Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เทศน์งานทอดกฐินและผ้าป่า พ.ศ. ๒๕๑๖ (หนังสือ อนาลโยวาท) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2006, 6:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

เทศน์งานทอดกฐินและผ้าป่า พ.ศ.๒๕๑๖
หลวงปู่ขาว อนาลโย

ธรรมเทศนา พระเดชพระคุณ เจ้าฟ้า เจ้าคุณ อันนี้คือ อริยันจัฏฐังฯ ฟังหมดแล้ว ท่านเข้าใจหมดแล้ว ยังจะฟังต่อไปอีกเนาะ

อันใดท่านก็รู้หมดแล้ว บาปก็รู้ บุญก็รู้ คุณโทษอะหยังก็รู้หมดแล้ว (อะหยัง-อะไร) แล้วจะฟังอะไรอีก อาตามก็อยู่ป่าอยู่ดง มีแต่นั่งหลับหูหลับตาให้แมลงวันตอมอยู่ซื่อๆ (อยู่ซื่อๆ - อยู่เฉยๆ) ไม่มีความรู้วิชาความรู้อะหยังจั๊ก (จั๊ก - ไม่รู้) จะเอาอะไร พระเดชพระคุณท่านจะให้เทศน์ เจ้าคุณฯ นั่นแหละเทศน์ (แล้วท่านก็หัวเราะตามที่ท่านเคยหัวเราะ)

เสียงท่านเจ้าคุณพระพุทธพจนวราภรณ์ ซึ่งเป็นประธานนำกฐิน-ผ้าป่า ไปทอดคราวนี้ กราบเรียนตอบว่า “กระผมเทศน์ให้เขาฟังอยู่ธรรมดา ขอท่านอาจารย์ประทานโอวาท นานนาน ปีหนึ่งหรือสองปีกว่าจะได้มีโอกาสมา”

ท่านพระอาจารย์ขาวจึงว่า

จั๊ก...จะเอาอะไรมาพูดให้ญาติโยมฟัง เหมือนคนอยู่ในป่าในดง พวกญาติโยมทั้งหลาย มีพระเดชพระคุณเป็นหัวหน้ามา อุตส่าห์มา อยู่ไกลแสนไกลก็ยังอุตส่าห์มา ก็นับว่าเป็นบุญยิ่ง เป็นบุญลาภอักโขอักขังของพวกญาติโยม ฟังเทศน์ก็ได้ฟังทุกสิ่งทุกอย่างหมดแล้ว ทานก็ได้ฟัง ศีลก็ได้ฟัง ทุกขสัจก็ได้ฟัง แล้วจะเอาอะไรฟังอีก ธรรมนั่นแหละแม่น (แม่น - ใช่, ถูกแล้ว) ก้อนธรรมหมดทั้งก้อน

แม่นหมด ก้อนธรรมหมดทั้งก้อน ธรรมนั้นก็เป็นธรรม อกุศลธรรมก็มี กุศลธรรมก็มี ฉะนั้น ท่านทั้งหลายอยู่บ้านใหญ่เมืองใหญ่ ก็ได้ฟังอยู่บ่อยๆ แล้ว ก็คงแต่รักษาแต่คุณงามความดี ส่วนบาปธรรมนั้นคงจะพากันรับรู้แล้ว รู้แล้วก็คงจะพากันรังเกียจ ไม่อยากแตะต้อง มีแต่ขับไล่มันออกไป กุศลธรรมเกิดก็แม่นใจนั่นแหละ ใจนั่นแหละเป็นผู้ปรุงแต่งขึ้น อกุศลธรรมก็แม่นใจนั่นแหละ

ธรรมไม่ต้องไปหาที่อื่น แม่นหมดทั้งก้อน พระพุทธเจ้าท่านว่า เป็นก้อนธรรมหมดทั้งก้อน ปละเป็นของกลางไม่ใช่ของใคร อัตภาพเป็นของกลาง เรารู้จักว่าอย่างนี้ เป็นของกลางไม่ใช่ของใครหมด หมดทั้งนั้น ก้อนใครก้อนใคร รู้ว่าเป็นของกลางแล้ว และเป็นของได้มาอันบริสุทธิ์ เกิดมาชาตินี้เป็นผู้สมบูรณ์บริบูรณ์ พ้นจากใบ้บ้าบอดหนวกเสียจริต มีร่างกายจิตใจหูตาสมบูรณ์บริบูรณ์แล้ว ก็ควรพากันพิจารณาว่า เราเกิดมาชาตินี้ได้สมบัติดี สมบัติอันดีสมบูรณ์เราต้องนำมันเสีย อย่าไปเอาให้มันแก่ตายทิ้งซื่อๆ (ตายทิ้งเฉยๆ) ได้มาซึ่งสมบัติดี แล้วเอากับมันเหีย (เอากับมันเสีย) อันนี้ สมบัติอันนี้เป็นแต่ภายนอก แล้วเอากับมันเสีย คือ เอากับภายใน เอาอริยทรัพย์อันติดตามตนไปได้

อันสมบัติเราแสวงหาทุกวันนี้ เป็นมหาเศรษฐีหรืออะหยังก็ตาม อันนี้เป็นหนทางของทรัพย์ภายนอกที่อาศัยกันชั่วชีวิตหนึ่งเท่านั้นแหละ ครั้นล้มหายตายแล้ว ทรัพย์สมบัตินั้นก็เป็นของสำกรับโลก มันเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ เท่านั้นแหละ แล้วผู้ที่ไปนั้น ผู้ที่จะท่องเที่ยวอยู่ในสังสารจักรไม่ทีสิ้นสุดนั้นคือ ดวงวิญญาณ ดวงจิต ดวงวิญญาณนี่แหละที่ท่องเที่ยวอยู่ เกิดอยู่บ่อยๆ “สํสาเร สํสรนฺโต โส สํสาเร ภโว วิปุนจิโส สํสาร ทุคโตโม เต สํเสฏฺฐนปิ นมามิหํ” แต่พวกเราต้องท่องเที่ยวอยู่ในสังสารจักรนี้ มิใช่เราเกิดมาชาติเดียวกันนี้ นับภพนับชาติที่เราท่องเที่ยวอยู่ ต่ำๆ สูงๆ จนเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นสรรพสัตว์ต่าง ๆ ขึ้นสวรรค์ก็ได้ขึ้นไป ไปพรหมโลกก็ได้ขึ้นไป ลงไปนรกนั้นจะนับกัปนับกัลป์ไม่ได้

เมื่อพวกเรารู้อย่างนี้แล้ว เราควรจะประพฤติแต่กรรมอันดี พระพุทธเจ้าว่า จะดีก็ดี จะชั่วก็ดี เป็นเพราะ “กรรม” หรอก สัตว์นี้เกิดมาต่างๆ กัน ไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะเกิดมาเป็นมนุษย์เหมือน ๆ กัน แต่ก็ต่างกัน วิชาความรู้ก็ต่างกัน มากน้อยต่างกัน สมบัติก็ต่างกัน รูปร่างก็ต่างกัน ความยากจนความมั่งคั่งสมบูรณ์ก็ต่างกัน อันนี้เป็นเพราะอะไร เป็นเพราะกรรม อันนี้แม่นหมดทั้งก้อนแหละ “ก้อนธรรม” ส่วนที่เป็นใหญ่เป็นนั่นกว่าเขา พระพุทธเจ้าว่า “มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺา มโนมยา” มีใจนั่นแหละเป็นใหญ่ มีใจนั่นแหละหัวหน้า มีใจนั่นแหละประเสริฐสุด สิ่งทั้งหลาย บาปก็ดี บุญก็ดี สำเร็จแล้วด้วยใจ “มนะ” นี่แหละแปลว่า “ใจ” ครั้นใจไม่ดี “มนสา เจ ปทุฏฺเน” ใจไม่ดี ใจเศร้าหมอง

แม้คนนั้นจะพูดอยู่ก็ตาม จะทำการงานด้วยกายอยู่ก็ตาม ความทุกข์นั้นเพราะจิตเศร้าหมอง จิตไม่ดีแล้ว ความทุกข์นั้นย่อมติดตามคนผู้นั้นไป เหมือนกันกับล้อ อันตามรอยเท้าโคไปอย่างนั้น “มนสา เจ ปสนฺเนน” ครั้นจิตผ่องใส จิตผุดผ่อง จิตไม่เศร้าหมองแล้ว แม้นจะพูดอยู่ก็ตาม จะทำการงานอยู่ก็ตาม จะไปที่ไหนก็ตาม ความสุขย่อมติดตามเหมือนเงาเทียมตนไปอย่างนั้น มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจมีเท่านี้

ครั้นรู้อย่างนั้นแล้ว รู้ว่าใจเป็นหัวหน้า ใจเป็นใหญ่ ทำดีก็เพราะใจ เป็นทุกข์ก็เพราะกระทำ ความกลัวก็แม้นใจเป็นทุกข์ก็เพราะทำ แม้นรู้อย่างนั้นแล้ว เราจงเอาแต่ส่วนดี ส่วนไม่ดีมีราคะ โทสะ โมหะ นั่นต้องตัดมันไป ขับมันไป ไล่มันออกไป อย่าไปยึดถือ อย่าให้มันมาเป็นเจ้าเรือนอยู่ แม้นจะทำก็ดี จะพูดก็ดี จะคิดอะไรก็ดี ขอให้มีสติ ระวัง ไม่ผิดไม่พลาด ครั้นมีสติแล้ว พูดก็ไม่พลาด ทำก็ไม่พลาด คิดก็ไม่พลาด ให้พากันหัดทำสติ ให้สำเหนียกให้แม่นยำ

พระพุทธเจ้าจึงว่า “เย เกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต อปฺปมาทมูลกา อปฺปมาทสโมสรณา อปฺปมาโท เตสํ ธมฺมานํ อคฺคมกฺขายติ ฯ” กุศลธรรมทั้งหลาย มีสติเป็นเค้ามูล ครั้นมีสติแล้ว กุศลธรรมทั้งหลายก็เกิดขึ้น ก็มีแต่ทำแต่ความดีทุกสิ่งทุกอย่าง รู้แล้วอย่างนี้ ก็ให้พากันหัดทำสติ มันผิดก็ให้รู้ เราจะทำด้วยกายก็ให้ระลึกนึกได้เสียก่อน เราจะพูด ก็ให้ระลึกนึกได้เสียก่อน เราจะทำด้วยกายก็ให้ระลึกนึกได้เสียก่อน จะคิดก็ให้ระลึกนึกได้เสียก่อน มันถูกเราจึงพูด มันถูกเราจึงทำ มันถูกเราจึงคิดนึก ให้ทำสติให้สำเหนียกให้แม่นยำ ให้พากันสมาทานเอง อธิสีลสิกฺขาสมาทาเน ให้พากันสมาทานกันให้ศีลของเรา เอาศีลของเราเป็นอธิศีล คือเป็นใหญ่ เป็นอธิบดี ให้เป็นศีลมั่นคง อย่าให้เป็นศีลง่อนแง่นคลอนแคลน

อธิจิตตสิกขาสมาทาเน ให้พากันสมาทานเอา คือตั้งใจมีสติควบคุมจิตใจของตน ให้ตั้งมั่นอยู่อย่างนั้น ทำการทำงานพูดจาหรือ ก็ให้จิตตั้งมั่น หรือนั่งภาวนาก็ให้จิตตั้งมั่น ให้เป็นอธิบดี อธิคือว่าให้เป็นใหญ่กว่าสิ่งทั้งปวง เรียกว่าไม่หวั่นไหวต่อสิ่งทั้งปวง อธิปญฺาสิกฺขาสมาทาเน ให้สมาทานเอาอธิปัญญา ความรู้จริง รอบคอบ รู้เท่าสังขาร ปัญญาความเห็น คือเห็นทุกข์ เห็นชาติ ความเกิดเป็นทุกข์ เห็นชรา ความเฒ่าความแก่เป็นทุกข์ เห็นพยาธิ ความเจ็บไข้ได้พยาธิเป็นทุกข์ เห็นมรณะ ความตายเป็นทุกข์

ความทุกข์เกิดขึ้นในกาย ความไม่ดีเกิดขึ้นในกาย เวทนาไม่ดีเกิดขึ้นแต่สัมผัสทางกาย อันนี้เรียกว่าความทุกข์กาย ให้กำหนดให้ดี ความทุกข์เกิดขึ้นที่ใจ ความไม่ดีเกิดขึ้นที่ใจ เวทนาไม่ดีเกิดขึ้นที่ใจ เกิดขึ้นสัมผัสทางใจ อันนี้ได้แก่ความโศก ความเสียใจ ความเศร้าใจ ให้กำหนดให้มันรู้เรื่องทุกข์ ให้มันเห็นเรื่องทุกข์เสีย สัจจะทั้ง ๔ นี้ พระพุทธเจ้าว่าเป็นทางไปพระนิพพาน นี่แหละทางดับทุกข์ นี่แหละให้พิจารณา

ความประจวบกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักที่เจริญใจ มีความไปร่วม มีความมาร่วม มีความประชุมร่วม สัตว์ทั้งนี้ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ เรียกว่า อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข ทุกข์น่าเกลียด ทุกข์น่าชัง ทุกข์ไม่พอใจ เป็นทุกข์ การพลัดพรากจากสัตว์และสังขาร อันเป็นที่รักที่เจริญใจ มีญาติพี่น้องที่พลัดพรากไปไกล หรือล้มหายตายเสีย ไปจากกันแล้ว ก็มีความทุกข์โศก เรียกว่า ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข ความไม่ไปร่วม ความไม่มาร่วม ความไม่ประชุมร่วมกับสิ่งที่ชอบใจ อันนี้เป็นทุกข์ บุคคลปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นสมหวังก็เป็นทุกข์ อันนี้มันมาจากไหน เราได้รับผลอย่างนี้มันมาจากไหน ต้องใช้สติปัญญาค้นคว้า มันก็จะเห็นกัน เมื่อทำจิตให้อยู่สงบ มันก็จะเห็นไป คือความอยาก มันเกิดมาจากความอยาก เรียกว่ากามตัณหา ความใคร่ ความพอใจในรูป ในสิ่งที่มีวิญญาณและสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ ความใคร่ ความพอใจ

ทุกข์มันเกิดขึ้นจากความอยาก ความใคร่ ภวตัณหา ความอยากเป็น อย่างนี้ ความอยากได้ อยากหอบ อยากกอบ อยากโกยเอา อันไหนก็อยากกอบโกยมาเป็นของตัว อยากเป็นเศรษฐีคฤหบดี ราชามหากษัตริย์ อันนี้เรียกว่า ภวะ ความอยากเป็นอยากมี ความไม่พอใจ เหมือนอย่างหนังหดเหี่ยวเป็นเกลียว ความแก่หง่อมแห่งชีวิต ความเสื่อมแห่งชีวิต มีหนังหดเหี่ยวเป็นเกลียว ผมหงอก ฟันหัก อันนี้ไม่พอใจ อยากได้ อยากให้มันเป็นอยู่เหมือนเก่า หนังก็ดี แต่มีนหดเหี่ยวเสียแล้ว ผมมันหงอก กลับไปเอายาดำ ๆ นั่นมาย้อม มาย้อมมันก็ส่งกลิ่น มันก็ขายหน้าอีกแล้ว มันก็ดำอยู่แต่ปลาย ทางโคนนั่นมันก็ขาว ขายหน้าอีกแล้ว ก็ไม่พอใจ อันนี้เรียกว่า วิภวตัณหา ตัณหา ๓ ตัว ๓ อย่างนี่แหละ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นเหตุให้ทำชั่วอยู่บ่อย ๆ เราก็ใช้ปัญญาค้นหา มันเกิดอยู่ตอนไหน ตัณหามันเกิด มันจะเกิดมันเกิดขึ้นตอนไหน มันตั้งอยู่ มันตั้งอยู่ที่ไหน

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จกฺขํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ เอตฺเถสา ตณฺหา อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชติ เอตฺถ นิวิสมานา นิวิสติ ฯ .....เอตฺถ นิรุชฺฌมานา นิรุชฺฌติ ฯ” สิ่งใดเป็นที่รัก เป็นชนิดใด ใจไม่โลภ อะไรเป็นที่รัก ที่เป็นชนิดใด ใจไม่โลภ “จกฺขํ” ที่ตา “โสตํ โลเก ปิยรูปํ ฯ ฆานํ โลเก ปิยรูปํ ฯ ชิวฺหา โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ ฯ กาโย โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ ฯ มโน โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ เอตฺเถสา ตณฺหา อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชติ ฯลฯ........ เอตฺถ นิรุชฺฌมานา นิรุชฺฌติ ฯ”

มันเกิดขึ้นจากอายตนะทั้ง ๖ นี่เอง ตัณหาเกิดขึ้น ตัณหาเป็นที่รัก ตัณหาจะเกิดขึ้นที่ตา ตัณหาจะตั้งอยู่ที่ตา ตั้งอยู่ที่หู ตั้งอยู่ที่จมูก ตั้งอยู่ที่ลิ้น ตั้งอยู่ที่กาย สัมผัสอันใดมันมาถูกต้อง มันมีความพอใจ มีความกำหนัดชอบใจ อารมณ์อดีตที่ล่วงมาแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง แต่เอามาเป็นอารมณ์ เรียกว่าธรรมารมณ์ มันเกิดขึ้นที่ใจ รู้จักว่าบ่อนมันเกิดขึ้นที่นี่ ไม่เกิดขึ้นที่อื่น เกิดขึ้นจากอายตนะภายใน เกิดขึ้นจากอายตนะภายนอกประจวบกัน ต่อไปเกิดวิญญาณความรู้ขึ้น เกิดวิญญาณตัวนี้ขึ้น เกิดขึ้นจากสัมผัส เวทนาเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ขึ้นไป รู้แล้วเราเพียรละที่มันเกิด จากอายตนะภายนอก จากอายตนะภายใน เกิดขึ้นจากสัมผัส อายตนะเกิดขึ้นเพราะสัมผัส เมื่อรู้แล้ว เราก็เพียรละ เราเพียรปล่อยวาง

เมื่อดับความทุกข์ชนิดนี้ได้ ความวิเวกดับทุกข์สิ้นดังนี้ ดับตัณหาทั้ง ๓ ได้ นิโรธ นิโรธคือความไม่หวั่นไหวเรียกว่า นิพพาน

พระพุทธเจ้าท่านว่า นิพพานไม่ได้อยู่ที่อื่น อยู่ที่กายนี้แหละ ไม่ได้อยู่ที่อื่น อยู่กับอาการ ๓๒ เป็นผลสำเร็จ ทีหลังอยู่กับธาตุ ๔๒ เมื่อฟังแล้ว ให้พากันตั้งใจทำ เหมือนกับเครื่องทั้งหลายมีทัพสัมภาระ เราจะปลูกบ้านปลูกเรือนหรืออะไร มีดเราจะใช้การงาน ลับแล้วก็วางไว้ เครื่องทัพสัมภาระก็มาวางไว้ เราไม่ทำมันก็ไม่สำเร็จ ของทำเครื่องทำได้หมดพร้อมหมดมีแล้วแก่เราบริบูรณ์แล้ว

เราจะรบข้าศึก อาวุธของเราพร้อมหมดแล้ว แต่เราไม่ตั้งใจทำ จะปลูกบ้านปลูกเรือนก็ไม่ปลูก หาของมาพร้อมหมดแล้ว แล้วก็ตั้งอยู่นั่นแหละ ให้ชำรุดทรุดโทรมเสีย ทิ้งไว้ซื่อๆ ไม้ก็ดี ไม่มีประโยชน์ เราตั้งไว้ก็ไม่มีประโยชน์ ต้องอาศัยทำ ให้พากันทำ อิริยาบถ ยิน เดิน นั่ง นอน พระเจ้าทั้ง ๕ ไม่ได้ห้ามเป็นพระเจ้าทั้ง ๕ นิสัยจริตของเรามันถูกกับอะไร จะพุทโธ-พุทโธ หรือ ธัมโม-ธัมโม หรือ สังโฆ หรือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เอาอย่างหนึ่ง ๆ มันถูกอันไหน มันถูกจริตมันก็สงบ จิตสงบขึ้น จิตไม่ฟุ้งซ่าน หมายความว่า มันถูก เราบริกรรมว่า พุทโธ-พุทโธ-พุทโธ แล้ว จิตเบิกบาน จิตเยือกเย็น จิตร่าเริง อันนี้หมายความว่า มันถูกกับจริต มันถูกก็เอาอันนั้นแหละ บริกรรมไป พุทโธ-พุทโธ เรียกว่า สมถะ

ครั้นมันไม่ลง จิตไม่ลง ต้องพิจารณาค้นเรื่องทุกข์นี่แหละ และค้นเรื่องกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ใฟ้พิจารณาให้มันเห็นเป็นอสุภะ เป็นอสุภัง เป็นของเน่าของเหม็น ของปฏิกูล ของโสโครก พิจารณาให้มันเห็นตกอยู่ในไตรลักษณ์ ปัญจุปาทานักขันธา อนิจจา ขันธ์อันนี้ไม่เที่ยง ไม่แน่นอน ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ขันธ์อันนี้เป็นทุกข์ ปัญจุปาทานักขันธา อนัตตา ขันธ์อันนี้ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ผู้หญิงผู้ชาย ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน อันนี้ตายเหมือนกันหมด ครั้นถ้ามันไม่สงบ มันฟุ้งซ่าน ก็ต้องเอาปัญญาทำการค้นคว้าพิจารณาเรื่อยไป วิปัสสนาอย่างนี้ ค้นคว้าให้มันเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นของโสโครก ของไม่สวยไม่งาม พิจารณาเรื่อยไปจนมันเห็น จิตมันก็เกิดความสลดสังเวช เบื่อหน่ายในความเป็น ในอัตภาพ เบื่อหน่าย ภาวนาให้มันจนเกิดความคลายกำหนัดยินดีดังนี้


หนังสือ อนาลโยวาท หลวงปู่ขาว อนาลโย
ประวัติ ปฏิปทา และคำเทศนา หลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู สาธุ สาธุ สาธุ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=49961

• ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่ขาว อนาลโย”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22390

• รวมคำสอน “หลวงปู่ขาว อนาลโย”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=43187

• ประมวลภาพ “หลวงปู่ขาว อนาลโย” วัดถ้ำกลองเพล
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=21449
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง