Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ลำดับความรุนแรงแห่งการให้ผลของกรรมชั่ว อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ทัพหลวง
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 28 มิ.ย. 2008
ตอบ: 161

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2008, 11:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้าตรัสถึงกรรมหนัก ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปเกิดในอบายไว้ โดยทรงลำดับความรุนแรงแห่งการให้ผลไว้ดังนี้ คือ

๑.นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม เป็นกรรมที่รุนแรงที่สุด และให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ ทั้งหมด

๒.อนันตริยกรรม ๕ ประการ โดยความรุนแรง รองจาก นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม โดยทรงตรัสว่า ในอนันตริยกรรม ๕ อย่างนี้ เริ่มต้นแต่ สังฆเภทกรรม ซึ่งเป็นกรรมที่หนักที่สุด ,รองมาคือ ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต ,รองมาคือ ฆ่าพระอรหันต์, รองมาคือ ฆ่ามารดา และสุดท้ายคือ ฆ่าบิดา

๓.อัตตวินิบาตกรรม ได้แก่ การฆ่าตัวตาย ซึ่งมีผลรุนแรงมาก รองจาก อนันตริยกรรม


กรรมชั่วหรือกรรมไม่ดีหรืออกุศลกรรม
หรือการกระทำที่เป็นอกุศลที่จะทำให้ได้รับผลกรรมนั้น (ที่เรียกว่า
เสวยผลของกรรม) ทันทีตาย โดยไม่มีกรรมอื่นๆ มาแทรกได้เลย
เรียกว่า มิจฉัตตนิยตธรรม

มิจฉัตตนิยตธรรม
คือสิ่งที่เป็นสิ่งไม่ดี การกระทำหรือความคิดที่ไม่ดี เป็นความชั่ว
และจะทำให้ผู้กระทำได้รับผลหรือต้องเสวยผลของกรรมนั้นทันที
ที่ตายลง (คือ ไปอบาย) โดยไม่มีกรรมไม่ว่าชั่วหรือดีแค่ไหนก็ตาม
อย่างอื่น มาคั่นกลางหรือแทรกระหว่างได้เลย

มิจฉัตตนิยตธรรม มี ๒ อย่างคือ
(๑) นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม
(๒) ปัญจานันตริยกรรม

- นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม -
นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม มี ๓ อย่างคือ

(ก)นัตถิกทิฏฐิ
คือ การมีความเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายที่จะได้รับความดีความชั่ว
ที่จะได้มีความสุขหรือความทุกข์ ฯลฯ ในภพข้างหน้านั้น
ไม่ได้เป็นผลสืบเนื่องไปจากการกระทำอันเป็นบุญหรือเป็นบาป
ของตนเองที่ตนทำไว้ในชีวิตปัจจุบัน

(ข)อเหตุกทิฏฐิ
คือ การมีความเห็นว่าความดี ความชั่ว ความสุข ความทุกข์ ฯลฯ
ที่สัตว์ทั้งหลายได้รับอยู่ในชีวิตปัจจุบันนี้ ไม่ได้เป็นผลสืบเนื่อง
มาจากการกระทำอันเป็นบุญหรือเป็นบาปของตนเอง
ในภพก่อน

(ค)อกริยทิฏฐิ
คือ มีความเห็นว่าการกระทำของสัตว์ทั้งหลาย
ถึงแม้ว่าจะทำดีก็ไม่ชื่อว่าเป็นบุญ ถึงแม้กระทำชั่วก็ไม่ชื่อว่าเป็นบาป
แต่เชื่อว่าการกระทำไม่ว่าดีหรือไม่ดีก็แค่เป็นไปตามธรรมดา
ไม่เชื่อบุญไม่เชื่อบาป


-ปัญจานันตริยกรรม -

ปัญจานันตริยกรรม มี ๕ คือ

มาตุฆาต - ฆ่ามารดา
ปิตุฆาต - ฆ่าบิดา
อรหันตฆาต - ฆ่าพระอรหันต์
โลหิตุปบาท - ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต
สังฆเภท - ยุให้พระสงฆ์แตกหมู่แตกคณะกัน

อันนี้ ท่านอธิบายว่า อกุศลกรรมทั้ง ๘ ประเภทนี้ (นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม ๓
และปัญจานันตริยกรรม ๕) ถ้าหากใครกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งในนี้แล้ว
เมื่อสิ้นชีวิตก็จะต้องได้รับผลของกรรมนั้นทันที ถึงแม้ว่าก่อนตายจะสร้าง
บุญใหญ่บุญดีเลิศขนาดไหน บุญทั้งหลายเหล่านั้นก็ไม่อาจช่วยให้พ้น
ไปจากการต้องรับผลกรรมชั่วเหล่านี้ทันทีที่ตายลงได้เลย

ถ้าหากใครได้กระทำกรรมไว้ทั้งสองอย่าง คือทั้งปัญจานันตริยกรรมข้อใด
ข้อหนึ่งกับนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมข้อใดข้อหนึ่ง ในชีวิตนั้นแล้ว
กรรมจากนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมจะเป็นกรรมที่ส่งให้ได้รับผลทันทีที่ตาย

นี่ก็แสดงว่า กรรมจากความเห็นผิดทั้ง ๓ ประการ อันเห็นผิดถาวร เห็นผิด
อย่างมั่นคง ปักใจอย่างแน่วแน่ ใน ๓ ประการข้างบนนี้ เป็นกรรมหนักที่สุด
หนักยิ่งกว่าปัญจานันตริยกรรม

ความเห็นผิด จึงน่ากลัวนัก และนอกจากนี้ เมื่อเห็นผิดแล้ว
ก็จะทำให้คิดผิด เชื่อผิด กระทำอะไรต่ออะไรผิดๆ
เช่น เมื่อไม่เชื่อบาปบุญก็เลยไม่ทำบุญ ไม่เชื่อบาปก็เลยทำบาปได้
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรม ก็จะทำได้ทั้งดีและไม่ดี
เพราะว่าไม่เชื่อว่าความดีจะส่งผลเป็นสิ่งทีดี
เพราะไม่เชื่อว่าความชั่วจะส่งผลเป็นสิ่งที่ชั่ว
ชีวิตก็จะมีแต่ตกต่ำดิ่งลึกลงไปในหุบเหวแห่งความเห็นผิด
และการกระทำกรรมไม่ดี ยิ่งๆ ขึ้นไปได้
ไกลออกไปทุกทีจากกรรมดี จากเส้นทางแห่งปัญญา
และจากการชำระจนให้มีจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์
เปี่ยมไปด้วยปัญญา ไกลออกไปยิ่งๆ จากแสงสว่างทางธรรม
ไกลออกไปจากการพ้นทุกข์

+ + + + + + + + + +

ตามที่ได้เล่าไว้ว่าโดยหลักการแล้ว
หากบุคคลใดละเมิดกรรมทั้งสองอย่าง
คือกระทำทั้งนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม
และปัญจานันตริยกรรม ในชีวิตนั้นๆ
กรรมที่จะส่งผลก่อนเพราะถือเป็นกรรมหนักกว่า
ก็คือกรรมจากนิยตมิจฉาทิฏฐิ

สิ่งที่จะมาขอเพิ่มเติมให้ครบถ้วนก็คือ
ในกรณีนี้ เมื่อนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมให้ผลไปก่อนแล้ว
แต่กรรมที่กระทำอนันตริยกรรม (คือ กระทำ
ปัญจานันตริยกรรมข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ)
ก็ยังคงอยู่ ไม่ได้หายไปไหน ไม่ได้กลายเป็นอโหสิกรรมไป
แต่อย่างใด

ตรงกันข้าม อนันตริยกรรมที่ได้กระทำไปนั้นๆ
จะรอส่งผลต่อๆ ไปเรื่อยๆ ขณะใดก็ตามที่มีโอกาส

http://board.dserver.org/e/easydharma/00000129.html
http://larndham.net/index.php?showtopic=24493
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2008, 9:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ

สาธุๆๆ ครับ
 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 3:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นวิทยาทานดีค่ะ สาธุ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง