Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ปธาน (หนังสือ อนาลโยวาท) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2006, 4:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ปธาน
หลวงปู่ขาว อนาลโย

อันนี้เป็นวาสนาของเราแท้ๆ จะได้บรรลุขั้นใดขั้นหนึ่งหรือขั้นที่สุดก็ไม่รู้ สมบัติของเราก็มีหมดแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง จะทำก็ได้อยู่ วาสนาบารมีเป็นกรรม เราได้สร้างมา คือมูลเก่อาอันนี้ มันเป็นยังไง คืออาศัยมูลเก่า ได้อัตภาพมาก็ได้บุญ ได้อวิชชา ได้ศีลมาในบุญด้วย ทรัพย์ภายในบริบูรณ์หมด เรื่องของเก่ามันเป็นอย่างนี้ บุญของเก่ามาถึง เหมือนกันกับพวกเศรษฐีเขาแสวงหาเงินทองของเขา ว่าจะเพิ่มทยอยขึ้นล้านหนึ่ง สองล้าน สามสิบล้าน ร้อยล้านขึ้นไป นี่มันหาเอาใหม่ ไปทำเอาใหม่ แม้นเป็นของเรา คืออัตภาพของเรานี่ อาศัยทรัพย์ของเก่า คืออัตภาพของเก่านี้บริบูรณ์แล้ว มันจะทำเอาใหม่ก็ได้อยู่ จะทำเอาใหม่ สร้างเอาใหม่ก็ได้ ให้มันเต็มรอบก็ได้

ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี เราก็ออกอยู่เป็นบางครั้งบางคราว ถึงวันอุโบสถศีลเราก็ออก เราก็เนกขัมมะออกจากเครื่องมืดมน ปัญญาบารมี เราก็สดับรับฟัง ตัวเราก็ใช้โยนิโส ค้นคว้าในเหตุในผลอยู่ วิริยบารมีเราก็อุตส่าห์ทำบุญแจกทาน ขันติ ความอดกลั้นต่อสิ่งทั้งปวงนี่ เราก็ทำหมด บารมี ๑๐ เราจะทำหมด บารมี ๑๐ ประการนี้ ที่พระพุทธเจ้ามาแจกจ่ายให้พวกเรา เราได้เป็นผู้รับแจกแล้ว แต่จะเอามาใช้ เอามาทำให้เกิดให้มี สัจจบารมี ให้มันมีความสัจจ์ความจริง เราจะทำ ก็ทำจริงๆ นั่นแหละ

ความสัจจ์ความจริง อธิษฐานความตั้งไว้ว่าจะทำ ต้องทำจริงๆ ได้มากก็ไม่ว่า ได้น้อยก็ไม่ว่า อย่าให้มันขาดสัจจะ ความจริงใจ อธิษฐานความตั้งมั่นในใจ ๓๐ นาทีก็ตาม ๔๐ นาทีก็ตาม ๕๐ ร้อยหนึ่ง ดี นั่นเป็นบางครั้งบางคราว เอาอยู่อย่างนั้น อย่าให้มันขาดความตั้งมั่นในใจไว้ สัจจะความจริงใจว่าจะทำ ก็ทำทันที พูดๆ จริง อธิษฐานความตั้งไว้ รู้หลักรู้ฐานไว้ เราก็ไม่เผลอ ต้องมีสติ ระลึกเอาไว้ เราอธิษฐานเอาไว้แล้ว ไม่ให้ขาด ๒๐ นาทีก็เอา นั่งทำความเพียรของเราไม่ให้ขาด เมตตาบารมีให้เต็ม การสงเคราะห์คนทั่วโลกมีอยู่แล้ว อุเบกขา การวางเฉยต่ออารมณ์ ชอบใจก็ตาม ไม่ชอบใจก็ตาม วางเฉยต่ออารมณ์ทั้งหลายทั้งปวง การภาวนาของเราก็เพื่อว่าจะอบรมจิตใจของเรานั่นแหละ ไม่ให้มันหลงมันข้องไปนับภพนับชาติ หลงไปตามอารมณ์อยู่ในภพชาติหรืออดีตอนาคต แล้วน้อมเอาเข้ามาในจิต ทำให้จิตเศร้าหมอง ทำให้จิตเดือดร้อน

การที่เราทำความเพียรนี้ เราไม่ต้องการอะไรแล้ว นอกจากขัดจิตขัดใจของเราให้ขาวให้สะอาดเท่านั้นแหละ ใจมันเศร้าหมอง แต่อาศัยขัดอยู่บ่อยๆ ขัดไม่หยุดไม่หย่อน มันก็ขาวก็สะอาดขึ้น ผ่องใสขึ้น เพราะกิเลสคือ โลภะ โทสะ โมหะ มันหมักหมมมาหลายภพหลายชาติ ต้องคอยขัดคอยเกลา เพราะกิเลสเหมือนตาปู ตีแฝก ตีลงแน่น แต่ก็ไม่เหลือวิสัย ผู้สามารถที่ตั้งอกตั้งใจจะถอนตาปู ถอนไม่หยุดไม่หย่อน ถอนไปถอนมามันก็ออกสั้นเข้าๆ สั้นเข้ามันก็ถอนขึ้นได้

พระพุทธเจ้าสอนว่า จิตไม่ใช่จิตว่างนะ อย่าไปถือว่ามันจะว่างให้ ให้เรามีสติมีสัมปชัญญะ รู้ตัวเสมอ มันว็อกแว็กๆ อยู่อย่างนั้น เหมือนกันกับฟองน้ำ เดี๋ยวมันเกิดขึ้น เดี๋ยวมันดับ ดวงจิตมันไม่รู้จักอะไรหมดทั้งนั้น มันอาศัยเราทรมาน คือเราได้ยินได้ฟังแล้ว เราก็ให้มีสติขัดเกลา สั่งสอนมัน ให้มันรู้ เพราะมันไม่รู้นี่แหละ จิตดวงนี้แหละเรียกว่า อวิชชา คือความไม่รู้ จิตดวงนี้น่ะเรียกว่าอวิชชา ครั้นแนะนำสั่งสอนมัน ให้มันรู้ตามความเป็นจริงของโลกนั่นแหละ มันจึงได้ปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น โดยอุปาทานว่า จิตของเรามันปล่อยวาง ตัวอวิชชาก็แม่นดวงจิต นั่นแหละท่านสอนให้อบรมขัดเกลาจิตทุกเวลา เมื่อกิเลสมันเบาบาง มันหมดออกไปแล้ว มันขาว มันสะอาดแล้ว นั่นแหละจิตมันแจ้ง มันส่องแสงขึ้น ความส่องแสงขึ้น รู้เท่าสังขารตามความเป็นจริงของมันยังไง รู้ยังงั้น แล้วไม่ยึดไม่ถือ เลิก เกิดมาชาติใดก็ดี เราไม่ใช่จะเกิดมาชาติเดียวนี้ ตั้งแต่แผ่นดินเป็นแผ่นดินก็เกิดมา

ฐิตา วาสา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตถา ธมฺมนิยามตา สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา ฐิติธรรม ตั้งอยู่ในโลกไม่ขาดโลก คือดวงจิต ฐิติธรรม ตั้งอยู่จะเอาภพเอาชาติ ตายกันนะ ตายทุกวี่ทุกวัน นี่เรียกว่าตายเล่น ไม่ใช่ตายแท้ ตายแท้เหมือนดังพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ดับหมด ไม่มีกลับมาเกิดอีก กิเลสไม่ทีอะไรจะก่อภพก่อชาติอีก ความตายอย่างนั่นคือกิเลสนั่นแหละมันตาย เข้าไปอยู่ในบ้านมันแหละ หมดเรื่องกัน หมดภพหมดชาติ หมดเรื่องกัน นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ความสุขไม่เจือด้วยอามิส นิรามิสสุข นั่นแหละ พวกเราสละให้สละความสุขทางโลก ความสุขในโลกมีประมาณอันน้อย ผู้มีปัญญา ผู้ไม่ประมาทพึงสละความสุขเพื่อแลกเอาความสุขอันไพบูลย์ คือความสุขที่ไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย ความสุขอันนั้นเป็นความสุขอันไพบูลย์ ความสุขในโลกมีตายๆ เกิดๆ นั่นมีประมาณน้อยนิดเดียว นักปราชญ์ท่านจะว่าไม่มีเสียก็ได้ ความสุขอย่างนี้เหมือนเหยื่อมันเกี่ยวอยู่ที่เบ็ด ปลาไม่รู้ว่าเบ็ดมันเกาะอยู่ มันเกี่ยวอยู่นั่น ก็ไปคาบเอา เลยติดปากติดคออยู่อย่างนั้น

นักปราชญ์คือพระพุทธเจ้าเห็นโทษของโลกจึงมีความเบื่อหน่าย พระพุทธเจ้าว่าให้ปล่อยมันเสีย อย่าถือมันอีก มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตัว มันมีแต่คิดแต่อ่าน หาแต่โทษมาเผาเจ้าของ วางมันเสีย อย่าไปไว้ท่ามัน มันจะไปยังไงก็ไป ให้ทำจิตทำใจ ทำความรู้ไว้ให้เหมือนกับมหาปฐพี มหาปฐพีนั้น สัตว์ทั้งหลายจะมาทำดีก็ตาม มาทำร้ายก็ตาม มนุษย์จะมาทำดีก็ตาม ทำร้ายก็ตาม มหาปฐพีไม่มีความหวั่นไหว จะทำอย่างไรก็ตาม ทำใจให้เป็นอย่างนั้น นั่นแหละพระนิพพาน พระพุทธเจ้าว่า ใครทำใจได้อย่างนั้นแล้ว ได้อยู่เป็นสุขถึงพระนิพพาน ทำใจอย่างนั้นแล้วจะมีทุกข์อะไรเล่ามาเผามาผลาญดวงจิตของเรา เราไม่ถือไว้

จิตพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายพอรู้เท่าแล้ว จิตเป็นกลาง จรงฺ อุเบกฺขา จิตเป็นกลาง เราจึงตั้งตรง ก็สบายเท่านั้น นโยบายเพื่อจะสละคืนเท่านั้น เพื่อไม่ให้ยึดเท่านั้น ไม่ให้ยึดอะไรหมดทั้งนั้น การบริจาคทานทุกสิ่งทุกอย่าง สละคืนหมด การรักษาศีลก็สละคืนหมด ถ้าไม่รู้เท่าแล้วก็ทำทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ความชั่วร้ายนี่น่ะเรียกว่าไม่มีศีล เราก็สละคืน สละความชั่วนี่แหละ นั่นเรียกว่า สัมมัปปธาน มีความสำรวมระวังบาปไม่ให้เกิดขึ้นทั้งทางกาย ทางวาจาและใจ ปหานปธาน ไม่ให้บาปเกิดขึ้น ละถอนปล่อยวาง อะไรมันดีก็ตาม จะไม่ดีก็ตาม มีแต่เรื่องเป็นไฟเผาหมดทั้งนั้น ภาวนาปธาน เรียกว่าทำให้เกิด ทำให้มี สิ่งที่ยังไม่เกิดก็ทำให้เกิด สิ่งที่เกิดแล้วก็รักษาไว้ไม่ให้เสื่อมเสียไป เรียกว่า อนุรักขนาปธาน

อิทธิบาท ๔ ความพอใจจะละความชั่ว พากเพียรประกอบความดีให้มีขึ้น จิตตะ มีจิต มีสติรักษาจิตใจของตน ไม่ให้มันส่ายไปตามอารมณ์ภายนอก ให้มันรู้สึกอยู่ ไปก็ให้มันไป มันอยากไป แต่ให้สติของเรารู้อยู่ ไม่ไปตามมัน มันเอาเก็บเข้ามาหมักหมมไว้ในจิต ไม่รองรับมัน ต้องปล่อยต้องวางมัน มีจิตฝักใฝ่อยู่ในคุณงามความดี จิตมุ่งศึกษาหาเหตุหาผล เหตุดีให้ผลดี เหตุชั่วให้ผลชั่ว ธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุ อะไรเป็นตัวเหตุ ตัวเหตุคืออวิชชา ความโง่นั่นแหละ มันไหลมา อะไรเป็นอวิชชา จิตโง่นั่นแหละเป็นอวิชชา อะไรเป็นสนิมของอวิชชา มันนั่นแหละมันเป็นสนิมของมันเอง เหมือนกันกับเหล็ก เหมือนกันกับดาบและมีด ครั้นไม่ลับมันอยู่นานๆ ใครเอามาใส่ล่ะ สนิมน่ะ มันก็เกิดขึ้นของมันเอง มันขนเอามาเอง หมักหมมทำให้เกิดสนิม จนว่าจิตดำ จิตมืดน่ะ มันเองแหละเป็นสนิมของมัน เมื่อทำสนิมให้มันออกจากดวงจิตนี่แล้ว จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ ให้เป็นผู้หมั่นพยายามหัดทรมานสั่งสอนมัน อย่าไปปล่อยตามใจมัน มีความรู้เท่ามัน อย่าไปตามใจมัน หัดให้มันอยู่ในอำนาจของสติ สติควบคุม ขัดไปขัดมามันก็ขาวหรอก จิตขาว จิตสะอาด จิตผ่องแผ้วนั่นแหละ มนสาเจ ปสนฺเนน ภาสติ วา กโรติวา จิตเจ้าของควบคุมขัดเกลาให้ดีแล้ว จิตผ่องแผ้วดีแล้ว จะพูดอยู่ก็ตามมีความสุขเท่านั้น จะทำงานทำการอยู่ก็ตาม มีความสุขทั้งนั้น ตโตนํ สุขมเนวติ มีแต่ความสุขเท่านั้นแหละติดตามผู้นั้น มีแต่ความสุขทั้งหมด

ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ฉายา ว อนุปายินี เหมือนกันกับเงาเทียมตนคนไป ไม่ละไม่เว้นความสุขนั้น บาปก็อย่างเดียวกัน เพราะความไม่รู้เท่านำไป มนสาเจ ปทุฏฺเฐน จิตมีโลภะ โทสะ โมหะ เผาผลาญอยู่แล้วก็ไม่มีสติ จะพูดอยู่ก็ตาม มีแต่ความทุกข์ติดตามเขาไป ทำการงานอยู่ก็มีแต่ทุกข์เท่านั้น ตโตนํ ทุกฺขมเนวติ จกฺกํ ว วหโต ปทํ ความทุกข์ย่อมนำเขาไปเหมือนกันกับล้อ หรือกงล้อกงจักรอันโคเทียมแอกไปอยู่ แอกนั้นหนักทับคอมันไปอยู่ทั้งหลัง ทั้งตีนมัน กงล้อก็ยันตีนมันไปอยู่ เล็บหลุดไป ทางคอมันก็แอกถูคอมันไปอยู่ จนคอเปิก จิตไม่ดีเป็นอย่างนั้น มน สาเจ ปทุฏฺเฐน จิตอันเทพประทุษร้ายอยู่ มีแต่ความทุกข์เท่านั้น ความทุกข์ประจำมันไปเหมือนกับกงจักร กงล้อเหยียบรอยเท้าโคไปอยู่อย่างนั้น แล่นไปอยู่อย่างนั้น จนแตก แตกแล้วมีทุคติวิบัติเป็นที่ไป พวกเรามีการสดับรับฟังแล้วให้พากันทำเอา อย่ามีความประมาท ผู้อื่นไม่ได้ทำจิตของเราเศร้าหมองดอก ผู้อื่นไม่ได้ทำให้จิตของเราผ่องแผ้ว เราเองเป็นผู้ทำให้ผ่องแผ้ว เราเองเป็นผู้ทำให้จิตของตนเศร้าหมอง ผู้อื่นช่วยไม่ได้ แม้พระพุทธเจ้าก็ช่วยไม่ได้ ท่านทรงเป็นผู้บอกทางให้เท่านั้น


หนังสือ อนาลโยวาท หลวงปู่ขาว อนาลโย
ประวัติ ปฏิปทา และคำเทศนา หลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู
กัณฑ์ที่ ๑๑ ปธาน สาธุ สาธุ สาธุ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=49961

• ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่ขาว อนาลโย”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22390

• รวมคำสอน “หลวงปู่ขาว อนาลโย”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=43187

• ประมวลภาพ “หลวงปู่ขาว อนาลโย” วัดถ้ำกลองเพล
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=21449
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง