Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิปัสสนาภูมิ ตอนที่ 14 พิธีเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
kit_allwhat
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 ส.ค. 2006
ตอบ: 25

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2006, 12:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วิปัสสนาภูมิ ตอนที่ 14
“พิธีเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน”

โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

สำนักปฏิบัติกรรมฐาน วัดมเหยงคณ์
ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา



เมื่อได้ผ่านการศึกษาอบรมในด้านปริยัติ เป็นที่เข้าใจถึงวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาและจัดสถานที่ให้เป็นที่สัปปายะแล้ว ก็ถึงเวลาเข้าปฏิบัติ โดยไปสู่สำนักอาจารย์ที่เป็นกัลยาณมิตรซึ่งได้ตกลงอนุญาตให้เข้าปฏิบัติได้ จึงเริ่มพิธีกรรมในส่วนบุพภาคต่อพระพักตร์พระพุทธปฏิมากร ดังต่อไปนี้

1. จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วนั่งกระโหย่งประนมมือ เปล่งวาจานมัสการด้วยพระบาลีว่า อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ ด้วยเบญจางคประดิษฐ์) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

2. น้อมนมัสการองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงประทานวิปัสสนากรรมฐานเป็นปฐม ด้วยพระบาลีว่า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ) แล้วเจริญพระพุทธคุณด้วยบทว่า อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจรณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสา นัง พุทโธ ภะคะวาติ แล้วหมอบกายลงว่า

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ แล้วเจริญพระธรรมคุณด้วยบทว่า

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ แล้วหมอบกายลงว่า

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม แล้วเจริญพระสังฆคุณด้วยบทว่า

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะคะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิ ปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชลีกะระณีโย อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ แล้วหมอบกายลงว่า

กาเยนะ วาจายะ เจตะสา วา สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยายัง สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ

3. การปฏิบัติในสีลวิสุทธิ์ให้เป็นผู้บริสุทธิ์ควรแก่การปฏิบัติในส่วนเบื้องต้นคือ สำหรับ ฆราวาส อุบาสก อุบาสิกา ให้สมาทานศึล 5 หรือศีล 8 หรืออาชีวัฏฐมกศีล (ในการปฏิบัติครั้งนี้ให้ถือศีล 8) แล้วจึงเข้าวิปัสสนาได้


คำอารธนาศีล 8


มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ.....................................................................
ตติยัมปิ.....................................................................

(ถ้าคนเดียวว่า อะหัง แทน มะยัง และ ยาจามิ แทน ยาจามะ)
(ต่อไปกล่าวตามพระ)

นะมะการคาถา

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 ครั้ง)

ไตรสรณาคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ..................... ทุติยัมปิ........................ทุติยัมปิ....................
ตติยัมปิ.......................ตติยัมปิ........................ตติยัมปิ....................


คำสมาทานศีล 8

(1) ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(2) อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(3) อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(4) มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(5) สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(6) วิกาละโภชนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาธิยามิ
(7) นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(8) อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาธิยามิ อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (3 ครั้ง)

4. ถวายอัตตภาพร่างกายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งเป็นสังฆบิดา ทรงประทานวิปัสสนาธุระแก่ผู้เห็นภัยในวัฏฏะ ว่าดังนี้ อิมาหัง ภันเต ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง (ภะคะวะโต) ปะริจจะชามิ ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอน้อมถวายอัตตภาพร่างกายนี้แด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเจริญพระวิปัสสนากรรมฐาน

5. ถวายอัตตภาพร่างกายแด่อาจารย์ผู้สอนกรรมฐาน เพื่อจะได้อบรมสั่งสอนไปด้วยดี ไม่มีโทษแก่อาจารย์ผู้สอน เป็นการยอมตัวพร้อมทั้งกาย และใจให้สั่งสอนว่าดังนี้ อิมาหัง ภันเต อาจาริยะ อัตตะภาวัง ตุมหากัง ( อาจะริยัสสะ) ปะริจจะชามิ ข้าแต่พระอาจารย์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายตัวต่อท่านอาจารย์ เพื่อจะเจริญพระวิปัสสนากรรมฐาน

6. ขอกรรมฐานกับท่านอาจารย์หลังจากที่ได้รับมอบกายถวายตัวแล้ว ว่าดังนี้นิพพานัสสะ เมภันเต สัจฉิกะระณัตถายะ กัมมัฏฐานัง เทหิ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โปรดให้กรรมฐานแก่ข้าพเจ้า เพื่อจะได้กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

7. คำสมาทานวิปัสสนากรรมฐานว่าดังนี้ อุกาสะๆ ณ โอกาสบัดนี้ ข้าพเจ้าขอสมาทานซึ่งพระกรรมฐาน ขอขณิก สมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ และวิปัสสนาญาณ จงบังเกิดขึ้นใน ขันธสันดานของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะตั้งสติไว้ที่ปัจจุบันของรูปนาม......สามหนและเจ็ดหน ร้อยหนและพันหน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเทอญ

8. เมื่อได้รับพระกรรมฐานจากอาจารย์แล้ว เข้าสู่ห้องกรรมฐานที่สงบสงัด จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย อันเป็นอามิสบูชาครั้งสุดท้าย เพราะตลอด เวลาแห่งการปฏิบัติให้เป็นไปด้วยการปฏิบัติบูชาอย่างเดียว ตั้งจิตใจให้เข้ม แข็ง มั่นคง น้อมระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า คุณของพระธรรมเจ้า และ คุณของพระสงฆ์เจ้า ตลอดถึงคุณของบิดามารดา ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ และผู้มีพระคุณทั้งหลาย และระลึกถึงคุณของปวงเทพเจ้าที่สิงสถิตย์อยู่ ณ สถานที่ใกล้และที่ไกลในที่ต่างๆ ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ตลอดจนบรรพบุรุษที่ได้รักษาพระพุทธศาสนาตลอดมา แล้วตั้งสัจจอธิษฐาน ไว้อย่างมั่นคงว่า......"ถ้าไม่บรรลุผลที่ควรจะได้จะถึงแล้วเมื่อใด ด้วยกำลังแห่งความเพียร ด้วยความบากบั่นอันไม่ท้อถอย ถึงแม้ว่าเนื้อทุกชิ้น โลหิตทุกหยดจะเหือดแห้งไปเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามที เมื่อนั้นเราจะสละกำลังทุก ส่วนเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย คุณของผู้มีคุณ และคุณของเทวดา ตลอดความสัตย์ความจริงที่ตั้งไว้นี้ จงมาเป็นพลวปัจจัย และคุ้มครองป้องกันอันตรายทั้งปวงในการปฏิบัติ เห็นธรรม รู้ธรรม ตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้าเทอญ"

9. เมื่ออธิษฐานเสร็จแล้ว ก็แผ่เมตตาให้แก่ตัวเองและผู้อื่นตลอดสรรพสัตว์ทั่วไป


คำแผ่เมตตาให้แก่ตัวเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุข
อะหัง นิททุกโข โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากทุกข์
อะหัง อเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากเวร
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากความลำบาก
อะหัง อะนีโฆ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากอุปสรรค
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ รักษาตนให้มีความสุขตลอดกาลนาน (เทอญ)


คำแผ่เมตตาให้ผู้อื่น

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อเวรา จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌา จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

ว่าด้วยข้อห้ามและข้อปฏิบัติในเวลาบำเพ็ญวิปัสสนา

เมื่อแผ่เมตตาเสร็จแล้ว ก็ตั้งสติกำหนดรูปนามทันที โดยตั้งอยู่ในกฎข้อห้ามดังนี้

1. ห้ามไม่ให้หยุดพักการปฏิบัติ เว้นไว้แต่เผลอหรือหลับไป
2. ห้ามพูดกับคนภายนอก นอกจากอาจารย์สอนกรรมฐาน ถ้าจำเป็นจะต้องพูดกับคน ภายนอกบางคน ก็พูดแต่น้อยด้วยอาการสำรวมคือ หลับตาลงแล้วตั้งสติกำหนด ที่ปากไหวทุกคำพูด
3. ห้ามทำกิจเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่จำเป็นเช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ เป็นต้น
4. ห้ามแกล้งนอนกลางวัน กลางคืนนอนน้อยเพียรมาก
5. ห้ามของเสพติดทุกชนิด
6. ห้ามคลุกคลีและพูดกับผู้ปฏิบัติด้วยกัน และ พึงตั้งอยู่ในหลัก 3 ประการ คือ

ก. อุปนิสสยะ ต้องไม่อยู่ปราศจากอาจารย์
ข. อารักขะ ต้องรักษากรรมฐานที่อาจารย์ให้
ค. อุปนิพัทธะ ต้องผูกจิตไว้ในการเจริญสติ

และดำเนินตามอปัณณกปฏิปทา ปฏิบัติได้ 3 อย่างคือ

ก. อินทรีย์สังวร สำรวมอินทรีย์ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีสติรู้ทันขณะเห็นรูป มีสติรู้ทันขณะฟังเสียง มีสติรู้ทันขณะดมกลิ่น มีสติรู้ทัน ขณะถูกต้องโผฏฐัพพะ มีสติรู้ทันขณะรู้ธรรมารมณ์คือ รู้ยืน เดิน นั่ง นอน คู้ เหยียด เคลื่อนไหว เป็นต้น ไม่ให้เลยไปถึงยินดี ยินร้าย ต่ออารมณ์ที่มากระทบ

ข. โภชเน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการบริโภคอาหารพอสมควร ไม่มากไม่น้อยเกินไป

ค. ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียร เพื่อจะชำระใจให้หมดจดไม่เห็นแก่การนอนมากไปนัก

สาธุ
 

_________________
ดีชั่วรู้หมด......แต่ใจคนเรามันอดไม่ได้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง