Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อายุวัฒนมงคล 93 ปี สมเด็จพระสังฆราช อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 02 ต.ค.2006, 11:06 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

อายุวัฒนมงคล 93 ปี สมเด็จพระสังฆราช


เป็นที่ปลาบปลื้มโสมนัสยิ่ง ในวันอังคารที่ 3 ตุลาคม พุทธศักราช 2549 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ประมุขคณะสงฆ์ไทย จะเจริญพระชนมายุครบ 93 พรรษา

ด้วยพระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร และเป็นองค์ที่ 19 กรุงรัตนโกสินทร์ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี

มวลหมู่คณะสงฆ์ทั้งฝ่ายธรรมยุตและมหานิกาย ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วไป ต่างแซ่ซ้องสดุดีด้วยการจัดงานถวายอย่างยิ่งใหญ่ สมพระเกียรติ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า เจริญ ถือกำเนิดในสกุล คชวัตร โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายน้อยและนางกิมน้อย คชวัตร เพลาประสูติการ วันศุกร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคม 2456 ณ บ้านวัดเหนือ ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

ทรงบรรพชา เมื่อพ.ศ.2469 ขณะอายุได้ 14 ปี ภายหลังบรรพชาได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม 1 พรรษา จากนั้นได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดเสน่หา จ.นครปฐม

กระทั่งอายุครบอุปสมบท ท่านจึงได้เดินทางกลับไปอุปสมบทที่วัดเทวสังฆาราม เมื่อพ.ศ.2476 ภายหลังจึงได้เดินทางเข้ามาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย

ก่อนที่จะได้เข้าพิธีอุปสมบท เป็นธรรมยุตนิกาย โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์

ได้รับฉายาว่า สุวัฑฒโน อันมีความหมายเป็นมงคลว่า ผู้เจริญดียิ่ง

พ.ศ.2484 สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค

ทรงศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาสันสกฤต เป็นพื้นฐานได้ศึกษาด้วยตนเองในเวลาต่อมา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ทรงนำมาใช้ประโยชน์เป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาภาษาเยอรมันและฝรั่งเศสด้วย โดยใช้เวลาว่างในตอนเย็นหรือกลางคืน ศึกษากับครูคฤหัสถ์ที่มาสอนเป็นการส่วนตัว แต่เนื่องจากไม่มีเวลาศึกษาอย่างติดต่อ ภายหลังจึงได้เลิกร้างไป

เมื่อสอบได้เปรียญชั้นสูงแล้ว ทรงเริ่มรับภาระหน้าที่ต่างๆ ทั้งวัดบวรนิเวศวิหาร ของคณะสงฆ์ และขององค์กรต่างๆ ทางพระพุทธศาสนามาโดยตลอด

พ.ศ.2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกทรงผนวช เสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน 2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระราชอุปัธยาจารย์ ทรงเลือกให้เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในระหว่างที่ทรงผนวช

พ.ศ.2504 เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร สืบต่อจากพระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)

พ.ศ.2415 ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร

วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2532 ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร เป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2544 ล่วงมาจนบัดนี้เกือบ 5 ปีเต็ม ทรงประชวรพำนักรักษาพระองค์ในการดูแลอย่างใกล้ชิดของคณะแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และพำนักอย่างต่อเนื่อง ครั้นมีศาสนกิจ พระองค์ก็เสด็จนิวัตวัดบวรนิเวศฯ พำนักให้คณะศิษย์ได้เข้าเฝ้าเป็นครั้งคราว

กิจวัตรประจำพระองค์ รุ่งเช้าทรงตื่นจำวัด เสวยพระกระยาหาร จากนั้นทรงพักผ่อนอิริยาบถ ฉันภัตตาหาเพล เวลา 15.00 น. ทรงกายภาพบำบัด เวลา 16.00 น. เปิดโอกาสให้สานุศิษย์เข้าเฝ้า จากนั้นทรงพักผ่อนพระวรกาย

ด้านพระอาการประชวร คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดแจ้งว่า พระองค์ทรงมีพระอาการดีขึ้นตามลำดับ พระพลานามัยแข็งแรงมาก สดชื่น ไม่มีอาการอ่อนเพลียให้ปรากฏ สามารถปฏิบัติศาสนกิจ สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็นได้ตามปกติ และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ากราบนมัสการอย่างใกล้ชิด

สำหรับกำหนดการบำเพ็ญกุศลคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

วันที่ 1 ตุลาคม 2549 เวลา 09.30 น. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จยังห้องประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร ประทานวโรกาสให้คณะบุคคลต่างๆ เข้าเฝ้าถวายสักการะ ถวายพระพรเนื่องในวโรกาสคล้ายวันประสูติ

เวลา 16.30 น. เสด็จยังห้องประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร ประทานวโรกาสให้คณะบุคคลต่างๆ เข้าเฝ้าถวายสักการะ ถวายพระพรเนื่องในวโรกาสคล้ายวันประสูติ

วันที่ 2 ตุลาคม 2549 เวลา 06.30 น. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จทรงบาตร ณ สนามวัดบวรนิเวศวิหาร ประทานวโรกาสให้คณะบุคคลต่างๆ เข้าเฝ้าถวายสักการะ ถวายพระพรเนื่องในวโรกาสคล้ายวันประสูติ

เวลา 16.30 น. เสด็จลงพระอุโบสถ ทรงรับถวายสักการะจากพระเถรานุเถระที่มาเจริญพระพุทธมนต์ถวาย ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

วันที่ 3 ตุลาคม 2549 เวลา 10.00 น. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงรับถวายสักการะ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

เวลา 10.20 น. เสด็จทรงบำเพ็ญพระกุศลคล้ายวันประสูติ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

เวลา 10.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ ในการบำเพ็ญกุศลคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

พระสงฆ์ 20 รูป เจริญพระพุทธมนต์ ทรงถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ ณ พระอุโบสถ และถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์อีก 494 รูป ณ อาคารวชิรญาณวงศ์ ทรงถวายเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา

เวลา 16.30 น. คณะธรรมยุต เจริญนวัคหายุสมธัมม์ถวายเป็นพระกุศล ณ พระอุโบสถ

เวลา 17.00 น. เสด็จยังห้องประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร ประทานวโรกาสให้คณะบุคคลต่างๆ เข้าเฝ้าถวายสักการะ ถวายพระพรเนื่องในวโรกาสคล้ายวันประสูติ

เวลา 20.00 น. พระภิกษุสามเณรวัดบวรนิเวศวิหาร เจริญพระพุทธมนต์ถวายเป็นพระกุศล ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

ขณะเดียวกัน ตั้งแต่วันที่ 1-7 ตุลาคม เวลา 08.30-18.00 น. วัดบวรนิเวศวิหาร ได้เปิดปูชนียสถานสำคัญของวัด ให้พุทธศาสนิกชนเข้านมัสการ ตามสถานที่ดังนี้

1. พระอุโบสถ
2. พระเจดีย์
3. พระไพรีพินาศ
4. พระวิหารเก๋ง
5. พระวิหารพระศาสดา
6. รอยพระพุทธบาท
7. ตึกมนุษยนาควิทยาทาน

ที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พุทธมณฑล จ.นครปฐม ได้จัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา โดยประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระสังฆราช พร้อมทั้งจัดทำป้ายถวายพระพร

นอกจากนี้ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ ได้จัดนิทรรศการพระประวัติของสมเด็จพระสังฆราช จัดทำป้ายถวายพระพรและจัดตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระสังฆราช ณ ศาลากลางจังหวัด ตั้งแต่ 1-15 ตุลาคม 2549

รวมไปถึงองค์กรทางพระพุทธศาสนา อาทิ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย, ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย, วัดญาณสังวราราม เขาชีจรรย์ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี จัดกิจกรรมเนื่องในวโรกาสคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระสังฆราช เช่นกัน

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ในฐานะที่สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นพระประมุขแห่งคณะสงฆ์ไทย พระองค์ได้ทรงปกครองบังคับบัญชาคณะสงฆ์ด้วยคุณธรรมที่สูงส่ง ยังความสงบเรียบร้อยและความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดขึ้นแก่พระพุทธศาสนาทั่วสังฆมณฑล

อีกทั้งได้ประทานพระธรรมเทศนา พระโอวาทและพระคติธรรม อันสุขุมแก่พุทธศาสนิกชนนำไปปฏิบัติก่อให้เกิดประโยชน์เกื้อกูลและความสุขในสังคม

นับได้ว่าสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ทรงปฏิบัติพระศาสนกิจ อันเป็นหิตานุหิตประโยชน์ทั้งต่อพระพุทธศาสนาและประเทศไทยเป็นอเนกประการ

"ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา"



.....................................................

คัดลอกมาจาก
นสพ. ข่าวสด หน้า 30 คอลัมน์มงคลข่าวสด
วันที่ 02 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5786
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 02 ต.ค.2006, 11:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

พระประวัติและปฏิปทา
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
(เจริญ สุวฑฺฒโน)


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7725
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 02 ต.ค.2006, 2:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา"


อนุโมทนาบุญค่ะ...คุณสาวิกาน้อย
ที่นำข่าวพระองค์มาให้ญาติธรรมได้รับทราบกัน

ธรรมะสวัสดีค่ะ

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง