Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อารมณ์ซึ่งเกิดแก่ผู้ปฏิบัติกรรมฐาน แล้วไม่รู้จักวิธีแก้ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ธ.ค.2006, 7:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-การทำกรรมฐานไม่ว่ารูปแบบใด ควรมีการจงกรมร่วมด้วย เพื่อให้เป็นไปตามหลักธรรมชาติ คือ การ ยืน เดิน นั่ง นอน ได้มีการเคลื่อนไหวสมดุลกัน

โดยทั่วๆไป ผู้ซึ่งมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เพราะมีการบริหารอิริยาบถนี้ให้อยู่สภาพที่เหมาะสม
-หากนอนอย่างเดียว หรือ เดินอย่างเดียว หรือนั่งอย่างเดียว ไม่ลุกขึ้นมาเดินเสียบ้าง เป็นต้น
คงล้มป่วย หรือ เป็นอัมพาตแน่ ๆ แม้ไม่ถึงกับขนาดดังกล่าว ก็ทำให้ร่างกายขาดภูมิต้านทานโรค ร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยได้ง่าย...โดยทั่วๆ ไป ก็มองเห็นได้ง่ายๆอย่างนี้..

-แต่ความมุ่งหมายโดยตรงของการเดินจงกรมในการปฏิบัติกรรมฐาน ก็คือ ปรับระดับอินทรีย์ หรือรักษาระดับอินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ แล้วปัญญา).... ซึ่งเป็นองค์ธรรมสำคัญในการปฏิบัติกรรมฐาน ให้ทำงานสม่ำเสมอสมดุลกัน แต่ก็มีอานิสงส์ในการเดินนั้นอย่างเด่นชัด ๕ อย่าง....

-ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคพูดถึงการปรับอินทรีย์ดังนี้
-คัมภีร์วิสุทธิมรรค กล่าวถึงการถึงความสำคัญของการปรับอินทรีย์ทั้งหลายเสมอกัน โดยย้ำว่าถ้าอินทรีย์อย่างหนึ่งอย่างใดแรงกล้าเกินไป และอินทรีย์อื่นอ่อนอยู่ อินทรีย์เหล่านั้นก็จะเสียความสามารถในการทำหน้าที่ของตน เช่น ถ้าศรัทธาแรงไป วิริยะก็ทำหน้าที่ยกจิตไม่ได้ สติก็ไม่สามารถดูแลจิต สมาธิก็ไม่สามารถทำจิตให้แน่ว ปัญญาก็ไม่สามารถเห็นตามเป็นจริง ฯลฯ

-ตามหลักทั่วไป ท่านให้ปรับอินทรีย์เสมอกันเป็นคู่ๆ คือ ให้
ศรัทธาสมหรือ เสมอกับปัญญา
และให้สมาธิสมหรือ เสมอกับวิริยะ
ถ้าศรัทธากล้า ปัญญาอ่อน ก็อาจเลื่อมใสในสิ่งที่ไม่น่าเลื่อมใส
ถ้าปัญญากล้าศรัทธาอ่อน ก็จะเอียงไปข้างอวดดีเป็นคนแก้ไขไม่ได้เหมือนโรคเกิดจากยาเสียเอง

ถ้าสมาธิกล้า วิริยะอ่อน โกสัชชะ คือ ความเกียจคร้านก็เข้าครอบงำ เพราะสมาธิเข้าพวกกันได้กับโกสัชชะ
แต่ถ้าวิริยะแรง สมาธิอ่อน ก็เกิดความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ เพราะวิริยะเข้าพวกกันได้กับอุทธัจจะ

-เมื่ออินทรีย์ ๒ คู่นี้เสมอกันดี การปฏิบัติธรรมก็เดินหน้าได้ผลดี
ส่วนสติเป็นข้อยกเว้น ท่านว่าสติมีกำลังก็ยิ่งดี มีแต่จะช่วยองค์ธรรมอื่นๆ ได้ดียิ่งขึ้น ช่วยรักษาจิตไม่ให้ตกไปทั้งข้างอุทธัจจะและข้างโกสัชชะ
การยกจิตข่มจิตต้องอาศัยสติทั้งนั้น
สติมีประโยชน์ต้องใช้ทุกกรณี และสติเป็นที่พึ่งที่อาศัยของใจ.....

อินทรีย์ ๕ จับ คู่กัน ดังนี้
สติไม่จำกัดยิ่งมากยิ่งดี ในทางปฏิบัติสติเกิดขึ้นจากการกำหนดอารมณ์ต่างๆ....เหตุใกล้ชิดที่จะให้เกิดสติ ก็คือสัญญา (การกำหนดหมาย) ที่มั่นคง หรือ สติปัฏฐานชนิดต่างๆ
ศรัทธา+ ปัญญา
วิริยะ+สมาธิ
คู่ธรรมที่สำคัญในการปฏิบัติกรรมฐาน คือ วิริยะกับสมาธิ
โยคีพึงสังเกตว่าขณะใดจิตใจว่องไวปราดเปรียวค่อนข้างควบคุมยาก ท่านว่า ให้นั่งกำหนดอารมณ์ พองหนอ ยุบหนอ...ให้มากกว่าเดินจงกรม
เพราะนั่งภาวนาพองหนอ ยุบหนอ....จะเพิ่มสมาธิ (ความตั้งมั่น) ร่างกายอืดอาด รู้สึกหนักๆ ไม่กระกระฉับกระเฉง และบีบรัดกล้ามเนื้อ.... จิตจะไม่ค่อยฟุ้งซ่าน
ส่วนการเดินจงกรมเพิ่มวิริยะ (ความเพียรขยัน) ทำให้ร่างกายและจิตใจเบาคล่องแคล่ว
ดูหลักเดินจงกรมได้ที่....
http://larndham.net/index.php?showtopic=21157&st=165
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ธ.ค.2006, 6:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สัมมาธรรมฤทธิ์ [@: 28 พ.ย. 49 14:01 ]
ที่คุณกรัชกายได้ให้ผมอธิบาย คำที่ผมเขียนไปข้างล่างนี้
คำบางคำ สามารถ ทำให้จิตนิ่ง จิตระลึกรู้ จิตมีความรู้ตัวได้ เหมือนสะกดจิตของตนเอง
เช่น หนอ น่ะ พุทโธ
ผมขออธิบายดังนี้ครับ
.....
http://larndham.net/index.php?showtopic=23134&st=64


ตอบให้แล้วดังนี้.....
http://larndham.net/index.php?showtopic=23134&st=72
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ธ.ค.2006, 6:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทุกข์เป็นฐานให้เกิดแรงเร่งในการทำกิจ ๓ แบบ คือ

๑. ทำการเพราะถูกทุกข์บีบ
-ได้แก่ พวกที่หลงใหลเพลิดเพลินอยู่ในความสุขสบาย ปล่อยปละละเลยกิจ เพลิดเพลินมัวเมา ไม่คิดถึงความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย รอจนกระทั่งภัยมาถึงตัวเกิดความเดือดร้อนและจำเป็นขึ้นแล้ว จึงรีบทำการรีบแก้ไข หรือปรับปรุงเฉพาะหน้า ซึ่งทันการบ้างไม่ทันการบ้าง

๒. ทำการเพราะกลัวความทุกข์
- ได้แก่ พวกที่หวาดระแวง หวั่นต่อภัยอันตราย ความทุกข์ ความเดือดร้อนที่ยังไม่มาถึง จึงเร่งรีบแก้ไขปรับปรุงและทำการต่างๆ ที่เห็นว่าควรทำ เพื่อป้องกันภัยหรือความทุกข์ คือความเสื่อมความพินาศเป็นต้น และสร้างเสริมความเจริญก้าวหน้ามั่นคง ซึ่งการที่ทำก็มักสำเร็จได้ผลดี แต่เป็นไปด้วยจิตใจที่มีความเร่าร้อนกระวนกระวาย
พูดง่าย ๆว่า กลัวความทุกข์ แล้วก็ทุกข์เพราะความกลัว และทำการเพราะถูกความกลัวบีบอีกต่อหนึ่ง

๓. ทำการด้วยความรู้ทุกข์
-ได้แก่ พวกที่คิดจัดการกับทุกข์ที่อาจเกิดมีข้างหน้าด้วยปัญญา มิใช่หวาดผวาด้วยความหวั่นกลัว กล่าวคือ รู้เท่าทันสภาวะที่จะต้องเป็นไปตามไตรลักษณ์ เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงและความทุกข์หรือ ปัญหาที่อาจเกิดมีในภพหน้า จึงใช้ปัญญาศึกษาพิจารณาเหตุปัจจัยในกระบวนการแห่งความเปลี่ยนแปลง แล้วอาศัยความรู้ในวิถีแห่งอนิจจตาและโอกาสที่อำนวยโดยอนัตตา
-กำหนดเอาทางเลือกแห่งความเปลี่ยนแปลงที่พึงปรารถนาหรือที่ดีกว่า พร้อมทั้งใช้ความรู้ในประสบการณ์ส่วนอดีตเป็นบทเรียน แล้วเร่งรัดปรับปรุงแก้ไข และทำการต่างๆ เพื่อตัดทางมิให้ทุกข์เข้ามาครอบงำตน หรือบรรเทาเสีย ตลอดจนแบนให้เป็นไปในทางที่ดีงามเจริญก้าวหน้า เท่าที่เป็นไปได้ ทำให้สามารถป้องกันทุกข์หรือทำตนให้ปลอดทุกข์ข้างหน้าเท่าที่อยู่ในวิสัยด้วย และทั้งปลอดโปร่งผ่องใสไม่มีทุกข์ ไม่หวาดหวั่นกระวนกระวายในขณะกำลังทำการด้วย.
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สุรพงษ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ธ.ค.2006, 6:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อย่าลืมเรื่องศีลนะครับ เมื่อปฏิบัติพบอุปสรรค ลองสำรวจศีลของตนดูว่าบริสุทธิแค่ไหน หลักไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลไม่บริสุทธิ สัมมาสมาธิย่อมไม่เกิดเพียงพอให้ได้ปัญญา
ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ท่าน
 
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ธ.ค.2006, 9:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-คำว่า “วิปัสสนา” เดี๋ยวนี้พูดถึงกันบ่อยๆ ทำอะไร ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางศาสนา บ้างก็ว่าวิปัสสนา......ทำอะไรประหลาดๆ ก็ว่าเป็นวิปัสสนาเช่น..... ..มีการเข้าคอร์ส นั่งวิปัสสนามีการกำหนดจิต ถอดจิต เขย่าตัว ท่องสวรรค์ ทัวร์นรก และอะไร....ที่ดูแปลก ๆ อีก
มาจากนี่....
http://larndham.net/index.php?showtopic=23380&st=0


-เนื้อความข้างบนเคยปรารภวิปัสสนาแท้ๆ ซึ่งเป็นของดั้งเดิมคือดับทุกข์พ้นทุกข์ได้ไว้ และวิปัสสนาแปลกประหลาดไว้ด้วย

-วันนี้ได้ข้อมูลของบุคคลผู้นำวิปัสสนาประหลาดๆ นั้นมาเผยแพร่สอนผู้คน...ลองดูเว็บข้างล่าง...
http://www.siripong.net/index6.php

-ดูแล้วผุ้คนให้ความสนใจเยอะพอสมควร เพราะสอนสื่อถึงนรกสวรรค์ซึ่ งติดปากติดใจคนไทยมาแต่โบราณกาลแล้ว...

เมื่อมีผู้นำหรือเจ้าลัทธิออกมาประกาศวิปัสสนาใหม่เช่นนี้ ผู้คนจึงยอมและลองทำกันดู....คงได้ชื่นชมภาพสวรรค์ นรก ตามจินตนาการของแต่ละคนๆสมใจปอง.... ยิ้มเห็นฟัน

-ชื่อซ้ำกับวิปัสสนาของเดิมนี่สิจะยุ่ง ต่อไปพุทธศาสนิกชนจะแยกแยะไม่ออกว่า วิปัสสนาไหนจริงไหนปลอม

-เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นที่สังเกตชัดๆ จึงตั้งวิปัสสนาของคนบุคคลผู้นี้ว่า "วิปัสสนานาโนสารพัดนึก" ขยายความว่า นั่งนึกถึงสารพัดอย่างสารพัดชนิดมีนรก สวรรค์ เป็นต้น...

สารพัดนึกอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้นำลัทธินั่งนึกว่าอยากได้อะไร อยากกินอะไร ก็สั่งสาวกให้จัดหามาให้ โดยไม่ต้องไปทำเองหาเอง เพียงแค่นึกๆ เอาก็สำเร็จสมประสงค์ตรงใจปอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ธ.ค.2006, 8:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์

-ทั้งที่ความเป็นอนิจจัง ทุกข์ และอนัตตา นี้ เป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นความจริงที่แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดาตลอดทุกเวลา แต่คนทั่วไปก็มองไม่เห็น ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่งปิดบังคอยซ่อนคลุมเหล่านี้ คือ
๑.สันตติ บังอนิจจลักษณะ
๒.อริยาบถ บังทุกขลักษณะ
๓.ฆนะ บังอนัตตลักษณะ

พิจารณาความหมายทีละข้อๆ ว่าสิ่งทั้ง ๓ นั้นปิดบังไตรลักษณ์อย่างไร และมนุษย์มองไม่เห็นอริยะสัจอย่างไร โดยเฉพาะทุกขอริยะสัจ ซึ่งมีเค้ามูลมาจากตัณหา (สมุทัย) เมื่อตัณหาไม่ดับ นิโรธจึงไม่เกิด....

๑. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความเกิดและความดับ หรือความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไปก็ถูก สันตติ คือความสืบต่อหรือความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปิดบังไว้ อนิจจลักษณะจึงไม่ปรากฏ

- สิ่งทั้งหลายที่เรารู้เห็นนั้นล้วนแต่มีความเกิดขึ้นและความแตกสลายอยู่ภายในตลอดเวลา แต่ความเกิดดับนั้นเป็นไปอย่างหนุนเนื่องติดต่อกันรวดเร็วมาก คือ เกิด-ดับ-เกิด-ดับ-เกิด-ดับ ฯลฯ ความเป็นไปต่อเนื่องอย่างรวดเร็วยิ่งนั้น ทำให้เรามองเห็นเป็นว่า สิ่งนั้นคงที่ถาวร เป็นอย่างหนึ่งอย่างเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง

- แต่ความเป็นจริงความเปลี่ยนแปลนั้นเกิดขึ้นตลอดเวลาทีน้อยและต่อเนื่องจนไม่เห็นของว่าง ตัวอย่างเปรียบเทียบพอให้เห็นง่ายขึ้น เช่น ใบพัดที่กำลังหมุนอยู่อย่างเร็วยิ่ง มองเห็นเป็นแผ่นกลมแผ่นเดียวนิ่ง เมื่อทำให้หมุนช้าลง ก็เห็นเป็นใบพัดกำลังเคลื่อนไหวแยกเป็นใบ ๆ เมื่อจับหยุดมองดูก็เห็นชัดว่า เป็นใบพัดต่างหากกัน ๒ ใบ ๓ ใบ หรือ ๔ ใบ ฯลฯ
-ดังตัวอย่างนี้ เมื่อใช้เครื่องมือ หรือวิธีการที่ถูกต้องมากำหนดแยกมนสิการเห็นความเกิดขึ้นและความดับไป จึงจะประจักษ์ความไม่เที่ยงแท้ ไม่คงที่ เป็นอนิจจัง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ธ.ค.2006, 11:14 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ธ.ค.2006, 8:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๒. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้นกดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา ก็ถูกอิริยาบถ คือ ความยักย้ายเคลื่อนไหว ปิดบังไว้ ทุกขลักษณะจึงไม่ปรากฏ...

- ภาวะที่ทนอยู่มิได้ หรือภาวะที่คงสภาพเดิมอยู่มิได้ หรือ ภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้ ด้วยแรงบีบคั้นกดดันขัดแย้งเร้าอยู่ภายในส่วนประกอบต่างๆ นั้นจะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตา หรือความรู้สึกของมนุษย์ มักจะต้องกินเวลาระยะหนึ่ง

-แต่ในระหว่างนั้น ถ้ามีการคืบเคลื่อนยักย้ายหรือทำให้แปรรูปเป็นอย่างอื่น ไปเสียก่อนก็ดี สิ่งที่ถูกสังเกตเคลื่อนย้ายพ้นจากผู้สังเกตไปเสียก่อนก็ดี ภาวะที่บีบคั้นกดดันขัดแย้งนั้น ก็ไม่ทันปรากฏให้เห็น ปรากฏการณ์ส่วนใหญ่มักเป็นไปเช่นนี้ ทุกขลักษณะจึงไม่ปรากฏ

-ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ ในร่างกายของมนุษย์นี้แหละไม่ต้องรอให้ถึงขั้นชีวิตแตกดับดอก แม้ในชีวิตประจำวันนี้เอง ความบีบคั้นกดดันขัดแย้งก็มีอยู่ตลอดเวลาทั่วองคาพยพ จนทำให้มนุษย์ไม่อาจอยู่นิ่งในท่าเดียวได้
ถ้าเราจะอยู่หรือต้องอยู่ในท่าเดียวนานมากๆ เช่น ยืนอย่างเดียว นั่งอย่างเดียว เดินอย่างเดียว นอนอย่างเดียว ความบีบคั้นกดดันตามสภาวะจะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นๆ จนถึงระดับที่เกิดเป็นความรู้สึกบีบคั้นกดดันที่คนทั่วไปเรียกว่าเป็นทุกข์ เช่น เจ็บปวดเมื่อย จนในที่สุดก็จะทนไม่ไหว และต้องยักย้ายเปลี่ยนไปสู่ท่าอื่นที่เรียกอิริยาบถอื่น

-เมื่อความบีบคั้นกดดันอันเป็นทุกข์ตามสภาวะนั้นสิ้นสุดลง ความรู้สึกบีบคั้นกดดันที่เรียกว่าความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา) ก็หายไปด้วย

(ในตอนที่ความรู้สึกทุกข์หายไปนี้ มักจะมีความรู้สึกสบายที่เรียกว่า ความสุขเกิดขึ้นมาแทนด้วย แต่อันนี้เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ว่าโดยสภาวะแล้ว มีแต่ความทุกข์หมดไปอย่างเดียว เข้าสู่ภาวะปราศจากทุกข์)

- ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่ง หรือ อิริยาบถหนึ่งนานๆ พอจะรู้สึกปวดเมื่อยเป็นทุกข์ เราก็ชิงเคลื่อนไหวเปลี่ยนไปสู่ท่าอื่น หรือ อิริยาบถอื่นเสีย หรือ เรามักจะเคลื่อนไหวเปลี่ยนท่าเปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ จึงหนีรอดจากความรู้สึกทุกข์ไปได้ เมื่อไม่รู้สึกทุกข์ ก็เลยพลอยมองข้ามไม่เห็นความทุกข์ที่เป็นความจริงตามสภาวะไปเสียด้วย ท่านจึงว่า อิริยาบถบังทุกขลักษณะ

-ข้อนี้มีส่วนสำคัญไม่น้อย คือว่า เมื่อโยคีหนึทุกข์บ่อย ๆ ก็เท่ากับว่า หนีสภาวะทุกขอริยสัจ คือไม่สามารถจะล่วงทุกข์สภาวะไปได้ เมื่อไม่เข้าใจทุกข์สภาวะ จึงไม่กำหนดรู้ทุกข์ ก็จึงไม่เห็นว่าต้นเหตุของทุกข์ว่าคือตัณหา หรือ สมุทัย เป็นดังนี้นิโรธจึงไม่เกิด คือไม่ทำนิโรธให้แจ้ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ธ.ค.2006, 11:13 am, ทั้งหมด 3 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ธ.ค.2006, 8:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๓. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความแยกย่อยออกไปเป็นธาตุต่างๆ ก็ถูก ฆนะ คือความเป็นแท่งเป็นก้อนเป็นชิ้นเป็นอันเป็นมวลหรือเป็นหน่วยรวม ปิดบังไว้ อนัตตลักษณะจึงไม่ปรากฏ
- สิ่งทั้งหลายที่เรียกชื่อว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ล้วนเกิดจากเอาส่วนประกอบทั้งหลายมารวบรวมปรุงแต่งขึ้น เมื่อแยกย่อยส่วนประกอบเหล่านั้นออกไปแล้ว สิ่งที่เป็นหน่วยรวมซึ่งเรียกว่าอย่างนั้นๆ ก็ไม่มี

- โดยทั่วไป มนุษย์มองไม่เห็นความจริงนี้ เพราะถูก ฆนสัญญา คือความจำหมายหรือความสำคัญหมายเป็นหน่วยรวมคอยปิดบังไว้ เข้ากับคำกล่าวอย่างชาวบ้านว่า เห็นเสื้อแต่ไม่เห็นผ้า เห็นแต่ตุ๊กตามองไม่เห็นเนื้อยาง
คือ คนที่ไม่ได้คิด ไม่ได้พิจารณาบางทีก็ถูกภาพตัวตนของเสื้อปิดบังตาหลอกไว้ ไม่ได้มองเห็นเนื้อผ้าที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นรูปเสื้อนั้น ซึ่งว่าที่จริงผ้านั้นเองก็ไม่มี มีแต่เส้นด้ายมากมายที่มาเรียงกันเข้าตามระเบียบ ถ้าแยกด้ายทั้งหมดออกจากกัน ผ้านั้นเองก็ไม่มี

-หรือ เด็กที่มองเห็นแต่รูปตุ๊กตา เพราะถูกภาพตัวตนของตุ๊กตาปิดบังหลอกตาไว้ ไม่ได้มองถึงเนื้อยางซึ่งเป็นสาระที่แท้จริงของตัวตุ๊กตานั้น เมื่อจับเอาแต่ตัวจริง ก็มีแต่เนื้อยาง หามีตุ๊กตาไม่ แม้แต่เนื้อยางเองก็เกิดจากส่วนผสมต่างๆ มาปรุงแต่งขึ้นต่อๆกันมา
-ฆนสัญญา ย่อมบังอนัตตลักษณะไว้ในทำนองแห่งตัวอย่างง่ายๆ ที่ได้ยกมากล่าวไว้นี้ เมื่อใช้อุปกรณ์ หรือวิธีการที่ถูกต้องมาวิเคราะห์มนสิการเห็นความแยกย่อยออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ จึงจะประจักษ์ในความมิใช่ตัวตน มองเห็นว่าเป็นอนัตตา.


“ร่างนี้ ไม่มีใครสร้าง ตัวนี้ไม่มีใครบันดาล อาศัยเหตุมันก็เกิดมี เพราะเหตุสลายมันก็ดับไป เม็ดพืช อย่างใดอย่างหนึ่งที่เขาหว่านในนา อาศัยรสในแผ่นดินและยางในเมล็ดพืชสองอย่างนี้ ก็ย่อมงอกงามขึ้นได้ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ประดาขันธ์ ธาตุทั้งหลาย และอายตนะทั้ง ๖ เหล่านี้ อาศัยเหตุย่อมเกิดมี เพราะเหตุสลาย ก็ย่อมดับไป”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ธ.ค.2006, 10:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขัมธ์ [ @ 07 ธ.ค. 49 08:52 ]
อนุโมทนาค่ะ คุณอนุตตริยะ
ยินดีมากค่ะ ที่ได้รับการตอบกระทู้ ถึงแม้ว่าจะเป็นการตั้งคำถามกลับก็ตาม
เวลานั่งสมาธิ(ภาวนาแบบ พองหนอ-ยุบหนอ) มักจะมีอาการ หยุดหายใจ หยุดภาวนา ไม่ได้ยินเสียงใด ๆ แต่เป็นไม่นานจะเป็นชั่วขณะ แล้วก็กลับมาหายใจ ภาวนา ได้ยินเสียงเหมือนเดิมค่ะ อยากทราบว่า
อาการที่เป็นเรียกว่าอะไรคะ?
และควรแก้ไขอย่างไร?
(ขออภัยนะคะ หากคำถามทำให้งงเพราะขัมธ์เองก็งง...)
http://larndham.net/index.php?showtopic=23553&st=3

........
คำตอบเว็บข้างบน
-สมมุติว่า เรากำลังเดินทางไปสู่สถานที่แห่งหนึ่ง ริมทางเดินเต็มไปด้วยพันธ์ไม้นานาชนิดหลากสีสัน ส่งกลิ่นหอมตลบอบอวน ฯลฯ บางพันธ์เรารู้จักก็ผ่านไปโดยไม่คิดสงสัยอะไร

- แต่บางสายพันธ์...ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย จึงนึกสงสัยว่า ดอกอะไรนะ สวยด้วยกลิ่นหอมด้วย ฯลฯ....คิดข้องวนอยู่กับสิ่งนั้นเป็นนานสองนาน สลัดไม่ออกสักที
เดินเลยไปแล้วก็ยังอดนึกคิดถึงไม่ได้เหมือนมันค้างๆ อยู่ในใจ....

- คุณขัมธ์ครับ การบำเพ็ญเพียรทางจิตแบบนี้ สิ่งหรือสภาวะซึ่งตามปกติเราไม่เคยประสบมาก่อนเลยในการดำรงชีวิตประจำวัน แต่พอมาปฏิบัติแบบนี้เข้า สภาวะต่างๆ ปรากฏขึ้นมาให้เรารับรู้รู้สึกได้ แต่บางสิ่งบางอย่างในการใช้ชีวิตประจำวัน อาจปรากฏแต่เราไม่เคยสังเกตไม่ใส่ใจก็ผ่านไปโดยไม่คิดอะไร เพราะมัวแต่สารวนอยู่กับกิจอื่น ...

อาการที่เป็นเรียกว่าอะไรคะ?
-สภาวธรรม มันแสดงความเป็นไตรลักษณ์ให้ดูนะครับ

และควรแก้ไขอย่างไร?
- จะแก้ไขอะไรเค้าล่ะครับ เขาเป็นอย่างนั้นเอง สิ่งที่นักปฏิบัติกรรมฐานพึงทำคือรู้ตามเป็นจริง กล่าวคือรู้ตามที่มันเป็น ไม่ใช่ให้เค้า (สภาวะ) เป็นตามที่เราต้องการ
วิธีที่ถูกต้องคือ กำหนดรู้ เมื่อสิ่งนั้นๆ หรือใดๆ เกิดขึ้น ปรากฏชัดในความรู้สึกพึงกำหนดรู้ตามนั้น เช่น.....มีอาการ หยุดหายใจ
กำหนดรู้ว่า หยุดหายใจๆๆ หรือหยุดหายใจหนอๆๆ แล้วยึดสิ่งที่ปรากฏชัดที่จุดอื่นเกาะภาวนาไปก่อน (ลมหายใจไม่หยุดหรอก แต่ว่ามันละเอียดอ่อนมากๆ)

หยุดภาวนา
ไม่มีคำภาวนาพองหนอ ยุบหนอ หรือ ครับ เมื่อไม่มีคำพองหนอ ยุบหนอ ก็พึงภาวนาคำใหม่ว่า หยุดหนอๆๆ หรือ นิ่งหนอๆๆ ก็ได้

ไม่ได้ยินเสียงใด ๆ
-กรณีนี้ก็เช่นกัน เมื่อจิตไปรับรู้รู้สึกว่าไม่ได้ยินสรรพสำเนียงใดๆ กำหนดรู้ว่า ไม่ได้ยินหนอๆๆ หรือ ไม่ได้ยินๆๆ ก่อน แล้วปล่อยครับไม่สนใจกลับไปพองหนอ ยุบหนอ ต่อไป.

-หลักหลักการปฏิบัติกรรมฐานแนวสติปัฏฐาน ๔ พึงภาวนาให้ทันขณะปัจจุบันทุกๆขณะ อะไรเกิดขึ้นหรือจิตรับรู้รู้สึกอย่างไรก็ภาวนาไปตามนั้นเลย

-ใช้ปัญญาแก้ไขได้ตลอด เมื่อภาวนาตรงนี้ไม่ได้ก็ไปภาวนาตรงอื่น ในรูป-นาม ขันธ์นี้นั้น พึงนำมาเป็นอารมณ์กรรมฐานได้หมด ภาวนาตามเป็นจริงแล้วจะหลุดจากสิ่งที่...สงสัย จิตจะรุดหน้าต่อไปเรื่อยๆ

ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นนะครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ธ.ค.2006, 4:18 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ธ.ค.2006, 2:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

preaw3000 [ @: 06 ธ.ค. 49 00:01
http://larndham.net/index.php?showtopic=23541&st=0
- ผมเป็นคนหนึ่งที่ค่อนข้างมีกามารมณ์รบกวนมากครับ อยู่คนเดียวแทบไม่ได้ เผลอใจไปกับกามารมณ์ประจำเลย แต่ก็เป็นคนชอบทางด้านความสงบของธรรมะมากด้วยครับ ไม่ทราบว่าพอจะแนะนำได้ไหมครับว่าทำอย่างไรถึงจะควบคุมอารมณ์กามารมณ์นี้ได้ กี่ฬาไม่ได้เล่นครับ ผมอยากเล่นเทนนิส แต่หาเล่นที่ไหนไม่ได้ เลยไม่ได้เล่นกีฬาอะไรเลย ช่วงนี้เรียนอย่างเดียวครับ อายุ 22 เรียน ป.โท อยู่

- คือผมได้รู้จักสติปัฏฐาน 4 มาจากหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวันสิงห์บุรีครับ อ่านหนังสือ และก็ไปถือศีล 8 ที่วัดมา 7 วัน 2 ครั้งแล้ว แต่มีปัญหาอยู่ตรงที่ว่า เวลานั่งรู้สึกเหมือนท้องไม่ขยับ ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ว่าเป็นเพราะอะไร คือ พองหนอ ยุบหนอ เวลาเรากำหนดได้ไม่นานท้องมันก็ดันหยุดขยับ เลยต้องหายใจแรงๆ เพื่อให้มันขยับ แล้วเดี๋ยวก็หยุดขยับอีก ก็เลยลองเปลี่ยนไปท่องพุทโธ กำหนดลมหายใจแทน แต่ตอนที่ท่องพุทโธกลับเห็นว่าท้องขยับได้ชัดเจนขึ้น ก็ค่อนข้างสับสนนะครับว่ามันเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร จึงอยากสอบถามว่า

1. สติปัฏฐาน 4 และสมถะวิปัสสนา เลือกฝึกอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จุดหมายปลายทางของทั้งสอง คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

2. มีวิธีฝึกสมาธิ อย่างอื่นนอกจาก 2 อย่างนี้หรือไม่

3. เราควรเลือกวิธีใดที่เหมาะสมกับเรา หรือควรทดลองถูก-ผิดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเรา

4. ผมนั่งได้ หลับตาได้ภาวนาได้ แต่ไม่เคยเป็นสมาธิสักครั้งเลยครับ มันเผลอคิดถึงอนาคต คิดถึงอดีตอยู่แบบนี้ ไม่ทราบว่าควรจะฝึกฝนอย่างไรในการให้มีสมาธิมากกว่านี้ครับ

5.ถ้าผมจะฝึก สมถะ (นับลมหายใจเข้า-ออก) จะเป็นอย่างไรครับ ถ้าผมไม่ได้เป็นพระ เพราะผมเคยฟังหลวงพ่อจรัญท่านกล่าวว่า ถ้าจะอยู่ครึ่งทางโลก ทางธรรม ก็ต้องฝึกสติปัฐฐาน 4 เพราะการฝึกนี้พิจารณาถึงสภาพที่เป็นไปจริงๆ ฝึกสมถะเดี๋ยวพอออกไปเจอคนสมาธิก็แตก เพราะมันแสวงหาความสงบเพียงอย่างเดียว

6. การนั่งสมาธิควรนั่งบ่อยแค่ไหนครับ ใช้เวลากี่นาทีครับ และจำเป็นต้องแผ่ส่วนกุศลหลังนั่งสมาธิหรือไม่ เพราะผมมักจะท่องบทแผ่ส่วนกุศลก่อนนั่งสมาธิอ่ะครับ เห็นที่วัดจะแผ่สวนกุศลหลังนั่งสมาธิกัน

7. จำเป็นมากแค่ไหนครับ ที่สติปัฎฐาน 4 จะต้องเดินวิปัสสนา ก่อนนั่ง เห็นว่าเป็นสติ (เดิน) - สัมปะชัญญะ (นั่ง) แต่พออยู่บ้านแล้วมันขี้เกียจเดิน -*- เอามากๆ อยากจะนั่งอย่างเดียว แต่พอไปอยู่วัดก็ไม่ได้ขึ้เกียจนะครับ ทำได้ตามปกติ หรือเพราะเราตั้งใจจะไปทำก็ไม่รู้


ตอบไว้แล้วที่นี่
http://larndham.net/index.php?showtopic=23541&st=7
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 ธ.ค.2006, 8:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มาจากนี่
http://larndham.net/index.php?showtopic=23600&st=0
(ขออภัยถ้าคำถามนี้เคยตั้งไว้หลายครั้งแล้ว แต่บางปัญหาของผม ยังไม่มีคำตอบ แม้ Search ดูแล้ว....โดยใช้คำว่า "นั่งสมาธิ" กระทู้ที่ขึ้นมาเยอะเหลือเกิน)

ผมเพิ่งจะเริ่มนั่งสมาธิครับ ได้ตามอ่านกระทู้แนะนำ และกระทู้คนถามมาพอสมควรแล้วครับ แต่ก็ยังไม่เก็ทในบางเรื่องอยู่ดี หรือบางทีมันยังไม่ตรงจุดที่ผมสงสัย

ผมขออนุญาตถามใหม่อีกทีนะครับ

1. ทำไมต้องนั่งสมาธิ รู้ทันจิตตัวเองอย่างเดียวไม่พอหรือ

2. นั่งสมาธิ ภาวนา พุท-โธ หรือ ยุบหนอ-พองหนอ ดี

3. นั่งสมาธิได้ไม่นาน มักเมื่อย มักคัน มีความรู้สึกที่ตา แก้ไขได้อย่างไร บังคับให้มันไม่คัน ให้มันไม่เมื่อยไม่ได้

4. นั่งสมาธิ คือการมีสมาธิอยู่กับสิ่งที่เราภาวนา หรืออยู่กับอะไร เพราะเท่าที่ผมอ่าน เขาบอกว่ามันจะ "ว่างเปล่า" แต่ที่ผมทำ มันจะรู้อยู่กับคำที่เราภาวนา จึงเหมือนไม่ว่าง

5. ในขณะที่นั่ง จิตใจคิดเตลิดไปได้หลายๆเรื่องเลย ต้องทำอย่างไรครับ (เห็นบางกระทู้บอกว่า ปล่อยให้มันคิดไปจนจบ เด๋วมันจะหมดเรื่องคิดเอง แต่ผมมีเรื่องใหม่ๆคิดต่อเยอะมากๆ สรุปคือมันไม่มีวันจบ จนผมเมื่อย เลิกนั่งไปก่อน)

6. ในขณะที่นั่ง ร่างกายมันรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงรอบข้างได้เร็วมาก เช่นเสียงยุงมาบินข้างๆหู เสียงมอเตอร์ไซค์วิ่งผ่าน เสียงลมพัด ต้องแก้ หรือปล่อยไปครับ

7. หากผมยังคิดเสมอว่าอยากนั่งสมาธิเป็น นั่งคือกิเลสที่ปิดกั้นหรือเปล่า ทำให้ยิ่งนั่ง ยิ่งเครียด เพราะไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงอะไร

8. แล้วคำว่านั่งสมาธิได้ จริงๆแล้วเป็นอย่างไร

9. หากผมไม่ได้ปรารถนาถึงนิพพาน หรือการบรรลุ เพียงแค่อยากให้จิตใจสงบ และให้ตัวเองเป็นคนดีที่สุดในฐานะฆราวาส ซึ่หมายถึงการไม่พร้อมที่จะสละความรู้สึก ยินดีที่จะสุขและทุกข์ แต่ไม่คิดทำบาปทั้งทางกาย วาจา และใจ เพียงเท่านี้เพียงพอในการนั่งสมาธิ และเป็นคนดีตามหลักพุทธศาสนาหรือไม่
KenGSoHigH [@08 ธ.ค. 49 12:44 ]
แก้ไว้ที่นี่
http://larndham.net/index.php?showtopic=23600&st=17
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 ธ.ค.2006, 12:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

..ทุกข์ในไตรลักษณ์ กับ ทุกข์ในอริยสัจ ๔

“ทุกข์” ปรากฏในหมวดธรรมสำคัญ ๓ หมวด คือ ในเวทนา...เวทนา ๓ เวทนา ๕,
ในไตรลักษณ์,
ในอริยะสัจ ๔,

(ใน ในเวทนา ๓ ได้แก่ ทุกข์ สุข อุเบกขา, เวทนา ๕ ได้แก่ ทุกข์ สุข โทมนัส โสมนัส อุเบกขา เรียกว่า ทุกขเวทนา)

(ในไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกข์ อนัตตา เรียกว่า ทุกขลักษณะ)

(ในอริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เรียกว่า ทุกขอริยสัจ)

-ทุกข์ ในหมวดธรรมทั้ง ๓ นั้น มีความหมายเกี่ยวโยงเนื่องอยู่ด้วยกัน แต่มีขอบเขตกว้างแคบกว่ากัน ดังนี้
-ทุกข์ ที่มีความหมายกว้างที่สุดครอบคลุมทั้งหมด คือ ทุกข์ในไตรลักษณ์ หรือ ทุกขลักษณะ หรือ ทุกขตา ได้แก่ ภาวะที่ไม่คงตัว คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เพราะมีความบีบคั้นกดดันขัดแย้งที่เกิดจากความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลาย ซึ่งเป็นลักษณะของสังขารทั้งหลายทั้งปวง กินขอบเขตเท่ากันกับความไม่เที่ยง คือ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์

-ทุกข์ ที่มีความหมายแคบที่สุด เป็นเพียงอาการสืบเนื่องด้านหนึ่งเท่านั้น ก็คือทุกข์ที่เป็นเวทนา เรียกว่าเต็มว่า ทุกขเวทนา หรือความรู้สึกทุกข์ ได้แก่ อาการสืบเนื่องจากทุกข์ในไตรลักษณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในบุคคลเนื่องมาจากทุกข์ในไตรลักษณ์นั้น

กล่าวคือ ความรู้สึกบีบคั้นกดดันข้องขัดของคน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อความบีบคั้นกดดันขัดแย้งที่เป็นสภาพสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นไปในระดับหนึ่ง หรือในอัตราส่วนหนึ่งโดยสัมพันธ์กับสภาพกายและสภาพจิตของเขา

-ทุกขเวทนา นี้ก็เป็นทุกข์ตามความหมายในไตรลักษณ์ด้วย เช่นเดียวกับเวทนาอื่นๆ ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนา หรือ อุเบกขาเวทนา (อทุกขมสุขเวทนา) ก็ตาม
หมายความว่า เวทนาทุกอย่าง จะเป็นทุกขเวทนาก็ดี
สุขเวทนาก็ดี
อุเบกขาเวทนาก็ดี ล้วนเป็นทุกข์ในความหมายที่เป็นลักษณะสามัญนั้นทั้งสิ้น

-ทุกข์ในอริยสัจ หรือ ทุกข์อริยะสัจ ก็คือ สภาวะที่เป็นทุกข์ในไตรลักษณ์นั่นเอง แต่จำกัดขอบเขตเฉพาะเท่าที่จะเกิดเป็นปัญหาแก่มนุษย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกระทบต่อชีวิต

ขยายความว่า สังขารทั้งหลายถูกบีบคั้นตามธรรมดาของมัน โดยเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ และสังขารเหล่านั้นนั้นแหละ (ไม่ทั้งหมดและไม่เสมอไป) ก็ก่อความบีบคั้นขึ้นแก่คน โดยเป็นทุกข์ในอริยสัจ
(แต่การที่มันจะกลายเป็นของบีบคั้นคนขึ้นมาได้ ก็เพราะมันเองถูกบีบคั้นโดยเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สติสัมปันน์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 ธ.ค.2006, 1:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มานเป็นอุปจารสมาธิครับ สมาธิเฉียดเอกัคคตาครับ ไม่ต้องไปหามัน ทำไปเรื่อยๆ กำหนดทุกอย่างที่คุณกรัชกายบอก ถูกแล้ว
 
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 ธ.ค.2006, 5:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ทุกขตา ๓ หรือ ทุกข์ ๓ เป็นชุดสำคัญซึ่งมีพุทธพจน์แสดงไว้เป็นหลัก ครอบคลุมความหมายทั้งหมดของทุกข์ในไตรลักษณ์ คือ
๑. ทุกขทุกขตา หรือ ทุกขะทุกข์
-ทุกข์ที่เป็นความรู้สึกทุกข์ ได้แก่ความทุกข์ทางกายและความทุกข์ทางใจ อย่างที่เข้าใจกันโดยสามัญ ตรงตามชื่อและตามสภาพ เช่น ความเจ็บปวด ไม่สบาย เมื่อยขบ เป็นต้น หมายถึงทุกขะเวทนานั่นเอง

๒. วิปริณามทุกขตา หรือ วิปริณามทุกข์
-ทุกเนื่องด้วยความผันแปร หรือทุกข์ที่แฝงอยู่ในความแปรปรวน ได้แก่ ความรู้สึกสุขหรือสุขเวทนา ซึ่งเมื่อว่าโดยสภาวะที่แท้จริง ก็เป็นเพียงทุกข์ในระดับหนึ่ง หรือในอัตราส่วนหนึ่ง

สุขเวทนานั้น จึงเท่ากับเป็นทุกข์แฝง หรือมีทุกข์ตามแฝงอยู่ด้วยตลอดเวลาซึ่งจะกลายเป็นความรู้สึกทุกข์ หรือก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นได้ในทันที ที่เมื่อใดก็ตามสุขเวทนานั้นแปรปรวนไป

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า สุขเวทนานั้นก่อให้เกิดทุกข์เพราะความไม่จริงจังไม่คงเส้นคงวาของมัน
(อธิบายอีกนัยหนึ่งว่า สุขเวทนา ก็คือ ทุกข์ที่ผันแปรไปในระดับหนึ่ง หรืออัตราส่วนหนึ่ง)

๓. สังขารทุกขตา หรือ สังขารทุกข์
-ทุกข์ตามสภาพสังขาร คือ สภาวะของสังขารทุกสิ่งทุกอย่าง หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัย ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด เป็นทุกข์ คือ เป็นสภาพที่ถูกบีบคั้นกดดันด้วยการเกิดขึ้น และการเสื่อมสลายของปัจจัยต่างๆ ที่ขัดแย้ง ทำให้คงอยู่ในสภาพเดิมมิได้ ไม่คงตัว ทุกข์ข้อที่สามนี้คลุมความของทุกข์ในไตรลักษณ์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ธ.ค.2006, 2:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มาจากนี้
http://larndham.net/index.php?showtopic=23575
นั่งได้นิ่งขึ้นและนานขึ้น ประมาณ 1 ชั่วโมง ในแต่ละวัน
ผมมีปัญหาคือ ผมนั่งได้นิ่ง แต่ก็ได้เพียงแค่นิ่ง ฯลฯ ใจผมอยากจะได้อัปปนาสมาธิ แต่ก็ไปไม่ถึงเสียที พอจิตมันนิ่งก็นิ่งจริง ๆ เราก็รู้สึกว่ามันนิ่ง อยู่ภายในอยู่อย่างนั้น พอจิตขยับ ( อยากได้ดีกว่านี้ ) จิตจะตกทันที
jungco [ @: 07 ธ.ค. 49 18:26 ]

................
-ตอบ)...
-อยากได้จะไม่ได้
อยากมีจะไม่มี
อยากเป็นจะไม่เป็น
ไม่อยากได้
ไม่อยากมี
ไม่อยากเป็น
จะได้
จะมี
จะเป็น
การปฏิบัติธรรมจะตรงข้ามเสมอ...
-คิดอยากปุ๊บ จิตก็เปลี่ยนจากอารมณ์ซึ่ง...เพ่งอยู่ปั๊บ ก็หลุดจากสิ่งที่เพ่งนั้น ยังนิ่งไม่พอ ภาวนาเกาะลมหายใจไว้
.............
ผมใช้อานาปานสติ กำหนดดูลมหายใจ ก็ดูไปเรื่อย จิตมันก็
ค่อยๆ สงบลงเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ จนถึงจุด ๆนึง เหมือนจะไม่มีลมหายใจ เรารู้ว่าลมหายใจมันเบามากจนแทบจะไม่มีลมหายใจ จิตมันกลับกลัวตาย ( ผมว่าผมไม่กลัว ไม่รู้เข้าข้างตัวเองหรือเปล่า)

................
-ตอบ)...
คุณไม่มีตัวเองให้เข้าข้างหรอก ธรรมชาติล้วนๆ ทำงานกันอยู่ และเป็นคนละขณะจิตกัน
ทีแรกมันกลัวตาย (มันรักตัวมันเอง) เกิดแล้วดับไป
อีกขณะหนึ่ง กรูไม่กลัวแล้วก็ยึดว่า นี่แหละเรา....(ทิฏฐิมานะ)
................
หรือเป็นปฏิกิริยาของร่างกายโดยอัตโนมัติ ก็ไม่ทราบได้ มันยิ่งต้องการอ๊อกซิเจนเพิ่มขึ้น ก็ต้องหายใจยาวขึ้น ยาวขึ้น จนกลับมาสู่สภาพปกติ เป็นอย่างนี้ ทุกที
...............
-ตอบ)...
ยังปลงไม่ตกจิตใจยังไม่แน่วแน่เพียงพอ จึงปรุงแต่งไปต่างๆ นานา เพื่อขวางทางไว้
ไม่ต่างจากอุปสรรคแบบข้างบน

มีทางเดียวคุณพึงคิดใหม่ยอมสละชีวิตตายเป็นตาย
(...มันไม่ตายหรอก ผมรู้จักคนๆ หนึ่งขี่มอไซ+ กับแท๊กซี่กระเด็นไปค้างบนหลังคารถ คนซ้อนท้ายตายคาที่ ตนเองถูกนำส่งรพ. รู้สึกตัวหนีออกจาก รพ. เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น)

-ส่วนตัวคุณ ไม่มีอะไรมากระทบกระแทก นั่งสมาธิหายใจอยู่ จะขาดอ๊อกซิเยนได้อย่างไร
จะพูดว่านิวรณ์ตัวหนึ่งขวางไว้ก็ได้ หรือจะพูดว่าโดนความคิดขณะหนึ่งหลอกเอาก็ได้

-จะให้ดีควรบริกรรมมั่งด้วย ขณะที่จิตคิดปรุงแต่งว่าจะเป็นนั่นเป็นนี่ ขาดนั่นขาดนี่ จะได้ไม่พลาดจาก อานาปานสติกรรมฐาน เกาะลมไปเรื่อยๆ

-ลองดูหลักอุเบกขาสัมโพชฌงค์ครับ
-เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่กับงานของมัน หรือทำกิจของมันได้ดีแล้ว ใจก็เรียบเข้าที่ เพียงแต่วางทีเฉยดูไปหรือนิ่งดูไปให้ดี เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ ก็เป็นอันได้เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

...เดินจงกรมบ้างนะครับ สมาธิเกิดได้เหมือนกัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 ธ.ค.2006, 8:01 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 ธ.ค.2006, 8:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การปฏิบัติกรรมฐานมิใช่เรื่องง่ายนักที่จะเข้าถึง และการทำความเข้าใจ
เข้าใจผิดนิดเดียวก็พลาดจากอารมณ์กรรมฐานได้
เข้าใจธรรมะผิดก็พลาดได้ อย่างเช่น ขณิกสมาธิ ก็มีผู้เข้าใจผิด เช่น ผู้ตั้งกระทู้นี้..แม้จะมีเจตนาดี แต่ว่า...ว่าคลาดจากความเป็นจริง
http://larndham.net/index.php?showtopic=18545&st=4

เมื่อเข้าใจขณิกสมาธิพลาด จึงทำให้พลาดจากการเจริญวิปัสสนาด้วย
แทนที่จะเป็นวิปัสสนาแท้ๆ ก็กลับกลายเป็น "วิปัสสนึกนานา" ไปเสีย

ขณิกสมาธิ มิใช่ดังที่...เข้าใจ ลองดูคำอธิบาย..ซึ่งนำมาจากหนังสือพุทธธรรม ป.อ. ปยุตธ์
ปยุตฺโต

คัมภีร์ปรมัตถมัญชุสา กล่าวถึงมูลสมาธิ (สมาธิขั้นมูล สมาธิเบื้องต้น หรือสมาธิต้นเค้า) และบริกรรมสมาธิ (สมาธิขั้นตระเตรียม หรือเริ่มลงมือ) ที่กล่าวถึงในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นขณิกะสมาธิ

-มูลสมาธิ ที่ว่าเป็น ขณิกะสมาธิ นั้นท่านยกตัวอย่างจากบาลีมาแสดง ดังนี้

๑. “เพราะฉะนั้นแล ภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราเป็นจิตที่ตั้งมั่น ดำรงแน่วเป็นอย่างดีภายใน และธรรมทั้งหลายที่ชั่วร้ายเป็นอกุศล จักไม่เกาะกุมจิตตั้งอยู่ได้ ภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล

๒. เมื่อใดแล จิตของเธอ เป็นจิตที่ตั้งมั่น ดำรงแน่วเป็นอย่างดีแล้ว ในภายใน และธรรมทั้งหลายที่ชั่วร้ายเป็นอกุศล ไม่เกาะกุมจิตตั้งอยู่ได้ เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญ จักทำให้มาก ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติ ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสมจัดเจน ทำให้สำเร็จได้เป็นอย่างดี ภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล

๓. เมื่อใดแล สมาธินี้ เป็นธรรมอันเธอได้เจริญ ได้กระทำให้มากอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เธอพึงเจริญสมาธินี้ ไม่มีทั้งวิตกวิจารบ้าง อันไม่มีวิตกแต่มีวิจารบ้าง อันไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง อันมีปีติบ้าง อันไม่มีปีติบ้าง อันประกอบด้วยความฉ่ำชื่นบ้าง อันประกอบด้วยอุเบกขาบ้าง ฯลฯ”

ดูคำอธิบายแต่ละข้อ ๆ .....เน้นๆ เฉพาะข้อที่ ๑. มูลสมาธิ = ขณิกะสมาธิ

ท่านอธิบายว่า อาการที่จิตพอแค่มีอารมณ์หนึ่งเดียวลงได้ โดยภาวะที่เป็นตัวของตัวเองอยู่ภายใน....ตามความข้อที่ ๑. ที่ว่าจิตตั้งมั่น ดำรงแน่วเป็นอย่างดีภายใน บาปอกุศลธรรมไม่อาจครอบงำได้ ภาวะจิตขั้นนี้แหละเป็นมูลสมาธิ (=ขณิกะสมาธิ)

ความต่อไปข้อที่ ๒. เป็นขั้นการเจริญ คือพัฒนามูลสมาธินั้นให้มั่นคงตัวยิ่งขึ้น ด้วยวิธีเจริญเมตตา ท่านเปรียบมูลสมาธิเหมือนกับไฟที่เกิดขึ้นจากการสีไม้สีไฟ หรือตีเหล็กไฟ
ส่วนการพัฒนามูลสมาธินั้นด้วยการเจริญเมตตาเป็นต้น ก็เหมือนกับเอาเชื้อไฟมาต่อให้ไฟนั้นลุกไหม้ต่อไปได้อีก

ความข้อที่ ๓. เป็นขั้นทำให้มูลสมาธิ หรือ ขณิกะสมาธินั้น เจริญขึ้นไปจนกลายเป็นอัปปนาสมาธิ ด้วยวิธีกำหนดอารมณ์อื่นๆ เช่น กสิณเป็นต้น
.
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 ธ.ค.2006, 9:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อจากข้างบน

-ตัวอย่างอื่นอีก เช่น ที่พระพุทธเจ้าตรัสเล่าถึงการบำเพ็ญเพียรของพระองค์เองว่า

๑. “ภิกษุทั้งหลาย เรานั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ มีเนกขัมมะวิตก...อะพะยาบาทวิตก...อะวิหิงสาวิตก เกิดขึ้น เราย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เนกขัมมะวิตก...อะพะยาบาทวิตก...อะวิหิงสาวิตก นี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แลวิตกชนิดนั้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย ช่วยเพิ่มพูนปัญญา ไม่ส่งเสริมความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

-ถึงหากเราจะเฝ้าตรึกตรองวิตกชนิดนั้นตลอดทั้งคืน เราก็ไม่เห็นภัยที่จะเกิดขึ้นจากวิตกชนิดนั้นเลย ถึงหากเราจะเฝ้าตรึกตรองวิตกชนิดนั้นตลอดทั้งวัน...ตลอดทั้งคืนและทั้งวัน เราก็มองไม่เห็นภัยที่จะเกิดขึ้นจากวิตกชนิดนั้นเลย

-ก็แต่ว่า เมื่อเราตรึกตรองอยู่เนิ่นนานเกินไป ร่างกายก็จะเหน็ดเหนื่อย เมื่อกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็จะฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล จึงดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้อยู่ตัวสงบ ทำให้มีอารมณ์หนึ่งเดียว ตั้งมั่นไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะหมายใจว่าจิตของเราอย่าได้ฟุ้งซ่านไปเลย ดังนี้...

๒. ภิกษุทั้งหลาย ความเพียรเราก็ได้เร่งระดมแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติก็กำกับอยู่ไม่เลือนหลง กายก็พักผ่อนคลายสงบไม่กระสับกระส่าย จิตก็ตั้งมั่นมีอารมณ์หนึ่งเดียว

๓. ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุแล้วซึ่งปฐมฌาน...”

ท่านอธิบายว่า ข้อความในข้อ ๑. ว่า “ดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้อยู่ตัวสงบ ทำให้มีอารมณ์หนึ่งเดียวตั้งมั่น” ก็ดี

ข้อความในข้อที่ ๒. ว่า “จิตก็ตั้งมั่นมีอารมณ์หนึ่งเดียว” ก็ดี แสดงถึงมูลสมาธิ
(คือ ขณิกะสมาธิ) อันมีมาก่อนหน้าที่จะเกิดอัปปนาสมาธิในขั้นฌาน ตามความในข้อที่ ๓.

......
-ส่วนบริกรรมสมาธิ ก็มีตัวอย่าง เช่น ผู้ที่ฝึกทิพโสต ออกจากฌานแล้ว เอาจิตกำหนดเสียงต่างๆ ตั้งแต่เสียงที่ดังมากแต่ไกล เช่น เสือสิงห์คำราม เสียงรถบรรทุก หรือเสียงแตรรถ เป็นต้น แล้วกำหนดเสียงที่เบาผ่อนลงมาเช่น เสียงกลอง เสียงระฆัง เสียงดนตรี เสียงสวดมนต์ เสียงคนคุยกัน เสียงนก เสียงลม เสียงจิ้งจก เสียงใบไม้ เป็นต้นตามลำดับ
- เสียงที่คนจิตใจปกติพอได้ยิน แต่คนที่มีบริกรรมสมาธิ หรือขณิกะสมาธินี้ได้ยินจะดังชัดเจนกว่าเป็นอันมาก....
...........
นำมาให้อ่านทั้งหมด แต่จุดประสงค์ต้องการเน้นให้เห็นขณิกะสมาธิ (มูลสมาธิ) แท้ ๆ ว่า มิใช่อย่างที่...เข้าใจ..นั่นไม่ใช่สมาธิอะไรเลย
-ที่ขีดเส้นใต้เพื่อเน้นว่า ตรงกับคำพูดของ จขกท. ว่าเจริญสมาธิแล้วจิตใจมันว่องไวรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงรอบๆ กายได้เร็วมาก แม้แต่เสียงลมพัดก็ได้ยินชัด...นี่ยังไม่ถึงขณิกะสมาธิเลย...ลองสังเกตคำถามข้อ ๖ กระทู้นี้...
http://larndham.net/index.php?showtopic=23600
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 ธ.ค.2006, 11:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อันตรายที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายขณะนั่งสมาธิ
จะมีผลกับร่างกายหรือเปล่าครับถ้า
Jakaphant [ @ 09 ธ.ค. 49 14:37

http://larndham.net/index.php?showtopic=23645

มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความกลัวจริงๆ นี่ก็กลัวว่านั่งสมาธิแล้วจะเป็นเหน็บชาไหม จะเป็นอัมพฤกษ์ไหม จะเป็นอัมพาตไหม ล้วนแต่ตั้งคำถามให้ตนเองหลุดจากปัจจุบันขณะ พลัดจากปัจจุบันอารมณ์ ยิ่งคิดก็ยิ่งเห็น จนทนนั่งอยู่ไม่ได้เลิกนั่งกรรมฐานไปเลย
แต่แปลกบางคนนั่งเล่นไพ่โฮโลทั้งคืนไม่ลุกไปไหนเลยแต่ไม่ยักกะกลัวเป็นเหน็บชา ขำ สงสัย
กิเลสมารมันร้ายจริงๆ
ลองดูตามลิงค์ข้างบน...
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 13 ธ.ค.2006, 3:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การปฏิบัติกรรมฐานคงไม่ง่าย อย่างที่คิด
ประเด็นสำคัญคือตั้งใจเอาไว้ผิด

-หลาย ๆ คน อยากได้นิพพานต้องการนิพพาน แต่ไม่รู้นิพพานอยู่ทีไหนเป็นอย่างไร ได้ยินว่านิพพานมีความสุขก็อยากไป ได้ยินว่า นิพพานไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็อยากได้อยากไป บางคนคิดเตลิดไปว่า นิพพานเป็นดินแดนอันสวยงาม ฯลฯ....
จึงเจริญสมาธิ ปฏิบัติกรรมฐาน ด้วยการนั่งคิดไฝ่ฝันอย่างที่ตนเองเข้าใจอย่างรายนี้...
http://larndham.net/index.php?showtopic=23301&st=9

นึกเห็นไปว่านิพพานเป็นดินแดนแห่งหนึ่ง...เป็นต้น
เมื่อนึกคิดอย่างนี้ ความคิดนั้นเองขวางไว้หมดแล้ว...และการปฏิบัติกรรมฐาน จะไม่ได้อะไรเลย จะมีแต่ความสงสัย....ต่อสภาวะต่างๆซึ่งเกิดขึ้นแก่เค้าทั้งทางกายและทางใจอยู่ร่ำไป...หลุดจากจุดนี้ได้ก็ไปติดจุดโน้น...

-ที่ถูกที่ควร แก้เสียด้วยการกำหนดรู้ตามเป็นจริง ตามรู้สึกเสียก็ผ่านได้

แต่กลับนั่งคิดสงสัยว่าอะไรฟ่ะ ใช่นิพพานป่าว ? อะไรๆ..แล้วก็อะไร ?

ปฏิบัติไปๆ จึงมีแต่คำถาม ๆ ตนเองก็ตอบตนไม่ได้ จึงติดข้องวนอยู่ตรงนั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 14 ธ.ค.2006, 5:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-มีผู้ส่งจดหมายมาถามเรื่องการปฏิบัติกรรมฐาน เห็นว่ามีประโยชน์ต่อผู้ซึ่งกำลังทำกรรมฐานอยู่ จึงนำมาลงไว้
คำถามดังนี้

สวัสดีครับ
- ผมเห็นคุณกรัชกายตอบคำถามในการนั่งสมาธิได้ดี จึงขอสอบถามครับ

ผมเองนั่งสมาธิได้ไม่นานมากนักครับ เคยเข้าอบรมจิตในหลักสูตรของคุณแม่สิริ กรินชัย

-แต่ต่อมาผมก็นั่งดูลมหายใจ แต่ไม่ได้กำหนดอะไรเลยครับ รับรู้ไปเรื่อยๆ มีอะไรมากระทบก็รู้ แต่ไม่วางที่จะดูลมหายใจ
-สักพักก็จะมีอาการสั่นๆ ในหัว จากนั้นก็จะหมุนครับ ที่ศีรษะนี่หล่ะ

-บางครั้งก็หมุนทั้งตัว โดยมีเอวเป็นแกนกลาง อันนี้ไม่ได้นึกคิดไปเองครับ มันหมุน และสั่นจริงๆ เพราะว่าเคยมีคนเห็นแล้ว

อีกอย่างตอนนี้ผมก็มีห้องนอนส่วนตัว เวลานั่งก็จะได้ยินเสียงเตียง(สปริง) มันสั่นด้วยครับ หากยังนั่งต่อไป และผ่านพวกนี้ได้ บางครั้งก็จะมีอาการเหมือนโดนบีบอัดเข้าไปตรงกลางของร่างกายครับ

-อยากจะทราบว่าอาการทั้งหมดของผมนั้น คืออะไรครับ (ส่วนใหญ่แล้วก็จะเกิดซ้ำกัน เวียนกันไปมาครับ น้อยครั้งมากที่จะนั่งสมาธิได้สงบจริงๆ อยากจะทราบวิธีแก้ไข และอยากจะทราบวิธียกจิตเข้าสู่วิปัสสนาด้วยครับ

ขอบคุณมากครับ


ดูคำตอบที่เว็บนี้ครับ
http://www.dhammachak.com/viewtopic.php?p=415#415
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง