Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 นิโรธะ (หนังสือ อนาลโยวาท) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2006, 4:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นิโรธะ
หลวงปู่ขาว อนาลโย

Image

การปฏิบัติอานาปานสติ ถ้าไม่ถูกกับจริต
มีความอึดอัดใจ หายใจไม่สะดวก ไม่สบาย
ถ้าถูก มันจึงสบาย หายใจเบาลง
แต่คนก็ชอบแต่ความสบาย ถ้าไม่สบายไม่ค่อยชอบ
ถ้ามันสบาย มันก็หลงไปเสียกับความสบายล่ะ ถ้าเปลี่ยนบ้างมันจึงจะดี
เปลี่ยนคือความเจ็บป่วยนั้น มันเปลี่ยนบ้าง มันจึงรู้ มันจึงตื่น
หมายความว่าเปลี่ยนมันไม่เพลิน เวทนามันทรมาน ให้เขาปราบเอาบ้าง มันจึงดี
เหมือนกันกับเด็กมันดื้อ มันคะนอง พ่อแม่ต้องเฆี่ยนเอาบ้าง มันจึงหายความคะนอง
จิตของเรามันเป็นอย่างนั้น ถ้าอยู่ดีสบายแล้ว มันลืม
ให้นั่งภาวนาเป็นสมาธิ ให้มันเป็นปัญญา
คอยเตือนอย่าดื้อ อย่าคะนอง ให้กำหนดให้มันรู้ทุกข์
พระพุทธเจ้าสอนว่าให้มารู้จักทุกข์ ถ้ามันสบายแล้วมันไม่รู้จักทุกข์
มันมัวแต่เพลินไป ถ้ามันสบายแล้ว ให้มันไม่สบาย แล้วมันจึงกำหนดรู้จักทุกข์

พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ว่าให้มันรู้จักทุกข์
ให้มันรู้จักพิจารณาแต่ทุกข์ พิจารณาให้มันเห็นชัด
มันอยู่ที่ใจแล้ว มันจึงจะค้นหาเหตุ ทุกข์เป็นผล
แล้วความทะเยอทะยานนั้นเป็นต้นเหตุให้เกิดทุกข์
ค้นไปให้เห็นเหตุเกิดทุกข์ จะปล่อยวางความทะเยอทะยานความหลง
อันสมุทัยนั่นแหละเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
สมุทัยสมมุติ สมมุติว่าผู้หญิง ผู้ชาย ว่าคน ว่าสัตว์
นั่นไปหลงสมมุติ พอใจเพราะความหลง สมุทัยก็มาจากความหลง
พอมันขี้หลงเข้า หลงอยากเป็นอยากมี หลงสิ่งที่ไม่ชอบ
รู้เหตุอันนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
เป็นเหตุให้ท่องเที่ยวในสังสารจักรไม่มีที่สิ้นสุด ให้ปล่อยวางอันนี้


ปล่อยวาง คือไม่ยึดไม่ถือ รู้เท่ามัน
เมื่อปล่อยวางแล้วนั่นแหละ จิตมันจึงจะสงบ
จิตมันจึงจะมีความสุขความสบาย จิตไม่ดิ้นรน จิตสงบนั่นแหละ
ให้รู้ว่าจิตเราสงบ จิตเราไม่เพลิดเพลินกับอารมณ์ ดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม
ไม่เพลิดเพลิน เฉย เป็นกลาง เรียกว่า “นิโรธะ”
ปล่อยวางอันนี้ ความทะเยอทะยานหรือสมุทัย
วางอันนี้แหละ ได้ชื่อว่าปล่อยเหตุ วางเหตุแล้วจิตสงบ จิตเป็นกลาง
การค้นการพิจารณาเรื่องจิตนี้เรียกว่า มรรคปฏิปทา
เรียกว่าข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

เราภาวนาบริกรรมอันใด มันสบายใจ
บริกรรมแล้วก็ต้องพิจารณา “สมถะ” การบริกรรม
“วิปัสสนา” เรียกว่า กำหนดพิจารณา
เรื่องพิจารณาสังขารร่างกาย อันนี้เรียกว่าวิปัสสนา
ทำไปพร้อมเมื่อบริกรรมไป บริกรรมไปพอจิตสงบสักหน่อย มันไม่ลงถึงที่
มันก็ต้องค้นคว้า ก็ค้นคว้าร่างกายของเรา ต้องพิจารณาสกนธ์กายของเรานี่แหละ
กรรมฐานทุกคนนั่นแหละ พวกพระ พวกเณร พวกญาติโยมนั่นก็เป็นกรรมฐาน
กรรมฐานหมด มีอยู่หมดทุกรูปทุกนาม
พระพุทธเจ้าว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เรียกว่า “ปัญจกรรมฐาน”
กรรมฐานแท้ ให้พิจารณาอันนี้ ผมมันก็ตั้งอยู่บนศีรษะ
พระพุทธเจ้าท่านให้พิจารณา ผมไม่ใช่คน เป็นแผนกหนึ่งต่างหาก
ขนก็ไม่ใช่คน เรามาสำคัญว่าขนเรา เล็บเรา ผมเรา
ฟันก็ไม่ใช่คน เป็นแผนกหนึ่งต่างหาก
หนังก็ไม่ใช่คน หนังสำหรับห่อกระดูกไว้เท่านั้นแหละ
อาการ ๓๒ นี่ พระพุทธเจ้าท่านให้พิจารณาแยกออกเป็นสัดเป็นส่วน
อะไรเป็นคนเป็นสัตว์ ไม่สำคัญว่าผู้หญิงผู้ชาย ว่าเขาว่าเรา สำคัญที่คนเห็นผิด
อาการ ๓๒ นี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ
พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า เยื่อในสมองศีรษะ เป็นต้น
หมู่นี้เป็นคนละอย่างๆ มันไม่ใช่คน พระพุทธเจ้าว่ามันไม่ใช่คนนะ

อีกอย่างพระพุทธเจ้าว่า ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมรวมกัน เรียกว่า รูป
รูปใหญ่ มหาภูตรูป สิ่งที่อาศัยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ
เวทนา คือความเสวยอารมณ์สุขทุกข์ก็ดี
สัญญา ความจำหมายโน่นหมายนี่ จำโน่นจำนี่
จิตเจตสิก คือ ความคิดความอ่าน
ความปรุงขึ้นที่จิตคือวิญญาณสังขาร
ความรู้ทางอายตนะทั้ง ๖
อันนี้เราว่ารูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
เรียกว่า “ขันธ์” ไม่มีคนไม่มีสัตว์ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ตนไม่ใช่ตัว ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์
วิญญาณเป็นความรู้เท่านั้น รู้กันอยู่นี่แหละ ค้นไปค้นมาอยู่นั่น มองดูคนอยู่ไหน


สมถะ คือการบริกรรม วิปัสสนา การค้นคว้า
อาการ ๓๒ นี่แหละ ค้นไป ไม่ส่งจิตไปที่อื่น
เวลาเราทำสมาธิ เราต้องตั้งใจว่าเวลานี้เราจะทำหน้าที่ของเรา
หน้าที่ของเราคือจะกำหนดให้มีสติประจำใจ
ไม่ให้มันออกไปสู่อารมณ์ภายนอก

ให้มีสติประจำใจอยู่ ไม่ให้ไปภายนอก
เดี๋ยวนี้หน้าที่ของเราจะภาวนา จะทำหน้าที่ของเรา
ไม่ต้องคิดการงานข้างนอก เมื่อออกแล้วจะทำอะไรก็ทำไป
เวลาเราจะทำสมาธิทำความเพียรของเรา
ต้องตั้งสัจจะลง ตั้งใจกำหนดอยู่ในสกนธ์กายนี้
กำหนดสติให้รู้กับใจ เอาใจรู้กับใจ ให้จิตอยู่กับจิต กำหนดจิตขึ้น

ให้ทำให้มันพอ อาศัยศรัทธา วิริยะ เหตุทำให้มากๆ อันนี้แหละก้อนธรรม
พระพุทธเจ้าว่าก้อนธรรมอันนี้แหละ ก้อนธรรมหมดทั้งก้อน
ธรรมไม่มีที่อื่น ไม่มีที่อยู่อื่น จำเพาะรูปใคร รูปเราเท่านั้น เป็นธรรมหมดทั้งก้อน
ก้อนธรรมอันนี้ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน

พระพุทธเจ้าว่า ปัญจุปาทานักขันธา อนิจจา ขันธ์ทั้ง ๕ นี้ไม่เที่ยง ไม่แน่นอน
มีความเกิดขึ้นตั้งขึ้นในเบื้องต้น มีความแปรปรวนไปในท่ามกลาง
มีความแตกสลายไปในเบื้องปลาย
ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ขันธ์อันนี้เป็นทุกข์ มีทุกข์บีบคั้นอยู่
มีแต่ทุกขเวทนานั่นแหละ ความสุขมีนิดเดียว
ผู้ที่พิจารณาเห็นตามความเป็นจริงแล้ว ไม่มีสักหน่อยความสุขในโลกนี้
โลกคือสกนธ์โลกอันนี้ สกนธ์กายนี้
ปัญจุปาทานักขันธา อนัตตา ธรรมทั้งหลายสกนธ์กายอันนี้
ขันธ์ ๕ อันนี้ ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่คน พระพุทธเจ้าว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตา
ธรรมทั้งหลายจะเป็นสังขตธรรมหรืออสังขตธรรมก็ตาม ไม่มีความประเสริฐ ไม่มีความดี
พิจารณาเห็นสกนธ์กายว่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแล้ว
อันนี้เรียกว่าผู้ถึงวิราคะ วิราโค เสฏโฐ เป็นธรรมอันประเสริฐ
วิราคะคือความคลายกำหนัดจากอารมณ์ทั้งหลาย นี่เป็นธรรมอันประเสริฐ
นั่นแหละเมื่อถึงวิราคะ เรียกว่า นิโรโธ ทุกข์ดับ
มีความเบื่อหน่าย เหนื่อยหน่ายในความเป็นอยู่ของอัตภาพ
นี่แหละเรียกว่าปล่อยวาง เห็นตามความเป็นจริง แล้วปล่อยวางตัณหา
ความทะเยอทะยาน ความอยาก ความใคร่ในทางกิเลสกาม
ความอยากเป็นอยากมี ถึงขั้นนี้ก็กิจสำเร็จแล้ว


หนังสือ อนาลโยวาท หลวงปู่ขาว อนาลโย
ประวัติ ปฏิปทา และคำเทศนา หลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู
กัณฑ์ที่ ๔ นิโรธะ สาธุ สาธุ สาธุ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=49961

• ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่ขาว อนาลโย”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22390

• รวมคำสอน “หลวงปู่ขาว อนาลโย”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=43187

• ประมวลภาพ “หลวงปู่ขาว อนาลโย” วัดถ้ำกลองเพล
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=21449
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง