Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ท่านเหล่านั้นคือใครหนอ ? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 31 ม.ค. 2007, 6:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เครื่องปิดบังปัญญา

ถ้าเราเห็นความจริงใน ทุก ๆ สิ่ง มี ปัญญาชี้ขาด ไว้แล้ว ไหนเลยเราจึงจะไปยึดเอาสิ่งนั้น ว่าเป็นของเราได้ ที่เราจะเข้าไปยึดถือเอาโดยความเป็นเจ้าของ ก็เพราะเราเห็นว่าสิ่งนั้น เที่ยง นั้นเอง เมื่อถึงคราวสิ่งนั้น พลัดพราก จากตัวเรา ตัวเราจึงเกิดโศกเศร้าเสียใจ
ถ้าตัวเรารู้แจ้งเห็นจริง ว่า ทุกๆ สิ่ง ที่มีอยู่ในตัวเรานี้ ก็ดี เป็นแต่ เครื่องอาศัยกันและกัน อยู่ชั่วครั้ง ชั่วคราวเท่านั้น ไม่วันใดก็วันหนึ่งจะต้องพลัดพรากจากกัน ไม่ต้องสงสัย ความตัดสินใจให้ชี้ขาดไว้ดังนี้ ญาณความรู้ไม่ลืมหลง ไม่หลงเข้าไปยึดถือในสิ่งที่ตนได้ กำหนดรู้ ไว้นั้น
ถ้าสิ่งใดที่เรายังเข้าไปยึดถืออยู่ เพราะเราไม่เห็นแจ้งในสิ่งนั้นว่าตกอยู่ในสามัญลักษณะ เหตุไรนรชนทั้งหลายจึง ไม่เห็นในสามัญลักษณะด้วยปัญญาของตน เหตุที่นรชนเหล่านั้น เป็นผู้ เพลิดเพลิน อยู่เป็น ผู้ ทะเยอทะยานอยากอยู่ เป็นผู้ เลิน เล่อ เผลอตัว อยู่ จึงไม่เห็นด้วย ปัญญาของตน
ถ้าชนเหล่านั้น ละเสียซึ่งความเพลิดเพลิน ละ เสีย ซึ่งความทะเยอทะยาน ละเสียซึ่งความเลินเล่อเผลอตัวชนเหล่านั้น จึงจะเห็นด้วยปัญญาของตน
ผู้ที่ละความเพลิดเพลิน คือผู้ที่มี ศีลอันสังวรดีแล้วผู้ที่มี จิตตั้งมั่นในองค์สัมโพธิ ต่อแต่นั้นปัญญาเป็นเครื่องเห็นเอง ปัญญาที่จะเห็นเองในที่นี้มีอยู่ 2 อย่าง
ปัญญาเกิดแต่การค้นคิดอย่างหนึ่ง
ปัญญาเกิดแต่การเพ่งอยู่กับที่อย่างหนึ่ง
ปัญญาที่ค้นคิดปรารภสภาวธรรม หยาบว่า ปัญญาที่เพ่งอยู่กับที่ ถ้าจะเทียบกับสมาธิ ปัญญาที่คิดค้นเทียบกับปฐมฌาณ ปัญญาที่เพ่งอยู่กับที่เทียบกับทุติยฌาณ ฌาน ก็ละเอียดกว่ากันเป็นชั้น ๆ ปัญญาก็ละเอียดกว่ากันเป็นชั้น ๆ ตลอดถึงให้สำเร็จมรรคผล
ต่อแต่นี้จะกล่าวถึงปัญญาค้นคิด การจะค้นคิดก็ต้องให้มี หลักความรู้ อันเกิดแต่ สุตามยปัญญาก่อน จึงจะรู้ได้เร็วลำพังแต่การค้นคิดเอาเองรู้ได้ยาก ฯ
ปัญญา ที่ท่านแสดงไว้ในวิปัสสนาภูมิ มี 6 คือ
ขันธ์ 5
อายตนะ 12
ธาตุ 18
อินทรีย์ 22
อริยสัจจ์ 4
ปฏิจสมุปบาท 12
เหล่านี้เป็น ภูมิให้เกิดปัญญา ใครจะเลือก เอาข้อไหนก็ได้ เมื่อมีสมาธิอันใดอันหนึ่งเป็นที่ตั้ง ควรยกวิปัสสนาข้อไหนข้อหนึ่งขึ้นพิจารณา ในที่นี้จะยกเอาขันธ์ทั้ง 5 ขึ้นแสดงพอเป็นทางเครื่องสดับสติปัญญา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 06 มี.ค.2007, 10:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อะไรปิดบังพระไตรลักษณ์

ขันธ์ 5 ย่นให้สั้นก็มีอยู่ 2 คือ
รูปขันธ์ 1
นามขันธ์ 1

รูปขันธ์ ของเรา ณ ที่เรายึดมั่นถือมั่นสำคัญว่า ตัวตนเพราะเราไม่เห็นในไตรลักษณ์ จึงถอนจึงวางอุปาทานไม่ได้ถ้าเห็นทางไตรลักษณ์ อุปาทานก็ดับไปเอง ก็อะไรมันบังพระไตรลักษณ์ทั้ง 3 ตัวสันตติ ความสืบเนื่องของกายของใจเป็นเครื่องบังอนิจจตา
ถ้าเพิก ตัวสันตติด้วย ปัญญา ก็จะเห็นอนิจจตา แจ่มแจ้ง ชั้น ต้นเพิกกายนี้ก่อน ตัวของเราแรกก็เป็นเด็กอ่อนนอนอยู่ในเบาะ เหมาะอยู่ในเปล ครั้นนานมาก็เป็นเด็กเล็ก เด็กใหญ่ รุ่นหนุ่ม รุ่นสาว แปรไปเป็นคนเฒ่า แก่ ชรา ตามืด หูหนัก ฟันหัก แก้มตอบ หนังหดหู่เป็นเกลียวเหี่ยวแห้งกำลังเรี่ยวแรงก็ลดถอย
ความกินความนอนก็ไม่อร่อย จะเดินไปมาทางไหนก็คร่ำครวญ ตามอวัยวะ ทุก ๆ ส่วนล้วน แปรปรวนไปตามกัน รูปโฉม ตระโนมพรรณที่เคยงดงามก็ทรามโฉม หมองคล้ำกำดำ หดเหี่ยวไม่น่าจะแลเหลียวในที่สุดก็แตกดับทำลาย มีความตายเป็นอวสานนี้แหละ กายสังขารมันไม่เที่ยงฯ
ส่วน จิตสังขาร เล่าจิตดวงนี้เกิดขึ้นดับไป จิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้น เป็นอดีตบ้าง อนาคตบ้าง เป็นไปในภูมิสาม คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ พราก เสียซึ่งสันตติ ความสืบเนื่องของจิต วาง เสียซึ่ง ความคิดความรู้ ในอารมณ์ สามกาล เมื่อวางอารมณ์สามกาลได้แล้ว ตัวภพ ก็ ดับหมด ตัว ภพดับ ก็คือ ตัวคิด ดับนั่นเอง
เมื่อความคิดดับ จิตเที่ยง ไม่มีการไปการมา อนิจจลัก ขณะก็ปรากฏขึ้น คือเมื่อจิตเที่ยงแล้วจึงจะเห็นจิตไม่เที่ยงถ้าวางความคิดได้จะเห็นโทษแห่งความคิด ดังคนออกจากฝิ่นออกจากสุราได้ จึงจะเห็นโทษของฝิ่นของสุรา โทษแห่งความคิดที่คิดอยู่ในภูมิสาม ความคิดก็เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้ ความรู้เป็นปัจจัยแห่ง ปฏิสนธิวิญญาณ
อะไร บังทุกขตา อิริยาบถ บังทุกขตา ที่เราไม่เห็นทุกข์ เพราะเราผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ คือ การยืน เดิน นั่ง นอน กลบเกลื่อนซึ่งทุกข์ ไม่ดูทุกข์จึงไม่เห็นทุกข์ ถ้าเราดูทุกข์ ถ้าเราพรากอิริยาบถ คือ อยู่ในอิริยาบถเดียว ทุกขตา ก็ปรากฏ
หรืออีกนัยหนึ่งเราเข้าไปยึดเอาของที่ไม่เที่ยง ตัวของเราจึงเป็นทุกข์ แต่เราไม่ดูทุกข์ เราจึงไม่เห็นทุกข์ ถ้าเราดูทุกข์ถึงเราจะเปลี่ยนอิริยาบถอยู่ก็ตาม ก็ต้องเห็นทุกข์
ก็อะไรเล่า บังอนัตตาลักขณะตัว ฆนะ คือ ก้อน เราดู ตัวเรา ถ้าดูแต่เผิน ๆ ไม่ดูให้แยบคาย ก็จะเห็นแต่ผิวภายนอกอันเป็นก้อน เป็นแท่ง ถ้าเพิกเสียซึ่งฆนะคือก้อน ให้เป็นส่วนย่อย ๆ คือ กระจายออกเป็นส่วน ๆ ในอาการ 32
ที่ว่าตัวเป็นตัวเรา อะไรเป็นตัวเรา ผมหรือขน หรือเล็บหรือฟัน ตับไตใส้พุง อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำเลือด น้ำหนอง ถามดูในอาการ 32 ว่าอะไรเป็นตัวเรา ถ้า ผมขนเล็บฟันเป็นต้นตอบว่า ข้านี่แหละเป็นตัวเรา พึงถามอีก ว่า ถ้าหากผม ขน เป็นต้น เป็นตัวเราเวลาสิ้นลมหายใจแล้วเป็นอะไร ผม ขน เล็บ ฟัน จึงเปื่อยเน่าชำรุดทรุดโทรมไปเล่า
ในที่สุดอาการ 32 ทุกส่วนคงรับสารภาพสู้ปัญญาไม่ได้ เมื่อเห็นกายทุกส่วนไม่มีอะไรเลย
ส่วนที่แข็งเป็นธาตุดิน
ส่วนที่เหลวเป็นธาตุน้ำ
ส่วนที่อบอุ่นเป็นธาตุไฟ
ส่วนที่พัดอยู่ในกายเป็นธาตุลม
จึงเห็นร่างกายอันนี้ว่า เป็นสักแต่ว่าธาตุไม่มีสาระแก่นสารเมื่อเห็นรูปขันธ์ว่าไม่มีอะไรแล้ว ให้ดูนามขันธ์ ก็นามขันธ์อันนี้มันเกิดขึ้น มันจะเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างไร
นามขันธ์มันจะเกิดขึ้น มันก็อาศัยรูปขันธ์ เพราะรูปขันธ์อันนี้มันมี ทวารรูป มีตา มีหู เป็นต้น เมื่อ รูป ภายนอก มา กระทบตา เกิด รูป ภายใน จึงเกิดวิญญาณขึ้น ตากับรูปจึงนับเป็น รูปวิญญาณ อันเกิดแต่ตา เป็น นาม หูกับเสียงเป็นรูปความรู้อันเกิดแต่หูเป็น นาม นาม และรูปเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 06 มี.ค.2007, 10:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิตกที่ควรตรึก และไม่ควรตรึก

ส่วน ความคิด ที่คิดไปใน อดีต มันก็เกิดขึ้นจาก สัญญา นามธรรม คือได้เห็นได้ยินไว้แต่อดีตจึงมีความคิดไปในอดีต สิ่งใดที่เราไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน เช่น บ้านอื่นประเทศอื่นที่เราไม่เคยไป หรือวิชาที่เราไม่เคยรู้ เราคิดไปไม่ได้ เราคิดได้แต่ในวงที่เรารู้เท่านี้
เมื่อเห็นกายกับใจของเราไม่ใช่ตัวตน ค้นหาตัวตนไม่มีนี่เป็น วิปัสสนาค้นคิด คิดเพื่อรู้ ถ้าไม่คิดก็ไม่รู้ ความรู้ที่เกิดจากความคิดมี 2 ถ้าคิดทางชั่วก็รู้ทางชั่ว ถ้าคิดทางดีก็รู้ทางดี ห้ามแต่การคิดในทางใดประกอบไปด้วยราคะ ความกำหนัดบ้าง ประกอบไปด้วยโทสะความโกรธบ้าง ประกอบไปด้วยโมหะความหลงบ้าง
พึงกลัวความคิดใหม่อันตรงกันข้าม ดุจชายช่างไม้ผู้ฉลาด ถอนสลักเก่าออกตอกสลักใหม่เข้าถ้าวิตกเช่นนั้นยังขืนบังเกิดขึ้นอยู่ก็ให้พิจารณว่า เห็นว่าวิตกเหล่านี้ เป็นทางให้เกิดโทษโดยส่วนเดียว ให้เกลียดกลัวต่อวิตกเหล่านี้ยิ่งนัก เหมือนชายหนุ่มและหญิงสาว เกลียดกลัวต่อของโสโครกฉะนั้น
ถ้าวิตกเหล่านี้ยังขื่นบังเกิดขึ้นอยู่ ก็อย่าพึงใส่ใจอย่าพึงนึกถึง เปรียบเหมือนหน้าหนีเสีย ถ้าวิตกเช่นนั้นยังบังเกิดขึ้นอยู่ ก็ให้คิดลดหย่อนผ่อนปรนให้น้อยลง เหมือนคนวิ่งมาโดยรวดเร็ว ปรารถนาจะเดินช้า ๆ ก็เดินช้า ๆ ปรารถนาจะนั่งจะนอน ก็นั่งก็นอน ถ้าวิตกเช่นนั้นยังบังเกิดขึ้นอยู่ ก็ ให้เอา ใจข่มใจ ไว้ให้มั่น ปีบคั้นให้สงบเหมือนคนที่มีกำลังมากข่มคอคนที่มีกำลังน้อยไว้ฉะนั้น
เมื่อวิตกคือความคิดดับลงแล้ว จิตย่อมสงบภายในใสบริสุทธิ์ ผู้นำเพ็ญเพียรทำได้ดังนี้ นับว่าเป็นผู้ฉลาดในกระบวนของจิต หวังจะวิตกเช่นไร ก็วิตกเช่นนั้น ไม่หวังจะวิตกเช่นไร ก็ไม่วิตกเช่นนั้น เป็นผู้ทำความอยากให้ขาดทำเครื่องผูกจิตให้หลุด จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
วิปัสสนาค้นคิด คือคิดเพื่อรู้แล้วให้หยุดคิด หรือคิดแก้คิด คือโอนจิตออกจากอารมณ์ ที่เราไม่ต้องการ คือเราคิดในองค์อริยะมรรค เพื่อให้จิตสงบจากอารมณ์ภายนอกแล้วให้วางความคิด เพราะความคิดเป็นตัวสังขตธรรม สังขตธรรม บัง อสังขตธรรม วิปัสสนาค้นคิดสงเคราะห์ลงในสัมมานะญาณ เป็นญาณต้นจบวิปัสสนาค้นคิด

วิปัสสนาหยุดคิด

แต่นี้จักแสดง วิปัสสนาหยุดคิด คือ วางอารมณ์สามกาลให้หมด ไม่คิดในอดีต อนาคต ปัจจุบัน เมื่อวางความคิดแล้ว ความคิดจึงไม่มี แต่มันเหลือ ความรู้ ซึ่งเป็นของเป็นเอง เราไม่ได้คิดมันรู้เอง มันจึงเรียกว่า ขันธ์เป็นเอง เป็นของละไม่ได้ ละได้แต่ความคิดในสามกาล
เมื่อวางความคิดในสามกาล มันเหลือความรู้จึงให้ออกจากความรู้ ถึงความรู้อันมีอยู่ในปัจจุบันละไม่ได้ ก็ให้ออก เพื่อจะ ตัดต้นทางแห่งความคิด ในฐานที่ 3 ก็ได้ แสดงแล้วว่า ให้ออกจากความรู้ การทีได้แสดงเป็นลำดับมา ก็เพราะมันเป็นธรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน
การที่จะออกจากความรู้ก็ต้อง กำหนดความรู้ คือ ระวังมันจะเข้าไปติดความรู้ในฐานที่ 4 จึงต้องมีสติ เป็นนายประตูสำหรับดูทวาร เมื่ออารมณ์ผ่านเข้ามา มันเกิด ความรู้ขึ้น ผู้จะรักษาจึงต้องมีสติรักษา แต่สติก็เป็นแต่ผู้ระลึก ผู้กำหนดรู้เท่านั้น
ถ้าอุปาทาน มันมีกำลังมาก สติก็ห้ามไว้ไม่อยู่ จึง มีฐานที่ 5 เป็นเครื่องสนับสนุน เมื่ออารมณ์อันใดผ่านมา ไม่ให้ถือมั่นในอารมณ์นั้น แต่การที่จะไม่ให้ถือมั่นในอารมณ์นั้น ก็จะต้องเห็นว่าอารมณ์เหล่านั้น ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน จึงจะ วางอารมณ์ เหล่านั้นได้
การที่จะเห็นแจ้งเห็นจริง ก็ต้องอาศัยการ ค้นคิด บ้างอาศัยการ เพ่งดู บ้าง จึงได้กล่าวถึงการค้นคิด ครั้นรู้แล้วให้วางความคิด เมื่อวางความคิดในสามกาลแล้ว ส่วนความรู้อันนี้เป็นของที่ยืนที่ เว้นไว้แต่นอนหลับ หรือคนตาย หรือพระอริยเจ้าเข้านิโรธ จึงจะดับความรู้อันนี้ได้
ความรู้อันนี้แหละที่กล่าวกันอยู่ว่าให้รู้จักรูป ให้รู้จักนามคือนามและรูปเกิดแล้วดับ จะห้ามไม่ให้เขาเกิดก็ไม่ได้ เกิดแล้วจะห้ามไม่ให้ดับก็ไม่ได้ นามและรูปเป็น อัญญะมัญญะปัจจัย อาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
การที่จะดูนามและรูป ให้แจ้งชัดต้องวางความคิดให้หมด แล้วจะเห็นแต่นาม และรับที่มันเกิดเองดับเอง มันจะสุขจะทุกข์อะไร ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของมัน ฝ่ายไหนมีเกิดฝ่ายนั้นก็มีดับ อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีเกิด ไม่มีดับ ตัวเราพึงอยู่กับฝ่ายที่ไม่เกิดไม่ดับ ทำอย่างไรผู้ปฏิบัติธรรมจึงจะเห็นฝ่ายเกิด ฝ่ายดับ และฝ่ายที่ ไม่เกิดไม่ดับ
ถ้าอยากเห็นก็ให้ดูหทัยวัตถุอันเป็นที่ประชุมแห่งรูปหุ่น สังขาร ความปรุงแต่ง มัน แต่งอยู่ที่หทัยวัตถุ สังขาร เหล่านี้มันจะแต่ง มันอาศัย ตัณหา ความอยาก ถ้าอยากไปในอดีต มันก็แต่งไปในอดีต ถ้าอยากไปในอนาคตมันก็แต่งไปในอนาคต ถ้าอยากในปัจจุบันมันก็แต่งไปในปัจจุบัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 08 มี.ค.2007, 7:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตัณหาที่มันมาแต่งนี้ มันอาศัย อวิชา เป็นผู้เข้าหนุนเมื่อเราดับเสียซึ่ง อวิชา ไม่ให้เข้าไปหนุนได้ การดับอวิชาก็คือ การกำหนดรู้นาม และรูป ที่มันเกิด ๆดับ ๆ อยู่นี้เอง ท่าน เรียก อุทยัพพยญาณ ก็เรียก เรียกว่า กำหนดทุกขสัจจ์ ก็เรียก การที่จะให้กำหนด ทุกขสัจจ์ ก็เพราะทุกข์สัจจ์เป็นของละไม่ได้ ละได้แต่ สมุทัยสัจจ์ คือ ละได้แต่ความคิด
เมื่อมี สติ กำหนดรู้อยู่สตินี้แหละเป็นตัว วิชา เมื่อวิชา เกิดขึ้นตั้งอยู่ อวิชาก็ ดับไป สังขารก็ดับ ตัณหาก็กับหทัยวัตถุก็ว่างเปล่า เหมือนจอหนังจะว่างก็เพราะรูปหุ่นมันไม่มี รูปหุ่นจะไม่มีมาก็เพราะเครื่องฉายมันหยุด เครื่องฉายมันจะหยุด ก็เพราะ คนฉายหนังหยุดฉาย

ขันธ์เป็นเอง และขันธ์ดัดแปลง

เมื่อวางอารมณ์สามกาลไม่คิดเรื่องอะไร หทัยวัตถุก็ว่าง เปล่าเท่านั้น ให้อยู่กับความว่างเปล่านี้แหละห้ามไม่ให้ความคิดในสามกาลบังเกิดขึ้น ความคิด ในสามกาลเป็นตัว สมุทัย เป็นเหตุ ให้เกิดทุกข์เป็นกิจที่ควรประหารไม่ให้เกิดขึ้น
ส่วนตัวทุกขสัจจ์มันเกิดมันดับ ซึ่งเป็นขันธ์ที่เป็นเองอย่าเข้าไปอยู่กับมัน ระวังตัวสมุทัยสัจจ์ มันจะเกิดขึ้นในลำดับแห่งทุกขสัจจ์ เหตุนั้นจึงให้ออกจากมัน มันเห็นเอง มันได้ยินเองมันหิวมันกระหายเอง มันหนาวมันร้อน เอง มันแก่ มันเจ็บ มันตายของมันเอง เราไม่ได้บอกให้เป็น มันเป็นเองท่านจึงเรียกว่า ขันธ์เป็นเอง
ระวังแต่ขันธ์ดัดแปลง ถ้าขันธ์ดัดแปลงเกิดขึ้นในกาลใดในกาลนั้นเป็นตัวสมุทัยเกิดทุกข์ ขันธ์ดัดแปลงก็คือ ขันธ์โลก ขันธ์โกรธ ขันธ์หลง นี้เองขันธ์ดัดแปลงมันจะเกิดขึ้นมันก็อาศัยขันธ์เป็นเอง เราไม่รู้เท่าขันธ์เป็นเองว่าธรรมชาติของมันเป็นอยู่อย่างนั้น ๆ
ขันธ์เป็นเอง คือ อายตนะภายในกับอายตนะภายนอกอายตนะ แปลว่าเครื่องต่อ ถ้ายังไม่ต่อก็ไม่เรียกว่า อายตนะเมื่อมันต่อกันขึ้นจึงเรียกว่า อายตนะ เมื่อตาเห็นรูปจักขุวิญญาณเกิดขึ้น เมื่อหูฟังเสียงโสตวิญญาณจึงเกิดขึ้น
ตากับรูปเป็น รูปความรู้อันเกิดแต่ตาเป็น นาม หู กับเสียงเป็น รูป ความรู้อันเกิดแต่หูเป็น นาม นามและรูป เกิดแล้วก็ดับ เราไม่รู้จักว่า นาม และรูป ไม่รู้จักว่า ขันธ์ 5 ไม่รู้จัก อายตนะ ว่าเป็นของร้อน จึงเข้าไป ยึด ถือเอาโดยความเป็น เจ้าของ ตัวของ เรา จึงร้อน
ร้อนเพราะไฟคือ ราคะ ร้อนเพราะไฟคือ โทสะ ร้อน เพราะไฟ คือ โมหะ ร้อนไปด้วยความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เรียกว่าอยู่ใน วัฏฏ สงสาร
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 09 มี.ค.2007, 5:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การกำหนดอุทยัพพยญาณ

เมื่อกำหนดอุทยัพพยญาณ อันเป็นตัวทุกขสัจจ์อยู่ ส่วนญาณอื่นๆ ไม่ต้องกำหนด เกิดขึ้นเอง กำหนดแต่อุทยัพพยญาณอันเดียวตลอดได้สำเร็จอรหันต์ ภยตุปัฎฐาญาณ การเห็นภัยในสังขาร ว่าเป็นของ น่ากลัว นี้เป็นตัวผลเกิดมาจากอุทยัพพยญาณ
เมื่อเห็นภัยแล้วก็เห็นโทษ เรียกว่า อาทีนวญาณ เมื่อเห็นโทษแล้วย่อมหน่วยนี้เรียกว่า นิพพิทาญาณ เห็นเบื่อหน่ายแล้วก็หาทางหนี เรียกว่า มุญจิตกัมมยตาญาณ การจะหนี ก็ต้องหาอุบายในการปล่อยวาง เรียกว่า ปฏิสังขารญาณ อุบายที่สำคัญก็คือ วางใจเป็นกลาง ไม่รัก – ไม่ชัง
เพราะห้ามมันไม่ได้ มันอยากแก่ อยากเจ็บ อยากตาย ของมันเป็นเอง ปล่อยวางไปตามสภาพของมัน นี้ท่านเรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ หรือเรียกว่า อนุโลมญาณเป็นยอดแห่งญาณ
การที่กล่าวมาตามลำดับ อันนี้เรียกว่า วิปัสสนาทั้ง 9 เป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน มาจากอุทยัพพยญาณทั้งสิ้น
ที่ว่าอนุโลมญาณ หมายความว่า ตรวจดูภพทั้งสาม คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภพเหล่านี้ประชุมอยู่ที่หทัยวัตถุหทัยวัตถุเป็นผู้รับรู้ทั้งสิ้น ถ้าวางความรู้ใน อารมณ์สามกาลหมด ตัวภพทั้งปวงก็ดับไปด้วยประการทั้งปวง
ภพเหล่านี้จะดับอาศัยพระไตรลักษณ์ทั้งสาม เป็นอารมณ์แห่งพระนิพพาน ถ้าผู้ปฏิบัติเกิดสงสัยว่า ตนถึง นิพพานแล้วหรือไม่ถึง ต้องดูพระไตรลักษณ์ พระนิพพานไม่มีการยึดถือเอาสิ่งไรจึงเรียกว่า เอาอนัตตา เป็นอารมณ์ก่อน ตั้งแต่มรรคผลจะเกิดขึ้น
กามาวจรญาณสัมปยุต บังเกิดขึ้นในตันมโนวิถี ตัดกระแสภวังค์ให้ขาด ภวังคจิต แปลว่า จิตดวงนี้ไปสู่ดวงอื่น คือ ทวาร 6 รับรู้อารมณ์ เรียกว่า วิถีจิตเกิด เมื่อทวาร 6 หยุด รับรู้เรียกว่า ภวังค์
ที่ว่าให้กำหนดความ เกิดดับ ก็หมายความว่า ให้รู้ความเกิดเป็นวิถีจิต ความดับเป็นภวังคจิต ที่ว่ากามาวจรสัมปยุต คือตัวปัญญาของเราเพ่งอยู่ที่หทัยวัตถุของเรา หมายความว่าให้รู้ตัวอยู่เสมอเมื่ออะไรผ่านมาที่หทัยวัตถุของเราจะเป็นอิฎฐารมณ์หรือ อนิฏฐารมณ์ เป็น อดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ
อารมณ์ที่กล่าวมานี้เปรียบเหมือนรูปหุ่นมาปรากฏที่จอหนัง จอหนังเปรียบเหมือนหทัยวัตถุของเรา หทัยวัตถุของเรามมันไม่ว่างจากอารมณ์ ตัวกามาวจร ญาณสัมปยุตคือ ปัญญาเห็นว่าจิตเหล่านี้ไม่เที่ยง ทั้งเป็นทุกข์ด้วย จึงได้ปฏิเสธจิตเหล่านี้ ไม่ให้มันมาเกิดในมโนทวาร
ถ้ามันมาเกิดแล้วมันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันไม่ใช่ตัวเรา จึงได้นึกในใจว่า
ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง
เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ ดังนี้บ้าง
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เรา ดังนี้บ้าง
จะเลือกเอาข้อไหนก็ได้ไม่ต้องว่าหลายอัน ที่ 1 เป็น บริกรรม ที่ว่าบริกรรม คือ หทัยวัตถุของเรามันยังไม่ว่างจากสังขาร สังขารจะมาเกิด อาศัย เผลอสติ จิตที่เป็นกามาวจรญาญ สัมปยุตดับไป แปลว่า ตกภวังค์ จิตดวงอื่นมาเกิด
ถ้ากามาวจรญาณสัมปยุต ตัดกระแสภวังค์ให้ขาดเลยที่เดียว ตัวญาณสัมปยุตกามาวจรคิดอยู่ในใจว่า อะไร ๆ ก็ใช่เรา อะไร ๆ ก็ไม่ใช่เรา อารมณ์ที่กล่าวมามันมาเกิดไม่ได้เรียกว่า อุปจาระที่ 2
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 15 มี.ค.2007, 9:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อธิบายอริยสัจจ์ 4
เมื่อตัววิปัสสนา คือ อนัตตลักษณะ ตัดกระแสของภพทั้งสาม วางลง เรียกว่า อนุโลม หรืออัปปนาที่ 3 เมื่อออกจาก สังขารนิมิต ที่กล่าวมานั้นได้เด็ดขาด
หทัยวัตถุว่างเปล่า เรียกว่า โคตรภูจิต ที่แปลว่า จิต ล่วงจาก โลกียจิต เข้าสู่ โลกุตตรจิต
เมื่อกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทั้ง 3 ดับ ลงในกาลใด ในกาลนั้นเรียกว่า มหคต
เกิดเมื่อ มรรคเกิด ผลเกิด คือ จิตไม่มีอาการ ไปอาการมา ไม่มีอาการจุติการเกิด
ครั้นแล้วจิตก็ตกภวังค์ดังเก่า หมายความว่า จิตไป รู้ถึงโลกุตตรจิตแล้วจิตก็ตกภวังค์ ตัวปัจจเวกขณะญาณบังเกิดขึ้นในต้นมโนวิถี พิจารณามรรคธรรม ผลธรรมที่ตนได้แล้ว
กำหนดทุกขสัจจ์ ละสมุทัยสัจจ์ ทำนิโรธสัจจ์ ให้แจ้งทำมรรคสัจจ์ให้เกิดมีขึ้น
กำหนดทุกขสัจจ์ ก็คือ นามและรูป ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 เป็นตัวทุกข์สจจ์
ความไม่รู้นามและรูป ไม่รู้นามและรูป ไม่รู้ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 แล้วไปยึดถือเอา เป็นสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์
ถ้าปล่อยวางนามรูป ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 เป็นนิโรธความดับทุกข์
กิริยาที่ทำการปล่อยวางเป็นมรรค
เห็นประจักษ์เป็นสันทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติเห็นด้วยตนเองเรียกว่า พุทธ แปลว่า ผู้รู้ รู้ธรรมที่ไม่ตาย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 15 มี.ค.2007, 9:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ให้ถามถึงผู้ไม่ตาย 4

ฐานที่ 7 นี้เป็น เครื่องสอบผลจิต อันเกิดแต่มรรคเป็นผู้ทำไว้ ผลเป็นผู้เสวยกำไร เมื่อมรรคฆ่ากิเลสให้ตายเป็นสมุจเฉทประหารโดย เอกเทศ หรือ สิ้นเชิง ตามวาสนาบารมี
พระโสดา พระสกิทาคา ไม่ตายใน พระวินัย
พระอนาคา ไม่ตายใน พระสูตร คือจะขึ้นไปบังเกิดในชั้นสุทธาวาสพรหม ไม่กลับมาเข้าสู่ครรภ์ แล้วสิ้นลมหายใจเข้าโลงอีก จึงนับว่าไม่ตายในพระสูตร
พระอรหัตตไม่ตายใน พระปรมัตถ์ คือจิตของท่านไม่ตายจากบาปมาเป็นบุญ สิ้นบุญสิ้นบาป เป็นผู้มีจิตไม่กำเริบ จิตของท่านไม่มีอาการไปอาการมา
การจุติปฏิสนธิการเกิดการตาย ไม่ยึดเอาอะไรมาเป็นอารมณ์อีก ถือเอาอนัตตาเป็นอารมณ์โดยส่วนเดียวภพทั้งปวงเกิดขึ้นไม่ได้อีก
เพราะท่านปล่อย วางนาม วางรูป วางขันธ์ 5 อายตนะ อันเป็นของร้อน ไม่เข้าไปยึดอีก แต่อายตนะของ ท่าน ก็คงมีอยู่ตามเดิม แต่มันเป็นของ เย็น เย็นอยู่ทั้ง กลางวันกลางคืน ทั้งยืน เดิน นั่ง นอน
ข้อนี้พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า
“อัตถิ ภิกขเว ตทายตนํ “
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ นั้นมีอยู่ ที่ไม่เกิดแล้วไม่เป็นแล้ว ไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงไม่แต่งแล้ว
ที่ว่า ไม่เกิดแล้ว คือ ไม่เกิดราคะ โทสะ โมหะ ไม่เกิด บุญเกิดบาป ไม่เกิดรัก เกิดชัง อีก
ที่ว่าไม่เป็นแล้ว คือไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ไม่เป็นเขาไม่เป็นเรา ไม่เป็นหญิงไม่เป็นชาย ไม่เป็นสัตว์ไม่เป็นคน ไม่เป็นก๊กไม่เป็นเหล่า ไม่เป็นธรรมยุติ ไม่เป็นมหานิกาย ไม่เป็นอะไร ๆ เลยในโลกนี้ และโลกอื่น
ที่ว่าไม่ทำแล้ว ไม่ทำบุญทำบาป ไม่ทำดีทำชั่ว ทำอะไรเป็นแต่กิริยาที่ทำ ไม่เป็นกรรม
ที่ว่า ไม่ปรุงไม่แต่งแล้ว คือไม่ปรุงในอดีต อนาคตและปัจจุบัน
จิตของท่านไม่ลักลั่น ท่านจะใช้ให้ คิด ก็เป็น กิริยาที่คิด จิตของท่านอยู่เหนือ อำนาจแห่ง โลกธรรมทั้งสิ้น ศีล สมาธิ ปัญญา ของท่านเป็นของเป็นเอง ไม่ต้องรักษา เพราะอกุศลจิตและกุศลจิตขาดหมด
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 31 มี.ค.2007, 10:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระอริยเจ้า กับ ปุถุชน ถือไตรสรณาคมณ์ ต่าง กัน
พระอริยเจ้าทุก ๆ จำพวก เป็นผู้ถึงมหัคตสรณาคมณ์มรรคศีล หมายความว่าไม่ขาดจากพระไตรสรณาคมณ์ ไม่ขาดจากศีล เพราะกิเลสไม่มาจับต้องพระไตรสรณาคมณ์และศีล
พระโสดาฆ่าอกุศลได้ 5 คือ ทิฏฐิสัมปยุติ จิตกล้าในบาป อันเกิดในโลภมูล 4 ดวง วิจิกิจฉาในโมหมูล 1 ดวง ละวิจิกิจฉานิวรณ์ 1 ดวง ละสังโยชน์ได้ 3 คือ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส เมื่อสังโยชน์นิวรณ์ อกุศลเหล่านี้ขาด ศีล 5 จึงเป็น อธิศีล ขาดจากเจตนาความตั้งใจที่จะฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ แต่พระโสดายังหนักศีล 8 เพราะละกามฉันทะยังไม่ได้ ( จึงยังต้องเป็นผู้ครองเรือน ) จะเกิดมาในโลกนี้เพียง 7 ชาติ เป็นอย่างมาก
พระสกิทา ละได้เท่ากัน แต่ละกามฉันท พยาบาทให้เบาลง จะมาเกิดในโลกนี้คราวเดียว
พระอนาคา ละอกุศลได้ 7 คือ ที่พระโสดาละได้ 5 กับโทสะมูลอีก 2 ดวง ละนิวรณ์ได้ 3 คือ กามฉันท พยาบาท วิจิกิจฉา ละสังโยชน์ได้ 5 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส กามฉันท พยาบาท มีศีล 8 เป็นเอง
พระอรหัตต ละอกุศล 12 นิวรณ์ 5 สังโยชน์10 มี ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเอง ไม่ต้องรักษา

พระพุทธตุ๊กตา – พระธรรมเวทมนต์กลคาถา

พระอริยเจ้า ทุกจำพวกเข้าถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ภายใน
ส่วนปุถุชนถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กายนอก คือถึงแต่ตำรา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ปุถุชน ถึงแต่ตำราภายนอก แบ่งออกเป็น 2 พวก
• พวกหนึ่งไปอบาย
• พวกหนึ่งไปสวรรค์
จำพวกที่ไปอบาย คือ ถือพระพุทธตุ๊กตา ถือพระธรรมเวทมนต์กลคาถา ว่าฟัน
ไม่เข้า ยิงไม่ออก แต่เจ้าตัวไม่มีศีลธรรม อะไร ต้องการจะให้ พระพุทธ พระธรรมช่วย พระพุทธ พระธรรมช่วยคนที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมไม่ได้ ช่วยได้แต่คนที่มีศีลมีธรรมเท่านั้น
เหมือนพระราชาช่วยได้แต่คนไม่ทำผิดกฎหมายเท่านั้นส่วนคนที่ทำผิดกฎหมายช่วยไม่ได้
ผู้ที่ถือเอาตำราพระสงฆ์ คือถือเอาพระธรรมยุติเป็นที่พึ่ง ถือเอาพระมหานิกายเป็นที่พึ่ง นิยมในลัทธินิกาย ถือกันเป็นก๊กเป็นเหล่า ใครก็ว่าใครดี เกิดริษยากันทางวาจา หนักเข้าทุบตีกันทางกาย จำพวกที่ถือตำรา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างนี้ แหละนำไปอบาย
จำพวกที่สอง ถือ พระพุทธปฏิมากร อันเป็นตำราเสกสรรปรุงแต่งขึ้นด้วยอิฐด้วยปูน หรือเอาพระเล็ก ๆ มาแขวนคอไว้ก็ตาม ถือเอาด้วยความเลื่อมใส ถึงจะถือเอาเป็นของขลังก็ตาม
ส่วนการถึงตำราพระธรรม ถือเอาเสียงไหว้พระสวดมนต์เป็นที่ยินดี ถึงตำราพระสงฆ์ ถือเอาธรรมยุติ มหานิกาย ถือเอาด้วยความเลื่อมใส ไม่ถือพวกถือเหล่า ไม่ผิดศีลธรรม พวกนี้ไปสวรรค์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 14 เม.ย.2007, 8:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธะกับ ปัจเจกพุทธะ

ส่วนพระอริยเจ้า ถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ภายใน แปลว่า ถึงตัวจริง ถึงตัวพระพุทธะแท้
พุทธะแปลว่า ผู้รู้
ผู้รู้ก่อนเรียกว่า สัพพัญญูพุทธะ
ผู้รู้แล้วสั่งสอนผู้อื่นไม่ได้เรียกว่า ปัจเจกพุทธะ
ผู้รู้ตามเรียกว่า สาวกพุทธะ
รู้อะไรจึงเรียกว่า พุทธะ รู้อริยสัจจ์ 4 คือรู้ทุกข์รู้เหตุให้เกิดทุกข์ รู้ความดับทุกข์ รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ ผู้ใด เห็นพระอริยสัจจธรรม ก็แปลว่า ผู้นั้นถึงพระธรรมผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นก็ได้เห็นพระพุทธะ
ตัวผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้เห็นพระพุทธ ได้เห็นพระธรรม นั้นแลชื่อว่า พระสงฆ์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จึงอยู่ร่วมเป็นอันเดียวกัน

ดวงตาเห็นธรรม * ไม่ลูบคลำหนทาง

ผู้ที่เห็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ภายใน ดังนี้ ได้นามว่า อริยสงฆ์ อริยสงฆ์นี้ไม่จำกัดเพศ จำกัดบุคคลจะเป็นเพศหญิง เพศชาย ชาติไหน ภาษาไหนก็ตาม จะเป็นลัทธินิกายไหนก็ตาม
ข้อสำคัญอยู่ที่ได้ ดวงตาเห็นธรรม ไม่ลูบคลำหนทางเดินไม่เชื่อผู้อื่น เห็นด้วยตนเอง สรุปความในข้อปฏิบัติทุก ๆ ชั้น นับตั้งแต่ชั้นกามาวจรภูมิถึงโลกุตตรภูมิเป็นที่สุด จุดประสงค์ของการปฏิบัติธรรมมุ่งต่อ “ วีมุติรส “ ด้วยกันทั้งสิ้น
ผู้ให้ ทาน ก็มุ่งให้พ้นจากความทุกข์ความจน มุ่งให้พ้นจากความโลก ให้พ้นจากมัจฉริยะ ความตระหนี่
ผู้รักษา ศีล ก็มุ่งให้พ้นจากบาป
ผู้ที่ไหว้พระสวดมนต์ ก็มุ่งให้ใจผ่องใสให้หลุดพ้นจากความเศร้าหมอง
ผู้ที่ทำ สมาธิ ก็มุ่งให้จิตหลุดพ้นจากกาม
ผู้ที่กระทำปัญญาเจริญ วิปัสสนา ก็มุ่งให้จิตหลุดพ้นจาก ขันธ์
ผู้ที่ไม่รู้จักจุดประสงค์ มักจะปฏิบัติ เอาโลภ เอาโกรธ เอาหลง ถือจนขัดต่อกาละเทศะ ยกโทษติเตียนคนอื่น ซึ่งไม่ถูกกับขนบธรรมเนียมและระเบียบของตน เข้าใจว่าสิ่งที่ตนชอบดีหมด สิ่งที่ตนไม่ชอบไม่ดี เลยกลาย เป็น ทิฏฐิโอฆะ พ้นจากโลกไม่ได้

ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตาทั้งสิ้น

ผู้ปฏิบัติจริง พระองค์ไม่ให้ถือมั่นในธรรม เพราะธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา ทั้งสิ้น
บาป มาโดยธรรมชาติ อย่างหนึ่ง มาโดยสมมุตินิยมอย่างหนึ่ง มาโดยธรรมชาติ เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดลูกผิดเมียผู้อื่น พูดปด ดื่มน้ำเมา เป็นต้น ใครจะว่าบาปก็ตาม หรือใครจะว่าไม่บาปก็ตาม ก็ต้อง บาป โดยธรรมชาติของมัน
ส่วนบาปที่มาโดยสมมุตินิยม เช่นสมมุติว่า ออก เนกขัมมะ ถือเพศ นักบวช ห้ามการประพฤติอสัทธรรมเมื่อผู้ที่ออกเนกขัมมะ ฝืนสมมุติบัญญัติเข้าก็บาป แต่พวกที่เป็นคฤหัสถ์กระทำเข้าก็ไม่บาป ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า มาโดยสมมุตินิยม
ส่วนที่สมมุติ นิยม ซึ่งเป็นของเล็กน้อย เช่น ขุดดิน ฟันไม้ ซึ่งเขานิยมว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิตนั้น เมื่อผู้ถือเพศนักบวชมาขุดดิน ฟันไม้จึงเป็นของไม่งาม และขาดจากการบำเพ็ญสมณธรรม พระพุทธองค์ทรงเห็นชอบ จึงทรงบัญญัติไปตามสมมุตินิยมของโลก
แต่ถึงคราวงูกัด พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ตัดไม้ที่เป็นยามารักษาเอาเองได้ ถ้าผิดสมมุติบัญญัติ ก็ให้รีบแสดงอาบัติเสีย เพื่อไม่ให้สงสัย ผู้ที่ยังสงสัยในอาบัติแล้วไม่รีบแสดงเสียให้บริสุทธินั้น เมื่อเวลาใกล้จะอสัญญกรรม ใจ ก็บังเกิดเศร้าหมอง ครั้นเมื่อดวงชีวิต ละจากร่างแล้ว ก็ไปสู่ทุคติ
ดังเช่นพึงเห็นได้จากเรื่องที่ภิกษุองค์หนึ่ง ทำใบตะไคร้น้ำขาดโดยมิได้ตั้งใจ ครั้นกลับมาถึงอาวาสก็เกิดโรคปัจจุบันและมีความสงสัยในอาบัติของตน
เมื่อเวลาจวนจะตาย ตัวทวารสมมุติยุดหน่วง เป็นอารมณ์ พอทวารสมมุติแตกดับ ตัวทวารวิมุติก็บังเกิดให้เห็นเป็นท่าน้ำ ดวงจิตก็เลยยึดเอาไว้และไปปฏิสนธิเกิดเป็นพญาเวระปัฐนาคราช รักษาศีลมาถึงสองหมื่นปี จึงได้มาพบ พระพุทธองค์
แต่ก็ไม่สามารถที่จะสำเร็จมรรคผลในปัจจุบันชาติเพราะเหตุว่าตัวยังเป็นสัตว์ดิรัจฉานอยู่ จึงนับว่าอยู่ในทุคติ เหตุว่าได้มาพบพระพุทธองค์แล้ว เปรียบดังได้พบดวงแก้วมณีโชติ แต่ก็ไม่สามารถที่จะรับแก้ว คือรสพระสัทธรรมให้บังเกิดประโยชน์ สมดังความตั้งในไว้ เมื่อในอดีตชาติ นี้คือ บาปสมมุตินิยม
ถ้าเป็นคฤหัสถ์เขาอาจจะขุดดินฟันหญ้า ทำใบไม้ขาดหรือทำใบตะไคร้น้ำขาด เขาก็ไม่สงสัยและไม่กลัวบาปอันนี้เพราะเขาไม่ได้รักษาศีลอันนี้ เขาจึงไม่มีบาป คนที่ถือเอาบาปก็เลยได้บาปดังนี้
เหตุนั้นผู้ที่รู้จักบาปที่มาจากสมมุตินิยม จึงไม่ควรถือมั่นในวินัย อันขัดต่อกาลเทศะของชาวโลกเขานิยม อย่างไรเขาก็ไม่ติฉินนินทา เราก็อยู่สบาย วิติกมะโทษไม่มี ( สำหรับคฤหัสถ์ )
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 15 เม.ย.2007, 8:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทางสำหรับผู้ที่จะไปสู้พระนิพพาน

สิ่งใดที่เป็นบาปที่เราได้ทำไปแล้วในอดีต เราก็ควรอย่าพยายามเก็บเอามานึกมาคิด เพราะคนเราย่อมจะหลงทำบาปด้วยกันทุกคน ไม่น้อยก็มาก ที่ท่านห้ามไม่ให้นึกถึงอดีต อนาคตก็เพราะจะให้จิตหลุดพ้นจากอารมณ์ที่เป็นบาปหรือบุญก็ดี คือ
ทางสำหรับผู้ที่จะไปสู่พระนิพพาน จะต้องวาง ต้องปล่อยหมดทั้ง กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภพทั้งปวง จะมาประชุมอยู่ที่ ขันธ์
ผู้ที่วางขันธุ์ได้ ภพก็ดับไปหมด สำหรับผู้ที่วางขันธ์ยังไม่ได้ ภพคือ ตัวกรรมมันติดอยู่ที่ขันธ์ ท่านจึง ห้ามไม่ให้นึกถึงบาปที่ตนทำไว้เป็นอันขาด ธรรมทั้งหลายมีใจ ( มโนนึกน้อย ) ถึงก่อน สำเร็จแล้วด้วยใจ ( มโน )
ถ้าใจของผู้ใดได้ ฝึกให้อยู่เหนืออำนาจแห่งสิ่งทั้งปวงแล้ว ไม่ไปเกี่ยวเกาะ ไม่ถือมั่นในอุปาททานยินดีในการสละ ( ขันธ์ 5 ) ผู้นั้นก็สิ้นจากอาสวะทั้งหมด จุดประสงค์ของผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อจะดับตัวกรรมภพ ไม่ให้มีเชื้อสายสืบ ต่อไป ดับบาปได้แล้วให้ดับบุญให้ จิตหลุดพ้นทั้งบุญทั้งบาป
ผู้ปฏิบัติธรรมจึงเปรียบเหมือนนายช่างตีเหล็ก ถ้ายังมีตัวเหล็กเขาก็เอาไปทำประโยชน์ต่าง ๆ ถ้าเหล็กอย่างหยาบเขาก็เอาไปทำมีด ทำขวาน ถ้าอย่างกลางเขาก็เอาไปทำ มีดโกนทำกบใสไม้ ถ้าอย่างละเอียดเขาก็เอาไปทำตะไบสีเหล็ก หรือเลื่อยตัดเหล็ก
ถ้านายช่างตีเหล็กให้ละเอียดเข้าทุกที สนิมก็ออกไปทุกที กร่อนเข้าไปทุกที หนักเข้าก็เลยหมดเหล็ก
เหล็กเปรียบเหมือนโลกียธรรม อันตกอยู่ในสมมุติสมมุติกันว่าสัตว์ ว่าคน ว่าเทวดา อินทร์พรหม อันเป็นตัวภพ ตัวชาติ
ผู้ปฏิบัติธรรมหนักเข้าก็สิ้นชาติ สิ้นภพ จึงนับว่า พระนิพพานเหมือนนายช่างตีเหล็กหนักเข้าเลย หมดเหล็กฉะนั้นจึงไม่มีใครสมมุติว่าเหล็กอีก
เมื่อหมดภพหมดชาติแล้ว ก็หมดจากสมมุติ จึงเรียกว่า วิมุต
สมมุติ ย่อมบัง วิมุติ
โลก บัง ธรรม
สังขตะขันธ์ บัง อสังขตะขันธ์
สังขตะอายตนะ บัง อสังขตะอายตนะ
สังขตะธรรม บัง อสังขตะธรรม
สังขาร บัง วิสังขาร
ผู้ปฏิบัติธรรม ถ้าอยาก เห็นธรรม ก็ให้ เพิกโลก ออกให้หมด
ถ้าอยาก เห็นวิสังขาร ก็ให้ เพิกสังขาร ออกให้หมด
จบภพ 3 ภูมิ 4 เพียงเท่านี้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 08 พ.ค.2007, 7:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปัญหาธรรม 7 ข้อ

ข้าพระองค์ขอนอบน้อม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นบรมครู ตรัสรู้ชอบเองแล้วจึงได้นามว่า โลกวิทู ผู้รู้แจ้งโลก
บัดนี้ข้าพระองค์จะวินิจฉัยใคร่ครวญ ในเรื่อง โลกบังธรรม อารมณ์บังจิต ข้าพระองค์ ขออัญเชิญพระปัญญาคุณของพระองค์ จงมาดำรงในดวงจิตของข้าพระองค์ ผู้แต่งคัมภีร์ เรื่อง โลกบังธรรม อารมณ์บังจิต อย่าได้ผิดพลาด จากโอวาทคำสอน เพื่อให้เป็นประโยชนโสตถีผล แก่พุทธศาสนิกชนทุกถ้วนหน้า ดำเนินความตามคำพระโบราณาจารย์ที่ท่านกล่าวไว้เป็นภาษิตย่อ ๆ เป็นหัวข้อที่ควรจำ รวมเป็น 7 ข้อ ดังนี้
ข้อ 1. โลกก็บังธรรม ธรรมก็บังโลก อารมณ์ก็บังจิต จิตก็บังอารมณ์
ข้อ 2. ถ้าอยากเห็นธรรม ก็ให้เพิกโลกออกให้หมด ถ้าอยากเห็นจิต ก็ให้เพิก
อารมณ์ออกให้หมด
ข้อ 3. ลำพังธรรมอย่างเดียว หรือจิตอย่างเดียวเป็นวิสังขาร คือนิพพาน ไม่ใช่
สัตว์
ข้อ 4. ถ้าโลกอย่างเดียว หรือ อารมณ์อย่างเดียวก็เป็น อนุ – ปาทินกะสังขาร
ไม่ใช่สัตว์อีก
ข้อ 5. สัตว์นั้น เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้เพราะอาศัยโลกกับธรรม อาศัย
อารมณ์กับจิต เพราะเหตุนั้นสัตว์จึงต้องมีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย
มีใจ และมีอารมณ์ประสมเข้ากับจิต ถึงอรูปสัตว์ที่ไม่มีกายก็ต้องมี
อารมณ์ผสมเข้ากับจิตจึงจะเรียกว่าสัตว์ ว่าคนได้ เป็น อุปาทินกะสังขาร
ข้อ 6. โลกก็ดี อารมณ์ก็ดี เกิดดับ อยู่เสมอ ๆ แต่ ธรรมหรือ จิตอันบริสุทธิ์นั้น
ไม่เกิด ไม่ดับ
ข้อ 7. ถ้าเพิกโลกออกจากธรรม เพิกอารมณ์ออกจากจิตได้แล้ว ก็ไม่รู้ว่าจะยก
ขึ้นสู่บัญญัติว่าเป็นสัตว์ เป็นคน จึงบัญญัติเรียกว่า นิพพาน( นี้เป็นคำย่อ)
สัตว์ทั้งหลาย ที่อยู่ในภพดังกล่าวมานี้ อาศัยเพิกโลกออกจากธรรมไม่ได้ อาศัยเพิกอารมณ์ออกจากจิตไม่ได้ จึงได้ติดอยู่ในภพ ภพที่กล่าวมานี้เป็นอารมณ์ – ประสมเข้ากับจิตทั้งนั้น
ฉะนั้นจิตที่ติดอยู่ในภพเหล่านี้จึงเรียกว่ามโนกรรมตัวมโนกรรมนี้เรียกว่า กรรมวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์มาจาก กิเลสวัฏฏ์ กิเลสวัฏฏ์มาจากวิปากวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์มาจากโลก กับอารมณ์นี้เอง โลกกับอารมณ์นี้เกิดแล้วก็ดับ ไม่ตั้งอยู่ได้นาน เพียงระยะกาลนิดเดียวก็แปรผัน สัตว์จำพวกไหนไม่รู้จักโลกกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ได้กำหนดทุกขสัจจ จึงละตัวสมุทัยสัจจไม่ได้ ปล่อยให้โลกกับอารมณ์เข้าไปประสมกับจิต จึงบังเกิดความกำหนัดขัดเคือง ในโลกในอารมณ์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 12 พ.ค.2007, 9:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โลกกับอารมณ์

ต่อแต่นี้จักอธิบายในหัวข้อทั้ง 7 ให้พิสดารในกาลบัดนี้ ถ้าหากผิดพลาดขอปราชญ์ทั้งหลายจงได้แต้มเติมอย่าได้ส่อเสริมนินทา แก่ข้าพเจ้าผู้มีปัญญาน้อยด้วยเทอญฯ
ข้อที่ว่าโลกกับอารมณ์ทั้ง 2 นี้เป็นอันเดียวกัน ธรรมกับจิตก็เป็นอันเดียวกัน การที่จะเพิกโลกออกจากธรรมเพิกอารมณ์ออกจากจิต ก็ต้องให้รู้จักโลก ให้รู้จักอารมณ์ก่อน จึงจะเพิกโลกออกจากธรรม เพิกอารมณ์ออกจากจิตได้
หรือผู้ที่จะเข้าถึงธรรม หรือ ถึง จิตที่บริสุทธิ์ ก็ต้องให้รู้ธรรม หรือรู้จิตที่บริสุทธิ์ จึงจะเข้าถึงจิตที่บริสุทธิ์ได้ คำที่ว่าโลกในที่นี้ กล่าวโดยย่อ แยกออกเป็น 2 คือ
โอกาสโลก อย่างหนึ่ง สัตว์โลก อย่างหนึ่ง
โอกาสโลกหมายเอา ดิน น้ำไฟ ลม อากาศ ธาตุ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์โลก ฉะนั้น สัตว์โลกจึงเป็นผู้อาศัยอยู่ในโอกาสโลก โอกาสโลกเป็นที่อาศัยของสัตว์โลก
จึงแจกออกเป็นโลกอีก 3 โลกคือ
กามโลก 1
รูปโลก 1
อรูปโลก 1
โลกสามโลกนี้จำแนกเป็นที่อยู่ของสัตว์ไว้ 31 ภพ กามภพ 11 รูปภพ 16 อรูปภพ 4 จึงรวมเป็น 31 ดังนี้

จิตทีติดอยู่กับภพเป็นเหตุวัฏฏ์หมุน

โลกกับอารมณ์ จึงเป็น ตัววิปากวัฏฏ์ ความกำหนัด ขัดเคลืองในโลกกับอารมณ์ จึงเป็นตัวกิเลสวัฏฏ์ ความคิดนึกน้อมไปด้วยความกำหนัดขัดเคือง จึงเป็นตัวกรรมวัฏฏ์ คือตัวมโนกรรม
เมื่อมโนกรรมเกิดขึ้นก็สั่งให้กายทำเป็นกายกรรมสั่งให้วาจาพูดเป็นวจีกรรม จึงเกิดเป็นตัวกรรมภพขึ้น
ตัวกรรมภพ – จึงเป็นปัจจัยแห่งอุบัติภพ คือ ชาติ ชาติที่ปรากฏอยู่ในภพ 31 นั้นย่อมอาศัยกรรมได้
ในคำว่า
“ กัมมุนา วัฏฏติโลโก “
สัตว์โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรมดังนี้
“ กมฺมํ สตฺเตวิภสฺสติ ยทิทํ หินะปนิตยะ “
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ประณีต หรือเลวกว่า
กับเป็นชั้น ๆ ดังนี้

เมื่อรู้ว่า กรรมเป็นผู้จำแนกสัตว์ให้เกิดในโลก เมื่อสัตว์ เกิดขึ้นในโลกแล้วก็
กำหนัดขัดเคือง – อยู่ในโลก หรือ
กำหนัดขัดเคือง - อยู่ในอารมณ์อันประสมเข้ากับโลก
จึงออกจากโลก – จากอารมณ์ไม่ได้
จึงไม่เห็นธรรม
จึงไม่เห็นจิตอันบริสุทธิ์
เมื่อไม่เห็นธรรม ไม่เห็นจิต – อันบริสุทธิ์
จึงเห็นแต่โลก เห็นแต่อารมณ์
จึงท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏสงสารช้านานไม่มีกาลกำหนด
ต่อเมื่อใดรู้จักเพิกโลกออกจากธรรม เพิกอารมณ์ออกจากจิตในกาลใดในกาลนั้นจึงจะพ้นจากโลกพ้นจากอารมณ์ได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ค.2007, 8:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิธีเพิกโลกออกจากธรรม

เหตุนี้ จึงมีปัญหาถามขึ้นมาว่า การที่จะเพิกโลกออกจากธรรม เพิกอารมณ์ออกจากจิต จะเอาอะไรมาเพิกจึงจะหลุดพ้นจากโลก – จากอารมณ์
จึงมีคำแก้ว่า ต้องเอาองค์อริยมรรคเป็นเครื่องเพิกมรรคคืออะไร คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นมรรค ข้อ ปฏิบัติ ให้ถึง ซึ่งความดับทุกข์
ถาม มรรคคือ ศีล สมาธิ ปัญญา จะเพิกได้อย่างไร
เพิกอย่างนี้คือ เมื่อผู้มีจิตเจตนาคิดงดเว้นจากการทำบาปทางกาย ทางวาจา มีการไม่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ด้วยกายเป็นต้น ไม่พูดปดด้วยวาจาเป็นต้น
ถ้าเป็นโลกียศีล ได้แก่ศีลเกิดขึ้นด้วยสมาทานวิรัติคือสมาทานเอากับพระ หรือเป็นสัมปัตติวิรัติ เว้นการถึงพร้อมขณะเมื่อพบสัตว์ควรฆ่าแล้วไม่ฆ่าก็ดี ก็หลุดพ้นเป็นแต่เพียงตะทังคะวิมุติ หลุดพ้นจากกรรม จากโลก จากอารมณ์ได้ชั่วคราวเท่านั้น
ที่จะให้เป็นสมุทเฉทวิรัตินั้น ต้องเป็นชั้น โลกุตตร ศีล เป็นศีลที่ตัดกรรมได้เด็กขาด ทั้งตัดโลกออกจากธรรม ตัดอารมณ์ออกจากจิต ไม่ให้โลกเข้าไปติดธรรมไม่ให้อารมณ์เข้าไปติดจิต แต่โลกุตตรศีลจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยสมาธิกับปัญญา อันจะกล่าวข้างหน้าต่อไป
ศีล 5 ตัดได้แต่กรรมที่หยาบ ๆ ตัดอารมณ์ ที่หยาบ ๆ ไม่ให้ไปสู่โลกชั้นต่ำ คือ อบายภูมิ 4 เท่านั้น จึงคงตกอยู่ในโลกมนุษย์และสวรรค์ (เรียกว่ากามโลก )
ส่วนการสมาทานศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 ให้มีกายหลีกออกจากกาม จึงจะพ้นจากกามโลก ถึงสมาทาน ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 ถ้าเป็นแต่โลกีย ศีลคือเป็นแต่สมาทานวิรัติ และสัมปัตติวิรัติแล้ว ก็หลุดพ้นจากกามโลกเป็นแต่เพียงตะทังคะวิมุติ หลุดพ้นจากโลกไปได้ชั่วคราวเท่านั้น
ต่อเมื่อใด ได้เป็นโลกุตตรศีล ก็จะเป็นศีลที่ตัดกรรมให้ขาด ตัดโลกออกจากธรรมให้ขาด ตัดอารมณ์ ออกจากจิตให้ขาด แต่ศีลโลกุตตรจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัย อาศัยสมาธิกับปัญญา ดังจะพรรณาสืบต่อไปนี้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 17 พ.ค.2007, 9:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมาธิเป็นคู่ปรับกับนิวรณ์

ในระดับนี้ จักแสดงชั้นสมาธิอันเป็นเครื่องเพิกโลกออกจากธรรม เพิกอารมณ์ออกจากจิต
สมาธิ แปลว่า ทำจิตให้ตั้งมั่น อยู่ในอารมณ์อันเดียว ประกอบไปด้วยองค์ธรรมทั้ง 5 ละนิวรณ์ทั้ง 5 คือ
เอกัคคตาจิต เป็นคู่ปรับกับกามฉันทะ กามฉันทะเกิดขึ้น – อาศัยจิตดำริไปในกาม ถ้าจิตตั้งอยู่ในอารมณ์อันเดียวกามฉันทะย่อมขาด
สุข เป็นคู่ปรับกับพยาบาท ถ้าความสุขภายสุขใจมีอยู่พยาบาทย่อมไม่มี
ปีติ เป็นคู่ปรับกับอุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
วิตก ความตรึกนึกไปในกัมมัฏฐาน เป็นคู่ปรับกับถีนะมิทธะ ความง่วงเหงา
วิจารณ์ เป็นคู่ปรับกับวิจิกิจฉา ความสงสัยลังเล
องค์ฌานเป็นเครื่องปราบนิวรณ์ ให้จิตหลุดพ้นจากกามโลกได้นาน ๆ ด้วยองค์ฌานสะกดไว้ ถึงจะหลุดพ้นจากกามโลก ก็ยังไปติดอยู่ในรูปโลก อรูปโลก จึงยังพันจากโลกไปไม่ได้เพราะสมาธิที่เป็นโลกีย์ เป็นสมาธิที่ตกอยู่ในโลกติดอยู่ในอารมณ์ ซึ่งเรียกว่า “ อารมฺณูปนิจฺฌานฺ”
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2007, 8:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“ อารมฺณูปนิจฺฌานฺ”
ต่อเมื่อใดได้อาศัยปัญญาเข้ากำกับในสมาธิ พิจารณาองค์ฌาณ คือตัว สมถและธรรม อันสัมปยุตอยู่ด้วยองค์ฌาณ สันนิษฐานว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงเรียกว่า “ ลกฺขณูปนิจฺฌานฺ” จึงจะตัดเสียซึ่งรูปโลก อรูปโลกได้
เหตุนั้น ลำพังศีลอย่างเดียวหรือสมาธิอย่างเดียว ก็เป็นเครื่องประหารโลก ประหารอารมณ์ให้ขาด เป็นแต่เพียง ตะทัง คะวิมุติ หรือ วิขัมภณวิมุติ หลุดพ้นไปได้ชั่วคราว หรือหลุดพ้นไปได้นาน ๆ ด้วยองค์ฌานสะกดไว้เท่านั้น

เพิกโลกออกจากธรรมด้วยปัญญาวิมุติโลกุตตร

ในลำดับต่อไปนี้จึงจะแสดงถึงชั้นปัญญาอันเป็นเครื่องเพิกโลกออกจากธรรม เพิกอารมณ์ออกจากจิตได้อย่างเด็ดขาด ปัญญาในที่นี้ก็ต้องเป็นขั้นโลกุตตรปัญญา คือ ปัญญาที่ทัศนาเล็งเห็นอริยสัจจ 4 จิตจึงจะหลุดพ้นจากโลกจากอารมณ์ด้วย ปัญญาวิมุติ และเจโตวิมุติ
จักได้แสดงชั้นปัญญาวิมุติให้จิตหลุดพ้นจากกามโลกหรือกามารมณ์ที่เข้าไปประสมกับจิต ปัญญาที่จะเพิกโลกออกจากธรรม เพิกอารมณ์ออกจากจิตได้ ก็ต้องให้รู้แจ้งชัดว่าอะไรเป็นโลก อะไรเป็นอารมณ์
ก็โลกภายใน คือ สัตว์โลก อันได้แก่ตัวเรานี้เอง ส่วนโลกภายนอก ได้แก่ โอกาสโลก หรือ โลกที่เราอาศัย
โลกภายใน คือ ตา ของเราเป็นโลกอย่างหนึ่ง รูป ที่ เราเห็นด้วยตา ถ้าเป็นรูปแผ่นดิน รูปต้นไม้ รูปภูเขานี้เป็น
โอกาสโลก ถ้าเป็นรูปสัตว์ รูปคน ก็เป็นสัตว์โลก เป็นโลกภายนอกคือเราที่เราอาศัยเข้ามากระทบกับโลกภายใน คือ ตาเกิดเป็นอารมณ์ประสมเข้ากับจิตจึงเกิดจักษุวิญญาณขึ้น
เมื่อจักษุวิญญาณเกิดขึ้นในกาลใด ในกาลนั้นเราก็ทราบชัดว่าเรา ว่าเขา เป็นสัตว์ เป็นคน ถ้าเรานอนหลับอยู่จักษุวิญญาณก็ไม่เกิด เราก็ไม่ทราบชัดว่าเรา ว่าเขาเป็นสัตว์ เป็นคน
เราจะรู้ว่าเรามีตา ก็เพราะอาศัยรูปเข้ามากระทบตา อาศัยตากับรูปจึงเกิดจักษุวิญญาณ ตากับรูปกับจักษุวิญญาณเกิดขึ้นขณะหนึ่งแล้วก็ดับไป จึงเรียกว่าโลกเกิดดับเสมอ อารมณ์ที่ประสมเข้ากับจิตคือ รูปารมณ์เกิดแล้วก็ดับไป
แต่ธรรม หรือตัวปกติจิต – อันเป็นจิตเดิมแท้นั้นเป็นของไม่เกิดไม่ดับ ฝ่ายใดเกิดฝ่ายนั้นเป็นของไม่เกิดไม่ดับ ฝ่ายใดเกิดฝ่ายนั้นก็ดับ ฝ่ายไหนไม่เกิดฝ่ายนั้นก็ไม่ดับ ฝ่ายที่เกิดที่ดับก็จัดเป็นของจริงอย่างหนึ่งเรียกว่าจริงทุกขสัจจเพราะเป็นผู้เสวยอารมณ์
ถ้าเข้าไปยึดเอาตา เอารูป เอาจักษุวิญญาณโดยความเป็นเจ้าอง จะได้หรือไม่ได้เพราะอะไร เพราะมันเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เมื่อไม่ได้จิตก็เกิดอยากเป็นทุกข์ขึ้นที่จิตเพราะความอยาก เกิด อารมณ์ชอบและไม่ชอบนี้คือ จริงอะไร จริงสมุทัยสัจจ์ คือ เหตุให้เกิดทุกข์ได้จริง
ถ้าวางเสียซึ่งตา อันเป็นโลกภายในและวางเสียซึ่งรูปอันเป็นโลกภายนอก ทั้งวางจักษุวิญญาณผู้รู้แจ้งโลก ไม่ถือมั่นอะไรในโลก จิตของเราก็หลุดพ้นจากโลก นี้คือจริงอะไร จริงนิโรธสัจจ์ คือ ดับทุกข์ได้จริง
กิริยาที่ทำการปล่อยวาง ซึ่งตา ซึ่งรูป ซึ่งจักษุวิญญาณนี้คือจริงอะไร จริงมัคคสัจจทางปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ได้จริง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2007, 7:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขึ้นรอบที่ 2

หูของเราเป็นโลกภายใน เสียงที่มากระทบหู ถ้าเป็นเสียงดนตรี เสียงฟ้าร้อง เสียงคลื่น เสียงลมนี้เป็นโอกาสโลก ถ้าเป็นเสียงสัตว์ เสียงคน เป็นสัตว์โลกภายนอก
เมื่อโลกภายนอกเข้ามากระทบโลกภายใน เรียกว่า เกิดอารมณ์ประสมเข้ากับจิตในกาลใด ในกาลนั้นโสตวิญญาณได้เกิดขึ้นจึงรู้ชัดว่าเรา ว่าเขา เป็นสัตว์ เป็นคน
โสตวิญญาณความรู้ว่าสัตว์และคนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป สิ่งนั้นย่อมดับนี้คือจริงอะไร นี้คือจริงทุกขสัจจ์
ถ้าเข้าไปยึดถือ เอาสัตว์ เอาคน โดยความเป็นเจ้าของจะได้หรือไม่ได้ ไม่ได้เพราะอะไร เพราะสัตว์และคนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เมื่อไม่ได้จิตก็เกิดอยากเป็นทุกข์ขึ้นนี้คือจริงอะไร จริงสมุทัยสัจจ เหตุให้เกิดทุกข์ได้จริง
ถ้าปล่อยวางสัตว์ ปล่อยวางคน ไม่ยึดมั่นในสัตว์ในคน จิตของเราจะเป็นอย่างไร จิตของเราก็พ้นจากสัตว์จากคนนี้คือ จริงอะไร จริงนิโรธสัจจ์ คือ ดับทุกข์ได้จริง
กิริยาที่ทำการปล่อยวาง ซึ่งหู ซึ่งเสียง ซึ่งความรู้ว่าสัตว์และคน นี่คือจริงอะไร จริงมัคคสัจจ หนทางดับทุกข์ได้จริง
จบรอบที่ 2

ขึ้นรอบที่ 3

จมูกของเราเป็นสัตว์โลกภายใน กลิ่นที่มากระทบจมูกถ้าเป็นกลิ่นที่ไม่มีวิญญาณนี้เป็นโอกาสโลก ถ้าเป็นกลิ่นสัตว์ กลิ่นคนนี้เป็นสัตว์โลกภายนอก
เมื่อโลกภายนอกมากระทบโลกภายใน เรียกว่า เกิดอารมณ์ประสมเข้ากับจิตจึงเกิด ฆานะวิญญาณ ฆานะวิญญาณเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปนี้คือจริงอะไร จริงทุกข์สัจจเป็นผู้เสวยอารมณ์
ถ้าเข้าไปยึดถือเอาฆานะวิญญาณโดยความเป็นเจ้าของจะได้หรือไม่ได้ ไม่ได้-เพราะอะไร เพราะฆานะวิญญาณเกิดแล้วดับไป เมื่อไม่ได้จิตก็เกิดอยากแสดงอาการชอบและไม่ชอบนี้เป็นทุกข์เกิดขึ้นนี้คือจริงอะไร จริงสมุทัยสัจจคือเหตุให้เกิดทุกข์ได้จริง
ถ้า ปล่อยวาง ฆานะวิญญาณ ไม่ยึดมั่นอะไรในโลกจิตของเราย่อมหลุดพ้นจากโลกนี้คือจริงอะไร จริงนิโรธสัจจคือดับทุกข์ได้จริง
กิริยาที่ทำการปล่อยวาง ซึ่งจมูก ซึ่งกลิ่น ซึ่งฆานะวิญญาณนี้คือจริงมัคคสัจจ หนทางดับทุกข์ได้จริง
จบรอบที่ 3





ขึ้นรอบที่ 4

ลิ้นของเราเป็นสัตว์โลกภายใน รสที่มากระทบลิ้นถ้าเป็นรสอาหารเผ็ด เค็ม หวาน เปรี้ยว นี้เป็นโอกาสโลกถ้าเป็นรสเป็ด รสไก่ รสหมู รสวัวนี้เป็นสัตว์โลกเป็นโลกภายนอก
เมื่อโลกภายนอกเข้ามากระทบโลกภายใน เรียกว่าเกิดอารมณ์ – ประสมเข้ากับจิต จึงเกิดชิวหาวิญญาณเป็นผู้เสวยอารมณ์
เกิดขึ้นแล้วดับไป นี้คือจริงทุกข์สัจจ ถ้าเข้าไปยึดถือในรสต่าง ๆ เกิดสัญญาทางชิวหาวิญญาณ อยาก (กำหนัด) ในรสที่อร่อย เกลียด (ขัดเคือง) ในรสที่ไม่อร่อยนี้เป็นสมุทัยสัจจ คือเหตุให้เกิดทุกข์ได้จริง
ถ้าปล่อยวางเสียซึ่งรสทางชิวหาวิญญาณก็เป็นนิโรธสัจจดับความทุกข์
กิริยาที่ทำการปล่อยวางเป็นมรรคสัจจ ทางปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์
จบรอบที่ 4

ขึ้นรอบที่ 5

กายของเราเป็นสัตว์โลกภายใน โผฏฐัพพะที่เข้ามากระทบกายถ้าเป็นสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ นี้เป็นโอกาสโลก ถ้าเป็นสิ่งที่มีวิญญาณเช่น ถ้าหญิงกระทบชาย ชายกระทบหญิงนี้เป็นสัตว์โลกภายนอก
เมื่อโลกภายนอกเข้ามากระทบโลกภายใน เรียกว่าเกิดอารมณ์ประสมเข้ากับจิต จึงเกิดกายวิญญาณ รู้กาย รู้สิ่งที่มากระทบกาย รู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการกระทบ
กายที่รู้ สิ่งที่มากระทบกายที่รู้ ความรู้สึกที่เกิดจากการกระทบที่รู้เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปนี้คือทุกขสัจจ
ถ้าผู้เสวยอารมณ์เข้าไปยึดถือเอากายวิญญาณ ความรู้ทางกายที่เกิดขึ้นแล้วดับไปนี้โดยความเป็นเจ้าของ ด้วยความอยากเป็นสมุทัยสัจจเป็นผู้ก่อเหตุให้เกิดทุกข์
ถ้าวางกายวิญญาณ ไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็นนิโรธสัจจความดับทุกข์
กิริยาที่ทำการปล่อยวางกายวิญญาณเป็นมรรคสัจจทางปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์
ขึ้นรอบที่ 6

หทัยวัตถุของเราเป็นสัตว์โลกภายใน ธรรมารมณ์ที่มากระทบหทัยวัตถุเป็นโลกภายนอก เมื่อโลกภายนอกเข้ามากระทบโลกภายใน เรียกว่าเกิดอารมณ์ประสมเข้ากับจิต จึงเกิดมโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ
มโนวิญญาณ ความรู้ทางใจที่เกิดขึ้นจากการกระทบระหว่างหทัยวัตถุกับธรรมารมณ์เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปนี้คือ ทุกขสัจจเป็นผู้เสวยอารมณ์
ถ้าเกิดความอยาก เข้าไปยึดเอาหทัยวัตถุ เอาธรรมารมณ์ทางมโนวิญญาณโดยความเป็นเจ้าของ เป็นสมุทัยสัจจคือเหตุให้เกิดทุกข์
ถ้าปล่อยวางธรรมารมณ์ทางมโนวิญญาณ ไม่ยึดมั่นอะไรในโลกเป็นนิโรธสัจจความ ดับทุกข์
กิริยาที่ทำการปล่อยวางเป็นมรรคสัจจ ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์
จบรอบที่ 6

สรุปความ ในการเพิกโลกออกจากธรรม เพิกอารมณ์ ออกจากจิต ชั้นกามโลกนี้เป็นชั้นปัญญาวิมุติ ให้จิตหลุดพ้นจากกามโลกด้วยปัญญาอันทัศนาเล็งเห็น……
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 02 ต.ค.2007, 7:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อริยสัจจ์ 4

วัตถุ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (หทัยวัตถุ) เป็นสัตว์โลกไม่ใช่เราจริงเป็นของใช้ชั่วคราว
อารมณ์ 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ไม่ใช่ของ ๆ เราจริง เป็นสิ่งที่เราอาศัยชั่วคราว
วิญญาณธาตุ 7 คือ จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานะวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ
วิญญาณธาตุ 7 นี้อาศัยวัตถุ 6 , วัตถุ 6 อาศัยอารมณ์ 6 เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่ใช่ตัวเราจริง เป็นวิญญาณธาตุที่เกิดึ้นในกามโลกเป็นตัวทุกขสัจจเป็นจิตที่จะต้องกำหนดรู้
ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องกำหนดรู้ทั้งกลางวัน กลางคืน ทั้งยืน ทั้งเดิน ทั้งนั่ง ทั้งนอนให้เห็นโลก 6 ให้เห็นอารมณ์ 6 ให้เห็นวิญญาณธาตุ 7 รวมสั้น ๆ ให้เห็นนามและรูปเกิดขึ้นแล้วดับไป การกำหนดรู้ดังนี้เรียกว่า กำหนดรู้ทุกขสัจจก็เรียกว่า กำหนดรู้อุทัพพยญาณ ก็เรียก
ให้เห็นสังขารผู้มาปรุงแต่งเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อให้เกิดนิพพิทา ความเบื่อหน่ายจากโลก หน่ายจากอารมณ์ที่มาประสมกับจิต
หน่ายจากนามและรูปเกิดแล้วดับ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใคร การกำหนดรู้ดังนี้เพื่อประสงค์อะไร เพื่อประสงค์จะตัดเสียซึ่งตัว สมุทัยคือ ตัณหาอุปาทาน
อันเป็นตัวกิเลสวัฏฏ เป็นตัวปัจจุบันเหตุมันจะเกิดขึ้นในระดับแห่งตัว ปัจจุบันผลคือนามและรูป อันเป็นตัววิปากวัฏฏที่เป็นผู้เสวยกำไรที่ตนทำไว้ในอดีตเหตุจึงให้กำหนดรู้ปัจจุบันผลเพื่อจะตัดต้นทางแห่งตัวปัจจุบันเหตุเพื่อจะไม่ให้มีตัวอนาคตผลเกิดต่อ
จึงให้กำหนดรู้ทุกขสัจจ เพื่อจะละอวิชาความไม่รู้ถ้าเผลอสติม่ได้กำหนดรู้ อวิชาความไม่รู้เกิดขึ้น ตัวตัณหาอุปาทานอันเป็นต้นทางของตัวปัจจุบันเหตุ จึงฉวยโอกาสเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในโลก ในอารมณ์ที่เข้าประสมกับจิต ด้วยความสำคัญต่อว่า เป็นผู้ได้เห็น ได้ยิน ได้ดมกลิ่น ได้ลิ้มรส ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะ ได้รับธรรมารมณ์
จึงเป็นเหตุให้เกิดความกำหนดขัดเคือง อยู่ในโลก อยู่ในอารมณ์ ความติดอยู่ในโลก ติดอยู่ในอารมณ์ จึงมีเมื่อความติดอยู่ในโลกอยู่ในอารมณ์มีแล้ว โลกนี้จึงมี
เมื่อโลกนี้มี โลกหน้าจึงมีความเกิดขึ้นของโลกย่อมมีด้วยประการดังนี้ เมื่อผู้ต้องการจะดับโลกจึงต้องดับตัวปัจจุบันเหตุไม่ให้เกิดขึ้น เหตุนั้นสมุทัยสัจจจึงต้องเป็นกิจที่จะต้องประหาร
คือ ห้ามไม่ให้เข้าไปอยาก ห้ามไม่ให้เข้าไปยึดถือตัวปัจจุบันผล ตัวปัจจุบันผลก็คือโลก คืออารมณ์ภายในอันได้แก่ตัวเราซึ่งเป็นตัวสัตว์โลก เมื่อโลกภายนอกเข้ามากระทบโลกภายในเกิดอารมณ์ขึ้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 15 ต.ค.2007, 7:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จึงห้ามมิให้เอาอารมณ์ เข้ามาประสมกับจิตคือ ความยึดติดในอารมณ์นั้น ๆ ให้เพิกโลกออกจากธรรม เพิกอารมณ์ออกจากจิต การที่จะเพิกโลกออกจากธรรม เพิกอารมณ์ออกจากจิตก็ต้องเห็นโลกเห็นอารมณ์ว่าเป็นของว่าง ของสูญ หาสาระ หาแก่นสารมิได้ จึงถอนอัตตนุทิฏฐิ ความสำคัญว่าตัว ว่าตนเสียคือ
เมื่อโลกภายนอกเข้ามากระทบโลกภายใน จักษุวิญญาณเกิดขึ้นก็ให้สักแต่ว่าได้เห็น ไม่ใช่เราเป็นผู้เห็น ไม่ใช่เราได้ยิน ไม่ใช่เราดมกลิ่น ไม่ใช่เราลิ้มรส ไม่ใช่เราถูกต้องโผฏฐัพพะ ไม่ใช่เรารับธรรมารมณ์
ให้ทำจิตให้มั่นในองค์สัมโพธิ คือ ปัญญาเป็นเครื่องเห็นเอง รู้เอง อย่าถือมั่นในตัณหาอุปาทาน ให้ยินดีในการสละความกำหนัดขัดเคือง ในโลก ในอารมณ์จึงไม่มี
เมื่อความกำหนัดขัดเคือง ในโลก ในอารมณ์ ไม่มีความติดอยู่ในโลกในอารมณ์จึงไม่มี เมื่อความติดอยู่ในอารมณ์ไม่มี โลกนี้จึงไม่มี เมื่อโลกนี้ไม่มี โลกหน้าจึงไม่มีความดับโลก ย่อมมีด้วยประการดังนี้แล
เมื่อโลกดับแล้วจึงเข้าถึงธรรม ย่อมเข้าถึงจิตอันบริสุทธิ์ ธรรมคืออมตะธรรม หรือนิโรธธรรม นิพพานธรรมอันเป็นธรรมที่ไม่ตายเป็นจิตที่เที่ยง เป็นจิตที่บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในปกติจิตเดิม ไม่มีโลกไม่มีอารมณ์เป็นเครื่องยึดหน่วงมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
ตัดกระแสของโลกของภพให้ขาด ด้วยอำนาจของมรรค จิต คือ ปัญญา พิจารณาเห็นโลกเห็นอารมณ์เป็นของว่างของสูญ ถอนอัตตานุทิฏฐิ ความสำคัญตัวตนเสียได้ไม่มีมโนน้อมนึกไปสู่อารมณ์ สิ้นคิด สิ้นนึก สิ้นอยาก สิ้นความยึดถือ ไม่ถือมั่นในโลกในอารมณ์
นิโรธสัจจจึงเป็นกิจที่ควรจะกระทำให้แจ้ง ถ้าไม่กระทำให้แจ้ง ตัวปัจจุบันเหตุคือตัวตัณหาอุปาทานมันจะเกิดขึ้น มันจะเกิดขึ้นที่ไหน มันจะตั้งอยู่ที่นั่น
ถ้าไม่รู้หน้าตาของมันก็ดับมันไม่ได้ ตัณหาอุปาทานมันจะเกิดขึ้น มันอาศัยโลกเข้ามาประสมธรรม อาศัยอารมณ์เข้ามาประสมจิต จิตจึงได้กำหนัดขัดเคืองอยู่ในกามโลก อยู่ในกามารมณ์ จึงเรียกว่า กามตัณหา กามุปาทาน
ตัณหามันจะเกิดขึ้น มันย่อมเกิดที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอันเป็นตัวสัตว์โลก มันจะตั้งอยู่ มันก็ตั้งอยู่ในที่นี้ บุคคลละตัณหาก็ต้องละที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
บุคคลจะละตัณหาจะเอาอะไร เป็นเครื่องละเป็นเครื่องดับ ต้องเอาศีล สมาธิ ปัญญาเป็นเครื่องดับ เหตุนั้นมัคคสัจจจึงเป็นกิจที่จะต้องกระทำให้เกิดให้มีเพื่อเป็นเครื่องประหารสมุทัยคือ ตัณหาไม่ให้เกิดขึ้นได้
ว่ามาในชั้นปัญญาวิมุติ คือ ตัวปัญญาพิจารณาเห็นโลกได้แก่ กามโลกอันเป็นกามารมณ์เป็นของว่าง เป็นของสูญ ปราศจากอารมณ์มิให้เกิดขึ้นเพื่อถอนอัตตาความสำคัญในตนเสียได้เข้าถึงนิพพานทีเดียว
ไม่เกี่ยวกับการทำฌาน ทำจิตให้ตั้งมั่นในชั้นกามาวจรสมาธิ คือ โอนจิตออกจากอารมณ์ภายนอก มีวัตถุ 6 อารมณ์ 6 วิญญาณธาตุ 7 เป็นเครื่องกำหนดรู้เป็นตัวทุกขสัจจ
ละสมุทัยสัจจไม่ให้เข้าไปยึด วัตถุ 6 อารมณ์ 6 วิญญาณธาตุ 7 ว่าเป็นตัวเราถอนตัวออกจากโลก ออกจากอารมณ์ เมื่อโลก เมื่ออารมณ์และเมื่อวิญญาณมีมโนน้อมนึกไปสู่อารมณ์สิ้นคิด สิ้นนึก สิ้นอยาก สิ้นความยึดถือ ไม่ถือมั่นในโลกในอารมณ์
นิโรธสัจจจึงเป็นกิจที่ควรจะกระทำให้แจ้ง ถ้าไม่กระทำให้แจ้งตัวปัจจุบันเหตุคือตัวตัณหาอุปาทานมันจะเกิดขึ้น จะเกิดขึ้นที่ไหนมันจะตั้งอยู่ที่นั่น
ถ้าไม่รู้หน้าตาองมันก็ดับมันไม่ได้ ตัณหาอุปาทานมันจะเกิดขึ้น มันอาศัยโลกเข้ามาประสมธรรม อาศัยอารมณ์เข้ามาประสมจิต จิตจึงได้กำหนัดขัดเคืองอยู่ในกามโลก อยู่ในกามารมณ์จึงเรียกว่า กามตัณหา กามุปาทาน
ตัณหามันจะเกิดขึ้น มันย่อมเกิดที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็นตัวสัตว์โลก มันจะตั้งอยู่ มันก็ตั้งอยู่ในที่นี้บุคคลละตัณหาก็ต้องละที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
บุคคลจะละตัณหาจะเอาอะไรเป็นเครื่องละเป็นเครื่องดับ ต้องเอาศีล สมาธิ ปัญญาเป็นเครื่องดับ เหตุนั้นมัคคสัจจจึงเป็นกิจที่จะต้องกระทำให้เกิดให้มีเพื่อเป็นเครื่องประหารสมุทัยคือตัณหาไม่ให้เกิดขึ้นได้
ว่ามาในชั้นปัญญาวิมุติ คือ ตัวปัญญาพิจารณาเห็นโลกได้แก่ กามโลกอันเป็นกามารมณ์ เป็นของว่าง เป็นของสูญ ปราศจากอารมณ์มิให้เกิดขึ้นเพื่อถอนอัตตาความสำคัญในตนเสียได้ เข้าถึงนิพพานทีเดียว
ไม่เกี่ยวกับการทำฌาน ทำจิตให้ตั้งมั่นในชั้นกามาวจรสมาธิคือ โอนจิตออกจากอารมณ์ภายนอก มีวัตถุ 6 อารมณ์ 6 วิญญาณธาตุ 7 เป็นเครื่องกำหนดรู้เป็นตัวทุกขสัจจ
ละสมุทัยสัจจไม่ให้เข้าไปยึด วัตถุ 6 อารมณ์ 6 วิญญาณธาตุ 7 ว่าเป็นตัวเราถอนตัวออกจากโลก ออกจากอารมณ์ เมื่อโลก เมื่ออารมณ์และเมื่อวิญญาณธาตุ 7 มันเกิดขึ้นมันก็ดับ แต่ตัวเราอย่าไปยุ่งกับมัน ฝ่ายใดมันเกิด ฝ่ายนั้นมันก็ดับ
อีกฝ่ายหนึ่งไม่เกิดไม่ดับ เราพึงอยู่กับฝ่ายไม่เกิดไม่ดับ คือ ให้อยู่นอกโลกอารมณ์ อย่าให้โลกเข้ามาประสมธรรม อย่าให้อารมณ์เข้ามาประสมจิต จิตจึงจะพ้นจากโลกจากอารมณ์ โลกกับอารมณ์มันเป็นของไม่เที่ยง
ถ้าปล่อยจิตไปตามโลกไปตามอารมณ์ จิตจึงไม่เที่ยงไปตามโลกไปตามอารมณ์ เมื่อเพิกโลกเพิกอารมณ์ออกจากจิต จิตจึงเที่ยง เมื่อจิตเที่ยง จิตจึงไม่ไป ไม่มา ไม่จุติ ไม่สนธิไปตามโลกตามอารมณ์ จิตจึงเข้าถึงธรรมที่ไม่ตาย จบชั้นปัญญาวิมุติเพียงเท่านี้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 09 ม.ค. 2008, 9:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพิกโลกออกจากธรรมด้วยเจโตวิมุติโลกุตตร
ในลำดับต่อไปนี้จักได้แสดง เจโตวิมุติโลกุตตร เจโตวิมุติโลกิยได้กล่าวไว้แล้วในชั้นต้น แต่ต้องย้ำอีกก่อนเจโตวิมุติโลกิยยังเป็นเหตุให้ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏสงสารเพราะเหตุที่เพิกโลกออกจากธรรม เพิกอารมณ์ออกจากจิตยังไม่ได้
ส่วนเจโตวิมุติโลกุตตร เป็นวิมุติที่เพิกโลกออกจากธรรม เพิกอารมณ์ออกจากจิตได้ จึงเป็นวิมุติที่พ้นจากโลกให้เข้าถึงธรรม คือ โลกุตตรธรรม เป็นวิมุติที่ประกอบเข้ากับปัญญา ทัศนาเล็งเห็นอริยสัจจ 4 จึงเพิกโลกออกจากธรรม เพิกอารมณ์ออกจากจิตได้นี้เป็นเจโตวิมุติ โลกุตตร
ส่วนเจโตวิมุติโลกิยนั้น เมื่อก่อนที่จะได้อัปปนาจิตตั้งมั่นในองค์ฌานนั้น มีกามาวจรณาณสัมปยุติเกิดขึ้นในต้นอัปปนาวิถี 7 ขณะ โดยบริกรรมคือคิดในองค์ ฌานอันเป็นตัวสมถะอุบายเครื่องสงบใจ
เมื่อจิตโอนจากอารมณ์ภายนอกเข้าถึงอารมณ์ภายใน เรียกว่า อุปจาร เมื่อจิตเข้าไปตั้งมั่นในองค์ฌาน เรียกว่า อนุโลม เมื่อจิตหลุดพ้นจากกามโลกเข้าถึงรูปโลก เรียกว่า เมื่อโคตรภูให้สำคัญแก่มรรค คือ สมาธิ มรรคจึงถือเอารูปฌานเป็นอารมณ์
เมื่อมรรคเกิดขึ้นขณะหนึ่งแล้ว ผลจิตจึงเกิดขึ้น 2-3 ขณะ อัปปนาฌานจึงเกิดขึ้นขณะหนึ่ง จิตจึงตกในภวังค์ในที่สุดแห่งอัปปนาเพียงเท่านี้ ยังติดอยู่ในรูปโลกยังติดอยู่ในอารมณ์ของฌาน เรียกว่า อารมณูนิจฌานเป็นฌานโลกียะ

โลกุตตรฌาน
ต่อแต่นี้จักได้แสดง โลกุตตรฌาน คือ เพิกโลกออกจากธรรม เพิกอารมณ์ออกจากจิต ตัวมโนทวารของเราเป็นตัวสัตว์โลก รูปที่เราแลเห็นด้วยใจนั้นเป็นโอกาสโลก เมื่อโลกภายนอกเข้ามากระทบโลกภายในเรียกว่าเกิดอารมณ์ประสมเข้ากับจิต จึงเกิดมโนวิญญาณขึ้น
มโนวิญญาณรับรู้ฌานที่แลเห็นด้วยใจ นี้เป็นตัวทุกขสัจจ ถ้าเข้าไปยึดเอามโนวิญญาณที่แลเห็นรูปด้วยใจนั้น เป็นตัวสมุทัยสัจจเป็นตัณหาเป็นผู้ก่อเหตุให้เกิดทุกข์
ถ้าวางตัวมโนวิญญาณ ทั้งรูปที่แลเห็นด้วยใจด้วยไตรลักษณ์ นี้เป็นนิโรธสัจจความดับทุกข์ กริยาที่ทำการปล่อยวาง ไม่ยึดถือมั่นในโลกเป็นมัคคสัจจเพราะรูปาวจรเกิดในมโนทวารอย่างเดียวเท่านั้น

อรูปาวจรจิต
ลำดับต่อไปนี้จักได้แสดง อรูปาวจรจิตคือ ผู้ที่กระทำสมาธิเข้าถึงอรูปฌาน ถือเอาอากาศเป็นอารมณ์ เป็นต้น ตัวมโนทวารของเราเป็นสัตว์โลก อากาศว่างเปล่าที่แลเห็นด้วยใจเป็นโอกาสโลก
เมื่อโลกภายนอกเข้ามากระทบกับโลกภายใน เรียกว่า เกิดอารมณ์ประสมเข้ากับจิต จึงเกิดมโนวิญญาณขึ้น มโนวิญญาณรับรู้อารมณ์คือ อารมณ์ว่างเปล่าที่แลเห็นด้วยใจนี้เป็นตัวทุกสัจจ เป็นผู้เสวยอารมณ์ถ้าเข้าไปยึดถือเอามโนวิญญาณทั้งอากาศว่างเปล่าที่แลเห็นด้วยใจ เป็นวิภวตัณหาเป็นสมุทัยผู้ก่อเหตุให้เกิดทุกข์
ถ้าวางตัวมโนวิญญาณ กับทั้งอากาศว่างเปล่าที่แลเห็นด้วยใจโดยไตรลักษณ์เป็นนิโรธสัจจ ความดับทุกข์ กิริยาที่ทำการปล่อยวางไม่ยึดมั่นในโลก เป็นมัคคสัจจทางดับทุกข์เพราะ อรูปาวจรจิตเกิดในมโนทวารอย่างเดียวเท่านั้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
อักษราภรณ์
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 21 ก.ย. 2008
ตอบ: 9
ที่อยู่ (จังหวัด): สุพรรณบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ย. 2008, 10:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรียนคุณ aratana ที่เคารพ

ดิฉันได้อ่านมหาฐานเจ็ดที่ท่านได้โพสลงไว้ที่ลานธรรมจักร...
พยายามศึกษาทำความเข้าใจอยู่ค่ะ...
มีข้อสงสัยในตัวอักษร...
ใคร่ขอเรียนถามดังนี้ค่ะ...

02 ธ.ค.2006, 10:54 pm บรรทัดที่ 27 หน้า 2 จากเวปธรรมจักร
เมื่อโคตรภูเกิดขึ้นในกาลใด ในการนั้นก็ออกจากสังขารนิมิต
ควรเป็น กาล ใช่หรือไม่คะ?


09 ธ.ค.2006, 8:07 pm บรรทัดสุดท้าย หน้า 3 จากเวปธรรมจักร
ก็ให้ วางรูปวางนาม คือ ว่าง กายกับใจเท่านั้น
ควรเป็น วาง ใช่หรือไม่คะ ?


17 ธ.ค.2006, 9:53 am บรรทัดที่ 11 หน้า 3 จากเวปธรรมจักร
ทุกข์อะไรจะทุกข์ยิ่งกว่าพระนิพพานไม่มี
ขอประทานโทษนะคะ
ดิฉันคิดว่าประโยคนี้ทั้งประโยคไม่ถูกค่ะ
แต่ถ้าถูกหมายความว่าอย่างไรคะ ?


28 มิ.ย.2007, 8:27 pm บรรทัดที่ 26 หน้าที่ 4 จากเวปธรรมจักร
แต่ธรรม หรือตัวปกติจิต – อันเป็นจิตเดิมแท้นั้นเป็นของไม่เกิดไม่ดับ ฝ่ายใดเกิดฝ่ายนั้นเป็นของไม่เกิดไม่ดับ
ฝ่ายใดเกิดฝ่ายนั้นเป็นของไม่เกิดไม่ดับ……หมายความว่าอย่างไรคะ ?


ไม่ทราบว่าคุณ aratana ...
จะยังคงเข้ามาที่กระทู้นี้หรือไม่ ?...
หากเข้ามา...
เห็นคำถามแล้ว...
ดิฉันหวังว่า...
จะได้รับความกรุณาจากคุณ...
ค่ะ...
รอคำตอบอยู่ค่ะ...


ด้วยความเคารพ...
อักษราภรณ์ สงสัย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง