Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิปัสสนาภูมิ ตอนที่ 5 ธาตุ 18 อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
kit_allwhat
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 ส.ค. 2006
ตอบ: 25

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2006, 12:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วิปัสสนาภูมิ ตอนที่ 5 “ธาตุ 18”
โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)


นมตถุรตนตตยส ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ขอความผาสุก ความเจริญในธรรม จงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ต่อไปนี้ก็จะได้ปรารภธรรมะตามหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่องธาตุ 18 ก็ขอนำเรื่องธาตุ 18 มาพูดก่อน เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในวิปัสสนาภูมิ ได้พูดเรื่อง ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ผ่านไปแล้ว ก็มีหัวข้อเรื่องหนึ่งซึ่งอยู่ในวิปัสสนาภูมิ ก็คือ ธาตุ 18 จึงขอนำมาพูดในวันนี้เพื่อทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เนื่องจากได้ฟังเรื่องอายตนะไปเมื่อวานนี้ เพราะว่าอายตนะกับธาตุ โดยสภาวะแล้วก็คืออันเดียวกัน แต่ว่านำมาแสดงในความหมายลักษณะหนึ่ง แล้วก็เป็นการแยกในส่วนของนามธรรมนั้นให้ละเอียดขึ้น ในเรื่องของอายตนะข้อมนายตนะคือจิตทั้งหมด พอมาเป็นธาตุก็แยกให้ละเอียดขึ้น ในความหมายของคำว่า ธาตุ

ธาตุนี้ แปลว่า ทรงไว้ เป็นธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน เรียกว่า ธาตุ ฉะนั้น ธรรมชาติอันใดที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน มีเนื้อหาไม่ใช่สัตว์ บุคคล ไม่ใช่ชีวะ เป็นสภาวะแท้ๆ ก็เรียกว่าธาตุ เป็นการปฏิเสธความเป็นสัตว์ เป็นบุคคล ที่เข้าใจกันว่า การเห็นการได้ยิน การรู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส คิดนึก การไป การมา การกิน การดื่ม การนั่ง การนอน ว่าเป็นสัตว์ทั้งหลาย แท้ที่จริงแล้วหาได้เป็นอย่างนั้นไม่ การเห็นว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลนั้นเป็นความเข้าใจผิด คือเป็นการเข้าไปยึดถือไว้ แต่ที่จริงโดยเนื้อแท้แล้วมันเป็นธาตุ เป็นธาตุ 18 ที่มันมาประชุมกันขึ้นมา แต่ก็ได้เกิดยึดว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลขึ้น ฉะนั้น ท่านจึงบอกว่าเป็นนิตสัตตะ คือไม่ใช่สัตว์ บุคคล เป็นนิตชีวะ ไม่ใช่ชีวิต ไม่ใช่ชีวอัตตะอย่างบุคคลเข้าใจกัน อย่างเวลาคนตายก็บอกว่าคนนั้นตาย คนนี้ตาย สัตว์ตาย สัตว์เกิด คนเกิด คนตาย

แล้วก็มีความยึดว่าเมื่อคนตายแล้วแต่วิญญาณไม่ตาย วิญญาณก็ล่องลอยออกมาจากร่างไปหาร่างใหม่ ไปอยู่ในร่างใหม่ ความเข้าใจอย่างนี้มันเป็นว่าเหมือนมีชีวะ มีอัตตะ คือเรียกว่า เหมือนกับมีตัวตนอยู่ที่เที่ยงแท้ที่ไม่ตาย ออกจากร่างนี้แล้วก็ไปสู่ร่างใหม่ แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ สัตว์ที่ว่าเกิด ที่ว่าตาย มันก็เป็นเพียงธาตุ คือวิญญาณธาตุ จักขุธาตุ ธัมมธาตุ ที่เกิดจากกรรมมันดับลง ที่ว่าเป็นสัตว์เกิดนั้นก็คือ วิญญาณธาตุ จักขุธาตุ ธัมมธาตุ เป็นต้น มันประชุมกันเกิดขึ้นมา บุคคลก็หลงเข้าใจผิดว่าเป็นคนเกิดเป็นสัตว์เกิด สัตว์ตาย แต่ที่จริงแล้วก็ไม่มีสัตว์ บุคคล เป็นสภาวธรรมที่เรียกว่าธาตุ คือธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาวลักษณะของตน ธาตุ ท่านก็แสดงไว้มี 18 ธาตุด้วยกัน ซึ่งรวมอยู่ในชีวิตนี้ ก็แบ่งออกเป็นธาตุรับ 6 เป็นธาตุกระทบ 6 แล้วเป็นธาตุรู้ 6

ชุดที่ 1 ธาตุรับ ก็ได้แก่ จักขุธาตุ จักขุธาตุก็คือประสาทตา คือธรรมชาติ ที่ทรงไว้ซึ่งความใสในการที่จะรับรู้ รูปารมณ์ มันก็ทรงไว้ของมันอย่างนั้นไม่ว่าจะเป็นตาของใคร จะเป็นคนไทย คนจีน เป็นตาของมนุษย์ ของสัตว์เดรัจฉานก็ตามก็จะทรงไว้ในการที่จะรับภาพรับสีต่างๆ ไม่มีการผิดแปลกผันแปรไปอย่างอื่น คือไม่มีตา ของใครเลยที่จะไปฟังเสียงหรือดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัสอะไรได้ มันรับได้เพียงสี สีต่างๆ เท่านั้น เรียกว่าทรงไว้ซึ่งลักษณะในการรับสี เรียกว่า ก็ทรงไว้ในลักษณะของตน ประสาทตาก็ทรงไว้อย่างนั้น เป็นธาตุ เป็นธรรมชาติ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ธาตุที่มากระทบ ก็คือ รูปธาตุ รูปธาตุก็คือสีต่างๆ ทรงไว้ในการที่จะกระทบกับประสาทตาได้ มันก็ทรง ไว้ สีต่างๆ มันทรงไว้ซึ่งในการที่จะไปกระทบทางตา ส่วนธาตุรู้ก็คือ จักขุวิญญาณธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ ก็คือ ทรงไว้ซึ่งการเห็น สภาพที่เห็นนั้นก็เป็นธาตุรู้ เป็นธาตุรู้ทางตา ถ้าจัดเป็นรูปเป็นนามแล้ว จักขุธาตุรูปธาตุเป็นรูปธรรม จักขุวิญญาณธาตุเป็นนามธรรม คือตากับสีเป็นรูป การเห็นเป็นนาม เป็นธาตุธรรมชาติ ไม่ใช่เรา ที่เห็นไม่ใช่เรา ตานั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์บุคคล เป็นธาตุธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะอย่างนั้นๆ

ชุดที่ 2 ธาตุรับ คือ โสตธาตุ ได้แก่ประสาทหู ก็ทรงไว้ซึ่งเป็นความใสใน การที่จะรับเสียง รับอย่างอื่นไม่ได้ จะไปเอาหูไปเห็นไปดมกลิ่นลิ้มรสไม่ได้ มันทรง ไว้อย่างนั้น เป็นธาตุธรรมชาติ ธาตุกระทบ ก็คือ สัททธาตุ ได้แก่ เสียงต่างๆ ก็ทรงไว้ในการที่จะกระทบทางหู ธาตุรู้ก็คือ โสตวิญญาณธาตุ เป็นสภาพรู้ทางหูได้แก่ ได้ยิน สภาพที่ได้ยิน ก็ทรงไว้ซึ่งการรับรู้เสียง คือได้ยินเสียง เป็นธาตุธรรมชาติ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ที่ประสาทหูก็ดี เสียงก็ดี ได้ยินก็ดี เป็นธรรมชาติ อย่างหนึ่ง ซึ่งทรงไว้ซึ่งลักษณะอย่างนั้นๆ อยู่ แต่เมื่อไม่ได้พิจารณา ไม่เห็นตามสภาวะ ตามความเป็นจริง ก็เข้าไปยึดไว้ว่า เราได้ยิน หูนั้นเป็นของเรา อย่างนี้เป็นต้น เป็นอัตวาทุปาทาน คือ ความยึดมั่นว่าเป็นตัวเป็นตน ซึ่งเป็นความยึดผิดอยู่ ถ้าจัดเป็นรูปเป็นนามแล้ว ประสาทหูกับเสียงเป็นรูป สภาพได้ยินเป็นนาม

ชุดที่ 3 ธาตุรับ ได้แก่ ฆานธาตุ ประสาทจมูก ฆานธาตุก็เป็นธรรมชาติ ที่ทรงไว้ในการรับกลิ่น ธาตุกระทบ ก็คือ คันธธาตุ ได้แก่กลิ่นต่างๆ ธาตุรู้ก็คือ ฆานวิญญาณธาตุ รู้กลิ่น ตัวรู้กลิ่น ฉะนั้น มันก็จะมีประสาทจมูก มีกลิ่นมากระทบ แล้วก็มีการรู้กลิ่นเกิดขึ้น ก็เป็นการประชุมของธาตุ ที่ว่าเราได้กลิ่น สัตว์ทั้งหลายได้กลิ่น ที่จริงแล้วมันเป็นธาตุธรรมชาติอย่างหนึ่งมาประชุมกัน เกิดขึ้นมาตามเหตุตามปัจจัย คืออาศัยปัจจัยต่างๆ ได้กลิ่นหอมก็เกิดจากกุศลกรรม ได้กลิ่นเหม็นก็เกิดจากอกุศลกรรม กรรมเป็นตัวปัจจัยปรุงแต่งมาให้ได้รับกลิ่นเหม็นกลิ่นหอม ดังนั้นได้กลิ่นเหม็นขณะหนึ่งก็เป็นอกุศลวิบากเกิดขึ้น คำว่าอกุศลวิบากก็คือผลของบาป ได้กลิ่นหอมครั้งหนึ่ง ก็เป็นกุศลวิบากคือเป็นผลของบุญที่ทำไว้สภาวธรรมเหล่านี้ก็เป็นธาตุธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาตามเหตุตามปัจจัย ดับไปตามเหตุตามปัจจัย

ชุดที่ 4 ธาตุรับ ก็คือ ชิวหาธาตุ ได้แก่ ประสาทลิ้นทรงไว้ซึ่งความใสในการ จะรับรส ธาตุกระทบ ก็คือ รสธาตุ ได้แก่รสต่างๆ ก็เป็นธาตุธรรมชาติที่ทรงไว้ใน การที่จะกระทบทางลิ้นได้ ธาตุรู้ ก็คือ ชิวหาวิญญาณธาตุ ได้แก่ ตัวรู้รส เป็นจิตเรา เรียกว่าวิญญาณ วิญญาณเกิดขึ้นทางลิ้นเรียกว่า ชิวหาวิญญาณ รู้รส จัดเป็นรูปเป็น นามก็คือ ประสาทลิ้นกับรสเป็นรูป ตัวรู้รสเป็นนาม

ชุดที่ 5 ธาตุรับ ได้แก่ กายธาตุ ได้แก่ประสาทกาย เป็นความใสซึ่งทรงไว้ในการรับโผฏฐัพพารมณ์ ธาตุกระทบ ก็คือ โผฏฐัพพารมณ์ ก็เป็นธรรมชาติซึ่งทรงไว้ในการที่จะกระทบทางกายได้ โผฏฐัพพธาตุ ก็คือ

ปฐวีโผฏฐัพพารมณ์ ธาตุดินมีลักษณะที่แค่นแข็ง แข็งน้อยก็เป็นความอ่อน

เตโชโผฏฐัพพารมณ์ ธาตุไฟ มีลักษณะร้อน ร้อนน้อยก็เป็นความเย็น

วาโยโผฏฐัพพารมณ์ ธาตุลม มีลักษณะเคร่งตึง ตึงน้อยก็เป็นความหย่อน ฉะนั้น โผฏฐัพพธาตุ ก็คือ ลักษณะเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง ที่กระทบ เป็นธาตุกระทบทางกายทรงไว้ซึ่งลักษณะอย่างนั้นๆ ธาตุรู้ทางกายก็คือ กายวิญญาณธาตุ ได้แก่ตัวรู้สึกเย็น รู้สึกร้อน รู้สึกอ่อน รู้สึกแข็ง รู้สึกหย่อน รู้สึกตึง จัดเป็นนามธรรม กายปสาทกับโผฏฐัพพารมณ์เป็นรูปธรรม กายวิญญาณ ตัวรู้สึกเย็น รู้สึกร้อน รู้สึกอ่อน แข็ง หย่อน ตึงเป็นนาม สิ่งเหล่านี้เป็นธาตุธรรมชาติไม่ใช่สัตว์บุคคลอะไร แต่อาศัยอุปาทานเข้าไปยึดไว้ เป็นเราเย็น เราร้อน เราอ่อน เราแข็ง เป็นสัตว์ เป็นบุคคลขึ้น ถ้าได้เจริญสติเข้าไปพิจารณาจริงๆ เวลาเกิดความเย็นความร้อนความอ่อนความแข็งที่กระทบกาย เจริญสติระลึกรู้ ก็จะเห็นว่า มันเป็นแต่ธาตุธรรมชาติ เย็นกระทบ หาใช่เป็นตัวเราเป็นตัวตนไม่ ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง มันจะมีลักษณะเป็นธรรมชาติ ที่ปรากฎแล้วก็ดับไป บังคับบัญชาไม่ได้ ถ้าไม่ได้พิจารณา ไม่ได้สังเกต มันก็ไปหลงยึดไว้เป็นตัวตนขึ้น

ชุดที่ 6 ธาตุรับ ก็คือ มโนธาตุ นี้ องค์ธรรมก็คือ ตัวจิต 3 ดวงด้วยกัน ได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต 1 ดวง คือ จิตที่พิจารณาปัญจารมณ์ แล้วก็สัมปฏิจฉันจิต 2 ดวง ทำหน้าที่รับปัญจารมณ์ 3 ดวงนี้เรียกว่า มโนธาตุ คือเป็นธรรมชาติที่ทรงไว ซึ่งการรับปัญจารมณ์ โดยสามัญ คำว่าปัญจารมณ์ ก็คืออารมณ์ 5 อย่าง ได้แก่ รูปารมณ์ สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ คือ สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เรียกว่า ปัญจารมณ์ อารมณ์ 5 อย่าง ตัวมโนธาตุนี้มันรับได้ทั้ง 5 อารมณ์ ไม่เหมือนจักขุวิญญาณ คือวิญญาณทางตานั่นรับได้เพียงสีเท่านั้น วิญญาณทางหูก็รับได้เพียงเสียง แต่มโนธาตุนี้รับได้ 5 อารมณ์ คือ สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ รับได้อย่างสามัญคือไม่ได้รู้อารมณ์อื่นนอกกว่านี้ ตัวธาตุกระทบ ก็คือ

ธัมมธาตุ ธัมมธาตุเป็นธาตุกระทบ คือทรงไว้ซึ่งการกระทบทางใจ

องค์ธรรมปรมัตถ์ก็ได้แก่ ตัวเจตสิกทั้ง 52 ชนิด แล้วก็รูปละเอียดเรียกว่า สุขุมรูป มี 16 ตลอดทั้งนิพพานเป็นธัมมธาตุ กระทบได้ทางใจ ตัวเจตสิกต่างๆ เช่น โลภ โกรธ หลง เป็นต้น อันเป็นฝ่ายไม่ดี ฝ่ายดีก็มีศรัทธา ปัญญา สติ เมตตา กรุณา เป็นต้น เหล่านี้เป็นธัมมธาตุ เป็นธาตุที่ปรากฎทางใจ ส่วนรูปละเอียดก็เช่นอาโป ธาตุน้ำ ความเป็นหญิง ความเป็นชาย รูปหัวใจ อย่างนี้เป็นต้น รูปที่ละเอียดมากระทบเป็น ธัมมธาตุ สิ่งเหล่านี้ล้วนไม่ใช่สัตว์บุคคล เป็นธรรมชาติซึ่งทรงไว้ซึ่งลักษณะของมัน อย่างนั้นๆ ธาตุรู้ทางใจเรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ องค์ธรรมก็เป็นจิตทั้งหมด 76 ดวง

ก็เว้นจิตทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รวม 10 ดวง เรียกว่า ทวิปัญจวิญญาณจิต 10 จิตมีทั้งหมดโดยย่อมี 89 ดวง เป็นธาตุทางตา หู จมูก ลิ้น กาย 10 ดวง แล้วก็เป็นมโนธาตุ 7 ดวง ก็เหลือ 76 ดวง เป็นมโนวิญญาณธาตุ คือธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งการรู้อารมณ์เป็นพิเศษ มโนวิญญาณธาตุรู้อารมณ์ได้เป็นพิเศษ คือมันรู้ได้กว้างขวางกว่า สามารถที่จะรับรู้อารมณ์ทางมโนทวารได้ และรวมแล้วที่แสดงมาแล้วนี้ ในชีวิตในร่างกายจิตใจ ถ้ามองไปแล้ว ทุกส่วนทุกอย่างมันจะเป็นธาตุธรรมชาติทั้งนั้นเลยที่ทรงไว้ซึ่งสภาวลักษณะของตนของตน หามีความเป็นสัตว์เป็นบุคคลไม่

เราจะเห็นอย่างนี้ได้ ต้องอาศัยการเจริญสติ สติเข้าไปรู้ธาตุธรรมชาติที่กำลังปรากฏ เช่นเกิดการประชุมเกิดขึ้นทางตา มีประสาทตา มีสี มีการเห็นเกิดขึ้น ก็ระลึกรู้สังเกตดูสภาวธรรมต่างๆ มันเป็นอย่างไร การประชุมเกิดขึ้นทางหู มีเสียง สภาพได้ยิน มีประสาทหู สังเกตดูสภาพได้ยิน การประชุมทางจมูกมีประสาทจมูก มีกลิ่น มีการรู้กลิ่น ก็พิจารณา ดูเป็นธาตุธรรมชาติ การประชุมทางกาย มีกายปสาท โผฏฐัพพารมณ์ มีการรู้อารมณ์ทางกาย ก็พิจารณาดู การประชุมทางใจมีมโนธาตุ มีธัมมธาตุ มีมโนวิญญาณธาตุ ก็พิจารณาดู ก็จะเห็นว่ามันเป็นธาตุธรรมชาติ ถ้าหากว่าไม่ได้พิจารณา สมมุติบัญญัติมันก็เข้ามาครอบงำ ให้เห็นเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นผู้หญิง ผู้ชาย เป็นเรา เป็นเขา เป็นตัวเป็นตนขึ้น เวลาเห็นครั้งหนึ่งจิตก็แล่นไปสู่สมมุติบัญญัติ

เวลาได้ยินมันก็แล่นไปสู่สมมุติบัญญัติ ฉะนั้น ก็ต้องอาศัยการปฏิบัติเจริญสติ คือ การระลึกรู้ขณะเห็น ขณะได้ยิน ขณะรู้กลิ่น ขณะรู้รส ขณะรู้สัมผัส ขณะคิดนึก ทุกอิริยาบถไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถยืน เดิน นั่ง นอน ก็พยายามที่จะพิจารณา พยายามที่จะสังเกตให้ตรงสภาวะของธาตุธรรมชาติต่างๆ เหล่านี้

ฉะนั้นในปุถุชนก็มีการหลงผิดยึดผิดอยู่ ก่อให้เกิดกิเลส เกิดความรัก เกิดความชัง แล้วทำกรรมต่างๆ ทำกุศลก็ได้ ทำอกุศลก็ได้ด้วยความยึดมั่นถือมั่น ทำกุศลด้วยอำนาจของอุปาทานก็ได้ ยึดอยากจะให้มันไปเกิดที่ดีๆ อยากรวยอยากสวยอยากเกิดบนสวรรค์ก็ทำกุศลกรรมต่างๆ นั่นก็เพราะมีความยึดถือความเป็นสัตว์เป็นบุคคล ก็มีอำนาจของโลภะเข้าไป

ส่วนอกุศลกรรมนั้นก็แน่นอน ลองมีความยึดมั่นถือมั่นแล้วก็ทำบาปอกุศลกรรมต่างๆ ก็ทำให้มีผลต่อไป คือปัจจุบันนี้ก็มีธาตุธรรมชาติที่มันเกิดมาจากเหตุปัจจัยในอดีต ส่งมาแล้ว มาอุบัติบังเกิดขึ้นเป็นธาตุธรรมชาติประชุมกัน แต่ว่าก็ยังมีความยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นเหตุให้ทำกรรมต่างๆ ลงไปอีก ที่จะส่งผลให้มีธาตุธรรมชาติอุบัติบังเกิดขึ้นต่อไปอีก ในภพภูมิต่างๆ ไม่จบสิ้น มันก็มีแต่ไหลไปๆ สืบต่อกันไป

มันก็กลายเป็นเสวยความทุกข์ ตัวที่ได้รับความทุกข์ต่างๆ คือธาตุนี่แหละที่เป็นทุกข์ นี่เป็นธาตุธรรมชาติ แต่อุปาทานเข้าไปยึดว่าเป็นเราทุกข์เราสุข ไม่พ้นจากทุกข์

ฉะนั้นถ้าหากมีปัญญาญาณ เจริญวิปัสสนาเข้าไปเห็นแจ้งตามความเป็นจริง เห็นเป็นธาตุธรรมชาติ ละสมมุติบัญญัติออกไป มันก็ไม่ก่อเหตุปัจจัยต่อไป พอหมดเหตุปัจจัยในอดีต ธาตุธรรมชาติเหล่านี้ก็สลายตัวไปไม่ก่อตัวขึ้นมาอีก

มันก็เข้าถึงธัมมธาตุที่เป็นนิพพาน เป็นสันติลักษณะที่สงบ ไม่มีความเกิดดับ นิพพานเป็นธรรมที่ไม่เกิดไม่ดับ เป็นธรรมชาติที่พ้นทุกข์

ถ้าหากว่ายังมีการเกิดของธาตุธรรมชาตินี้มันก็ต้องทุกข์ต่อไป ถ้าหากเรามาพูดตามบุคคลาธิษฐาน พูดตามสมมุติบัญญัติ ก็พูดกันไปได้ว่า บุคคลทำบาปก็ต้องไปเกิดในนรก ในอบายภูมิ เมื่อทำกุศลก็ไปเกิดบนสวรรค์เป็นเทวดา อันนี้มันพูดตามสมมุติ บุคคลาธิษฐาน ความเป็นคน เป็นสัตว์ แต่ที่จริงแล้ว ถ้าพูดตามสภาวปรมัตถ์ มันไม่มีความเป็นคน มนุษย์ไม่มี สัตว์เดรัจฉานไม่มี เทวดา สัตว์นรกต่างๆ ไม่มี มันเป็นแต่ธาตุธรรมชาติที่ไหลไปตามเหตุตามปัจจัย อันนี้แหละที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ถึงธาตุแท้ของชีวิต คือธาตุต่างๆ แล้วก็นำมาแสดงตลอดรวมทั้งบอกวิธีที่จะให้เข้าไปรู้ คือประทานวิปัสสนาไว้ว่าบุคคลที่อยากจะรู้ตามความเป็นจริงก็เจริญวิปัสสนา เมื่อรู้จริงเห็นจริงก็จะพ้น พ้นจากการก่อตัวของธาตุที่จะเสวยความทุกข์ต่อไป

วันนี้ก็คิดว่าพอสมควร แสดงมาเรื่องธาตุ 18 ก็ขอยุติไว้แต่พียงเท่านี้ ที่สุดนี้

ขอความสุขความเจริญในธรรมจงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรมทุกท่านทุกคนเทอญ


สาธุ
 

_________________
ดีชั่วรู้หมด......แต่ใจคนเรามันอดไม่ได้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง