Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ธรรมบรรยาย ตอนที่ 3 ปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
kit_allwhat
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 ส.ค. 2006
ตอบ: 25

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2006, 12:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ธรรมบรรยาย ตอนที่ 3
ปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน

โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)


คำนำ-คำสรุป ในโลกนี้ มีหลากหลาย
คำถาม-คำตอบ มีมากมาย
คำอธิบาย มีคณานับ

คำคม มีไม่รู้หมด
คำคน มีไม่รู้สิ้น

แต่น้อยคำนัก ที่เป็น อมตะ
น้อยคำนัก ที่เป็น สัจธรรม

ธรรมสุปฏิปันโน ขอนำท่าน ปฏิบัติธรรม ใน ชีวิตประจำวัน

เพื่อการรู้แจ้งสัจธรรม ด้วยตัวเอง

โดยได้รับอนุญาต จากท่านพระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักด์ เขมรํสี)

ให้ถอดเทปธรรมบรรยาย จากรายการวิทยุ
*ธรรมสุปฏิปันโน วันเสาร์-วันอาทิตย์ ๑๑.๑๐-๑๒.๐๐ น
*ธรรมโอสถ วันอังคาร เวลา ๐๖.๐๐-๐๖.๔๕ น. ออกอากาศทางสถานีวิทยุ กองพลทหารม้าที่ ๒ พล ม.๒ คลื่นความถี่ เอ.เอ็ม ๙๖๓ และได้พิมพ์เผยแพร่เป็นประจำ ทุกวันพฤหัสบดีทางหนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวันเพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกเสมือนหนึ่งได้รับฟังคำอธิบายต่างๆอยู่เฉพาะหน้าผู้บรรยายเองจึงได้คงไว้ซึ่งลักษณะธรรมชาติของสำนวนพูดในต้นเค้าการบรรยายเดิม

หากมีข้อผิดพลาดประการใดขอน้อมรับ ด้วยความเคารพในธรรมยิ่ง
อาจริยบูชา
คณะศิษยานุศิษย์

นมตฺถุรตนตฺตยสฺส

ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ขอความผาสุกความเจริญในธรรม จงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรมทั้งหลายต่อไปนี้ จะได้ปรารภธรรมตามหลักคำสั่งสอนขององค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ขอให้พึงตั้งใจฟังด้วยดี เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปประกอบความรู้ความเข้าใจในการประพฤติปฏิบัติธรรม


๑:๓๕ ชีวิตประจำวัน

การปฏิบัติธรรมนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องให้เป็นไปในชีวิตประจำวัน หมายถึงว่า ชีวิตประจำวันของเราจะต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายมีการงานมีภาระกิจส่วนตัวบ้าง ส่วนรวมบ้าง เรียกว่ามีการกระทำออกไปทางกาย ทางวาจา ทางใจ ชีวิตเราไม่ได้นิ่งอยู่ กับที่ตลอดเวลาไม่มีใครจะมาอยู่กับที่ได้ตลอดเวลา คือนั่งอยู่ ตลอดเวลาไม่ได้จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายเปลี่ยนแปลงอิริยาบถ เพราะอย่างน้อย ร่างกายนั้นมี ทุกข์ นั่งไปนานก็เป็นทุกข์ปวดเมื่อยก็จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายเปลี่ยนอิริยาบถ เป็น ยืนบ้าง นอนบ้างเดินบ้าง แต่ไม่ว่าจะเป็นอิริยาบถไหนก็ตกอยู่ในสภาพทุกข์ทั้งนั้น แม้แต่ในอิริยาบถนอนซึ่งเราจะชอบอิริยาบถนี้ แต่เราก็ไม่สามารถนอนได้ตลอดเวลาได้โดยไม่ต้องพลิกตัว ไม่สามารถอยู่ในท่าเดียวได้นั่นก็เพราะว่ามันเป็นทุกข์ ร่างกายนี้มันเป็นทุกข์ต้องเปลี่ยนแปลงอิริบถกันอยู่เรื่อยเพื่อผ่อนคลายความทุกข์ แล้วนอกจากนี้ ชีวิตของเราก็ต้องมีการกิน มีการขับถ่ายมีการทำอย่างอื่น เรียกว่า เป็นการงาน เช้าขึ้นมาก็ต้องลุกขึ้นไป ล้างหน้าแปรงฟัน เข้าห้องน้ำ ห้องส้วม มีการอาบน้ำถึงเวลาก็ จะต้องหุงหา ต้องรับประทานอาหาร ต้องล้างถ้วยชามมี การนุ่งห่มเสื้อผ้า มีการกวาด การถู มีการทำภาระกิจชีวิตประจำวันของเราก็มีอย่างนี้ทั้งนั้นดำรงอยู่ได้ด้วยอาหารกินเข้าไปก็ต้องขับถ่ายออกหมุนเวียนอยู่อย่างนี้ เป็นกิจการงานส่วน ตัวอย่างนี้

นอกจากนี้ ยังมีงานเกี่ยวข้องกับสังคม เกี่ยวกับหน้าที่รับผิดชอบให้กว้างขวางออกไป เช่น เราต้องทำงานเพื่อหาเงินมาจุนเจือชีวิตครอบครัว จึงต้องมีการเดินทาง มีการพบปะมีการใช้สมองคิดอ่าน เคลื่อนไหวร่างกาย

สรุปแล้ว ชีวิตจะต้องหมุนไปในการ ยืน เดิน นั่ง นอนคู้ เหยียด เคลื่อนไหว ทำ พูด คิด กิน ดื่ม ขับถ่าย เป็นอยู่อย่างนี้ คือชีวิตประจำวัน


๒:๓๕ ธรรมเป็นอกาลิโก

แล้วเราจะปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันได้หรือไม่ ?

ตามหลักคำสั่งสอนของพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงว่าการปฏิบัติธรรมนี้ธรรมเป็นอกาลิโกปฏิบัติได้และไห้ผลได้ไม่จำกัดกาล ฉะนั้น ก็ต้องปฏิบัติได้ เจริญภาวนา เจริญสติ เจริญกรรมฐาน หรือปฏิบัติธรรมได้ในชีวิตประจำวัน เมื่อเราเข้าใจแล้วเช่นนี้เราก็จะไม่บอกว่าไม่มีเวลาปฏิบัติ เพราะหากเรายังมีการหายใจอยู่ถือว่านั่นแหละ เรายังมีเวลาปฏิบัติ ผู้ที่ไม่มีเวลาปฏิบัติ คือ คนที่ตายไปแล้วหมดลมหายใจไปแล้ว ไม่มีจิตใจทึ่จะทำการงาน หาความรู้สึกอะไรไม่ได้แล้วถ้ายังมีจิตใจอยู่ ยังเป็นๆอยู่ หรือไม่ได้สลบตลอดเวลา ยังตื่นอยู่ย่อมต้องมีเวลาปฏิบัติธรรม เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจ และตั้งใจ


๓:๓๕ ปฎิบัติให้เป็นปกติประจำวัน

ประการแรก ต้องมีความตั้งใจ และทำความเข้าใจไว้ก่อนว่าการปฏิบัติธรรมนั้น สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน เพราะ ถ้าไม่ทำความเข้าใจเช่นนี้ มันจะปิดกั้นการปฏบัติ คือ เราจะไม่ยอมฝึกฝนที่จะเจริญสติสัมปชัญญะไว้ คอยแต่ว่า ถึงเวลาก็จะมานั่งสมาธินั่งพับเพียบ มานั่งอยู่ต่อหน้าพระพุทธรูป จึงจะปฏิบัติได้ ยิ่งไปกว่านั้นบางคนก็อาจจะต้องเข้าวัด ถึงจะปฏบัติ อยู่บ้านปฏิบัติไม่ได้มันก็จะกลายเป็นอย่างนั้น มันก็จะเสียโอกาสไป


๔:๓๕ ทำความรู้สึกตัว 'เพียรเจริญสติ มีสัมปชัญญะ'

ฉะนั้น ลำดับแรก เราต้องทำความเข้าใจว่า การปฏิบัติกรรมฐานทำได้ทุกเวลาทำได้ทุกโอกาส ด้วยการ หมั่นทำความระลึกรู้สึกตัว ที่เราปฏิบัติก็คือเพียรพยายามที่จะระลึกรู้สึกตัว มีความเพียรเรียกว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมามีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ


๕:๓๕ ที่ตั้งของสติ 'สติปัฏฐาน ๔'

สติ คือ ความระลึกได้
สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว การพิจารณา เพียรที่จะระลึกรู้สึกตัวอยู่เสมอๆทุกขณะให้มากที่สุดส่วนมันจะเผลอ ก็เผลอไป แต่เราพยายามให้มีสติ ในวันหนึ่งๆ และต้องเข้าใจต่อไปว่า แล้วจะเอาสติไปตั้งไว้ที่ไหนไประลึกที่ไหน สติต้องมีที่ตั้ง อันนี้เป็นเรื่องที่จะต้องรู้ ต้องศึกษาทำความเข้าใจว่า ที่ตั้งของสติ มีอะไรบ้าง ให้รู้จัก ที่ตั้งของสติ ซึ่งเรียกว่าสติปัฏฐาน มีอยู่ ๔ ฐาน คือ กาย เวทนา จิต ธรรม

เอาสติตั้งไว้ คือ เพียรระลึกที่กาย ระลึกที่เวทนา ระลึกที่จิต ระลึกที่ธรรม ประกอบด้วยความเพียร หมั่นทำความระลึกรู้สึกตัวในกาย เวทนา จิต ธรรม อยู่เนืองๆ ด้วยการละอภิชฌาและโทมนัสในขณะที่ระลึกรู้ไปนั้น พยายามฝึกไม่ให้ยินดียินร้าย


๖:๓๕ ฝึกไม่ยินดียินร้าย 'ละอภิชฌา และ โทมนัส'

ตามธรรมดาของปุถุชน มักจะตกไปในข้าง ยินดีบ้าง ยินร้ายบ้างถ้าถูกใจ อารมณ์ที่ถูกใจ ก็คือ ยินดี เช่น รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย ความสงบเป็นความสุขที่เกิดขึ้นในใจ ที่ไม่มีอามิสนั้นไม่มี

แม้เมื่อเกิดความสุขจากการปฏิบัติธรรม ก็มักเกิดความพอใจ เรียกว่า อภิชฌา ความยินดี แต่ในทางปฏิบัติ ต้องพยายามฝึกไม่ให้เกิดความยินดียินร้าย เมื่ออารมณ์ปรากฎ ไปรับรู้อารมณ์อันใด ก็อย่าไปยินดียินร้าย การที่จะเกิดโทมนัส การยินดียินร้าย ก็คือได้รับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจไม่ชอบใจ เช่นภาพที่ไม่สวย เสียงไม่เพราะ เสียงหนวกหู เสียงด่า เสียงว่ากลิ่นเหม็น รสไม่อร่อย เครื่องสัมผัสทางกายไม่ดี ร้อนเกินไป หนาวเกินไป มันปวด มันเจ็บ อันเนื่องมาจาก ความเย็น ร้อนอ่อน แข็ง หย่อน ตึง ที่มีความรุนแรงมากเป็นทุกข์ ก็จะเกิดความยินร้ายนั่งปฏิบัติธรรมไป จิตไม่สงบ ฟุ้งซ่าน ก็เกิดความยินร้ายไม่ชอบใจในความไม่สงบนั้น


๗:๓๕ ฝึกทำใจให้เป็นกลาง

ต้องฝึกทำใจให้เป็นกลาง คือ ไม่ตกไปในข้างยินร้าย หรือข้างยินดี มีความเพียร มีการระลึกได้ มีความรู้สึกตัว หรือการพิจารณา แต่ไม่ยินดียินร้าย ฝึกอย่างนี้ในชีวิตประจำวัน ระลึกกาย เวทนา จิต ธรรม อยู่เนืองๆ


๘:๓๕ ระลึกที่กาย

ระลึกที่กาย มีอะไรบ้าง ?
สิ่งที่จะต้องระลึกทางกายมี ลมหายใจเข้าออก อิริยาบถทั้ง ๔ ระลึกรู้กาย ในขณะนั่ง ขณะยืน ขณะเดิน ขณะนอน อิริยาบถใหญ่ทั้ง ๔ นั่งก็ให้รู้เข้ามาที่ท่าทางกายที่นั่ง ยืนก็ให้รู้เข้ามาที่ท่าทางของกายที่ยืนนอกจากนี้ ก็ให้รู้ใน อิริยาบถย่อย ด้วย เช่น การคู้ การเหยียดการก้ม การเงย การแลไปข้างหน้า เหลียวไปข้างซ้าย เหลียวไปข้างขวาเดินหน้า ถอยหลัง ขยับตัวเคลื่อนไหวร่างกาย ให้พยายามระลึกอยู่ในขณะที่กายกำลังปรากฏ อย่างนี้ ให้พยายามอยู่บ่อยๆ เนืองๆ


๙:๓๕ ระลึกรู้เวทนา ระลึกรู้ความรู้สึก

เวทนา คือ การเสวยอารมณ์
สุขเวทนา คือ ความสบาย ทุกข์เวทนา คือ ความไม่สบายอุเบกขา คือ เฉยๆ ไม่สุก ไม่ทุกข์ พยายามระลึกรู้ถึงความรู้สึก เช่นมันไม่สบาย ก็ระลึกรู้ถึงความไม่สบาย แต่อย่าไปยินดียินร้ายด้วยพยายามฝึกจิตรับรู้ แต่ไม่ยินดียินร้าย ไม่เกลียดไม่ชัง ไม่ปฏิเสธไม่กระวนกระวาย เวลามันเกิดสุขเวทนาสบายขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นสบายกาย สบายใจ ก็รับรู้ แต่ไม่เข้าไปยินดี รู้แล้ววางเฉยหรือแม้แต่เวลาที่เกิดอุเบกขาเฉยๆ ก็ให้รู้ ไม่หลง แล้วสังเกตการพิจารณาความเฉยๆ นั้น


๑๐:๓๕ รู้จิต

พยายามเพียร มีสติสัมปชัญญะ รู้สึก รู้จิตใจ เวลาจิตคิดนึกให้รู้ทัน เดี๋ยวมันคิดขึ้นมาอีก ก็รู้อีก ให้รู้ความคิด จิตจะแวบไปแวบมาซัดส่ายไปในอารมณ์นี้ คอยติดตามรู้เท่าทันจิตอยู่เสมอ


๑๑:๓๕ พิจารณาธรรมในธรรม

เพียรมีสติ สัมปชัญญะ พิจารณาในธรรม เช่น อาการในจิตพิจารณาดูว่า ขณะนี้นั้น มีอาการ มีความรู้สึกอย่างไร จิตมีราคะมีโทสะ มีโมหะ บางทีมันก็โกรธ ขุ่นมัว เศร้าหมอง บางทีก็ฟุ้งบางทีก็รำคาญใจ หงุดหงิด บางทีก็ท้อถอย บางขณะมันสงสัยว่าใช่ หรือ ไม่ใช่ ถูกหรือผิด สงสัยในการปฏิบัติ สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คิดสงสัยเรื่อยๆ ไป แต่ก็ระลึกรู้ลักษณะให้เห็นว่า ธรรมชาติของแต่ละสิ่งมีลักษณะอาการเป็นเช่นไรให้พิจารณาธรรม ก็คือ พิจารณาธรรมชาติที่ปรากฏเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงๆ


๑๒:๓๕ สังเกตปฏิกิริยาอาการ ตามธรรมชาติธรรมดาที่ปรากฏ

สังเกตไปว่า มันมีอาการปฏิกิริยาอย่างไร เช่น ตลอดทั้งเวลาเห็นทำสติระลึกรู้การเห็น เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร ชอบหรือไม่ชอบ หรือเฉยๆ

เวลาได้ยิน มีสติระลึกรู้สภาพได้ยิน แล้วสังเกตดูใจตนเองว่ารู้สึกอย่างไร ชอบหรือไม่ชอบ เวลาได้กลิ่น ก็ระลึกรู้ แล้วก็ดูใจ

เวลาลิ้มรสอาหาร ก็ระลึกรู้ลักษณะการรู้รส แล้วก็ดูจิตใจ


สาธุ
 

_________________
ดีชั่วรู้หมด......แต่ใจคนเรามันอดไม่ได้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง