Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 นกุลบิดาคฤหบดี (อุบาสก-เอตทัคคะ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
ผู้ตั้ง ข้อความ
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2006, 1:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

นกุลบิดาคฤหบดี
เอตทัคคะในทางผู้กล่าวคำคุ้นเคย


นกุลบิดาคฤหบดีผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของอุบาสกทั้งหลายผู้กล่าวคำคุ้นเคย ก็โดยเหตุ ๒ ประการ คือโดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ เพราะท่านแสดงให้ผู้อื่นเห็นเป็นอย่างชัดเจนในคุณข้อนี้ของท่าน โดยการกล่าวถ้อยคำแสดงความคุ้นเคยกับพระผู้มีพระภาคเฉกเช่นพระพุทธองค์ทรงเป็นบุตรของท่าน ต่อเบื้องพระพักตร์ของพระองค์ ไม่เพียงเนื่องจากเหตุข้อนี้เท่านั้น แต่ยังเป็นการแต่งตั้งโดยเหตุที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปดังนี้


๐ ตั้งความปรารถนาไว้ในอดีต

ดังได้สดับมา ท่านคฤหบดีนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปุทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี กำลังฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่ง เอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้คุ้นเคย ก็ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้นบ้าง ครั้นสิ้นชีวิตลง ก็เวียนว่ายอยู่ใน ภพภูมิเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป


๐ ในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

ในพุทธุปบาทกาลนี้ก็บังเกิดในสกุลเศรษฐี นครสุงสุมารคิรี แคว้นภัคคะ ได้แต่งงานกับนกุลบิดาคฤหบดี จนมีบุตรตั้งชื่อว่า นกุล ชนทั้งหลายจึงเรียกสองสามีภรรยาว่า นกุลบิดา และนกุลมารดา ดังนี้

สมัยหนึ่ง พระศาสดาอันมีภิกษุสงฆ์แวดล้อมก็ได้เสด็จจาริกไปถึงนครนั้น และประทับอยู่ที่เภสกลาวัน

ครั้งนั้น นกุลบิดาคฤหบดีและนกุลมารดาคหปตานี นี้ ก็ไปเฝ้าพระศาสดา พร้อมด้วยเหล่าชาวสุงสุมารคิรีนคร ในการเฝ้าครั้งแรกนั้น เขาและภริยาก็เกิดความรู้สึกเสมือนหนึ่งว่า พระทศพลเป็นบุตรของตน จึงหมอบลงที่พระยุคลบาทของพระศาสดากราบทูลว่า ลูกเอ๋ย เจ้าทิ้งพ่อแม่ไปเสียตลอดเวลาเท่านี้ เที่ยวไปอยู่เสียที่ไหน

นัยว่า นกุลบิดาคฤหบดีนี้ แม้ใน ชาติก่อนๆ ก็ได้เป็นบิดาพระทศพล ๕๐๐ ชาติ เป็นอา ๕๐๐ ชาติ เป็นปู่ ๕๐๐ ชาติ เป็นลุง ๕๐๐ ชาติ นกุลมารดาก็ได้เป็นมารดา ๕๐๐ ชาติ เป็นน้า ๕๐๐ ชาติ เป็นย่า ๕๐๐ ชาติ เป็นป้า ๕๐๐ ชาติ ดังนั้น เพราะมีความรักที่ติดตามมาตลอดกาลยาวนาน พอเห็นพระทศพล ก็สำคัญว่าบุตรจึงทนอยู่ไม่ได้

พระศาสดามิได้ตรัสว่า จงหลีกไป แต่ทรงนิ่งอยู่ตลอดเวลาที่จิตใจของคนทั้งสองนั้นยังไม่รู้สึกตัว ครั้นพอคนทั้งสองนั้นกลับได้สติตามเดิมแล้ว พระศาสดาทรงทราบอาสยะ คืออัธยาศัยของ เหล่าสัตว์ผู้วางใจเป็นกลางแล้วจึงทรงแสดงธรรม เมื่อจบเทศนา ทั้งสองคนก็ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล


๐ คู่สามีภรรยาตัวอย่าง

นกุลบิดาคฤหบดีและนกุลมารดาคหปตานีทั้งสองท่านนี้เป็นคู่สามีภรรยาที่มีความประสานสอดคล้องโดยความรักภักดี และความซื่อสัตย์ ซึ่งนำไปสู่ความกลมกลืนกันในคุณธรรม จนปรารถนาจะพบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้า ดังความที่บันทึกไว้ ซึ่งนกุลบิดาคฤหบดีได้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับแต่เวลาที่ตระกูลนำนกุลมารดาคหปตานีซึ่งยังเป็นสาวมาเพื่อข้าพระองค์ผู้ยังเป็นหนุ่ม ข้าพระองค์มิได้รู้สึกจะประพฤตินอกใจนกุลมารดาคหปตานีเลยแม้ด้วยใจ ที่ไหนจะประพฤตินอกใจด้วยกาย ข้าพระองค์ทั้งสองปรารถนาพบกันทั้งในปัจจุบันและในสัมปรายภพ”

แม้นกุลมารดาคหปตานี ก็ได้กราบทูลความอย่างเดียวกัน

จากหนังสือพุทธธรรม ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (หน้า ๗๗๔)

และพระพุทธองค์ก็ได้แสดงหลักธรรมที่จะทำให้สามีภรรยาครอง รักกันยั่งยืนตลอดไปทั้งภพนี้และภพหน้าไว้ว่า

ดูกรคฤหบดีและคฤหปตานี ถ้าภรรยาและสามีทั้งสอง หวังจะพบกันและกันทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพไซร้ ทั้งสองเทียว พึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน ภรรยาและสามีทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพฯ


๐ พระพุทธองค์แสดงธรรมโปรดนกุลบิดา

เมื่อท่านนกุลบิดาเจ็บป่วยออดแอดร่างกายอ่อนแอ ไม่สบายด้วยโรคชรา ท่านได้เข้าเฝ้าและได้ฟังพระธรรมเทศนาครั้งหนึ่งที่ทำให้ท่านประทับใจมาก คือ พระดำรัสที่แนะนำให้ทำใจว่า

“พระผู้มีพระภาคตรัสว่า นั่นถูกแล้วๆ คฤหบดี อันที่จริง กายนี้กระสับกระส่าย เป็นดังว่าฟองไข่ อันผิวหนังหุ้มไว้

ดูกรคฤหบดี ก็บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรับรองความเป็นผู้ไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว จะมีอะไรเล่านอกจากความเป็นคนเขลา

ดูกรคฤหบดี เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่าเมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย

ดูกรคฤหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล”



(มีต่อ)
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --

แก้ไขล่าสุดโดย admin เมื่อ 26 พ.ย.2006, 12:48 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 03 ต.ค.2006, 9:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ นกุลมารดากระทำสัจกิริยาเพื่อให้นกุลบิดาหายป่วย

สมัยหนึ่ง นกุลบิดาคฤหบดีล้มป่วยลง มีทุกข์เป็นไข้หนักมาก นกุลมารดา เมื่อไม่สามารถจะจัดยาระงับพยาธิของสามีได้ ก็คิดที่จะระงับโรค โดยการบันลือสีหนาทกระทำสัจกิริยา ดังนั้นนางจึงนั่งลงใกล้สามี แล้วกล่าวเตือนเพื่อให้สามีที่ป่วยหนักได้เบาใจไม่ต้องเป็นกังวลเสียก่อนว่า

ถ้านกุลบิดาเป็นห่วงว่านางจะไม่สามารถเลี้ยดูบุตรและปกครองบ้านเรือนต่อไปได้เมื่อ นกุลบิดาสิ้นชีวิตลงละก็ จงอย่าได้เป็นกังวลในเรื่องนั้นเลย เพราะนางเองก็สามารถประกอบวิชาชีพ เช่น ปั่นฝ้าย ทอขนสัตว์เป็นต้นได้ เพื่อเลี้ยงชีวิตต่อไป

ถ้านกุลบิดาเป็นห่วงว่าเมื่อตนสิ้นชีวิตลง นางจะได้คนอื่นเป็นสามีละก็ จงอย่าได้เป็นกังวลในเรื่องนั้นเลย เพราะตลอด ๑๖ ปีที่ร่วมชีวิตกันมา นางได้ประพฤติพรหมจรรย์ของคฤหัสถ์ อย่างสม่ำเสมอไม่มีด่างพร้อยเลย

ถ้านกุลบิดาเป็นห่วงว่าเมื่อตนสิ้นชีวิตลง นางจะเป็นผู้ไม่ต้องการเห็นพระผู้มีพระภาค ไม่ต้องการเห็นพระภิกษุสงฆ์ละก็ จงอย่าได้เป็นกังวลในเรื่องนั้นเลย เพราะนางนั้นเป็นผู้ต้องการเห็นพระผู้มีพระภาคอย่างยิ่งและต้องการเห็นพระภิกษุสงฆ์อย่างยิ่ง

นางคฤหปตานี ผู้เป็นมารดาของนกุลมาณพ ครั้นได้ได้บันลือสีหนาทโดยองค์ ๓ กล่าวถ้อยคำที่ให้นกุลบิดาเบาใจเหล่านี้แล้ว นางก็ได้ทำสัจกิริยา โดยอ้างพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสักขีพยาน ปรารภคุณความดีของตน มีศีลเป็นต้น ด้วยองค์ ๓ เหล่านี้ ว่า

ในบรรดาสาวิกาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว กระทำให้บริบูรณ์ในศีลมีประมาณเท่าใด นางก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น ถ้าสงสัยในข้อนี้ก็ขอจงไปทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดูเถิด

ในบรรดาสาวิกาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว ได้ความสงบใจ ณ ภายใน มีประมาณเท่าใด นางก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น ถ้าสงสัยในข้อนี้ก็ขอจงไปทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดูเถิด

ในบรรดาสาวิกาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว ได้ถึงการหยั่งลง ได้ถึงที่พึ่ง ถึงความเบาใจ ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ในธรรมวินัยนี้ ไม่มีความเชื่อถือต่อผู้อื่นในศาสนาของพระศาสดา มีประมาณเท่าใด นางก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น ถ้าสงสัยในข้อนี้ก็ขอจงไปทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดูเถิด

ด้วยความสัตย์จริงเหล่านี้ ขอพยาธิในร่างกายของนกุลบิดาจงเหือดหายไป กลายเป็นความสำราญด้วยเถิด

ครั้งนั้นแล เมื่อนกุลบิดาคฤหบดี อันนกุลมารดาคฤหปตานีกระทำสัจกิริยาแล้ว ความเจ็บป่วยนั้นได้สงบระงับไปโดยพลัน


๐ ทรงแต่งตั้งอุบาสกและอุบาสิกาเป็นเอตทัคคะผู้กล่าวคำคุ้นเคย

ได้ยินว่า คฤหบดีนี้นับแต่ได้เห็นพระศาสดา ก็ได้เกิดความรักดุจว่าตนเป็นบิดา ฝ่ายอุบาสิกาของท่านก็ได้เกิดความรักดุจตนเป็นมารดา.ท่านทั้งสองเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสดาว่า บุตรของเรา ทั้งนี้เนื่องจากความรักของท่านทั้งสองนั้นมีมาแล้วในภพอื่นๆ ติดต่อกันมาเป็นเวลานาน

ได้ยินว่าอุบาสิกานั้นได้เป็นมารดา ส่วนคฤหบดีนั้นได้เป็นบิดาของพระตถาคต ๕๐๐ ชาติ.อุบาสิกาเป็นยาย และเป็นป้า-น้า อุบาสกเป็นปู่ และเป็นอา ตลอด ๕๐๐ ชาติอีก รวมความว่า พระศาสดาทรงเจริญเติบโตในมือของท่านทั้งสองนั้นเองสิ้น ๑,๕๐๐ อัตภาพ

ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านทั้งสองนั้นจึงสามารถนั่งพูดในสำนักของพระศาสดาและใช้คำที่ใครๆ ไม่สามารถจะพูดกับพระผู้มีพระภาคในสนิทสนมอย่างนั้นได้

ก็ด้วยเหตุนี้นี่แล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านทั้งสองนั้นไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้วยพระดำรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาอุบาสกสาวกที่สนิทสนมของเรา นกุลปิตา คฤหบดีจัดเป็นเลิศ ส่วนบรรดาอุบาสิกาสาวิกาที่สนิทสนมของเรา นกุลมาตาคหปตานี จัดเป็นเลิศ



.............................................................

คัดลอกมาจาก ::
http://www.dharma-gateway.com/
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง