Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สติในชีวิตประจำวัน : พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2006, 2:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

สติในชีวิตประจำวัน
คติธรรมสอนใจเพื่อใช้เตือนตน
โดย พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)



คำอนุโมทนา

การจัดพิมพ์พระธรรมเทศนา เรื่อง สติ...ในชีวิตประจำวัน ของพระธรรมโกศาจารย์ ท่านเจ้าคุณประยูร ธมฺมจิตฺโต ในครั้งนี้ เนื่องด้วยหวังให้สาระประโยชน์อันเกิดจากหนังสือเล่มนี้ จักบังเกิดขึ้นแก่สาธุชนที่สนใจคือทำให้ได้รู้ ได้เข้าใจในหลักธรรม แล้วน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ จนเกิดความสุขและความเจริญขึ้นในชีวิตตลอดไป

ขอกราบขอบพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) องค์แสดงพระธรรมเทศนาในครั้งนี้เป็นอย่างสูง ที่ได้เมตตาอนุญาตให้นำบทพระธรรมเทศนาเรื่องนี้ ออกเผยแพร่แก่ท่านสาธุชนทั้งหลาย ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และนำสาระประโยชน์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้สำหรับการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน

คณะผู้จัดพิมพ์ ขอกราบขอบพระคุณ ท่านสาธุชนทั้งหลายเป็นอย่างสูง ที่ได้มีศรัทธาบริจาคทรัพย์ร่วมสมทบทุนในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ และขออานิสงส์แห่งกุศลผลบุญที่ท่านสาธุชนทั้งหลายได้กระทำในครั้งนี้ จงเป็นปัจจัยเพิ่มพูนให้ท่านทั้งหลาย มีจิตใจที่บริบูรณ์ด้วยสติ สมาธิ ปัญญา และเจริญงอกงามในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป เทอญ


ด้วยความสุจริต หวังดี
ธรรมสภา ปรารถนาให้โลกพบกับความสงบสุข
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2006, 3:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สารบัญ

๏ สติทำให้เกิดสมาธิ และสมาธิทำให้เกิดปัญญา
๏ สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดก็เกิดปัญหา
๏ สติกับสัมปชัญญะต้องมาด้วยกัน
๏ รู้เท่าเอาไว้ป้องกัน รู้ทันเอาไว้แก้ไข
๏ สัมปชัญญะ คือ รู้ความชัด ๔ ประการ
๏ สาตถกสัมปชัญญะ
๏ สัปปายสัมปชัญญะ
๏ โคจรสัมปชัญญะ
๏ อสัมโมหสัมปชัญญะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2006, 3:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ สติทำให้เกิดสมาธิ และสมาธิทำให้เกิดปัญญา

ปัญญาที่มาสมาธิเป็นฐาน พื้นฐานนั้นจะมีพลังมาก มีอานิสงส์มาก พระพุทธเจ้าต้องเจริญสติบำเพ็ญสมาธิ

เพราะฉะนั้น ฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบัน อย่าใจลอย ใจต้องอยู่กับเรื่องเฉพาะหน้าที่ต้องทำ ท่านจะมีสมาธิ แล้วสมาธินั้นทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เรียกว่า สัมปชัญญะ

สัมปชัญญะก็คือ ปัญญาเฉพาะเรื่องนั่นเอง ปัญญาคือความรอบรู้ ส่วนสัมปชัญญะก็คือความรู้ชัดรู้จริง ที่นำมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขณะนั้นได้ ถ้าสติไม่มาปัญญาก็ไม่เกิด



(มีต่อ ๑)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2006, 3:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดก็เกิดปัญหา

ตัวอย่างในการแก้ปัญหา เช่นตึกถล่มที่รอยัลพลาซ่า โคราช ทุกคนในอาคารตกอกตกใจ บางคนช็อควิ่งพล่าน แต่มีคนคนหนึ่งรอดมาได้ เขากำลังกวาดพื้นอยู่ พอเสียงลั่นครืน แกกระโดดวิ่งไปหาเสาใหญ่ ไปหลบที่เสา เพราะคานมันจะหล่น พอคานหล่นมาก็คร่อมแกไว้ แกอยู่พิงเสา ไม่ได้วิ่งไปไหน มีสติเพราะฝึกไว้ แต่บางคนฝึกแล้วยังตกใจทำอะไรไม่ถูก สติไม่มา ปัญญาไม่เกิด



(มีต่อ ๒)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2006, 3:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ สติกับสัมปชัญญะต้องมาด้วยกัน

สติคือความรู้ทัน สัมปชัญญะคือความรู้เท่า ความรู้เท่าถึงการณ์ เห็นเหตุแล้วคาดว่าผลลัพธ์อะไรจะตามมา มองภาพกว้าง มองหน้า มองหลัง



(มีต่อ ๓)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2006, 3:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ รู้เท่าเอาไว้ป้องกัน รู้ทันเอาไว้แก้ไข

พอเกิดปัญหาเฉพาะหน้าขึ้นมา ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม สติจะช่วยทำให้ท่านระดมปัญญามาแก้ปัญหา เช่นขับรถบนท้องถนน ถ้าเกิดยางแตกจะทำอย่างไร บางคนตกใจเสียสติเหยียบเบรค รถเลยพลิกคว่ำ บางคนขับรถบนท้องถนน รถบรรทุกสิบล้อพุ่งสวนเข้าใส่ ท่านจะทำอย่างไรถ้ากดแตรเขายังไม่หลบ บางคนบอกว่า รถบรรทุกแล่นในช่องทางของเรา ต้องวัดใจกันหน่อย ใครดีใครอยู่

สติเป็นเครื่องกำหนดรู้ว่าเรากำลังทำอะไร บางคนไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ พอโกรธขึ้นมาแทบจะฆ่ากันตาย พอรู้ตัวก็ว่า นี่เราถือมีดทำไม เราบ้าอะไรขึ้นมา สติจะเป็นตัวตรวจ ตรวจความเป็นไปของเรา

สัมปชัญญะ จะเป็นตัวตัดสินหรือกลั่นกรองว่า อะไรควรไม่ควร เช่นเราโกรธอยากจะไปด่าเขา ถ้าเราไม่มีสติเราก็ไปด่าเขา สติจะเตือนให้เรารู้ตัวว่ากำลังจะด่า สัมปชัญญะจะเป็นตัวเซนเซอร์ที่พิจารณาว่าควรด่าหรือไม่ควร



(มีต่อ ๔)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2006, 3:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ สัมปชัญญะ คือ รู้ความชัด ๔ ประการ

๑. สาตถกสัมปชัญญะ (ยั้งคิดถึงประโยชน์ตนและท่าน)
๒. สัปปายสัมปชัญญะ (เลือกเรื่องที่เหมาะสม)
๓. โคจรสัมปชัญญะ (มีธรรมประจำใจ)
๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ (ไม่หลงลืมตัว)



(มีต่อ ๕)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2006, 3:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ ประการแรก สาตถกสัมปชัญญะ

คือยั้งคิดถึงประโยชน์ที่จะเกิดจากการกระทำ และคำพูดของคน ก่อนที่ท่านจะทำอะไรก็ตาม โบราณสอนเราให้ยั้งคิดเสียก่อน เช่น นับ ๑ - ๑๐

การยั้งคิดคือ สติสัมปชัญญะที่ตรวจสอบพฤติกรรมของตัวเอง ก่อนพูด ก่อนทำ ให้นึกว่าเรื่องที่จะพูดหรือทำมีประโยชน์หรือไม่

คนที่หมั่นตรวจสอบตัวเอง จะทำอะไรไม่ผิดพลาด คนทำอะไรไม่ผิดพลาดก็ไม่มีความทุกข์ความเครียด ส่วนคนที่ทำผิดเพราะไม่ยั้งคิด ไม่ได้นึกว่าเรื่องที่เราจะพูดจะทำออกไปนั้น มีประโยชน์ไหม สติจะบอกว่าเรากำลังทำอะไร สัมปชัญญะจะเตือนว่าเรื่องที่ทำอยู่นี้มีคุณหรือมีโทษ ให้ยั้งคิดเสียก่อน

บางท่านทำไปตามความเคยชิน แก้ปัญหาด้วยอารมณ์ สามีหนุ่ม ภรรยาสาวที่มาจากครอบครัวที่พ่อแม่ทะเลาะกัน ตัวเขาเองก็มักจะทะเลาะกัน ถ้าพ่อแม่เคยใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาอย่างไร ลูกของเขาเวลาที่โตขึ้นแล้วแต่งงานก็มักจะแก้ปัญหาอย่างนั้น แม่เคยทำอย่างไรเมื่อทะเลาะกับพ่อ ลูกสาวก็มักจะทำอย่างนั้น เพราะว่าชินกับการแก้ปัญหาอย่างเดิมอย่างเดียวกัน แต่ถ้ามีสัมปชัญญะสักนิดและยั้งคิดเสียก่อน พอโกรธเป็นฟืนเป็นไฟขึ้นมา ให้ถามตัวเองว่า มีประโยชน์อะไรไหมที่จะเอาชนะกัน

พ่อแม่บางคนด่าลูกอย่างเดียว ถามว่าด่าเพื่ออะไร ตอบว่าให้เด็กกลับตัว ถ้าด่าอย่างเดียว เด็กจะกลับตัวไหม ถ้ายิ่งด่า เหมือนยิ่งยุแล้วด่าทำไม การยั้งคิดจะเกิดขึ้นและหันไปใช้เหตุผลอบรมลูก

ถ้าท่านไปถนนสายกรุงเทพฯ - สระบุรี จะผ่านหินกองก่อน ถึงหินกองประมาณ ๑ กม. ด้านซ้ายมือจะพบอาคาร ๔ ชั้น เป็นร้านอาหารใหญ่ เถ้าแก่ของร้านนี้เคยอยู่ตรงสี่แยก เปิดเป็นร้านเล็กๆ ขายของ บังเอิญเป็นที่จอดรถประจำทางจึงขายดิบขายดี พอขายดีได้เงินสะสมขึ้นมาก็ย้ายไปอาคาร ๔ ชั้น คุณทวี วรคุณ รู้จักมักคุ้นจึงแวะรับประทานอาหาร พอรู้ว่าจะย้ายร้านจึงถามว่า...

“คนจีนเขาถือว่า ค้าขายที่ไหนทำมาค้าขึ้นแล้ว เขาจะไม่ย้ายที่ แล้วนี่ย้ายห่างไปตั้งหนึ่งกิโลเมตร รถที่ไหนจะไปจอด ไม่กลัวขาดทุนหรือ”

เถ้าแก่ตอบว่า “ไม่กลัวขาดทุน”

“ทำไมไม่กลัว” คุณทวีซัก

เถ้าแก่ตอบว่า “ถ้าขาดทุนถือว่าขาดทุน ๔ บาท”

“ทำไมขาดทุนน้อยจัง”

เถ้าแก่อธิบายว่า “เพราะตอนที่แยกตัวมาตั้งครอบครัวทำธุรกิจ เตี่ยให้เงินมาลงทุนแค่ ๔ บาท นอกนั้นทำงาน หาเงินเองตลอด ขาดทุนแค่ ๔ บาท จะกลัวอะไร”

วิธีคิดนี้เป็นสาตถกสัมปชัญญะ

เถ้าแก่คนนี้มีเหตุการณ์สำคัญที่เปลี่ยนชีวิตอีกตอนหนึ่ง คือแกเคยเล่นการพนัน ในรอบปีหนึ่งจะไปเล่นครั้งหรือสองครั้ง ปรากฏว่า ครั้งหนึ่งไปเล่น ๓ วัน ๓ คืน ไม่กลับบ้าน ไม่บอกภรรยาด้วย หมดเงินหมื่นที่สะสมมาเป็นปี พอกลับมาบ้านภรรยาถามว่า ไปไหนมา ก็ตอบว่าไปเล่นไพ่ แล้วเงินสะสมเป็นหมื่นนั้นเสียพนันหมดเลย

ตอนนี่เดินทางกลับบ้าน เถ้าแก่นึกในใจว่า ถ้าภรรยาด่าคำเดียวจะท้าเลิกกันเลย ไหนๆ เรามันเลวมาแล้วก็ไปตามทางของคนเลว หากภรรยาพูดผิดหูคำเดียวท้าแยกทางกันเลย บังเอิญภรรยาบอกว่า “หมดแล้วหมดไป แต่ถ้ารู้ว่าเล่นแล้วหมดตัวก็อย่าไปเล่นอีก” ฟังแค่นี้ เถ้าแก่เกิดความสงสารภรรยา คิดว่าเขาดีต่อเราอย่างนี้ เรายังจะเลวไปเล่นอีกหรือ คิดไปคิดมาเลยเลิกเล่นการพนัน ตั้งแต่นั้นมาแล้วก็ทำงาน สร้างฐานะมาจนกระทั่งเป็นหลักฐานในปัจจุบัน

ครั้งหนึ่ง อาตมาไปบรรยายธรรมให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วประเทศฟัง ผู้อำนวยการท่านหนึ่งขับรถมาส่งที่วัด แล้วก็บอกว่า ภรรยาของผมร้องไห้มา ๓ ปีแล้ว เพราะพี่ชายเธอตาย พี่ชายของภรรยาเป็นหมออยู่สหรัฐฯ มาหัวใจวายตายกระทันหันที่เมืองไทย ร้องไห้สงสารพี่ชายที่ตาย ไม่ใช่ร้องไห้คนเดียว แม่ยายผมก็ร้องไห้ด้วย เจอหน้ากันทีไรร้องไห้ทุกที ไม่เป็นอันทำงานทำการมา ๓ ปีแล้ว ผมไปเตือนไม่ได้ เธอจะหาว่าไม่รักพี่ชายของเธอ ครอบครัวเราไม่มีความสุขมา ๓ ปีแล้ว

การร้องไห้นั้นสามารถทำได้ แต่ควรพิจารณาว่าจะเกิดอะไร ไม่ใช่ทำไปตามความเศร้าอย่างเดียว ถึงจะร้องไห้สักเท่าไรก็ช่วยอะไรไม่ได้ ญาติตายไปแล้ว พระพุทธเจ้าท่านเตือนว่า “นหิ รุณณํ วา โสโก วา” เป็นต้น แปลว่า “การร้องไห้ ความเศร้าโศก หรือคร่ำครวญ ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ญาติผู้ล่วงลับก็คงอยู่อย่างนั้น การถวายทักษิณาทานที่ตั้งไว้ดีแล้วในพระสงฆ์ จึงจะสำเร็จประโยชน์แก่ญาตินั้นตามสมควรแก่ฐานะตลอดกาลนาน” การยั้งคิดก่อนทำเช่นนี้ จัดเป็นสาตถกสัมปชัญญะ

บางคนเป็นคนอารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดตลอดวัน คือ เป็นความเคยชินอย่างหนึ่ง คนประเภทนี้ความจำดี ใครด่าใครว่าอะไรจำได้หมด เพราะจดใส่ไดอารี่ว่าวันที่เท่านั้น เวลาเท่านั้น คนนั้นด่าฉันว่าอย่างนั้น

ท่านลองคิดดูซิว่า รถมีท่อไอเสีย มันไม่เก็บสิ่งไม่ดีไว้ แต่คนเราเสียสุขภาพจิต หากเก็บแต่เรื่องร้ายๆ เอาไว้ในความทรงจำ เก็บความสูญเสียคนรัก และความล้มเหลวในอดีตมาเป็นปีศาจที่คอยหลอกคอยหลอนตนเอง คนเหล่านี้เก็บแต่เรื่องร้ายเอาไว้ แล้วก็ปล่อยออกมาหลอกหลอนตนเองตลอดเวลา

อันที่จริงแล้ว อดีตไม่มีความหมายในตัวเอง อดีตมีความหมายเพราะเราไปให้ค่าแก่มันต่างหาก ถ้าเราไม่คิดถึง อดีตก็ไม่มีความหมาย อดีตผ่านไปแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง แล้วทำไมจะต้องไปวุ่นวายกับอดีต มองกลับอดีตอย่างมีบทเรียน หาประโยชน์จากความล้มเหลว ไม่ใช่ละห้อยหาอดีตมาเป็นข้อถ่วงความเจริญของตัวเอง อดีตเป็นบทเรียนที่จะใช้แก้ไขปรับปรุงตนเอง ความผิดหวังความล้มเหลวเป็นบทเรียนได้

เพราะฉะนั้น คนบางคนโดนด่าหรืออะไรต่างๆ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา มารไม่มีบารมีไม่แก่ ว่าวขึ้นสูงย่อมมีลมต้าน คนขึ้นสูงย่อมมีอุปสรรค

ในทำนองเดียวกัน ในชีวิตของคนเราควรหาประโยชน์จากเรื่องต่างๆ อะไรไม่ดีก็ทิ้งไป ปล่อยๆ ไป เก็บแต่สิ่งที่ดีเอาไว้ บางคนถูกด่าว่าแล้วเก็บเอามาคิดมาแค้น เหมือนกับเพื่อนบ้านปาเมล็ดตำแยใส่บ้านของเรา แทนที่เราจะกวาดให้พ้นๆ ไป บางคนหาที่เหมาะๆ ในบ้านมาเพาะตำแยเลย รดน้ำพรวนดินใส่ปุ๋ย พอตำแยออกดอกออกเมล็ดแล้วใครคัน เราคันเอง คนด่าคนว่าเหมือนคนปาเมล็ดตำแยให้นิดเดียว แต่เรามาเพาะเพิ่มเอง เขาด่าเราตั้งแต่บ่ายสองโมง จนล่วงมาตีหนึ่งตีสองแล้วเรายังนอนไม่หลับ เพราะตำแยงอกในหัวใจ ต้องหมุนโทรศัพท์ไปด่าเขากลับคืน ไม่เช่นนั้นนอนไม่หลับ ทำไมเราไม่ปัดให้พ้นๆ ไป มีประโยชน์แค่ไหนที่จะเก็บเอาไว้ ควรลืมและให้อภัยกัน มีผู้กล่าวว่า...

ถ้ามีการให้อภัยผิด
และไม่คิดที่จะลืมซึ่งความหลัง
จะหาสามัคคียากลำบากจัง
ความผิดพลั้งย่อมมีทั่วทุกตัวคน



(มีต่อ ๖)
 


แก้ไขล่าสุดโดย สาวิกาน้อย เมื่อ 29 ส.ค. 2006, 3:49 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2006, 3:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ ประการที่สอง คือ สัปปายสัมปชัญญะ

หมายถึงเลือกเรื่องที่เหมาะสมกับตนเอง นั่นคือนอกจากเราจะไม่เก็บเรื่องร้ายๆ เก็บแต่เรื่องดีๆ ไว้ในใจแล้ว ก่อนจะทำอะไรก็ตามให้เลือกสิ่งที่เหมาะสมกับเรา โบราณสอนว่า เห็นเขาขึ้นคานหามอย่าเอามือประสานก้น คนทำการใหญ่เกินตัวเอง เกินความสามารถโดยไม่มีคนช่วย บางทีทำไปนานๆ เข้าก็ทนไม่ไหว เกิดความท้อแท้ เพราะฉะนั้นต้องเลือกวิธีที่ชื่อว่า สัปปายะ

สัปปายะเป็นภาษาบาลี ตรงกับภาษาไทยว่าสบาย คือพอเหมาะกับตัวเรา ที่ดินราคาแพงแล้วใครได้ประโยชน์ ชาวบ้านต่างจังหวัดขายที่ดินกันหมดแล้ว คนกรุงเทพฯ ไปซื้อที่ดิน คนชนบทขายที่ดินไปซื้อรถขับฉุยฉายไปมา แล้วรถชนกัน พอหมดเงินก็ไปเป็นลูกจ้าง ที่ดินสูญไป เกิดความเครียด มีปัญหาครอบครัวตามมา ประเด็นก็คือว่า อะไรเหมาะกับชีวิตของชาวบ้าน การโฆษณาทำให้ชาวบ้านชอบความฟุ้งเฟ้อเกินฐานะจนเป็นหนี้สิน

ลองพิจารณาดูว่า คนกรุงเทพฯ สมัยนี้ มีความสุขกว่าคนกรุงเทพฯ เมื่อ ๑๐๐ ปีก่อนหรือเปล่า คนสมัยนี้โลภกันมากขึ้นเพราะโฆษณาที่โหมเข้ามา ฝ่ายขายก็ต้องการจะขายมากขึ้น ผู้บริโภคไม่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของตัวเอง ทำให้เครียดกันมากขึ้น ความสุขของชีวิตไม่ได้อยู่ที่วัตถุอย่างเดียว แต่อยู่ที่ความพอดี ความเหมาะควร คือเหมาะกับตัวเรา เพราะไม่รู้ความเหมาะสมคนจึงมีปัญหา ยิ่งเศรษฐกิจพัฒนามากขึ้น คนก็ยิ่งฆ่าตัวตายมากขึ้น เป็นโรคจิตมากขึ้น เพราะคนไม่รู้ว่าอะไรคือเหมาะกับตน วิ่งตามแฟชั่น ดูโฆษณาต่างๆ ก็นึกว่าได้อย่างนั้นจึงจะดี แต่ความสุขของคนไม่ได้อยู่ที่วัตถุภายนอกอย่างเดียว

ความสุขไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสำเร็จ และความทุกข์ก็ไม่ผูกติดกับความล้มเหลว คนที่ล้มเหลวอาจจะมีความสุขก็ได้ ถ้ารู้จักปล่อยวางยืดหยุ่น คนประสบความสำเร็จอาจจะเครียดหนักก็ได้ เพราะกลัวจะล้มเหลว ความสุขจึงไม่ได้อยู่ที่ความสำเร็จอย่างเดียว

ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในป่า มีเจ้าชายองค์หนึ่งมาเห็นก็สงสัยและถามว่า ทำไมพระองค์มาอยู่ในป่า เป็นเจ้าชายอยู่ในวังกลับไม่ชอบ อยู่ในรั้วในวังน่าจะมีความสุขมากกว่ามาอยู่กลางดินกินกลางทราย พระพุทธเจ้าก็เลยถามกลับว่า นี่เธอลองเทียบดูสิ เธอก็รู้จักพระเจ้าพิมพิสาร ตอนนี้ใครมีความสุขมากกว่ากัน เจ้าชายองค์นี้ตอบโดยไม่ต้องคิดว่า พระองค์มีความสุขมากกว่าพระเจ้าพิมพิสาร

ขอให้เปรียบเทียบกับเรื่องสมัยนี้อีกเรื่องหนึ่ง

มีผู้ชายแก่ๆ คนหนึ่ง นั่งอยู่ริมท่าน้ำหน้าวัด วันนั้นเป็นวันทอดกฐิน เถ้าแก่จากกรุงเทพฯ ยกคณะกฐินไปทอด พอพระฉันเพลก็เดินไปที่ศาลาท่าน้ำไปเห็นชายชราคนนี้ เสื้อก็ไม่ใส่ นั่งทอดหุ่ยอยู่ไม่ทำอะไร นานๆ ก็จะหักกิ่งไม้โยนลงไปในแม่น้ำ เถ้าแก่นึกว่าคนนี้ไม่รู้จักใช้แรงงานให้เป็นประโยชน์ นั่งเฉยๆ อยู่ถึงไม่พัฒนา เถ้าแก่ก็ขึ้นไปบนศาลา พอถวายผ้ากฐินเสร็จก็ลงมาเพื่อนขึ้นรถกลับกรุงเทพฯ เถ้าแก่ก็แวะไปดูชายชราคนนั้นอีก พบว่ายังนั่งอยู่ที่เดิม ข้าวปลาไม่รู้จักไปกิน นั่งอยู่เฉยๆ เถ้าแก่ทนไม่ได้ก็เลยถามว่า

“ลุงทำอะไรอยู่นี่”

ลุงแกก็บอกว่า “ไม่มีตาดูหรือไง ก็นั่งอยู่นี่แหละ”

เถ้าแก่ชักฉุน ถามดีๆ มาตอบอย่างนี้ คนแปลกๆ อย่างนี้ก็มี ถามว่า

“นั่งเฉยๆ ทำไม งานการไม่ทำ วันนี้ทอดกฐินทำไมไม่ไปช่วยดูแล ทำงานทำการบ้างซิลุง”

ลุงถามว่า “ทำงานไปทำไมล่ะ”

“เอ้า ! ทำงานก็จะได้มีเงินใช้ซิลุง”

“มีเงินใช้แล้วเป็นอย่างไรเล่า”

“จะได้มีความสุข”

“สุขเป็นอย่างไรล่ะ” ลุงถาม

“สุขก็คืออยู่สบายๆ ไม่ต้องทำอะไร” เถ้าแก่ตอบ

“นี่สุขแล้วไง จะให้เราไปวิ่งเต้นแร้งเต้นกาเป็นโรคประสาทเหมือนเถ้าแก่หรือ” ลุงย้อนถาม

ลุงคนนี้รู้ว่าอะไรเหมาะกับตน บางทีเราไม่รู้ว่า เราแสวงหาอะไร อะไรคือความสบาย ลองนึกดูชีวิตเราต้องการอะไรที่แท้จริง แล้วทำในสิ่งที่เหมาะสบายกับเรา แล้วเราก็จะมีความสุข

บางทีเสียงนกร้อง เสียงเด็ก ภาพสวยๆ งามๆ มีให้เราเห็นตลอด ถ้าใจเรารู้จักเปิดรับสิ่งที่ดีงาม ใจเราจะมีความสุขตลอดเวลา

สุขและทุกข์อยู่ที่ใจไม่ใช่หรือ
ถ้าใจถือก็เป็นทุกข์ไม่สุขใส
ถ้าไม่ถือก็ไม่ทุกข์พบสุขใจ
เราอยากได้ความสุขหรือทุกข์กัน



(มีต่อ ๗)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2006, 3:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ ประการที่สาม คือ โคจรสัมปชัญญะ

หมายถึงมีธรรมะประจำใจ คนที่จะมีสุขภาพจิตดีจะต้องมีธรรมะประจำใจตลอดเวลา เขาเรียกว่ามีภูมิคุ้มกัน ถ้าท่านไม่มีภูมิคุ้มกันอันนี้ กระทบกระเทือนอะไรแล้วมันช็อค มักหัก มันพัง ภูมิคุ้มกันในจิตใจนั้นคือ ต้องฉีดวัคซีนเข้าไป วัคซีนในจิตก็คือธรรมะประจำใจ เพื่อนให้ท่านทนกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษได้ เพราะมีความแข็งแรง ทนทาน และยืดหยุ่นได้

บางคนถือคติว่า ล้มเพราะก้าวไปข้างหน้า ดีกว่ายืนเต๊ะท่าอยู่กับที่ คติธรรมอะไรก็ได้มีไว้ประจำใจ มีคติอยู่อันหนึ่งที่อาตมาใช้เป็นเครื่องเตือนใจเหมือนกัน คือเราจะศึกษามากอย่างไรก็ตามเราจะต้องเตือนใจอยู่ข้อหนึ่ง คือคติธรรมว่า คิดให้สูงถึงดวงดาวแต่สองเท้าต้องติดดิน ในการทำงานหรือการบริหาร เท้าต้องติดดิน อันนี้ก็จะเตือนใจเราตลอดเวลา คนเรามักพูดว่านักปราชญาพูดอะไรไม่รู้เรื่อง มันเป็นปัญหาอย่างหนึ่งคือไม่ติดดิน ถึงแม้ว่าเราจะศึกษาธรรมะชั้นสูงมา แต่จะต้องพูดให้คนฟังรู้เรื่อง ต้องติดดิน อันนี้คือคติประจำตัวเอง



(มีต่อ ๘)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2006, 3:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ ประการสุดท้าย อสัมโมหสัมปชัญญะ

หมายถึงการฝึกใจไม่ให้หลงลืม ต้องใช้ธรรมประจำใจไม่ให้เกิดความหลงลืม พอเจอสถานการณ์ที่เป็นปัญหา เราะจะรู้ว่าต้องใช้ธรรมะอะไรทันที เรายั้งคิดก่อนแล้วเอาธรรมะเข้ามาสอนตัวเองตลอดเวลา ปกติบางคนเวลาทะเลาะกับใครจะโกรธมากจนลืมตัว บางท่านเพื่อไม่ให้หลงลืมเรื่องปฏิบัติธรรมจึงให้เลขานุการหรือเพื่อนช่วยจดบันทึก หรือคอยเตือนความจำ ดังเรื่อง

พระเจ้าปเสนทิโกศล ไปขอคาถาลดน้ำหนักจากพระพุทธเจ้า เพราะน้ำหนักเพิ่มเหลือเกิน จึงขอคาถา diet พระพุทธเจ้าก็เทศน์ทุกเรื่อง แม้เรื่องลดน้ำหนักก็เทศน์ให้ฟัง ทีนี้พระพุทธเจ้าก็เทศน์ว่า

มะนุชัสสสะ สะทา สะติมะโต
มัตตัง ชานะโต ลัทธะโภชะเน
ตะนุกัสสะ ภะวันติ เวทะนา
สะณิกัง ชีระติ อายุ ปาละยัง

แปลความว่า มนุษย์ผู้ใดมีสติรู้ตัวตลอดเวลา รู้ประมาณในโภชนะที่ได้มารับประทาน ผู้นั้นจะมีเวทนาเบาบาง เขาจะแก่ช้าและมีอายุยืน

พระเจ้าประเสนทิโกศล ทรงพอพระทัยคาถานี้มาก ถึงกับรับสั่งให้มหาดเล็ก ชื่อสุทัสสนามาณพ ท่องจำคาถาให้แม่นยำ และให้สุทัสสนามาณพยืนอยู่ข้างโต๊ะเสวย หากมาณพเห็นว่าพระองค์เสวยพระกระยาหารเกินกำหนดก็ท่องคาถาออกมาดังๆ หลังจากนั้นปรากฏว่าเวลาที่มาณพท่องคาถาออกมา พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้สติหยุดเสวยพระกระยาหารทันที ทรงลดปริมาณพระกระยาหารลงทุกวันโดยวิธีนี้ ในที่สุดพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงลดและคุมน้ำหนักได้สำเร็จ เพราะอาศัยสุทัสสนมาณพคอยท่องคาถาเตือนให้นึกถึงการควบคุมพระกระยาหาร และที่สุทัสสนมาณพกล้าท่องคาถาข้างโต๊ะเสวย ก็เพราะพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงประทานอนุญาตไว้นั่นเอง

เรื่องนี้แสดงถึงคุณค่าของกัลยาณมิตร ผู้ช่วยเตือนจิตสะกดใจไม่ให้หลงลืมธรรมะ ถ้าใครช่วยเตือนไม่ได้ เราก็เตือนตัวเอง โดยหาคติธรรมประจำไว้สอนใจ

ผู้มีคติธรรมประจำใจ ย่อมมีเครื่องยับยั้งชั่งใจ และมีธรรมะไว้ป้องกันและแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ แม้บางครั้งสถานการณ์อาจจะไม่ตรงกับธรรมะนัก แต่ก็ปรับเข้ากันได้ ประเด็นอยู่ที่ว่าท่านควรฟังธรรมะให้มาก ศึกษาธรรมะให้มาก เมื่อถึงเวลาจะเห็นคุณค่าของธรรมะต่างๆ ที่ออกมาช่วยเราให้ผ่านพ้นปัญหาชีวิตได้



(มีต่อ ๙)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2006, 4:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๏ สัตว์ผู้เกิดมา...
พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ
พึงเว้นขาดจากกามทั้งหลาย
ครั้นเว้นขาดจากกามเหล่านั้นแล้ว
...พึงข้างโอฆะได้
เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น.

(๔๖/๓๑ กามสุตตนิเทศ)


๏ สติ...เป็นเครื่องกั้นกระแสในโลก
เรากล่าวสติว่า...
เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย
กระแสเหล่านั้น...อันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยปัญญา.

(๓๙/๗๑๖ อชิตปัญหา)


๏ สิ่งเดียวกันนั่นแหละ
ดีสำหรับคนหนึ่ง แต่เสียสำหรับอีกคนหนึ่ง
เพราะฉะนั้น...
สิ่งใดๆ มิใช่ว่าจะดีไปทั้งหมด
และก็มิใช่ว่าจะเสียไปทั้งหมด.

(พุทธศาสนสุภาษิต ๒๗/๑๒๖)



>>>>> จบ >>>>>
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิทรายา
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 12 ส.ค. 2007
ตอบ: 103
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 11 มี.ค.2008, 2:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ความยึดมั่นถือมั่นทำให้เป็นทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง