Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ทำไม เบื่อ อาหารทางใจ ขอรับ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 27 มิ.ย.2008, 1:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อาหารที่เราบริโภคประจำวันนั้นซ้ำซาก คือไม่มี อะไรมากไปกว่า ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ เราก็ยังกินกันอยู่ทุกวัน ไม่มีเบื่อ ถึงทีที่จะต้องให้อาหารทางใจอย่างซ้ำซากบ้าง ทำไมเราต้องเบื่อเล่า
พุทธทาสภิกขุ
วัดสวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี
ข้าพเจ้านำเอา ข้อความของท่านพุทธทาสภิกขุ ที่ทางเวบฯนี้นำมาเป็นขอเตือนใจเตือนสติของท่านทั้งหลายมาตั้งเป็นหัวของกระทู้ เพราะสามารถอธิบายขยายความได้ในหลายแง่หลายมุม
แต่ต้องขอบอกก่อนว่า บทความกระทู้ของข้าพเจ้าต่อไปนี้ เป็นเพียงบทความเพื่อแสดงให้เห็นว่า ทำไมคนเราถึงไม่รู้จักเบื่ออาหารข้าวปลา แต่มักจะมีความเบื่อต่อการได้ฟังเทศน์ฟังธรรม หรือได้อ่านได้ศึกษา หลักธรรมในหลักศาสนา ในที่นี้จะหมายเอาคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเยาวชน คนรุ่นใหม่ที่นับวัน ก็มีแต่จะห่างไกลจากศาสนามากขึ้นทุกวันทุกวัน
ข้าว ปลา ผัก เนื้อ ผลไม้ ฯ ที่เราบริโภคเข้าไปทุกวันนั้น ดูเหมือนจะเป็นการรับประทานที่ซ้ำกัน อาจจะเป็นภายในหนึ่งอาทิตย์ สองอาทิตย์ หรือ หนึ่งเดือน ที่เราต้องรับประทานอาหารซ้ำกับที่เคยได้รับประทานไป หรือบางท่านก็อาจรับประทานอาหารหรือข้าวแกงเจ้าขาประจำ เกือบทุกวัน ที่ต้องไปทำงาน หรือดำเนินกิจกรรมตามอาชีพของตัว และก็เป็นข้าวแกง หรืออาหารจานด่วน ที่มีกับข้าวชนิดเดียวกัน แทบทุกวัน โดยที่ไม่เกิดความเบื่อ เพราะปัจจัยหรือสาเหตุหลายสิ่งหลายประการ เช่น ต้องการประหยัด เจ้าขาประจำราคาถูก อร่อย ใกล้ที่ทำงาน หรือมีทำเลที่เราสามารถแวะไปรับประทานได้อย่างสะดวก ฯ ปัจจัยหรือสาเหตุที่ได้กล่าวไป ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาเหล่านั้น ไม่รู้จักเบื่อในอาหารที่ต้องรับประทานทุกวัน เลยแม้แต่น้อย ซึ่ง อาจจะเป็นเพียงมื้อเดียว หรือบางคนก็อาจจะสามมื้อเลยก็มี นอกเหนือจากปัจจัยหรือสาเหตุที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมีปัจจัยอีกชนิดหนึ่ง ซึ่ง เป็นปัจจัยอันเกิดจากความคิด อันทำให้เขาเหล่านั้น ไม่เกิดความเบื่อแม้จะรับประทานอาหารซ้ำซาก นั้นก็คือ ความคิดที่คิดว่า “ กินเพื่อประชีวิตให้อยู่รอด ให้หายหิว หรือ กินเพื่ออยู่ไปวันๆ เพื่อมีแรงทำงาน หรือประกอบอาชีพ” ความคิดดังกล่าวจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด วิริยะ อุตสาหะ หรือเกิดความเพียร ไม่ท้อถอย ในการดำรงชีวิต และไม่เกิดความเบื่อหน่าย หรือท้อถอย แม้จะมีความจำเจซ้ำซาก
ส่วนอาหารใจดังที่ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวถึงนั้น ย่อมหมายถึงหลักธรรมของศาสนา
หลักธรรมของศาสนานั้นมักทำให้ผู้คนเกิดความเบื่อหน่าย เมื่อได้ยิน ได้ฟัง บ้างก็ง่วงหงาวหาวนอน บางก็ไม่อยากสนใจ เพราะการฟัง กับการ รับประทานอาหาร มีอวัยวะรับสัมผัสที่แตกต่างจากกัน
อวัยวะรับสัมผัสอาหาร คือ ปาก ลิ้น ฟัน เมื่อได้รับสัมผัสอาหาร ก็จะเกิดความรู้สึก ชอบ หรืออร่อย อันได้แค่ หวาน เปรี้ยว เค็ม มัน เผ็ดมาก เผ็ดน้อย ฯลฯ
ส่วนอวัยวะรับสัมผัส หลักธรรมะ หรืออาหารใจนั้น คือ หู เมื่อได้รับสัมผัส คือฟังแล้ว ต้องจำ ต้องคิด พอคิดไป คนส่วนใหญ่ก็คิดว่า “เราก็ทำอยู่ทุกวันอยู่แล้ว” ความเบื่อหน่ายในการรับอาหารทางใจ ก็เกิดขึ้น ถ้าทุกคนที่ได้รับฟังธรรมะ มีความคิดเช่นเดียวกับการรับประทานอาหาร คือ คิดว่า “ เราฟังธรรมะ เราปฏิบัติ ตามธรรมะเพื่อความสงบสุขของชีวิต เพื่อความร่ำรวยเงินทอง ตามสมควร หรือเพื่อความรื่นรมย์สบายอกสบายใจ ฟังธรรมะ ปฏิบัติ ตามธรรม เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ หรือเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ หรือกิจการงานใดใดก็ตาม เหมือนดังเรารับประทานอาหาร ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ น้ำ ฯ เพื่อให้มีพลังงาน ในการทำงาน ฯลฯ เขาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมไม่เกิดความเบื่อหน่าย แต่กลับจะเกิดความกระตือรือร้น กระเหี้ยนกระหือรือ(ขอยืมคำพูดของ ฯพณฯท่าน นายก สมัคร มากล่าวไว้) ที่จะฟังหรือประพฤติปฏิบัติ ธรรมะ อย่างไม่มีการเบื่อหน่าย เพราะในโลกนี้ ไม่มีอะไรที่ไม่มีความซ้ำซาก ทุกอย่างล้วนต้องปฏิบัติ ดำเนินกิจกรรม หรืออื่นใด อย่างซ้ำซาก ซ้ำซาก อยู่แล้ว
ดังนั้น หากท่านทั้งหลาย มีความคิด ในการฟังธรรม หรือรับประทานอาหารใจ ซึ่งก็คือธรรมะ แล้วสร้างความคิด หรือมีความคิด หรือรู้ว่า ควรคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย ย่อมเป็นผลดีต่อตนเอง ครอบครัว หมู่คณะ ชุมชน ไปจนถึงระดับประเทศ หรือระดับโลก
เมื่อเรารับประทานอาหาร แม้ซ้ำซาก ก็เพราะความจำเป็นตามฤดูกาล ธรรมะหรืออาหารทางใจก็เช่นเดียวกัน ย่อมอาจมีซ้ำซาก ก็เพราะความจำเป็นตามพฤติกรรมของท่านทั้งหลายนั่นเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง