Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วันเข้าพรรษา ไตรมาสแห่งการทำดี อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2006, 5:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วันเข้าพรรษา ไตรมาสแห่งการทำดี


สำหรับการอยู่จำพรรษานี้ เป็นพุทธบัญญัติ
ที่พระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตามคือ
ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ ในระหว่างฤดูฝน
เป็นเวลา 3 เดือน ยกเว้นมีกิจจำเป็นจริงๆ
ซึ่งพระพุทธองค์ได้ประทานอนุญาตให้ไปค้างแรมที่อื่นได้
คราวละไม่เกิน 7 วัน โดยไม่ถือว่าอาบัติ

เรียกว่าเป็นเหตุพิเศษ หรือ “สัตตาหกรณียกิจ”
ซึ่งมีอยู่ 4 ประการ โดยจะต้องไปเพื่อยับยั้งเพื่อนสหธรรมิก
เช่น ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรีที่อยากสึก ไม่ให้สึกได้
หรือไปเพื่อพยาบาลบิดามารดา หรือเพื่อนสหธรรมิกที่ป่วยได้
ไปเพื่อกิจของสงฆ์เช่น หาอุปกรณ์มาซ่อมวิหารที่ชำรุดได้
และไปเพื่อฉลองศรัทธาที่เขามานิมนต์ไปร่วมบำเพ็ญบุญได้


เหตุที่พระพุทธเจ้าต้องบัญญัติให้พระภิกษุอยู่จำพรรษา
ในฤดูฝนนี้ สืบเนื่องมาจากในสมัยพุทธกาล
เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่วัดเวฬุวัน
เมืองราชคฤห์ พอถึงฤดูฝนพระภิกษุส่วนใหญ่
มักจะอยู่ประจำที่เช่นเดียวกับนักบวชนอกพุทธศาสนา
ในขณะนั้นแต่ปรากฎว่า ในครั้งนั้นมีพระภิกษุกลุ่มฉัพพัคคีย์
และบริวารราว 1,500 รูป เที่ยวจาริกไปที่ต่างๆ
ด้วยว่าตอนต้นพุทธกาลไม่มีพุทธบัญญัติ
ให้พระภิกษุอยู่จำพรรษา เป็นเหตุให้ชาวบ้าน
พากันติเตียนถึงการจาริกของกลุ่มพระภิกษุดังกล่าว
เนื่องจากไปเหยียบย่ำข้าวกล้าในนา และพืชผลเสียหาย
เมื่อรู้ไปถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์
สอบถามข้อเท็จจริง แล้วทรงกำหนดเป็นพุทธบัญญัติ
ให้พระภิกษุอยู่จำพรรษา เป็นเวลา 3 ดือนในช่วงฤดูฝน

โดยปกติการจำพรรษาจะเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8
ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 เรียกกันว่า
“เข้าพรรษาแรก” หรือ “ปุริมพรรษา”
แต่ถ้าในปีใดมีอธิกมาสหรือเดือน 8 สองหน
ก็จะเลื่อนไปจำพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8
หลัง ซึ่งพระภิกษุในประเทศไทยส่วนใหญ่
ก็จะจำพรรษาในช่วงปุริมพรรษานี้

อย่างไรก็ดี กรณีที่มีพระภิกษุบางรูปเกิดอาพาธ (ป่วย)
หรือติดกิจธุระ ไม่สามารถจำพรรษาแรกได้
ก็สามารถอธิษฐาน “จำพรรษาหลัง” หรือ “ปัจฉิมพรรษา” ได้
โดยเริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 9 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 12 แต่จะไม่ได้รับกฐิน
เนื่องจากยังอยู่ไม่ครบพรรษาในช่วงเทศกาลกฐิน

ในหนังสือวันสำคัญฯ ของสำนักงานคณะกรรมการ
วัฒนธรรมแห่งชาติ ได้กล่าวว่า เมื่อครั้งอดีตประชาชน
คนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม
จะเริ่มทำไร่ทำนาปักดำกล้าก่อนช่วงเข้าพรรษา
ครั้นพอเข้าพรรษาซึ่งเป็นเวลาที่พระภิกษุอยู่ประจำที่
ในฤดูฝน ก็จะพอดีกับการเสร็จงานในไร่นา จึงมีเวลาว่างมาก
ประกอบกับการคมนาคมในสมัยโน้น ยังไม่สะดวก

อีกทั้งฝนตกน้ำเจิ่งนองเต็มแม่น้ำลำคลองทั่วไป
ชาวบ้านจึงถือโอกาสเข้าวัดถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรม
และเจริญภาวนาเพื่อเพิ่มพูนบุญกุศลกัน
และโดยเหตุที่ในพุทธศาสนา มีการฝึกฝนตนตามไตรสิกขา
(ศีล สมาธิ ปัญญา) โดยมีพระภิกษุเป็นแบบอย่าง
ซึ่งเมื่อถึงฤดูกาลเข้าพรรษาที่มีพระภิกษุมาอยู่รวมกัน
เป็นจำนวนมาก พุทธศาสนิกชนจึงถือเป็นโอกาสเหมาะ
ที่จะไปศึกษาหาความรู้กับพระภิกษุ
และเห็นสมควรที่จะส่งบุตรหลานไปอุปสมบท
เพื่อศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
รวมทั้งได้ฝึกฝนตัวเองด้วย

ดังนั้น จึงเกิดเป็นประเพณีนิยมบวช 3 เดือน
เมื่อชายไทยอายุ 20 ปีบริบูรณ์
ขณะเดียวกันพุทธศาสนิกชนจำนวนหนึ่ง
ก็นิยมถือเอาวันเข้าพรรษา
เป็นวันเริ่มต้นที่จะสำรวจพฤติกรรมของตัวเองที่ผ่านมา
พร้อมทั้งอธิฐานจิตที่จะปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น
หรือพูดง่ายๆ ว่า ตั้งใจจะลดละ ความชั่วทั้งหลาย
และทำความดีเพิ่มขึ้น
เนื่องจากระยะเวลา 3 เดือน หรือ1ไตรมาส
(ไตร คือ 3 และ มาส หมายถึงเดือน)
นับว่าเป็นช่วงเวลาที่นานพอสมควร
ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชินที่ไม่ดี
ไปสู่การสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นได้

สำหรับการงดเว้นบาปและความชั่วต่างๆ ที่เรียกกันว่า “วิรัติ”
อันจัดเป็นมงคลข้อหนึ่งที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติมีความสงบสุข
ปลอดภัยและเจริญรุ่งเรืองนั้น จำแนกได้ 3 ประการคือ

สัมปัตตวิรัติ
ได้แก่ การงดเว้นจากบาป ความชั่ว และอบายมุขต่างๆ
เพราะมีหิริและโอตตัปปะ (ความละอาย และเกรงกลัวต่อบาป)
ขึ้นมาเอง บางแห่งก็ว่า หมายถึง เจตนาที่จะงดเว้น
ซึ่งเกิดขึ้นทันทีทันใด
อาทิ เดิมไม่ได้ตั้งใจจะรักษาศีล เพราะไม่ได้สมาทานไว้
(สมาทาน หมายถึง รับเอามาปฏิบัติ)
ครั้นพอเจอเหตุการณ์ที่จะทำให้เสียศีล
ก็คิดงดเว้นได้ขณะนั้น
เช่น เจอกระเป๋าเงิน เจ้าของวางไว้
คิดจะหยิบไปแต่แล้วช่วงเวลานั้น
ก็เกิดละอายใจและกลัวบาป จึงไม่ทำ ไม่ขโมย เป็นต้น

สมาทานวิรัติ
ได้แก่ การงดเว้นจากบาป ความชั่ว และอบายมุขต่างๆ
ด้วยการสมาทานศีล 5 หรือศีล 8 จากพระสงฆ์
โดยเพียรพยายามไม่ทำให้ศีลขาด หรือด่างพร้อย
แม้จะมีสิ่งยั่วยวนภายนอกมาเร้าก็ไม่หวั่นไหว
หรือเอนเอียง ถือว่าเป็นการงดเว้นด้วยความตั้งใจ
ที่จะปฏิบัติ จะต่างจากข้อแรกตรงที่ สัมปัตตวิรัติ
เป็น การงดทำบาปเพราะมีศีลขึ้นในขณะนั้น
แต่สมาทานวิรัติ เป็นความตั้งใจที่จะรักษาศีลอยู่ตลอดเวลา

สมุจเฉทวิรัติ
ได้แก่ การงดเว้นจากบาป ความชั่ว และอบายมุขต่างๆ
ได้อย่างเด็ดขาด ส่วนมากจะเป็นพระอริยเจ้า
แต่กระนั้นคนทั่วไปก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองได้
เช่น ในระหว่างพรรษาตั้งใจว่าจะไม่เล่นการพนันทุกชนิด
และเมื่อออกพรรษาแล้ว ก็สามารถงดเล่นการพนัน
ได้อย่างเด็ดขาด เป็นต้น (สมุจเฉท แปลว่า ตัดขาด)

อนึ่งอบายมุข หรือ ช่องทางของความเสื่อม
หรือเหตุแห่งความฉิบหายย่อยยับแห่งโภคทรัพย์
มีด้วยกัน 6 ทาง คือ

ติดสุราและของมึนเมา
ชอบเที่ยวกลางคืน
ชอบเที่ยวดูการละเล่น
เล่นการพนัน
คบคนชั่วเป็นมิตร
เกียจคร้านการงาน

อันที่จริง การกระทำความดี นั้น
เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกผู้ทุกนามพึงปฏิบัติอยู่แล้ว
ไม่ว่าจะในขณะใด แต่ก็เพราะว่าคนส่วนใหญ่
ก็ยังเป็น “ปุถุชน” ที่ยังหลงมัวเมาอยู่ในกิเลส ตัณหา
ที่หลอกล่อให้เราติดใจในรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส
ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งจนยากที่จะถอนตัวขึ้นมาง่ายๆ
ด้วยเหตุนี้คนเราจึงเกิดความทุกข์ไม่มีที่สิ้นสุด

Image

อย่างไรก็ดี ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาอย่างน้อยปีนี้
อันเป็นปีมหามงคลกลุ่มประชาสัมพันธ์
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
กระทรวงวัฒนธรรม
จึงได้เชิญชวนให้ทุกคนร่วมใจประพฤติปฏิบัติดี
สักคนละอย่าง 2 อย่าง ซึ่งความดีที่ว่านี้เป็นเรื่องไม่ยาก
และหลายคนอาจจะไม่ทันนึกถึง
เช่น การเลิกบ่นจู้จี้กับคนรอบข้าง
การอดกลั้นความโมโหต่อสามี ภริยา ลูก
หรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา แล้วพูดจากันด้วยดี
การพาพ่อแม่หรือครอบครัวไปทานข้าวนอกบ้าน
หรือไปทำบุญที่วัดทุกวันอาทิตย์ การไม่นอกใจสามีหรือภริยา
การให้บริการแก่ผู้มาติดต่อด้วยน้ำใจไมตรี
และการสวดมนต์ก่อนนอนทุกคืน เป็นต้น

ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น แม้จะดูเหมือนเรื่องเล็กๆ น้อยๆ
แต่เชื่อว่าหากใครปฏิบัติได้อย่างน้อยตลอดพรรษา
หรือ 1 ไตรมาส จะทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
อย่างแน่นอนโดยมีคนกล่าวไว้ว่า
“อย่าทำความชั่ว เพราะคิดว่าผิดนิดเดียว
และอย่าเว้นทำดี เพราะคิดว่าบุญกุศลน้อยนิด”

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้

ข้อมูลจาก : กลุ่มประชาสัมพันธ์
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
กระทรวงวัฒนธรรม

www.thaihealth.or.th

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.ค.2006, 1:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ คุณลูกโป่ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
I am
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.ค.2006, 8:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โมทนาครับ กับคุณลูกโป่งทุกกระทู้นะครับ สาธุ...
สวัสดีคุณสาวิกาน้อยด้วยครับ
 
suvitjak
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen

ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.ค.2008, 3:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ขอบคุณครับ ยิ้ม
 

_________________
ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 9:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง