Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ความคิดปรุงแต่งมีอำนาจมาก ทำให้สุขก็ได้ ให้ทุกข์ก็ได้ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Iam
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2006, 3:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ความโลภ ความโกรธ ความหลง
เป็นกิเลส ที่หมายถึงเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง

ท่านกล่าวว่ากิเลสมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง เต็มบ้านเต็มเมือง เบียดเสียดติดอยู่กับตัวเราทุกคน แต่กิเลสไม่มีมือไม่มีเท้า จึงเคลื่อนที่ด้วยตัวเองไม่ได้ หยิบจับก็ไม่ได้ จะทำผู้ใดให้มีกิเลส หรือให้กิเลสตัวใดตัวหนึ่ง ที่มีเบียดเสียดกันอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทุกเวลานาที พาตัวเองย้ายที่เข้าไปสู่จิตใจของผู้ใดก็ไม่ได้ทั้งสิ้น

คือจะทำผู้ใดให้มีกิเลสไม่ได้ แสดงชัดเจนว่า
กิเลสไม่มีอำนาจจะทำให้ผู้ใดโลภก็ไม่ได้
กิเลสไม่มีอำนาจจะทำผู้ใดโกรธก็ไม่ได้
กิเลสไม่มีอำนาจจะทำให้ผู้ใดหลงก็ไม่ได้


ต้องมีมือมีเท้าเข้าไปจับกิเลสเข้าไปสู่ใจ กิเลสคือความโลภก็ตาม ความโกรธก็ตาม ความหลงก็ตาม จึงจะเข้าไปเกิดอยู่ในใจได้ และก็ต้องเข้าใจอีกระดับหนึ่งด้วย ว่ามือเท้าที่อาจไปจับกิเลสส่งเข้าสู่ใจได้ ไม่ใช่สิ่งเป็นรูปเป็นร่างเหมือนมือเท้าจริงๆของเราทุกคน แต่เป็นมือเท้าที่อยู่ในรูปของความคิดปรุงแต่ง ที่ปราศจากรูปร่างให้เห็นได้

ความคิดปรุงแต่งมีอำนาจมาก ทำให้เกิดความสุขก็ได้ถ้าคิดดี
ทำให้เกิดความทุกข์ก็ได้ถ้าคิดไม่ดี
คิดให้ดีคือคิดให้เป็นบุญ เป็นความสุข เป็นความเย็นใจ
คิดไม่ดีคือคิดให้เป็นบาป เป็นความ ทุกข์ เป็นความร้อนใจ

ถ้าเข้าใจ และเชื่อเกี่ยวกับความคิดดังกล่าวนี้ ก็ไม่ยากที่จะรู้ ว่ากำลังคิดเป็นบุญ เพราะกำลังมีความสุขใจ ควรคิดเช่นนั้นต่อไปได้ แต่ถ้ารู้ว่ากำลังคิดเป็นบาป เพราะกำลังมีความทุกข์ใจ ควรหยุดความคิดเช่นนั้น ไม่คิดต่อไป นอกเสียจากว่าจะเป็นคนไม่ฉลาดเลย ทุกข์ก็ยังขืนทำ คือขืนคิด ให้เป็นทุกข์ต่อไป

ที่จริงไม่มีใครอยากคิดให้เป็นทุกข์ แต่ส่วนมากมักจะลืมไป ลืมคิดถึงความจริงที่สำคัญ คือคิดแต่จะพูดจะทำไปตามอำนาจของกิเลสที่มีเป็นพื้นใจอยู่ เป็นพื้นของความคิดอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเหตุแห่งความร้อน ความพลุ่งพล่าน วิพากษ์วิจารณ์ตินั่นตินี่ไปอย่างร้อนรุ่มรุนแรง

โดยคิดว่าทำดีแล้ว ทำถูกแล้ว ความเห็นแก่ตัวควรนำมาใช้ที่สุดในกรณีนี้ คือควรเห็นแก่ความไม่ร้อนใจ คือความเย็นใจ เป็นสุขใจ สำคัญต้องมีสติ ต้องมีสติคิดว่าที่กำลังพูด กำลังคิด กำลังทำอยู่นั้น ทำให้สบายใจดีอยู่หรือ ถ้าสบายใจ เย็นใจ ก็เป็นอันไม่ผิด

ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจกรรม คือ บาป จะเรียกว่าไม่แพ้กรรม ก็น่าจะให้ผลดี เพราะการเป็นผู้แพ้นั้นไม่มีใครชอบ ชอบแต่จะเป็นผู้ชนะ

แพ้ที่น่ารังเกียจที่สุด คือแพ้กรรม
ซึ่งหมายถึงกรรมไม่ดี
กรรมไม่ดีบัญชาให้ทำ
ยอมทำความไม่ดี จึงเป็นการแพ้กรรม ที่น่ารังเกียจมากที่สุด


การชนะกรรม ตรงกันข้ามกับการแพ้กรรม กรรมอย่ามาบังคับขืนใจให้คิดพูดทำที่ชั่วช้าสารพัด ไม่มียอมแพ้ กรรมต้องแพ้ ต้องหนีไป ซึ่งแน่นอนถ้ายังกำจัดกิเลสให้พ้นไม่ได้ วันหนึ่งกรรมก็จะต้องมาพยายามบีบบังคับให้คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว จงเอาชนะกรรม จงเอาชนะกรรม จงเอาชนะกรรม อย่ายอมคิดชั่ว อย่ายอมพูดชั่ว อย่ายอมทำชั่ว

: แสงส่องใจ พระพุทธศักราช ๒๕๔๘
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
 
บัวใต้
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2006, 11:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ
อนุโมทนาในธรรมทานค่ะ คุณ I am ยิ้มเห็นฟัน

109 รักตนให้ถูกทาง

ปัญหา คนทุกคนย่อมรักตนยิ่งกว่าคนอื่นสิ่งอื่น แต่ส่วนมากรักตนแล้วไม่รู้ว่าจะปฏิบัติต่อตนอย่างไร พระผู้มีพระภาคทรงแนะวิธีปฏิบัติอย่างไรในเรื่องนี้ ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ถูกแล้ว ๆ มหาบพิตร เพราะว่าชนบางพวกย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่ารักตน ถึงแม้พวกเขาจะกล่าวอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายมีความรักตน ถึงเช่นนั้นพวกเขาก็ชื่อว่าไม่มีความรักตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร ก็เพราะเหตุว่า ชนผู้ไม่รักใคร่กันย่อมทำความเสียหายให้แก่ผู้ไม่รักใคร่กันได้โดยประการใด พวกเขาเหล่านั้นย่อมทำความเสียหายแก่ตนด้วยตนเองได้โดยประการนั้น พวกเขาเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่รักตน
“ส่วนว่าชนบางพวกย่อมประพฤติสุจริต ด้วยกาย วาจา ใจ พวกเหล่านั้นชื่อว่ารักตน ถึงแม้พวกเขาจะกล่าวอย่างนี้วา เราไม่รักตน ถึงเช่นนั้นพวกเหล่านั้นก็ชื่อว่ารักตน ข้อนั้นเป็นเหตุอะไร ก็เพราะเหตุว่าชนผู้ที่รักใคร่กันย่อมทำความดีความเจริญให้แก่ชนผู้ที่รัก ใคร่กันได้โดยประการใด พวกเหล่านั้นย่อมทำความดีความเจริญแก่ตนด้วยตนเองได้โดยประการนั้น ฉะนั้นพวกเหล่านั้นจึงชื่อว่ารักตน”

ปิยสูตรที่ ๔ ส. สํ. (๓๓๕)
ตบ. ๑๕ : ๑๐๓-๑๐๔ ตท. ๑๕ : ๑๐๒
ตอ. K.S. I : ๙๘


http://www.84000.org/true/109.html
 
I am
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ส.ค. 2006, 3:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีครับ คุณบัวใต้ โมทนาด้วยนะครับ สาธุ
ตกใจ
 
แมวขาวมณี
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2006
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2006, 3:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาด้วยค่ะ สา.......ธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 19 เม.ย.2012, 12:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง