Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พุทธศาสนสุภาษิต อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2006, 3:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หมวดที่ ๑๙
๏ เสวนาวรรค - หมวดคบหา


วิสฺสาสา ภยมนฺเวติ
เพราะความไว้ใจภัยจึงตามมา
ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๓๐

อติจิรํ นิวาเสน ปิโย ภวติ อปฺปิโย
เพราะอยู่ด้วยกันนานเกินไป คนที่รักกันก็มักหน่าย
ขุ.ชา.เตรส. ๒๗/๓๔๗

ยํ เว เสวติ ตาทิโส
คบคนใดก็เป็นเช่นคนนั้น
ว.ว.

ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส อมิเตเนว สพฺพทา
อยู่ร่วมกับคนพาลนำทุกข์มาให้เสมอไป เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู
ขุ.ธ. ๒๕/๔๒

ธีโร จ สุขสํวาโส ญาตีนํว สมาคโม
อยู่ร่วมกับปราชญ์นำสุขมาให้ เหมือนสมาคมกับญาติ
ขุ.ธ. ๒๕/๔๒

นิหียติ ปุริโส นิหีนเสวี
ผู้คบคนเลวย่อมเลวลง
องฺ.ติก. ๒๐/๑๕๘

ทุกฺโข พาเลหิ สงฺคโม
สมาคมกับคนพาลนำทุกข์มาให้
ขุ.ชา.นวก. ๒๗/๒๖๕

สุโข หเว สปฺปุริเสน สงฺคโม
สมาคมกับสัตบุรุษนำสุขมาให้
ขุ.ชา.ทุก. ๒๗/๕๕

น ปาปชนสํเสวี อจฺจนฺตสุขเมธติ
ผู้ไม่คบคนชั่ว ย่อมได้รับสุขส่วนเดียว
ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๔๖

สงฺเกเถว อมิตฺตสฺมึ มิตฺตสฺมิมฺปิ น วิสฺสเส
ควรระแวงในศัตรู แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ
ขุ.ชา.ทุก. ๒๗/๕๗

นาสฺมเส กตปาปมฺหิ
ไม่ควรไว้ใจคนทำบาป
ขุ.ชา.ทสก. ๒๗/๒๙๐

นาสฺมเส อลิกวาทิเน
ไม่ควรไว้ใจคนทำบาป
ขุ.ชา.ทสก. ๒๗/๒๙๐

นาสฺมเส อตฺตตฺถปญญมฺหิ
ไม่ควรไว้ใจคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
ขุ.ชา.ทสก. ๒๗/๒๙๐

อุทฺธโต จปโล ภิกฺขุ มิตฺเต อาคมฺม ปาปเก
สํสีทติ มโหฆสฺมึ อุมฺมิยา ปฏิกุชฺชิโต

ภิกษุมีใจฟุ้งซ่าน คลอนแคลน คบหาแต่มิตรชั่ว
ถูกคลื่นซัด ย่อมจมลงในห้วงน้ำใหญ่คือสังสารวัฏ
(อญฺญาโกณฺฑญฺญเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๘๓/๓๖๖

นิธีนํว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ
นิคฺคยฺหาวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช
ตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย

เห็นบัณฑิตใด ผู้มีปกติชี้ความผิดให้ ดุจผู้บอกขุมทรัพย์ให้
ซึ่งมีปกติกล่าวกำราบ มีปัญญา, พึงคบบัณฑิตเช่นนั้น,
เมื่อคบท่านเช่นนั้น ย่อมประเสริฐ ไม่เลวเลย
ขุ.ธ. ๒๕/๒๕

นิหียติ ปุริโส นิหีนเสวี น จ หาเยถ กทาจิ ตุลฺยเสวี
เสฏฺฐมุปนมํ อุเทติ ขิปฺปํ ตสฺมา อตฺตโน อุตฺตรึ ภเชถ

ในกาลไหนๆ ผู้คบคนเลว ย่อมเลว คบคนเสมอกัน ไม่พึงเสื่อม
คบหาคนประเสริฐ ย่อมพลันเด่นขึ้น เหตุนั้นควรคบคนที่สูงกว่าตน
องฺ.ติก. ๒๐/๑๕๘

ตครํ ว ปลาเสน โย นโร อุปนยฺหติ
ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ เอวํ ธีรูปเสวนา

คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้
แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด การคบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น
(โพธิสตฺต) ขุ.ชา.วีส. ๒๗/๔๓๗

ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺหติ
กุสาปิ ปูติ วายนฺติ เอวํ พาลูปเสวนา

คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา
แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด การคบคนพาลก็ฉันนั้น
(ราชธีตา) ขุ.ชา.มหา. ๒๘/๓๐๓

สทฺเธน จ เปสเลน จ ปญฺญวตา พหุสฺสุเตน จ
สขิตํ หิ กเรยฺย ปณฺฑิโต ภทฺโท สปฺปุริเสหิ สงฺคโม

บัณฑิตพึงทำความเป็นเพื่อนกับคนมีศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก
มีปัญญาและเป็นพหุสูต เพราะการสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ
(อานนฺทเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๔๐๕

ปสนฺนเมว เสเวยฺย อปฺปสนฺนํ วิวชฺชเย
ปสนฺนํ ปยิรุปา เสยฺย รหทํวุทกตฺถิโก

บุคคลควรคบผู้เลื่อมใสเท่านั้น ควรเว้นผู้ไม่เลื่อมใส
ควรเข้าไปนั่งใกล้ผู้เลื่อมใส เหมือนผู้ต้องการน้ำเข้าไปหาห้วงน้ำฉะนั้น
(โพธิสตฺต) ขุ.ชา.ปญฺญาส. ๒๘/๒๓
 

_________________
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2006, 3:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หมวดที่ ๒๐
๏ สามัคคีวรรค - หมวดสามัคคี


สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี
ความพร้อมเพรียงของหมู่ ให้เกิดสุข
ขุ.อิติ. ๒๕/๒๓๘

สมคฺคานํ ตโป สุโข
ความพร้อมเพรียงของผู้พร้อมเพรียงกัน ให้เกิดสุข
ขุ.ธ. ๒๕/๔๑

วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา อวิวาทญฺจ เขมโต
สมคฺคา สขิลา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี

ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้ว
เป็นผู้พร้อมเพรียง มีความรประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี
ขุ.จริยา. ๓๓/๕๙๕

สามคฺยเมวา สิกฺเขถ พุทฺเธเหตํ ปสํสิตํ.
สามคฺยรโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสติ

พึงศึกษาความสามัคคี, ความสามัคคีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว,
ผู้ยินดีในสามัคคี ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
ขุ.ชา.เตรส. ๒๗/๓๔๖

สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานญฺจนุคฺคโห
สมคฺครโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสติ

ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข และการสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกันเป็นสุข,
ผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรมย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
ขุ.อิติ. ๒๕/๒๓๘
 

_________________
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2006, 3:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หมวดที่ ๒๑
๏ ทานวรรค - หมวดทาน


นตฺถิ จิตฺเต ปสนฺนมฺห อปฺปกา นาม ทกฺขิณา
เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อยย่อมไม่มี
ขุ.วิมาน. ๒๖/๘๒

วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ
การเลือกให้ อันพระสุคตทรงสรรเสริญ
สํ.ส. ๑๕/๓๐

พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ
คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน
ขุ.ธ. ๒๕/๓๘

ททํ มิตฺตานิ คนฺถต
ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
สํ.ส. ๑๕/๓๑๖

ททมาโน ปิโย โหติ
ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๔๔

สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุขํ โส อธิคจฺฉติ
ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข
องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๔๕

เสฏฐนฺทโท เสฏฐมุเปติ ฐานํ
ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๕๖

อคฺคสฺมึ ทานํ ททตํ อคฺคํ ปุญฺญํ ปวทฺฒติ
อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ

เมื่อให้ทานในวัตถุอันเลิศ บุญอันเลิศ อายุ
วรรณะ ยศ เกียรติ สุข และ กำลังอันเลิศ ก็เจริญ
ขุ.อิติ. ๒๕/๒๙๙

อคฺคทายี วรทายี เสฏฺฐทายี จ โย นโร
ทีฆายุ ยสวา โหติ ยตฺถ ยตฺถูปปชฺชติ

ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ให้สิ่งที่ดี ให้สิ่งที่ประเสริฐ
ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศ ในภพที่ตนเกิด
องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๕๖

ปุพฺเพ ทานาทิกํ ทตฺวา อิทานิ ลภตี สุขํ
มูเลว สิญฺจิตํ โหติ อคฺเค จ ผลทายกํ

ให้ทานเป็นต้นก่อน จึงได้สุขบัดนี้
เหมือนรดน้ำที่โคนให้ผลที่ปลาย
สทฺทสารตฺถชาลินี

ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาคร
เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ

ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมยังสาครให้เต็มได้ฉันใด
ทานที่ให้แต่โลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่ผู้ละไปแล้วฉันนั้น
ขุ.ขุ. ๒๕/๑๐

โส จ สพฺพทโท โหติ โย ททาติ อุปสฺสยํ
อมตนฺทโท จ โส โหติ ธมฺมมนุสาสติ

ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง
ผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ
สํ.ส. ๑๕/๔๔

อนฺนโท พลโท โหติ วตฺถโท โหติ วณฺณโท
ยานโท สุขโท โหติ ทีปโท โหติ จกฺขุโท

ผู้ให้ข้าวชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้ผิวพรรณ
ผู้ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ
สํ.ส. ๑๕/๔๔

อเทยฺเยสุ อททํ ทานํ เทยฺเยสุ โย ปเวจฺฉติ
อาปาสุ พฺยสนํ ปตฺโต สหายํ อธิคจฺฉติ

ผู้ใดไม่ให้ทานในคนที่ไม่ควรให้ แต่ให้ทานในคนที่ควรให้
เมื่อประสบปัญหา ย่อมได้พบผู้ช่วยเหลือ
(โพธิสตฺต) ขุ.ชา.จตุกฺก. ๒๗/๑๒๙

อเทยฺเยสุ อททํ ทานํ เทยฺเยสุ โย ปเวจฺฉติ
อาปาสุ พฺยสนํ ปตฺโต สหายํ อธิคจฺฉนฺติ

ผู้ใดไม่ให้ทานในคนที่ไม่ควรให้ ย่อมให้ในคนที่ควรให้
ผู้นั้นประสบความเสื่อมเพราะอันตราย ย่อมได้สหาย
(โพธิสตฺต) ขุ.ชา.จตุกฺก. ๒๗/๑๒๙

อเทยฺเยสุ ททํ ทานํ เทยฺเยสุ นปฺปเวจฺฉติ
อาปาสุ พฺยสนํ ปตฺโต สหายํ นาธิคจฺฉติ

ผู้ใดให้ทานในบุคคลที่ไม่ควรให้ ไม่ให้ในคนที่ควรให้
ผู้นั้นถึงความเสื่อมเพราะอันตราย ย่อมไม่ได้สหาย
(โพธิสตฺต) ขุ.ชา.จตุกฺก. ๒๗/๑๒๙

มนาปทายี ลภเต มนาปํ อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ
วรสฺส ทาตา วรลาภี จ โหติ เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ

ผู้ให้ของชอบใจ ย่อมได้ของชอบใจ ผู้ให้ของเลิศ ย่อมได้ของเลิศ
ผู้ให้ของดี ย่อมได้ของดี ผู้ให้ของประเสริฐ ย่อมถึงฐานะอันประเสริฐ
อง.ปญฺจก. ๒๒/๕๖
 

_________________
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2006, 3:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หมวดที่ ๒๒
๏ สีลวรรค - หมวดศีล


สีลํ ยาว ชรา สาธุ
ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา
สํ.ส. ๑๕/๕๐

สฺขํ ยาว ชรา สีลํ
ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา
ขุ.ธ. ๒๕/๕๙

สีลํ กิเรว กลฺยาณํ
ท่านว่าศีลนั้นเทียวเป็นความดี
ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๒๘

สํวาเสน สีลํ เวทิตพฺพํ
ศีลพึงรู้ได้เพราะอยู่ร่วมกัน
นัย ขุ.อุ. ๒๕/๑๗๘

สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร
ความสำรวมในที่ทั้งปวงเป็นดี
สํ.ส. ๑๕/๑๐๖

สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี
ปราชญ์พึงรักษาศีล
ขุ.อิติ. ๒๕/๒๘๒

อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย

ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
(สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๘

อวณฺณญฺจ อกิตฺติญฺจ ทุสฺสีโล ลภเต นโร
วณฺณํ กิตฺตึ ปสํสญฺจ สทา ลภติ สีลวา

คนผู้ทุศีลย่อมได้รับความติเตียน และความเสียชื่อเสียง
ส่วนผู้มีศีลย่อมได้รับชื่อเสียงและความยกย่องสรรเสริญทุกเมื่อ
(สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๗

อิเธว กิตฺตึ ลภติ เปจฺจ สคฺเค จ สุมโน
สพฺพตฺถ สุมโน ธีโร สีเลสุ สุสมาหิโต

ผู้มีปรีชามั่นคงดีแล้วในศีล ย่อมได้รับชื่อเสียงในโลกนี้
จะไปแล้วย่อมดีใจในสวรรค์ ชื่อว่าย่อมดีใจในที่ทั้งปวง
(สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๘

สีลํ รกฺเขยฺย เมธาว ปตฺถยาโน ตโย สุเข
ปสํสํ วิตฺติลาภญฺจ เปจฺจ สคฺเค ปโมทนํ

ผู้มีปัญญาเมื่อปรารถนาสุขสามอย่าง คือความสรรเสริญ
ความได้ทรัพย์ และความละไปบันเทิงในสวรรค์ ก็พึงรักษาศีล
(สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๗

สีลวา หิ พหู มิตฺเต สญฺญเมนาธิคจฺฉติ
ทุสฺสีโล ปน มิตฺเตหิ ธํสเต ปาปมาจรํ

ผู้มีศีลย่อมได้มิตรมากด้วยความสำรวม
ส่วนผู้ไม่มีศีล ประพฤติชั่ว ย่อมแตกจากมิตร
(สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๗

สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ

ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์

สีลํ เสตุ มเหสกฺโข สีลํ คนฺโธ อนุตฺตโร
สีลํ วิเลปนํ เสฏฺฐํ เยน วาติ ทิโส ทิสํ

ศีลเป็นสะพานอันสำคัญ ศีลเป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า
ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐสุด เพราะศีล (มีกลิ่น) ขจรไปทั่วทุกทิศ

อุนฺนฬสฺส ปมตฺตสฺส พาหิราสสฺส ภิกฺขุโน
สีลํ สมาธิ ปญฺญา จ ปาริปูรึ น คจฺฉติ

เมื่อภิกษุมีมานะ ประมาทแล้ว มีความหวังในภายนอก,
ศีล สมาธิ และปัญญา ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์
(โสณโกฬิวิสเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๖๐

เตสํ สมฺปนฺนสีลานํ อปฺปมาทวิหารินํ
สมฺมทญฺญา วิมุตฺตานํ มาโร มคฺคํ น วินฺทติ

มารค้นหาอยู่ ย่อมไม่พบทางของท่านผู้มีศีลสมบูรณ์
อยู่ด้วยความไม่ประมาท หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ
ขุ.ธ. ๒๕/๒๒

สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ

ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
(สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๘

สีลํ เสตุ มเหสกฺโข สีลํ คนฺโธ อนุตฺตโร
สีลํ วิเลปนํ เสฏฺฐํ เยน วาติ ทิโส ทิสํ

ศีลเป็นสะพานอันมีศักดิ์ใหญ่ ศีลเป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า
ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ ซึ่งเป็นเครื่องขจรไปทั่วทุกทิศ
(สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๘
 

_________________
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2006, 3:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หมวดที่ ๒๓
๏ ปัญญาวรรค - หมวดปัญญา


นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี
สํ.ส. ๑๕/๕

ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต
ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
สํ.ส. ๑๕/๖๑

โยคา เว ชายตี ภูริ
ปัญญาเพียงดังแผ่นดินย่อมเกิด เพราะความประกอบโดยแท้
ขุ.ธ.๒๕/๕๒

อโยคา ภูริสงฺขโย
ความสิ้นไปแห่งปัญญาเพียงดังแผ่นดิน เพราะความไม่ประกอบ

สุโข ปญฺญาย ปฏิลาโภ
การได้เฉพาะซึ่งปัญญานำมาซึ่งความสุข
ขุ.ธ. ๒๕/๓๓/๕๙

ปญฺญา นรานํ รตนํ
ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน
สํ.ส. ๑๕/๕๐

ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย
ปัญญาเทียวประเสริฐกว่าทรัพย์
ขุ.เถร. ๒๖/๓๘๘/๓๗๙

นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
ความพินิจไม่มีแก่คนไร้ปัญญา (ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา)
ขุ.ธ. ๒๕/๖๕

นตฺถิ ปญฺญา อฌายโต
ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ
ขุ.ธ. ๒๕/๖๕

ปญฺญา เจนํ ปสาสติ
ปัญญาย่อมปกครองคนนั้น
สํ.ส. ๑๕/๑๗๕/๕๒

ปญฺญาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ
คนเกียจคร้านย่อมไม่ประสบทางแห่งปัญญา
ขุ.ธ. ๒๕/๓๐/๕๒

สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ
ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา
สํ.ส. ๑๕/๑๗๕/๕๒

ปญฺญายตฺถํ วิปสฺสติ
คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา
อง.สตฺตก. ๒๓/๓

ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ
คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา
ขุ.สุ. ๒๕/๓๖๑

ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลส วทนฺติ
คนฉลาดกล่าวว่าปัญญาแล ประเสริฐสุด
ขุ.ชา.สตฺตก. ๒๗/๕๔๑

ปญฺญาชีวีชีวิตมาหุ เสฏฺฐํ
ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุด
สํ.ส. ๑๕/๕๘, ๓๑๕ ขุ.สุ. ๒๕/๓๖๐

อทฺธา หิ ปญฺญาว สตํ ปสตฺถา
กนฺตา สิรี โภครตา มนุสฺสา
ญาณญฺจ พุทฺธานมตุลฺยรูปํ
ปญฺญํ น อจฺเจติ สิรี กทาจิ

แท้จริง สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญปัญญาเท่านั้น,
ศิริเป็นที่ใคร่ของ คนโง่ เพราะมนุษย์ทั้งหลายยินดีในโภคสมบัติ,
ก็ความรู้ของท่านผู้รู้ ทั้งหลาย ใครๆ ชั่งไม่ได้ ในกาลไหนๆ,
คนมีศิริย่อมไม่ล่วงเลยคน มีปัญญาไปได้ ไม่ว่าในกาลไหนๆ
(มโหสธโพธิสตฺต) ขุ.ชา.วีส. ๒๗/๔๒๘

คมฺภีรปญฺหํ มนสาภิจินฺตยํ นจฺจาหิตํ กมฺม กโรติ ลุทฺทํ
กาลาคตํ อตฺถปทํ น ริญฺจติ ตถาวิธํ ปญฺญวนฺตํ วทนฺติ

ผู้ขบคิดปัญหาอันลึกซึ้งด้วยใจ ไม่ทำกรรมชั่ว อันไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลเลย,
ไม่ละทางแห่งประโยชน์ที่มาถึงตามเวลา, บัณฑิตทั้งหลายเรียกคนอย่างนั้นว่า ผู้มีปัญญา
(สงฺภงฺคโพธิสตฺต) ขุ.ชา.จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๔๐

ทาโส ว ปญฺญาสฺส ยสสฺสิ พาโล อตฺเถสุ ชาเตสุ ตถาวิเธสุ
ยํ ปณฺฑิโต นิปุณํ สํวิเธติ สมฺโมหมาปชฺชติ ตตฺถ พาโล

คนเขลามียศศักดิ์ ก็เป็นทาสของคนมีปัญญา, เมื่อเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้น
คนฉลาดจัดการข้อใดได้แนบเนียน คนเขลาถึงความงมงายในข้อนั้น
(มโหสธโพธิสตฺต) ขุ.ชา.วีส. ๒๗/๔๒๘

ปญฺญวนฺตํ ตถาวาทึ สีเลสุ สุสมาหิตํ
เจโตสมถมนุยุตฺตํ ตํ เว วิญฺญู ปสํสเร

ผู้รู้ย่อมสรรเสริญคนมีปัญญา พูดจริง
ตั้งมั่นในศีล ประกอบความสงบใจนั้นแล
(มหากสฺสปเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๔๑๑

ปญฺญา สุตวินิจฺฉินี ปญฺญา กิตฺติโลกวฑฺฒนี
ปญฺญาสหิโต นโร อิธ อปิ ทุกฺเขสุ สุขานิ วินฺทติ

ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ฟังแล้ว ปัญญาเป็นเครื่องเพิ่มพูนเกีรยติคุณและชื่อเสียง
คนผู้ประกอบด้วยปัญญาในโลกนี้ แม้ในความทุกข์ก็หาความสุขได้
(มหากปฺปินเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๐

ปญฺญาย ติตฺตีนํ เสฏฺฐํ น โส กาเมหิ ตปฺปติ
ปญฺญาย ติตฺตํ ปุริสํ ตณฺหา น กุรุเต วสํ

บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญาประเสริฐ เพราะผู้อิ่มด้วยปัญญานั้น
ย่อมไม่เดือดร้อนด้วยกามทั้งหลาย, คนผู้อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาย่อมกระทำให้อยู่ในอำนาจไม่ได้
(โพธิสตฺต) ขุ.ชา.ทฺวาทส. ๒๗/๓๘๓

ส ปญฺญวา กามคุเณ อเวกฺขติ อนิจฺจโต ทุกฺขโต โรคโต จ
เอวํ วิปสฺสี ปชหาติ ฉนฺทํ ทุกฺเขสุ กาเมสุ มหพฺภเยสุ

ผู้มีปัญญานั้น ย่อมเล็งเห็นกามคุณเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นโรค,
ผู้เห็นอย่างนี้ ย่อมละความพอใจในกามอันเป็นทุกข์ เป็นภัยใหญ่ได้
(สรภงฺคโพธิสตฺต) ขุ.ชา.จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๔๒

ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ นกฺขตฺตราชาริว ตารกานํ
สีลํ สิรึ จาปิ สตญฺจ ธมฺโม อนฺวายิกา ปญฺญวโด ภวนฺติ

คนฉลาดกล่าวว่าปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ประเสริฐ
กว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไปตามผู้มีปัญญา
ขุ.ชา. ๒๗/๒๔๖๘/๕๔๑

ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถํ จรติ อตฺตโน
อตฺตโน จ ปเรสญฺจ หึสาย ปฏิปชฺชติ

คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน
ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียน ทั้งตนและผู้อื่น
ขุ.ชา. ๒๗/๑๒๒/๔๐

มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุข
จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ

ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย
ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย
ขุ.ธ. ๒๕/๓๑/๕๓
 

_________________
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 25 พ.ย.2006, 6:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หมวดที่ ๒๔
๏ ปกิณณกวรรค - หมวดเบ็ดเตล็ด


อจินฺติตมฺปิ ภวติ จินฺติตมฺปิ วินสฺสติ
น หิ จินฺตามยา โภคา อิตฺถิยา ปุริสสฺส วา

สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ ย่อมมีได้, สิ่งที่คิดไว้ ก็เสียหายได้,
โภคะของสตรีหรือบุรุษที่สำเร็จได้ด้วยนึกเอาไม่มีเลย
(มหาชนกโพธิสตฺต) ขุ.ชา.มหา. ๒๘/๑๖๗

อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา นตฺถิ กามา ปรํ ทุกฺขํ
เย กาเม ปฏิเสวนฺติ นิรยนฺเต อุปปชฺชเร

กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ทุกข์อันยิ่งกว่ากามไม่มี
ผู้ใดส้องเสพกาม ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก
(โพธิสตฺต) ขุ.ชา.เอกาทสก. ๒๗/๓๑๕

อพฺยาปชฺโฌ สิยา เอวํ สจฺจวาที จ มาณโว
อสฺมา โลกา ปรํ โลกํ เอวํ เปจฺจ น โสจติ

พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) และกล่าวคำสัตย์อย่างนี้
ละไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
ขุ.ชา.มหา. ๒๘/๓๓๒

อลโส คิหี กามโภคี น สาธุ อสญฺญโต ปพฺพชิโต น สาธุ
ราชา น สาธุ อนิสมฺมการี โย ปณฺฑิโต โกธโน ตํ น สาธุ

คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่ดี, บรรพชิตไม่สำรวม ก็ไม่ดี,
พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำ ไม่ดี, บัณฑิตมักโกรธ ก็ไม่ดี
(โพธิสตฺต) ขุ.ชา.วีส. ๒๗/๔๔๖

อสาเร สารมติโน สาเร จาสารทสฺสิโน
เต สารํ นาธิคจฺฉนฺติ มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา

ผู้เข้าใจสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ
เขามีความดำริผิดเป็นโคจร จึงไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ
ขุ.ธ. ๒๕/๑๖

อตีตํ นานุโสจนฺติ นปฺปชปฺปนฺติ นาคตํ
ปจฺจุปฺปนฺเนน ยาเปนฺติ เตน วณฺโณ ปสีทติ

บุคคลไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ใฝ่หาถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง,
ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น ผิวพรรณย่อมผ่องใส
สํ.ส. ๑๕/๗

อวนฏฺฐิตจิตฺตสฺส ลหุจิตฺตสฺส ทุพฺภิโน
นิจฺจํ อทฺธุวสีลสฺส สุขภาโว น วิชฺชติ

เมื่อมีจิตใจไม่หนักแน่น เป็นคนใจเบา มักประทุษร้ายมิตร
มีความประพฤติกลับกลอกเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีความสุข
(สิงฺคิลโพธิสตฺต) ขุ.ชา.จตุกฺก ๒๗/๑๔๒

อิตฺถีธุตฺโต สุราธุตฺโต อกฺขธุตฺโต จ โย นโร
ลทฺธํ ลทฺธํ วินาเสติ ตํ ปราภวโต มุขํ

คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน
ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้วๆ, ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย
สุ.ขุ. ๒๕/๓๔๗

อิตฺถี มลํ พฺรหฺมจริยสฺส เอตฺถายํ สชฺชเต ปชา
ตโป จ พฺรหฺมจริยญฺจ ตํ สินานมโนทกํ

หญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์ ประชาชนนี้ข้องอยู่ในหญิงนี้
ตบะและพรหมจรรย์เป็นเครื่องอาบ ไม่ใช่น้ำ
สํ.ส. ๑๕/๕๒

อุปนียติ ชีวิตมปฺปมายุ ํ ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา
เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขามาโน โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข

ชีวิตคืออายุอันน้อยนี้ ถูกชรานำเข้าไป เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว
ย่อมไม่มีเครื่องต้านทาน ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น มุ่งความสงบ พึงละโลกามิสเสีย
สํ.ส. ๑๕/๗๗

อุปสนฺโต อุปรโต มนฺตภาณี อนุทฺธโต
ธุนาติ ปาปเก ธมฺเม ทุมปตฺตํว มาลุโต

ผู้สงบ เว้นบาป ฉลาดมาก ไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมขจัดบาปธรรมเสียได้ เหมือนลมกำจัดใบไม้ฉะนั้น
(มหาโกฏฺฐิตเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๒๖๐

เอวญฺเจ สตฺตา ชาเนยฺยุ ํ ทุกฺขายํ ชาติสมฺภโว
น ปาโณ ปาณินํ หญฺเญ ปาณฆาตี หิ โสจติ

ถ้าสัตว์พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘ชาติสมภพนี้เป็นทุกข์’
สัตว์ก็ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้ฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศก
(รุกฺขเทวตาโพธิสตฺต) ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๖

น ปเรสํ วิโลมานิ น ปเรสํ กตากตํ
อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย กตานิ อกตานิ จ

ไม่ควรฟังคำก้าวร้าวของคนอื่น,
ไม่ควรมองดูการงานของคนอื่นที่เขาทำแล้วและยังไม่ได้ทำ,
ควรพิจารณาดูแต่การงานของตนที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำเท่านั้น
ขุ.ธ. ๒๕/๒๑

ปมาทํ ภยโต ทิสฺวา อปฺปมาทญฺจ เขมโต
ภาเวถฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ เอสา พุทฺธานุสาสนี

เห็นความประมาทเป็นภัย และเห็นความไม่ประมาทเป็นความปลอดภัยแล้ว
พึงเจริญมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นพุทธานุศาสนี
ขุ.จริยา. ๓๓/๕๙๕

ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ อปฺปิยานญฺจ ทสฺสนํ
ตสฺมา ปิยํ น กยิราถ ปิยาปาโย หิ ปาปโก

การไม่เห็นสิ่งที่รักเป็นทุกข์ และการเห็นสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์
เหตุนั้น จึงไม่ควรทำอะไรให้เป็นที่รัก เพราะความพรากจากสิ่งที่รัก เป็นการทราม
ขุ.ธ. ๒๕/๔๓

มจฺจุนพฺภาหโต โลโก ปริกฺขิตฺโต ชราย จ
หญฺญติ นิจฺจมตฺตาโณ ปตฺตทณฺโฑว ตกฺกโร

โลกถูกมฤตยูกำจัด ถูกชราล้อมไว้ ไม่มีผู้ต้านทาน
ย่อมเดือดร้อนเป็นนิตย์ ดุจคนต้องโทษต้องทำตามอาชญาฉะนั้น
(สิริมณฺฑเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๓๕

ยถาปิ มูเล อนุปทฺทเว ทฬฺเห ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปุนเรว รูหติ
เอวฺมปิ ตณฺหานุสเย อนูหเต นิพฺพตฺตติ ทุกฺขมิทํ ปุนปฺปุนํ

เมื่อรากยังมั่นคงไม่มีอันตราย ต้นไม้แม้ถูกตัด แล้วย่อมงอกได้อีกฉันใด
เมื่อตัณหานุสัยยังไม่ถูกกำจัดแล้ว ทุกข์นี้ย่อมเกิดร่ำไปฉันนั้น
ขุ.ธ. ๒๕/๖๐

โย ทุกฺขมทฺทกฺขิ ยโตนิทานํ กาเมสุ โส ชนฺตุ กถํ นเมยฺย
อุปธึ วิทิตฺวาน สงฺโคติ โลเก ตสฺเสว ชนฺตุ วินยาย สิกฺเข

ผู้ใดเห็นทุกข์ว่าเกิดเพราะกาม, ผู้นั้นจะพึงน้อม (จิต) ไปในกามได้อย่างไร,
ผู้รู้จักอุปธิว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว พึงศึกษาเพื่อกำจัดอุปธิเสีย
สํ.ส. ๑๕/๑๗๐

โย เว ตํ สหตี ชมฺมี ตณฺหํ โลเก ทุรจฺจยํ
โสกา ตมฺหา ปปตนฺติ อุทพินฺทุว โปกฺขรา

ผู้ใดครอบงำตัณหาลามก อันล่วงได้ยากในโลก
ความโศกทั้งหลายย่อมตกไปจากผู้นั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากใบบัวฉะนั้น
ขุ.ธ. ๒๕/๖๐

สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ

การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขุ.ธ. ๒๕/๓๙

สาธุ ธมฺมรุจี ราชา สาธุ ปญฺญาณวา นโร
สาธุ มิตฺตานมทฺทุพฺโภ ปาปสฺสากรณํ สุขํ

พระราชา ดีที่ทรงยินดีในธรรม, คน ดีที่มีปัญญา,
เพื่อน ดีที่ไม่ประทุษร้ายมิตร, สุข อยู่ที่ไม่ทำบาป
(โพธิสตฺต) ขุ.ชา.ปญฺญาส. ๒๘/๒๐

หิริโอตฺตปฺปญฺเญว โลกํ ปาเลติ สาธุกํ
หิริและโอตตัปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี

โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา
เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก

อรติ โลกนาสิกา
ความริษยาเป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย

อโรคฺยปรมา ลาภา
ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง

กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา
กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง

สพฺพญฺจ ปฐวึ ทชฺชา นากตญฺญุมภิราธเย
ถึงให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้

หนนฺติ โภคา ทุมฺเมธํ
โภคทรัพย์ ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม

สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ
สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย

นตฺถิ โลเก รโห นาม ปาปกมฺมํ ปกุพฺพโต
ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปกรรม ไม่มีในโลก

โภคา สนฺนิจยํ ยนฺติ
วมฺมิโกวูปจียติ

โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี
ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้น

รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ นฺ ชีรติ
ร่างกายของสัตร์ย่อยยับได้ แต่ชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ

อตีตํ นานฺราคเมยฺย
ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว

นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ
ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
 

_________________
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 25 พ.ย.2006, 6:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อักษรย่อชื่อคัมภีร์

องฺ. อฏฺฐก. .......... องฺคุตฺตรนิกาย อฏฺฐกนิปาต

องฺ. จตุกฺก. .......... องฺคุตฺตรนิกาย จตุกฺกนิปาต

องฺ. ฉกฺก. .......... องฺคุตฺตรนิกาย ฉกฺกนิปาต

องฺ. ติก. .......... องฺคุตฺตรนิกาย ติกนิปาต

องฺ. ทสก. .......... องฺคุตฺตรนิกาย ทสกนิปาต

องฺ. ปญฺจก. .......... องฺคุตฺตรนิกาย ปญฺจกนิปาต

องฺ. สตฺตก. .......... องฺคุตฺตรนิกาย สตฺตกนิปาต

ขุ. อิติ. .......... ขุทฺทกนิกาย อิติวุตฺตก

ขุ. อุ. .......... ขุทฺทกนิกาย อุทาน

ขุ. ขุ. .......... ขุทฺทกนิกาย ขุทฺทกปาฐ

ขุ. จริยา. .......... ขุทฺทกนิกาย จริยาปิฏก

ขุ. จู. :.......... ขุทฺทกนิกาย จูฬนิทฺเทส

ขุ. ชา. อฏฺฐก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก อฏฺฐกนิปาต

ขุ. ชา. อสีติ. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก อสีตินิปาต

ขุ. ชา. เอก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก เอกนิปาต

ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก จตฺตาฬีสนิปาต

ขุ. ชา. จตุกฺก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก จตุกฺกนิปาต

ขุ. ชา. ฉกฺก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก ฉกฺกนิปาต

ขุ. ชา. ตึส. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก ตึสนิปาต

ขุ. ชา. ติก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก ติกนิปาต

ขุ. ชา. เตรส. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก เตรสนิปาต

ขุ. ชา. ทฺวาทส. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก ทฺวาทสนิปาต

ขุ. ชา. ทสก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก ทสกนิปาต

ขุ. ชา. ทุก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก ทุกนิปาต

ขุ. ชา. นวก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก นวกนิปาต

ขุ. ชา. ปกิณฺณก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก ปกิณฺณกนิปาต

ขุ. ชา. ปญฺจก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก ปญฺจกนิปาต

ขุ. ชา. ปญฺญาส. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก ปญฺญาสนิปาต

ขุ. ชา. มหา. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก มหานิปาต

ขุ. ชา. วีส. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก วีสนิปาต

ขุ. ชา. วีสติ. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก วีสตินิปาต

ขุ. ชา. สฏฺฐิ. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก สฏฺฐินิปาต

ขุ. ชา. สตฺตก. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก สตฺตกนิปาต

ขุ. ชา. สตฺตติ. .......... ขุทฺทกนิกาย ชาตก สตฺตตินิปาต

ขุ. เถร. .......... ขุทฺทกนิกาย เถรคาถา

ขุ. เถรี. .......... ขุทฺทกนิกาย เถรีคาถา

ขุ. ธ. .......... ขุทฺทกนิกาย ธมฺมปท

ขุ. ปฏิ. .......... ขุทฺทกนิกาย ปฏิสมฺภิทามคฺค

ขุ. พุ. .......... ขุทฺทกนิกาย พุทฺธวํส

ขุ. มหา. .......... ขุทฺทกนิกาย มหานิทฺเทส

ขุ. วิ. .......... ขุทฺทกนิกาย วิมานวตฺถุ

ขุ. เปต. .......... ขุทฺทกนิกาย เปตวตฺถุ

ขุ. สุ. .......... ขุทฺทกนิกาย สุตฺตนิปาต

ที. ปาฏิ. .......... ทีฆนิกาย ปาฏิกวคฺค

ที. มหา. .......... ทีฆนิกาย มหาวคฺค

ม. อุป. .......... มชฺฌิมนิกาย อุปริปณฺณาสก

ม. ม. .......... มชฺฌิมนิกาย มชฺฌิมปณฺณาสก

วิ. จุล. .......... วินยปิฎก จุลฺลวคฺค

วิ. ภิ. .......... วินยปิฎก ภิกฺขุนีวิภงฺค

วิ. มหา. .......... วินยปิฎก มหาวคฺค

วิ. มหาวิภงฺค. .......... วินยปิฎก มหาวิภงฺค

สํ. นิ. .......... สํยุตฺตนิกาย นิทานวคฺค

สํ. มหา. .......... สํยุตฺตนิกาย มหาวารวคฺค

สํ. ส. .......... สํยุตฺตนิกาย สคาถวคฺค

สํ. สฬ. .......... สํยุตฺตนิกาย สฬายตนวคฺค

ส. ม. .......... สวดมนต์ฉบับหลวง

ร.ร.๔ .......... พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๔

ว.ว. .......... สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

ส.ฉ. .......... สมเด็จพระสังฆราช (ฉิม)

ส.ส. .......... สมเด็จพระสังฆราช (สา)


สาธุ สาธุ สาธุ ขอขอบพระคุณที่มาของเนื้อหา ::
หนังสือ พุทธศาสนสุภาษิต
มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (มมร.)
 

_________________
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง