Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วันมาฆบูชา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.พ.2006, 12:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วันมาฆบูชา

ความหมาย

วันมาฆบูชา หมายถึง การบูชา ในวันเพ็ญเดือน ๓ เนื่องในโอกาสคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์

ความสำคัญ

วันมาฆบูชา เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ มีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมายกันพระสงฆ์ ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์

ผู้ได้อภิญญา ๖ และเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจากพระพุทธเจ้า ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นทั้งหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติที่ นำไปใช้ได้ทุกสังคม มีเนื้อหา โดยสรุปคือให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดี ให้ถึงพร้อมและทำจิตใจให้ผ่องใส

ประวัติความเป็นมา

๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๙ เดือนขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน ๓ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุม พร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ

๑. วันนั้นเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
๒. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้ นัดหมาย
๓. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
๔. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นผู้ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจาก พระพุทธเจ้า

เพราะเหตุที่มีองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว จึงมีชื่อเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า วันจาตุรงคสันนิบาต และในโอกาสนี้ พระพุทธเจ้า ได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประกาศหลักการอุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา

Image

การถือปฏิบัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย

พิธีวันมาฆบูชานี้ เดิมทีเดียวในประเทศไทยไม่เคยทำมาก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายไว้ว่าเกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงถือตามแบบของโบราณบัณฑิตที่ได้นิยมกันว่า วันมาฆะบูรณมี พระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะเต็มบริบูรณ์เป็นวันที่พระอรหันต์สาวกของ พระพุทธเจ้า ๑,๒๕๐ รูป ได้ประชุมกันพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ เรียกว่า

จาตุรงคสันนิบาตพระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เป็นการ ประชุมใหญ่ และเป็นการอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา นักปราชญ์ จึงถือเอาเหตุนั้นประกอบ การสักการบูชาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวก ๑,๒๕๐ รูปนั้น ให้เป็นที่ตั้งแห่งความ เลื่อมใสการประกอบพิธีมาฆะบูชา ได้เริ่มในพระบรมมหาราชวังก่อน

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีพิธีการพระราชกุศลในเวลาเช้า พระสงฆ์ วัดบวรนิเวศวิหารและ วัดราชประดิษฐ์ ๓๐ รูป ฉันในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลาค่ำ เสด็จออกทรงจุด ธูปเทียนเครื่อง มนัสการแล้ว พระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว สวดมนต์ต่อไปมี สวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วยสวดมนต์ จบทรงจุดเทียนรายตามราวรอบพระอุโบสถ ๑,๒๕๐ เล่ม มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนา โอวาทปาติโมกข์ ๑ กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลีและ ภาษาไทย เครื่องกัณฑ์ มีจีวรเนื้อดี ๑ ผืน เงิน ๓ ตำลึง และขนมต่างๆ เทศนาจบพระสงฆ์ ซึ่งสวดมนต์ ๓๐ รูป สวดรับการประกอบพระราชกุศลเกี่ยวกับ

วันมาฆบูชาในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปีมิได้ขาด สมัยต่อมามีการเว้นบ้าง เช่น รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จออกเองบ้าง มิได้ เสด็จออกเองบ้างเพราะมักเป็นเวลาที่ประสบกับเวลาเสด็จประพาส หัวเมืองบ่อยๆ หากถูกคราวเสด็จไปประพาสบางปะอินหรือพระพุทธบาท พระพุทธฉาย พระปฐมเจดีย์ พระแท่นดงรัง ก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชา ในสถานที่นั้นๆ ขึ้นอีก ส่วนหนึ่งต่างหากจากในพระบรมมหาราชวังเดิมทีมีการประกอบพิธีในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาก็ขยายออกไป ให้พุทธบริษัทได้ ปฏิบัติตามอย่างเป็นระบบสืบมาจนปัจจุบัน มีการบูชา ด้วยการเวียนเทียน และบำเพ็ญกุศลต่างๆ ส่วนกำหนดวันประกอบพิธีมาฆบูชานั้น ปกติตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๓ หากปีใด เป็นอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหนจะเลื่อนไปตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติได้แก่ โอวาทปาติโมกข์ หมายถึง หลักคำสอนคำสำคัญของพระพุทธศาสนาอันเป็นไปเพื่อป้องกัน และแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น หรือคำสอน อันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ วิธีการ ๖ ดังนี้

หลักการ ๓

๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลด ละเลิก ทำบาปทั้งปวง ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งความชั่ว มีสิบประการ อันเป็นความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ

ความชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ ผิดในกาม
ความชั่วทางวาจา ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ
ความชั่วทางใจ ได้แก่ การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม

๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี ๑๐ อย่าง อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ

ความดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นมีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการไม่ประพฤติผิดในกาม

การทำความดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อพูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวานพูดคำให้เกิดความสามัคคีและพูดถูกกาลเทศะ

การทำความดีทางใจ ได้แก่ การไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่นมีแต่คิดเสียสละ การไม่ผูกอาฆาตพยาบาทมีแต่คิดเมตตาและ ปราถนาดีและมีความเห็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

๓. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบ มี ๕ ประการ ได้แก่

๑. ความพอใจในกาม (กามฉันทะ)
๒. ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท)
๓. ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ)
๔. ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุทธัจจะกุกกุจจะ) และ
๕. ความลังเลสงสัย (วิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดีความชั่ว ว่ามีผลจริงหรือไม่ วิธีการทำจิตให้ปฏิบัติสมถะผ่องใส ที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการละบาปทั้งปวง ด้วยการถือศืลและบำเพ็ญกุศล ให้ถึงพร้อมด้วยการ และวิปัสสนา จนได้บรรลุอรหัตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริง

อุดมการณ์ ๔

๑. ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย วาจา ใจ
๒. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้าย รบกวน หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
๓. ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
๔. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จาการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘

วิธีการ ๖

๑. ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร
๒. ไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๓. สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎกติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของสังคม
๔. รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหารหรือการใช้สอยสิ่งต่างๆ
๕. อยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
๖. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ฝึกหัดชำระจิตให้สงบมีสุขภาพคุณภาพและประสิทธิ
ภาพที่ดี


.......................................

วันมาฆบูชา
http://www.dhammajak.net/budday/maka.php
 

_________________
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
I am
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.พ.2006, 2:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โมทนาครับ สาธุ....
 
เจียง
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 04 ต.ค. 2004
ตอบ: 118

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.พ.2006, 5:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ อนุโมทนาบุญครับ ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
วันคืนล่วงไป ๆ เรากำลังทำอะไรอยู่
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.พ.2006, 2:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

...อัศจรรย์มาฆบูชา...
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=4461

โอวาทปาฏิโมกข์...เรียบเรียงโดย วศิน อินทสระ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=4513


วันมาฆบูชา เป็นวันแห่งความรักที่สูงส่งบริสุทธิ์ในพระพุทธศาสนา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=17342
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
จ๋อมแจ๋ม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.พ.2006, 2:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เจริญกุศล ละอกุศล สาธุครับ สาธุ
 
คนรักธรรม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.พ.2006, 11:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ขออนุโมทนาสาธุทุกท่านด้วยครับ โดยเฉพาะผู้ที่ได้มีโอกาสเจริญธรรมในวันดังกล่าว เคยเกิดอุปาทานคิดไปเองเหมือนกันว่าทุกวันสำคัญของศาสนาพุทธการเจริญสมาธิจะรู้สึกก้าวหน้าดีกว่าวันปกติทั่วทั่วไป เหมือนมีอะไรคอยเกื้อหนุนค้ำจุนอยู่ อยากเห็นความเห็นคนปฏิบัติหลายหลายท่านจังว่ามีใครสัมผัสหรือรู้อะไรเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมทุกวันสำคัญของศาสนาบ้างหรือเปล่า?
 
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.พ.2006, 1:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ...คุณ TU
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.พ.2007, 11:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

พระพุทธพรในวันมาฆบูชา พ.ศ. 2550

วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันพระจันทร์เต็มดวง เสวยมาฆฤกษ์ เมื่อ 2595 ปีมาแล้วนั้น จัดวันนั้น เป็นวันมาฆบูชา ด้วยสมเด็จพระบรมศาสดาทรงประกาศหัวใจพระพุทธศาสนา 3 ประการ ในท่ามกลางพระอรหันตขีณาสพ 1 พัน 250 รูป เพื่ออัญเชิญไปเป็นหลักในการประกาศพระพุทธศาสนาแก่โลก ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือ การไม่ทำบาปอกุศลทั้งปวง การทำบุญกุศลทุกประการ และการทำจิตของตนให้ผ่องแผ้วไกลกิเลสทั้งปวง

หัวใจพระพุทธศาสนาก็เปรียบเช่นหัวใจเราท่านทั้งหลาย แม้ปล่อยหัวใจให้มีโรค ร่างกายก็จะเป็นทุกข์ทรมาน จนถึงตายได้ หัวใจพระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกันไม่รักษาให้ดีด้วยการทำตาม ที่พระพุทธองค์ทรงสอนก็ย่อมจะก่อให้เกิดความบอบช้ำแสนสาหัส ถึงจบชีวิตพระพุทธศาสนาได้ พร้อมกันนั้นชีวิตของเราท่านทั้งหลายก็จะสิ้นความสวัสดี แม้ไม่อยากให้ชีวิตต้องผ่านพ้นสภาพเช่นนั้น ก็จงเร่งคิดพูดทำให้ได้ดังหัวใจพระพุทธศาสนา เริ่มต้นให้จริง ในวันมาฆบูชานี้เถิด มหามงคลจะเกิดความเดือดร้อนวุ่นวาย จะสงบลงได้ ด้วยพระพุทธานุภาพแน่นอน

ขออำนวยพร
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
3 มีนาคม พ.ศ. 2550



หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 13
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10580
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 03 มี.ค.2007, 1:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สงสัยมากครับ มีแต่พระอรหันต์มาประชุมกัน แต่ทำไมทรงให้โอวาทว่า

๑. การไม่ทำชั่วทั้งปวง (สพฺพปาปสฺส อกรณํ)
๒. การทำกุศลคือความดีให้พรั่งพร้อม (กุสลสฺสูปสมฺปทา)
๓. การทำจิตให้ผ่องแผ้ว (สจิตฺตปริโยทปนํ)

คล้ายๆ ว่าพระอรหันต์ยังเป็นผู้ไม่หลุดพ้นและถึงพร้อมด้วยธรรมที่บรรลุสัจธรรมไปแล้ว
หรือพระอรหันต์ยังมีกิเลสแฝงอยู่ครับ สงสัยจริงๆ ครับไม่มีเจตนาอื่นใด สาธุ
 
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 03 มี.ค.2007, 6:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประวัติความเป็นมาของวันมาฆบูชา

๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๙ เดือนขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน ๓ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุม พร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. วันนั้นเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
๒. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้ นัดหมาย
๓. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
๔. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นผู้ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจาก พระพุทธเจ้า

เพราะเหตุที่มีองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว จึงมีชื่อเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า วันจาตุรงคสันนิบาต และในโอกาสนี้ พระพุทธเจ้า ได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประกาศหลักการอุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา

อ้างอิงข้อมูลจาก
http://www.dhammajak.net/budday/maka.php
..................

พระพุทธองค์ประกาศโอวาทปาติโมกข์ครั้งใช่เพื่อสั่งสอนพระสาวกที่มาประชุมกัน แต่เพื่อประกาศหลักธรรมที่เป็นแบบแผ่นเดียวกัน เพื่อให้พระสาวกได้นำไปประกาศพระศาสนาแบบมีแบบแผ่นเดียวกัน ถ้าเทียบกับสมัยนี้ก็คือมีหลักสูตร หรือตำราเดียวกันนั้นเองครับ

สาธุ
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 04 มี.ค.2007, 5:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อืมม์ พระอรหันต์กับพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า บรรลุธรรมคนละอันหรอครับจึงต้องสร้างแบบแผนขึ้นมา ผมคิดว่าธรรมอันเดียวกันตั้งนาน ขอบคุณนะคับที่ให้ความกระจ่าง สาธุ
 
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 04 มี.ค.2007, 4:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้า กับพระสาวกที่บรรลุพระอรหันต์นั้นก็บรรลุธรรมอันเดียวกันคือธรรมที่หลุดพ้นจากอำนาจของกิเลส

แต่เรื่องการสั่งสอนนั้น เป็นเรื่องที่ต้องบอกกล่าวนัดหมายกัน เพื่อให้มีหลักเกณฑ์เดียวกัน การบรรลุนั้นก็เป็นเรื่องของจิตใจ ส่วนการสั่งสอนนั้นต้องใช้ภาษาที่ต้องสื่อสารกันให้รู้เรื่อง พระพุทธเจ้าจึงถือโอกาสที่พระสาวกมาประชุมกันวันมาฆบูชา ประกาศหลักธรรมที่เป็นแก่นของพระพุทธศาสนาให้พระสาวกทั้งหลายทราบเพื่อยึดถือเป็นแนวเดียวกันนั้นเองครับ

ยิ้ม
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง