Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 มารยาทชาวพุทธ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เอื้องคำ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2006, 8:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับมารยาทชาวพุทธค่ะ ใครรู้ช่วยตอบหน่อยนะค่ะ เพราะจะทำรายงานค่ะ ส่งวันที่ 30 สิงหา นี้ค่ะ ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ
 
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2006, 9:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มารยาทชาวพุทธ

มารยาทในการใส่บาตร
1.ควรตื่นแต่เช้ามารอใส่บาตร
2. เมื่อพระสงฆ์เดินมาใกล้จะถึง ให้นั่งหย่งยกขันขึ้นเสมอหน้าผากพร้อมอธิษฐาน
ว่า " ขอให้ทานนี้นำมาซึ่งความสิ้นกิเลสเถิด "
3. ลุกขึ้นยืนและถอดรองเท้า ใช้มือขวาตักข้าวใส่ให้ตรงบาตรพร้อมใส่กับข้าว ถ้าอาหารที่จะใส่บาตรจัดเป็นถุง ก็วางถุงใส่บาตรอย่างบรรจง
4. ควรทำด้ายความนอบน้อม และความเคารพ
5.อย่าชวนพระสนทนา
6.เมื่อใส่บาตรเสร็จแล้ว วางขันใว้ข้างตัว แล้วนั่งกระหย่งยกมือไหว้พระ เมื่อพระสงเดินผ่านไปแล้วจึงลุกขึ้น เป็นอันเสร็จ
มารยาทที่พึงแสดงต่อสถานที่อันควรสักการะ
สถานที่อันควรสักการะ เช่น ศาสนสถาน วัด โบสถ์ ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
1. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
2. ถอดหมวก ถอดรองเท้า ลดร่มลง
3. ไม่แแสดงอาการเหยียบย่ำดูหมิ่น
4. ไม่พูดจาลบหลู่ เหยียดหยาม หยาบคาย
5. ไม่ส่งเสียงดังและทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น
6.ไม่กล่าวคำทำนองไม่เชื่อ หรือไม่ศรัทธาต่อสถานศักดิ์สิทธิ์นั้น
7.ทำใจให้เป็นกลาง
8. ปฏิบัติตามธรรมเนียมที่เขาปฏิบัติกัน
9.อย่าทำอะไรที่เป็นการทำลายน้ำใจกัน
การปฏิสันถาร
การปฏิสันถาร หมายถึง การต้อนรับแขกผู้มาเยือน อาจทำได้หลายวิธี คือ ปฏิสันถารด้วยวาจา ด้วยการให้ที่พักอาศัย และการแสดงน้ำใจต่อกัน เมื่อมีแขกมาบ้าน เราต้องรู้จักปฏิบัติตนว่า จะพูดอย่างไร กับบุคคลวัยใด ฐานะใด จะใช้สรรพนามแทนตัวเราและแขกอย่างไร ต้องรู้จักเลือกให้ถูก แต่อะไรก็ไม่เท่ากับการยิ้มแย้มแจ่มใส โดยแสดงให้เห็นว่า เรายินดีและเต็มใจให้การต้อนรับ

คัดลอกจาก
http://202.183.216.170/library/social/supa/mannes.htm

#############################
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2006, 9:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มารยาทชาวพุทธ
มารยาทชาวพุทธ คือ การแสดงกิริยาอาการ ทางกายและวาจาที่สุภาพเรียบร้อยที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติสำหรับพระภิกษุและสามเณรนั้น พระพุทธองค์ทรงบัญญัติเสขิยวัตรซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่เป็นมารยาทอันเหมาะสมไว้ถึง 75 ข้อ เช่น การนุ่งห่ม การฉันอาหาร การเข้าในหมู่บ้านและการสนทนากับชาวบ้าน เป็นต้น สำหรับมารยาทของพุทธศาสนิกชนในที่นี้จะกล่าวถึงหัวข้อต่อไปนี้ คือ

มารยาทในที่ประชุม
การประชุมนั้นมีหลายลักษณะด้วยกันแต่สรุปได้เป็น 2 แบบคือ
1. การประชุมเพื่อฟัง โดยผู้เข้าประชุมมีหน้าที่ฟังเป็นส่วนใหย่มีโอกาสพูดเพียงส่วนน้อย เช่น การประชุม ผู้ปกครองนักเรียน การปฐมนิเทศพนักงาน การฟังบรรยายจากวิทยากร และการฟังธรรมเทศนา เป็นต้น สำหรับมารยาทในการประชุมนั้น ผู้ฟังต้องให้ความเคารพต่อสถานที่โดยการแต่งกายให้เรียบร้อยเหมาะสม เข้าห้องประชุมตามเวลาละที่นั้งที่กำหนดไว้ เมื่อเริ่มประชุมก็ต้องตั้งใจฟัง ถ้ามีความจำเป็นต้องออกนอกห้องประชุมก่อนเวลา ควรแสดงกิริยาขออนุญาติหรือแสดงความเคารพให้เหมาะแก่เพศและภาวะของตน ถ้สวิทยากรเปิดโอกาสให้ซักถามหรือแสดงความคิดเห็น ต้องกล่าวด้วยถ้อยคำสุภาพและตรงประเด่นอันจะเป็นการให้เกียรติแก่วิทยากรและการประชุมดังกล่าว
2. การประชุมเพื่อพูดแสดงความคิดเห็น โดยผู้เข้าประชุมมีหน้าที่พิจารณาเรื่องหรือโครงการต่างๆ ซึ่งจะต้องพูดแสดงความคิดเห็นและฟังผู้อื่นด้วย เช่น การประชุมเพื่อรางกฎระเบียบ การแก้ปัญหาการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น มารยาทในการประชุมที่ควรปฏิบัติได้แก่ การให้ความเคารพต่อสถานที่ ให้ความเคารพต่อผู้เป็นประธาน การแสดงความคิดเห็นต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ เช่น การยกมือเพื่อให้ประธานอนุญาตให้พูดเมื่อผู้อื่นแสดงความคิดเห็นต้องตั้งใจฟัง ทเมื่อเลิกประชุมก็ต้องสำรวมกิริยาวาจา
มารยาทในการสนทนา
1. การสนทนาอย่างเป็นทางการ เช่น การปรึกษากับเพื่อนร่วมงาน การรายงานผู้บังคับบัณชา การอธิบายแก่ผู้มาติดต่อ การใฟ้สัมภาษณ์นักข่าว เป็นต้น การสนทนาควรปฏิบัติดังนี้คือ ควรใช้คำพูดที่สุภาพ รู้จักรับฟังเหตุผลของผู้อื่น พูดอย่างตรงไปตรงมา รู้จักการให้กำลังใจและปลอบใจผู้อื่นและที่สำคัญต้องพูดแต่ในสิ่งที่เป็นคำสัตย์และความจริงเท่านั้น
2. การสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ เช่น การสนทนาในงามต่างๆ การพบปะสังสรรค์รวมไปถึงการสนทนากับเพื่อนบ้านและกลุ่มญาติมิตร การสนทนาควรใช้ถ้อยคำที่สุภาพ ไม่พูดมากหรือพูดโอ้อวดตนเอง การใช้คำพูดให้เหมาะสมกับงานและที่สำคัญคือต้องแสดงอัธยาศัยไมตรีอันดีและขอบคุณเจ้าของบ้านหรือเจ้าของงานตามสมควร

ศาสนพิธี
พิธีกรรมทางพุทธศาสนาบางส่วนไม่ใชสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้น แต่เป็นพุทธศาสนิกชนผู้เป็นนักปราญช์ที่มีความรู้ได้กำหนดขึ้นโดยผสมผสานให้เข้ากับทางลักษณะวัฒนธรรมเดิมของตน เกิดเป็นระเบียบแบบแผนที่ปฏิบัติกันและสืบต่อไปยังรุ่นต่อไปสำหรับศาสนพิธีสำคัญที่จะศึกษาในที่นี้มีดังนี้คือ
1. การถวายภัตตาหารบิณฑบาต
หรือการทำบุญตักบาตรถือเป็นประเพณีนิยมที่พุทธศาสนิกชนถือเป็นหลักปฏิบัติกันจนเป็นกิจวัตรทั้งนี้ก็เพื่อให้พระสงฆ์ได้มีกำลังในการสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป โดยการถวายบิณฑบาตประจำวันนั้น จะถือปฏิบัติกันในตอนเช้าโดยนำอาหารไปยืนรอที่หน้าบ้าน เมื่อใส่บาตรแล้วก็ไหว้อีกครั้ง สำหรับพระสงที่ออกบิณฑบาตจะไม่สวมรองเท้า ฉะนั้นผู้ใส่บาตรจึงนิยมถอดรองเท้าด้วยเพื่อไม่ให้ยืนสูงกว่าท่าน และยังจะเป็นการเคารพแด่พระสงฆ์และบุญกุศลที่ทำอีกด้วย หลังจากทำบุญตักบาตรแล้วควรกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลด้วยจึงจะทำให้การทำบุญนั้นมีความสมบูรณ์
2. พิธีถวายผ้าอาบน้ำฝน
ผ้าอาบนำฝนคือผ้าสงฆ์ใช้ผลัดสรงน้ำ เดิมพระพุทธเจ้าทรงอนุญาติให้พระสงฆ์ใช้ผ้าเพียง 3 ผืนที่เรียกว่า ผ้าไตร ได้แก่ จีวร สบง และสังฆาฏิ ฉะนั้นพระสงฆ์จึงต้องนุ่งสบงในการสรงน้ำ แล้วใช้จีวรนุ่งแทนจนกว่าจะแห้ง ในบางฤดูกาลหรือบางท้องถิ่นพระสงฆ์จะต้องเปลือยกายในการสรงน้ำ ตามพุทธประวัติกล่าวว่านางวิสาขามหาอุบาสิกา ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น เอตตะทัคคะในด้านการบริจาคทาน ได้ทูลเกล้าถวายผ้าอาบน้ำฝน ต่อพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์องค์อื่นๆ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและดูเป็นระเบียบและได้กลายเป็นศาสนพิธีสำคัญสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน
เมื่อมีพุทธอนุญาตให้ภิกษุใช้ผ้าอาบน้ำฝนได้แล้วจึงทรงตั้งเป็นหลักปฏิบัติว่า ให้แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนได้ภายในกำหนด 1 เดือน ก่อนเข้าพรรษา ในปัจจุบันพุทธศาสนิกชน นิยมถวายผ้าอาบน้ำฝนพร้อมกับเครื่องอัฐบริขารอื่นๆ โดยนำไปถวายที่วัดในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 โดยอาจทำเป็นสลากพระสงฆ์รูปใดจับได้ก็ถวายรูปนั้นไป
3. พิธีถวายผ้าจำพรรษา
ผ้าจำพรรษา เป็นผ้าที่ถวายแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ในวัดครบ 3 เดือน ซึ่งไม่ใช่ผ้ากฐิน โดยพระสงฆ์ที่กรานและอนุโมทนากฐินแล้ว สามารถรับจำพรรษาได้ ภายในกำหนด 5 เดือนตั้งแต่วันออกพรรษา (แรม1ค่ำเดือน11) เป็นต้นไป ในกรณีที่จำพรรษาครบ 3 เดือน แต่มาได้กรานและอนุโมทนากฐิน ก็จะรับผ้าจำพรรษาได้ภายใน 1 เดือน ตั้งแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไปซึ่งรวมเรียกว่าอยู่ในช่วงจีวรกาลเขตอานิสงฆ์จำพรรษา ถ้าถวายนอกเวลาที่กำหนดนี้ ไม่นับว่าเป็นผ้าจำนำพรรษา
ผ้าจำนำพรรษาอาจเป็นผ้าไตร ผ้าผืนใดผืนหนึ่งในชุดผ้าไตร หรือผ้าขาวก็ได้และมักมีเคื่รองไทยธรรมอย่างอื่นเป็นบริวารด้วย จุดประสงค์เพื่อเป็นการสงเคราะห์พระสงฆ์ที่ต้องมีผ้ามาผลัดเปลี่ยนของเก่าในระหว่างจีวรกาลซางปฏิบัติกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลโยการถวายจะถือเอาสถานที่ซึ่งเหมาะสม เช่น โบส์ถหรือศาลาการเปรียญ ส่วนการถวายอาจจะมีเจ้าภาพเพียงคนเดียวถวายทั้งวัด หรือมีเจ้าภาพหลายคนร่วมกันก็ได้ขึ้นอยู่กับประเพณีนิยมของแต่ละท้องถิ่น
4. พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
การเวียนเทียนเป็นการประกอบพิธีบูชาพระรัตนตรัยโดยถือเอาวันสำคัญ 4 วันคือ วิสาขบูชา อัฏฐมีบูชา มาฆบูชา และอาสาฬหบูชา ซึ่งต่างก็มีระเบียบปฏิบัติเหมือนกันต่างกันที่คำบูชาก่อนเวียนเทียนที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ สำหรับแนวปฏิบัติในการเวียนเทียนโดยทั่วไปคือ เตรียมดอกไม้ ธูปเทียน ไปยังสถานที่ก่อนเวลา แต่งกายสุภาพ สำหรับเวลาและสถานที่ในการเวียนเทียนนั้นอาจแตกต่างกันไป เช่น อุโบสถ พระพุทธรูป สถูปเจดีย์หรือพระบรมสารีริกธาตุ เป็นต้น
เมื่อได้เวลาประธานสงฆ์จะจุดธูปเทียนและกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย แล้วออกเดินตามด้วยภิกษุ สามเณร และฆราวาส ซึ่งจะเดินคละกันหรือจัดเป็นแถวตามความเหมาะสมโดยการเดินเวียนขวาเรียกว่า ทักษิณาวัตร เมื่อครบ 3 รอบแล้ว นำดอกไม้ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่เตรียมไว้ หลังจากนั้นอาจจะมีการสวดมนต์ทำวัตรค่ำหรือการฟังพระธรรมเทศนา ก็แล้วแต่ความเหมาะสม
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ซึ่งในวันสำคัญดังกล่าวจะมีระยะเวลาความสำคัญและหลักปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป
วันวิสาขบูชา
วิสาขบูชา หมายถึงการบูชาในวันวิสาขะ คือวันเพ็ญเดือน 6 แต่ถ้าปีใดมี อธิกมาศ ก็ให้เลื่อนไปในวันเพ็ญเดือน 7 มีความสำคัญคือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู และปรินิพพาน ภายหลังการตรัสรู้แล้ว พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจ 5 ประการ เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์อันเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ดังนี้คือ
ตอนเช้า เสด็จออกบิณฑบาต เพื่อโปรดสัตว์ โดยการสนทนาธรรมหรือการแสดงหลักธรรมให้เข้าใจ
ตอนบ่าย แสดงธรรมแก่ประชาชน ที่มาเฝ้าบริเวณที่ประทับ
ตอนเย็น แสดงโอวาทแก่พระสงฆ์ทั้งมวลที่อยู่ประจำวันเหล่านั้น
ตอนเที่ยงคืน ตอบปัญหา แก่เทพหรือสมมุติเทพต่างๆ
ตอนเช้ามืด จวนสว่าง ทรงพิจารณาสัตว์โลกว่าผู้ใดมีอุปนิสัยที่จะบรรลุธรรมได้
ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณความดีดังกล่าวพุทธศาสนิกชน จึงร่วมกันจัดพิธีวัน
วิสาขบูชาขึ้นโดยมีการทำบุญตักบาตร การเวียนเทียนที่วัดสำหรับพระราชพิธีหรือพิธีหลวงนั้นปฏิบัติกันที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพุทธมณฑล
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา หมายถึงการบูชาในเดือนอาสาฬหะหรือวันเพ็ญเดือน 8 โดยมีความสำคัญดังนี้ คือ
1.เป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันเมืองพาราณสี แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ในหัวข้อธรรม อริยสัจ 4
2.เป็นวันที่พระองค์ได้อริยสาวกองค์แรกหรือพระอัญญาโกณฑัญญะ หลังจากได้ฟังธัมมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งมีอริยสัจ 4 เป็นหลักสำคัญแล้ว ก็บรรรลุโสดาปัตติผลแล้ว เป็นพระโสดาบัน
3.เป็นวันที่พระสงฆ์องค์แรกเกิดขึ้นคือเมื่ออัญญาโกณฑัญญะบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ก็ทูลขอ อุปสมบท โดยพระองค์ได้ประทานไห้ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา
4.เป็นวันที่มีพระรัตนตรัยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก คือมีองค์ประกอบเกิดขึ้นครบทั้ง พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
สำหรับการประกอบพิธีกรรมได้แก่ การทำบุญตักบาตร การรับอุโบสถศีล และการไปเวียนเทียนที่วัด
วันเข้าพรรษา
พรรษา แปลว่า ปีแต่ในที่นี้จะหมายถึงฤดูฝน เมื่อถึงฤดูฝนทรงมีพุทธบัญญัติให้พระสงฆ์อยู่ประจำที่เป็นเวลา 3 เดือน เรียกว่าอยู่จำพรรษา มูลเหตุสำคัญคือ การจาริกของพระสงฆ์ในช่วงฤดูฝนนั้นไม่สะดวก เนื่องจากลักษณะของพื้นที่และอาจจะไปทำลายสัตว์เล็กๆ ให้เสียชีวิตลงรวมไปถึงการทำให้พืชผลเสียหาย สำหรับระยะของการจำพรรษาก็เริ่มตั้งแต่ แรม 1ค่ำ เดือน 8 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 11
สำหรับในวันเข้าพรรษา ก็จะมีการทำบุญตักบาตร และการฟังธรรมที่วัดทั้งนี้รวมไปถึงการหล่อและถวายเทียนพรรษา การถวายผ้าอาบน้ำฝนพร้อมเครื่องไทยธรรม เป็นต้น
การปฏิบัติตนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนานั้นพุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1.น้อมจิตระลึกถึงความสำคัญของพระรัตนตรัย
2.ร่วมประเพณีพิธีกรรมของชุมชน เช่นการเวียนเทียน การทำบุญที่วัด
3.ให้การอนุเคราะห์ต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ เช่น การปล่อยสัตว์ การบริจาคทรัพย์เพื่อสงเคราะห์ผู้ป่วย คนชรา เด็กพิการ เป็นต้น
4.การรักษาศีลและการปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด อันจะเป็นการยกระดับจิตใจให้ห่างไกลจากอบายมุข ความเสื่อมทั้งปวง
5.การอบรมจิตให้เป็นสมาธิ โยการระลึกมั่นในพระรัตนตรัย ซึ่งจะเป็นหนทางให้เกิดปัญญา รู้แจ้งในสิ่งที่ควรรู้ เช่น ไม่หลงในวัย และเข้าใจในความเป็นอนิจจังของสรรพสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น

คัดลอกจาก
http://www.wt.ac.th/~pawit/conten3.html
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2006, 9:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มารยาทชาวพุทธ

มารยาทชาวพุทธและการปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ การขวนขวายและการมีส่วนร่วม ในการจัดเตรียมสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา

พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ของพุทธศาสนิกชน มี 4 หมวดใหญ่คือ
1. กุศลพิธี หมายถึง พิธีกรรมอันเกี่ยวเนื่องด้วยการอบรมความดีงามทางพระพุทธศาสนาเฉพาะตัวบุคคล เช่น การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ การเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และการรักษาศีลประเภทต่างๆ
2. บุญพิธี หมายถึง พิธีทำบุญเนื่องด้วยประเพณีในครอบครัว ซึ่งเป็นประเพณีที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคนทั่วไป มี 2 ประเภทคือ
2.1. พิธีทำบุญในงานกุศล ได้แก่ การทำบุญในโอกาสต่างๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและญาติสนิทมิตรสหาย เช่น การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การแต่งงาน เป็นต้น
2.2. พิธีทำบุญในงานอวมงคล ได้แก่ การทำบุญเกี่ยวกับการตาย เช่น การทำบุญหน้าศพ การทำบุญอัฐิบรรพบุรุษ เป็นต้น
3. ทานพิธี หมายถึง พิธีถวายทานต่างๆ เช่น ถวายอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค เป็นต้น
4. ปกิณกพิธี หมายถึง พิธีเบ็ตเตล็ด ได้แก่ มารยาทและระเบียบปฏิบัติในพิธีทั้ง 3 ข้างต้น เช่นวิธีอาราธนาศีล วิธีประเคนพระ วิธีแสดงความเคารพพระ เป็นต้น
การเตรียมสถานที่
ในการเตรียมสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา จะต้องให้สอดคล้องกับพิธีกรรม 4 หมวดที่กล่าวข้างต้น ในการจัดเตรียมสถานที่ สิ่งที่สำคัญจะขาดมิได้คือ การจัดโต๊ะหมู่บูชา ซึ่งสมควรรู้ดังต่อไปนี้
การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา
การจัดโต๊ะหมู่บูชาเป็นวัฒนธรรมประจำชาติไทยมานาน พิธีที่เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ ในรัฐพิธี ราชพิธี งานมงคล หรืองานอวมงคล ก็ตาม นิยมตั้งโต๊ะหมู่บูชาทั้งสิ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป พร้อมเครื่องบูชาตามคตินิยมของชาวพุทธ เพื่อต้องการให้งานนั้นมีครบพระรัตนตรัยทั้ง 3 คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ปัจจุบัน การตั้งโต๊ะหมู่บูชานิยมตั้งใน 2 กรณีคือ
1. ในพิธีทางพุทธศาสนา เช่น การทำบุญ ฟังเทศน์ เป็นต้น
2. ในพิธีถวายพระพร หรือตั้งรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือพระบรมราชินีนาถหรือพระบรมวงศานุวงศ์
เครื่องบูชาที่ใช้ในการตั้งหมู่บูชา ก็คือ พานพุ่ม พานดอกไม้ แจกันดอกไม้ กระถางธูป เชิงเทียน โดยมีปริมาณที่มากน้อยแตกต่างกันไปตามจำนวนของโต๊ะที่ใช้ สำหรับโต๊ะหมู่ก็มีจำนวนโต๊ะต่อหมู่ที่แตกต่างกัน คือ หมู่ 4 หมู่ 5 หมู่ 6 หมู่ 7 หมู่ 9 ปัจจุบันนิยมใช้เฉพาะ หมู 5 หมู่ 7 หมู่ 9 โดยหมู่ 5 นิยมใช้ในพิธีที่มีพื้นที่จำกัด ส่วนหมู่ 7 และหมู่ 9 มักจะใช้ในพิธีที่สำคัญ และมีพื้นที่กว้างพอสมควร
การจัดเครื่องบูชาบนโต๊ะหมู่ ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ผู้จัดจึงมักทำด้วยความประณีตบรรจง เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเคารพต่อพระรัตนตรัย และเพื่อแสดงถึงศิลปะในการจัดเครื่องบูชา หลักเกณฑ์และวิธีการจัดถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ผู้จัดโต๊ะหมู่บูชาควรทราบ หลักเกณฑ์ในการจัดไว้ เพื่อจะได้จัดให้ถูกต้อง มีหลักในการจัดคือ การตั้งเครื่องบูชาทุกชนิดจะต้องไม่สูงกว่าพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ที่โต๊ะหมู่บูชา ส่วนบริเวณอาจแตกต่างกัน ตามประเภทของโต๊ะหมู่บูชานั้นๆ
ในพิธีส่วนตัว เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญอัฐิ หรือทำบุญใดๆเฉพาะตน ในกรณีที่มีพื้นที่ในการจัดอย่างจำกัดและแคบเกินไป หรือหาโต๊ะหมู่ตามกำหนดไม่ได้ และมีทุนในการจัดอย่างจำกัด อาจดัดแปลงเครื่องบูชาและรูปแบบการจัดก็ได้ โดยยึดหลักในการจัดคือ
1. พระพุทธรูปจะต้องอยู่สูงกว่าเครื่องบูชาทุกชนิด
2. เครื่องบูชาอย่างน้อยที่สุด คือ แจกันดอกไม้ 1 คู่ เชิงเทียน 1 คู่ และกระถางธูป 1 กระถาง
ในการจัดโต๊ะหมู่ในพิธีทางราชการ เช่น การประชุม อบรม การสัมมนา เป็นต้น นิยมตั้งธงชาติ และพระบรมฉายาลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ครบทั้ง 3 สถาบัน คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีหลักในการจัดคือ ตั้งโต๊ะหมู่ไว้ตรงกลาง ตั้งธงชาติไว้ด้านขวาของโต๊ะหมู่ ตั้งพระบรมฉายาลักษณ์ ไว้ทางด้านซ้ายของโต๊ะหมู่
ปัจจุบัน หน่วยราชการ วัด และหน่วยงานเอกชน นิยมตั้งโต๊ะหมู่ถวายพระพรหรือรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่สำคัญๆ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น โดยมีหลักในการจัดดังนี้
1. เครื่องสักการะ มี แจกัน พุ่มดอกไม้ เทียนแพ และกรวยดอกไม้ (ไม่นิยมใช้เชิงเทียนและกระถางธูป) โดยวางกรวยดอกไม้ไว้บนเทียนแพ แล้วตั้งเทียนแพไว้ที่โต๊ะหมู่ตัวต่ำสุด
2. ปริมาณเครื่องสักการะจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าจะใช้โต๊ะหมู่ชนิดใด และความสวยงาม โดยไม่ให้ทึบหรือโปร่งเกินไป ประการสำคัญคือ ไม่ต้องตั้งพระพุทธรูป โดยตั้งพระบรมฉายาลักษณ์ที่โต๊ะหมู่ตัวสูงที่สุด

คัดลอกจาก
http://www.sa.ac.th/homepage_student/user21-46-47/put7.htm
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
ดอกไม้
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 ส.ค. 2006, 11:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลังใส่บาตรแล้ว ต้องกรวดน้ำประมาณกี่โมงครับ และควรกล่าวอย่างไรขณะกรวดน้ำ เช่น ตักบาตรวันเกิด
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง