Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 “รู้” ทับ “สิ่งที่รู้” อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2006, 5:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่ยึด "จิต(ผู้รู้)" และ ไม่ยึดนิพพานจึงจะพบนิพพาน : คลายทุกข์ คลายเครียด


เมื่อลอกเปลือกไม้ภายนอก และเยื่อไม้ออกหมดแล้วจึงรู้ว่าเป็นไม้ไม่มีแก่น โดยรู้แจ้งแก่ใจว่า จิต(ผู้รู้) เป็นเพียงนามไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่าง ไม่มีที่อยู่ ไม่มีขอบเขต เกิดมารู้แล้วดับไปเร็วมาก ไม่ต้องให้ความสนใจ หรือ ให้ค่า หรือให้ความสำคัญต่อ "ผู้รู้" ให้ผ่านเลยไป ให้หาอะไรทำ ไม่ใช่มานั่งอยู่กับ "ผู้รู้"

เมื่อไม่ให้ความสำคัญอันใด ต่อ "ผู้รู้" และจะต้องไม่ให้ค่า หรือ ให้ความสำคัญต่อ "นิพพาน" ด้วย คือ ต้องหยุดคิดปรุงแต่งดิ้นรนหานิพพานด้วย จึงพบนิพพาน เพราะนิพพานเลย "ผู้รู้" ไปอีก

ซึ่งพระพุทธเจ้าแบ่งเป็น จิต เจตสิก รูป และ นิพพาน ดังนั้น นิพพานจึงไม่ใช่จิต ("ผู้รู้") ต้องเลยผู้รู้ไปอีก ไม่มีที่หมาย ดังนั้น ถ้าผู้ปฏิบัติมาหยุดตรงที่หมายไว้ว่า สภาวะนี่แหละเป็นนิพพานแล้ว แสดงว่ายึด "นิพพาน" เอาเป็นที่หมายไว้ จึงไม่พบนิพพานจริง ซึ่งนิพพานไม่ใช่สภาวะใดที่จะหมายเอาได้ นิพพานป็นอสังขตธรรม ไม่ใช่สภาวะที่เกิดดับ หรือ เปลี่ยนแปลงได้ ไม่ใช่วันนี้เป็นนิพพานก็เป็นนิพพานตลอดไป และผู้ที่พบนิพพานก็จะรู้ได้ด้วยตนเองจะเป็นปัจจัตตัง เหมือนดังผู้ที่ได้ลิ้มรสแกง ย่อมรู้รสแกงได้เองฉันนั้น


ยิ้มแก้มปริ สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2006, 6:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อไม่ยึดถือก็ว่างเปล่า : คลายทุกข์คลายเครียด



เมื่อจิตไม่คิดปรุงแต่งยึดถือเป็นความพอในหรือความไม่พอใจ หรือหลงเพลินไปกับสิ่งใดทั้งภายนอก [รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่มากระทบประสาทกาย) ธรรมารมณ์ (สิ่งหรือเรื่องราวที่จิดคิดไปถึง)] และภายใน (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ ขันธ์ห้า) แล้ว ขันธ์ห้าก็ทำหน้าที่ที่บริสุทธิ์ไปตามธรรมดา ธรรมชาติของเขาจนถึงวันตาย และเมื่อไม่มีผู้ยึดถือจึงเข้าใจได้หรือเห็นได้ว่าแท้จริงมีเพียงแต่ขันธ์ห้าเท่านั้นที่เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป



นอกจากขันธ์ห้าแล้วไม่มีผู้ยึดถืออื่นใดอีก ซึ่งขันธ์ห้านี้เกิดแล้วดับไปตลอดเวลา เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่อาจเอาขันธ์ห้าไปยึดถือขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ได้ เมื่อกกระทบหรือสัมผัสกับสิ่งใดทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เพียงสักแต่ว่าสัมผัส จะทำให้ไม่เกิดตัวตนของผู้ยึดถือซึ่งเป็นกายโปรงแสงรูปร่างเหมือนตัวเรา หรือเกิดเป็นจิตหรือวิญญาณเป็นตัวตนซ้อนกายเนื้อ (ขันธ์ห้า) ขึ้นมาอีกตัวหนึ่ง จะมีแต่เพียงกายเดียวจิตเดียว คือ ขันธ์ห้า เมื่อใดที่ขันธ์ห้าแตกดับหรือตายลง ก็จะไม่มีจิตหรือวิญญาณที่เป็นกายโปร่งแสงรูปร่างเหมือนตัวเราเหลืออยู่ให้ต้องรับกรรม หรือไปเกิดในร่างใดๆ อีกต่อไป



ถ้าจะเปรียบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่มากระทบกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รวมทั้งความรู้สึก นึก คิด และอารมณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง เป็นเหมือนเสียงโทรศัพท์ที่ดังขึ้น ถ้าไม่มีผู้รับ (ไม่มีจิตหรือวิญญาณเป็นตัวเป็นตนหรือเป็นกายโปร่งแสงออกไปรับ) เสียงโทรศัพท์นั้นก็ดับไปเอง หรือเรียกว่า "รู้เปล่าๆ" หรือ "สักแต่ว่ารู้" หรือ "รู้แต่ไม่สนใจ" จิตก็จะปลอดโปร่งแจ่มในเบิกบานอยู่ และจะมีแต่ความสุขอย่างยิ่ง สมดังพุทธพจน์ที่ว่า



"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ทั้งมวลมีมูลรากมาจาก ตัณหา อุปาทาน ความทะเยอทะยานอยากดิ้นรนและความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเรา รวมถึงความเพลินใจในอารมณ์ต่างๆ สิ่งที่เข้าไปเกาะเกี่ยวยึดถือไว้โดยความเป็นตนเป็นของตนที่จะไม่ก่อทุกข์ก่อโทษให้นั้นเป็นไม่มี เมื่อใดบุคคลมาเห็นสักแต่ว่าได้เห็น ฟังสักแต่ว่าได้ฟัง รู้สักแต่ว่าได้รู้ เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เพียงสักแต่ว่า ไม่หลงใหลพัวพันมัวเมา เมื่อนั้นจิตก็จะว่างจากการยึดถือต่างๆ ปลอดโปร่งแจ่มใสเบิกบานอยู่



"สักแต่ว่ารู้" หรือ "รู้แต่ไม่สนใจ" ไม่มีตัวตนของผู้รู้ "รู้เปล่าๆ"


ยิ้มเห็นฟัน สาธุ ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2006, 6:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สรุปให้รู้เพียงชั้นเดียว:คลายทุกข์ คลายเครียด


ถ้าเห็นอะไร ได้ยินอะไร รู้กลิ่นอะไร ลิ้มรสอะไร สัมผัสอะไร หรือ คิดอะไร ก็ปล่อยให้จิตเขารู้ หรือจิตคิดไปตามปกติธรรมชาติเพียงชั้นเดียว ต่อเมื่อจะคิดปรุงแต่งให้เกิดกิเลสตัณหา หรือความทุกข์ ก็รู้เท่าทันเอา ไม่ใช่ไปคอยดักรู้เท่าทันไว้ เพื่อไม่ให้คิดปรุงแต่งในทางกิเลสตัณหาหรือความทุกข์ และจะต้องไม่คอยรู้เท่าทันไว้เพื่อไม่ให้เกิดอารมณ์ ราคะ โทสะ โมหะ จะทำให้ไม่พ้นทุกข์ได้ หรือ คอยเข้าไประวังจิตไม่ให้มีอารมณ์ ราคะ โทสะ โมหะ นั้น เป็นความทุกข์และ

ให้เหลือแต่ "รู้" (รู้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์) เพียงชั้นเดียว หรือ รู้ความรู้สึก ความนึกคิด และอารมณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้เพียงชั้นเดียว ไม่คิดปรุงแต่งใดๆ ซ้อนจิตรู้ หรือจิตคิดขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง หรือ เรียกว่า "สักแต่ว่ารู้" หรือ "รู้เปล่าๆ "

ซึ้ง ยิ้มแก้มปริ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2006, 9:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“ดูผู้รู้”

พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

((( http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=5665 )))

สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2006, 9:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รู้ตัวแบบลืมตัว ลืมตัวแบบรู้ตัว : เขมานันทะ


ในความรู้สึกตัว เมื่อเริ่มปฏิบัติ จะมีความรู้สึกตัว แบบทึบๆ หนักๆ คือรู้สึกตัวได้ดีแล้ว แต่มันยังหนักอยู่ แต่ถ้าปฏิบัติต่อไป มันค่อยๆ กลายเป็นรู้ตัวล้วนๆ รู้ล้วนๆ ไปทีละน้อย เบากายเบาใจไปเรื่อยๆ ที่เราจับการเคลื่อนไหวนั้นเพื่อจะรู้สึกตัว หรือเรารู้สึกตัวในการเคลื่อนไหว เป็นการเสริมกัน แต่ถ้ารู้ตัวมากเกินไปก็จะกลายเป็นจ้องมองตัวเอง แล้วมันจะเครียดขึ้น ดังนั้นภาวะที่เราปรารถนาจริงๆ คือสมดุลระหว่างรู้ตัวและลืมตัว ลืมตัวแบบรู้ตัว รู้ตัวแบบลืมตัว นี่สำคัญ


ถ้าเราพยายามจะรู้ตัวตลอด ยึดติดกับปัจจุบันขณะ จะอึดอัด ชาวพุทธมักเข้าใจว่า นิพพานเป็นปัจจุบัน แล้วพยายามปฏิบัติเพื่ออยู่ในปัจจุบันขณะ นั่นเป็นความยึดติด นิพพาน ไม่เป็นอดีต ไม่เป็นอนาคต ไม่เป็นแม้แต่ปัจจุบัน แต่ปัจจุบัน เป็นฐานของการภาวนา เราต้องตั้งฐานที่ปัจจุบันขณะก่อน ต้องละแม้แต่ปัจจุบัน เพระฉะนั้น ความรู้สึกตัวของเราต้องเป็นความรู้สึกเบาๆ ท่านคงปฏิเสธไม่ได้ว่า วันที่เราสบายที่สุดคือเราเดินแล้วลืมตัว แต่เราไม่ได้บ้า


รู้ตัวแบบลืมตัว ภาวะเช่นนี้เป็นเป้าหมายหลักของเรา เพราะที่ตรงนี้ กฎธรรมชาติจะทำกิจของการปลดปล่อยเอง สัญชาติญาณของความไม่ประสงค์ทุกข์จะทำงานเอง



ซึ้ง สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2006, 9:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รู้ตัวแบบลืมตัว ลืมตัวแบบรู้ตัว : สุรวัฒน์


รู้ตัวแบบลืมตัว ลืมตัวแบบรู้ตัว...เป็นเพียงสำนวนทางธรรม ที่มีความหมายถึง การทำความรู้ตัวที่ปราศจากความจงใจ เมื่อมีความรู้ตัวอย่างไม่จงใจ ก็จะเกิดเป็นการรู้ที่แท้จริง เป็นการรู้ด้วยจิตที่สมบูรณ์ไปทั้งสติและสัมปชัญญะ เป็นการรู้ที่พอเหมาะในการเจริญสติปัฏฐาน 4 ต่อไปครับ


ผมไม่ได้ใช้วิธีกำหนดอารมณ์ใดเป็นการเฉพาะไม่ว่าจะเป็นกาย เวทนา จิต หรือธรรม แต่จะปล่อยให้จิตเขาทำหน้าที่รับรู้สิ่งต่างไปตามธรรมชาติที่ควรจะเป็น แล้วผมก็เพียงทำความรู้ตัวในขณะที่จิตรับรู้อารมณ์นั้นๆ ดังนั้นหากมีการเคลื่อนไหวทางกายที่เด่นชัดก็จะรู้การเคลื่อนไหวด้วยความรู้ตัว หากมีลมหายใจเกิดขึ้นเด่นชัด ก็รู้ลมหายใจด้วยความรู้ตัว หากมีเวทนาเกิดขึ้นเด่นชัด ก็จะรู้เวทนาด้วยความรู้ตัว หากเกิดไปรู้ว่าจิตเป็นอย่างไรอย่างเด่นชัด ก็จะรู้ว่าจิตเป็นอย่างนั้นด้วยความรู้ตัว หากเกิดไปรู้ว่าธรรมเป็นอย่างไรอย่างเด่นชัด ก็จะรู้ธรรมนั้นด้วยความรู้ตัวครับ


การที่เราพยายามจะรู้ลงเฉพาะอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนั้น จะทำให้กลายเป็นเพ่งได้ง่าย แต่การปล่อยการรับรู้ไปตามที่ควรจะเป็น ก็จะทำให้เป็นการเผลอได้ง่ายเช่นกัน ตรงจุดนี้ต้องหาจุดที่พอเหมาะเอาเองว่าควรทำอย่างไร จึงจะทำให้เกิดเป็นการรู้อารมณ์ได้อย่างไม่เพ่งไม่เผลอ แต่ที่สำคัญคือ ไม่ควรบังคับให้จิตรู้อารมณ์เพียงอย่างเดียว หรือไม่ควรบังคับจิตให้เป็นอย่างนี้อย่างนั้น เพราะการบังคับจิตจะเป็นการฝืนความเป็นอนัตตาของจิต ซึ่งเป็นเหตุให้การปฏิบัติไม่ก้าวหน้าไปสู่ความพ้นทุกข์ครับ


ติดรู้ ยึดรู้ : สุรวัฒน์


เมื่อยังมีสักกายทิฏฐิ ก็ย่อมยังเห็นผิดไปว่า กูรู้ หรือเรารู้ ส่วนการจะทำให้สักกายทิฏฐิสูญสิ้นไปนั้นสามารถทำได้ด้วยการเจริญสติสัมปชัญญะ ทำความรู้จริงเห็นจริงให้ได้ว่า ความเป็นเรา (ความเป็นกู) นั้น เป็นเพียงความคิดปรุงแต่งอย่างหนึ่ง หาใช่ตัวตนแต่อย่างใด โดยในขณะที่เจริญสติสัมปชัญญะอยู่นั้น ผู้ปฏิบัติก็จะเห็นถึงความเป็นเราได้เป็นช่วงๆ เมื่อมีความเป็นเราปรากฏขึ้น ก็ให้รู้ความเป็นเรานั้นด้วยจิตที่เป็นกลาง (ไม่ใช่ทำลายล้างความเป็นเรา) จนกว่าจิตจะเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า ความเป็นเรานั้นเป็นเพียงความคิดปรุงแต่งไม่ใช่ตัวตนแต่อย่างใด เมื่อจิตเห็นอย่างแจ่มแจ้งก็จะสามารถละความเห็นผิดต่อความเป็นเราไปได้เองครับ


สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2006, 9:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สภาวะทุกอย่างเสมอภาคกัน : สันตินันท์


การเห็นสภาวะที่หยาบหรือละเอียด ธรรมะภายใน ธรรมะภายนอก ธรรมะที่เป็นกุศล อกุศล ธรรมะที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ก็เสมอภาคกัน คือทั้งหมดเกิดและดับ ไม่ใช่ว่าต้องทำให้ละเอียดขึ้นๆ จึงจะบรรลุธรรม บางวันมันก็หยาบ บางวันมันก็ละเอียด เพราะว่าทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของอนัตตา ทั้งหมดเลย สติก็เป็นอนัตตา บางวันก็หยาบ บางวันก็ละเอียด บางวันก็ไม่มีเลย เขาเกิดขึ้นมาจะเป็นยังไงก็ได้ เราเรียนไม่ใช่เพื่อว่าจะเอาดี ไม่ใช่ว่าเราอยากได้สติเยอะๆ เราไม่ได้เรียนเอาตรงนั้นหรอก แต่เราเรียนจนกระทั่งจิตมันเกิดความเข้าใจ ว่าทุกอย่างบังคับไม่ได้ สติจะเกิดหรือไม่เกิด จะหยาบหรือละเอียด เราก็เลือกไม่ได้ ไม่ได้เรียนเอาดีนะ แต่เรียนเพื่อที่จะเห็นว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น ธรรมะที่หยาบเกิดขึ้นแล้วก็ดับ ธรรมะที่ละเอียดเกิดแล้วก็ดับ เสมอภาคกัน เรียนเพื่อให้เข้าใจตรงนี้เอง ในที่สุดก็เข้าใจว่า ทุกสิ่งที่เกิดล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น พระโสดาบันรู้แค่นี้เอง



สาธุ สาธุ สาธุ ซึ้ง
 
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2006, 9:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลวงตาบัว


ธรรมชาติของจิต จะไปหยุดนิ่งอยู่นานๆ ไม่ได้เดี๋ยวมันก็คิด ในช่วงนั้นถ้าเกิดความคิดขึ้นมาปล่อยให้คิดไป แต่ให้มีสติตามรู้ สิ่งที่มันคิดนั้นจะเป็นอะไรก็ได้เรื่องครอบครัว เรื่องการเรื่องงาน เรื่องผู้เรื่องคน จิปาถะสารพัดที่จะคิดขึ้นมา เมื่อมันคิดขึ้นมาอย่างนั้น ปล่อยให้คิดไป แต่ให้มีสติกำหนดตามรู้ รู้ รู้ เป็นการส่งเสริมให้จิตของเรามีพลังเข้มแข้ง เพราะความคิดเป็นอาหารของจิต ความคิดเป็นการบริหารจิตให้เกิดสติปัญญาจินตามยปัญญา ปัญญาเกิดขึ้นได้จากความคิด เมื่อจิตมีความคิด สติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ทุกขณะจิต ความคิดสะเปะสะปะเหลวไหลนั่นแหละจะกลายเป็นปัญญาในสมาธิ เพราะจิตของเราคิดแล้วจะรู้สึกแต่เพียงสักแต่ว่าคิด คิดแล้วก็ปล่อยวางไปๆ เมื่อสติสัมปชัญญะมีพลังแก่กล้าขึ้นกลายเป็นปัญญา เมื่อมีปัญญาก็สามารถกำหนดหมายรู้ความคิดว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วก็รู้พระไตรลักษณ์ขึ้นมา ก็กลายเป็นปัญญาในขั้นวิปัสสนาเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น จะไปข้องใจสงสัยอยู่ทำไมหนอรีบเร่งบำเพ็ญภาวนาให้มากๆ ให้ได้สมาธิเป็นเบื้องต้น

ทีนี้ถ้าหากว่าท่านผู้ใดขี้เกียจ หรือไม่มีอะไรจะคิดก็ให้กำหนดจิตรู้ที่จิตเฉยๆ ถ้าจิตว่างรู้ที่ความว่าง ถ้าจิตคิดรู้ที่ความคิด ว่างรู้ที่ความว่าง คิดรู้ที่ความคิด ไล่ตามกันไปอย่างนี้ เมื่อเราฝึกหัดจนคล่องตัว จนชำนิชำนาญ ทีหลังเราอาจจะไม่ได้ตั้งใจกำหนดรู้อารมณ์จิตหรือความคิด สติก็ทำหน้าที่ตามรู้คอยควบคุม เมื่อมีสติสัมปชัญญะ จิตของเราก็รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อะไรผิด อะไรถูก มันจะรู้ของมันขึ้นมาเอง

เมื่อพิจารณาไปพอสมควรแล้ว บางครั้งจิตอาจจะสงบลงในท่ามกลางแห่งภาวนา แล้วก็หยุดพิจารณา เมื่อมันหยุดพิจารณา ไปนิ่ง รู้เฉยอยู่ ให้กำหนดตัวผู้รู้ ในขณะกำหนดตัวผู้รู้ จิตจะหยุด นิ่งอยู่ ก็กำหนดรู้อยู่อย่างนั้นแหละ อย่าไปรบกวน น้ำใจกำลังจะนิ่ง ในเมื่อน้ำใจนิ่ง ไม่มีคลื่นไม่มีฟอง ไม่มีอารมณ์มารบกวน เราก็จะสามารถเห็นจิตเห็นใจของเราได้ทะลุปรุโปร่ง เหมือนๆ กับน้ำทะเลที่มันนิ่ง เราสามารถมองเห็น เต่า ปลา กรวด ทราย สาหร่าย อยู่ใต้น้ำได้ถนัด ฉันใด ในเมื่อจิตของเรานิ่ง รู้ ตื่น เบิกบาน เราก็สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ในจิตของเราได้อย่างชัดเจน อะไรผุดขึ้นมา จิตจะกำหนดรู้เองโดยอัตโนมัติ



สาธุ สาธุ สาธุ ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2006, 10:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดู-เพ่ง-รู้ : หมอกำพล


ขณะนี้ที่เป็นอยู่คือ รู้สึกตัวเฉยๆ อยู่ เมื่อมีอารมณ์ ความคิดใดๆ แล้วจิตเข้าไปรู้ความคิดหรืออารมณ์นั้น เราก็จะเห็น อาการที่จิตเข้าไปรู้ปรากฏการณ์นั้นๆ ได้ แต่ไม่ทุกครั้ง บางทีเห็นอาการขยับ หรือไหวตัวของจิต บางทีมีความคิดสำเร็จรูปแล้วจึงเข้าไปรู้ก็มี อาการที่รู้ บางทีรู้แบบเข้าไปจับดู แต่เมื่อเห็นอาการที่จิตเข้าไปรู้แบบจับ (ในภาษาที่ใช้คือรู้แบบเข้าไปอยู่ เข้าไปเป็น ซึ่งรู้แบบนี้เราจะรู้สึกได้ถึงความร้อนหรือความหนักของอารมณ์นั้นๆ โดยเฉพาะความไม่พอใจเป็นต้น ถ้ายิ่งจับ หรืออยู่นานเท่าไหร่ อารมณ์นั้นยิ่งดับช้าและเราก็จะร้อนอยู่นานตามไปด้วย อารมณ์นั้นๆ จะไม่สามารถแสดงธาตุแท้ของเขาคือไตรลักษณ์ให้เราเห็นได้ ยิ่งรู้แบบจับ-อยู่ถ้าเป็นอารมณ์ที่พอใจเราก็จะเพลิน(นันธิ) โอกาสในการปรุงแต่งเป็นอย่างอื่นต่อไปยิ่งมากครับ)

เราจะพบอาการที่จิตปล่อยอารมณ์นั้นๆ ออกมารู้อยู่เฉยๆ สิ่งปรากฏนั้นก็จะดับไปในขณะใกล้เคียงกันนั้น เราจึงสัมผัสรู้ได้ว่าความแตกต่างระหว่างการรู้แบบเข้าไปอยู่ กับการรู้แบบเห็นหรือดูเฉยๆ เป็นอย่างไร สิ่งสำคัญคือเราเห็นขบวนการทำงานของจิตได้ชัดเจนขนาดใหน ผมเข้าใจว่าขึ้นกับเรามีความรู้สึกตัวที่เป็นความรู้สึกตัวจริงๆ ที่เป็นกลางจริงๆ หรือไม่ เพราะถ้าเป็นความรู้สึกตัวจริงๆสิ่งปรากฏนั้นจะตั้งอยู่ไม่ได้เพราะเหตุปัจจัยที่ทำให้เขาเกิดหมดไป เหมือนขโมยที่แฝงมากับความมืด เมื่อเราเปิดไฟสว่างขโมยก็อยู่ไม่ได้ฉันนั้นเหมือนกัน การที่ขโมยมันจะไปช้า ไปเร็วเป็นเพราะเราเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสภาวะธรรมนั้นๆ เองต่างหาก ไตรลักษณ์จึงไม่ปรากฏ จิตก็เลยไม่ได้รู้ธรรมชาติที่แท้จริงของสภาวะธรรมนั้นๆ พอใจ ก็คลุกคลีอ้อยอิ่ง ไม่พอใจก็ผลักใส เป็นอยู่เช่นนี้แล้วๆ เล่าๆ

ผมเจริญสติโดยใช้เทคนิคของหลวงพ่อเทียน คือให้รู้สึกอยู่กับกายเคลื่อนไหวจนชำนาญดีพอแล้วจึงตั้งเป้ามาดูความคิด หรือดูจิตหรือดูอารมณ์ โดยใหม่ๆ แล้วพอเราเห็นความคิดหรืออารมณ์ จิตเราจะต้องเข้าไปจับ (เพื่อสิกขา) เพราะมันยังไม่รู้ในสิ่งปรากฏนั้น หรืออีกคำอธิบายหนึ่งก็คือสติเรายังไม่เข้มแข็งพอที่จะตั้งหลักดูเฉยๆ อยู่ได้ มันจึงถูกอารมณ์นั้นๆ ดูดเข้าไป ในการเข้าไปจับหรือรู้อารมณ์ใหม่ๆ จะเป็นผู้เป็นอยู่พักหนึ่ง ขณะนั้นตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา ก็จะอยู่ในนั้นด้วยจนกว่าเราจะถอน หรือวางอารมณ์นั้นออกมาเป็นผู้เห็นหรือผู้ดูได้ ตัวตนของเราก็จะหมดไป ทุกข์เราจะลดลงจริงๆ ก็ตรงนี้แหล่ะครับ

โดยปกติแล้วกิริยาใดๆที่เกิดทางวาจาหรือทางกาย ต้องมีความคิดเกิดขึ้นก่อนเสมอ ไม่ว่าจะเป็นกุศล-อกุศล หรือกลางๆ ตัวที่จะทำให้เกิดสุขหรือทุกข์ก็คือความคิดนี้แหล่ะครับ โดยเฉพาะทุกข์ใจ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่กระตุ้นให้คนเราหันมาสนใจศึกษาพุทธศาสนาและลงมือปฏิบัติธรรมกันในที่สุด (เป็นส่วนใหญ่)

ความคิดที่เกิดแต่ละครั้งต้องมีเหตุปัจจัยให้เกิด ผ่านการกระทบสัมผัสทางอายตนะ มาปรากฏทางมโนทวาร เป็นต้น แต่ละความคิดที่เกิดหากเราไม่ศึกษา (สิกขา) ให้ดี เราจะเห็นความคิดเป็นดุ้น เป็นก้อน มีตัวตน อยู่ในความคิด มีเราอยู่ในความคิด ความคิดเป็นเรา

เมื่อเราปฏิบัติไปเรื่อยๆ จะพบว่า ความคิดนั้นไม่ได้เป็นดุ้นๆ อย่างที่เราเข้าใจ มันมีส่วนประกอบที่เกิดขึ้นอยู่ คือตัวรู้อันหนึ่ง อาการที่เข้าไปรู้อันนึง และความคิดเป็นอีกอันหนึ่ง รวมทั้งอารมณ์ก็เป็นอีกส่วนประกอบหนึ่งด้วย


สาธุ สู้ สู้ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 13 มิ.ย.2006, 9:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาธรรมทุกท่านครับ สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 15 มิ.ย.2006, 2:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผู้ดู ผู้เป็น : หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ

ก็มาเข้าใจ มาเห็นว่านี่แหละ คือ ทางพ้นทุกข์
นี่แหละ คือ พรหมจรรย์ ภาวะที่ดูนี่ไม่เปรอะเปื้อนกับสิ่งใดเลย
เพราะเราไม่ได้เข้าไปเป็น เราได้แต่ดูอย่างเดียวจึงไม่ข้องแวะ
สามารถผ่านได้ตลอดด้วยการเห็นอย่างบริสุทธิ์

ภาวะเป็นกลาง คือ ไม่สุข ไม่ทุกข์ มีแต่เห็น สุขก็เห็น
ทุกข์ก็เห็น รู้ก็เห็น ไม่รู้ก็เห็น สงบก็เห็น มีอะไรเกิดขึ้นก็เห็นทั้งนั้น
นอกตัว ในตัวก็เห็น ไม่ได้เข้าไปเป็น แม้มีคนว่า ดุด่า นินทา สรรเสริญ
มันจะเกิดอะไรขึ้นก็มีแต่ดู จะร้อน จะหนาว จะหิว ก็มีแต่ดูเท่านั้น

ภาวะที่ดูนี้จึงทำให้คล่องตัวที่สุดทำให้เราผ่านได้ตลอด
ภาวะที่ดู ภาวะที่เห็น ทำให้เรารู้สึกอิ่ม รู้สึกพอเพียง ไม่พร่อง ไม่ขาด
เราจะเป็นทุกข์ได้อย่างไร ดังนั้น เมื่อมีคุณธรรมอยู่ในตัวเราทั้งหมด
เราก็ไม่หลง เราก็ละชั่วและทำความดี จิตก็บริสุทธิ์อยู่
ภาวะที่ดูจะช่วยย่นย่อให้ได้เข้าใจ สามารถทำให้พ้นทุกข์ได้
ถ้าจะว่าไปก็คือ ธรรมกำมือเดียว


สาธุ สาธุ สาธุ
ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 15 มิ.ย.2006, 2:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แนวทางการปฏิบัติธรรม ของอุบาสิกา กี นานายน

ผู้ปฏิบัติควรศึกษาให้เข้าใจเป็นลำดับไป ดังนี้

การศึกษาที่เรียนรู้ได้ง่าย ทำได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกกาล ทุกขณะได้ผลทันที ไม่ต้องรอรับผลข้างหน้า ก็คือ ศึกษาในห้องเรียน กล่าวคือในร่างกายยาววา หนาคืบ มีสัญญาใจครอง ในร่างกายนี้มีสิ่งที่น่าเรียนรู้ตั้งแต่ขั้นหยาบจนถึงขั้นละเอียด

ขั้นของการศึกษา

ก.เบื้องต้นให้รู้ว่า กายนี้ประกอบขึ้นด้วยธาตุต่างๆ ส่วนใหญ่ได้แก่ดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วนย่อย ได้แก่ ส่วนที่จับติดอยู่กับส่วนใหญ่ เป็นต้นว่า สี กลิ่นลักษณะ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มีลักษณะไม่คงทน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เต็มไปด้วยของปฏิกูล พิจารณาให้ลึกจะเห็นว่าไม่มีอะไรเป็นแก่นสารมีแต่สภาพธรรมล้วนๆ ไม่มีภาวะที่ควรเรียกว่า “ตัวเรา ของเรา” เมื่อตามเห็นกายอยู่อย่างนี้ชัดเจนก็จะคลายความกอดรัด ยึดถือในกายว่าเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขาเป็นนั่น เป็นนี่เสียได้

ข.ขั้นที่สองในส่วนของนามธรรม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณกำหนดให้รู้ตามความเป็นจริง ล้วนเป็นเอง ในลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปคือ เกิดๆ ดับๆ เป็นธรรมดา พิจารณาเห็นจริงแล้วจะคลายความยึดถือในนามธรรมว่าเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขา เป็นนั่น เป็นนี่ เสียได้

ค.การศึกษาขั้นปฏิบัติ มิได้หมายเพียงการเรียน การฟัง การอ่านเท่านั้น ต้องการปฏิบัติให้เห็นประจักษ์แจ้งด้วยจิตใจตนเอง ด้วยการ

๑. ปัดเรื่องภายนอกทั้งหมดทิ้งเสียก่อน มองย้อนเข้าดูจิตใจตนเอง(จนรู้ว่ามีความแจ่มใส หรือมัวหมอง วุ่นวายอย่างไร) ด้วยความมีสติสัมปชัญญะกำกับ รู้กาย รู้จิตใจ อบรมจิตทรงตัวเป็นปรกติ

๒. เมื่อจิตทรงตัวเป็นปรกติได้ จะเห็นสังขาร หรืออารมณ์ทั้งหลายเกิดดับ เป็นธรรมดาจิตจะว่างวางเฉย ไม่ยินดียินร้าย และเห็นรูปนามเกิดดับเองตามธรรมชาติ

๓. ความรู้ว่าไม่มีตัวตนแจ่มชัดเมื่อใด จึงจะพบเข้ากับสิ่งที่มีอยู่ภายในเป็นสิ่งที่พ้นทุกข์ ไม่มีการหมุนเวียน เปลี่ยนแปลง เป็นอมตะ ไม่มีความเกิดความตาย สิ่งที่มีความเกิดย่อมมีความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นธรรมดา

๔. เมื่อเป็นความจริงชัดใจแล้ว จิตจะวาง ไม่เกี่ยวเกาะอะไร แม้ตัวจิตเองก็ไม่สำคัญว่าเป็นจิต หรือเป็นอะไร คือ ไม่ยึดถือตัวเองว่าเป็นอะไรทั้งหมด จึงมีแต่สภาพธรรมล้วนๆ เท่านั้น

๕. เมื่อบุคคลมองเห็นสภาพธรรมล้วนๆ อย่างแจ่มแจ้ง ย่อมเบื่อหน่ายในการทนทุกข์ ซ้ำๆ ซากๆ เมื่อรู้ความจริงฝ่ายโลกและฝ่ายธรรมตลอดแล้วจะเห็นผลประจักษ์ว่า สิ่งที่หลุดพ้นจากทุกข์นั้นมีอยู่อย่างชัดเจนโดยไม่ต้องเชื่อตามใครไม่ต้องถามใครอีก เพราะพระธรรมเป็นปัจจัตตัง คือ รู้เฉพาะตนจริงๆ ผู้ที่มองเห็นความจริงด้านในแล้ว จะยืนยันความจริงอันนี้ได้เสมอ


สาธุ สาธุ สาธุ _ ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 16 มิ.ย.2006, 6:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สายธารแห่งอารมณ์
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=5598&highlight=
ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 18 มิ.ย.2006, 12:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เลียบๆ เคียงๆ เมียงมอง
http://larndham.net/wimutti/board/D00000085.html
ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2006, 12:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ

ขออนุโมทนาสาธุ ด้วยครับ

ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 22 มิ.ย.2006, 7:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลบ
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"

แก้ไขล่าสุดโดย พิชชาธร เมื่อ 12 ก.ค.2006, 4:11 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2006, 11:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไตรลักษณ์ (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

ไตรลักษณ์ คือ สามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน(ร่วมกัน)ของสังขารทั้งปวง เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ได้แก่

อนิจจตา - ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป
ทุกขตา - ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว
อนัตตตา - ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง

สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์

ไตรลักษณ์ แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดาตลอดทุกเวลา แต่คนทั่วไปก็มองไม่เห็น ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่งปิดบังคอยซ่อนคลุมเอาไว้ ถ้าไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้องก็มองไม่เห็น สิ่งที่เป็นเหมือนเครื่องปิดบังซ่อนคลุมเหล่านี้ คือ

อนิจลักษณะ มี สันตติ (การสืบต่อเนื่อง) เป็นตัวปิดบัง - การที่ไม่เห็นความไม่เที่ยงแท้ ก็เพราะมีการสืบต่อเนื่องปิดบัง เช่น จิต เกิดดับตลอดเวลา แต่ยังเห็นเป็นจิตเดิม เพราะมันเกิดดับสืบต่อเนื่องกันไป

ทุกขลักษณะ มี อิริยาบถ (ท่าทาง) เป็นตัวปิดบัง - ทันทีที่ทุกขลักษณะแสดงตัว ธรรมชาติก็จะตอบสนองโดยการเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อปิดบังทุกขลักษณะ

อนัตตลักษณะ มี ฆน (ความเป็นกลุ่มก้อน) เป็นตัวปิดบัง - ที่ไม่เห็นอนัตตลักษณะ แต่เห็นเป็นกลุ่มก้อน เช่น ชีวิต เห็นเป็นตัวตน ไม่เห็นเป็นขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพราะทั้ง 5 จับเป็นกลุ่มก้อน

ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2006, 11:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลวงพ่อแช่ม วัดบ้านดาบ จ.นครสวรรค์

"...แม้ตัวรู้ที่เข้าไปรู้ว่าอะไรๆ ก็ไม่จริง ก็เป็นธาตุรู้ที่รู้ขึ้นมาตามเหตุของโลกเขา จะยึดถือหรือประคองให้ยืนรู้อย่างถาวรไม่ได้ ต้องปล่อยให้เขาทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระตามเหตุตามปัจจัยที่มี ในที่สุดทุกสิ่งจะเข้าสู่สภาวะที่ว่างจากตัวตนหมด จึงไม่มีอะไรที่จะยึดถือมาเป็นของตนได้เลย..."

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2006, 3:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปฏิปัตติวิภัชน์

ผ. ถามว่า การปฏิบัติก็มุ่งต่อความพ้นจากกิเลส แต่ทำไมตั้งใจจะละอาสวะให้หมดไป จึงไม่หมดไปได้อย่างใจ

ฝ. ตอบว่า อาสวะเป็นกิเลสที่ไม่ประกอบด้วยเจตนา ต้องอาศัยอริยมรรคที่เป็นกุศลพ้นเจตนาจึงละไว้ได้ การตั้งใจละนั้นเป็นกุศลที่ประกอบด้วยเจตนา เพราะฉะนั้นจึงละอาสวะไม่ได้ คงละได้แต่กิเลสที่ประกอบด้วยเจตนา แต่ก็ละได้ชั่วคราว ภายหลังอาจเกิดขึ้นได้อีก เพราะเป็นโลกิยกุศล

ผ. พูดว่า อ้อ อย่างนี้นี่เล่า ข้าพเจ้าไม่รู้ว่ากิเลสที่ไม่ประกอบด้วยเจตนา ต้องละด้วยกุศลที่พ้นจากเจตนา คือ อริยมรรค ส่วนกิเลสที่ประกอบด้วยเจตนา เป็นกรรมวัฏฝ่ายบาป ต้องละด้วยกุศลที่ประกอบด้วยเจตนา ซึ่งเป็นกรรมวัฏฝ่ายบุญ

ฝ. พูดว่า ถ้าตั้งใจจะละอาสวะได้ง่าย ๆ เหมือนอย่างตั้งใจทำกรรมวัฏฝ่ายบุญแล้ว พระอรหันต์ก็คงหาได้ง่าย ๆ ในโลก พระอริยสงฆ์คงไม่น่าอัศจรรย์เท่าไหร่ แม้พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี เสขบุคคล ๓ จำพวกนี้ก็ต้องอาศัยอริยมรรค ซึ่งเป็นกุศลที่พ้นจากเจตนา จึงจะฆ่าสังโยชน์ได้

http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_mun/lp-mun_04.htm

ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
เรียนคุณพิชชาธรครับ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ม.ค. 2007, 12:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คือว่าผมอยากจะเริ่มการนั่วสมาธิ และเข้าฌานนะครับ พอดีว่าเพิ่งเริ่มศึกษาอย่างจริงจัง ครับ
ผมอยากจะขอคำแนะนำหน่อยอะครับ ผมมีปัญหาอยู่อย่างครับคือเวลาผมหากระทู้ต่างๆ ใน Net ส่วนใหญ่เค้าจะพูดถึงคำศัพท์ทางพุทธศาสนาซึ่งผมไม่ค่อยเข้าใจครับ
ผมอยากให้ทางพี่แนะนำขั้นตอนที่เร็วที่สุดให้หน่อยอะครับ จะเป็นพระกรุณาอย่างยิ่งเลยครับ
ขอบคุณมากนะครับ
mile_rua@scmatchbox.com
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง