Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ธรรมมีอุปการะมาก (สติและสัมปชัญญะ) : สมเด็จพระญาณสังวรฯ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 13 พ.ย.2006, 10:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

• ธรรมมีอุปการะมาก •

หลักธรรมที่ควบคุมไม่ให้บุคคลทำผิดพลาด ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลให้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง ควบคุมอารมณ์ไม่ให้วู่วาม รู้จักคิด ไม่ปล่อยความนึกคิดไปตามความรู้สึกที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ คอยเหนี่ยวรั้งใจให้ทำ พูด หรือคิดในสิ่งที่ดี เหมือนบิดามารดาคอยห้ามบุตรธิดาไม่ให้ทำความชั่ว แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก เกื้อกูลอุดหนุนในการทำความดีทุกอย่างให้มั่นคงดียิ่งขึ้น

หลักธรรมดังกล่าวมานี้ มี ๒ ประการ คือ (๑) สติ (๒) สัมปชัญญะ

ติ หมายถึง ความระลึกได้ ก่อนจะทำ พูด หรือคิด คืออาการของจิตที่นึกขึ้นได้ว่าจะทำ จะพูด จะคิดอย่างไรจึงจะถูกต้อง มีหน้าที่กระตุ้นเตือนคนเราให้ทำ พูด หรือคิดในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่หลงลืมตัว โดยใช้ดุลพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนจึงปฏิบัติ หรือแสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมา

กล่าวคือความไม่ประมาทปล่อยจิตนึกคิดไปตามอารมณ์ที่ปรารถนา

“สติ” เป็นธรรมควบคุมเหนี่ยวรั้งจิตใจให้คิดดี พูดดี หรือทำดี เพราะธรรมชาติของจิตมีการนึกคิดตลอดเวลา ซึ่งถ้าขาดสติกำกับ เป็นความคิดที่ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ อย่างไร้ทิศทาง แต่ถ้ามีสติกำกับแล้วจะทำให้ไม่ประมาทหรือพลั้งเผลอคิดชั่ว พูดชั่ว หรือทำชั่ว เพราะสติจะทำหน้าที่คอยควบคุมรักษาสภาพจิตใจให้อยู่ในภาวะที่ต้องการ โดยการตรวจตราความคิด เลือกรับแต่สิ่งที่ดีงาม กีดกันสิ่งที่ไม่ดีซึ่งตรงกันข้าม ตรึงกระแสความคิดให้เข้าที่ ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย

ในการเรียนหนังสือ ถ้านักเรียนควบคุมจิตใจให้มีสติมั่นคง สนใจในวิชาที่เรียน ขยันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาแล้ว ไม่ปล่อยจิตฟุ้งซ่านคิดถึงเรื่องอื่นๆ สำรวมจิตให้จรดนิ่งสงบตั้งมั่นในอารมณ์เดียวไปตามลำดับ ไม่วอกแวก จะช่วยจำบทเรียนได้ดีกว่าคนที่ฟุ้งซ่าน

นักเรียนที่มีผลการเรียนดีจึงมีพื้นฐานมาจากการฝึกสตินี้เอง

ในหน้าที่การงาน คนที่มีสติสามารถทำงานได้ผลดียิ่ง มีความผิดพลาดน้อย หรืออาจจะไม่มีข้อผิดพลาด หากขาดสติงานต้องผิดพลาดอยู่ร่ำไป ทำให้งานล่าช้า เสร็จไม่ทันตามกำหนด ไม่สามารถพัฒนาก้าวหน้าได้

ในการทำความดี ผู้มีสติสามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท เว้นจากการทำความชั่วทุกอย่าง กระทำแต่ความดี และทำจิตให้ผ่องแผ้วจากกิเลสทั้งปวง สติเป็นหลักธรรมที่มีอุปการะมาก พัฒนาจิต พิจารณารู้เท่าทันสภาพที่แท้จริง ทำให้การดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างมีความสุข เมื่อเจริญสติให้มากยิ่งขึ้นสามารถบรรลุมรรค ผล และนิพพานได้ในที่สุด

ความรู้ตัวในขณะที่กำลังทำ กำลังพูด หรือกำลังคิดอยู่ เป็นอาการของจิตที่รู้จักแยกแยะสิ่งที่ตนกำลังทำ พูด คิดอยู่นั้นว่าเป็นประโยชน์ หรือไม่เป็นประโยชน์ เหมาะกับตนหรือไม่ เป็นความสุขหรือทุกข์ และเป็นความดีหรือชั่วหรือไม่อย่างไร ความรู้ชัด ความรู้ตัว เป็นลักษณะแห่งความรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลานี้ เรียกว่า “สัมปชัญญะ”

“สัมปชัญญะ” เป็นธรรมที่ปฏิบัติคู่กับ “สติ” แยกกันไม่ออก กล่าวคือ “สติ” เป็นเครื่องระลึกควบคุมยับยั้งจิตมิให้คิด พูด หรือทำชั่ว ส่วน “สัมปชัญญะ” จะทำหน้าที่กำหนดรู้ในเวลาคิด พูด หรือทำอยู่ ดังนั้น จึงเรียกว่า สติสัมปชัญญะ

สติ ระลึกได้ทั้งในเรื่องอดีต อนาคต และปัจจุบัน ต้องใช้ในเวลาก่อนคิด พูด และทำ...สัมปชัญญะ รู้ตัวในปัจจุบัน ต้องใช้ในขณะที่กำลังคิด พูด และทำอยู่

สติและสัมปชัญญะนี้จัดเป็นกุศลธรรมที่คู่กันเสมอ จะแยกจากกันมิได้ เมื่อมีสติต้องมีสัมปชัญญะ สติเปรียบเหมือนดวงไฟ ส่วนสัมปชัญญะเปรียบเหมือนแสงสว่างของดวงไฟ

การทำหน้าที่ คนเราจำต้องมีสติสัมปชัญญะอยู่ทุกขณะ คือ ควรเจริญให้เกิดมีขึ้นในตนตลอดเวลา ทั้งในขณะจะทำ พูด หรือคิด เพราะสติสัมปชัญญะจะคอยคุมรักษาจิตให้ตั้งมั่นแน่วแน่ในทางที่ดีมีประโยชน์ ไม่ให้ความชั่วร้ายเข้าครอบงำจิตได้ ดังนั้น สติสัมปชัญญะจึงเป็นคุณธรรมที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา สติจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง

“สติสัมปชัญญะ” มีอุปการะมากแก่คนเรา โดยเป็นธรรมควบคุมเส้นทางดำเนินชีวิตไม่ให้พลั้งเผลอทำในสิ่งที่ไม่สมควร ท่านเปรียบเหมือนหางเสือ ที่คอยกำหนดทิศทางไม่ให้เรือแล่นไปเกยตื้น เป็นเครื่องปลุกเร้าให้บุคคลมีเหตุผล รู้จักไตร่ตรองด้วยปัญญา และสนับสนุนธรรมคือการรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล

พฤติกรรมของผู้มีสติสัมปชัญญะ จะแสดงออกมาในลักษณะที่พิจารณาด้วยปัญญาแล้วบริโภคอาหาร รู้จักประมาณ รู้จักคุณโทษของอาหารที่จะบริโภค ไม่เผลอสติในการทำงาน มีความรอบคอบ ระมัดระวังในการทำกิจ เป็นต้น

ผู้มีสติสัมปชัญญะ ย่อมมีความสำนึกรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา ว่าตัวเองเป็นใคร มีหน้าที่อย่างไร เมื่อปฏิบัติหน้าที่อยู่ รู้ตัวอยู่เสมอว่าตัวเองกำลังทำอะไร ดีหรือชั่ว เป็นคุณหรือโทษ เท่ากับว่าควบคุมตัวเองไว้ได้ตลอดเวลา

ด้วยความสำคัญดังกล่าวมานี้ ท่านจึงจัดสติสัมปชัญญะว่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก คือ เป็นคุณธรรมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนเรา และเป็นธรรมมีอุปการะให้กุศลธรรมอื่นๆ เกิดขึ้นดำรงมั่นคงอยู่ในจิตได้


หนังสือวิธีสร้างบุญบารมี พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙


ดอกไม้ รวมพระนิพนธ์ “สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=43452

ดอกไม้ ประมวลพระรูป “สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=29577
 

_________________
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง