Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิปัสสนาภูมิ ตอนที่ 12 ไตรลักษณ์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
kit_allwhat
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 ส.ค. 2006
ตอบ: 25

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2006, 12:30 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วิปัสสนาภูมิ ตอนที่ 12 “ไตรลักษณ์”
โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)


นมตถรตนตตยสส ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ขอความผาสุก ความเจริญในธรรม จงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรมทั้งหลาย

โอกาสต่อไปนี้จะได้ปรารภธรรมะตามหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามหัวข้อเรื่องที่กำหนดไว้ คือเรื่องไตรลักษณ์และการปรับอินทรีย์ให้สมดุลย์ เรื่องไตรลักษณ์ ความหมายคำแปลก็คือ ลักษณะเครื่องหมาย 3 ประการ ลักษณ์ก็คือเครื่องหมาย ไตรก็คือ 3 ไตรลักษณะก็คือ ลักษณะ 3 ประการ

1) อนิจจลักษณะ คือ ลักษณะที่ไม่เที่ยง เครื่องหมายที่ไม่เที่ยง คือ เปลี่ยนแปลง ปรวนแปร เปลี่ยนแปลงไป

2) ทุกขลักษณะ คือ เครื่องหมายความเป็นทุกข์ คือ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ทุกข์ในที่นี้หมายถึงทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ทนในคุณลักษณะคุณสมบัติเดิมไม่ได้

3) อนัตตลักษณะ คือ เครื่องหมายที่บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีความเป็นตัวตน เป็นสัตว์เป็นบุคคล

ลักษณะเครื่องหมาย 3 ประการนี้ก็เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา คือ วิปัสสนา ที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องไปเห็นไตรลักษณ์ วิปสสนาคือความรู้แจ้งความรู้จริงตามความเป็นจริง ก็คือการเข้าไปรู้เห็นรูปธรรมนามธรรมที่มีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกว่าตามความเป็นจริง ตามความเป็นจริงของรูปนามก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้าไปเห็นความจริงเข้าไปรู้เห็นความจริง ความจริงก็คือ รูปนามหมายถึง ปฏิเสธความเป็นสัตว์เป็นบุคคล ความจริงคือรูปธรรมนามธรรม ตามความเป็นจริงก็คือรูปนามนี้เกิดดับ เกิดดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา การเข้าไปรู้เห็นอันนี้แหละชื่อว่าวิปัสสนา ชื่อว่าความรู้แจ้งตามความเป็นจริงรู้ของจริง ตามความเป็นจริง ฉะนั้นการที่จะเกิดการรู้เห็นตามความเป็นจริงก็ต้องอาศัยสติสัมปชัญญะ

คือตัวสติระลึกรู้ให้ตรง สัมปชัญญะก็พิจารณาให้ตรง พิจารณาให้ตรงตัวรูปนาม หากพิจารณาไม่ตรงตัวรูปนาม มันก็ไม่เห็นรูปนาม และก็ไม่เห็นลักษณะไตรลักษณ์ของรูปนาม คือ ไปพิจารณาดูไปเพ่งอยู่กับสมมุติบัญญัติ หรือรูปนามที่ดับไปแล้ว หรือรูปนามที่ยังไม่เกิด เป็นอดีต อนาคต ก็ไม่สามารถจะรู้แจ้งตาม ความเป็นจริงได้ สิ่งใดที่ดับไปแล้วก็ไม่เป็นเหตุปัจจัยที่จะให้รู้แจ้งเพราะมันพิสูจน์ไม่ได้ มันไม่มีหลักฐานที่จะแสดงให้เห็นสัจจธรรม ฉะนั้นการที่จะรู้แจ้งมันต้องมีหลักฐานที่อยู่ เฉพาะหน้า คือรูปนามที่อยู่เฉพาะหน้า ต่อหน้าต่อตา แสดงลักษณะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ยังไม่เกิดมันยังไม่ปรากฏขึ้นมันก็ไม่มีหลักฐานที่เพียงพอเป็นข้อมูล เพียงพอที่จะพิสูจน์ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงได้

ฉะนั้นหลักของการเจริญวิปัสสนาก็ต้อง พิจารณารูปนามให้ได้ปัจจุบันคือช่วงที่กำลังปรากฏปัจจุบันหมายถึงกำลังปรากฏ ปัจจุบันแค่ไหนปัจจุบันชั่วขณะนิดเดียว แว่บเดียวก็ผ่านเป็นอดีตแล้ว ขณะได้ยินก็เพียงแว่บเดียว ได้ยินแว่บเดียวเป็นอดีตไปแล้ว เห็นก็เห็นแว่บหนึ่งก็เป็นอดีต ได้กลิ่นนิดหนึ่ง รู้รสนิดหนึ่ง รู้สัมผัสเย็น รู้สึกเย็นกระทบ เย็นแว่บเดียวก็ผ่านไปแล้ว แต่ว่ามันเกิดซ้ำๆ กันและถี่มาก มันก็เลยดูว่าไม่เห็นมันดับไปสักที เย็นตลอดสาย ที่จริงมันก็เย็น มันเย็น มันเย็น มันเย็น มันไม่ใช่ว่าเย็นแล้วอยู่คงที่อย่างนั้น เย็นแว่บเดียวก็ผ่านไปๆ เราไม่สังเกตก็ดูมันก็เห็นเป็นพืด หรือความตึงความหย่อน ก็เหมือนกัน มันก็แว่บเดียว ตึงนิดเดียว

อันนี้ต้องให้ไปเห็นรูปนามที่ปรากฎแว่บเดียว อย่างนี้ ถ้าเห็นปรากฎแว่บหนึ่งผ่านไป แว่บหนึ่งผ่านไปจะได้ปัจจุบัน แล้วก็นำมาซึ่งปัญญา คือจะเกิดความรู้แจ้งขึ้นว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับบัญชาไม่ได้ เห็นไตรลักษณะโดยไม่ต้องไปบังคับให้เกิดปัญญามันก็เกิดขึ้นเอง เหมือนกับว่าเมื่อ มองไปที่วัตถุชิ้นใดชิ้นหนึ่ง มันย่อมจะเห็นลวดลายของสิ่งเหล่านั้น อย่างแผ่นหินอ่อนนี่ ถ้าเรามองที่แผ่นหินอ่อน เพ่งไป มันก็ต้องเห็นลวดลายของมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉันใดก็ดีเมื่อได้กำหนดตรงรูปนามได้ปัจจุบันอยู่ ก็จะต้องเห็นลักษณะของรูปนาม เครื่องหมายของรูปนามก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่จริงแล้วมันก็ที่เดียวกัน อยู่ในที่เดียวกัน ความเปลี่ยนแปลงที่ว่าอนิจจังมันเปลี่ยนไป ปรากฏแล้วก็เปลี่ยนแปลงไป มันก็เท่ากับว่าเป็นทุกข์ ความทุกข์คือหมายถึงว่าทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ทุกข์ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแค่เจ็บปวดทางกายไม่สบายร่างกาย อันนี้เรียกว่าทุกขเวทนา ทุกข์ที่จะให้เห็นในที่นี้ก็คือทุกข์ที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ฉะนั้นลักษณะที่ทนอยู่ในสภาพเดิม ไม่ได้ มันก็มาจากความเปลี่ยนแปลงก็คืออนิจจังนั่นแหละ ที่มันเปลี่ยนแปลงทนอยู่ ในสภาพเดิมไม่ได้ และอนัตตาคือการบังคับบัญชาไม่ได้ มันก็มาจากความเป็นทุกข์นั่นแหละ คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ คือจะบังคับให้มันตั้งอยู่อย่างนั้นก็ไม่ได้

รูปนามที่มันเกิดขึ้นบังคับให้มันอยู่อย่างนี้นั้นก็ไม่ได้ มันก็จะต้องทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ ดังนั้น อนัตตาก็มาจากความทุกข์นั่นแหละ แต่ว่าการเข้าไปรับ รู้มันจะไปคนละแง่ บางคนปฏิบัติไปก็เห็นในแง่ของอนิจจัง บางคนก็เห็นในแง่ของทุกขัง บางคนก็เห็นในแง่ของอนัตตา แต่ก็คืออยู่ในที่เดียวกัน คืออนัตตาความบังคับบัญชา ไม่ได้ก็คือเป็นทุกข์นั่นเอง คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ก็คือมัน เปลี่ยนแปลงก็คืออนิจจังนั่นเอง ฉะนั้นเราก็มีจุดยืนว่า วิปัสสนาต้องไปเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่เห็นอย่างอื่น ไม่ใช่ไปเห็นนรกเห็นสวรรค์เห็นวิมาน เห็นดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ หรือว่าไปเห็นสีแสงเห็นสิ่งที่ลี้ลับอะไร ไม่ใช่ ต้องเห็นรูปนาม อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ถ้าปฏิบัติไปยังไม่ถึงขั้นของการเห็นรูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ชื่อว่ายังไม่เข้าถึงวิปัสสนา ถึงแม้จะทำจนจิตนิ่ง ดับความรู้สึก ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นวิปัสสนา ถึงแม้ว่าจะทำจนจิตนิ่ง ดับความรู้สึก ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นวิปัสสนา แม้จะนั่งได้เป็นวันๆ โดยไม่ขยับร่างกาย บางคนนั่งได้หลายๆ ชั่วโมง แต่ไม่ได้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ไม่เป็นวิปัสสนา


สาธุ
 

_________________
ดีชั่วรู้หมด......แต่ใจคนเรามันอดไม่ได้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง