Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 บรรลุอรหันต์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
พงพันธ์ โรจนกิจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 11 พ.ย.2004, 9:37 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฌาน แปลว่า การเพ่งเอาอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งในปัจจุบัน จดจ่อเอาอารมณ์นั้นเป็นเอกัคคตา

สมาธิ แปลว่า การเอาจิตปล่อยรู้ตามอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งในปัจจุบัน แล้วพิจารณาอารมณ์นั้นเป็นธรรมชาติ

อารมณ์พระโสดาบัน ต้องมีศีลห้าครบถ้วน ต้องพิจารณาความตายอยู่เนือง ๆต้องไม่สงสัยในธรรมะของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ต้องผ่านการเจริญวิปัสสนากรรมฐานมาด้วยผ่านอารมณ์ความไม่ยึดติดอารมณ์ ความคิด ความจำ ธรรมชาติของจิตทั้งปวงใดๆมาเห็นผิดว่าเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขา ของเรา ของเขา คือไม่ปล่อยให้เกิดอุปาทานขึ้นมานั่นเองคือรู้อารมณ์นิพพานว่าเป็นเช่นนั้นแล้วปล่อยวาง ไม่ยึดติดกับศัพท์สมมติว่าเป็นอัตตา(ความมีตัวตน)ไม่ยึดติดกับศัพท์สมมติว่าเป็นอนัตตา(ความไม่มีตัวตน)เพราะอาจทำให้เกิดความหลง และติดใจในอารมณ์สมมตินั้นๆจนไม่ปล่อยวางให้ดับอารมณ์สมมตินั้นหมดเสียที ถ้าดับหมดจะทำให้ละสักกายทิฐฐิได้หมดเพราะว่าไม่เห็นว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา จิตเราไม่มีเจตนาในการคิด พูด ทำสักเเต่เป็นเพียงกริยาอาการของจิต ถ้าละสักกายทิฐฐิได้หมดก็เป็นพระโสดาบันถ้าดับความมี ความเป็นเจ้าของ ความติดใจในอารมณ์ได้หมดก็เป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันเมื่อโกรธแล้วก็ระงับความโกรธได้จนให้อภัยทานได้ แต่ยังมีอารมณ์ทางเพศอยู่บ้าง อารมณ์พระสกิทาคามี อารมณ์โกรธจะเบาบาง จะรู้เท่าทันความไม่พอใจแล้วปล่อยวางไม่ยึดติดว่าเป็นอารมณ์ของเรา อารมณ์ทางเพศจะเบาบาง

อารมณ์พระอนาคามี มีมานะทิฐฐิคือ สำคัญตนว่าตนเองสูงกว่าเขา เสมอเขา ต่ำกว่าเขา แต่รู้เท่าทันอารมณ์เหล่านี้จนไม่ก่อให้เกิดอคติได้ แล้วไม่ก่อให้เกิดความหลงได้ ยังมีความประมาทว่าเป็นพระอนาคามีแล้วสามารถไปบรรลุธรรมอรหันต์อยู่พรหมโลกได้ รู้เท่าทันอารมณ์พอใจแล้วปล่อยวางไม่ยึดติดว่าเป็นอารมณ์ของเราได้ ไม่มีความโกรธ ไม่มีความไม่พอใจ

อารมณ์พระอรหันต์ ไม่ยึดติดในรูปฌาน และอรูปฌาน สักกายทิฐฐิหมดไป สังโยชน์10หมดไป ไม่มีความประมาทในการพิจารณาความตายอยู่เนืองๆมักมีอุบายความตายเสมออาทิ เช่น ต้องตายด้วยโรคนั้นโรคนี้อยู่ในใจเสมอ หรือต้องตายด้วยการแก่ตายอยู่ในใจเสมอ หรืออุบัติเหตุหรือหัวใจวายหรือรู้ทุกขณะจิตว่าเมื่อไม่หายใจเข้าออกก็ตายเสียแล้วเป็นต้น สามารถดับขันธ์ห้าได้อย่างละเอียดจนไม่เกิดการติดใจในอารมณ์ว่าถึงแล้ว เพียงแต่รู้เท่าทันความมีธรรมะในตนเองแล้วดับธรรมะในจิตเราได้ว่าจิตเราไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงจิตรู้ตัวรู้(อารมณ์นิพพาน)แล้วปล่อยวางสามารถดับความจำ ความคิด ความปรุงแต่ง ดับธรรมชาติการรู้ของจิตว่าไม่มีอะไรมาสมมติมาปรุงแต่งให้จิตเกิดความมี ความเป็นอะไรต่างๆได้ ซึ่งจิตรู้นี้เองทำให้เกิดธรรมว่างอย่างยิ่งหรือที่เรียกว่าสัญญาเวทยิตนิโรธคือ อารมณ์นิพพาน

สรุปจากหนังสือธรรมมะของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ และหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ความรู้ในโลกหน้า คือ คนยังไม่บรรลุพระโสดาบันสามารถไปบรรลุพระโสดาบันบนสวรรค์ได้ คนที่ได้พระโสดาบันในชาตินี้ ไปบรรลุพระอรหันต์ในสวรรค์ พรหมโลกได้ คนทั่วไปสามารถที่จะปรารถนาเป็นหัวหน้าเทพบนสวรรค์ชั้น1-6ได้ หัวหน้าชั้นพรหม16 ชั้นได้ หรือพญามัจจุราชได้ถ้าท่านผู้นั้นบรรลุพระอนาคามี

การฝึกมโนมยิทธิ ชาคริยานุโยค และการฝึกกสิณ

1.อาจจะภาวนาพุทโธๆ หรือปล่อยลมหายใจเข้าๆออกๆ แล้วนึกภาพท้องฟ้าสีขาวหรือฟ้า แล้วนึกภาพแผ่นดินที่กว้างใหญ่ แล้วมีตัวเราที่เป็นโครงกระดูกยืนอยู่บนแผ่นดินคนเดียว

2.หลังจากนั้นให้นึกว่ามีลมพัดผ่านเราเข้ามาในกะโหลก ซี่โครงปอด กระดูกแขน กระดูกเชิงกราน กระดูกขา และอวัยวะน้อยใหญ่

3.หลังจากนั้นถ้าต้องการถอนภาพให้ภาวนาพุทโธ เข้าออก จนมีความรู้สึกไม่ยึดติดร่างกายแล้ว หลังจากนั้นให้ถอนภาพนั้นออกจากอารมณ์

4.การปฏิบัติในครั้งนี้เป็นการฝึกจิตไม่ให้ยึดติดรูปธรรม นามธรรมโดยจะให้จิตจับอยู่ในไตรลักษณ์ เป็นการฝึกกสิณ อาโลกกสิณ ปฐวีกสิณ อานาปานสติ มโนมยิทธิ และชาคริยานุโยค(การตื่นตัว มีสติอยู่เสมอ) ซึ่งจะทำให้มีความรู้สึกที่รู้เท่าทันกิเลส



สรุปจากหนังสือธรรมะหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และสายพระกรรมฐาน 5 รูป

















การเจริญวิปัสสนา

วิปัสสนาคือ ปัญญา(ความรู้แจ้ง)ที่รู้สภาวะของอารมณ์ตามความเป็นจริงในอารมณ์ 6 ว่ามีแต่รูปธรรมกับนามธรรมเท่านั้น และรูปนามนั้นก็มีความเกิดดับอยู่เสมอ ทำให้เกิดปัญญา รู้ว่ารูปนามนั้นไม่เที่ยงเป็นอนิจจัง เป็นทุกข์ และทนอยู่ไม่ได้เป็นอนัตตา

วิธีเจริญวิปัสสนา

1.ศีลต้องครบถ้วน ก่อนที่จะนั่งขัดสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้าออกพุท-โธ เมื่อรู้สึกว่าจิตสงบดีแล้วต่อไปให้ใช้ปัญญาทำการพิจารณา พร้อมที่จิตจะประหารกิเลสให้ได้โดยสิ้นเชิง ในตอนนี้อย่านึกคิดว่าเราต้องการมีความอยากทำวิปัสสนาโดยเด็ดขาด เพียงแต่ว่าให้มีสติกำหนดรู้ตัวทุกข์(ตัวรูปนามนั่นเอง)ว่า ชาติปิทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ ชราปิทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ ความยึดมั่นในขันธ์ 5 คือ ยึดมั่นในรูป คือ รูปที่ประกอบไปด้วยธาตุ 4 เวทนาคือการเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เป็นสุขหรือเฉยๆสัญญา คือ การจำเช่น รูป เสียง สังขาร คือ สิ่งที่ปรุงแต่งให้คิดดี คิดชั่ว วิญญาณคือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วเราต้องกำหนดรู้รูปนามให้ได้ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา พอจิตเรารู้ว่าอารมณ์เราพิจารณารูปนามเป็นอย่างนี้แล้วให้วางอารมณ์นั้น มันจะเป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น

2.เมื่อกำหนดดู รูป นาม (รู้ตัวทุกข์)แล้ว ตัวกิเลสตัณหาที่เข้าไปยึดในอารมณ์นั้นก็จะเกิดไม่ได้ ก็จะทำให้เราละตัวสมุทัยได้

3.ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ปัจจุบันของเรา(นามรูป)ที่เป็นอารมณ์สติปัฏฐาน 4 นั้นต้องรู้ตัวเสมอและต้องพิจารณาอารมณ์นั้นด้วยเหตุผลของรูปนามเท่านั้นแล้ววางอารมณ์ปัจจุบันนั้นทิ้งเสีย ถ้าจะเปลี่ยนอารมณ์ต้องรู้เหตุที่จะเปลี่ยนว่าเปลี่ยนไปเพื่ออะไร เช่น ขณะทำอาการนั่ง เดิน ไม่ต้องสร้างอารมณ์ขึ้นมาใช้เพ่ง แต่เรามีสติรู้นามรู้รูป ที่ปรากฎขึ้นตามทวารทั้ง 6 เช่น เวลาคิดว่าเรากำลังสงบ ก็ให้กำหนดรู้นามสงบ ปัญญาจะทำให้เราสามารถทำลายความรู้สึกเป็นเรา (อัตตา)ออกไปได้

4.เมื่อเราเห็นรูปนามว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วต้องเห็นด้วยปัญญาไม่ใช่เห็นรู้ด้วยสัญญาหรือสังขาร แต่ถ้าเรายินดีพอใจในการปฏิบัติแล้วก็คือ อาทิยินดีพอใจในเวทนาขันธ์ ได้แก่ ความสุข ปิติ อุเบกขา เป็นต้น เราก็จะไม่รู้แจ้งใน(นิโรธ)ของวิปัสสนา

5.ต่อจากนั้นปัญญาของเราจะพิจารณาไปเองตามธรรมชาติ(ห้ามเพ่ง ห้ามต้องการนึกเพราะถ้านึก แล้วจะกลายเป็นสมถกรรมฐาน) ซึ่งเราจะเข้าไปรู้แจ้งในนิพพานอารมณ์ คือ ความรู้สึกไม่ยึดติดสิ่งใดๆทั้งปวงมาเป็นของเรา ตัวเราแม้กระทั่งอารมณ์วิปัสสนาเป็นของเรา ซึ่งเราเรียกว่าความรู้สึกรู้อารมณ์นิพพานแล้วปล่อยวางคือ จิตรวมกับใจเป็นเอกัตคตาจะไม่เป็นการบังคับจิตให้รู้เท่าทันแต่จะเป็นจิตรู้เท่าทันความคิดตนแล้วปล่อยวางให้รวมใจได้ ซึ่งจะเป็นความรู้สึกที่รู้ได้ด้วยตนเองว่าจิตรู้เท่าทันนามธรรมและรูปธรรมว่าเป็นไตรลักษณ์ และดับรูปนามได้โดยไม่หลงสมมติรูปนามว่าเป็นตัวตนและติดใจยึดติดหมายรู้ในรูปนาม ขณะที่เราเข้าไปแจ้งในพระนิพพานอารมณ์นั้น เมื่อนั้นมรรคมีองค์ 8 ก็จะทำให้เราเจริญไปด้วยปัญญา (อย่าทำวิปัสสนามากเกินไป หรือน้อยไป ควรเดินทางสายกลาง)

สรุปจากสายพระกรรมฐาน 5 รูป







วิปัสนูปกิเลส 10 ประการสำหรับพระนักปฏิบัติ

อารมณ์สมถะละเอียด 10 อย่างที่ควรระวัง ซึ่งไม่ใช่วิปัสสนาญาณแท้ เป็นเพียงญาณโลกีย์ ต่อเมื่อนักปฏิบัติยกจิตเป็นพระอริยเจ้าอย่างต่ำชั้นพระโสดาบันแล้ว อาการ 10 อย่างนี้จะเปลี่ยน โลกุตตรญาณ คือ ความรู้ยิ่งกว่าทางโลก ควรระมัดระวังไม่ให้หลงว่าท่านได้มรรคผล อุปกิเลส 10อย่างมีดังนี้

1) โอภาส จิตกำลังพิจารณาวิปัสสนาญาณอยู่ระดับอุปจารสมาธิ ย่อมเกิดแสงสว่างมาก จงอย่าพึงพอใจว่าได้มรรคผล อย่าสนใจแสงสว่าง ให้ปฏิบัติต่อไป

2) ญาณ ความรู้เช่นทิพจักขุญาณ จากจิตที่เป็นสมาธิภาวนา สามารถเห็นนรก สวรรค์ พรหมโลก รู้อดีต อนาคต ปัจจุบัน ได้ตามสมควร เลิกทำต่อไป หลงผิดคิดว่าได้ บรรลุมรรคผล ไม่ใช่อารมณ์วิปัสสนาญาณ ควร

ระมัดระวังไม่ให้หลงผิด

3) ปีติ ความอิ่มใจ ปลาบปลื้ม เบิกบาน มีขนพองสยองเกล้า น้ำตาไหล กายลอย กายเบา โปร่งสบาย สมาธิ

แนบแน่นเป็นผลของสมถะยังไม่ใช่มรรคผล

4) ปัสสัทธิ ความสงบระงับด้วยฌานสมาธิ ความรู้สึก รัก โลภ โกรธ หลง คล้ายจะไปสิ้น ท่านว่าเป็นอุเบกขาฌานในจตุตฌานอย่าเพิ่งหลงผิดคิดว่าบรรลุมรรคผล

5) สุข ความสบายกายใจ เมื่ออยู่ในสมาธิ อุปจารฌานระดับสูง หรือ ฌาน 1-ฌาน4 มีความสุขกาย จิต อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในชีวิต เป็นผลของภาวนา ไม่ใช่มรรคผล

6)อธิโมกข์อารมณ์น้อมใจเชื่อโดยไม่มีเหตุผลไม่ได้พิจารณาถ่องแท้เป็นอาการศรัทธาไม่ใช่มรรคผล

7) ปัคคาหะ ความเพียรพยายามแรงกล้าไม่ท้อแท้ต่ออุปสรรค อย่าเพิ่งเข้าใจว่าบรรลุมรรคผลเสียก่อน เป็น

การหลงผิด

8) อุปัฎฐาน มีอารมณ์เป็นสมาธิ สงัด เยือกเย็น แม้แต่เสียงก็ไม่ได้ยิน อารมณ์ที่กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด เป็นปัจจัยให้นักปฏิบัติคิดว่าบรรลุมรรคผล

9) อุเบกขา ความวางเฉย เป็นอารมณ์ในสมาธิฌาน 4 ต้องระวังอย่าคิดว่าวางเฉยเป็นมรรคผล

10) นิกันติ แปลว่าความใคร่ไม่อาจมีความรู้สึกได้เป็นอารมณ์ของตัณหา สงบไม่ใช่ตัดได้เด็ดขาด อย่าพึ่งเข้าใจว่าบรรลุมรรคผล กิเลสยังไม่หมดเพียงแต่ฌานกดไว้ซึ่งเข้าใจสัญญาเดิมของตนว่าเข้าถึงนิพพานอารมณ์ๆเป็นของเรา แล้วแต่หาได้ถึงอารมณ์นิพพานไม่เพราะว่าไปยินดีในเวทนาขันธ์ เช่น รู้ไม่เท่าทันนามสงบ สุข อุเบกขา จึงทำให้เกิดการยึดติดในอารมณ์จนไปยินดีกับอารมณ์วิปัสสนา ซึ่งเป็นเหตุให้หลงว่านิพพานเป็นอัตตา ซึ่งแท้ที่จริงนั้นปัญญาของเราจะพิจารณาไปเองตามธรรมชาติต้องเห็นด้วยปัญญาไม่ใช่เห็นด้วยสัญญาหรือสังขาร(ห้ามเพ่ง ห้ามต้องการนึกอย่าไปหวังให้มันสำเร็จ เพราะถ้านึกแล้วจะกลายเป็นสมถกรรมฐาน) ซึ่งเราจะเข้าไปรู้แจ้งในนิพพานอารมณ์ คือ ความรู้สึกไม่ยึดติดสิ่งใดๆทั้งปวงมาเป็นของเรา ตัวเราแม้กระทั่งอารมณ์วิปัสสนาเป็นของเรา ซึ่งเราเรียกว่าความรู้สึกรู้อารมณ์นิพพานแล้วปล่อยวางคือ จิตรวมกับใจเป็นเอกัตคตาจะไม่เป็นการบังคับจิตให้รู้เท่าทันซึ่งเป็นอารมณ์รู้เท่าทันความคิดตนแล้วปล่อยวางได้ ซึ่งจะเป็นความรู้สึกที่รู้ได้ด้วยตนเองว่ามีจิตรู้เท่าทันนามธรรมและรูปธรรมว่าเป็นไตรลักษณ์ ขณะที่เราเข้าไปแจ้งในพระนิพพานอารมณ์นั้น เมื่อนั้นมรรคมีองค์ 8 ก็จะทำให้เราเจริญไปด้วยปัญญา (อย่าทำวิปัสสนามากเกินไป หรือน้อยไป ควรเดินทางสายกลาง)

สรุปจากสายพระกรรมฐาน 5 รูป





 
amai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435

ตอบตอบเมื่อ: 11 พ.ย.2004, 2:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ย.2004, 7:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 ธ.ค.2004, 9:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ของคุณพงพันธ์ นี่ต้องเข้ามาอ่านบ่อยๆจึงจะดี เหมือนฟังธรรมหลายๆครั้งซ้ำๆกัน แต่ไม่มีอะไรน่าเบื่อ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง