Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลวงปู่เมตตาหลวง (หลวงปู่สิงห์ สุนฺทโร) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
วีรยุทธ
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 24 มิ.ย. 2005
ตอบ: 1790
ที่อยู่ (จังหวัด): สกลนคร

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2007, 3:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ประวัติและปฏิปทา
พระญาณสิทธาจารย์

(หลวงปู่เมตตาหลวง, หลวงปู่สิงห์ สุนฺทโร)

วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม (วัดพระขาว)
ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา



๏ ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิงห์ สุนฺทโร, พระอาจารย์มหาสิงห์ สุนฺทโร ป.ธ. ๖) หรือที่รู้กันทั่วไปในนาม “หลวงปู่เมตตาหลวง” มีนามเดิมว่า สิงห์ เนียมอ้ม เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา ณ หมู่ที่ ๓ ต.สะอาด อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายหา และนางปาน เนียมอ้ม มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๑๐ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒


๏ ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๑ ขวบ ซึ่งเป็นการบวชหน้าไฟอุทิศส่วนกุศลให้แก่คุณตาที่ถึงแก่กรรม แต่อย่างไรก็ดี การบรรพชาในครั้งนี้ท่านตั้งใจบวชเพื่ออุทิศบุญกุศลและถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ณ วัดบ้านหนองอ้อใหญ่ ต.สะอาด อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นการบวชฝ่ายมหานิกาย หลังจากบรรพชาได้ ๒ ปี พระอุปัชฌาย์ของท่านได้เห็นความตั้งใจจริง และมองการณ์ไกลต่อไปในอนาคต จึงได้บวชให้ใหม่เป็นฝ่ายธรรมยุติกนิกาย

ต่อมาจึงให้ท่านไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่วัดศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น ซึ่งในช่วงนี้ท่านได้ติดตามพระภิกษุรูปหนึ่งไปยังวัดอุ่มเม่า จ.กาฬสินธุ์ แล้วจึงกลับมายังวัดศรีจันทร์อีกครั้ง ครั้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดศรีจันทร์ โดยมี พระครูพิศาลอรัญญเขต (จันทร์ เขมิโย ป.ธ. ๓) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูพิเศษสุตคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดสังข์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดดวงจันทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “สุนฺทโร” แปลว่า ผู้งาม

Image
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)

Image
หลวงปู่คำดี ปภาโส

Image
หลวงปู่ขาว อนาลโย


ด้วยความที่ท่านมีนิสัยขยันหมั่นเพียรอ่านท่องหนังสือ จึงทำให้มีผู้สนใจรบเร้าให้พระอุปัชฌาย์พาท่านเพื่อมาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ ซึ่งก็ได้รับความยินยอมตามประสงค์ พระอุปัชฌาย์ท่านจึงได้พาตัวหลวงปู่ไปถวายกับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ในขณะนั้น ซึ่งท่านก็ได้เรียนนักธรรมที่กรุงเทพฯ และสอบมาเรื่อยๆ จนกระทั่งสอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ ๒๙ ปี จึงได้เดินทางกลับสู่ภูมิลำเนา

เมื่อหลวงปู่กลับไปถึง อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ท่านได้รับตำแหน่งหน้าที่เป็นพระสังฆาธิการเจ้าคณะอำเภอ ซึ่งในขณะนั้นท่านก็ได้นำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมา นำมาสอนแก่เหล่ากุลบุตรผู้สนใจ รวมทั้ง ได้ตั้งสำนักเรียนพระปริยัติธรรมขึ้น ณ วัดเสี้ยวโคกลาง อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ในช่วงเวลานี้หากว่างเว้นจากการสอน ท่านก็จะหามุมเงียบสงบเพื่อเจริญปฏิบัติภาวนาในป่าเขาเช่นกัน

ต่อมาหลวงปู่ก็ได้พบกับหลวงปู่คำดี ปภาโส ซึ่งหลวงปู่คำดีได้แนะวิธีเจริญปฏิบัติภาวนาให้ ท่านจึงเคารพหลวงปู่คำดีเป็นอย่างยิ่ง ครั้นต่อมา หลวงปู่ขาว อนาลโย ได้ออกเดินธุดงค์หาความสงบวิเวกผ่านมาทางจังหวัดเลย หลวงปู่จึงได้ออกเดินธุดงค์ไปพร้อมกับหลวงปู่ขาว กระทั่งหลวงปู่ขาวได้เล็งเห็นถึงปฏิภาณของหลวงปู่สิงห์ สุนฺทโร จึงได้ถ่ายทอดและสอนท่านให้สวดมนต์พระคาถาเมตตาหลวง

พระคาถาเมตตาหลวงบทนี้ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านมักจะใช้ภาวนาเจริญเมตตาไปยังสรรพสัตว์ไม่มีประมาณ ให้หมู่มนุษย์และเทวดาได้รับความร่มเย็นเป็นสุขโดยทั่วกัน เป็นการเจริญกรรมฐานที่มีอานิสงส์ทำให้จิตตั้งมั่นได้ถึงระดับอัปปนาสมาธิ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา จิตสามารถตั้งมั่นในระดับฌาณ ๓ ส่วนอุเบกขา จิตสามารถตั้งมั่นในระดับฌาณ ๔ ในหมวดกรรมฐาน ๔๐ กองบทนี้เรียกว่า พรหมวิหาร ๔ หรืออัปปมัญญา ๔ ซึ่งพระคาถาบทนี้หลวงปู่ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ได้รับการถ่ายทอดไว้และสามารถจดจำได้เพียงรูปเดียว และต่อมาได้ถ่ายทอดให้แก่หลวงปู่สิงห์

ครั้นต่อมา หลวงปู่สิงห์ก็ได้นำมาเผยแผ่ต่อให้กับลูกศิษย์ลูกหา จนกระทั่งสาธุชนทั้งหลายให้สมญานามท่านว่า “หลวงปู่เมตตาหลวง” เมื่อท่านอยู่ศึกษาปฏิบัติกับหลวงปู่ขาว อนาลโย ได้เวลาสมควรแล้ว จึงย้อนกลับมาปฏิบัติภาวนาอยู่กับหลวงปู่คำดี ปภาโส เช่นเดิม


หลังจากนั้นหลวงปู่ยังได้พบกับครูบาอาจารย์อีกหลายรูปหลายองค์ และต่อมาได้ติดตามสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร) มาพำนักจำพรรษา ณ วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ ซึ่งสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ท่านเห็นความเหมาะสมของหลวงปู่ จึงได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นพระธรรมฑูต ไปแสดงพระธรรมเทศนาตามสถานที่ต่างๆ เป็นเวลานานถึง ๔ ปี จึงลาออกจากตำแหน่ง

ในช่วงที่ท่านพำนักจำพรรษาอยู่ ณ วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร กรุงเทพฯ นั้น หลวงปู่ได้มาศึกษาปฏิบัติอยู่กับท่านพ่อลี ธัมมธโร แห่งวัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ด้วย ซึ่งภายหลังท่านจึงติดตามท่านพ่อลี ธัมมธโร ออกธุดงค์เดินทางไปภาคอีสาน ออกวิเวกตามสถานที่ต่างๆ จนกระทั่งมาถึงดงพญาเย็น ท่านได้พักปฏิบัติธรรมอยู่ ณ ที่นั้น ซึ่งเป็นเชิงเขาที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “เขาสีเสียดอ้า” หรือ “เขาเทพพิทักษ์” บริเวณหมู่บ้านกลางดง ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

Image
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร)

Image
ท่านพ่อลี ธัมมธโร


(มีต่อ ๑)
 

_________________
ท่านสามารถฟังวิทยุเสียงธรรมหลวงตามหาบัวได้ทั่วประเทศ
และโทรทัศน์ดาวเทียมเสียงธรรมทั้งภาพและเสียงได้แล้วที่
http://www.luangta.com
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2007, 8:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระพุทธสกลสีมามงคล (หลวงพ่อขาว) ตั้งโดดเด่นเป็นสง่ากลางป่าเขียว
[ผลงานการสร้างสรรค์โดย คุณ ATTAPHON ON-OHUN]



๏ สร้างวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม (วัดพระขาว)

ครั้นต่อมาท่านพ่อลี ธัมมธโร มีดำริที่จะสร้างวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม (วัดพระขาว)
ขึ้นมาพร้อมๆ กับสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่องค์หนึ่ง บนภูเขาสีเสียดอ้า
กระทั่งมีคณะศรัทธาญาติโยมมาร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดและพระพุทธรูป
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยวัดสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒
แต่พระพุทธรูปยังไม่ทันจะสร้างแล้วเสร็จ ท่านพ่อลีก็มรณภาพลงเสียก่อน

พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นนั้นเป็นพระพุทธรูปนั่งปางประทานพรสีขาวบริสุทธิ์ขนาดใหญ่
ได้ทำการขยายส่วนมาจากพระพุทธรูป ภ.ป.ร. มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๗.๒๕ เมตร
องค์พระสูง ๔๕ เมตร หมายถึง พระพุทธองค์ทรงโปรดเวไนยสัตว์อยู่ ๔๕ พรรษา
หรือเรียกว่าทรงทำพุทธกิจอยู่ ๔๕ พรรษา หลังจากตรัสรู้แล้ว

สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มีน้ำหนักถึง ๓,๐๐๐ ตัน
ตั้งโดดเด่นอยู่บนยอดเขากลางป่าเขียว
สูงจากระดับพื้นดิน ๑๑๒ เมตร
หรือ ๕๖ วา หมายถึง พระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า ๕๖ ประการ


การสร้างองค์พระในครั้งนี้เพื่อเป็นการน้อมเกล้าฯ ถวายโดยพระราชกุศล
เป็นพระบรมราชานุสรณ์พิเศษ และได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระนาม
จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
ทั้งขอพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อของทั้ง ๒ พระองค์
(ในหลวงรัชกาลที่ ๙ และพระราชินี)
อัญเชิญมาประดิษฐานที่ฐานองค์พระพุทธรูป
พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระนามว่า “พระพุทธสกลสีมามงคล”

แต่ชาวบ้านทั่วไปมักเรียกว่า “หลวงพ่อขาว” หรือ “หลวงพ่อใหญ่”
ตามรูปลักษณ์และขนาดของพระพุทธรูปองค์นี้
ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะหลายกิโลเมตร


พระพุทธสกลสีมามงคล (หลวงพ่อขาว) มีพุทธลักษณะดังนี้

- สูงจากระดับพื้นดิน ๑๑๒ เมตร หรือ ๕๖ วา
หมายถึง พระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า ๕๖ ประการ

- องค์พระพุทธรูปสูง ๔๕ เมตร
หมายถึง พระพุทธองค์ทรงโปรดเวไนยสัตว์อยู่ ๔๕ พรรษา
หรือเรียกว่าทรงทำพุทธกิจอยู่ ๔๕ พรรษา หลังจากตรัสรู้แล้ว

- หน้าตักกว้าง ๒๗ เมตร (๑๓ วา ๒ ศอก ๑ คืบ)
หมายถึง องค์แห่งธุดงค์ค์วัตร ๑๓ ประการ

- พระเกตุ (โมลี) สูง ๗ เมตร
หมายถึง โพชฌงค์ ๗ องค์แห่งการตรัสรู้

- พระกรรณ (หู) ยาว ๖.๘๐ เมตร

- ช่องพระนาสิก (จมูก) มีขนาดกว้างพอถังน้ำมัน ๒๐๐ ลิตรลอดได้

- พระเนตรดำขลิบด้วยเมฆพัด (โลหะผสมชนิดหนึ่ง) และดวงพระเนตรฝังมุก


Image
พระพุทธสกลสีมามงคล (หลวงพ่อขาว)

Image
พระพุทธสกลสีมามงคล (หลวงพ่อขาว) องค์จำลอง


ทางเดินขึ้นไปกราบนมัสการพระพุทธสกลสีมามงคล (หลวงพ่อขาว) จะมีลักษณะเป็นบันไดขึ้น ๒ ด้าน สร้างโค้งเว้าประกอบกันเป็นรูปใบโพธิ์ ขึ้นไปบรรจบกันที่องค์พระพุทธรูป บันไดมีทั้งสิ้น ๑,๒๕๐ ขั้น (นับรวมทั้งทางด้านซ้ายและด้านขวา) ซึ่งเท่ากับจำนวนพระอรหันต์สาวก ผู้ทรงอภิญญา ๖ ที่เดินทางมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ วัดพระเวฬุวัน นอกเมืองราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย ในคืนวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ อันเป็นการก่อกำเนิดแห่ง “วันมาฆบูชา” นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นอกจากนี้บริเวณใกล้ๆ กับที่ประดิษฐานพระพุทธสกลสีมามงคล (หลวงพ่อขาว) ยังมีทางเดินป่าเล็กๆ ทอดยาวไปสู่ยัง “ถ้ำเมตตา” และ “ถ้ำหมี” ซึ่งถ้ำหมีแห่งนี้ เป็นถ้ำที่หลวงปู่เมตตาหลวงใช้ในการบำเพ็ญภาวนาอยู่เป็นประจำ ต่อมา คณะศรัทธาญาติโยมจึงกราบนิมนต์หลวงปู่เมตตาหลวง ให้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม (วัดพระขาว) จ.นครราชสีมา ซึ่งหลวงปู่เมตตาหลวงก็ได้เมตตารับนิมนต์ และพำนักจำพรรษา ณ ที่วัดแห่งนี้ รวมทั้ง อบรมสั่งสอนคณะศรัทธาญาติโยมมาโดยตลอด กระทั่งหลวงปู่ได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เวลา ๑๐.๓๐ น. สิริอายุรวมได้ ๘๒ ปี พรรษา ๖๑ โดยมีพระราชวิมลญาณ (หลวงพ่อทองใส จันทโสภโณ) เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา

วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม (วัดพระขาว) ปัจจุบันมีพระครูพิทักษ์ธรรมานุยุต (คมกฤช สุวีโร) เป็นเจ้าอาวาส โดยทางวัดจะมีการแสดงพระธรรมเทศนา ปฏิบัติธรรม ทำวัตรเช้า-เย็น และสวดมนต์ไหว้พระ ฯลฯ เป็นประจำทุกวัน (ช่วงเช้าเริ่มเวลา ๐๓.๐๐ น. ช่วงเย็นเริ่มเวลา ๑๗.๓๐ น.)

Image
หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม


๏ เทวดามานิมนต์ให้ท่านพ่อลีช่วยสร้าง “หลวงพ่อขาว”

จาก...หนังสือ ๙๖ ปี ศรีสงฆ์ธำรงศาสน์ (มหาปุญโญวาท เล่ม ๓)
บันทึกโอวาทธรรมขององค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม

มีความตอนหนึ่งบันทึกไว้เกี่ยวกับประวัติการสร้าง “พระพุทธสกลสีมามงคล” หรือหลวงพ่อขาว
โดยหมู่เทวดาหลายแสนองค์มานิมนต์ให้ท่านพ่อลี ธัมมธโร ช่วยสร้างพระพุทธรูปองค์นี้


“ท่านอาจารย์ลี (ธมฺมธโร) เพิ่นเล่าให้ฟังว่า
เมื่อคราวเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เดินธุดงค์จากเมืองอุบลฯ จะเข้ากรุงเทพฯ
พอถึงปากช่อง ก็ไปปักกลดอยู่ตีนภูเขา เขาฮ้องชื่อ ภูสีเสียดอ้า
อยู่แถวกลางดง พักอยู่หลายวัน ขึ้นไปเสาะหาถ้ำที่ภาวนาข้างบน แต่ก็ไม่ได้
ตกกลางคืน รุกขเทวดา ภูมิเทวดา (ภุมมเทวดา) หลายแสน
มาขอให้ท่านอาจารย์ลีช่วยสร้างพระพุทธรูปไว้ให้เขากราบไหว้


ถามว่ามาแต่ไหน ?
เทวดาว่า “มาจากดงพญาไฟ มาจากเขาใหญ่”

ทำไมอยากได้ ?
“จะได้กราบไหว้สักการบูชา”

ท่านอาจารย์ลีก็ไม่รับปากบอกว่า “อาตมาเป็นพระธุดงค์ไปเรื่อยๆ
ไม่มีทรัพย์พอที่จะสร้างได้ ก็ได้แต่พระภายในนี้เอง”
เทวดาก็ว่า “ต่อไปก็ได้ขอให้มาสร้างให้”

อันนี้ท่านอาจารย์ลี เพิ่นเล่าให้ฟังเมื่อคราวอยู่ถ้ำพระสบาย
เพิ่นยังชวนให้คิดอ่านพิจารณาว่าจะเป็นไปได้อยู่หรือ
จะสร้างไว้บนภูเขา คนผ่านไปผ่านมาเขาจะได้เห็น จะได้ยกมือไหว้

ผู้ข้าฯ ก็ว่า “ท่านอาจารย์คิดอ่านอย่างใดครับ ?”

เพิ่นว่า “จะให้สูง ๔๕ เมตร พระนั่งประทานพร
หน้าตักให้ได้ ๑๓ วา เท่ากับข้อธุดงค์
เพราะผมเดินธุดงค์แล้วพักอยู่ที่นั่นแล้วได้นิมิต

ขอให้ท่านจามพิจารณาช่วยด้วยว่าผมนี้จะได้สร้างไหม ?”

“โอ...ท่านอาจารย์ผมจะรู้จักอันใดสุดแท้แต่ครูบาอาจารย์เถอะครับ
เมืองลพบุรี ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ กับท่านเจ้าคุณวัดมณีฯ เพิ่นก็ยังสร้างได้
อันนี้ท่านอาจารย์ก็ปรารภกับศรัทธาผู้ใจบุญ ก็จะยากอะไร คงได้แน่นอน”

“แต่อายุของผมไม่ยืนหนาท่านชีวิตนี้ ผลกรรมฆ่าคนมามาก
ยุคสงครามฆ่าแขก ถ้าหากเขาสร้างให้ ท่านไปช่วยอธิษฐานจิตให้ด้วยเน้อ”


ทีนี้ตั้งแต่นั้นมาได้หลายปี นายทหารพลเอกคนหนึ่งเขามาสร้างถวาย
ให้ท่านอาจารย์ลี อยู่หลังวัดหลวงพ่อเมตตาหลวง กลางดง ปากช่อง

ผู้ข้าฯ ก็เข้ากรุงเทพฯ ผ่านไปผ่านมาแต่ก็ยังไม่ได้ขึ้นไปดูใกล้ๆ สักที
ได้แต่ยกมือไหว้อยู่แต่ทางรถนี้ ระลึกได้อยู่คำของท่านอาจารย์ลีฝากไว้
เพิ่นคงจะรู้จักมาก่อนหล่ะว่าต้องได้สร้างแน่นอน เพิ่นจึงสั่งความไว้

หลวงพ่อเมตตาหลวงนี้แต่เมื่อคราวเป็นเณรอยู่ขอนแก่น วัดเหล่างาโคกโจด
เพิ่นเป็นเณรใหญ่บวชก่อนผู้ข้าฯ ๒ ปี เป็นเณรอยู่วัดศรีจันทร์
แต่ก็ออกไปช่วยทำเสนาสนะอยู่ เคยได้รู้จักพูดคุยกันอยู่
เพิ่นเป็นคนน้ำพอง ขอนแก่น สมัยนั้นฮ้องชื่อเพิ่น ว่า “เณรสิงห์”
แต่ครูบาอาจารย์พากันฮ้องว่า “สิงหา”
ต่อมาได้เป็นพระได้เป็นเจ้าคุณฯ คาถาที่เพิ่นใช้ คือ เมตตาหลวง
เขาจึงฮ้องหลวงพ่อเมตตาหลวง เมตตาตนเอง เมตตาให้สัตว์โลกทั้งหลาย

ท่านอาจารย์ลี วัดอโศการามนี้เก่งหลายอย่าง แสดงฤทธิ์ก็เก่ง
เทศนาก็เก่ง ฝึกหัดคนก็เก่ง การก่อสร้างก็เก่ง
สร้างเจดีย์ในถ้ำพระสบาย คิดอยากสร้างเจดีย์หมู่ ๑๓ องค์
การปฏิบัติของเพิ่นก็เก่ง ถึงข้อวัตรข้อธุดงค์ ปฏิบัติเชิดชูธุดงควัตรก็เก่ง
แต่หนีผู้คนไม่พ้น ไปอยู่ไหนเขาก็หุ้มรุม สุดท้ายไปติดอยู่ริมทะเลสมุทรปราการ
ไปอยู่เลี้ยงยุงริมน้ำทะเล หนีไปไหนไม่ได้ เพิ่นชอบที่สุด
เพิ่นว่า วัดถ้ำพระสบาย อยู่แล้วสบาย ได้ความสุข
ชื่อถ้ำก็เพิ่นนั้นหล่ะเป็นคนตั้งไว้ให้

แต่คนไปพบถ้ำคนแรก คือ ท่านอาจารย์น้อย สุภโร
ท่านอาจารย์น้อยรู้จักกับพวกชาวบ้าน พวกคนหาของป่า
พวกนายพรานเป็นคนของเจ้าแม่ป้วน ณ ลำปาง
เจ้าแม่ป้วน ณ ลำปาง เคารพนับถือ ท่านอาจารย์น้อย (สุภโร) มาก
ท่านอาจารย์น้อยไปอยู่ไหนก็ติดตามไปทำบุญให้ทาน
ดูแลบำรุงปัจจัย ๔ เลยหาที่อยู่ให้ท่านอาจารย์น้อย มาได้อำเภอแม่ทะ
ท่านอาจารย์น้อยก็เลยย้ายจากเกาะคา มาอยู่แม่ทะ พระสบาย
ถ้ำพระสบายก็ได้ท่านอาจารย์ลี ท่านมาอุปถัมภ์บำรุงอโศการาม จันทบุรี
แต่พระพุทธรูปขาวองค์นั้นเป็นที่เพิ่นพักธุดงค์
ได้รับนิมนต์ของหมู่เทวดาทั้งหลาย เขามาขอให้เพิ่นสร้างพระพุทธรูปไว้ให้
ต่อมาเพิ่นมรณะไปก่อน ได้นายทหารลูกศิษย์มาสร้างถวายให้
ตัวเพิ่นได้แต่คิดไว้ อยากสร้างเจดีย์ ก็ยังไม่ได้สร้าง มรณะไปเสียก่อน


ในยุคสมัยที่เป็นชาติชีวิตของพระเจ้าอโศก เมืองปาตลีบุตร
ได้สร้างบำรุงวัดวาอาราม วัดร้าง วัดเก่า วัดใหม่
ตามตำราว่าไว้สร้างได้ ๘๔,๐๐๐ วัด ได้วิหาร ได้เจดีย์
“มาชีวิตนี้เป็นราษฎร เป็นทุคตะ สร้างไม่ได้แล้วท่านจามเอ๊ย”
เพิ่นบอกไว้อย่างนี้ กับผู้ข้าฯ พูดคุยกันถูกคอกันดี ลมถูกกัน
ผู้ข้าฯ ก็เคารพกราบไหว้เพิ่นได้ การงานอันใดเป็นมงคลก็ฮ้องหาให้ไปช่วย
เบิกเนตรพระเจ้าทันใจ ปลุกเสกเจดีย์อยู่ในถ้ำ เบิกเนตรพระประธาน
วัดสำราญฯ เกาะคา, วัดพระสบายต้องได้ช่วยเพิ่นตลอด
ครูบาอาจารย์ก็หลายองค์ ที่อาวุโสกว่าแต่เพิ่นไม่เลือกเอา อันนี้ก็แปลกอยู่”



๏ หลวงปู่สิงห์ สุนฺทโร กับครูบาอาจารย์รูปอื่นๆ

Image
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ใส่บาตร “หลวงปู่เมตตาหลวง”
และพระภิกษุสงฆ์ เนื่องในวันคล้ายวันเกิด



๏ ภาพพระธาตุหลวงปู่สิงห์ สุนฺทโร

Image

Image


(มีต่อ ๒)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2007, 10:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
หลวงปู่ขาว อนาลโย ผู้ถ่ายทอดพระคาถาเมตตาหลวง
ให้แก่หลวงปู่เมตตาหลวง (หลวงปู่สิงห์ สุนฺทโร)



พระคาถาเมตตาหลวง

วิธีการสวด

ให้ไหว้พระ อรหํ สัมมาสัมพุทโธ, นโม ๓ จบ, พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ฯลฯ เป็นคำเริ่มต้นก่อน

คำสวดให้เมตตาตน

อะหัง สุขิโต โหมิ, นิททุกโข โหมิ, อะเวโร โหมิ, อัพพะยาปัชโฌ โหมิ, อะนีโฆ โหมิ, สุขี อัตตานัง ปริหะรามิ ฯ

ธรรมจักร ๑. คำสวดแผ่เมตตา (ย่อ)

๑) สัพเพสัตตา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
๒) สัพเพปาณา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
๓) สัพเพภูตา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
๔) สัพเพปุคคะลา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
๕) สัพเพอัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
๖) สัพพาอิตถิโย อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
๗) สัพเพปุริสา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
๘) สัพเพอะริยา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
๙) สัพเพอะนะริยา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
๑๐) สัพเพเทวา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
๑๑) สัพเพมนุสสา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
๑๒) สัพเพวินิปาติกา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ

ธรรมจักร ๒. คำสวดแผ่กรุณา (ย่อ)

๑) สัพเพสัตตา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๒) สัพเพปาณา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๓) สัพเพภูตา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๔) สัพเพปุคคะลา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๕) สัพเพอัตตะภาวะปะริยาปันนา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๖) สัพพาอิตถิโย สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๗) สัพเพปุริสา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๘) สัพเพอะริยา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๙) สัพเพอะนะริยา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๑๐) สัพเพเทวา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๑๑) สัพเพมนุสสา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
๑๒) สัพเพวินิปาติกา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ

ธรรมจักร ๓. คำสวดแผ่มุทิตา (ย่อ)

๑) สัพเพสัตตา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๒) สัพเพปาณา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๓) สัพเพภูตา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๔) สัพเพปุคคะลา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๕) สัพเพอัตตะภาวะปะริยาปันนา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๖) สัพพาอิตถิโย ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๗) สัพเพปุริสา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๘) สัพเพอะริยา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๙) สัพเพอะนะริยา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๑๐) สัพเพเทวา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๑๑) สัพเพมนุสสา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
๑๒) สัพเพวินิปาติกา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ

ธรรมจักร ๔. คำสวดแผ่อุเบกขา (ย่อ)

๑) สัพเพสัตตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๒) สัพเพปาณา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๓) สัพเพภูตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๔) สัพเพปุคคะลา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๕) สัพเพอัตตะภาวะปะริยาปันนา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๖) สัพพาอิตถิโย กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๗) สัพเพปุริสา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๘) สัพเพอะริยา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๙) สัพเพอะนะริยา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๑๐) สัพเพเทวา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๑๑) สัพเพมนุสสา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

๑๒) สัพเพวินิปาติกา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ

Image
หลวงปู่สิงห์ สุนฺทโร หรือ “หลวงปู่เมตตาหลวง”


.............................................................

สาธุ สาธุ สาธุ ♥ รวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหามาจาก ::
(๑) บันทึกประวัติย่อหลวงปู่เมตตาหลวง (หลวงปู่สิงห์ สุนฺทโร)
(๒) บันทึกประวัติย่อพระพุทธสกลสีมามงคล (หลวงพ่อขาว)
วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม (วัดพระขาว) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
(๓) หนังสือ ๙๖ ปี ศรีสงฆ์ธำรงศาสน์ (มหาปุญโญวาท เล่ม ๓)
(๔) พระคาถาเมตตาหลวง คาถาโปรดเทวดาของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 11:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

Image

ดอกไม้ เทียน กระทู้ในบอร์ดใหม่ >>>

ประวัติและปฏิปทา พระญาณสิทธาจารย์
(หลวงปู่เมตตาหลวง, หลวงปู่สิงห์ สุนฺทโร)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=24696

ดอกไม้ ดอกไม้ พระพุทธสกลสีมามงคล (หลวงพ่อขาว)
วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=38901
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง