนั้น พระพุทธเจ้าทรงโปรดพระนางยโสธราให้ได้บรรลุโสดาปัตติผลด้วย โดยได้เสด็จไปยังปราสาทของพระนาง แล้วตรัสจันทกินนรีชาดกให้ได้สดับจนพระนางคลายความเศร้าโศกจากการที่ถูกทอดทิ้ง และเกิดความเข้าพระทัยว่าความพลัดพรากจากกันเป็นของธรรมดา พระนางเข้าพระทัยได้ดังนี้ จึงได้บรรลุโสดาปัตติผล

๕. วันที่ ๕ พระพุทธเจ้าเสด็จไปงานอภิเษกสมรสของเจ้าชายนันทะกับเจ้าหญิงชนบทกัลยาณีและทรงนำเจ้าชายนันทะออกผนวช

๖. วันที่ ๗ ทรงให้พระสารีบุตรบวชให้เจ้าชายราหุล

๗. ขณะที่ประทับอยู่ที่นิโครธารามนั้น พระพุทธเจ้าทรงบวชให้เจ้าชายศากยะพระองค์อื่น ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าพระเมฆิยะกับพระนาคิตะน่าจะได้บวชในครั้งนั้น รวมทั้งพระมหาอุทายีซึ่งเป็นคนวรรณะพราหมณ์ด้วย เหตุการณ์ทั้งหมดดังว่ามานี้ นับว่าเป็นความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงของพระพุทธเจ้า ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ต่อไปแล้วจะเห็นว่าพระสาวกที่มีบทบาทสำคัญช่วยให้ความสำเร็จครั้งนี้เกิดขึ้นได้ก็คือ พระกาฬุทายีนั่นเอง


มีต่อ >>> ตอนที่ ๕๑
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.พ.2009, 1:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๕๑ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


พระนันทะ ไม่มีกล่าวไว้แน่ชัดว่าท่านได้มีบทบาทสำคัญอย่างไรในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา แต่น่าสังเกตว่า ท่านรูปร่างคล้ายพระพุทธเจ้า เตี้ยกว่าพระพุทธองค์เพียง ๔ นิ้วเท่านั้น และใช้จีวรขนาดเท่ากับจีวรของพระพุทธเจ้า ด้วยเวลาพระสาวกรูปอื่นๆ เห็นท่านเดินมาแต่ไกลจะรีบเตรียมต้อนรับและปูลาดอาสนะไว้ถวายเหมือนอย่างต้อนรับพระพุทธเจ้า ด้วยสำคัญผิดคิดว่าท่านคือพระพุทธเจ้า

จากข้อสังเกตนี้ชี้ให้เห็นว่าท่านคงมีบุคลิกสง่างาม เป็นที่น่าเลื่อมใสแก่ผู้ที่พบเห็น

พระราหุล ไม่มีกล่าวไว้แน่ชัดว่าท่านได้มีบทบาทอย่างไรในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา แต่มีวัตรปฏิบัติส่วนตัวของท่านที่น่าเผยแพร่ในที่นี้ ๒ ประการ ซึ่งนอกเหนือจากความเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาแล้วก็มีดังนี้

๑. ความเป็นผู้ว่าง่าย เรื่องมีอยู่ว่า คราวหนึ่งมีการฟังธรรมะกันตอนกลางคืน โดยพระผู้ใหญ่ต่างผลัดกันแสดง เมื่อเลิกฟังธรรมแล้ว พระผู้ใหญ่ต่างกลับที่อยู่ของตน คงมีแต่พระผู้น้อย สามเณร และคณะอุบาสกเหลืออยู่ในโรงฟังธรรมเท่านั้น เนื่องจากเป็นเวลาค่ำคืน การเดินทางลำบาก พระผู้น้อย สามเณร และคณะอุบาสกเหล่านั้นจึงพักรวมกันในที่นั้นเอง พระและสามเณรไม่ระวัง นอนปล่อยตัวตามสบาย มีทั้งกรน ทั้งละเมอ ทั้งนอนดิ้นและน้ำลายไหล คณะอุบาสกเห็นอาการดังนั้นแล้ว พากันตำหนิและนำความกราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทราบ พระพุทธเจ้าเจ้าจึงตรัสสั่งให้ประชุมสงฆ์ แล้วบัญญัติสิกขาบทห้ามไม่ให้พระนอนร่วมกับผู้ที่ไม่ใช่พระ (คือ สามเณร และคณะอุบาสก รวมทั้งนักบวชอื่นๆ นอกพระพุทธศาสนาด้วย)

พระราหุล ขณะนั้นยังเป็นสามเณรและรวมอยู่ในกลุ่มของผู้ที่มาร่วมฟังธรรมด้วย ดังนั้นเมื่อมีพุทธบัญญัติ นี้ พระจึงให้ท่านแยกออกไปนอนต่างหากนอกโรงฟังธรรม ท่านปฏิบัติตามโดยไม่มีเงื่อนไข แต่เมื่อออกมาหาที่นอนไม่ได้ ท่านจึงหลบไปนอนในวัจกุฎี (ส้วม) ของพระพุทธเจ้า เช้ามืดพระพุทธเจ้าเสด็จมาหมายจะเข้าวัจกุฎีพระราหุลได้ยินเสียงกระแอมของพระพุทธเจ้า จึงรีบออกมาถวายบังคม พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามว่า

“ราหุล ทำไมเธอจึงมานอนที่นี่”

พระราหุลจึงได้กราบทูลให้ทราบ พระพุทธเจ้าทรงสลดพระทัยโดยทรงดำริว่า หากเป็นเช่นนี้ในภายภาคหน้าพวกสามเณรจะลำบาก จะถูกทอดทิ้งไม่มีใครสนใจ ต่อมาจึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วตรัสถามพระสารีบุตร

“สารีบุตร เธอรู้ไหมว่า เมื่อคืนนี้ราหุลนอนที่ไหน”

“ไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า” พระสารีบุตรทูลตอบ

พระพุทธเจ้าจึงตรัสเล่าให้ฟัง แล้วตรัสตำหนิพระสาวกในที่ประชุมสงฆ์ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ขนาดตถาคตยังอยู่ พวกเธอยังพากันทอดทิ้งสามเณรกันถึงขนาดนี้แล้ว ต่อไปภายหน้าเล่า เมื่อตถาคตนิพพานแล้วจะมีใครดูแลสามเณร”

จากนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมต่อจากที่ได้ทรงบัญญัติแล้ว โดยทรงอนุญาตว่า “ภิกษุนอนร่วมกับผู้ที่ไม่ใช่พระได้ ๓ คืน ถ้าเกินจากนั้นไปต้องอาบัติปาจิตตีย์”

พระพุทธพจน์นี้มีความหมายว่า ให้พระนอนร่วมกับผู้ที่มิใช่พระได้เพียง ๓ คืนพอถึงคืนที่ ๔ ให้เว้นเสียคืนหนึ่ง จากนั้นให้กลับมานอนร่วมกันได้อีก และให้นับเป็นคืนที่ ๑ ใหม่ ไปจนถึงคืนที่ ๓ พอคืนที่ ๔ ก็ให้เว้นเสียคืนหนึ่ง ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าจะแยกกันนอนได้โดยเด็ดขาด

ความเป็นผู้ว่าง่ายของพระราหุลครั้งนี้เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว พระสาวกได้นำมาพูดคุยกันในโรงฟังธรรม เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงอดีตชาติของท่าน

๒. ความกตัญญู เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งที่ท่านยังเป็นสามเณรอยู่นั้น พระมารดา คือ พระนางยโสธรา ซึ่งบัดนี้ได้ออกบวชเป็นภิกษุณีแล้วเกิดประชวรด้วยพระโรคลม พระราหุลได้ไปเยี่ยมพระมารดา ครั้นได้ทราบว่าประชวรก็ห่วงใย ยิ่งได้ทราบว่าพระมารดาประชวรถึงขั้นไม่สามารถลุกขึ้นได้ ยิ่งทำให้ใจเสีย เกรงว่าพระมารดาจะสิ้นพระชนม์

พระราหุลเมื่อไปเยี่ยมพระมารดาแล้ว ทราบว่าพระโรคลมจะสงบได้ด้วยการได้เสวยน้ำมะม่วงผสมน้ำตาลกรวด จึงรับอาสาจะหามาถวาย พระราหุลรู้สึกหนักใจมาก เพราะไม่รู้วาจะหายาดังกล่าวมาถวายพระมารดาได้แต่ไหน แต่ที่รับปากจะหามานั้นก็เป็นด้วยความรักความห่วงใยในพระมารดา ตามปกติเมื่อมีเรื่องที่ต้องการความช่วยเหลือ พระราหุลจะระลึกถึงบุคคลสำคัญ ๔ คน คือ พระสารีบุตร (พระอุปัชฌาย์) พระมหาโมคคัลลานะ (พระอาจารย์) พระอานนท์ (พระเจ้าอา) และพระพุทธเจ้า (พระพุทธบิดา) ครั้นระลึกได้ดังนี้ ท่านจึงไปหาพระสารีบุตร แล้วแจ้งความประสงค์ให้ทราบ

พระสารีบุตรมองดูสัทธิวิหาริกด้วยความกรุณา แล้วปลอบใจว่า

“ราหุล อย่าวิตกไปเลย รอไว้พรุ่งนี้ก่อน คงจะหาได้”

รุ่งเช้า ท่านได้พาพระราหุลเข้าไปในเมืองสาวัตถีแล้วให้ท่านพักอยู่ ณ โรงฉันแห่งหนึ่ง ส่วนตัวพระเถระเองได้เข้าไปในพระราชวังเพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศล และโดยที่ยังมิทันได้ถวายพระพรให้ทรงทราบถึงเหตุที่มา พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงปรุงน้ำมะม่วงผสมน้ำตาลกรวดถวาย เมื่อได้น้ำมะม่วงผสมน้ำตาลกรวดนั้นแล้ว พระเถระก็ถวายพระพรลากลับออกมาหาพระราหุลซึ่งนั่งคอยอยู่ด้วยความวิตกกังวล

“ราหุล นี่น้ำมะม่วงผสมน้ำตาลกรวดที่เธอต้องการ” พระสารีบุตรบอกพร้อมกับส่งให้

ครั้นได้แล้ว พระราหุลก็รีบนำไปถวายพระมารดา พระมารดาได้เสวยแล้วไม่นานนักก็หายประชวร ซึ่งทำให้พระราหุลพระปิโยรสสบายพระทัยขึ้น

วัตรปฏิบัติของพระราหุลดังกล่าวมานี้ แม้จะเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ก็เป็นเรื่องที่นักศึกษาธรรมะควรให้ความสนใจ และนำไปเผยแพร่ เพราะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชน จึงถือเป็นการเผยแพร่พระศาสนาส่วนหนึ่งที่ได้จากวัตรปฏิบัติของพระราหุล

พระเมฆิยะ พระนาคิตะ พระมหาอุทายี ไม่มีกล่าวไว้แน่ชัดว่าท่านได้มีบทบาทสำคัญอย่างไรในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา มีกล่าวได้แต่ว่าในระยะเวลาช่วงปฐมโพธิกาล (๒๐ พรรษาแรกของพระพุทธเจ้า) พระพุทธเจ้าไม่มีพระอุปัฏฐากประจำ พระสาวกต่างผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่ถวายการอุปัฏฐาก ซึ่งในจำนวนนี้ก็มี พระเมฆิยะ พระนาคิตะ รวมอยู่ด้วย


มีต่อ >>> ตอนที่ ๕๒
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 02 มี.ค.2009, 8:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๕๒ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


พระอุบาลี มีกล่าวไว้แน่ชัดว่าท่านได้มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและรักษาพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ ดังได้กล่าวไว้แล้วว่า ท่านศึกษาพระพุทธพจน์ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้าตลอดเวลา จนกระทั่งบรรลุอรหัตผล ท่านมีความชำนาญเป็นพิเศษในพระวินัย และมีผลงานที่เกี่ยวกับความชำนาญของท่านที่ควรนำมากล่าวถึง ๓ ประการคือ

๑. การวินิจฉัยอธิกรณ์ พระพุทธเจ้าทรงมอบหมายให้ท่านวินิจฉัยอธิกรณ์ (ตัดสินคดี) ๓ เรื่อง คือ เรื่องของพระภารุกัจฉกะ ๑ เรื่องของพระอัชชุกะ ๑ เรื่องของภิกษุณีมารดาของพระกุมารกัสสปะ ๑

๒. การวิสัชนาพระวินัยในคราวทำปฐมสังคายนา คราวที่พระมหากัสสปะได้เสนอให้มีการทำปฐมสังคายนาขึ้น หลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๓ เดือนนั้น ที่ประชุมสงฆ์ได้มีมติคัดเลือกพระอุบาลีให้ทำหน้าที่วิสัชนาพระวินัย ซึ่งท่านเองก็รับหน้าที่นั้นโดยรวบรวมพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ในที่ต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ มาจัดไว้เป็นหมวดหมู่จนปรากฏเป็น “พระวินัยปิฎก” ให้เราได้ศึกษามาจนถึงทุกวันนี้

๓. การสร้างผู้สืบต่อ ในครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้า ทรงมอบหมายให้พระสาวกผู้ใหญ่อย่างเช่น พระมหากัสสปะ พระมหากัจจายนะ พระมหาโกฏฐิตะ พระมหากัปปินะ พระมหาจุนทะ พระเรวตะ พระอานนท์ และพระมหาสาวกรูปอื่นๆ เป็นหัวหน้าของหมู่คณะอบรมสั่งสอนสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิก ซึ่งปรากฏว่าพระสาวกผู้ใหญ่แต่ละท่านต่างก็มีพระเป็นศิษย์ท่านละหลายสิบ หรือหลายร้อยรูป

พระอุบาลีก็เช่นกัน ท่านได้สอนพระวินัยให้บรรดาสัทธิวิหาริกของท่านทรงจำสืบต่อมาจนเป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ที่เห็นได้ชัด คือ ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ สำเร็จลงได้โดยการนำของพระโมคคลีบุตรติสสเถระ พระเถระรูปนี้เมื่อศึกษาดูแล้วพบว่า ท่านเป็นสัทธิวิหาริกของพระสิคควะ พระสิคควะเป็นสัทธิวิหาริกของพระโสณกะ พระโสณกะเป็นสัทธิวิหาริกของพระทาสกะ และพระทาสกะเป็นสัทธิวิหาริกของพระอุบาลี ได้รับการถ่ายทอดพระวินัยมาโดยตรงจากพระอุปัชฌาย์

การที่พระพุทธศาสนาคงอยู่ได้จนตราบเท่าทุกวันนี้ นับได้ว่า พระอุบาลีมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ทั้งท่านได้ทำเองและอบรมสั่งสอนศิษย์ให้รับภาระสืบทอดสายพระวินัย จนได้มาทำหน้าที่สำคัญอันเป็นการรักษาพระพุทธศาสนา คือ การสังคายนา

พระอนุรุทธะ มีกล่าวไว้แน่ชัดว่าท่านได้มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยพระพุทธเจ้าเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านเป็นพระที่เทวดาเคารพเนื่องจากได้ทิพจักขุ (ตาทิพย์) มีการติดต่อเทวดาอยู่เนืองๆ ท่านได้เป็นอาจารย์ของหมู่คณะ มีสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกับพระมหาสาวกรูปอื่นๆ ท่านมีบทบาทสำคัญในการช่วยรักษาพระพุทธศาสนาให้คงอยู่เช่นเดียวกับพระอุบาลี โดยได้ร่วมกันทำสังคายนาครั้งที่ ๑ และในการทำสังคายนาครั้งที่ ๒ ซึ่งเกิดขึ้นหลังทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ประมาณ ๑๐๐ ปีเศษ ก็มีศิษย์ที่สืบสายมากจากท่านเข้าร่วมด้วย ดังที่ปรากฏชื่อมีอยู่ ๒ รูป คือ พระวาสภคามี กับพระสุมนะ ท่านมีวัตรปฏิบัติที่นักเผยแผ่ธรรมะรุ่นหลังน่าศึกษา คือ ความมักน้อย

เรื่องมีอยู่ว่าขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเวฬุวัน ท่านได้แสวงหาผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) ตามกองขยะมาทำจีวร เนื่องจากจีวรที่ใช้อยู่ประจำนั้นขาดแล้ว เทพธิดาแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นางหนึ่งชื่อ “ชาลีนี” เห็นท่านแล้วเกิดความเลื่อมใส จึงนำผ้าทิพย์มาทอดเป็นผ้าบังสุกุลไว้ที่กองขยะที่พระเถระกำลังมุ่งหน้าไปแสวงหา ครั้นได้ผ้าครบตามต้องการแล้ว พระเถระได้เริ่มทำพิธีเย็บจีวร ซึ่งปรากฏว่าการเย็บจีวรของท่านครั้งนั้นเป็นงานใหญ่มาก พระพุทธเจ้าทรงพาพระมหาสาวกรูปอื่นๆ อาทิ พระมหากัสสปะ พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ และพระอานนท์มาช่วย พร้อมด้วยพระตามเสด็จอีก ๕๐๐ รูป

ในการเย็บจีวรนั้น พระมหากัสสปะนั่งอยู่ช่วงต้นพระสารีบุตรนั่งอยู่ช่วงกลาง และพระอานนท์นั่งอยู่ช่วงปลาย พระสาวกที่เหลือช่วยกันกรอด้าย ฝ่ายพระพุทธเจ้าทรงช่วยสนเข็ม สำหรับพระมหาโมคคัลลานะทำหน้าที่บอกบุญนำภัตตาหารมาถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวกจากตระกูลอุปัฏฐาก การเย็บจีวรให้ท่านเสร็จเรียบร้อยในวันนั้นเอง

เทพธิดาชาลินีนางนี้แหละคราวที่พระเถระจำพรรษาอยู่ในป่าแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ได้มาหาท่านและนิมนต์ให้ท่านตั้งจิตปรารถนาไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยนางได้อ้างถึงความสวยงามของสวนนันทวันให้พระเถระฟัง ท่านได้ตอบไปว่าท่านไม่มีโอกาสได้เกิดในหมู่เทวดาอีกแล้ว เนื่องจากทำลายการเวียนว่ายตายเกิดได้หมดสิ้น

การที่นางเทพธิดากล้ากล่าวเช่นนั้นแก่ท่านก็เพราะว่า ใน ๓ ชาติที่แล้ว นางได้เกิดเป็นภรรยาของท่านในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นเอง นางจำท่านได้และความรักอาลัยยังมีอยู่ จึงกล่าวไปตามความรู้สึก โดยหารู้ไม่ว่า บัดนี้ท่านได้บรรลุอรหัตผลแล้ว ธรรมกถาเรื่อง “เจโตวิมุติ” (เจโตวิมุตติ) ของท่านนับว่าเป็นธรรมถาที่สำคัญมากเรื่องหนึ่ง ที่ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจสมาธิ พระไตรปิฎกบันทึกเรื่องนี้ไว้ว่า

ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวนาราม เมืองสาวัตถีนั้น พระอนุรุทธะได้ตามเสด็จไปด้วย วันหนึ่งหัวหน้าช่างไม้คนหนึ่งชื่อ “ปัญจังคะ” ส่งคนให้มานิมนต์พระเถระไปฉันภัตตาหารที่บ้านพร้อมด้วยพระรูปอื่นอีก ๓ รูป หลังจากฉันภัตตาหารแล้ว ช่างไม้ได้สนทนากับท่านดังนี้

ช่างไม้ : เจโตวิมุติอันไม่มีประมาณ กับเจโตวิมุติอันมีอารมณ์ใหญ่ ต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร

พระเถระ : แล้วท่านเข้าใจว่าอย่างไร

ช่างไม้ : โยมเข้าใจว่า วิมุติทั้ง ๒ นี้มีความหมายเหมือนกัน ต่างกันเฉพาะตัวหนังสือเท่านั้น

พระเถระ : เจโตวิมุติทั้ง ๒ นี้ต่างกันทั้งความหมายและตัวหนังสือ เจโตวิมุติอันไม่มีประมาณ คือ ภิกษุแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ไปตลอดทั้งโลก แล้วมีจิตเพียบพร้อมด้วยพรหมวิหารธรรมอยู่อย่างไม่มีประมาณ คือ ไม่มีขอบเขตจำกัดในผู้ใดผู้หนึ่งในที่ใดที่หนึ่ง แผ่ไปอย่างไพบูลย์กว้างขวาง ทั้งในสัตว์ทุกประเภทและในโลกทั้งปวง เจโตวิมุติอันมีอารมณ์ใหญ่ คือ ภิกษุแผ่นิมิตกสิณไปครอบโคนต้นไม้ ๑ ต้นบ้าง ๒ ต้นบ้าง ๓ ต้นบ้าง จากนั้นแผ่ขยายไปครอบเขต ๑ เขตบ้าง ๒ เขตบ้าง ๓ เขตบ้าง จากนั้นก็แผ่ขยายออกไปครอบคลุมประเทศ ๑ บ้าง ๒ ประเทศบ้าง ๓ ประเทศบ้าง จนกระทั่งแผ่ขยายไปครอบคลุมถึงแผ่นดิน คือโลกที่มีมหาสมุทรเป็นที่สุด แล้วนึกอยู่ในใจว่าใหญ่ๆ

ช่างไม้ได้ฟังพระเถระตอบแล้วก็เข้าใจความหมายของเจโตวิมุติทั้ง ๒ ได้ดี ซึ่งนับได้ว่างานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของท่านประสบผลสำเร็จ


มีต่อ >>> ตอนที่ ๕๓
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 17 เม.ย.2009, 8:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๕๓ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


พระเถระยังได้กล่าวธรรมกถาอีกในโอกาสต่างๆ ที่สำคัญ คือ ในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน มีเรื่องเล่าไว้ว่า

ก่อนที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงเข้าอนุปุพพวิหารสมาบัติ คือ ทรงเข้าฌานไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ปฐมฌานไปจนถึงนิโรธสมาบัติ พระอานนท์เห็นพระพุทธองค์ทรงบรรทมสงบนิ่งไม่ทรงหายใจเข้าออก จึงถามพระอนุรุทธะว่า พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วหรือ พระอนุรุทธะเข้าฌานตามพระพุทธองค์อยู่ตลอดเวลา และทราบว่าพระพุทธองค์กำลังเข้านิโรธสมาบัติ จึงตอบว่า ยัง จนกระทั่งเมื่อพระพุทธองค์ทรงออกจากนิโรธสมาบัติแล้วลงสู่ภวังค์ พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานในขณะลงสู่ภวังค์นั้น พระอนุรุทธเถระทราบ จึงออกจากสมาบัติแล้วแจ้งให้พระอานนท์ทราบ

ทันทีพระอานนท์ทราบ ได้แจ้งให้พระรูปอื่นๆ ที่ประชุมเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่นั้นได้ทราบด้วย พระสาวกอริยะก็ปลงธรรมสังเวชว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง”

ส่วนพระสาวกที่ยังเป็นปุถุชนต่างเสียใจร้องไห้คร่ำครวญ ด้วยความอาลัยรักในพระพุธเจ้า พระอนุรุทธะเห็นเหตุการณ์นั้นจึงเข้ามาปลอบ โดยกล่าวข้อความทำนองเตือนใจว่า

ท่านทั้งหลาย อย่าได้เสียใจไปเลย
อย่าคร่ำครวญไปเลย
พระศาสดาเคยตรัสไว้แล้วมิใช่หรือว่า
ความพลัดพรากจากของรักของชอบทั้งหมดนั้น
ย่อมมีเป็นธรรมดา
สิ่งที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว มีปัจจัยปรุงแต่ง
มีความแตกสลายไปเป็นธรรมดา
ไม่มีใครจะบังคับได้หรอกว่า จงอย่าแตกสลาย

ขณะนั้นถือได้ว่าท่านเป็นพระผู้ใหญ่รูปหนึ่งอยู่ในที่นั้น พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานในตอนกลางคืนตลอดคืนวันนั้นท่านกับพระอานนท์จึงได้ทำหน้าที่กล่าวธรรมกถาปลอบโยนพระสาวกที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ตลอดคืนจนกระทั่งรุ่งเช้า ท่านจึงมอบหมายให้พระอานนท์ไปแจ้งข่าวให้เหล่ามัลลกษัตริย์ได้ทราบ

ท่านเป็นคนแจ้งเหล่ามัลลกษัตริย์ให้อัญเชิญพระบรมศพของพระพุทธองค์เข้าเมืองทางประตูเมืองทิศอุดร (เหนือ) ผ่านกลางเมืองแล้วไปออกทางประตูเมืองด้านทิศบูรพา (ตะวันออก) ก่อนนำไปถวายพระเพลิง ณ มกุฎพันธนเจดีย์ ทั้งนี้เป็นไปตามประสงค์ของเทวดาที่ต้องการจะบูชาพระบรมศพของพระพุทธเจ้า

พระอานนท์ เป็นที่แน่นอนว่าท่านได้มีบทบาทอย่างมากในการช่วยพระพุทธเจ้าเผยแผ่พระพุทธศาสนาและรักษาพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ ผลงานของท่านสามารถประมวลกล่าวได้ดังนี้

๑. ทรงจำธรรมไว้ได้มาก พระอานนท์ได้รับยกย่องว่าเป็นพหูสูต ทั้งนี้มิใช่เพียงเพราะได้ศึกษาธรรมมากเท่านั้น แต่ยังหมายถึงว่าท่านทรงจำธรรมไว้ได้มากด้วย ครั้งหนึ่งโคปกโมคคัลลานพราหมณ์ได้เคยเข้าไปหาท่าน ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว และได้ถามว่า

“ข้าแต่พระคุณเจ้า ข่าวว่าท่านเป็นพหูสูตทรงจำคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้ได้หมด ท่านบอกได้ไหมว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ท่านจำนวนเท่าไร”

ท่านตอบว่า “พราหมณ์ อาตมาศึกษาธรรมจากพระพุทธเจ้าโดยตรง ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ที่เหลืออีก ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ศึกษาจากพระสาวกผู้ใหญ่ อาทิ พระสารีบุตร”

ท่านยังได้กล่าวต่อไปทำนองว่า ท่านทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้ได้ทุกพระธรรมขันธ์ อย่างที่เรียกว่าคล่องปากพลิกพริ้วอยู่ที่ปลายลิ้นนี่เอง

มูลเหตุที่ทำให้ท่านได้ชื่อว่าเป็นพหูสูต ก็เพราะพร ๑ ใน ๘ ข้อที่ท่านได้ทูลขอต่อพระพุทธเจ้า ก่อนเข้ารับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐาก ความว่า “ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องใดในที่ลับหลังข้าพระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดแสดงธรรมเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์อีกครั้งหนึ่ง”

พระพุทธเจ้าทรงรับพรของท่าน ดังนั้นเมื่อทรงแสดงธรรมในที่ใดที่หนึ่งซึ่งไม่มีพระอานนท์ฟังอยู่ด้วย พระองค์ก็จะทรงแสดงให้ท่านฟังภายหลัง เรื่องการขอพรแต่ละข้อนั้นพระอานนท์ได้ทูลบอกเหตุผลไว้ด้วยหมด แม้พรข้อที่ยกมานี้ก็เช่นกัน ท่านให้เหตุผลไว้ต่อพระพุทธเจ้าว่า “ที่ต้องทูลขอพรข้อนี้ไว้ด้วย ก็เพื่อป้องกันการครหา เพราะแน่นอนว่าต่อไปจะต้องมีผู้มาถามว่าคาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ที่ไหน และทรงปรารภเหตุอะไร ถ้าหากข้าพระองค์ตอบไม่ได้ ก็จะมีเสียงครหาเกิดขึ้นว่า สู้อุตส่าห์เสียเวลาติดตามพระพุทธเจ้าอยู่เหมือนเงาตามตัว แต่กับเรื่องแค่นี้ก็ไม่รู้ แล้วอย่างนี้จะติดตามไปทำไม”

การทรงจำธรรมไว้ได้มากของท่านนี้นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนา ซึ่งได้กล่าวต่อไป

๒. การขวนขวายเพื่อสิทธิสตรี แต่ก่อนนั้น คือ ในช่วงพรรษาแรกๆ นับแต่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ยังไม่มีสตรีมาบวชเป็นภิกษุณี จนต่อมาหลังตรัสรู้ได้ ๕ พรรษา พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระน้านางได้พาเจ้าหญิงศากยะจำนวน ๕๐๐ นางมาทูลขอบวช ขณะนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่กูฎาคารศาลาป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ซึ่งมีพระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐาก ครั้งนั้นพระอานนท์ได้มีบทบาทอย่างสำคัญในการช่วยเหลือให้พระน้านางและเจ้าหญิงศากยะบวชได้สำเร็จ พระไตรปิฎกได้บันทึกคำตอบโต้ระหว่างพระพุทธเจ้ากับพระอานนท์ไว้ดังนี้

พระพุทธเจ้า : อย่าเลยอานนท์ เธออย่าพอใจกับการขวนขวายให้สตรีได้บวชในธรรมวินัยนี้เลย

พระอานนท์ : ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า สตรีออกบวชแล้วสามารถบรรลุโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตผล ได้หรือไม่

พระพุทธเจ้า : สามารถ อานนท์

พระอานนท์ : ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าสตรีออกบวชแล้วสามารถบรรลุโสดาปัตติผล สกทามิผล อนาคามิผล และอรหัตผลได้ ไฉนพระองค์จึงไม่ทรงอนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้บวชเล่า พระนางทรงเลี้ยงดูพระองค์มา ทั้งยังได้ถวายน้ำนมให้ได้เสวย

พระพุทธเจ้า : อานนท์ ถ้าพระน้านางจะทรงสามารถรับครุธรรม ๘ ประการไปปฏิบัติได้ ก็เป็นอันว่าบวชได้

ข้อเสนอของพระพุทธเจ้าดังที่ว่ามานี้ เมื่อพระอานนท์นำไปบอกพระนางมหาปชาบดี พระนางรีบรับรองว่าปฏิบัติได้ทันที จึงเป็นอันว่าจาการขวนขวายของพระอานนท์นี้เองทำให้สตรีมีโอกาสได้บวชในพระพุทธศาสนา

พระอานนท์ได้ชื่อว่าเป็นผู้พิทักษ์สิทธิของสตรีผู้หนึ่ง นอกจากการได้ขวยขวายให้พระนางมหาปชาบดีและเจ้าหญิงศากยะทั้งหลายได้บวชในพระพุทธศาสนาแล้ว คราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ท่านมีหน้าที่จัดพุทธบริษัทให้เข้าถวายความเคารพพระบรมศพ และได้จัดให้สตรีเข้าถวายความเคารพก่อน โดยท่านให้เหตุผลว่า สตรีเหล่านี้ถ้าหากให้เข้าถวายความเคารพพระบรมศพภายหลัง พวกเธอจะลำบากเกี่ยวกับการเดินทางกลับบ้านเนื่องจากมืดค่ำเสียก่อน

๓. การช่วยระงับความแตกร้าวในพุทธจักร คราวที่พระชาวเมืองโกสัมพีเกิดวิวาทกันจนถึงขั้นแตกร้าวนั้น ทำให้พวกอุบาสกอุบาสิกาของพระเหล่านั้นเกิดแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายไปด้วย พระพุทธเจ้าทรงเคยตักเตือน แต่ไม่สามารถจะเกลี้ยกล่อมพระเหล่านั้นให้คลายทิฐิมานะลงได้ จึงได้เสด็จหลีกไปประทับอยู่กับลิงและช้าง ณ ป่าปาริเลยยกะ ต่อมาพระเหล่านั้นเกิดสำนึกถึงความดื้อรั้นของตนขึ้นมาได้แล้วรู้สึกละอาย จึงเข้าไปหาพระอานนท์พร้อมทั้งขอร้องให้ท่านพาพวกตนไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทูลขอขมา พระอานนท์ทำตามที่พระเหล่านั้นขอร้อง จนสามารถระงับความแตกร้าวให้กลับคืนสู่สภาวะปกติได้ นับเป็นการช่วยลบรอยมลทินของพระพุทธศาสนาโดยแท้


มีต่อ >>> ตอนที่ ๕๔
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ค.2009, 7:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๕๔ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


๔. การวิสัชนาพระธรรมในคราวทำปฐมสังคายนา คราวที่พระมหากัสสปะได้เสนอให้มีการทำปฐมสังคายนาขึ้นหลังพุทธปรินิพพานได้ ๓ เดือน โดยที่ประชุมสงฆ์ได้มีมติคัดเลือกพระอุบาลีให้ทำหน้าที่วิสัชนาพระวินัยนั้น ในขณะเดียวกันก็ได้คัดเลือกพระอานนท์ทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรมอย่างที่กล่าวไว้แล้ว ท่านได้รับคัดเลือกขณะที่ยังเป็นพระโสดาบัน แต่ด้วยผลแห่งการบำเพ็ญเพียร ท่านจึงได้บรรลุอรหัตผลในเช้ามืดของวันที่จะทำสังคายนา ท่านได้ทำหน้าที่อย่างดียิ่งโดยรวบรวมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้มาเสนอต่อที่ประชุมสงฆ์ เพื่อให้ช่วยกันจัดหมวดหมู่ จนปรากฏเป็น “พระสุตตันตปิฎก” และ “พระอภิธรรมปิฎก” ให้เราได้ศึกษามาจนทุกวันนี้

๕. การสร้างผู้สืบต่อ ท่านก็เป็นเช่นเดียวกับพระสาวกผู้ใหญ่รูปอื่นๆ อาทิ พระมหากัสสปะ พระมหากัจจายนะ พระอุบาลีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้เป็นหัวหน้าหมู่คณะอบรมสั่งสอนสัทธิวิหาริก และอันเตวาสิก และมีศิษย์ศึกษาธรรมต่อจากท่านที่ปรากฏชื่อ คือ พระสัพพกามี พระยสกากัณฑบุตร พระสาฬหะ พระเรวตะ พระขุชชโสภิตตะ พระสาณวาสีสัมภูตะ ซึ่งศิษย์ทั้งหมดของท่านนี้ ได้มามีบทบาทสำคัญมากในการทำสังคายนาครั้งที่ ๒

๖. การเดินทางออกเยี่ยมพระสงฆ์ในวัดต่างๆ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พุทธบริษัทก็ถือพระอานนท์ว่าเป็นเหมือนตัวแทนของพระพุทธเจ้า เนื่องจากครั้งที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น เวลาเสด็จไปในที่ใดก็มีพระอานนท์ตามเสด็จไปด้วยดุจเงา กล่าวตามภาษาสามัญก็ว่า เห็นพระพุทธเจ้า ณ ที่ใดก็เห็นพระอานนท์ ณ ที่นั้น ดังนั้นหลังจากทำปฐมสังคายนาแล้ว ท่านจึงออกจาริกไปตามวัดต่างๆ เพื่อเยี่ยมเยียนพระสงฆ์ทำนองที่ว่าเพื่อเตือนให้เกิดพุทธานุสสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า อันเป็นทางปลูกสร้างความสามัคคีไว้เพื่อความไพบูลย์ของพระพุทธศาสนา

วัดแรกที่ผ่านไป คือ วัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพี แคว้นวังสะ ดินแดนของพระเจ้าอุเทน การไปเมืองโกสัมพีครั้งนี้ แม้พระไตรปิฎกจะกล่าวว่าไปเพื่อแจ้งข่าวแก่พระฉันนะ ว่าสงฆ์ได้ลงพรหมทัณฑ์แก่ท่านก็จริง แต่สิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นก็คือการได้พบพระเจ้าอุเทน และได้สนทนากันจนพระเจ้าอุเทนเลื่อมใสยิ่งขึ้น

สาเหตุที่จะทำให้ท่านได้พบกับพระเจ้าอุเทน สืบเนื่องมาจากนางสนมของพระเจ้าอุเทนได้ถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืนแก่ท่านหลังจากได้ฟังธรรมแล้ว พระเจ้าอุเทนทรงสงสัยว่าท่านจะนำผ้าเหล่านั้นไปทำอะไร จึงเข้าไปหาแล้วตรัสถาม ซึ่งพระเถระก็ถวายพระพรให้ทราบ พระไตรปิฎกได้บันทึกคำสนทนาไว้ดังนี้

พระเจ้าอุเทน : พระคุณเจ้า ผ้าตั้ง ๕๐๐ ผืน พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์ : อาตมาภาพ จักแบ่งปันให้แก่พระที่มีจีวรเก่า
พระเจ้าอุเทน : จีวรเก่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์ : ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำผ้าปูนอน
พระเจ้าอุเทน : ผ้าปูนอนเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์ : ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำเป็นผ้ากั้นเพดาน
พระเจ้าอุเทน : ผ้ากั้นเพดานเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์ : ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำผ้าปูพื้น
พระเจ้าอุเทน : ผ้าปูพื้นเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์ : ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำเป็นผ้าเช็ดเท้า
พระเจ้าอุเทน : ผ้าเช็ดเท้าเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์ : ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำผ้าขี้ริ้ว
พระเจ้าอุเทน : ผ้าขี้ริ้วเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์ : ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปโขลกเคล้ากับดินเหนียวแล้วนำไปฉาบกุฏิ

พระเจ้าอุเทนครั้นได้สดับคำตอบจากท่านแล้วก็เกิดศรัทธา จึงทรงรับสั่งให้ถวายผ้าเพิ่มเติมอีก

การได้สนทนากับพระเจ้าอุเทนครั้งนี้ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อภารกิจของท่านมาก ประการแรกเป็นประโยชน์ตรงที่ทำให้พระเจ้าอุเทนเลื่อมใสมั่นคงในพระพุทธศาสนา อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนแถบนั้น เพราะยุคนั้นแคว้นวังสะถือเป็นแคว้นมหาอำนาจแคว้นหนึ่ง การเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ได้อำนาจรัฐสนับสนุนย่อมประสบผลสำเร็จรวดเร็ว ประการสุดท้ายเป็นประโยชน์ต่อการเดินทางไปเยี่ยมพระสงฆ์ตามวัดต่างๆ ในแคว้นต่างๆ โดยได้นำผ้าที่นางสนมและพระเจ้าอุเทนถวายไปแบ่งถวายเป็นการสงเคราะห์และยึดเหนี่ยวน้ำใจให้เกิดความระลึกและตระหนักในความเป็นพุทธสาวกด้วยกัน

การที่พระพุทธศาสนามั่นคงและรุ่งเรืองสืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ถือได้ว่าพระอานนท์ได้มีบทบาทสำคัญมากรูปหนึ่งทีเดียว

พระนาคิตะ เคยถวายการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าขณะอยู่ที่หมู่บ้านพราหมณ์อิจฉานังคละ แคว้นโกศล พระพุทธเจ้าเคยปฏิเสธผ่านทางท่านไม่ขอรับลาภสักการะที่พราหมณ์และคหบดีชาวอิจฉานังคละจัดทำมาถวายเพราะมาส่งเสียงอื้ออึงอยู่ที่หน้าซุ้มประตูที่ประทับ

พระภคุ มีกล่าวไว้ว่าคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากเมืองโกสัมพี เพื่อไปประทับ ณ ป่าปาริเลยยกะนั้นได้เสด็จผ่านมาทางพาลกโลณการาม ทรงพบพระภคุซึ่งอยู่ตามลำพัง จึงทรงแสดงข้อปฏิบัติของพระที่อยู่รูปเดียวให้ฟังแล้วเสด็จเลยไป จากนั้นก็ไม่มีกล่าวถึงบทบาทของท่านอีกเลย

พระกิมพิละ มีกล่าวไว้ว่าท่านทูลถามถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่นานหลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสตอบว่าเป็นเพราะพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ไม่เคารพในการศึกษา ในความไม่ประมาท และในการปฏิสันถาร

พระสีวลี ไม่มีระบุไว้แน่ชัดถึงบทบาทของท่านเช่นรูปอื่นๆ มีแต่กล่าวไว้ว่าท่านเป็นพระที่มีลาภมาก ไม่ว่าจะอยู่ในถิ่นทุรกันดารอย่างใดก็ไม่เคยลำบากเรื่องอาหาร คราวหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองสาวัตถี พระสีวลีเข้าไปกราบแล้วกราบทูลพระพุทธเจ้าขออนุญาตพาพระ ๕๐๐ รูปไปเพื่อทดลองบุญของท่าน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแล้ว ท่านจึงพาพระทั้ง ๕๐๐ รูปเดินป่าบ่ายหน้าไปทางป่าหิมพานต์ ท่านเดินทางผ่านสถานที่กันดาร ๗ แห่ง และพักอยู่แห่งละ ๗ วัน ซึ่งในแต่ละวันนั้นเทวดาและอมนุษย์ อื่นๆ ได้ถวายทานแก่ท่านและพระ ๕๐๐ รูป สถานที่กันดาร ๗ แห่ง คือสถานที่ที่มีต้นไทรขึ้นอยู่ภูเขาปัณฑวะ แม่น้ำอจิรวดี สาครใหญ่ ป่าหิมพานต์ สระฉัททันต์ ภูเขาคันธมาทน์ และภูเขาเรวตะ โดยเฉพาะขณะอยู่ที่ภูเขาคันธมาทน์ เทวดาชื่อนาคทัตตะได้ถวายทาน ๗ วัน โดยถวายข้าวปรุงด้วยนมสดกับข้าวปรุงด้วยเนยใส สลับอย่างละวัน พระที่ร่วมเดินทางจึงถามเทวดาชื่อนาคทัตตะนั้น เทวดานั้นกล่าวว่า นี้เป็นผลที่ได้ถวายสลากภัตรที่ปรุงด้วยน้ำนมสดแก่พระพุทธเจ้ากัสสปะ อีกคราวหนึ่ง พระพุทธเจ้าเคยพาพระ ๕๐๐ รูป เดินทางไกลผ่านถิ่นทุรกันดารไปเยี่ยมพระขทิรวนิยเรวตะ โดยมีพระสีวลีตามเสด็จอยู่ในจำนวนนั้นด้วย ผลปรากฎว่าพระทั้งหมดนั้นไม่ลำบากด้วยอาหาร เหตุการณ์ทำนองนี้ยังเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นด้วยผลบุญของพระสีวลีที่ทำไว้แต่อดีตชาติ

เหตุการณ์ที่กล่าวมานี้ แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาโดยตรง แต่เป็นเหตุการณ์สนับสนุนที่พอกล่าวอ้างได้ว่ามีส่วนส่งเสริมต่อการปฏิบัติธรรมของพระสาวกรูปอื่นๆ เพราะอาหารถือเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งต่อการปฏิบัติธรรม


มีต่อ >>> ตอนที่ ๕๕
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 03 มิ.ย.2009, 8:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๕๕ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


บั้นปลายชีวิต

พระกาฬุทายี พระนันทะ พระเมฆิยะ พระนาคิตะ พระมหาอุทายี พระภัททิยะ พระภคุ พระกิมพิละ และพระสีวลี ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับบั้นปลายชีวิตของท่าน

พระราหุล นิพพานก่อนพระพุทธเจ้าและก่อนพระอัครสาวกโดยท่านได้ทูลลาพระพุทธเจ้าไปนิพพานในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนพระอุบาลี พระอนุรุทธะ พระอานนท์ และพระปุณณมันตานีบุตร มีกล่าวไว้ชัดเจนว่านิพพานภายหลังพระพุทธเจ้า

พระอานนท์ นิพพานเมื่ออายุได้ ๑๒๐ ปี หลังพุทธปรินิพพาน ๔๐ ปี มีเรื่องเล่าว่าท่านนิพพานกลางอากาศ ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ โดยเข้าเตโชสมาบัติอธิษฐานจิตให้เกิดไฟลุกไหม้ร่างกายของท่าน แล้วกระดูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งไปตกที่เมืองกบิลพัสดุ์ อีกส่วนหนึ่งไปตกที่เมืองเทวทหะ ทั้งนี้เพื่อมิให้พระญาติต้องทะเลาะกันเพราะแย่งกระดูก

พระอนุรุทธะ นิพพานที่ใต้กอไผ่ในหมู่บ้านเวฬุวะ แคว้นวัชชี ขณะนั้นท่านมีอายุใกล้เคียงกับพระอานนท์ จะอ่อนกว่าเพียงเล็กน้อย

พระอุบาลี และพระปุณณมันตานีบุตร ยังไม่พบหลักฐานว่าท่านนิพพานที่ไหน เวลาใด แต่สันนิษฐานว่าขณะนั้นท่านคงมีอายุใกล้เคียงกับพระอนุรุทธะและพระอานนท์

เอตทัคคะ - อดีตชาติ

บรรดาพระสาวกชาวแคว้นสักกะที่กล่าวมานี้ มีที่ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะด้วยกัน ๙ รูป คือ พระกาฬุทายี พระนันทะ พระราหุล พระอุบาลี พระภัททิยะ พระอนุรุทธะ พระอานนท์ พระปุณณมันตานีบุตร และพระสีวลี

พระกาฬุทายี พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านทำให้ตระกูลเลื่อมใส

พระนันทะ พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านสำรวมอินทรีย์

พระราหุล พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านสนใจการศึกษา

พระอุบาลี พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านทรงจำพระวินัย

พระภัททิยะ พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านมีตระกูลสูง

พระอนุรุทธะ พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านทิพจักขุ (ตาทิพย์)

พระอานนท์ พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ๕ ด้าน คือ มีสติ ๑ มีคติ ๑ มีความเพียร ๑ เป็นพหูสูตร ๑ เป็นพุทธอุปัฏฐาก ๑

พระปุณณมันตานีบุตร พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านแสดงธรรม

พระสีวลี พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านมีลาภมาก

พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวก ๙ รูปนี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะตามความสามารถในชาติปัจจุบัน และตามที่ตั้งจิตปรารถนาไว้แต่อดีตชาติ

พระกาฬุทายี ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นกุลบุตรชาวเมืองหงสวดีวันหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับชาวเมืองเพื่อฟังธรรม ได้เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านทำตระกูลให้เลื่อมใส แล้วเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการเข้าเฝ้าพระพุธเจ้า แล้วกราบทูลให้ทรงทราบถึงความปรารถนาของตน พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูความเป็นไปในอนาคตของท่านด้วยพระญาณแล้วทรงเห็นว่า ความปรารถนาของท่านสำเร็จได้แน่ จึงทรงพยากรณ์ว่า

“ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า พระพุทธเจ้าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้เป็นสาวกของพระองค์ จักได้บรรลุอรหัตผลและได้รับตำแหน่งเอตทัคคะด้านทำให้ตระกูลเลื่อมใส”

ท่านฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ท่านมาเกิดเป็นบุตรอำมาตย์ของพระเจ้าสุทโธทนะ ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุ ที่ตั้งจิตปรารถนามาแต่อดีตชาติ ประกอบกับปัจจุบันชาติที่เมื่อบวชแล้วสามารถแสดงฤทธิ์ทำให้พวกศากยะทั้งตระกูลเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านทำให้ตระกูลเลื่อมใสดังกล่าวมาแล้ว

พระนันทะ ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นกุลบุตรชาวเมืองหงสวดี วันหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านสำรวมอินทรีย์ แล้วเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน ๗ วัน วันสุดท้ายได้ถวายผ้าทำจากเปลือกไม้ให้พระพุทธเจ้าและพระสาวกครอง พร้อมทั้งกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบถึงความปรารถนาของท่าน และได้รับพุทธพยากรณ์อย่างพระอสีติมหาสาวกรูปอื่นๆ คือ ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า พระพุทธเจ้าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ท่านจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ จักได้บรรลุอรหัตผลและได้รับตำแหน่งเอตทัคคะด้านการสำรวมอินทรีย์

ท่านฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆสนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าอัตถทัสสี

ชาติที่พบพระพุทธเจ้าอัตถทัสสีนั้น ท่านเกิดเป็นเต่าใหญ่อยู่ในแม่น้ำคงคาด้วยผลบาปกรรมเก่าบางอย่าง แต่กรรมดีก็ส่งผลให้เป็นเต่าแสนรู้ วันหนึ่งขณะแหวกว่ายอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เห็นพระพุทธเจ้าประทับยืนอยู่บนฝั่งด้วยทรงมีพระประสงค์จะเสด็จข้ามฝั่ง จึงลอยตัวขึ้นมาให้พระพุทธเจ้าประทับยืน แล้วแหวกว่ายพาพระพุทธเจ้ามาส่งอีกฝั่งหนึ่ง จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ท่านได้มาเกิดเป็นพระอนุชาต่างพระมารดา ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนามาแต่อดีตชาติ ประกอบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันชาติที่รู้จักสำรวมอินทรีย์จนได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านสำรวมอินทรีย์


มีต่อ >>> ตอนที่ ๕๖
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ค.2009, 3:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๕๖ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


พระราหุล ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นบุตรของคฤหบดีผู้มั่งคั่งตระกูลหนึ่งในเมืองหงสวดี เป็นพี่น้องกับพระรัฐบาล แต่ไม่ระบุว่าใครเป็นพี่หรือน้อง ครั้นบิดามารดาล่วงลับไปแล้ว ท่านทั้ง ๒ ก็ทำหน้าที่ดูแลทรัพย์สมบัติสืบต่อมา

๒ พี่น้องเป็นคนใจบุญ ต่อมาได้รับอุปัฏฐากฤาษีคนละ ๑ องค์ ฤาษีทั้ง ๒ นั้นเป็นเพื่อนกัน มีฤทธิ์เหาะเหินเดินหาวได้ แม้จะเป็นเพื่อนกันแต่ก็แยกกันอยู่และต่างมีที่พักกลางวันคนละแห่ง ฤาษีที่พระรัฐบาลรับอุปัฏฐากมักไปพักกลางวันในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนฤาษีที่พระราหุลรับอุปัฏฐากมักไปพักกลางวันในนาคพิภพ ดังนั้นหลังจากฉันภัตตาหารแล้ว ฤาษีทั้ง ๒ จึงต่างรูปต่างอนุโมทนาไปตามประสบการณ์ของตน

ฤาษีของพระรัฐบาลอนุโมทนาว่า “ขอให้ท่านจงมีที่อยู่ดุจวิมานของท้าวสักกเทวราช”

ส่วนฤาษีของพระราหุลอนุโมทนาว่า “ขอให้ท่านจงมีที่อยู่ดุจภพของพญานาคปฐวินธรเถิด”

สองพี่น้องต่างสงสัยในคำอนุโมทนาของฤาษีทั้ง ๒ เป็นอย่างมาก วันหนึ่งเมื่อได้โอกาสจึงถามถึงเหตุผลที่อนุโมทนาอย่างนั้น ฤาษีทั้ง ๒ จึงได้โอกาสพรรณนาที่พักกลางวันของตนให้ ๒ พี่น้องฟังจนเกิดความปรารถนาที่จะไปเกิดอยู่ในสถานที่ทั้ง ๒ แห่งนั้นบ้าง

ครั้นแล้ว ๒ พี่น้องนั้นก็ได้สมปรารถนา เนื่องจากหลังสิ้นอายุแล้ว พระรัฐบาลได้ไปเกิดเป็นท้าวสักกะ ฝ่ายพระราหุลได้ไปเกิดเป็นพญานาคชื่อว่า “ปฐวินธร”

พญานาคปฐวินธร เมื่อมาเกิดอยู่ในนาคพิภพแล้วก็รู้สึกไม่พอใจกับกำเนิดของตน เนื่องจากต้องเลื้อยไป จึงรู้สึกเสียใจและนึกตำหนิฤาษีที่ตนอุปัฎฐากว่าไม่น่าพรรณนาให้ตนยินดีในทุคติภูมิเช่นนี้เลย อย่างไรก็ตามพญานาคปฐวินธรยังคงกลายร่างเป็นคนได้ในบางโอกาส แต่ก็อยู่ได้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น จากนั้นก็จะคืนร่างกลับเป็นนาคดุจเดิม

ตามปรกติเมื่อว่าโดยกำเนิดแล้ว พญานาคก็จัดเป็นงูตระกูลหนึ่ง ซึ่งเป็นบริวารของท้าววิรูปักษ์ ท้าวมหาราชองค์หนึ่งในท้าวมหาราชทั้ง ๔ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นไปเฝ้าท้าวสักกะในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยพาบริวารไปด้วยเพื่อถวายรายงานเหตุการณ์ต่างๆ ให้ทรงทราบ ดังนั้นเมื่อท้าววิรูปักษ์ขึ้นไปเฝ้าท้าวสักกะ จึงพาพญานาคปฐวินธรไปด้วย และทันทีที่ทอดพระเนตรเห็นพญานาคปฐวินธรนั้น ท้าวสักกะก็ทรงจำได้ จึงตรัสทักทายด้วยความสนิทสนม ฝ่ายพญานาคปฐวินธรเองก็จำได้เช่นกัน หลังจากสนทนากันแล้ว ท้าวสักกะทรงทราบว่าพญานาคปฐวินธรเสียใจเรื่องที่ต้องมาเกิดเป็นนาค ก็ปลอบโยนโดยแนะนำให้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ทำบุญแล้วตั้งจิตปรารถนามาเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้ เพื่อจะได้อยู่ร่วมกันอีกเหมือนชาติที่แล้ว พญานาคปฐวินธรเห็นด้วย ดังนั้น ครั้นกลับมายังนาคพิภพแล้ว จึงเตรียมการถวายทานแด่พระพุทธเจ้า พญานาคปฐวินธรขึ้นจากนาคพิภพมานิมนต์พระพุทธเจ้าปทุมุตตระด้วยตนเอง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้วจึงกลับไปเตรียมการถวายการต้อนรับเป็นการใหญ่

วันรุ่งขึ้น พระพุทธเจ้าปทุมุตตระทรงพาพระสาวก ๑๐๐,๐๐๐ รูปไปยังนาคพิภพ ซึ่งพระสาวกที่ตามเสด็จไปด้วยนั้นล้วนแต่บรรลุอภิญญา ๖ และแตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔ มีความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก และในจำนวนพระสาวกที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้าไปยังนาคพิภพนั้นมีสามเณรน้อยอยู่ด้วยรูปหนึ่ง ชื่อ “อุปเรวตะ”

พญานาคปฐวินธรเห็นสามเณรอุปเรวตะแล้วเกิดความ เลื่อมใส เนื่องจากสามเณรนั้นมีรูปร่างน่ารักและดูละม้ายคล้ายพระพุทธเจ้ามาก เมื่อได้ทราบจากพระสาวกรูปหนึ่งว่า สามเณรเป็นพระโอรสของพระพุทธเจ้าก็ยิ่งเลื่อมใสมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเมื่อถวายทานครบ ๗ วันแล้วจึงตั้งจิตปรารถนาต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าและพระสาวกว่า

“ด้วยผลบุญนี้ ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นพระโอรสของพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลด้วยเถิด”

พระพุทธเจ้าปทุมุตตระทรงตรวจดูด้วยพระญาณแล้ว ทรงทราบว่า ความปรารถนาของพญานาคปฐวินธรสำเร็จได้แน่จึงทรงรับรอง จากนั้นจึงได้เสด็จกลับจากนาคพิภพ

ฝ่ายพญานาคปฐวินธร เมื่อครบกำหนดครึ่งเดือนแล้วก็ไปเฝ้าท้าวสักกะ พร้อมทั้งกราบทูลให้ทราบถึงความ ปรารถนาของตน พญานาคขอให้ท้าวสักกะปรารถนาเพื่อจะได้เกิดร่วมกันอีก ท้าวสักกะรับคำ ต่อมาได้เห็นพระสาวกรูปหนึ่งของพระพุทธเจ้าปทุมุตตะแล้วเกิดความเลื่อมใส โดยพระองค์ได้ทราบว่าพระสาวกรูปนี้มาจากตระกูลที่เก่งกล้า ซึ่งสามารถกู้บ้านเมืองที่ถูกข้าศึกทำลายให้กลับคืนมาเป็นปกติได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังได้ทราบอีกว่า ก่อนจะออกบวช พระสาวกรูปนี้มีศรัทธามากถึงขึ้นยอมอดอาหารนานถึง ๑๕ วัน เพื่อให้บิดามารดาอนุญาตให้ออกบวชด้วยความเลื่อมใส ดังนั้นหลังจากทำสักการะพระพุทธเจ้าอยู่นานถึง ๗ วันแล้ว จึงได้ตั้งพระทัยปรารถนาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าปทุมุตตระว่า

“ด้วยผลบุญนี้ ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นผู้เลิศกว่าพระสาวกทั้งหลายผู้บวชด้วยศรัทธาในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต เหมือนพระสาวกรูปนี้เถิด”

พระพุทธเจ้าปทุมุตตระทรงเห็นว่าความปรารถนาของท่านสำเร็จได้แน่ จึงตรัสพยากรณ์ว่า “มหาบพิตร พระองค์จะได้สมปรารถนาในศาสนาของพระพุทธเจ้าโคดม ซึ่งจะเสด็จอุบัติในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า”

พญานาคปฐวินธรและท้าวสักกะ หลังจากชาตินั้นแล้ว ก็เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าปุสสะ ชาติที่พบพระพุทธเจ้าปุสสะนั้นท้าวสักกะได้มาเกิดเป็นไวยาวัจกร ทำหน้าที่จัดเตรียมไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ในคราวที่พระราชโอรสของพระเจ้ามหินทะทั้ง ๓ พระองค์ได้ทรงร่วมกันรักษาศีล ๑๐ และทรงบริจาคทาน

ส่วนพญานาคปฐวินธรในพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้ากัสสปะ ได้มาเกิดเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ของพระเจ้ากิงกิสสะและมีพระขนิษฐา ๗ พระองค์ พระขนิษฐาทั้ง ๗ พระองค์นั้นเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และได้พร้อมใจกันสร้างวัดถวายพระพุทธเจ้ากัสสปะและพระสาวก กำหนดให้เป็นวัดประจำพระองค์ พระองค์ละ ๑ วัด

พระเชษฐาเห็นพระขนิษฐาสร้างวัดประจำพระองค์ถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวกแล้วก็เกิดศรัทธา เมื่อทรงได้รับตำแหน่งอุปราชแล้วก็ทรงสร้างวัดประจำพระองค์ ถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวกบ้างตามคำทูลแนะนำของพระขนิษฐา วัดที่พระอุปราชทรงสร้างขึ้นนี้นับว่าใหญ่กว่าวัดที่พระขนิษฐาทรงสร้างขึ้น เพราะมีกุฎิถึง ๕๐๐ หลัง นอกจากสร้างวัดถวายแล้ว พระอุปราชยังทรงถวายอุปถัมภ์พระพุทธเจ้าและพระสาวกด้วยปัจจัย ๔ พร้อมทั้งทำบุญอื่นๆ อีกจนตลอดพระชนมชีพ

จากชาตินั้น บุญส่งผลให้ทั้ง ๒ เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ท้าวสักกะได้มาเกิดเป็นบุตรเศรษฐีในแคว้นกุรุ มีชื่อว่า “รัฐบาล” ส่วนพญานาคปฐวินธรได้มาเกิดเป็นพระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะกับพระนางยโสธรา มีชื่อว่า “ราหุล” ทั้ง ๒ ท่าน ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล พระราหุลอาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนามาแต่อดีตชาติ ประกอบกับปัจจุบันชาติที่เมื่อบวชแล้วสนใจในการแสวงหาความรู้ พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านสนใจการศึกษา


มีต่อ >>> ตอนที่ ๕๗
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 12:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๕๗ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


พระอุบาลี ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นพราหมณ์ชื่อ “สุชาตะ” มีทรัพย์สมบัติถึง ๘๐ โกฎิ อยู่ในเมืองหงสวดี อดีตชาติของท่านสัมพันธ์อยู่กับอดีตชาติของพระปุณณมันตานีบุตร โดยที่ในครั้งนั้นพระปุณณมันตานีบุตรเกิดเป็นฤาษีสุนันทะหรือฤาษีโคดม ซึ่งได้บรรลุฌานและมีฤทธิ์

วันหนึ่ง ทั้งฤาษีสุนันทะและพราหมณ์สุชาตะได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าปทุมุตตระด้วยกัน เห็นพระพุทธเจ้าประทับนั่งแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดาและประชาชนจำนวนมากซึ่งเข้าเฝ้า ฤาษีสุนันทะเห็นประชาชนจำนวนมากนั่งฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมก็เกิดศรัทธา จึงเนรมิต ปะรำดอกไม้ขึ้นบังแดดบังลมให้แด่พระพุทธเจ้า พระพุทธบิดา และประชาชน จากนั้นก็ได้ร่วมฟังธรรมอยู่ด้วย ซึ่งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระทรงแสดงติดต่อกันนาน ๗ วัน ๗ คืน ขณะฟังธรรมอยู่นั้นฤาษีสุนันทะก็ได้ตั้งจิตปรารถนาขอให้ได้บรรลุธรรม และเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล ซึ่งก็ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าปทุมุตตระว่า ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า จักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดม และจักมีชื่อว่า “ปุณณมันตานีบุตร”

ส่วนพราหมณ์สุชาตะ ครั้นได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์ฤาษีสุนันทะแล้วก็เกิดศรัทธา ยิ่งได้เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านทรงจำพระวินัยในวันนั้นด้วย ก็ยิ่งเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง

พราหมณ์สุชาตะแสดงศรัทธาให้ปรากฎด้วยการสร้างโสภณารามถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวก หลังจากทำพิธีฉลองโดยนิมนต์พระพุทธเจ้ามาเสวยพระกระยาหารพร้อมด้วยพระสาวกแล้ว ก็เข้าเฝ้าพร้อมทั้งกราบทูลให้ทรงทราบถึงความปรารถนาของท่าน และได้รับการพยากรณ์เช่นเดียวกัน คือในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า จักได้ออกบวชเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าโคดม เช่นเดียวกับฤาษีสุนันทะ และจักได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าโคดมจักตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านทรงจำพระวินัย และจักมีชื่อว่า “อุบาลี”

พราหมณ์สุชาตะได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆสนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ มีอยู่ชาติหนึ่งได้เกิดเป็นพระราชกุมาร พระนามว่า “จันทนะ” พระราชโอรสของพระเจ้าจักรพรรดิอัญชนะ

เจ้าชายจันทนะเป็นคนกระด้าง เพราะถือตัวว่าเป็นพระราชโอรสสูงส่งด้วยพระอิสริยยศ และพระชาติกำเนิด เจ้าชายจันทนะใช่แต่จะถือตัวกับพสกนิกรเท่านั้น แม้แต่สมณพราหมณ์ก็ไม่ละเว้น มีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่ง ขณะทรงช้างประพาสอุทยาน ได้พบพระเทวละเดินผ่านขบวนเสด็จแล้วทรงพิโรธ จึงทรงไสช้างขับไล่พระเทวละ แต่ด้วยเมตตานุภาพของพระเทวละ ช้างจึงไม่อาจขยับเขยื้อนกายได้ คงยืนนิ่งเหมือนถูกตรึง

เมื่อไม่สามารถไสช้างเข้าทำร้ายพระเทวละได้ เจ้าชายจันทนะก็ยิ่งทรงพิโรธและตรัสบริภาษด้วยถ้อยคำหยาบคาย ก่อนที่จะเสด็จต่อไปยังพระอุทยานหลวง พระเทวละเป็นพระที่บริสุทธิ์สำรวมอินทรีย์ การประทุษร้ายท่านจึงถือเป็นบาปกรรมหนัก เจ้าชายจันทนะทรงประจักษ์แจ้งในความจริงข้อนี้ได้ดี เพราะหลังจากนั้นแล้วไม่นานพระองค์ก็ทรงเร่าร้อนพระทัยคล้ายถูกไฟสุม จึงด่วนเสด็จกลับพระราชวัง แล้วทูลเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดถวายพระราชบิดา พระราชบิดาครั้นทรงสดับความจริงแล้ว ก็ตรัสบอกพระราชโอรสให้ไปขอขมาพระเทวละด้วยพระองค์เอง เจ้าชายจันทนะทรงทำตามที่พระราชบิดาตรัสแนะนำ พระเทวละได้ยกโทษให้ โดยได้กล่าวปลอบพระทัยเจ้าชายจันทนะความว่า

ไฟย่อมไม่ลุกไหม้ในน้ำ
เมล็ดพืชย่อมไม่งอกในหิน
หนอนย่อมไม่เกิดในตัวยา
เช่นเดียวกับความโกรธ
ย่อมไม่เกิดในพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเหมือนผืนแผ่นดิน
นั่นคือใครๆ จะทำให้หวั่นไหวไม่ได้
พระพุทธเจ้าทั้งหลายล้วนฝึกตนมาดี
มีความกล้าและอดทน
จึงไม่ตกอยู่ในอำนาจความโกรธ

เจ้าชายจันทนะทรงสบายพระทัยขึ้นเมื่อได้ฟังคำปลอบโยน จากชาตินั้นพระองค์ได้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ได้มาเกิดในตระกูลชั้นต่ำ (หีนชาติ) คือตระกูลช่างตัดผม ด้วยอำนาจเศษของบาปกรรมนั้น แต่ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนามาแต่อดีตชาติ ประกอบกับความสามารถในปัจจุบันชาติที่ได้วินิจฉัยอธิกรณ์ได้เรียบร้อยโดยยึดพระวินัยเป็นหลัก พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านทรงจำพระวินัย

พระภัททิยะ (กาฬิโคธาบุตร) ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดในตระกูลมั่งคั่งตระกูลหนึ่งในเมืองหงสวดี วันหนึ่งท่านได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับชาวเมืองเพื่อฟังธรรม ได้เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านมีตระกูลสูง จึงเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง

ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน ๗ วัน วันสุดท้ายได้กราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบถึงความปรารถนาของท่าน และได้รับพุทธพยากรณ์ คือในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า ท่านจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดม จักได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าโคดมจักตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านมีตระกูลสูง

ท่านฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ท่านยังได้ทำบุญสนับสนุนให้เกิดในตระกูลสูงอย่างต่อเนื่อง ด้วยการถวายอาสนะและพัดประจำธรรมาสน์ (ที่สำหรับพระนั่งแสดงธรรม) ด้วยการถวายที่ประทับนั่งราคาแพงแด่พระพุทธเจ้า และด้วยการจุดประทีปไว้ในสถานที่ต่างๆ มีโรงอุโบสถเป็นต้น จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธันดรหนึ่ง

ชาติหนึ่งในพุทธันดรนั้น ท่านเกิดเป็นกฎมพีชาวเมืองพาราณสี วันหนึ่งได้มาที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา และเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าหลายรูปกำลังฉันภัตตาหารอยู่จึงเกิดศรัทธา จัดหาแผ่นหินมาวางเป็นที่นั่งถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น พร้อมทั้งคอยปรนนิบัติด้วยการถวายน้ำฉันน้ำใช้และไม้สีฟัน กฎมพีได้ปฏิบัติอย่างนี้เรื่อยมาทุกวันจนตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ท่านมาเกิดเป็นโอรสของพระนางกาฬิโคธา พระญาติของพระพุทธเจ้า ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนามาแต่อดีตชาติประกอบกับปัจจุบันชาติที่เมื่อก่อนออกบวชอยู่ในวาระที่จะได้รับอภิเษกให้เป็นกษัตริย์ฝ่ายศากยวงศ์ พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านมีตระกูลสูง ดังกล่าวมาแล้ว


มีต่อ >>> ตอนที่ ๕๘
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 11:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๕๘ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


พระอนุรุทธะ ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นกฎมพีชาวเมืองหงสวดี วันหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านทิพจักษุ (มีตาทิพย์) แล้วเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน ๗ วัน วันสุดท้ายถวายผ้าเนื้อดีพร้อมทั้งเครื่องเย็บและเครื่องย้อม แล้วกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบถึงความปรารถนาของท่าน และได้รับพุทธพยากรณ์ คือในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า จักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดม จักได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าโคดมจักตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านทิพจักษุ

ท่านฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน พุทธบริษัทต่างร่วมมือกันสร้างพระสุวรรณเจดีย์ (พระเจดีย์ทอง) สูง ๗ โยชน์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ท่านก็ได้ร่วมงานทำบุญครั้งสำคัญนี้ด้วย โดยได้รับคำแนะนำจากพระสงฆ์ให้ทำบุญสนับสนุนเพื่อให้ได้มีตาทิพย์สมตามที่ปรารถนา นั่นคือถวายประทีปบูชาพระสุวรรณเจดีย์ จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าสุเมธะ

ชาติที่พบพระพุทธเจ้าสุเมธะนั้น ท่านเกิดเป็นชาวเมืองสุทัสสนะ ได้ทำบุญสำคัญ คือจุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชา ขณะที่พระพุทธเจ้าทรงเข้านิโรธสมาบัติอยู่โคนต้นไม้นาน ๗ วัน จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้ากัสสปะ

ชาติที่พบพระพุทธเจ้ากัสสปะนั้น ท่านเกิดเป็นกฎมพีผู้มั่งคั่ง ภายหลังที่พระพุทธเจ้ากัสสปะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พุทธบริษัทต่างร่วมกันสร้างพระเจดีย์ทองสูง ๑ โยชน์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ครั้นสร้างเสร็จแล้วก็ได้ร่วมกันสร้างถาดสัมฤทธิ์จำนวน มากใส่เนยใสจนเต็ม พร้อมกับมีไส้ซึ่งลักษณะคล้ายตะเกียง แล้วจุดถวายเป็นพุทธบูชาไว้รอบพระเจดีย์ทองนั้น ท่านเห็นแล้วเกิดศรัทธาอยากทำพุทธบูชานั้นบ้าง จึงให้ช่างทำถาดสัมฤทธิ์ใบใหญ่กว่าใบอื่นๆทั้งหมดที่วางรอบพระเจดีย์ทอง จากนั้นก็ให้ทำไส้ใหญ่ไว้ตรงกลางถาดและทำไส้เล็กๆพันไว้รอบขอบปากถาด แล้วจุดสว่างไสวถวายเป็นพุทธบูชา จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธันดรหนึ่ง

ในพุทธันดรนั้นท่านมาเกิดเป็นคนยากจน มารับใช้เป็นคนหาบหญ้าอยู่ในเรือนของเศรษฐีสุมนะ โดยที่มาทำหน้าที่หาบหญ้านั้นเองจึงทำให้มีชื่อว่า “อันนภาระ” (ผู้หาบของกิน) แม้จะเกิดในตระกูลยากจน แต่ท่านก็เป็นคนใจบุญ มักทำบุญอยู่เนืองๆเมื่อมีโอกาส วันหนึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้าอุปริฏฐะออกจากนิโรธสมาบัติ ตรวจดูคนที่ควรจะอนุเคราะห์ให้พ้นจากความจน ก็เห็นว่านายอันนภาระสมควรจะได้รับการอนุเคราะห์ เมื่อได้เวลาเหมาะสมจึงครองจีวรอุ้มบาตร เหาะจากภูเขาคันธมาทน์ตรงมายังประตูเรือนของนายอันนภาระ นายอันนภาระเห็นแล้วเกิดศรัทธา จึงได้ชวนภรรยาถวายอาหารบิณฑบาตให้พระปัจเจกพุทธเจ้าอุปริฏฐะฉัน และเมื่อฉันแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ได้กล่าวอนุโมทนาทานว่า ขอให้สิ่งที่ปรารถนาจงสำเร็จ และสิ่งที่นายอันนภาระปรารถนาก็คือ ขอให้ได้พ้นจากความยากจนในชาตินี้

นายอันนภาระทำบุญด้วยจิตเป็นมหากุศล คือ มี ศรัทธา มีปัญญา มีความยินดี เกิดขึ้นมาเองโดยไม่ต้องมีใครมาชักนำ ประกอบกับของที่ถวายทานก็บริสุทธิ์เกิดจากหยาดเหงื่อแรงงานของตนเอง และพระปัจเจกพุทธเจ้าที่มารับทานก็เป็นผู้บริสุทธิ์ จึงเป็นเหตุให้บุญส่งผลให้เกิดขึ้นเร็ว นั่นคือเทวดากล่าวคำอนุโมทนา เศรษฐีสุมนะได้ยินเทวดากล่าวคำอนุโมทนา จึงขอให้นายอันนภาระแบ่งส่วนบุญให้บ้าง จากนั้นเศรษฐีสุมนะก็มอบทรัพย์สมบัติให้เป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการตอบแทนความเสียสละของเขา เศรษฐียังเข้าเฝ้าพระเจ้าพาราณสีขอพระราชทานทรัพย์ให้นายอันนภาระด้วย พระเจ้าพาราณสีทรงพระกรุณาตามที่เศรษฐีสุมนะทูลขอ พร้อมทั้งรับสั่งให้เจ้าหน้าที่จัดหาที่สร้างบ้านเรือนให้แก่นายอันนภาระ เพื่อให้เหมาะสมกับความดีของเขา ขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังถากถางอยู่นั้น ปรากฏว่ามีขุมทรัพย์จำนวนมากปรากฏขึ้นมาให้เห็น พระเจ้าพาราณสีทรงเข้าพระทัยได้ดีว่าเป็นขุมทรัพย์ที่เกิดมาด้วยบุญของนายอันนภาระ จึงพระราชทานตำแหน่งเศรษฐีให้

ว่ากันว่าการที่นายอันนภาระชวนภรรยาถวายบิณฑบาตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งถือว่าเป็นความเสียสละอันสำคัญนั้น ก็เพราะว่าเมื่อถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว นายอันนภาระกับภรรยาก็ไม่มีอาหารจะทานในวันนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าอุปริฏฐะเองก็ทราบเรื่องนี้ดี แต่เป็นด้วยทราบดีว่าการทำบุญครั้งสำคัญครั้งนี้จะช่วยให้นายอันนภาระและภรรยาได้พ้นจากความยากจนทันตาเห็น ดังนั้น ท่านจึงมาเพื่ออนุเคราะห์เขา และเหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่ท่านให้พร คือ นายอันนภาระและภรรยาพ้นจากความยากจนหลังจากถวายทานไม่ทันข้ามวัน

เศรษฐีอันนภาระไม่ประมาทยังคงทำความดีอยู่อย่างต่อเนื่องจนสิ้นอายุ บุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ท่านมาเกิดเป็นโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนามาแต่อดีตชาติ ประกอบกับความสามารถในชาติปัจจุบัน ที่เมื่อออกบวชบำเพ็ญสมณธรรมแล้วมีตาทิพย์ พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านทิพจักขุดังกล่าวมาแล้ว


มีต่อ >>> ตอนที่ ๕๙
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 14 ต.ค.2009, 7:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๕๙ กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ


พระอานนท์ ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นเจ้าชายสุมนะ พระอนุชาต่างพระมารดาของพระพุทธเจ้าปทุมุตตระนั้นเอง เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุนันทะกับพระนางสุชาดา

ต่อมาเมื่อพระเชษฐาเสด็จออกบวชและได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เจ้าชายสุมนะในฐานะรัชทายาท ทรงได้รับมอบหมายจากพระราชบิดาให้เสด็จไปครองเมืองแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองหงสวดีประมาณ ๑๒๐ โยชน์ (๑,๙๒๐ กิโลเมตร) คราวหนึ่งที่เมืองชายแดนนั้นเกิดจลาจลขึ้น เจ้าชายสุมนะทรงปราบจลาจลนั้นได้สำเร็จ ความสามารถครั้งนั้นทำให้พระเจ้าสุนันทะพระราชบิดาทรงโปรดปรานมาก ถึงขนาดรับสั่งให้เข้าเฝ้าโดยด่วน

พระเจ้าสุนันทะพระราชทานพรให้พระราชโอรสทรงเลือกเอารางวัล ซึ่งพระองค์จะพระราชทานให้เป็นการตอบแทนความสามารถ เจ้าชายสุมนะทรงคิดเตรียมไว้พร้อมแล้วว่าจะทรงเลือกสิ่งใด ดังนั้นเมื่อพระราชบิดาทรงเปิดโอกาสให้ทรงเลือก จึงกราบทูลว่า

“ข้าแต่พระราชบิดา หม่อมฉันไม่ปรารถนารางวัลอย่างอื่น นอกจากจะทูลขอโอกาสอุปัฏฐากพระเจ้าพี่กับพระสาวกด้วยปัจจัยสี่สัก ๓ เดือน”

พระเจ้าสุนันทะนิ่งอึ้งด้วยทรงนึกไม่ถึงว่า พระราชโอรสจะทูลขออย่างนี้ เนื่องจากตลอดเวลาที่ผ่านมาพระองค์ทรงถวายอุปัฏฐากพระพุทธเจ้ามาตลอด พระองค์ไม่เต็มพระทัยที่จะให้ใครทูลขอโอกาสอย่างนี้ต่อพระองค์ แต่ครั้งนี้ทรงอ้ำอึ้ง ครั้นจะตรัสปฏิเสธก็เกรงจะทำให้พระราชโอรสเสียพระทัย จึงทรงบ่ายเบี่ยงให้พระราชโอรสไปทูลขอโอกาสจากพระพุทธเจ้าเอง

เจ้าชายสุมนะจึงกราบทูลลาไปเฝ้าพระเชษฐา ขณะนั้นพระพุทธเจ้าปทุมุตตระประทับอยู่ในพระคันธกุฎี เจ้าชายสุมนะจึงไม่ได้โอกาสเข้าเฝ้าทันที จนเมื่อได้รับการช่วยเหลือจากพระพุทธอุปัฏฐากชื่อ “พระสุมนะ” จึงสามารถเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าได้

พระสุมนะเป็นพระพุทธอุปัฏฐาก ทำหน้าที่ถวายการรับใช้พระพุทธเจ้าเป็นการส่วนพระองค์ ทำนองเป็นต้นห้องหรือเลขานุการ ใครก็ตามที่ต้องการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ขณะประทับอยู่ในพระคันธกุฎีหรือในที่หลีกเร้น ต้องแจ้งให้พระสุมนะทราบก่อน เพื่อท่านจะได้พิจารณาความเหมาะสม แล้วนำเข้ากราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ ส่วนการจะได้เข้าเฝ้าหรือไม่นั้นต้องอยู่ที่พระพุทธวินิจฉัย

ในกรณีของเจ้าชายสุมนะพระอนุชาก็เช่นกัน พระสุมนะได้รับเรื่องนำเข้าไปกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ พระพุทธเจ้าทรงตอบรับที่จะเสด็จออกมาพบ

เจ้าชายสุมนะทรงดีพระทัยมากที่ได้เข้าเฝ้าพระเชษฐา ในขณะเดียวกันก็ทรงเลื่อมใสในตัวพระสุมนะที่เป็นพระใกล้ชิดพระพุทธเจ้า และทรงเลื่อมใสในวิธีการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าของท่าน กล่าวคือพระสุมนะได้แสดงฤทธิ์ดำดินเข้าไปภายในพระคันธกุฎี และเวลากลับออกมาก็แสดงฤทธิ์เช่นเดียวกันดังนั้น เมื่อทูลนิมนต์ให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับที่เมืองชายแดนของตนตลอด ๓ เดือนได้แล้ว จึงทูลถามวิธีที่จะได้เป็นพระพุทธอุปัฏฐากอย่างพระสุมนะ ซึ่งทรงได้รับคำตอบว่าต้องให้ทานและรักษาศีล แล้วก็ทำบุญอย่างอื่นสนับสนุนจึงจะได้สมปรารถนา

เจ้าชายสุมนะ หลังจากเสด็จกลับไปเมืองชายแดนของพระองค์แล้ว ก็ทรงรับสั่งให้เตรียมการต้อนรับเสด็จพระพุทธเจ้าและพระสาวก พระองค์ทรงซื้ออุทยานของกฎุมพีโสภะมาสร้างเป็นวัดไว้ถวาย ในบริเวณวัดนั้นทรงรับสั่งให้สร้างพระคันธกุฎีสำหรับพระพุทธเจ้า และสร้างกุฎี โรงปะรำ พร้อมทั้งที่พักกลางคืนและที่พักกลางวันสำหรับพระสาวก ครั้นงานก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงส่งสารไปถวายพระราชบิดาให้ทูลนิมนต์พระเชษฐาเสด็จมาได้

ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงพร้อมกับพระสาวกแล้ว เจ้าชายสุมนะทรงถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ จากนั้นจึงกราบทูลถวายวัด เมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับและเสด็จเข้าไปประทับพร้อมด้วยพระสาวกแล้ว เจ้าชายสุมนะก็ถวายการอุปัฏฐากด้วยปัจจัย ๔

วันเข้าพรรษา หลังจากทรงชักชวนพระชายาและพระโอรส พระธิดา และบรรดาอำมาตย์ทำบุญแล้ว เจ้าชายสุมนะก็ได้ตรัสว่า

“ท่านทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสรรเสริญปฏิบัติบูชามากว่าอามิสบูชา ตลอด ๓ เดือนนี้ ฉันจะสละสมบัติทุกสิ่งแล้วถือศีล ๑๐ มีเพียงผ้านุ่งผ้าห่มติดตัว ขอท่านทั้งหลายช่วยกันถวายการอุปัฏฐากแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกอย่างที่ฉันทำนี้ด้วย”

เมื่อทรงมอบหมายภารกิจแด่ผู้ใกล้ชิดแล้ว เจ้าชายสุมนะก็ทรงเปลี่ยนเครื่องนุ่งห่มอย่างธรรมดา แล้วสมาทานรักษาศีล ๑๐ และประทับอยู่ในวัดนั้นเอง พระองค์ทรงใกล้ชิดกับพระสุมนะ ทรงเห็นวัตรปฏิบัติต่างๆ ของท่านที่ทำถวายพระพุทธเจ้าแล้วก็ยิ่งเกิดความเลื่อมใส และเพิ่มศรัทธาปรารถนาที่จะได้เป็นเช่นพระสุมนะนั้นบ้าง

เจ้าชายสุมนะทรงเก็บความปรารถนาไว้ในพระทัยตลอดเวลา ๓ เดือน ออกพรรษาแล้วจึงทรงแสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน ๗ วัน วันสุดท้ายหลังจากพระพุทธเจ้าและพระสาวกฉันเสร็จแล้ว พระองค์ได้ถวายผ้าไตรอีกรูปละ ๑ ชุด จากนั้นจึงกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบถึงความปรารถนาที่มีอยู่ และได้รับพุทธพยากรณ์คล้ายกับที่พระอสีติมหาสาวกรูปอื่นๆ ได้รับ คือ จักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดมในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า จักได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าโคดมจักตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านพุทธอุปัฏฐาก

เจ้าชายสุมนะได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้ว เกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญสนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้ากัสสปะ

ชาติที่พบพระพุทธเจ้ากัสสปะนั้น ท่านเกิดเป็นคนสามัญได้ถวายผ้ารองบาตรแด่พระเถระรูปหนึ่งด้วยจิตเลื่อมใส จากชาตินั้นบุญส่งผลให้ไปเกิดในสวรรค์จนมาถึงพุทธันดรหนึ่ง

ชาติหนึ่งในพุทธันดรนั้นท่านเกิดเป็นพระเจ้าพาราณสี ได้ทำบุญสำคัญคือสร้างศาลา ๘ หลังถวายพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ รูป พร้อมทั้งถวายการอุปัฏฐากด้วยปัจจัย ๔ อย่างดีจนตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ท่านได้มาเกิดเป็นโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะกับพระนางกีสาโคตมี ผู้เป็นพระญาติใกล้ชิดของพระพุทธเจ้า ครั้นออกบวชแล้วประมาณ ๔๕ ปี จึงได้บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนามาแต่อดีตชาติ ประกอบกับปัจจุบันชาติที่ทำหน้าที่พุทธอุปัฏฐากได้ดียิ่ง แม้จะเป็นเพียงแค่พระโสดาบัน พระพุทธเจ้าก็ทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านพุทธอุปัฏฐาก และอีก ๔ เอตทัคคะ คือ พหูสูต มีสติ (รอบคอบ) มีคติ (มีความเข้าใจได้หลายทางจากหลักอ้างอิงเพียงหลักเดียว) และมีธิติ (อดทน)


มีต่อ >>> ตอนที่ ๖๐
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง