Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หัวใจ "พรหม" หัวใจของคนเป็น "พ่อแม่" อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 16 มิ.ย.2006, 11:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



แม่.jpg


หัวใจ “พรหม” หัวใจของคนเป็น “พ่อแม่”
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


ในการงานอันมีค่าและหนักเหนื่อยของความเป็นพ่อแม่
และการเป็นสมาชิกครอบครัว
ทำให้หลายคนต้องเผชิญวิกฤตของปัญหา
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวอยู่หลายครั้งหลายหน
ปัญหาเหล่านั้นมาในสภาวะต่างๆ กัน
ทั้งหลายอารมณ์และเหตุผลที่ข้องเกี่ยว
ไม่ว่าในความสัมพันธ์ของสามีภรรยา
ความสัมพันธ์ของพ่อแม่ลูก และความสัมพันธ์ระหว่างญาติพี่น้อง
ในการทำกิจกรรมครอบครัวหลายครั้ง
จึงเกิดคำถามขึ้นในวงผู้เข้าร่วมกิจกรรมว่า
ในฐานะที่เป็นพ่อแม่และเป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว
เราควรมี “หัวใจ” แบบใด
จึงจะสามารถประคับประคองครอบครัวทั้งหมด
ให้อยู่ร่วมกันและเติบโตไปได้อย่างมีความสุข

พรหมวิหาร 4 : หัวใจของความสัมพันธ์ในครอบครัว และหัวใจของการเลี้ยงดูลูก
พระพุทธเจ้าได้สอนถึง “หัวใจ” ของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมนุษย์เอาไว้
โดยเฉพาะความสัมพันธ์ในครอบครัว และความสัมพันธ์ของพ่อแม่กับลูก
ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ต้นแบบชุดแรกที่สำคัญที่สุด
ซึ่งเด็กๆ ได้สัมผัสนับแต่เกิดมาในโลก
หัวใจเช่นนั้นเรียกว่า “พรหมวิหาร” หรือเรือนอาศัยแห่งพระพรหม
ซึ่งมีหลักสำคัญ 4 ประการ คือ

เมตตา – ความรัก ความปรารถนาดี
กรุณา – ความสงสาร คิดจะช่วยเหลือให้พ้นทุกข์
มุทิตา – ความยินดีด้วยเมื่อประสบความสุข ความสำเร็จ ทำอะไรได้ดีก็ชื่นชม
และ อุเบกขา – การวางเฉย ไม่ด่วนเข้าไปทำอะไรให้

แต่คอยดูอยู่ใกล้ๆ เป็นที่ปรึกษา คอยบอก คอยแก้ คอยแนะนำ
ให้โอกาสเรียนรู้ ฝึกหัด และทำด้วยตนเอง
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
อธิบายหลักของพรหมวิหาร 4 ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นตามวิถีชีวิตปัจจุบัน
โดยกล่าวว่า หลักทั้ง 4 ข้อของพรหมวิหาร
สรุปแล้วรวมอยู่ในเรื่องหลักๆ 2 เรื่อง คือ เรื่องความรู้สึกและความรู้

เรื่องของความรู้สึก อยู่ในหลักของความเมตตา กรุณา และมุทิตา
รวมแล้วหมายถึงความรู้สึกที่ดีงามที่คนในครอบครัวมีต่อกัน
ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวเต็มไปด้วยความรัก ความอบอุ่น
ความร่าเริง ผ่องใส อ่อนโยน และความสุข

ส่วนเรื่องของความรู้ คือหลักของอุเบกขา เป็นการใช้ความรู้และปัญญาของพ่อแม่
ในการเข้าใจกฎธรรมชาติและความสัมพันธ์ของชีวิตและสรรพสิ่ง
เข้าใจว่าชีวิตเราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
และที่สำคัญคือ เข้าใจเงื่อนไขของชีวิตที่ว่า ลูกต้องมีชีวิตอยู่
และรับผิดชอบชีวิตตนเองต่อไปโดยลำพัง
ต้องเติบโตและเจริญงอกงามด้วยคุณสมบัติภายในของเขาเอง
ด้วยความรู้ความสามารถของเขาเอง

แม้พ่อแม่จะรักและปรารถนาดีต่อเขาอย่างไร ก็ทำแทนตัวเขาไม่ได้
สิ่งที่พ่อแม่ทำได้คือ การเกื้อหนุนให้เขาเติบโตด้วยตนเอง
ด้วยการใช้ความรู้และปัญญาพิจารณาว่า ต้องเตรียมฝึกลูกอย่างไร
โดยหาแบบฝึกหัดให้เขาทำ และคอยดูแลและให้คำแนะนำอยู่ใกล้ๆ
จนกว่าเขาจะแข็งแรง การให้ลูกได้ฝึกทำแบบฝึกหัดต่างๆ ของชีวิต
เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้เขาพัฒนาคุณสมบัติที่ดีภายในตัว
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับชีวิตของเขา

ประสานปัญญากับอารมณ์ และประสานความรู้กับความรู้สึก
โดยธรรมชาติของความเป็นสามีภรรยาและความเป็นพ่อแม่
การอยู่ร่วมกันด้วยความสัมพันธ์ทางอารมณ์และความรู้สึก
มักเป็นเรื่องใหญ่อันดับต้นๆ ในการจัดกิจกรรมครอบครัวทุกครั้ง
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะสัมผัสได้ถึงพลังพิเศษที่เกิดขึ้นในกลุ่ม
อันมีที่มาจากความรักและความปรารถนาดีอันท่วมท้น
ของครอบครัวหลายๆ ครอบครัวที่มารวมกัน

แต่ในบางมุม บางโอกาส ก็สัมผัสได้ถึงภาวะเปราะบางทางอารมณ์
ที่แทรกอยู่ในท่าทีและเรื่องราวที่บอกเล่าให้กันและกันฟัง
หลายคนยอมรับถึงความทุกข์ในความสัมพันธ์ฉันครอบครัว
ซึ่งมักมีที่มาจากความไว้วางใจกันได้ไม่มากพอ
ความคาดหวังในกันและกัน
และความหวาดกลัว (อาจโดยไม่รู้ตัว) ว่าตนเองจะผิดหวัง

ความสัมพันธ์ในครอบครัวและการเลี้ยงดูลูก
โดยใช้อารมณ์ความรู้สึกด้านบวกของความเมตตา กรุณา และมุทิตาเป็นหลัก
จะทำให้เด็กๆได้รับการพัฒนาเรื่องความรัก ความอบอุ่น อ่อนโยน
ละมุนละไม และมีความสุข แต่ถ้าพ่อแม่ใช้เฉพาะอารมณ์ความรู้สึกด้านบวกมากเกินไป
เด็กก็จะกลายเป็นคนอ่อนแอ ต้องพึ่งพาคนอื่น ทำอะไรเองไม่เป็น
และอาจกลายเป็นผู้ร้องขอกับคนอื่นตลอดเวลา ไม่รู้จักพอ
และไม่สามารถมีความสุขได้ด้วยตนเอง

ส่วนในทางกลับกัน หากพ่อแม่มุ่งแต่จะให้ลูกเข้มแข็ง
โดยเน้นฝึกฝนเฉพาะด้านความรู้และความสามารถ
เด็กก็อาจเติบโตเป็นคนเก่ง แต่ชีวิตก็จะแห้งแล้ง แข็งกระด้าง ไม่มีน้ำใจ
และขาดความสามารถในการเข้าถึงอารมณ์สุขทุกข์ของตนเองและคนรอบข้าง
ซึ่งจะเป็นผลให้ตัวเขาเองโดดเดี่ยวได้อย่างถึงที่สุด

ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่พอเหมาะพอดี
ระหว่างการยึดหลักของเมตตา-กรุณา-มุทิตา และหลักอุเบกขา
คือความสัมพันธ์ในรูปแบบที่สามารถประสานปัญญากับอารมณ์
และประสานความรู้กับความรู้สึกเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม
เด็กๆที่เติบโตมาในครอบครัวเช่นนี้จะมีทั้งความอ่อนโยน มีความสุข และความอบอุ่น
ทั้งยังเป็นคนเข้มแข็ง มีความสามารถ มีปัญญา และรับผิดชอบตนเองได้
ซึ่งเป็นความหวังสูงสุดของคนเป็นพ่อแม่ทุกคน
ที่อยากให้ลูกเติบโตเป็นคนเก่ง คนดี และคนที่มีความสุข

หัวใจของการเป็นพ่อแม่ คือการฝึกฝน
เพื่อสร้างหัวใจแบบพรหมให้กับชีวิตตนเอง
เพื่อเป็นพลังในการงานอันมีค่าและหนักเหนื่อย
ตามภาระหน้าที่ของการเป็นพ่อแม่และเป็นสมาชิกครอบครัว
เป็นการฝึกฝนเพื่อเพื่อประสานปัญญากับอารมณ์
และประสานความรู้กับความรู้สึก เพื่อให้ทุกคนในครอบครัว
เติบโตแข็งแรงได้เต็มศักยภาพตามหนทางของตนเอง

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้

คัดลอกจาก...
แผนงานครอบครัวร่วมเรียนรู้สู่สุขภาวะ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ข้อมูลจากหนังสือ ความสุขของครอบครัวคือสันติสุขของสังคม
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน
จัดพิมพ์โดย ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ข้าน้อย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 16 มิ.ย.2006, 2:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบพระคุณครับสำหรับเรื่องดีๆในการดำรงชีวิต....สาธุ
 
I am
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 16 มิ.ย.2006, 3:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โมทนาครับ สาธุ...
 
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 16 มิ.ย.2006, 9:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โมทนาธรรมด้วยครับ..............สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2012, 5:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง