Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 “รู้” ทับ “สิ่งที่รู้” อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 03 มิ.ย.2006, 12:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จะสอนคนอื่นอย่างไร และ “รู้” ทับ “สิ่งที่รู้”

คัดลอกมาจาก --> http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y4334682/Y4334682.html

ต้องทำความเข้าใจกันตั้งแต่แรกก่อน ผู้ที่จะเข้าใจได้ในบทความนี้ คือ ผู้ที่แสวงหาความจริง ผู้ใดที่อิงตำรา เชื่อคำครูบาอาจารย์ กรุณาหยุดอ่านเพียงย่อหน้านี้ เพราะมันจะเสียเวลาของท่าน และท่านจะขัดแย้งในใจทุกแง่มุม

ถ้าท่านสมัครรักใคร่ ที่จะหลบอยู่ ในที่หลบฝนกำบังลม เพราะหลายๆคนทำกัน มีเขียนบอกไว้ว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด ถูกต้องที่สุด เชิญเถิด หลบอยู่ภายใต้ปกหนานั้น ตลอดชีวิต ใช้ปกนั้นเป็นที่คุ้มครองคุ้มภัย ต่อความเชื่อมั่นของท่าน รู้จักแต่วิธีใช้ชีวิต อยู่บนแผ่นกระดาษ ที่แม้แต่จะลงหมึกเอง ก็ทำไม่ได้

จริงๆแล้วไม่ใช่ประเด็นที่ควรนำมากล่าว แต่นั้นเพราะบุคคลเหล่านั้น เอาสิ่งที่ตนเชื่อว่าถูก มาสอนคนอื่นๆ แทนที่จะเอา สิ่งที่ตนเองเป็น มาถ่ายทอด

เมื่อท่านรู้ว่าพลาด ก็บอกคนอื่นไปตรงๆ ว่า อย่างนั้นมันผิดอย่าได้ทำอย่างเรา แต่นี่ท่านรู้อะไร ท่านก็พยายามยัดให้คนอื่น รู้อย่างที่ท่านรู้ ท่านอ่านมันมา แล้วท่านตรวจสอบมันด้วยชีวิตของท่านหรือยัง ท่านกล้ารับรองสิ่งที่ท่านกล่าวออกมา รับปากต่อสิ่งที่ท่านสอนคนอื่นได้ โดยมีชีวิตท่านเองเดิมพันอยู่ทัพหน้าหรือไม่

การสอนธรรม ไม่ใช่การกล่าวกันออกมาลอยๆ เพราะท่านกำลังสอนชีวิตคนอื่นด้วยชีวิตของท่าน ซึ่งมันเป็นงานที่ยากและท้าทายอย่างยิ่งยวด เพราะท่านกำลังเดิมพันมันด้วยชีวิตของคนที่ท่านสอน

เมื่อท่านจะสอนใคร จงสอนเค้าจากสิ่งที่ท่านเป็น ที่ท่านพิสูจน์แล้ว ลองแล้ว ผ่านแล้ว และสำคัญที่สุดคือ ท่านสอนตัวเองได้หรือยัง จากนั้นจงใช้ใจของท่านถ่ายทอดออกไป ให้มันออกมาจากส่วนลึกของก้นบึ้งหัวใจท่านจริงๆ ใช้วาจาของท่าน ใช้สำนวนของท่าน อย่างที่ท่านเป็น ไม่มีพะว้าพะวง ไม่มีการลังเลใจ เมื่อท่านทำดังนี้ได้ ท่านจึงจะมีค่าพอที่จะสอนคนอื่น

แม้ว่าข้าพเจ้าจะทราบดีว่า จะมีคนเป็นจำนวนน้อยถึงน้อยมากที่จะสามารถเข้าใจความหมายที่แท้ ของสิ่งที่พยายามบอกผ่านตัวหนังสือเหล่านี้ แต่มันก็ยังพอมีประโยชน์อยู่บ้าง ในการคัด เพรชออกจากกรวด แม้ว่าท้ายที่สุดอาจจะไม่มีเพชรที่ถูกคัด แต่มันก็เป็นไปได้ที่กรวดธรรมดาจะกลายเป็นเพชรขึ้นมา


รู้ ทับสิ่งที่ รู้


รู้ ในที่นี้ที่จะกล่าวถึง คือ ตัวรู้ ที่จะเป็นไปเพื่อการดับทุกข์ ในระดับใช้การได้จริง

เวลาที่ท่าน พยายามจะรู้สึกตัว และดูความคิด ท่านจะทำไม่ได้ตลอด แต่ท่านจะยังพยายามจะทำให้ได้ ความเข้าใจของคนที่ปฏิบัตส่วนใหญ่จะเป็นไปในลักษณะนั้น

มันเป็นเรื่องปกติ และเป็นเรื่องธรรมชาติ ที่ในระหว่างดำเนินบนเส้นทางนี้มันจะเป็นอย่างนั้น ท่านจงทำอย่างเดิม แต่ให้ท่าน “ยอมรับ” จากก้นบึ้งของหัวใจท่านว่า การ เผลอคิด นั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ มันเป็นเรื่องธรรมดา

เมื่อท่านยอมรับตรงนี้ สภาวะในใจท่านจะเปลี่ยนแปลง ท่านจะไม่กังวลและไม่สนใจอีก ว่ามันจะคิดจะเผลอหรือไม่ ผลของการเข้าใจตรงนี้ จะปลดท่านออกมาจาก “ความพยายาม” คือท่านจะปฏิบัต โดยไม่หวังผล จะรู้ก็ได้ไม่รู้ก็ได้

บุคคลใดที่มีปัญญาอยู่ระดับนี้ หรือใกล้ระดับนี้ เข้าใจจุดนี้เมื่อไหร่ จิตจะหลุด จิตใจจะล่วงสลาย จากความพยายามทันที เหมือนกับโยนหินที่แบกไว้อยู่นานทิ้งไปเลย

ส่วนการรู้สึกตัวที่จะช่วยท่านได้ คือ การรู้สึกตัว ที่ไม่ใช่ การที่ท่านพยายามไปทำให้มันมีความรู้สึกมากขึ้นๆ หรือ พยายามทำให้มันมีต่อเนื่องตลอดเวลา และไม่ใช่การจับความรู้สึกของอวัยวะบางอย่าง หรือการเคลื่อนไหวบางอย่าง

การรู้สึกตัวแท้ๆ มันคือการที่ท่านทิ้ง ท่านปล่อยทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วเพียงเฝ้ามองมันอย่างโง่ๆ รู้สึกตัวแบบรวมๆ สบายๆ บนสิ่งที่ปรากฏในขณะนั้น ปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปตามวิถีของมัน เท่านั้นเอง มันมีเท่านั้นจริงๆ ไม่ได้พิสดารอะไร ไม่มีรังสี ไม่แสงเหนือธรรมชาติเปล่งประกายจากตัว ไม่มีเพลงบรรเลงประกอบ ไม่มีดอกไม้ร่วงลงมา เงาต้นไม่ไม่ได้กันแดดให้เราในทุกทิศทางที่เราเดิน ไม่มีงูตัวไหนมาแผ่พังพานกันฝนกันหิมะให้เรา มันธรรมดา และแสนจะธรรมดา ซึ่งความธรรมดาไร้เดียงสาอย่างนี้แหละ ที่เราๆท่านๆหลงลืมมันไปนานมาก นับตั้งแต่ที่เราเกิด

ไม่มีสิ่งที่จะต้องทำให้เป็น ไม่มีสภาวะที่ต้องดำรงไว้ ไม่มีอะไรให้ยึดให้จับ ไม่มีแม้แต่ความคิดเช่นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่มีตัวตน มันไม่มีอะไร ไม่เป็นอะไร มันเพียงรู้สึกเท่านั้น

แน่นอนว่าจุดนี้ไม่ใช่ที่สุดของถนนสายนี้ แต่มันเพียงพอแล้วสำหรับใครสักคน ที่ใฝ่หาความจริง จะสามารถใช้มันแก้ความทุกข์ในจิตใจได้ และก้าวเดินต่อไปสู่จุดที่ความรู้สึกจะพาไป โดยไม่สนว่ามันจะพาไปไหน มันไว้ใจในชีวิต เชื่อมั่นในชีวิต และยอมตายเพื่อชีวิต


มันเป็นสิ่งที่ง่าย แต่ที่เราทำกันไม่ได้เพราะเราไปพยายามทำให้เกิดนี่เอง เราไม่เข้าใจว่าความรู้สึกตัวมันมีของมันอย่างนั้นอยู่แล้ว ตั้งแต่ที่เราถือกำเนิดมาแล้ว มีมาจนบัดนี้มีอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่มันมีบางอย่างไปบดบังมันเอาไว้ เราเพียงแค่เปิดมันออก ไม่ใช่ไปพยายามสร้างบางอย่างขึ้นมาทดแทน

จงรู้มันแบบไม่ใส่ใจ พอรู้อะไร ให้ทิ้ง รู้เหมือนไม่รู้ แต่ในความเข้าใจของท่านๆ ท่านจะรู้ตัวแบบ “ใช้ความคิดไปรู้ ว่ารู้สึกตัว” ดังนั้นการวิจารณ์วิเคราะห์ต่อ จึงเกิดขึ้น เพราะ “ไปรู้ว่า” รู้หรือไม่รู้สึกตัว

ธรรมชาติในการรู้ของคนเรา จิตจะจับสิ่งที่ถูกรู้เป็นส่วนๆ เป็นอันๆไป เพียงแต่มันเร็วมาก ในขั้นแรก จิตจะจับการรู้ ของสิ่งที่ชัดที่สุด หรือ ความรู้สึกที่แรงที่สุด สิ่งที่คิดหรือปัญหาหรือความทรงจำที่มีน้ำหนักมากๆ สลับไปๆมาๆ เรื่อยๆ ถ้ารู้ไม่ทันในสิ่งเหล่านี้ การรู้นั้นจะขยายตัวเป็นการ “เข้าไปรู้ในสิ่งที่ถูกรู้” ซึ่งก็คือ การคิด หรือที่เรียกกันว่า “เผลอ” ซึ่งเป็นกระบวนการตามธรรมชาติของมัน

“ธรรม” ไม่ใช่การปฏิบัตที่ฝืนธรรมชาติ แต่มันคือ การใช้ความสามารถของธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในคนทุกคน แก้ปัญหาตามธรรมชาติของคน

มีคนเคยสอนข้าพเจ้าว่า จงใช้ “กิเลส ฆ่า กิเลส” มันก็เรื่องเท่านี้เอง

ให้อาศัย ธรรมชาติของการจับของจิต ไปรู้แบบ “รู้ ทับสิ่งที่รู้” (มันเป็นสมมตพูด)

คือ รู้แล้วทิ้ง แล้วรู้อันใหม่ แล้วรู้อันใหม่กว่า แล้วรู้อันใหม่กว่ากว่า ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เมื่อทำได้อย่างนี้ ท่านจะมีชีวิตอยู่บนปัจจุบันโดยธรรมชาติ และท่านจะไม่ทุกข์ แม้แต่กับทุกข์ในการปฏิบัต ที่คนส่วนมากไม่เข้าใจ และย้งมองไม่ออก ก็จะไม่ทุกข์ไปกับมัน

เมื่อท่านทำอย่างนี้อย่างต่อเนื่อง ความสามารถในการ “จับ” ของจิต จะเริ่มพังทลาย เพราะมันไม่รู้จะจับอะไร มันเกิดเร็วมากและต่อเนื่อง ทันทีที่มันจะเข้าไปรู้สิ่งที่ถูกรู้ มันก็ถูกการรู้สึกตัวในสิ่งอื่นๆแทรกเข้ามา และจากอันอื่นๆอีก แทรกเข้ามาอีก เป็นลูกโซ่ไปเรื่อยๆ มันกระจายการรู้ สภาวะที่เคยรู้เป็นจุดๆ บัดนี้จุดเหล่านั้นลากต่อกันจนเป็นเส้น

ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะใช้คำไหนอธิบายให้ได้ชัดเจนที่สุด มันเพียงรู้แต่มันไม่จับ ถ้าท่านรู้ไม่ทันเมื่อไหร่ มันก็เข้าจับสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้นเอง นี่คือเหตุผลเบื้องต้นที่สุด ว่าทำไม ความรู้สึกตัวถึงเป็นกุญแจดอกที่สำคัญที่สุด ท่านจะต้อง “รู้แบบไม่รู้อะไร” ไม่ใช่ “เข้าไปรู้ในสิ่งที่ถูกรู้”

เหตุที่คนส่วนใหญ่ รู้แบบนี้ไม่ได้นั่นเป็นเพราะ
1. รู้ไม่ทันความคิด
2. ไม่เข้าใจว่าความรู้สึกตัวแท้ๆ เป็นอย่างไร


เมื่อเข้าไปในความคิด จะแบ่งเป็นสองอย่างหลักๆ
1. คือ คิดต่อในเรื่องที่คิด ความคิดดำเนิน คือ เริ่มไม่รู้สึกตัวแบบแท้ๆ
2. คือ วิจารณ์ ไม่น่าเผลอเลย เริ่มโทษตัวเอง ว่าตัวเอง ว่ายังฝึกไม่พอ แล้วกระบวนการ การเข้าใจผิดจะเกิดตรงนี้ คือ ต้องอัดเพิ่ม ต้องตั้งใจมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเพ่ง

ให้สลัดทิ้งให้หมด แต่ไม่ต้องตั้งใจสลัด ให้อาศัยสิ่งที่จิตรู้ รู้ทับสิ่งที่จิตรู้ไปเรื่อยๆ มันจะเร็วมาก และต่อเนื่องอยู่บนการ รู้ทับรู้ ไปเรื่อยๆ โทสะ โมหะ โลภะ จะถูกแก้ อย่างถอนรากถอนโคนที่จุดนี้

คำว่า “รู้” คือ “รู้ทุกอย่างที่เกิดขึ้น” และคำว่า “ทุกอย่าง” หมายถึง “ทุกอย่าง” เมื่อเดินมาถึงตรงนี้ มันไม่มีอะไรเลย จะว่าว่างก็ได้ ไม่ว่างก็ได้ แต่ที่ชัดที่สุดคือ ทุกข์เกิดขึ้นน้อยมาก หรือ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มันจะเกิดกระบวนการ “รู้” ทับ “ความรู้ที่ไปรู้ว่า ทุกข์”

สิ่งที่ข้าพเจ้ารู้นี้ไม่ใช่ว่ารู้อยู่คนเดียว เป็นอยู่คนเดียว พระในเมืองไทยบางคนเค้าก็สอนกันมิใช่หรือ เหตุใดท่านจึงไม่นำมาใช้กันล่ะ

สำหรับข้าพเจ้าแล้ว เราเกิดมาบนยุคที่สะดวกสบาย ทุกอย่างที่จำเป็นต่อชีวิตถูกค้นพบหมดแล้ว เราแค่ “ทำตาม” “อย่างโง่ๆ” เท่านั้นเอง

มัวไปสาละวน อยู่กับ ญาณ หรือ ตัวเองเป็นพระอริยะหรือยัง อยู่นั่นล่ะ มาตรงนี้นี่ สิ่งที่ท่านควรเรียนควรศึกษามันอยู่ตรงนี้ ที่ชีวิตนี่ ไม่ใช่ที่โสดาบัน ไม่ใช่ที่ญาณ นั่นมันสมมตบัญญัต

ท่านศึกษาของจริง หรือท่านศึกษาสมมต ท่านเคยถามตัวเองบ้างหรือไม่


ขอวันนี้ของท่านสวยงามต่อไป

จากคุณ : koknam - [ 2 พ.ค. 49 19:41:32 ]

ซึ้ง แลบลิ้น
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"

แก้ไขล่าสุดโดย พิชชาธร เมื่อ 14 มิ.ย.2006, 11:15 am, ทั้งหมด 5 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 03 มิ.ย.2006, 3:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“รู้” อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย

เมื่อท่านทำความรู้สึกตัว มาจนถึงระดับหนึ่ง ท่านจะเห็นทุกอย่าง ในตัวท่าน เกิดขึ้นจบไป ไม่มีที่สิ้นสุด

ตรงนั้นคือสภาวะที่เรียกว่า “ไตรลักษณ์”

ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนและควบคุมไม่ได้ มันเป็นไปตามสภาวะธรรมชาติของมัน มันเป็น “ทุกขัง อนิจจัง อนันตา” ไม่ว่าท่านจะรู้มันหรือไม่ มันก็เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่ท่าน ถือกำเนิดมาแล้ว

“ทุกขัง” คือ มันติดกับชีวิตท่าน ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นทั้งหมด บนร่างกาย และจิตใจท่านนั่น มันเป็นธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ด้วยการเห็นตรงนี้ ท่านจะเข้าใจว่าทำไมจึงมีคำกล่าวว่า “ทุกสิ่งล้วนเป็นทุกข์”

“อนิจจัง” คือ ไม่เที่ยง คือมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง

“อนัตตา” คือ บังคับไม่ได้ ท่านบังคับสิ่งเหล่านี้ไม่ได้
เพราะความคิดความอยากที่จะบังคับมัน ก็เป็นไตรลักษณ์ด้วย

ถ้าท่านพยายามจะบังคับมัน ให้นิ่ง ให้สงบ หรือไปในทางที่ท่านต้องการ
ท่านจะมีอาการทุกข์ซ้อนทุกข์ แต่ท่านอาจไม่รู้ หลงไปเข้าใจว่า การไปทำให้มันนิ่ง ไปทำให้มันเป็นอย่างที่ท่านเคยรู้มา คือทางไปซึ่งจากทุกข์


ข้าพเจ้าเคยพลาดมาแล้ว อย่าเสียเวลาอย่างข้าพเจ้าเลย ถ้าท่านผ่านมันมา แล้วมองกลับ ท่านจะเข้าใจข้อความนี้

ท่านควบคุมอะไรไม่ได้ และไม่ควรทำด้วย ท่านเพียงแต่ ควรเข้าใจมัน เมื่อไหร่ที่ท่านเข้ากระทำ มันจะไปขัด ทางที่ท่านจะไปต่อทันที ท่านควรแค่รู้สึกถึงมันเท่านั้น เมื่อท่านผ่านสภาวะนั้น ข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่าท่านจะเป็นเช่นไร แต่ตอนที่ข้าพเจ้าผ่านมา ใจมันยอมรับ ใจมันไม่ยึดติดต่อทุกสิ่ง อาจจะยังมี แต่ลดลงไปมากแล้ว


ถ้าท่านตรอง สิ่งที่ข้าพเจ้าเขียนไว้ข้างบนดีๆ ท่านจะเห็นว่า มันเป็นสิ่งเดียวกัน “ทุกขัง อนิจจัง อนัตา” มันติดกันอยู่นั่นเอง เป็นสิ่งๆเดียวกันหมด แต่การอธิบายด้วยภาษา ไปเรียกมันด้วยชื่อ แยกมันออกมา ตีความไปเรื่อยเปื่อย หลายๆคนที่น่าจะเข้าใจได้ จึงไม่เข้าใจ ไตรลักษณ์อย่างแท้จริง คิดไปแต่เรื่องนอกตัว มันก็ถูกอยู่ แต่ใช้แก้ปัญหาตัวเองไม่ได้

ไตรลักษณ์ ที่แท้จริง จะต้อง สัมผัส หรือ รู้ หรือจะเรียกอะไรก็ตาม ด้วย “ความรู้สึก” มิใช่ด้วยการคิดนึกเอา

“การพิจารณาไตรลักษณ์” คืออะไร
มันคือการที่ท่าน แค่ “ดู” ถ้าให้ดีกว่า คือ แค่ “เห็น” เห็น สิ่งเหล่านี้ เห็นทั้งหมด เห็นรวมๆ แต่ไม่ต้องไปบอกตัวเองว่าเห็นอะไร ใช้ความรู้สึกตัวเป็นการถ่ายทอด สิ่งที่เห็น โดยไม่ต้องผ่านสมอง เห็นมันตลอดเวลา ทุกวินาที

ท่านเห็นมันเพื่ออะไร มันจะเป็นสะพานเชื่อมท่านไปสู่ การเข้าใจบางอย่าง ที่เกิดกับข้าพเจ้าแล้ว คือ “วาง” มันจะวาง จิตใจมันยอมรับ ไม่ใช่ไป “คิด” ให้ยอมรับนะท่าน มันยอมเอง มันสยบตัวเอง มันยอมเพราะ เราทำอะไรไม่ได้เลย มันเป็นธรรมชาติที่จะต้องเป็นอย่างนั้น เมื่อท่านผ่านจุดนี้มา โทสะ โมหะ โลภะ จะมีผลกับท่านน้อยมาก คือ ยังเกิดอยู่ แต่ ใจไม่สน สมมติ ว่ามีใครทำให้ท่านโกรธ ท่านจะไม่พุ่งเป้าไปที่บุคคลนั้น แต่ท่านจะกลับมาจัดการกับตัวเอง มันเป็นอย่างนั้น และอาการโกรธนั้นจะดำรงอยู่ไม่นาน


“จะทิ้งสติ” อย่างไร
ข้าพเจ้าตอบจากประสบการณ์ตัวเอง คนอื่นอาจมีวิธีที่ดีกว่านี้นะท่าน ขออ่านอย่างระวัง

สติที่ข้าพเจ้า แนะนำให้ท่านทิ้งนี้หมายถึง สติ ที่แฝงตัวมาในรูปของ “สมถะ” มันจะเป็นตัว “สั่ง” ท่านจากระดับจิตใต้สำนึก ว่า “ให้ปฏิบัตอย่างนี้ อย่างนี้” เพื่อให้มีสภาวะบางอย่าง ที่ท่านเคยประสบมาแล้ว หรือ คิดเอาเองว่ามัน “น่าจะเป็นอย่างนั้น” เมื่อท่านไปถึงสภาวะที่คาดนั้นไม่ได้ มันจะสั่งท่านให้เปลี่ยนรูปแบบของการปฏิบัติ พลิกเปลี่ยนไปๆมาๆ กลับไปกลับมา ถ้าท่านยังไม่ผ่านมันมา ท่านจะไม่เข้าใจ ว่ามันเป็นตัวแสบจริงๆ สุดท้ายท่านมิได้ ไปไหนเลยย่ำอยู่กับที่นั่นเอง

ท่านต้องเข้าใจว่า แม้รูปแบบที่ครูบาอาจารย์ แนะนำนั้น เราจะเรียกมันว่า วิปัสสนา แต่ ในทางปฏิบัต สมถะ จะเกิดซ้อนอยู่เสมอ ถ้าท่านไม่รู้ถึงมัน

( ให้ท่านสังเกตว่า สมถะ จะมีลักษณะเป็น “โฟกัส”
แต่ วิปัสนา มีลักษณะเป็น “การกระจาย” แต่ถ้าท่านไปพยายามทำให้มันกระจาย ท่านจะล่วงลงไปที่ สมถะ ทันที เพราะไปโฟกัส ที่การกระจาย )


การที่จะทิ้งสติตัวนี้ได้นั้น ท่านต้องตกลงไปในวังวน ของการถูกสติชนิดนี้สั่งการเสียก่อน เห็นผลของมัน เข้าใจมัน ผนวกกับ ขั้นตอนต่างๆ ความรู้ต่างๆ ความผิดพลาดต่างๆ ที่ท่านฝึก หรือ เผชิญ มาอย่างต่อเนื่อง และ อย่างดี หมายถึงฐานท่านจะต้องแน่นเสียก่อน (อันนี้มิได้หมายถึงเวลาที่ฝึกมานานเป็นปีๆ แต่อย่างใด มันขึ้นอยู่กับ การต่อเนื่อง ต่อจริงๆ ในทุกเสี้ยววินาที ให้ต่อกัน และเห็นสิ่งเหล่านี้ เข้าใจมัน และตระหนักรู้ ถึงความเป็นทาสตัวเอง ) ข้าพเจ้าเป็นแบบนี้ คนอื่นอาจเป็นอย่างอื่น

เมื่อถึงจุดตระหนักรู้นั้น สติตัวนี้จะถูกคลายตัวไปเอง ต่อมาเมื่อ สติ ตัวนี้เกิดขึ้นอีก จิตสำนึก จะสั่งให้ “ทิ้ง” หรือ “คลายตัวออก” ทันที รวดเร็ว แม่นยำ และ ไม่ไว้ไมตรี

ผลที่ตามมาคือ “การหลุดออกอีกขั้นหนึ่ง ของการเป็นทาสแห่งอัตตา” ข้าพเจ้าไม่ทราบว่า จะมีกี่ท่าน ที่เข้าใจได้ แต่นั่นไม่สำคัญเลย เมื่อมันถึงเวลา มันจะเป็นเอง ข้อความเหล่านี้ช่วยท่าน ย่นระยะเวลาให้สั่นลงเท่านั้น มิได้มีค่าอะไร


“มิจฉาทิฐิขั้นสุดยอด”

(อาจใช้คำพูดไม่เหมาะสมนัก) มันคือการที่ ท่านมิได้มีสภาวะทางจิตใจ เกิดขึ้นจริงๆ รองรับการเข้าใจนั้นๆ แต่เป็นการคิดนึกเอาเองว่า มันคงเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ คือคิดเอาเอง จำมา แล้วคิดว่ารู้แล้ว ความรู้นั้นอาจจะถูก (คือถูกแบบบัญญัต แต่ไม่ใช่ถูกแบบปรมัต)

เมื่อยังไม่มีสภาวะรองรับ จิตจะไปติดอยู่ที่ความรู้นั้นๆ อันนี้จะเป็นปัญหาใหญ่มาก ในการปฏิบัต เพราะว่า ความรู้อันนี้จะบงการชักใย อยู่เบื้องหลัง ให้ท่านมุ่งไปในสิ่งที่ท่าน เชื่อหรือคิด ว่ามันจะเป็น ท่านจึงเข้าสู่การเข้าใจไตรลักษณ์ ไม่ได้ เพราะถูกความรู้อันนี้ขวางเอาไว้ ทางเดินจริงๆมันก็แค่ตรงไป แต่เราไปพยายามเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาอยู่เอง

เมื่อท่านผ่านสิ่งข้างบนทั้งหมดมาได้ ความรู้ทั้งหมดตั้งแต่ “โสดาบัน” หรือจะเรียกอะไรก็ตาม จะถูกลบทิ้ง แบบไม่แยแส (ข้าพเจ้าไม่รู้จะเรียกมันว่าอะไร เพราะเรียนมาน้อย จึงใช้คำนี้ ให้หลายๆคนหมั่นไส้เสมอ)

เพราะเมื่อถึงระดับนี้แล้วจะเข้าใจว่า ความรู้ไม่ว่าจะเป็นรู้จำ รู้จัก มาจากแหล่งความรู้อื่นๆ หรือแม้กระทั้ง ความรู้แจ้ง ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาเองโดยไม่มีใครสอนสั่งนั้น ช่วยอะไรไม่ได้เลย มันเพียง ส่งเรามาถึงจุดนี้ และหมดหน้าที่ของมันแล้ว

ความรู้ “ทั้งหมด” จะประมวลสั้นลง เมื่อทุกข์เกิดมันจะเข้าใจในชั่วเสี้ยววินาที แล้วจัดการทุกข์นั้น อย่างเด็ดขาด ไม่ยั้งมือ

แต่ขอท่านเข้าใจว่า ระยะดังกล่าวทั้งหมด ด้านบน อันนี้ยังเป็นมรรคไม่ใช่ผล เพราะยังมีความพยายามจะขจัดทุกข์อยู่

การจัดการทุกข์นั้นมิใช่ไปฆ่ามัน จงใจทำลายมัน แต่รู้ถึงมันด้วยความเข้าใจแบบถึงแก่น ไม่ปฏิเสธในความเป็นทุกข์ แต่ด้วยการเข้าใจเหล่านี้มันก็ไม่ ยอมรับทุกข์เหมือนกัน มันเป็นกึ่งโจมตี กึ่งตั้งรับ นะท่าน

ขอท่านทั้งหลายจงรู้สึกตัวอยู่เสมอ ตามรู้ ความรู้สึกนึกคิดของท่านเองทุกฝีก้าว ทุกวินาที แล้วมันจะทันเข้า ทันเข้า และจะเข้าใจว่า หมอนี่เขียนอะไร


“วิธีอันถูกต้อง” ซึ่งถูกพิสูจน์แล้ว

ผู้ใดมีปัญญาระดับที่มองเห็นหัวใจ ของข้อความด้านล่างนี้ จงเร่งนำไปใช้ เพื่อตัวท่านเองเถิด

“การกระทำที่สมบรูณ์ ในสภาวะนั้นคือ การไม่เข้ากระทำใดๆเลย”

“เห็นทุกอย่าง อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องรู้ว่าเห็นอะไร ให้ความเข้าใจที่ถูกประมวลสั้นลงแล้ว จัดการตัวมันเอง”

จงทิ้งทุกอย่าง จงทิ้งทุกสิ่ง แต่มิใช่ไปตั้งหน้าตั้งตาจะทิ้งนะท่าน มันจะทิ้งเองเมื่อท่านกระตุ้นมันด้วยวิธีที่ถูกต้องและตรง ระวังให้ดี ถ้าท่านไม่ทิ้งท่านจะไปต่อไม่ได้

แต่จะทิ้งอย่างไรนั้น ท่านจะต้องเข้าไปเห็นตัวสภาวะทุกข์นั้นจริงๆ เสียก่อน สัมผัสกับมันอย่างใกล้ชิดติดตาม เมื่อเกิดการตระหนักรู้เมื่อไหร่ จากระดับจิตสำนึก มันจะทิ้งของมันเอง นี่คือธรรมชาติอันมีอยู่แล้วในคนทุกคนไม่มียกเว้น เพียงแต่จะใครจะรู้ เท่านั้นเอง

ถ้าข้อความเหล่านี้ทำให้บางคนเกือบกระอักเลือด มึนงง ชิงชัง ริษยา หนักอกหนักใจ เปรมปรี สว่าง เบา

ข้าพเจ้าขออภัยจากใจจริง ขอท่านเห็นเป็นเด็กน้อยมือบอน อวดรู้อวดดี อย่าหาความเลย เร่งรีบกลับไปดูที่ตัวท่านเถิด



ขอวันนี้ของท่านสวยงามต่อไป

ขำ
คัดลอกมาจาก --->>> http://72.14.203.104/search?q=cache:MSIwGrsoh18J:www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y4014391/Y4014391.html+koknam&hl=th&gl=th&ct=clnk&cd=14 <<< ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"

แก้ไขล่าสุดโดย พิชชาธร เมื่อ 14 มิ.ย.2006, 12:02 pm, ทั้งหมด 7 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 03 มิ.ย.2006, 3:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิธีแก้

ข้าพเจ้าขอตอบคำถามผ่านทุกท่าน ในที่นี่รวมๆกัน และคงไม่มีโอกาสอีกแล้วในช่วงหนึ่งเดือนนี้ เขียนเป็นภาษาไทย ให้ท่านเข้าใจ ความสามารถทางภาษาอังกฤษ ของข้าพเจ้าอยู่ในระดับต่ำ รังแต่จะสร้างความสับสนทางการตีความมากกว่า ถ้าท่านมีคำถาม จงอย่าถามต่อ เพราะข้าพเจ้าจะยังไม่สามารถตอบให้ท่านได้

คำศัพท์ที่ใช้ในการเขียนนี้ ข้าพเจ้านำสมมติภาษาที่เคยรู้มาก่อน มาผนวกเข้ากับสภาวะที่เกิด ซึ่งเป็น การใช้แทนเพื่อสื่อเท่านั้น แต่ปัญหา คือการเข้าใจขอให้เข้าใจตรงกัน เมื่อท่านอ่าน จงอย่าเสียเวลาตีความ อ่านผ่านๆ นั่นพอแล้ว


ประการต่อมา ข้าพเจ้าเขียนทุกสิ่งจากชีวิตประสบการณ์ตรง ของตัวเอง ท่านจงอย่าเชื่อทั้งหมด แต่ให้ลองนำไปทำดู เมื่อท่านแก้ปัญหาตัวท่านเองได้ บทความนี้มีความหมายเพียงพอแล้ว

ข้าพเจ้าเพียงแต่ขอเอาชีวิตตัวเองเป็นประกัน ว่า แม้ยังไม่ถึงที่สุด แต่สิ่งนี้เป็นไปเพื่อดับทุกข์แน่นอน และถ้าท่านทำอย่างที่ข้าพเจ้าเสนอแล้ว ความทุข์ของท่านมิได้ลดลง ท่านแก้ไขความขัดแย้งในใจมิได้ ข้าพเจ้ายินดีรับคำสาปแช่งทุกประโยค และยินดีตายลงไปเพราะบอกคนอื่นผิดๆ

ขอท่านอ่านแล้วลืม เพียงรู้ไว้ว่า เคยมีคนเคยพูดเอาไว้อย่างนี้ เมื่อปัญหาของท่านมาถึง ท่านจะเข้าใจได้เอง


“การรู้อย่างต่อเนื่อง” นั้น มิได้หมายความว่า ท่าน จะ “ต้องทำ” ตัวท่านให้รู้อย่างต่อเนื่อง แต่การรู้แบบนี้เกิด ตามมาเอง จากการเอาใจใส่ จากการกระตุ้นตัวรู้ การพยายาม รู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา มันจะพัฒนามากขึ้นๆ จนต่อเนื่องไปเอง ( ในช่วงแรกเราต้องอาศัยการ “พยายาม”ก่อน ต่อมาให้อาศัย “ความเพียร” และต่อมาให้ “ทิ้ง” ความพยายาม แต่ให้ “รักษา”ความเพียรเอาไว้ )

การ “รู้” นี้ รู้อะไร มันคือ การที่ท่าน รู้สึกตัวนั่นเอง (ไม่ใช่รู้ว่าตะกี้คิดอะไร)

การรู้สึกตัวคืออะไร มันก็คือ “ชีวิต” นั่นเอง สิ่งที่มีชีวิตนั้น มันมีความรู้สึกตัวอยู่อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้วเพราะฉะนั้น “ไม่จำเป็นที่ท่านจะต้องไปสร้างความรู้สึกตัวขึ้นมา” ถ้าท่านพยายามไปสร้างความรู้สึกตัว ท่านจะล่วงลงไปที่ชั้นสมถะทันที ที่ท่านต้องพยายามทำคือ “กระตุ้น” ให้รู้สึกตัว

กระตุ้นอย่างไร ตอนแรกท่านต้องรู้ก่อนว่า ความรู้สึกตัว ในความหมายของบทความนี้เป็นอย่างไร มันคือ การรู้สึกตัวที่เกิดจาก

“การเคลื่อนการไหวทั้งหมด”

ของทุกอวัยวะ ของทุกประสาทสัมผัส ของความคิด ของอารมณ์ และแม้กระทั้งของนอกตัว จงรู้สึกตัวอยู่เสมอ เมื่อสิ่งเหล่านี้เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง

แต่ “ไม่ต้องไปพยายาม” จะ “รู้ให้ครบ” ทั้งหมด มันจะเป็นขั้น เป็นตอนไปเอง รู้เท่าไหนจงรู้เท่านั้น และ “อย่าจับ” สิ่งที่รู้

ไม่ว่าท่านจะกระตุ้นมันหรือไม่ มันก็เคลื่อนไหวของมันอยู่แล้ว เช่น เลือด ชีพจร หัวใจ การหายใจ กระพริบตา ทุกสิ่งมันเคลื่อนไหวอยู่แล้วตลอดเวลา แต่ท่านยังไม่รู้มันเท่านั้นเอง

แต่เมื่อท่านเริ่มนั้น ให้ท่านยกมือขึ้น สะบัดมือ สะบัดตอนที่อ่านอยู่นี่แหละ การวูบวาบ นั้นแหละ การรู้สึกตัวแบบหนึ่ง

หรือ ลมหายใจที่ท่านทำอยู่แล้ว รู้สึกเรื่อยๆ รู้สึกบ่อยๆ ทำไปเพื่อให้สนุกสนาน จงสนุกที่รู้สึกตัว ไม่ใช่ทำเอาบุญ ไม่ใช่ทำแก้กรรม ไม่ใช่ทำเพื่อเป็นอรหันต์ ผลที่ได้จากการกระทำนี้มีค่ามากกว่านั้นมาก

แต่อย่าจับอยู่ที่อันเดียว ให้รู้รวมๆ รู้สึกให้ครบ อย่าไปจับเพียงอันใดอันหนึ่ง ตรงนี้ –เน้นนะท่าน- ไม่อย่างนั้นท่านจะเชี่ยวชาญอยู่แค่อย่างเดียว และไม่มีประโยชน์เท่าใด นอกจากดึงท่านไปสงบ

รู้แต่ไม่ต้องบอกตัวเองว่ารู้อะไร ใช้ ความรู้สึกตัว เป็นตัวรู้ “แทนที่จะใช้” ความคิดเป็นตัวรับรู้ เมื่อเป็น ท่านจะเข้าใจประโยคนี้เอง แน่นอน


ความรู้สึกที่เกิดขึ้นมันเป็นอย่างไร ?

จงเคลื่อน ไหวอวัยวะของท่าน ทุกส่วน เคลื่อนบ่อยๆ เคลื่อนทั้งวัน แล้วจงจำความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้นไว้ แต่ไม่ต้องบอกตัวเองว่า อะไรเคลื่อน เอาตัวความรู้สึกอย่างเดียว ทำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องมีจุดหมายใดๆ ไม่ต้องบอกตัวเองว่า นี่เราปฏิบัต ธรรม อยู่นะ ทำมันไปเพียงให้รู้สึกตัว ทำ หรือ กระตุ้นมันให้ต่อเนื่อง กระตุ้นทั้งวัน ทั้งเดือน ทั้งปี มันจะซึมเข้าๆ ไปเอง มนุษย์มีความสามารถแบบนี้อยู่แล้ว เพียงให้เวลามันหน่อย เมื่อรู้แบบนี้จะไม่มีทางลืม
เหมือนกับคนสูญเสียความทรงจำ ทำไมยังพูดได้ นั่นเพราะการใช้ภาษามาพูด มันซึมลงไปที่ระดับจิตสำนึกแล้ว พูดโดยไม่ต้องคิดก็ได้ มันเป็นอย่างนั้น

ท่านทำอะไรก็ตาม ในชีวิตประจำวัน งานประจำวัน กิจกรรมต่างๆที่พึงกระทำ จง ทำโดยรู้สึกตัวทั้งสิ้น จงพลิกได้ถ้าพลิก อย่ายึดติดรูปแบบ ประยุกต์ อิริยาบท ทั้งหมด ให้มีความรู้สึกตัว

แต่เมื่อท่านพยายามจะรู้สึกตัวให้ได้ตลอด จะมีตัวมาขัดการรู้สึกตัว ที่ท่านพยายามกระตุ้นอยู่นั้น มันก็คือ “ความคิด” ของท่านนั่นเอง

ให้ท่านทิ้งความคิด แล้วดีดตัว กลับมารู้สึกตัวต่อไป ทำทุกครั้งที่คิด ไม่ต้องไปเสียดายว่า เผลออีกแล้ว ไม่น่าเลย ให้สลัดความคิด “ทุกๆความคิด” -เน้นนะท่าน- กลับมารู้สึกตัวเท่านั้นพอ และไม่ต้องตามไปบอกตัวเองต่อว่า เมื่อกี้คิดอะไร สลัดแล้วสลัดเลย ในระยะแรกท่านจะอึดอัด พอสมควร เพราะความคิดมันถูกเบรค ไม่ต้องวิจารณ์ใดๆ ไม่ต้องมองหาความจริงแห่งสัจธรรม ไม่ต้องเลย ถ้ามาในรูปการคิด ดีดทิ้งให้หมด ไม่ต้องสงสัยว่าทำไปทำไม ถ้าสงสัยให้สลัดความสงสัยทิ้งเสีย แล้ว กลับมารู้สึกตัว

ถ้าท่านโกรธอยู่ แล้วจับได้ว่า มีความคิดอะไรเข้ามา ให้รู้จักใช้ปัญญา จงใช้ ความรู้สึกที่โกรธนั้นให้เป็นประโยชน์ เช่น ใจเต้นแรง เลือดสูบฉีด ให้ดีดความคิดทิ้ง แล้ว อาศัย ความแรงของการเต้นของหัวใจ หรือ ความรู้สึกของเลือดที่สูบฉีด เป็นตัวกระชากกลับมารู้สึกตัว ไปรู้สึกที่หัวใจ และเลือดนั้น ทำทุกครั้งที่คิด จนกว่าจะหายโกรธ

ให้ประยุกต์ใช้วิธีนี้ เมื่อ มีความ โลภ หรือ อารมณ์ทางเพศ เกิดขึ้นด้วย

ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับ ความเป็นไปของเวลา การอยู่บนปัจจุบัน บนสภาวะที่ท่านรู้สึกตัว มันเป็นสิ่งๆนั้น ทั้งหมดอยู่แล้ว เป็นโดยไม่ต้องคิด ไม่ต้องพยายามไปเข้าใจอะไรทั้งสิ้น แม้แต่สิ่งที่กำลังทำอยู่ ก็ไม่ต้องคิด ว่ารู้สึกตัวอยู่ ถ้าคิด ให้เขี่ยทิ้ง : )

ท่านจะเห็นว่า จริงๆแล้วคือ ข้าพเจ้าพยายามแนะให้ท่าน “ไม่ต้องทำอะไรเลย” แต่ในความเป็นจริง ท่านจะพยายามคิด พยายามหาเหตุผล เพื่อตอบคำถามให้ตัวเอง จงหยุดสิ่งเหล่านั้น หยุดความพยายามจะบรรลุ หยุดความคิดเหล่านี้ให้หมด


“แต่อย่าไปห้ามไม่ให้คิด ปล่อยให้คิด แต่รู้การคิดให้เร็ว แล้วรีบกลับมารู้สึกตัว ”

“ถ้ามันไม่คิดท่านจะไม่รู้” เมื่อท่านพยายามห้ามความคิด เพราะเข้าใจว่าจะสงบ
ประการแรกท่านจะปวดหัวอย่างหนัก เพราะฝืนธรรมชาติ
ประการที่สอง ท่านจะหล่นลงไปที่ชั้น สมถะ คือ พยายามจะไม่ฟุ้ง

อาการใดๆ เกิดขึ้นก็ตาม จงรู้อยู่บนสภาวะนั้นๆ ไม่ปฏิเสธ แต่ไม่รับ

ท่านไม่ต้องก้าวหน้าอะไรทั้งสิ้น รู้สึกตัว และรู้สึกตัว เท่านั้น เพียงพอแล้ว คำว่ารู้สึกตัว จริงๆแล้ว มันค่อนข้างกว้าง เมื่อแรกท่านจะรู้สึกกายก่อน เมื่อท่านพยายามจะสลัดความคิด ไปเรื่อยๆ ความรู้สึกตัวที่กาย จะพัฒนาเป็น รู้สึกตัวที่ความคิด มันจะทันเข้าๆ และในระหว่างที่ กระบวนการจากกายไปความคิดนี้ ท่านจะได้ของแถมมาคือ รู้สึกตัวถึงเวทนา ตามภาษาของ สติปัฏฐาน 4

ที่ข้าพเจ้าผ่านมา ข้าพเจ้าจัด เจ้าเวทนานี้ มันไว้ ใน หมวดกาย ซึ่งก็ คือ “รูป” นั่นเอง ส่วนความคิด ก็คือ “นาม” และการเห็น รูปกับนามพร้อมกันก็คือ เห็น “ธรรมในธรรม” แบบหยาบๆนั้นเอง

ไม่ต้องไปพยายามแยก รูปกับนาม เพียงแต่ให้รู้จักไว้เฉยๆ เอา ความรู้สึกตัวทั้งหมดที่ผ่านการขัดเกลาไม่หยุดหย่อนนั้น “รู้เข้า” ไปในการรู้สึกตัว แต่ให้ “รู้ออก” จากความคิด

ทั้งหมดนั่นเรียกว่า “การกระตุ้น”

ผลที่ตามมาจากกระบวนการทั้งหมดนี้คือ

- เข้าใจสาเหตุของทุกข์ อย่างแจ่มแจ้ง ไม่ต้องให้ใครมาบอก
- ไม่สนความคิด และความเชื่อตัวเอง ซึ่งต่อมาจะเป็นบันไดให้หลุดจากสมมติ ทั้งปวง
- ไม่กลัว ฤกษ์ยาม โชคลาง ไม่สนดวงชะตา
- รู้ว่า จะไปสุดทางต้องทำอย่างไร
- ความสงสัยทั้งหมด ต่อทุกสิ่งทุกอย่าง จะได้คำตอบขึ้นมาเอง โดยไม่ต้องไปหาอ่านที่ไหน หรือ ถามจากใคร (ส่วนใหญ่เป็นความรู้นอกตัว คือความรู้ ที่เอามาใช้จัดการกับตัวเองไม่ได้มาก)
- มีความสามารถในการมองออกว่าใครพูดธรรม ใครรู้จริง ใครจำของจริงมาพูด และใครรู้ไม่จริง
- เมื่อเข้าใจแล้ว มันจะหวนปฏิบัต อยู่อย่างนั้น พยายามจะรู้สึกตัวอยู่อย่างนั้น พยายามสลัดความคิดอยู่อย่างนั้น ทุกวันเวลา มันพยายามไปเอง

ข้าพเจ้ามั่นใจว่าถ้าใครก็ตาม สามารถกระทำตามข้อความขั้นต้นได้ทั้งหมด “ทิ้งความอยากรู้อยากเป็นอยากมีทั้งหมดได้” “ทำทั้งวัน” คือไม่สนว่าทำไปทำไม เขาคนนั้นจะเป็น “โสดาบันขั้นต้น” ภายใน 1 เดือน หมายถึงผลที่ตามมาจากกระบวนการ ยังเกิดไม่ครบ แต่ท่านจะรู้ตัวเองว่า มีบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป ในระดับจิตใจตัวเอง ข้าพเจ้ายืนยันคำพูดตัวเอง

แต่อย่าพยายามทำ เพือให้สำเร็จภายใน 1 เดือน ถ้าความคิดนี้มา ให้ดีดทิ้ง

เมื่อท่านจบตรงนี้ ข้าพเจ้า “จัดเอาเอง” ว่าเป็นขั้นของ “โสดาบัน” แล้ว
ข้อเสียของระยะนี้คือ
- ก้าวร้าว ไม่เชื่อฟังผู้ใด เพราะรู้เอง เห็นเองเข้าใจเอง
- พยายามจะพูดสิ่งที่ตัวรู้ ให้คนอื่นฟัง คิดไม่หยุด ทบทวนสิ่งที่รู้ ขึ้นมา ซ้ำแล้วซ้ำเล่า วกไปวนมา เฝ้าถามตัวเองว่าถูกไหมๆ
- เถียงทุกคน ตัวเองถูก ตัวเองเก่งอยู่คนเดียว
- หลงอยู่ในความคิด ติดความรู้ที่เกิด
- ลืมการกลับมารู้สึกตัว

“วิธีแก้”
ปล่อยให้คิด พล่ามในใจไปเรื่อยๆ แต่เมื่อรู้แล้วว่าตกอยู่ในวังวน ตัวนี้ ให้ พยายามสลัด ความคิดทั้งหมด ออกมา แล้วรู้สึกตัวอย่างเดิม
แต่ในขณะที่เป็นจะไม่รู้ตัว เพราะติดความคิดสดใหม่นั้นๆ ช่วงแรกจะยากมาก เพราะจิตดีใจ ที่ได้รู้ความคิดใหม่ๆ คลายสงสัยจากสิ่งที่เคยคลาใจเกือบทั้งหมด ความรู้ที่มีค่าที่สุดเมื่อตอนที่ข้าพเจ้าผ่านจุดนี้มาคือ เข้าใจว่า พุทธศาสนาคืออะไร ? พระพุทธเจ้าสอนอะไร ? และต้องทำอย่างไร ?

สิ่งที่คุ้มครองบุคคลระดับนี้ไว้คือ ความรู้ที่รู้ขึ้นมา ในรูปความคิดนั่นเอง ให้สลัดออกให้หมด พยายามดึงตัวเองมารู้สึกตัวให้บ่อยที่สุด แล้วความคิดสดใหม่นั้นๆ จะลดลงไปเรื่อยๆ อาจใช้เวลาซักหน่อย ขอท่านจงเพียรเถิด
ระยะที่ว่า นี้คือเกิด “วิปัสสนู”



เมื่อหลุดจาก วิปัสสนู
ระยะต่อมา ข้าพเจ้าจัดเอาเองว่าเป็น “สกิทาคามี” อาจจะผิดก็ได้ อย่าไปเชื่อหมอนี่มากนัก

ความรู้สึกตัวเริ่มกลมกลืนในชีวิตประจำวัน อย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น เข้าใจชีวิตมากขึ้น ต่อสู้กับอารมณ์ ต่างๆ “อย่างอยาก” เอาชนะ

ระยะนี้ จะมีความรู้แจ้งเกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปในทางดับทุกข์ ที่เกิดกับข้าพเจ้าคือ รู้ว่า ศีลแท้ๆ คืออะไร ? สมาธิแท้ๆ คืออะไร ? อะไรคือ ความอิสระที่แท้จริงของมนุษย์ ? แต่สภาวะทางจิตใจ ยังไม่กลายเป็นสภาวะนั้นๆ เต็มๆ
มันเพียงแต่รู้ไว้ในหัว คือความรู้นำตัวสภาวะไปก่อน คือ เป็นมิจฉาฑิฐิขั้นสุดยอด นั่นเอง

แต่สภาวะทางจิตใจจะพัฒนามากขึ้น อย่างเห็นได้ชัด ต่อสู้กับอารมณ์ได้พอสมควร

ระยะนี้จะเข้าใจข้อธรรมปริศนาธรรมต่างๆ ที่เป็นคำพูดงุนงง น่าฉงนเกือบทั้งหมด เข้าใจแก่นของคำสอนต่างๆ ไม่สนตำรา เขี้ยงทิ้งคำภีร์ ไม่สนประเพณี จารีต กฏหมาย แต่ไม่ทุกข์ ที่ต้องอยู่ใต้กฏนั้นๆ และไม่สนว่าใครจะมาว่า ว่ารู้ผิดรู้ถูกอย่างไร รู้จักเลือก มองคนออก จิตใจสบาย แต่มีอาการทุกข์ แทรกซ้อนเป็นระยะๆ

และไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จะหาโอกาสปฏิบัตธรรมอยู่นั่น มันเป็นไปเอง วันไหนไม่ทำรู้สึกไม่ปกติ แม้จะไม่ทำเข้ารูปแบบ แต่จะพยายามประยุกต์ใช้กับรูปแบบวิถีประจำวันไปเรื่อยๆ

ปัญหาของระยะนี้คือ

- พอใจในความรู้ที่มี เอาตัวรอดได้แล้ว
- อิ่มเอิบ ภาคภูมิ
- มีทุกข์ปรากฏอยู่ การขจัดทุกข์ของขั้นนี้ อาศัยสิ่งที่รู้แจ้งขึ้นมา บอกตัวเองว่า มันเป็นแบบนี้ๆ จิตใจจะอ่อนลง แต่ไม่ขาด เพราะเป็นการเอาความคิดซึ่งเป็น “นาม” ไปปราบทุกข์ ซึ่งเป็น “รูป” มันคานกันไม่ลง แต่ใช้จัดการทุกข์ได้ แต่ไม่สะบั้น พูดง่ายๆคือ เอาทุกข์ไปปราบทุกข์ มันจึงยังทุกข์ แต่มองทุกข์ตัวนี้ไม่ออก

วิธีแก้ระยะนี้ อันนี้ส่วนตัวมากๆ คนอื่นอาจใช้วิธีอื่น

ในตอนนั้น ข้าพเจ้าพยายามตัดความคิดออกทั้งหมด เพื่อจะเอาตัวรู้อย่างเดียว ซึ่งทำได้เป็นช่วงๆ บางช่วงว่าง แต่ว่างแบบ ตันๆ อย่างที่ข้อความเคยตั้งไว้เป็นกระทู้ คือเห็น ไตรลักษณ์ เห็นว่า ความพยายามก็เป็นส่วนหนึ่งของความคิดด้วย จากนั้น เข้าใจ สมถะ-วิปัสนาอย่างแท้จริง ทิ้งความพยายาม ตั้งแต่บัดนั้น

หลังจากนั้น เห็นอย่างเดียว เห็นทุกอย่าง เท่าที่เห็นได้ เกิดจบ เปลี่ยนแปลง บังคับไม่ได้ มันจึงวาง วางไปเองเลย

เมื่อพ้นระยะนี้มา ไม่สนแล้วว่าตัวเองเป็นขั้นอะไร ไม่สนความรู้ทั้งหมด รู้จำ รู้จัก รู้แจ้ง ไม่เอาเลย สลัดออกทั้งหมด สนใจแต่รู้สึกตัวเท่านั้น ไม่เชิงสนใจ คือมันดึงกลับมาเอง ใส่ความพยายามน้อยมากๆ คือถ้าพยายาม มันจะพยายามไปเอง โดยไม่มีความพยายาม

ตัดความคิดขาดมาก ไม่มีระลอกสอง คุมอารมณ์ขั้นหยาบอยู่ทั้งหมด (ไม่เชิงคุม เพราะบางอย่างไม่เกิดเอง มันเกิดเดี๋ยวเดี๋ยว แล้วจบเตัวเอง) พวก กามารมณ์ โกรธ คุมอยู่อย่างไม่อึดอัด แต่ การเผลอยังมี แต่น้อยมาก ข้าพเจ้าอยู่ตรงนี้ พวกท่านเร่งตามมาเถิด ทุกอิริยาบท แทบจะเป็นการปฏิบัต ไปหมดแล้ว ไม่มีฝืนให้ทำ เป็นไปโดยธรรมชาติ มีแต่การระวังแบบบางๆ ดูความคิดอยู่แทบทุกเวลา รู้สึกตัวอยู่เสมอ

ทั้งหมดถ่ายทอดไว้ เผื่อเป็นประโยชน์กับท่านๆ มันเป็นการเขียนแบบกว้างๆ ในส่วนปลีกย่อยให้ท่าน หาค้นคว้า เอาจากตัวท่านเอง อย่ากลัวที่จะผิด เพราะมันเป็นครูที่ดีเสมอ “แต่จงผิดบนทางที่ถูก”

อย่าสนจริต ว่าชั้นเข้ากับแบบนั้น แบบนี้ได้ดีกว่า “ถูกจริตกับถูกวิธีเป็นคนละ เรื่องกัน” ข้าพเจ้าเข้าใจอย่างนั้น

ข้าพเจ้าไม่สนใจว่าท่านมองข้าพเจ้าอย่างไร บางคนอาจมองว่ารู้มาก แต่ข้าพเจ้าแทบไม่รู้อะไรอื่นใด นอกจากเรื่องของตัวเอง เพียงแต่ในเรื่องของตัวเองนั้นรู้จริง และทำได้จริง

สิ่งที่อดนอน นั่งพิมพ์ ให้ท่านนี้ ไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าท่านไม่ลองนำไปทำ และข้าพเจ้ามิได้ยกตัวเสมอครูของท่านๆ เป็นเพียงผู้นำของจริงมาบอก มาเล่า

ข้าพเจ้าทำได้เพียงแนะนำ ครูของท่านคือตัวท่านเอง เรียนรู้จากตัวท่านเองให้มาก อย่าทิ้งไปแม้เสี้ยววินาที ที่จะเรียนรู้ จากครูที่จะอยู่กับท่านไปชั่วชีวิต ท่านมีโอกาสครั้งเดียวเท่านั้น ที่จะอยู่กับครูคนนี้

อธิบาย เรื่อง โสดาบัน สกิทาคามี ซักนิด จงอย่าติดกับภาษาตัวหนังสือเหล่านี้ ความอยากที่จะเป็น จะมี จะรู้ จะขวางทางท่านเอาไว้

และบุคคลพวกนี้มิได้ วิเศษอะไร ถ้ามองจากระดับของข้าพเจ้า มันมิได้หมายความว่า ท่านเหนือธรรมดา แน่ เจ๋ง สำหรับข้าพเจ้า มันเป็นคำใช้เรียกแทน สภาวะที่เกิด และปัญหาที่สิงอยู่ ในสภาวะนั้นๆ เท่านั้น

อย่าไปเข้าใจว่า บุคคลเหล่านี้ มีรังสี รัศมี สีโน้น สีนี้ ห่อหุ้มร่างกาย รถชนไม่เป็นไร ด้วยบุญบารมี ถอดจิต ระลึกชาติ เข้าญาณ ออกญาณ อ่านใจคนอื่นได้ มองทะลุสิ่งของ นั่นพวกผิดปกติ มันจะเกิดกับท่านหรือไม่ข้าพเจ้าไม่ทราบ แต่กับข้าพเจ้าไม่เกิด และไม่สนใจด้วย

สิ่งที่เราๆ ท่านๆ เรียกว่า ธรรม นี้ คือเรื่องธรรมดาๆ นี่เอง ไม่มีอะไร ไม่ใช่อภินิหาญ แต่ผลลัพธ์ ของมันทรงอานุภาพยิ่ง คือ ท่านจะจัดการกับตัวเองได้ ท่านจะรู้วิธี หลบหลีกป้องกัน จากทุกข์

ท่านอาจจะอ่านบทความนี้ แล้วรู้สึกเหมือนจะเคลียร์ แต่ไม่เคลียร์ นั้นเป็นเพราะว่า
1. ท่านยังมิได้ทำ
2. สภาวะที่ว่ายังไม่เกิดกับท่าน ท่านจึงยังมิเข้าใจ ว่าหมอนี่หมายถึงอะไร

จงอย่าสนเรื่องของคนอื่น ท่านจะรู้ตัวท่านเองดีที่สุด ถ้าท่านทำได้ มันจะได้ผลกับท่านเท่านั้น ถ้าท่านทำไม่ได้คนอื่นจะวิ่งมาช่วยท่านด้วยทางที่เค้าเชื่อว่าช่วยท่านได้ แต่ถ้าท่านทำได้ คนจะริษยา และด่าทอท่าน เตรียมตัวเอาไว้ แต่ท่านจะไม่เป็นทุกข์เลย เรื่องของคนมันเป็นอย่างนั้น น่าขันเสียจริง ไปนอนล่ะนะท่าน


ขอคืนนี้ของท่านสวยงามต่อไป


แลบลิ้น คัดลอกมาจาก >>> http://72.14.203.104/search?q=cache:AG31W9pY1_gJ:www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y4019619/Y4019619.html+koknam&hl=th&gl=th&ct=clnk&cd=15 <<< สู้ สู้
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"

แก้ไขล่าสุดโดย พิชชาธร เมื่อ 14 มิ.ย.2006, 12:27 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 03 มิ.ย.2006, 4:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“หัวหมู่” สังกัดหน่วยจู่โจมทะลวงฟัน

ขอบพระคุณท่าน ที่เปิดใจเล่าเรื่องต่างๆที่เป็นส่วนตัวและส่วนลึกในใจให้ฟัง ข้าพเจ้าจะแจ้งให้ท่านทราบเพียงว่า แม้ว่าท่านจะอ่านข้อความที่ข้าพเจ้าได้เขียนไว้กี่ครั้งก็ตาม ท่านจะไม่มีวันเข้าใจ เพราะว่าข้าพเจ้าเขียนมันขึ้นจากสภาวะ ท่านไม่มีทางใช้สมองทำความเข้าใจมันได้ ท่านจะรู้ต่อเมื่อ สภาวะบางอย่างนั้นๆ เกิดกับตัวท่านเองเท่านั้น ท่านไม่ต้องคิดอะไร หรือพยายามทำความเข้าใจอะไรทั้งนั้น “จงลงมือกระทำ” ข้าพเจ้าท้าให้ท่านทำอะไร จงทำในสิ่งนั้น อย่าไปเสียเวลาคิดตีความเอาเอง

คนส่วนใหญ่ที่ไปไหนไม่ได้เพราะติดอยู่ตรงนั้นเป็นหลัก อ่านมาก รู้มาก แต่ไม่ทำ ทำไม่เป็น ทำไม่ถูก ทำไม่ตรง

ท่านจะรู้ ธรรมแท้ๆ ต่อเมื่อมันปรากฏแล้วเท่านั้น แล้วมองย้อนกลับไป ไม่มีทางที่ใครซักคนจะเข้าใจ ธรรม ไปก่อนด้วยการคิดนึกได้ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า หรือ หลวงพ่อเทียน ก็ตาม หมายถึงเข้าใจแบบจริงๆนะท่าน ข้าพเจ้ามักใช้คำว่า “เป็น” สภาวะธรรมต้องเกิดก่อนแล้วถึงจะเข้าใจ และเมื่อมันเกิดแล้ว ท่านจะมองความเข้าใจเก่าๆของท่านที่เคยมีต่อ ธรรม อย่างสมเพชในความอ่อนหัดของตัวเอง จงทำ “เท่าที่บอก” ไม่ต้องอ่านมาก ไม่ต้องย้อนอ่านมาก เอาแค่พอเข้าใจกว้างๆ แล้วกระโดดลงไปลุยดู


มันจึงไม่ใช่การตั้งเป้าแล้ววิ่งไปให้ถึง แต่เป้ามันอยู่ที่การวิ่งนั่นต่างหาก

ท่านเคยได้ยินไหม ผู้ยิงที่เก่ง จะไม่เล็งที่ศูนย์กลาง แต่จะเล็งไปที่ตัวเอง


เกี่ยวกับเรื่องปัญหาของท่าน ที่ยังหาตัวเองไม่พบ อาลัยความสำเร็จในอดีต ทิ้งมันไว้ก่อน จงดูความคิดของท่านอยู่เสมอ ถ้าท่านเชื่อมั่นในข้าพเจ้า รับคำท้าจะลองดู ขอให้รู้ไว้ตรงนี้เลยว่า ข้าพเจ้าเป็นคนไม่มีอนาคต ไม่มีอดีต ไม่มีความฝัน ไม่มีความทะเยอทะยาน เพียงใช้ชีวิตไปวันๆ อย่างที่รู้จักจัดการกับทุกข์ ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเท่านั้น ซึ่งก่อนหน้านั้นตรงกันข้าม นั่นคือสิ่งที่จะเกิดกับท่าน ถ้าแน่ใจว่าอยากสัมผัสสภาวะเช่นนี้ เชิญเดินตามมา

และถ้าท่าน จะเดินทางสายนี้แล้วหวังว่า ท่านจะมีซึ่งยศศักดิ์ ได้ความสำเร็จกลับคืนมา เช่นเก่าก่อน จงเลิกเดินซะ เพราะท่านจะไม่ได้อะไรทั้งสิ้น มันมีแต่สิ่งที่ท่านจะต้องทิ้งเท่านั้น ทิ้งแล้วทิ้งอีก

และเริ่มทิ้งได้เลย สำหรับความต้องการจะช่วยคนหมู่มาก ขนสัพสัตว์ไปกับท่าน ทำตัวเป็นฮีโร่โพธิสัตว์ ไม่ต้องไปหวังช่วยใครทั้งนั้น ตราบใดที่ท่านยังช่วยตัวเองไม่ได้ ถ้าท่านมาถึงระดับนี้ ท่านจะพบว่า ท่านช่วยใครไม่ได้เลย ถ้าใครคนนั้นไม่ได้อยากให้ช่วย

เค้าเหล่านั้นอยากให้ท่านช่วย หรือ ท่านคิดเอาเองว่าเค้าอยากให้ท่านช่วยกันแน่ มันถึงมีปัญหาไงล่ะท่าน รู้งูๆปลาๆ ก็เที่ยวสั่งเที่ยวสอนไปเรื่อย ระบายอารมณ์บ้างล่ะ จะโอ่ว่าตนเองก็รู้ธรรมบ้างล่ะ จะเอาบุญบ้างล่ะ ถูกกิเลสตบหน้า แต่ไม่รู้ตัว

ข้าพเจ้าจะพูดชัดๆเลยนะ ถ้าท่านยังรู้ไม่จริง แล้วเที่ยวสั่งเที่ยวสอนคนอื่น โดยเอาคำว่า “เมตตา” มาอ้างบอกกับตัวเอง ท่านกำลัง “ทำร้าย” คนที่ท่านสอนอยู่นะ กรรมหนักที่สุดในทางพุทธศาสนาก็คือ “รู้ไม่จริงแล้วสอน” นั่นล่ะ “อนันตริยกรรม”

ท่านเป็นคนหนึ่งที่ข้าพเจ้าสังเกตอยู่เสมอ ข้าพเจ้าบอกได้เพียงว่า ท่านเพียงรู้ และหลายๆอย่างรู้แบบไม่เคลียร์ และท่านยังไม่ได้ “เป็น” เพราะฉะนั้น จงเลิกภูมิใจในความรู้ทางธรรม ปลอมๆที่มีนั่นซะ ตามมานี่ ขอแค่ทำตาม ใส่ใจ และเป็นคนจริงเท่านั้น ท่านจะพบด้วยตัวเองว่า ธรรมบนกระดาษ ธรรมในความคิด กับ ธรรมที่มีชีวิตชีวา ต่างกันเช่นไร

และขอให้ท่านรู้ไว้ว่า ท่านทำได้แน่นอน ไม่ใช่แค่ท่านเท่านั้น ต่อให้คนคนนั้น เคยฆ่าคนมาก่อน โกงชาติบ้านเมือง ถูกรุมโทรมข่มขืน เป็นกระเทย เป็นเกย์ พิการ หรือเลวร้ายอย่างไรก็ตาม ถ้ายังมีความสามารถในการเรียนรู้ และเอาจริง จะทำได้ทุกคน

ถ้าท่านคิดว่า ท่านทำอย่างหลวงพ่อเทียนไม่ได้ ท่านจะมาเสียเวลาทำมันทำไม ข้าพเจ้าทำสิ่งนี้เพราะจะทำให้มันถึงที่สุด และไม่สนเลยว่า จุดที่ถึงที่สุดมันจะเรียกว่า นิพพาน หรือ เรียกว่าอรหันต์ แต่ถ้าท่านว่ามันสูงเกินไป ลึกซึ้งเกินไป เกินสติปัญญาจะเข้าถึง จะเอาแค่ไม่ตกนรก บอกมาคำเดียวข้าพเจ้าจะเลิกสนใจท่านทันที เพราะท่านกำลังแสดงให้ข้าพเจ้าเห็นว่า ท่านก็เป็นแค่คนที่มีจิตใจอ่อนแอ ธรรมดาคนนึง ข้าพเจ้าไม่ต้องการเสียเวลาไปกับคนไม่จริง

ถ้าท่านพร้อมจริง ข้าพเจ้าจะลากท่านไปด้วย จากจุดเริ่มต้นถึงตรงนี้ ข้าพเจ้าถางทางให้แล้ว แค่เดินตามมาเท่านั้น ข้าพเจ้าจะใช้ชีวิตนี้เป็นด่านหน้าให้ท่านเอง ถ้าทำแล้วตายข้าพเจ้าจะตายก่อน ถ้าทำแล้วเป็นบ้าข้าพเจ้าจะเป็นบ้าก่อน ไม่ว่าอะไรที่ท่านกลัวเกรงข้าพเจ้าจะขอรับก่อน

ขอให้ท่านเตรียมใจไว้ว่า ความมั่นใจเช่นนี้จะเกิดกับท่านอย่างแน่นอน “ท่านจะรู้ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นมาจากตัวท่านเอง” ไม่ใช่เกิดจากข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเพียงรู้ว่า จะต้องกระตุ้นมันอย่างไรให้มันเกิด ซึ่งมันจะถูกผลักดันออกจากสภาวะภายในของท่านเอง ถ้าท่านไม่เหลาะแหละย่อท้อนะ ข้อแม้มีเท่านั้นล่ะ


ท่านอาจจะยังไม่เข้าใจว่า การรู้ขึ้นมาด้วยตัวเองนั้นเป็นอย่างไร เมื่อท่านสังเกตความคิดของตัวท่านเองอยู่เสมอ ท่านจะพบว่า ท่านจะไม่สามารถคิด หรือ รู้ สิ่งที่มันไม่มีอยู่ในระบบสมองของท่านได้ อะไรที่ท่านไม่รู้จัก ท่านจะคิดถึงมันไม่ได้

ข้าพเจ้าจะยกตัวอย่างง่ายๆประกอบนะท่าน เมื่อท่านปฏิบัต ท่านเห็นแสงสว่าง ท่านเห็นลูกแก้วสีนั้นสีนี้ ท่านเห็นพระพุทธรูป ท่านจะสังเกตว่าสิ่งที่ท่านเห็นนั้น เป็นสิ่งที่ท่านรู้จักแล้ว สมองมีข้อมูลของสิ่งเหล่านี้อยู่ และมันถูกประมวลออกมาในรูปแบบพิลึกกึกกือ มันไม่ใช่สิ่งใหม่ มันไม่ใช่สิ่งพิสดารอะไรเลย ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในวงการดีไซน์ การสร้างอิมเมจในหัวสมอง หรืออิมเมจแปลกๆที่เกิดขึ้นเองในภาวะที่กระทันหัน เป็นเรื่องที่ธรรมดามากๆ

และนั่นคือสิ่งที่พยายามจะบอกท่าน คนเราไม่สามารถจิตนาการอะไร ที่มันยังไม่มีอยู่ในสมองได้
แต่อะไรที่มันไม่มีในสมองของท่าน ไม่ได้หมายความว่า มันไม่มีอยู่ มันมีอยู่เพียงแต่ท่านยังไม่สามารถเข้าไปรู้มันได้ เพราะเหตุปัจจัยยังไม่พร้อมให้มันเข้าไปรู้

การที่คนเราจะเข้าไปรู้อะไรบางอย่าง ในสิ่งที่เรายังไม่รู้จัก หรือยังไม่มีในระบบสมองนั้น ต้องอาศัยสิ่งที่ท่านเรียกกันว่า “ญาณ” ตัวนี้แหละจะเป็น “หัวหมู่” ทะลวงความไม่รู้ความโง่ มันจะเป็นตัวแรกที่ทะลายด่านเข้าไปรู้ในสิ่งใหม่ๆ หรือเข้าไปรู้ตัวสัจธรรม จากนั้นปัญญาจะเป็นตัวขยายความเข้าใจนั้นๆ ให้กระจ่างในรูปของการคิด และเมื่อไหร่ที่ญาณเกิดกับท่านแล้ว ท่านจะไม่มีวันพลาดผิดต่อความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ซึ่งแน่นอนเป็นการรู้เองล้วนๆ ไม่ใช่รู้มาจากตำราหรือ ครูบาอาจารย์

ญาณ ชนิดนี้ จะจัดการกับ ทุกข์ แบบไม่มีการออมมือ มันจะถอนราก ถอนโคน ทัศนะคติเก่าๆ ความเชื่อเก่าๆ ความยึดมั่นถือมั่น ที่ท่านมีอยู่เดิม จะถูกลบล้างทำลายอย่างหมดสิ้น เมื่อสิ่งนี้เกิดกับท่านเมื่อไหร่ ทัศนะคติในเรื่องนั้นๆของท่านจะพลิก สิ่งที่เคยเชื่อ จะเลิกเชื่อถือ สิ่งที่เคยไม่เข้าใจ จะกระจ่างแจ้งแบบแทงทะลุ

และนี่คือความเข้าใจของข้าพเจ้าในเรื่องญาณ ซึ่งต่างจากคนอื่นค่อนข้างมาก เพราะข้าพเจ้าเอาสภาวะที่เกิดจริงเป็นตัววัด

ญาณที่ 1 “รู้รูปนาม”
ญาณที่ 2 “ความยึดมั่นถือมั่นในทุกสรรพสิ่งจางคลาย”
ญาณที่ 3 “ศีลปรมัตถ์ปรากฏ”
ญาณที่ 4 “ปัญญาญาณปรากฏ (วิปัสนาญาณ)”
ญาณที่ 5 “ขันธุ์ 5 ปรุงไม่ได้ คือ การขาดจากกันอย่างถาวร”

ทั้งหมดที่ข้าพเจ้าพยายามท้าท่านให้ทำ เพื่อที่จะกระตุ้นให้ตัว “ญาณ” นี่มันเกิด เท่านั้นเอง และญาณในที่นี่ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องญาณ4 ญาณ16 เหล่านั้น อันนั้น ญาณตำรา

สุดท้ายนี้ ไม่ต้องสนใจคนอื่นว่าเค้าจะปฏิบัตแนวไหน อย่างไร รู้อะไร สอนใครอย่างไร ไม่ต้องไปวิจารณ์คนเหล่านั้น ถ้าท่านเป็นนักวิจารณ์ จงวิจารณ์ตัวเอง จงสอนตัวเอง คนส่วนใหญ่จะไม่ยอมรับว่าตนกำลังทำผิด แต่มองว่าคนอื่นต่างหากที่ผิด ออกมาจากวงจรไร้สาระนั่นซะ จงเป็น “สุนัขที่กระโดดเข้ากัด แต่อย่าเป็นสุนัขที่เก่งแต่เห่าอยู่หลังกรง”

ท่านจงพุ่งเป้าทั้งหมดไปที่ตัวเอง เริ่มที่ตัวเอง ศึกษาตัวเอง บอกให้ทำอะไรก็ทำไปแบบโง่ๆ เท่านั้น เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ให้ท่านเข้าใจถึงสาเหตุทั้งปวงของความทุกข์ด้วยตัวท่านเอง ท่านจะเข้าใจได้เองว่า ทำไมจึงมีคำว่า


“ เรา ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตัวของเราเอง ”




ขอวันนี้ของท่านสวยงามต่อไป

คัดลอกมาจาก >>> http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y4403971/Y4403971.html <<< ซึ้ง
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"

แก้ไขล่าสุดโดย พิชชาธร เมื่อ 12 มิ.ย.2006, 7:45 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 03 มิ.ย.2006, 4:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เครื่องเนิ่นช้า

ก่อนที่ท่านจะอ่าน ข้าพเจ้าขอถามคำถามท่านได้ไหม ขอให้ท่านตอบต่อตัวท่านเอง ก่อนที่ท่านจะอ่านต่อไป (บุคคลที่เป็นโสดาบันขอให้ข้ามไป)

คำถามคือ.....
ในฐานะที่ท่านปฏิบัตมาอย่างยาวนานเป็นสิบๆปี หรือบุคคลใดที่มากกว่า 7 ปี เหตุใดท่านจึงไม่สามารถเข้าใจธรรม แม้แต่ในระดับที่เรียกกันว่าโสดาบันได้ ทั้งที่ในตำราที่เชื่อกันหนักหนา ก็เขียนยืนยันไว้ชัดเจนว่า ถ้าปฏิบัตตามแนวทางสติปัฐฐาน4 อย่างถูกต้องและต่อกันเหมือนลูกโซ่ ภายใน 7 ปี จะมีอานิสงค์ 2 ประการ

1.คือเป็นอรหันต์ในชาตินี้
2.ถ้าพลาดจากอรหันต์ จะต้องเป็นอนาคามี แน่นอนที่สุด (ถ้าไม่ตายซะก่อน)

เหตุใดเวลานับหลายสิบปีที่ผ่านมา ท่านทุ่มเทกับมัน ท่านจึงยังไม่ถึงที่สุดของทุกข์ ท่านเคยมองหาจุดอ่อนตรงนี้ไหม ข้าพเจ้าขอร้องท่านจากหัวใจ ว่าอย่าพึ่งอ่านต่อไป ให้ท่านลองนึกตรึกตรองซัก 5 นาที

1
2
3
4
5

ต่อจากนี้ เป็นเพียงทัศนะของข้าพเจ้าเท่านั้น อย่าได้เชื่อหากท่านยังมิได้พิสูจน์


ประการที่ 1

“ รู้ผิดปฏิบัตผิด”

ท่านเข้าใจความหมายของมันใช่ไหม ประโยคสั้นๆ แต่มันคงแทงใจท่านอย่างร้ายกาจ
ท่านจะรู้ว่าที่ผ่านมามันผิดต่อเมื่อ ท่านมีการประจักษ์แจ้งถึงสิ่งที่ถูก และมองย้อนไปถึงอดีตเอาเอง เท่านั้น มิใช่ให้ใครมาบอกมาสอน ซึ่งท่านคงประสบตรงนี้แล้ว

นี่คือเหตุผลว่าทำไม โกฑัญญะ จึง เป็นโสดาบันทันที ในขณะที่ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือทำไมเซนถึงนิยมสอนคนด้วยการใช้โกอาน


ประการที่ 2

“เข้ากระทำ”

สิ่งนั้นเป็นอยู่อย่างนั้น ท่านมีมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว นับตั้งแต่ที่ท่านอุบัตขึ้นมา การที่ท่านเข้ากระทำเป็นการไปบังสิ่งนั้นเอาไว้ และวิธีเปิดมันออกนั้น ไม่ใช่ไปทำอะไรขึ้นมา แต่มันคือ การ “หยุด” ต่างหาก หยุดจากการกระทำทั้งปวง หยุดแสวงหา หยุดพยายาม ให้สิ่งนั้นแสดงอานุภาพตามธรรมชาติที่เป็น

ท่านรู้ไหม ทำไมพระพุทธเจ้าจึงพูดกับองคุลีมาลว่า “เราหยุดแล้ว”

ประโยคนี้ลึกมาก ระดับสกิทาคามีขึ้นไป ฟังแล้วจะเข้าใจว่าหมายถึงอะไร (เข้าใจด้วยชีวิต มิใช่คิดตามคำพูดเอาแล้วเข้าใจ)


ประการที่ 3 สำคัญที่สุด

“เข้าไปในความคิด ทำตาม สิ่งที่เดา สิ่งที่คิด สิ่งที่เชื่อ”

วนเวียนอยู่กับสิ่งที่รู้ ติดอารมณ์ ติดประสบการณ์ ที่จบไปแล้ว ได้แล้วจะเอาอีก พยายามยื้อสภาวะนั้นๆไว้นานๆ นี่คือสิ่งที่บังหรือกั้นไว้ คนที่มีปัญหาขัดแย้งกันส่วนใหญ่ทั้งกับตัวเองและกับคนอื่น ติดอยู่ที่ตรงนี้



ทีนี้เราจะเข้าไปดูตัวอย่างให้เห็นกันจะจะไปเลย ซึ่งข้าพเจ้าขออนุญาตใช้เรื่องของท่าน ชี้ให้ท่านเห็นบางอย่าง

ท่านดูความคิด ท่านเห็นความคิด อยู่เสมอ ท่านพยายามศึกษามัน ท่านเริ่มนับว่าในหนึ่งนาที ท่านคิดกี่ครั้ง การคิดของท่านหนึ่งครั้งนั้นกินเวลาเป็นกี่วินาที ท่านเริ่มสงสัยคนอื่น ยกตัวอย่างเช่นว่า (only for example) หมอนั้นจะเร็วกว่านี้ไหมนะ หรือในหนึ่งนาทีหมอนั้นจะมีความคิดเกิดกี่ครั้งกันนะ หมอนั้นตัดความคิดได้เร็วแค่ไหนนะ

ท่านเห็นหรือไม่ ความคิดที่ท่านดูในตอนแรก มันครอบท่านไว้ตั้งแต่ที่ท่านเริ่มนับแล้ว ทีนี้มันจะเริ่มปรุง ท่านจะเริ่มหาคำตอบให้ตัวเองอย่างไม่รู้ทิศทาง คือมันเป็นทิศทางที่ความคิดมันนำไป


“กระบวนการดูความคิดที่เราฝึกกันนั้น เราผึกเพื่อที่เราจะไม่ถูกความคิดมันปรุง หรือลากไป ยิ่งรู้ได้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี แต่ต้องเป็นธรรมชาติ มิใช่เพ่งเพื่อให้รู้ได้เร็วนะท่าน”


ที่นี้มาดูขั้นหนักกว่านั้น


ท่านดูความคิดอยู่ ความคิดในวัยเด็กที่เลือนลางไปนานแสนนานมากแล้วโผล่ออกมา ท่านเริ่มจินตนาการ ถึงอานุภาพของการดูความคิด ว่า อ๋อ ด้วยเหตุอย่างนี้เอง คนจึงระลึกชาติได้

ท่านก็พลาดอีกแล้ว ตั้งแต่ที่ท่านไปรู้ว่า ท่านกำลังรู้อะไร ท่านกำลังไปรู้ว่า มันเป็นความคิดเรื่องในวัยเด็ก

ที่นี้สมองของท่านจะทำงานทันที มันจะเริ่มคิดให้ตัวมันเอง “ลืมไปนานแล้วเรื่องนี้” “เรื่องสืบเนื่องที่1 ” “เรื่องสืบเนื่องที่2” และมาจบตรงที่ “ อ๋อ คนระลึกชาติได้เพราะอย่างนี้นี่เอง”


ทีนี้มาเข้าทฤษฏีกันซักนิด

มี อวิชชา จึงมี สังขาร .......................................เมื่อท่านรู้ไม่ทันความคิด ท่านก็ปรุง
มี สังขาร จึงมี วิญญาณ ....................................เมื่อท่านปรุง มันก็เกิดรู้เป็นเรื่องเป็นราว
.
.
.
.

มี ภพ จึงมี ชาติ ..........................................มันก็มาจบลงอย่างที่ท่านเข้าใจนั้นเอง


อธิบาย ปฏิจสมุปบาท แบบง่ายๆตามภาษาชาวบ้านก็คือ “เมื่อท่านเข้าไปในความคิด สิ่งต่างๆมันก็มี เมื่อท่านไม่เข้าไปในความคิด สิ่งต่างๆมันก็ไม่มี”

มันจึงเป็นที่มาของคำกล่าวว่า “ ธรรมทั้งหลายล้วนไม่มีตัวตน ”

ประเด็นด้านบนนั่นคือ จุดอ่อนที่ใหญ่ที่สุดของความคิดของมนุษย์ ถ้าท่านเข้าใจเรื่องของความคิดอย่างแท้จริง ท่านจะพบว่า ท่านไม่สามารถคิดอะไรได้ ในสิ่งที่ท่านไม่รู้จัก แม้แต่นวัตกรรมที่มนุษย์ค้นพบใหม่ๆทุกวัน ก็เป็นการเทียบเคียงของความคิด เป็นการผสมผสานสิ่งที่เคยพบเคยเห็นเข้าด้วยกันอย่างสร้างสรรค์ เป็นสิ่งใหม่ แต่มนุษย์ไม่สามารถคิดอะไร ที่ไม่มีอยู่ในระบบสมองได้

นั่นจึงเป็นเหตุผลสำคัญว่า ทำไมบางคนเข้าใจ และบางคนไม่เข้าใจ และนี่เป็นเพียงเรื่องของคนธรรมดาสามัญ


คราวนี้มาดูเรื่องของคนไม่ธรรมดาสามัญกันบ้าง

ท่านรู้จักใครซักคนใกล้ตัวท่านไหม ที่เค้ามีความเป็นอัจฉริยะเหนือคนทั่วไป ถ้าท่านขอให้เค้าอธิบายสิ่งที่เค้ารู้ ท่านจะพบว่า เค้าอธิบายไม่ค่อยจะได้ด้วยคำพูด แต่เค้าจะแสดงให้ท่านเห็นได้ นั่นเป็นเพราะคนเหล่านั้น ไม่ได้รู้สิ่งเหล่านั้นด้วยสมอง แต่รู้ด้วยความรู้สึก และมันมีบางอย่างจากภายในที่ผลักดันให้เชื่อในสิ่งเหล่านั้น คนพวกนั้นจึงมีพลังงานเหลือเฟือในการสานต่อ และไม่สนใจต่อเสียงต่อต้านรอบข้าง

คนพวกนี้เข้าไปรู้บางอย่างด้วยญาณ แล้วจึงใช้สมองช่วยแปล เฉลยมันออกมาในรูปของความคิด และออกมาเป็นภาษาในที่สุด ท่านจะสังเกตว่า ถ้าท่านเป็นคนไทย ท่านจะไม่สามารถคิดเป็นภาษาเอสกิโมได้เลย เพราะมันไม่มีในระบบสมองของคนไทย(ส่วนใหญ่)

แต่ในระดับความรู้ของญาณ จะรู้เหมือนกัน เข้าใจเหมือนกัน เพราะมันพุ่งไปที่สภาวะที่เป็น ที่เข้าใจ แต่ถ่ายทอดออกมาไม่เหมือนกัน นั่นคือ ความหมายของคำพูดที่ว่า “ ธรรมแท้ จะรู้อย่างเดียวกัน ”


เมื่อท่านจะสอนใครเรื่องธรรม โดยใช้ภาษามันจึงยาก เพราะผู้เรียนยังไม่มีความรู้ที่เกิดจากญาณในระบบสมองของเค้า แม้ท่านจะใช้ภาษาได้เก่งกาจเพียงใด มันก็ไกลจากตัวสภาวะที่รู้ด้วยญาณนั้นมากแล้ว เพราะมันเป็นเพียงสมมต เพื่อถ่ายทอดสิ่งที่รู้ด้วยญาณ


ท่านจะหลุดจากสมมตเหล่านี้ได้ ต่อเมื่อท่านประจักษ์แจ้ง ว่า สมมตในทางพุทธศาสนา คืออะไร
ข้าพเจ้าคงไม่บอกท่าน เพราะมันไม่มีประโยชน์ ที่ท่านจะไปรู้มันก่อน

เมื่อท่านถึงตรงนั้นเมื่อไหร่ ท่านคงรำพึงเบาๆว่า “เรื่องเท่านี้เอง ที่มันบังเอาไว้” และประตูของ
สกิทาคามีจะเริ่มเปิดแง้มจากที่ตรงนั้น




ขอวันนี้ของท่านสวยงามต่อไป


คัดลอกมาจาก >>> http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y4383168/Y4383168.html <<< ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"

แก้ไขล่าสุดโดย พิชชาธร เมื่อ 10 มิ.ย.2006, 10:18 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2006, 1:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท่านอาจจะใช้ คำว่า "เฝ้ามอง"หรือ "ดู" หรือ "สังเกต" ก็ได้ แต่ข้าพเจ้ามักใช้คำว่า "สัมผัส" หรือ "รู้สึกถึงมันแบบเพรียวๆ" ซึ่งจากการค้นพบจากตัวของข้าพเจ้าเองนี้ ข้าพเจ้าพอจะจับได้ว่า เราไม่ควรตั้งใจเพื่อจะไป "ดู" หรือไป "จับ" อยู่กับอะไรบางอย่างที่เราตั้งใจไว้ เพราะข้าพเจ้าสังเกตว่า เมื่อท่านอยู่กับการดูสิ่งนั้นไปซักพัก ท่านจะติดกับมัน เมื่อท่านเผลอไผล ปล่อยมันไป ท่านจะรู้สึกทุกข์ ประมาณว่าไม่น่าเผลอเลย ข้าพเจ้าขอแนะนำให้ท่านดูให้รอบรับรู้แบบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเกิดขึ้นของกิเลส การรับรู้ผ่านอายตนะ หรือ การทำงานประสานกันของขันธุ์ เมื่อท่านรู้ และสิ่งอื่นๆอีก เช่น นกร้อง เสียงโทรทัศน์ ความร้อน หรือเย็น กลิ่น ความรู้สึกอึดอัดที่น่าอก เมื่อโกรธ ความกระวนกระวายเพราะตื่นเต้น อะไรทำนองนี้

ท่านจงรู้ถึงการปรากฏของเค้า แต่ไม่ต้องนึกในใจว่าเกิดอะไรขึ้นขึ้นเพียงแต่รู้เฉยๆ รู้แบบว่าไม่รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น เพียงแต่รู้ว่ามีบางอย่างเกิดขึ้น กับความคิดที่เกิดท่านก็ปรับใช้กลยุทธนี้ได้ ข้าพเจ้าฝึกตนโดยผ่านวิธีการเหล่านี้ ที่ข้าพเจ้าเสนอท่านไว้พิจารณานั้นเพราะ ข้าพเจ้าเคยผ่านช่วงที่ท่านคิดกำลังจะนำไปปฏิบัติมาแล้ว เนื่องจากไม่มีผู้แนะนำ ข้าพเจ้าจึงไปติดอยู่ตรงที่ท่านกำลังจะไป อยู่ซักพัก( แต่ก็ดีเหมือนกันนะ)

คือว่าเมื่อเรา "รู้สึก" ถึงสิ่งที่เรา "รู้สึก" เราจะไม่รู้สึกถึงสิ่งที่เรายังไม่รู้เลย เพราะกำลังของสิ่งที่เรียกว่าสมาธิจะมุ่งไปจับ มันเอาไว้

สิ่งนี้เข้าพเจ้าประสบจากตัวเอง บางทีมันอาจดีหรือไม่ดีกับท่านก็ได้ ข้าพเจ้าไม่ทราบ แต่ ถ้าท่านลองวิธีของท่านแล้วพบความอึดอัด ลองใช้วิธีที่ข้าพเจ้าเสนอดู


เจ๋ง copy from >>> http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/Y3373025/Y3373025.html ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"

แก้ไขล่าสุดโดย พิชชาธร เมื่อ 10 มิ.ย.2006, 10:14 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2006, 2:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลบ
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"

แก้ไขล่าสุดโดย พิชชาธร เมื่อ 12 ก.ค.2006, 4:28 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 05 มิ.ย.2006, 11:06 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยืดหยุ่นในการยืดหยุ่น

ขอให้ท่านสังเกตคำตอบของผู้ตอบต่อคำถามของข้าพเจ้า เค้าเหล่านั้นจะสอนท่านได้เป็นอย่างดี วิธีที่เค้าเหล่านั้นใช้เป็นวิธีที่ดี แต่ถ้าท่านมีปัญญา ท่านจะเห็นว่า เมื่อท่านต้องการละ ความยึดมั่นถือมั่น แล้วท่านมีหลักการอะไรบางอย่างเพื่อจะละมัน ท่านจะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในหลักการนั้นแทน มันจึงเป็นเหมือนลิง ที่ปล่อยกิ่งไม้เก่าไปจับกิ่งไม้ใหม่ สุดท้ายแล้วท่านก็ไม่ได้ละอะไรเลย

ความยึดมั่นถือมั่นที่ข้าพเจ้าหมายถึงนั้น หมายถึงการถอนรากมันออกไปจากสันดานจิตนิสัย ไม่ใช่ถอนเป็นเรื่องๆ หมายถึง โละ หรือ สลัด มันออกไปทีเดียวในทุกทุกเรื่อง

ให้ท่าน ฝึกตนเองให้ ยืดหยุ่น ในทุกสถานการณ์ ในทุกทัศนะคติอยู่เสมอ ให้สภาวะจิตใจของท่าน ไม่มีความแตกต่างระหว่าง การเข้ายึด หรือ “การไม่เข้ายึด จะยึดก็ได้ไม่ยึดก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถาสการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ท่านอย่าได้มีหลักการตายตัว

ความยืดหยุ่นอันนี้ก็ เป็นเพียงสมมตภาษา ให้ท่านเข้าใจเท่านั้น แต่คำนี้ก็ค่อนข้างที่จะตรงในสิ่งที่พยายามจะสื่อให้ท่านเข้าใจ สมมตว่าท่านเปรียบมันเป็นหลักการที่เอาไว้แก้ ความยึดมั่นถือมั่น ท่านจะไม่สามารถยึดความยืดหยุ่นได้ เพราะในความหมายของมัน กินความถึง จงยืดหยุ่นในความยืดหยุ่นเอาไว้ด้วย

คนส่วนใหญ่จะใช้วิธีบอกตัวเอง ชี้ให้ตัวเองเห็นโทษของสิ่งเหล่านั้น ด้วยการคิดพิจารณาเอา ใช้สิ่งที่คิดเอาเองนั้นเป็นตัวกระชากจิตใจออกมาจากสิ่งที่จะเข้าไปยึด สำหรับข้าพเจ้านั่นเป็นวิธีของคนฉลาดใช้กัน แต่ไม่ใช่วิธีของผู้ที่มีปัญญา เหตุใดข้าพเจ้าจึงกล่าวเช่นนั้น เพราะวันหนึ่งเมื่อท่านไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมจะคิด อยู่ในสภาพอ่อนแอ ท่านจะพลาด และคนส่วนใหญ่ก็พลาด เมื่อพลาดแล้วพลาดอีก ท่านก็จะตั้งปณิธานว่าจะเอาชนะสิ่งเหล่านี้ให้ได้ นั่นคือ ท่านก็จะเข้ายึดตัว ปณิธาน นั่นอีกแล้ว

วิธีของผู้มีปัญญาคือ การเข้าไปเห็นที่ตัวสภาวะที่มันตั้งต้นก่อตัวขึ้น แล้วให้ปัญญาจัดการตัวมันเอง มันจะละของมันเอง มันปฏิเสธของมันเอง ไม่มีการปลอบบอกตัวเองด้วยคำพูดใดๆทั้งสิ้น ที่มันละของมันเองเพราะจิตใจมันยอมรับสภาพนั้นอย่างแท้จริงว่ามันเป็นทุกข์

คนส่วนใหญ่ฉลาดอยู่บนความเขลา เข้ายึดมั่นถือมั่น ในเรื่องศีล ต้องให้ครบ ต้องสมบรูณ์ โดยไม่รู้เลยว่าก่อทุกข์ให้ตน บางครั้งกระเทือนไปถึงคนรอบข้างด้วยซ้ำ แต่ก็ยังหลอกตัวเองด้วยความคิด ว่า นั้นเป็นบุญ

บางคนยึดในการปฏิบัต ต้องขวาทับซ้าย ต้องบริกรรมคำนั้นคำนี้ ต้องทำเร็วๆ ต้องทำช้าๆ นั่นเพราะท่านยังไม่เข้าใจ ตราบใดที่ท่านยังมีกฏเกณฑ์ในใจ และพยายามเสาะแสวงกฏเกณฑ์ต่างๆมาให้ตัวเอง ท่านจะทุกข์เสมอ แต่ท่านจะรู้ตัวหรือไม่ มันเป็นเรื่องของท่าน

บางคนสงสัยว่า เราจะละการยึดมั่นถือมั่นในความสุขเช่นไร นั่นเพราะ ท่านยังไม่เข้าใจ ว่าทุกข์กับสุข นั้นคือสิ่งเดียวกัน ความคิดและอารมณ์ของท่านต่างหากที่เข้าไปแยกแยะมัน เมื่อท่านรู้ว่าทุกข์ท่านก็อยากละ เมื่อท่านรู้ว่าสุขท่านก็อยากอีก

ความยึดมั่นถือมั่นที่แท้จริงคืออะไร มันก็คือการที่ท่านเชื่อความคิดของท่านนั่นเอง พยายามจะทำตามสิ่งที่คิด พยายามตอบคำถามตามที่ตนเองคิด พยายามแสดงภูมิตามที่กิเลสมันผลักดัน

สิ่งเหล่านี้ยังอยู่ที่ต้นทางมากๆ ถ้าท่านยังไม่เข้าใจ ยังไม่หลุดจากสิ่งเหล่านี้มันก็เป็นการยากที่ท่านจะไปต่อได้



ขอวันนี้ของท่านสวยงามต่อไป


ขำ http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y4429336/Y4429336.html สาธุ
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 05 มิ.ย.2006, 9:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ

ขออนุโมทนาสาธุด้วยครับ

ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 06 มิ.ย.2006, 3:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำตอบ....ของคนโง่ กับ คำถาม....ของคนฉลาด

from >>> http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/Y3786425/Y3786425.html ยิ้มเห็นฟัน

สิ่งที่ท่าน จะได้อ่านต่อไปนี้เป็น มุมมอง ความเข้าใจ ของคนโง่คนหนึ่ง ถ้าท่านอยากจะอ่านมันอย่างสบายใจ ขอแนะนำให้ปรับจิตปรับใจ ให้โง่พอๆกัน หรือ โง่กว่าเสียก่อน มิฉะนั้น ท่านผู้รู้ ผู้ฉลาดทั้งหลาย จะเกิดทุกข์ตามมาเป็นแน่ (แต่จะรู้ว่าเป็นทุกข์ หรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) แต่ถ้าท่านปรับจิตปรับใจให้โง่ไม่ได้ ท่านก็..ไม่ควร...ที่จะอ่าน

1. นิพพาน อัตตา อนัตตา

ปัญหา Top Ten อันมีที่มาจาก การที่ผู้คนพยายาม ที่จะนำสมมติภาษาไปแทนตัวสภาวะ โดยคิดว่า คำๆนั้น อธิบายสภาวะนิพพาน ได้ถูกต้องมากกว่า ซึ่งมันแทนกันได้ในการสื่อสารเท่านั้น แต่ไม่ตรงกับตัวสภาวะ 100 %

ถ้าท่านแปล “อัตตา” ว่า มีตัวตน และแปล “อนัตตา” ในทางตรงกันข้าม

ผู้มีปัญญาอย่างแท้จริง จะไม่มอง คำสองคำนี้ในลักษณะ ของคู่ตรงกันข้าม แต่คนเหล่านั้นรู้ว่า สภาวะนั้น "มีตัวตน" แต่เป็นตัวตนในลักษณะของสภาวะทางจิตใจ และการที่จิตใจจะเปลี่ยนไปเป็นสภาวะ ดังกล่าวนั้น จะต้องผ่านกระบวนการ “ทำตน ให้ไม่มีตัวตน” เสียก่อน (ซึ่งคำๆนี้ก็เป็นสมมติภาษาเช่นกัน ที่ใช้อธิบายโดยสรุป วิธีปฏิบัตแบบกว้างๆ)

บุคคลผู้มีปัญญาเหล่านั้นรู้ว่า ไม่ว่า อัตตา หรือ อนัตตา ล้วนเป็นสิ่งเดียวกัน ยิงไปสู่จุด จุดเดียวกัน แต่สมมติภาษานั้น อธิบายมาจาก คนละด้านของจุดจุดนั้น

ถ้าท่านแปล คำสองคำนี้ไปในความหมาย อย่างอื่น ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย ก็จะไปติดกับ ความหมาย ของสิ่งที่ท่านแปลอยู่ดี ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไร ต่อการทำจิตทำใจ ให้เข้าถึงสภาวะนั้น เพราะหัวใจมันอยู่ที่ การปฏิบัตอันถูกต้อง แม้จะประกาศปาวๆว่า เป็นไปเพื่อสอนบุคคลอื่นก็ตาม หรือเพื่อ ทำความเข้าใจให้ตรงกันก็ตาม ในเมื่อตัวเองยังไม่รู้ รู้ไม่ตรง จะไปสอนคนอื่นได้กระนั้นหรือ อาจมีบางท่านกล่าวว่า ท่านถึงแล้ว จึงต้องการนำมาบอก ผู้ที่ถึงแล้วนั้นจะเลยระดับการหลุดสมมติไปแล้ว 2 ขั้นใหญ่ๆ พวกเขาจึงไม่มานั่งเถียงกันเรื่องสมมติภาษาเช่นนี้หรอกท่าน

ขอเตือนอีกครั้ง ข้อความนี้ เหมาะ กับบุคคลบางประเภทเท่านั้น บุคคลเหล่านั้น จะใช้สมมติ เหมือนคนทั่วไป แต่ใจของเขาเหล่านั้น จะไม่เข้ายึด เข้าจับกับสมมติอีกแล้ว โดยเฉพาะ สมมติภาษา กับ สมมติพูด

2. ปฏิจจสมุปบาท

เมื่อมีผู้ถามถึงสิ่งนี้ จะมีบางคนตอบว่า “ไม่ได้เข้าใจ ยากเย็นอะไร” จากนั้นมักจะมีผู้หวังดี แย้งขึ้นมาทำนองว่า “ดูก่อนธรรมนี้ลึกซึ้งยิ่งนัก ปรากฏไว้ชัดในตำรา”

ปฏิจจสมุปบาท.....อวิชา.....โมหะ.....บาป.....โง่ ล้วนเป็นสิ่งเดียวกัน เป็นการอธิบายลงลึกไปที่ สิ่งเดียวกัน
โมหะ คือ ไม่รู้ตัว ไม่รู้ใจ ตัวเอง
อวิชา คือ ไม่รู้ความคิดตัวเอง ไม่รู้ ที่เกิด ของต้นตอทั้งหมด ของทุกข์ และ ไม่
รู้วิธี ที่ทำให้พ้นไปจากสิ่งเหล่านี้
ปฏิจจสมุปบาท คือ การอธิบายสภาวะ อันเกิดจาก จิตใจ มี โมหะ และ อวิชาเต็ม ผู้ใดยังขบคิดเกี่ยวกับธรรมนี้ ถือว่าอยู่ในวงจรของปฏิจจสมุปบาท เพราะไม่รู้จริงนั่นเอง และ ตัวจริงของมัน คือตัวสภาวะ ไม่ใช่ตัวหนังสือ หรือตัวความคิดความเข้าใจ ที่อยู่ในสมองคนที่พิจารณา

สมการทางช้างเผือก ของไอสไตน์ ไม่ใช่สิ่งที่มีไว้ให้ขบคิด แต่มีไว้ เพื่ออธิบายความจริง ของทางช้างเผือก แต่ละบรรทัดที่แสดงคือ การอธิบาย ไม่ใช่ตัวทางช้างเผือก ไม่ใช่ตัวจริงของสภาวะของมัน แต่คนไปเข้าใจว่าเจ้าสมการนั้นคือ ตัวทางช้างเผือก จึงติดอยู่ตรงนั้น

ผู้ที่เข้าใจ ปฏิจจสมุปบาท จะไม่มองในรายละเอียด แต่สัมผัสแบบองค์รวม สัมผัสที่หัวใจของมันทันที และจะ รู้ขึ้นมาเอง รู้ขึ้นมาเฉยๆ รู้จาก การผ่านการปฏิบัตอันถูกตรง มิได้รู้จากการขบคิด พิจารณาเอาเอง และเมื่อรู้สิ่งนี้ขึ้นมา เขาคนนั้นอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่า คนอื่นๆ เรียกมันว่า ปฏิจจสมุปบาท และมีเขียนไว้ในตำรา ว่า ลึกซึ้งยิ่งนัก

3. ปัญญา

ปัญญาที่ 1 คือ ความสามารถในการจัดการกับสภาวะทุกข์ อันเป็นไปเอง เกิดขึ้นโดยทันทีพร้อมกับสภาวะทุกข์เสมอ จัดการรวดเร็ว เด็ดขาด แม่นยำ ไม่มีการออมมือ ไม่มีการเตรียมตัวมาก่อน เพราะมันเตรียมพร้อมจะจัดการอยู่แล้วตลอดเวลา ปัญญาแบบนี้ ใช้จัดการทุกข์ได้ 100 %

ปัญญาที่ 2 คือ ความรู้ในลักษณะการสังเกตจากปฏิบัต ปัญญาแบบนี้จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในเรื่องนั้นๆ ครั้งต่อๆมา จะเป็นเพียง การคิดถึงในสิ่งที่ได้รู้ไปแล้วเท่านั้น เมื่อทุกข์เกิด จึงทำได้เพียง คิด หรือบอก กับตัวเองถึง สิ่งที่รู้ในหัวเท่านั้น ปัญญาแบบนี้ ใช้จัดการทุกข์ได้ 10 % แต่ปัญญาตัวนี้จะพัฒนาตัวเองไปเป็นปัญญาที่ 1 และปัญญาตัวนี้ เป็นต้นตอของ วิปัสสนูอาการ

ปัญญาที่ 3 คือ ความรู้ที่ได้มาจาก การอ่านมาก ฟังมาก คิด พิจารณา เทียบเคียง เอาเอง จากตำรา หรือครูบาอาจารย์ คนส่วนใหญ่มีปัญญาลักษณะนี้ คนที่มีลักษณะปัญญาแบบนี้ เป็นคนที่สังคมมักเรียกว่า ฉลาด รอบรู้ เก่ง แต่คนแบบนี้ มีอยู่ทั่วไป และมักยึดติดในความรู้ของตนเอง ว่าถูกต้อง เมื่อมีการถกเถียงในเรื่องที่ตนรู้มาก่อน จึงมักจะกระโจนลงไปเล่นด้วย โดยไม่รู้ว่าก่อทุกข์ให้ตน บุคลิกทั่วไปคือ วางตนในลักษณะสอนคนอื่น ปัญญาแบบนี้ ใช้จัดการทุกข์ได้ 1 %

ทุกข์ในบทความนี้คือ ทุกข์แท้ๆ มิใช่ ทุกข์ตามที่คนทั่วไปเข้าใจกัน

4. สมถะ วิปัสนา

ลักษณะของสมถะ “พยายามทำจิตทำใจให้สงบ ” แล้วเริ่ม “คิด พิจารณาเอาเอง ” ถ้าไม่สงบ จะทำไม่ได้ เมื่อมีความรู้ใดเกิดขึ้นมา ไม่มีความมั่นใจ ต้องคอยถามคนโน้น คนนี้ เพื่อยืนยัน ความถูกต้อง ผลของการทำสมถะ คือความอดทน ต่อสิ่งแวดล้อมในขณะปฏิบัตเป็นยอด แต่ไม่เกิดปัญญา เมื่อเผชิญโลกภายนอก มักสู้อารมณ์ไม่ได้

ลักษณะของวิปัสนา มุ่งไปที่ “รู้ ” แต่ไม่ใช่ “เพ่งให้รู้ ” ไม่จำเป็นต้องสงบ เพราะ มันเป็นการสงบ อยู่บนสภาวะที่สงบก็ได้ ไม่สงบก็ได้ ไม่ต่างกัน และ ไม่พยายามทำให้ สิ่งใดๆเกิดขึ้นมา ไม่คาดหวังสิ่งใด เพียงแต่รู้เฉยๆ รู้ล้วนๆ รู้เพรียวๆ ผลของการทำวิปัสนา คือเกิดปัญญา รู้แจ้งเห็นจริง ตามความเป็นจริง มั่นใจในสิ่งที่รู้ ไม่ต้องถามใคร ไม่ต้องอาศัยสติปัญญา เพราะสติปัญญามันมีมาเอง

5. ปริศนาเซน และการสอน โดยการไม่สอน ไม่พูด

ถ้าท่านอ่านมาถึงตรงนี้ เกิดปัญหาขัดแย้งมากมาย นั่นเพราะท่านไปติด อยู่กับสมมติของภาษา ติดอยู่กับสิ่งที่รู้อยู่ก่อน มองไม่ออกถึงแก่น ของสิ่งที่เป็นจริง “การรู้ของจริง กับการจำของจริงมาพูด ” มันเป็นคนละเรื่องกัน ของจริงจะต้องรู้อย่างเดียวกัน (ของจริงในที่นี้คือ สภาวะ) แต่อาจอธิบายด้วยสำนวนภาษาที่ต่างกัน ผู้มีปัญญาเท่านั้นจึงจะเข้าใจกันได้

ผู้รู้ใช้ภาษาสมมติ แบบไม่แยแส เป็นตัวของตัวเอง เพราะรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตัวเอง มิได้จำคำที่ไหนมาพูด เมื่อจะสอนใครจึงรู้ถึงข้อจำกัด และ ความสามารถของสมมติภาษา จะสร้างความสับสนทางการตีความมากกว่า จะเกิดประโยชน์ในการปฏิบัต

ปริศนาธรรมของเซน ไม่ได้ให้มีไว้หาคำตอบเป็นสำคัญ แต่มีไว้สำหรับช่วงท้ายที่สุดในการตระหนักรู้ ว่าทำไม คนสอนถึงให้ปัญหานี้มา เพราะ ณ. จุดนั้น ผู้เรียนจะเข้าใจว่า อะไรคือ ต้นเหตุของความทุกข์ทั้งปวง

ปริศนาธรรมมีไว้เพื่อเปลี่ยนคนให้เป็น โสดาบัน ด้วยตัวของตัวเองเท่านั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อทำผู้ขบคิดให้เป็น อรหันต์ แต่หลังจากเป็นโสดาบันแล้ว จะพอมองออกเองว่า จะเดินไปจนสุดทางทำได้เช่นไร เมื่อนั้นปริศนาธรรมก็จะทำหน้าที่ต่อคนๆนั้นโดยสมบรูณ์


6. สัมมาทิฐิ มิจฉาทิฐิ

ใครเป็นผู้กำหนดสิ่งนี้ ครู? ตำรา? คิดเดาเอาเอง?

ทางใดก็ตามที่ทุ่มเทปฏิบัต แล้ว ยังผลให้เกิดปัญญา จัดการสภาวะทุกข์ได้ ทางนั้นนั่นแหละ สัมมาทิฐฐิ ท่านต้องเห็นผลของการทำด้วยตัวเอง มิใช่ไปจำคำใคร ข้อความจากไหนมาพูด หรือรอให้คนอื่นมาบอกมาทัก

ทางใดก็ตามที่ปฏิบัตแล้ว ไม่เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ตัน มืด ไม่ก้าวหน้า (ก้าวหน้า หมายถึง สามารถจัดการสภาวะทุกข์ได้ลึกลงไปเรื่อยๆ) เมื่อรู้แล้วมัวแต่เอาไปคุย ไปโม้ให้คนอื่นฟัง นั่นแหละมิจฉาฑิฐิ จัดการทุกข์ได้แบบ ถู ไถ

สองทิฐินี้ ไม่มีใครบอกได้ ว่าอะไรเป็นอะไร อย่างไหนถูกอย่างไหนผิด ท่านต้องประจักษ์ด้วยตัวเอง รู้ด้วยตัวเอง พิสูจน์เอาเอง แต่บางคนไปเชื่อคนอื่น เพราะคนนั้นเป็นอาจารย์ เค้าดัง ใครๆก็ไปหาเค้ากัน เค้าอาจจะถูก แต่ถูกแบบของเค้า ใช่ได้กับเค้า ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ได้กับท่านด้วย
หรือเพราะตำราว่าไว้ เขียนมาแล้ว เป็นพันๆปี เคยมีปรากฏมาก่อนกระนั้นหรือ ว่า พระพุทธเจ้า, เว่ยหล่าง หรือคนอื่นๆที่ไปถึงแล้ว ณ.ที่แห่งนั้น อ่านตำรา เอาของในตำรามาฝึก จนเกิดสภาวะไร้ทุกข์ ถ้าท่านรู้จักสังเกต ท่านจะเห็นว่า คนเหล่านั้นเรียนจากตนเอง คิดค้นเทคนิคเอาเอง รู้เห็นเอง เข้าใจเอง รู้จักพลิก ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาอ่านตำรา หรือตั้งหน้าตั้งตาตอบคำถามให้คนอื่น และ คนที่เข้าใจสิ่งนี้ จะไม่ทุ่มเถียงกับผู้ใด จะไม่สอนอะไรอย่างอื่น นอกจากการชี้ไปที่แก่นของการปฏิบัต เพื่อการดับทุกข์

สิ่งที่อยู่ในตำราเป็นเพียงผลของความรู้ ที่เกิดตามมาจากการปฏิบัติ ของผู้ที่ทำมันจบไปแล้ว ไม่ใช่หัวใจของธรรมะ ไม่ใช่ว่าจำได้ทุกคำ ทุกหน้า แล้วจะหมดซึ่งทุกข์ ถ้ามันง่ายเฉกเช่นนั้น คงไม่มีปัญหาใดๆหรอก ที่มันมีก็เพราะว่า ของในตำรา คำสอนของครูบาอาจารย์ กับ การปฏิบัตจริงมันเป็นคนละเรื่องกัน

คำส่งท้าย

ไม่ต้องแปลกใจถ้าท่านอ่านแล้วไม่เข้าใจ เกิดคำถาม หรือต้องการโต้แย้ง รับไม่ได้ ไม่มีเหตุผลอื่นใด จะอธิบายได้ดีไปกว่า ท่านฉลาดเกินไป เฉียบแหลมเฉียบคมเกินไป ลึกล้ำเกินไป และมีความสามารถมากเกินไป และมันยากเกินไป ที่จะเข้าใจได้ใน เรื่องโง่ๆ

จากคุณ : koknam - [ 5 ต.ค. 48 22:22:28 ]

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"

แก้ไขล่าสุดโดย พิชชาธร เมื่อ 10 มิ.ย.2006, 10:10 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 06 มิ.ย.2006, 3:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อริยสัจ สี่

from >>> http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/Y3577849/Y3577849.html ยิ้มเห็นฟัน

ทุกข์ ก็คือ การที่สภาวะจิตใจ เบี่ยงเบนไปจากสภาวะปกติ
หรือสภาวะความเป็นกลาง
สมุทัย ก็คือ การเข้าไปรู้ถึงสิ่งต่างๆ ของการคิดและการจำ
ซึ่งคืออัตตาของข้าพเจ้านั่นเอง
นิโรธ ก็คือ รู้อย่างแน่ชัดในวิธีการ ที่จะไปพ้นจากอัตตา
และวิธีนั้นทำให้เกิดผลได้ชัดเจน
มรรค ก็คือ ทำในวิธีการนั้นๆอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะตั้งใจ
หรือไม่

สิ่งที่เสนอไว้ ไม่ว่าจะถูกหรือผิด ต่ออัตตาของใคร หรือตำราเล่มไหน ก็ตาม ข้าพเจ้าจะเขี้ยงทิ้งให้หมด เพราะมันไม่สำคัญเลยจริงๆ มันเป็นแค่สะพานเชื่อมไป ไม่ใช่ "สภาวะธรรมแท้"

"รู้เฉยๆ เท่านั้น แต่ไม่ต้อง รู้ว่ารู้อะไร"
จากคุณ : koknam - [ 1 ก.ค. 48 00:49:35 ]

ซึ้ง
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"

แก้ไขล่าสุดโดย พิชชาธร เมื่อ 10 มิ.ย.2006, 10:06 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 06 มิ.ย.2006, 3:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ้ม copy from >>> http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y4360242/Y4360242.html ซึ้ง

พี่ครับ

ผมเขียน ผ่านกระดานนี้ ด้วยจะบอกพี่บางอย่าง


ผมสังเกตหลายครั้งแล้วพี่เขียนอธิบายทำนองว่า เมื่อเรามีความรู้สึกตัวอยู่เสมอ เราจะเห็นไตรลักษณ์ ให้เห็นบ่อยๆ เมื่อเห็นบ่อยๆ จิตจะ “เบื่อหน่าย” และคลายตัวไปเอง จากกิเลส

สำหรับผม และสิ่งที่ผมสัมผัสอยู่ได้นี่ มันไม่ใช่เป็นอย่างนั้นครับ และที่ผมเขียนหาพี่นั้น เพราะว่าถ้าพี่เข้าใจคลาดเคลื่อน พี่จะเสียเวลาไปกับจุดที่ไม่จำเป็นครับ ผมเคยพลาดมาแล้วจึงรู้ว่าตรงไหนคือจุดอ่อนของคน ในการที่ใช้วิธีนี้ฝึกฝน

ความรู้สึกตัว คำคำนี้ที่เราใช้พูดออกมาเหมือนกัน มันเป็นคนละลักษณะครับ ผมจะพูดเรื่องของผมล้วนๆนะครับ

สำหรับผมตอนนี้ สภาวะที่เรียกกันว่า โลภ โกรธ หลง ทำอะไร ไม่ได้อีกแล้ว ไม่ใช่ว่าเพราะผมเห็นมันจนเบื่อ แล้วจิตไม่จับ

สภาวะ โลภ โกรธ หลง ยังเกิดเหมือนเดิม แต่ ความรู้สึกตัว ของผมมันไวมาก พอสิ่งนี้มันเกิดปุ๊บ มันรู้ตัวทันที (ผมอธิบายด้วยคำพูดไม่ได้ เพราะไม่มีคำที่ใช้อธิบายสภาะนี้ในระบบสมองของผม)

และที่มันรู้ได้เร็วมากนี่เองที่สำคัญมาก เพราะมันเข้าไปรู้ที่ตัวสภาวะของ โลภ โกรธ หลง อย่างแท้จริง มันเห็นแบบจะจะ ว่า อ๋อ ตัวจริงมันเป็นอย่างนี้เอง มันเห็นกลไกการทำงานของความคิดที่หนุนให้สภาวะโลภ โกรธ หลง ดำเนินไป เมื่อมันเห็นทุกครั้งที่สภาวะนี้ตั้งต้นก่อตัว มันจึงทำอะไรผมไม่ได้ เพราะผมเข้าใจในตัวสภาวะนั้น ว่าที่แท้มันเป็นอย่างนี้เอง บวกกับลักษณะตามธรรมชาติของจิต เมื่อมันไปเห็นอะไรเข้า แล้วเราเข้าใจมันจริง สภาวะนั้นจะจบตัวเองครับ

เมื่อ เห็น รู้ เข้าใจ สภาวะนั้นๆ จะปรุงไปเป็น อาการ โลภ โกรธ หลง ไม่ได้ครับ และเมื่อเห็นมันอยู่เสมอของการเกิดขึ้น สภาวะโลภ โกรธ หลง จะค่อยๆลดลงไปโดยธรรมชาติครับ ซึ่งมันแปลกมาก มันจางคลายไปเอง มันสลายตัวเอง อย่างช้าๆ ซึ่งจะเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนมากครับ

มัน “ไม่มีการคิด” บอกตัวเองนะครับ ว่าเป็น “สภาวะที่เกิด-ดับ” มันมาแล้วก็ไป อันนั้นคือการข่มมันด้วยการคิดเอาเอง

ขั้นนี้จัดในส่วนของหลวงพ่อเทียนคือ ขั้น “ศีลปรมัตถ์” ปรากฏครับ คือกิเลสอย่างหยาบจางคลาย คือไม่ใช่หายไป มันยังอยู่ แต่ทำอะไรไม่ได้ มันเพียงโผล่มาสวัสดี แล้ววิ่งหนีไป แบบเร็วมากๆ

มันไม่ใช่ว่าเห็นจนเบื่อ จนชิน นะครับ ที่มันทิ้งทันที เพราะมันมีความรู้สึกตัวอย่างอื่นแทรกเข้ามา หรือพูดอีกอย่าง คือ มันไปรู้สึกถึงอาการอื่นๆ ความคิดอื่นๆ ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นลักษณะของ ไตรลักษณ์

พี่เข้าใจไหมครับ ว่ามันแตกต่างกับที่พี่เข้าใจอย่างไร


ผมเน้นเรื่อง “รู้” กับพี่เสมอ เพราะตรงนี้คือส่วนสำคัญมากของการปฏิบัต

“รู้แบบไม่รู้อะไร” หมายถึง แค่รู้สิ่งที่มันเกิดขึ้น ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นก็ตาม ไม่ใช่ว่า ไปรู้สึกว่า มี ความรู้สึก ที่แขนขา หรือ ความคิด อย่างเดียวเท่านั้น แต่มันคือการ รู้แบบไม่รู้ “ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเคลื่อนไหวทั้งหมด” ในร่างกายเรานี่ แต่ในความรู้แบบไม่รู้นั้น มีความเข้าใจอย่างถึงแก่นร่วมอยู่ด้วย พี่เคยได้ยินมาใช่ไหมครับ “เห็นสักแต่เห็น ได้ยินสักแต่ได้ยิน” อันนั้นคือ คำพูดครับ ไม่ใช่ตัวสภาวะที่เกิดขึ้นจริง เมื่อมันเกิดกับพี่เมื่อไหร่ พี่จะรู้ทันที โดยไม่ต้องคอยมาบอกตัวเองว่า นี่เรากำลังเห็นสักแต่เห็น มันจะเป็นไปเอง โดยไม่ต้องพยายามทำให้มันเป็นครับ

ข้อความที่ตั้งใจเขียนให้พี่นี้คงไม่มีประโยชน์อะไรมากนัก เพราะผมเขียนอย่างที่ผมเป็นไม่ได้
ผมอธิบายด้วยภาษาไม่ได้ครับ ผมนึกไม่ออก ว่ามันต้องใช้คำไหนอธิบาย มันไม่มีคำไหนตรง มันเทียบเคียงให้พอเห็นภาพ แล้วเข้าใจในทางเดียวกันเท่านั้น

เพียงแค่บอกให้พี่ทราบไว้ว่า พี่กำลังเข้าใจคลาดเคลื่อน จากสิ่งที่พี่จะประสบในอนาคตเท่านั้น
ซึ่งมันจะทำพี่เสียเวลา


และขอบคุณพี่มากๆ สำหรับความเอื้อเฟื้อต่อผม

ข้อเขียนของคุณสันตินันท์ มันเป็นอย่างนั้นแหละครับ เค้าเขียนได้ดีมาก อธิบายได้ดีมาก แต่มันไม่มีประโยชน์กับผมเท่าใดนัก พี่จะว่าผมอวดดีก็ได้

แต่เส้นทางที่ผมเดิมมา ผ่านมา หรือเดินอยู่ สิ่งที่ผมประสบพบเห็นได้จากมัน สร้างความเชื่อมั่นให้ผม เพราะมันมีสภาวะที่ปรากฏอยู่รองรับตลอดเวลา ต่อความเชื่อถือนั้นๆ จะไม่มีข้อเขียน ไม่มีหนังสือ ไม่มีเอกสารใดๆอีกแล้ว ที่ผมต้องใช้ประกอบการฝึกฝน

ผมมาจนถึงระดับที่ต้องเดินลำพังแล้วครับ ทุ่มเทพิสูจน์มันด้วยชีวิตของผม พนันกับมันด้วยสภาวะทั้งหมดที่ผมเป็น ผมไม่สนใจอีกแล้วในคำแนะนำของใคร แม้ว่าคนนั้นจะเป็น อนาคามี หรืออรหันต์ ผมต้องทำเอง ลุยเอง และไม่มีซักนิดเดียว สำหรับ การหวาดกลัวต่อการผิดหวัง หรือคำครหาของใคร ผมพร้อมที่จะให้มันตายไปเลย ถ้ามันผิดไปจากคำสอนแท้ๆ ของพระพุทธเจ้า มันมั่นใจขนาดนั้น

ผมเชื่อมั่นในตัวเองมากครับพี่ ซึ่งมันเกิดจาก การเดินมาด้วยตัวเองโดยลำพังตั้งแต่แรก ลองผิดลองถูกเอาเอง แก้ปัญหาทุกปัญหาด้วยตัวเอง มันพิสูจน์ตัวเอง ให้เห็นหมดแล้ว

สำหรับพี่นั้นในมุมมองของผมคือระดับ โสดาบันขั้นต้น แต่ถ้าพี่ทำมันถูกและตรง มันจะพาพี่มายืน ตรงจุดที่ผมสัมผัสได้อยู่นี่ โดยใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือนอย่างช้าที่สุด ผมบอกพี่ได้เพียงว่า อย่าอ่านตำรามาก อย่าฟังคนอื่นมาก ไม่ว่าสิ่งที่พี่ได้อ่านได้ฟัง มันจะถูกหรือไม่

เพราะเมื่อพี่ยังไม่รู้ จิตพี่จะถูกชี้นำโดยสิ่งเหล่านั้น แล้วมันจะบงการให้พี่ทำ โดยมีทัศนะนั้นๆ บงการหนุนหลังอยู่ หรือ ภาษาง่ายๆ คือ จิตพี่จะไม่เป็นอิสระในขณะฝึกฝนครับ คือมันจะพยายามทำตัวเองให้เป็นอย่างที่พี่รู้หรือที่พี่เข้าใจเอาเอง

เชื่อในสภาวะที่พี่เป็น พี่ทำอย่างนั้น แล้วมันไม่มีทุกข์เกิดขึ้นจริงไหม หรือมันเป็นเพียงลมปากของคนอวดดีเช่นผม ใช้ทั้งชีวิตที่เหลืออยู่ของพี่ พิสูจน์มัน

ยอมรับในสิ่งที่มันปรากฏเดี๋ยวนั้น ดิ่งลงไปที่ตัวสภาวะเดี๋ยวนั้น สัมผัสมันเดี๋ยวนั้น รู้มันเข้า ความเป็นไปเองมันมีของมันอยู่ ไม่ต้องทำอะไรให้มาก นอกจากความต่อเนื่องเท่านั้น



สำหรับคนอื่นที่เข้ามาอ่าน โดยที่ไม่ใช่ “พี่” บุคคลที่ข้าพเจ้าหมายถึง คำว่า “โสดาบัน อนาคามี และ อรหันต์” ที่ข้าพเจ้าใช้นั้น มิได้นำมันไปเปรียบกับการละสังโยชน์ หรือ ระดับญาณ ใดๆ ข้าพเจ้าใช้มันเพื่อสื่อสภาวะบางอย่างเท่านั้น และตัวข้าพเจ้าเองนั้นก็ไม่ได้ถูกจัดอยู่ในระดับใดๆทั้งสิ้น ในระบบอ้างอิงของตำราหรือของครูบาอาจารย์ท่านใดๆ




ขอวันนี้ของพี่และท่านอื่นๆสวยงามต่อไป

จากคุณ : koknam - [ 11 พ.ค. 49 21:25:43 ]

ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"

แก้ไขล่าสุดโดย พิชชาธร เมื่อ 10 มิ.ย.2006, 10:01 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
อชิตภิกขุ วัดเทพลีลา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 มิ.ย.2006, 9:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การรู้ทับในสิ่งที่ถูกรู้นั้น หมายถึง การใช้สติและปัญญารู้ทับขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หรือรูปกับนามนั่นเองและรวมทั้งสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดใช่ไหม ? อาตมาเข้าใจเช่นนี้จะถูกไหม ? สติก็คือตัวป้องกันธรรมะฝ่ายชั่ว ส่วนปัญญาก็คือตัวตัดอาลัยคือความเยื่อใยในขันธ์ ๕ คือรูปกับนามนั่นเองใช่ไหม ? อีกอย่างหนึ่ง สติและปัญญานี้จะช่วยเหลือกันปกป้องรักษาจิตมิให้ผัวพันกับกิเลสใช่ไหม? เมื่อจิตไม่ผัวพันกับกิเลสบ่อยๆเข้า จิตก็ผ่องใส่ตามลำดับจนกว่าจะหลุดพ้นจากสรรพกิเลสทั้งหมดใช่ไหม?
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 08 มิ.ย.2006, 9:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อชิตภิกขุ วัดเทพลีลา พิมพ์ว่า:
การรู้ทับในสิ่งที่ถูกรู้นั้น หมายถึง การใช้สติและปัญญารู้ทับขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หรือรูปกับนามนั่นเองและรวมทั้งสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดใช่ไหม ? อาตมาเข้าใจเช่นนี้จะถูกไหม ? สติก็คือตัวป้องกันธรรมะฝ่ายชั่วมิให้ประทุษร้ายจิต ส่วนปัญญาก็คือตัวตัดอาลัยคือความเยื่อใยในขันธ์ ๕ คือรูปกับนามนั่นเองใช่ไหม ? อีกอย่างหนึ่ง สติและปัญญานี้จะช่วยเหลือกันปกป้องรักษาจิตมิให้ผัวพันกับกิเลสใช่ไหม? เมื่อจิตไม่ผัวพันกับกิเลสบ่อยๆเข้า จิตก็ผ่องใส่ตามลำดับจนกว่าจะหลุดพ้นจากสรรพกิเลสทั้งหมดใช่ไหม?
 
พิช
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2006, 1:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ

จงรู้ทุกอย่างที่จิตรู้ แต่ อย่าติดในรู้นั้น

สาธุ สาธุ สาธุ
 
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2006, 1:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำสอน ฮวงโป

สาธุ

จิต ล้วนๆ นี้ ซึ่งเป็นที่กำเนิดของสิ่งทุกสิ่ง ย่อมส่องแสงอยู่ตลอดกาล และส่องความสว่างจ้าแห่งความสมบูรณ์ของมันเองลงบนสิ่งทั้งปวง แต่ชาวโลกไม่ประสีประสาลืมตาต่อมัน ไปมัวเข้าใจเอาแต่สิ่งซึ่งทำหน้าที่ดู ทำหน้าที่ฟัง ทำหน้าที่รู้สึก และทำหน้าที่คิด ว่านั่นแหละคือ จิต เขาเหล่านั้นถูกการดู การฟัง การรู้สึก และการนึกคิดของเขาเอง ทำเขาให้ตาบอด เขาไม่รู้สึกต่อแสงอันสว่างจ้าของสิ่งซึ่งเป็นต้นกำเนิดทางฝ่ายจิต.


วิธีการตั้งแปดหมื่นสี่พันวิธี สำหรับต่อสู้กับสิ่งซึ่งเป็นมายาหลอกลวงจำนวนแปดหมื่นสี่พันอย่างนั้น เป็นเพียงคำพูดอย่างบุคคลาธิษฐาน เพื่อชักชวนคนให้มาสู่ ประตู นี้เท่านั้น ตามทีจริงแล้ว ไม่มีสักอย่างเดียว ที่มีอยู่จริง การสลัดสิ่งทุกๆ สิ่งออกไปเสีย นั่นแหละ คือ ตัวธรรม ผู้ซึ่งเข้าใจความจริง ข้อนี้ นั่นแหละ คือ พุทธะ แต่การสลัดสิ่งที่เป็นมายา ทุกสิ่ง ออกไปเสียนั้นต้องไม่เหลือธรรมะอะไรๆ ไว้ให้ยึดถือกันอีกจริงๆ


สมมติว่าพวกเธอเอาเพรช พลอยจำนวนนับไม่ถ้วน ไปประดับเข้าที่ความว่าง จงคิดดูเถิดว่า มันจะติดอยู่ที่นั่นได้อย่างไร? ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ นั้น เป็นเหมือนกับความว่าง แม้เธอจะประดับมันด้วยบุญกุศลและปัญญา อันมากมายจนประมาณมิได้ ก็จงคิดดูเถิดว่า สิ่งเหล่านั้นจะติดอยู่ที่ ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะนั้นได้อย่างไร? บุญและปัญญาชนิดนั้น ก็รังแต่จะปิดคลุมธรรมชาติดั้งเดิมของ พุทธภาวะ เสีย และทำให้มันกลายเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ ไปเสียเท่านั้น


ถ้าคนธรรมดาสามัญคนหนึ่ง เมื่อเขาร่อแร่จวนจะตาย หากว่าเขาสามารถเพียงแต่เห็นว่ามูลธาตุทั้งห้า ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้นเป็นของว่างเปล่า และเห็นว่ามูลธาตุทางรูปกายนั้น ไม่ใช่สิ่งซึ่งประกอบขึ้นเป็นตัว “ข้าพเจ้า” และเห็นว่า จิต จริงแท้นั้นไม่มีรูปร่าง และไม่ใช่สิ่งที่มีการมาหรือการไป และเห็นว่าธรรมชาติเดิมแท้ของเขานั้น เป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งมิได้มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด หรือมิได้มีการสิ้นสุดลงที่การตายของเขา แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด และว่า จิต ของเขา กับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเขาอยู่นั้น เป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเขาสามารถทำได้ตามนี้จริงๆ เขาจะลุถึงการรู้แจ้งได้โดยแว็บเดียว ในขณะนั้น.


เมื่อทุกๆ สิ่งทั้งภายในและภายนอก ทั้งรูปธรรมและนามธรรมถูกเพิกถอนแล้ว เมื่อความยึดมั่นต่างๆ ไม่มีเหลืออยู่ เช่นเดียวกันกับใน ความว่าง เมื่อการกระทำทั้งหมด เป็นไปตามควรแก่สถานที่และสิ่งแวดล้อมล้วนๆ (ไม่มีกิเลสเจือปน) และเมื่อความรู้สึกว่ามีตัวตนในฐานะเป็นผู้กระทำ และความรู้สึกว่ามีตัวตนในฐานะเป็นผู้ถูกกระทำนั้นถูกเลิกล้างไปหมดแล้ว นั้นคือวิธีแห่งการเพิกถอนชนิดสูงสุด


ถ้าพวกเธอเพียงแต่หยุดปล่อยตนไปตามความคิดที่ทำให้เกิดของเป็นคู่ตรงกันข้ามเช่น “อย่างธรรมดา” กับ “อย่างตรัสรู้แล้ว” เสียเท่านั้น มายาก็จะสิ้นสุดลงไปได้เองทันที


เนื่องจาก จิต คือ พุทธะ วิธีฉลาดเพื่อลุถึงสิ่งๆ นี้ ก็คือ การเพาะให้ พุทธะ-จิต นั้น ผลิออกมาให้เห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เธอทำมันให้ว่างจากความคิดปรุงแต่งต่างๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลกและโลกอื่นๆ เพื่อให้สิ้นเชิงเท่านั้น พวกเธอก็จะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธีปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และอะไรทำนองนั้น นานาชนิดเลย


วิธีที่จะเข้าถึง จิตหนึ่ง นี้ให้ได้จริงๆ นั้นเรียกว่า ปากทางแห่ง ความนิ่งเงียบ เหนือกรรมทั้งปวง ถ้าพวกเธออยากจะเข้าใจก็จงรู้ไว้ว่าความรู้ประจักษ์ต่อสิ่งๆ นี้ โดยฉับพลันนั้น จะมีมาต่อเมื่อจิตถูกชำระชะล้างแล้วอย่างสิ้นเชิง จากใยยุ่งของมโนกรรมที่เป็นความคิดปรุงแต่ง และที่แบ่งแยกสิ่งทั้งปวงเป็นพวกๆ คู่ๆ ตามแบบคติทวินิยม เท่านั้น


พวกที่แสวงหาสัจจธรรมนี้ โดยวิธีของการใช้สติปัญญาและการศึกษานั้น มีแต่จะถอยห่างออกไปจากมันทุกทีๆ เท่านั้นเอง


จนกว่าเมื่อไร ความคิดของเธอหยุดแตกกิ่งแตกก้านทางโน้นทางนี้เสียทุกๆ ทาง จนกว่าเมื่อไร พวกเธอจะสลัดความคิดในการแสวงหาอะไรบางอย่าง เสียได้ทุกๆ ทาง และจนกว่าเมื่อไร จิตของพวกเธอจะหยุด การเคลื่อนไหว เสียราวกะว่า มันเป็นท่อนไม้หรือก้อนหิน เท่านั้นที่พวกเธอจะเดินถูกทาง ไปสู่ ปากประตู ที่กล่าวนั้นได้


โดยการคิดถึงอะไรบางอย่าง เธอย่อมสร้างความมีอยู่ (ของตัวตนอย่างใดอย่างหนึ่ง) ขึ้นมาอย่างหนึ่ง และโดยการคิดถึงความไม่มีอะไร เธอย่อมสร้างความมีอยู่ (ของความไม่มีอะไร) ขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง ขอให้การคิดในทำนองที่ผิดๆ เช่นนี้ จงสูญสิ้นไปโดยเด็ดขาดเถิด แล้วก็จะไม่มีอะไรเหลืออยู่ ให้เธอเที่ยวแสวงหาอีกต่อไป !



- - - - - - - - - -

สู้ สู้
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"

แก้ไขล่าสุดโดย พิชชาธร เมื่อ 09 มิ.ย.2006, 10:02 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2006, 1:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิถีแห่ง Zen

จุดมุ่งหมายของเซน คือการทำให้เราตระหนักว่าไม่มีตัวตน

ใช้ชีวิตอยู่ในโลก แต่อย่าให้ฝุ่นของโลกเกาะติดได้ เหมือนดอกบัวเกิดในโคลนตม แต่ไม่ติดโคลนตมฉันนั้น

ชีวิตนี้แสนสั้น เราย่อมไม่อาจที่จะใช้ชีวิตที่มีเวลาอยู่นี้ ไปในการขบคิดใคร่ครวญเรื่องทางอภิปรัชญา (ความจำ) อย่างไม่มีวันสิ้นสุด เพราะอภิปรัชญาไม่อาจนำไปสู่สัจจะอันยิ่งใหญ่ได้เลย

ชีวิตของเราจะสูญเปล่าไป หากเราหลีกหนีการใช้ชีวิตตามความจริง เมื่อไปอยู่ในโลกแห่งความคิดอันล้ำลึกแล้ว เราก็จะเป็นเพียงวิญญาณพเนจร หากยังวุ่นวายอยู่ด้วยความคิดว่ามีหรือไม่มี ชีวิตก็จะสูญเปล่าไปเสีย

ให้ดูทุกข์ และความไม่มีทุกข์ ที่มีอยู่ในใจ จึงจะเข้าถึงธรรมที่ปราศจากทุกข์ได้

ปาฏิหาริย์ที่แท้ อยู่ในชีวิตประจำวันธรรมดาๆ นี่เอง ให้กิจวัตรประจำวันดำเนินไปตามครรลองของมันอย่างเป็นธรรมชาติ ชีวิตคุณมีอยู่เพียงขณะเดียว อดีตก็ละไปแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่ถึง ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด คนเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ ก็แต่ในขณะปัจจุบันเท่านั้น

เดี๋ยวนี้ คือสิ่งที่เรา เป็น มันไม่สามารถจะเป็น เป้าหมาย หรือ ภาวะ ที่เราจะต้อง มุ่ง ไปให้ถึง เดี๋ยวนี้ คือการกระทำ หรือ ความเคลื่อนไหว ซึ่งปรากฏอยู่ในขณะนี้ ก่อนที่ ความคิด จะปิดบังมันไว้เสีย

ถ้าเราพบความผิดในบุคคลอื่น เราเองก็ตกอยู่ในความผิดนั้นด้วยเหมือนกัน เมื่อผู้อื่นทำผิด เราไม่จำเป็นต้องเอาใจใส่ เพราะมันจะเกิดความผิดขึ้นแก่เราเอง ในการที่จะไปรื้อหาความผิด

ทุกๆ ครั้งที่มีการเตือนตนเองให้ถ่อมตน อัตตาของตนก็จะขยายทั้งแง่ขอบเขตและกำลัง ความถ่อมตนที่แท้จะเกิดขึ้นเมื่อเราไม่ได้นึกถึงความถ่อมตน วิปัสสนานั้นไม่ใช่การให้ความสำคัญแก่ตนเอง หรือการปฏิเสธละทิ้งตนเอง

มันจะมีประโยชน์อะไร ที่จะมานั่งอภิปรายกันว่า ต้นหญ้าและต้นไม้ตรัสรู้ได้อย่างไร ปัญหามันอยู่ที่ว่า ตัวท่านเองนั่นแหละ จะสามารถบรรลุถึงการตรัสรู้ได้อย่างไร

ยึดมั่นคราใดเป็นทุกข์ครานั้น การปฏิบัติทุกอย่างต้องมาลงที่ความไม่ยึดมั่นถือมั่น สิ่งใดหรือเรื่องใดที่ปฏิบัติแล้ว ยิ่งทำให้เกิดยึดมั่นถือมั่นมากยิ่งขึ้น ถือว่าผิดแล้ว

การตรัสรู้ธรรมหรือไม่ หาได้อยู่ที่การปฏิบัติเข้มงวด หรือเคร่งครัดเป็นเวลานานไม่ แต่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ต่างหาก

ระหว่าง รู้ กับ ทำ นั้นช่างห่างไกลกันเสียเหลือเกิน

ไม่มีอะไรจะต้องลุถึง เพียงแต่ลืมตาตื่นเท่านั้นสิ่งๆ นั้นก็จะปรากฏแก่เธอ

คนพาล ย่อมหลีกเลี่ยงปรากฏการณ์ภายนอก แต่ไม่หลีกเลี่ยงความคิดปรุงแต่ง คนฉลาดย่อมหลีกเลี่ยงความคิดปรุงแต่ง แต่ไม่หลีกเลี่ยงปรากฏการณ์ภายนอก

อะไรเกิดขึ้นที่จิตก็ให้รู้ไป ไม่ต้องไปแบ่งแยกให้ค่าว่า อันนี้ถูก อันนี้ผิด ถ้าหลุดพ้นจากการให้ค่าพวกนี้ได้ ก็จะเข้าใจจิต

สิ่งที่ตาเธอเห็นอยู่นั่นแหละคือความจริง (ปรมัตถ์) ธรรมทั้งปวงก็คือปรมัตถ์ เธอจะต้องหาอะไรอีกเล่า

เหตุแห่งความทุกข์ และความเศร้าหมองที่เกิดขึ้นในชีวิต ล้วนเกิดจากจิตที่เต็มไปด้วยอัตตา

ล่องลอยไปตามกระแส ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จงปล่อยให้จิตใจเป็นอิสระอยู่ ด้วยความเป็นกลาง ด้วยการรับรู้สิ่งที่กระทำอยู่นั้น นี่เป็นสิ่งสูงสุด

การเปิดใจรับผัสสะและความคิดอย่างเต็มที่ ด้วยดวงจิตที่ตระหนักรู้ เป็นสิ่งเดียวกับธรรมชาติเดิมแท้.

บุญกุศลที่ทำด้วยความยึดมั่น ย่อมนำความเพลิดเพลินยินดีมาให้ แต่ก็เหมือนกับการยิงลูกศรขึ้นไปในอากาศ เมื่อหมดแรงมันก็ตกลงมาที่พื้นอีก

ความสงบในความเงียบหาใช่ความสงบที่แท้จริงไม่ เมื่อท่านสามารถทำใจให้สงบได้ ท่ามกลางกิจกรรมต่างๆ นั่นจึงเป็นสภาวะสงบที่แท้จริงของธรรมชาติ เฉกเช่นเดียวกับความสุขจากความสะดวกสบาย ย่อมไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง หากแต่เมื่อท่านสามารถมีความสุข ท่ามกลางความยากลำบาก นั่นแหละคือท่านได้เข้าถึงศักยภาพที่แท้จริงของจิตแล้ว

ความจริงสูงสุดเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแสดงได้ด้วยคำพูด "ผู้พูดไม่รู้ ผู้รู้ไม่พูด" เมื่อคำพูดและความคิดปรุงแต่งหยุดลง ธรรมชาติดังเดิมก็พลันปรากฎ

การฝึกฝนในทางธรรม เป็นสิ่งที่ไม่อาจฝึกได้ (ด้วยความพยายามที่เกิดจากการปรุงแต่ง) ในความคิดปรุงแต่งใดๆก็ตาม จะมีความรู้สึกที่มีตัวตนประสมอยู่ด้วยเสมอ ทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างสิ่งที่เป็นภายในกับสิ่งที่เป็นภายนอก และทำให้เกิดความยึดมั่นผูกพันกับวัตถุภายนอก บุคคลควรปล่อยจิตใจให้เป็นอิสระ เฝ้าดูและขจัดกระแสแห่งความคิดปรุงแต่ง และจะต้องเข้าถึงธรรมชาติของความเป็นเอง การปฎิบัติธรรมที่แท้จริงจึงเกิดขึ้นได้

ผลบั้นปลายสุดท้าย ไม่มีอะไรที่ใหม่ ประสบการณ์ของความตื่น ความรู้สึกตัวถึงเอกภาพอันแบ่งแยกมิได้ของสรรพสิ่งทั้งมวล การเห็นแจ้งธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะภายในของตน เหล่านี้ไม่ได้หมายความว่า ได้อะไรมาใหม่ เพียงแต่เป็นการรู้แจ้งบางสิ่งบางอย่างที่มีอยู่ในตัวเองตลอดเวลาเท่านั้น ปัญหามีเพียงว่าที่เราไม่ได้รู้สึกตัวถึงสิ่งนี้เป็นเพราะอวิชชาของเราเอง ในภาวะของความตื่น เมื่อตัวตนที่ปรุงแต่งถูกขจัดออกไป ธรรมชาติในส่วนลึกลับอันแอบเร้นลับปรากฎตัวขึ้นแทนที่และผู้กระทำจะกระทำสิ่งต่างๆอย่างปราศจากตัวตนและอย่างเป็นกันเอง

"ฉันไปด้วยมือที่ว่างเปล่า และดูนั่น มีจอบอยู่ในมือของฉัน ฉันเดินไป แต่กระนั้นฉันก็กำลังขี่ไปบนหลังของวัวตัวหนึ่ง เมื่อฉันข้ามสะพาน โอ น้ำไม่ได้ไหล สะพานต่างหากที่ไหล "

หนทางอันยิ่งใหญ่นั้นไม่ใช่สิ่งที่ยากลำบากอะไร สำหรับบุคคลผู้ไม่มีความรู้สึกเปรียบเทียบ

เมื่อรักและชังไม่มีอยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างก็แจ่มแจ้งและเปิดเผยตัวเองออก

ถ้าเธอปราถนาจะเห็นความจริง จงอย่ายึดถือความเห็นที่คล้อยตามหรือขัดแย้ง

เมื่อเธอพยายามหยุดการกระทำ เพื่อจะได้ถึงความหยุดนิ่ง ความพยายามของเธอนั่นแหละ ที่ทำให้เธอเต็มไปด้วยการกระทำ

การปฎิเสธความจริงของสรรพสิ่ง เป็นการพลาดไปจากความจริงนั้น การยืนยันถึงความว่างของสรรพสิ่ง ก็เป็นการพลาดไปจากความจริงนั้น

ยิ่งเธอพูดคิดมากเท่าใด เธอยิ่งห่างไกลจากความจริงมากเท่านั้น จงหยุดการพูดและการคิด และจะไม่มีสิ่งใดที่เธอจะไม่รู้

การกลับคืนสู่รากเหง้าคือการค้นพบความหมาย แต่การเดินตามสิ่งปรากฎภายนอก เป็นการพลาดไปจากต้นตอ

ในช่วงขณะแห่งความแจ้งภายใน มีการข้ามพ้นสิ่งภายนอกและความว่าง

อย่าได้ค้นหาสัจธรรม ให้เพียงแต่หยุดถือความเห็นต่างๆเท่านั้น เมื่อปราศจากความคิดแบ่งแยก จิตก็ไม่มี

เมื่อความคิดหายไป ตัวที่ทำหน้าที่คิดก็หายไป เช่นเดียวกับเมื่อจิตหายไป วัตถุก็หายไปด้วย สิ่งทั้งหลายมีอยู่เพราะว่ามีตัวรับรู้ จิตมีอยู่ก็เพราะว่าสิ่งทั้งหลายมีอยู่

ถ้าดวงตาไม่เคยหลับใหล ความฝันทั้งหมดก็หยุดลงโดยธรรมชาติ

ถ้าจิตไม่สร้างความแบ่งแยก สรรพสิ่งทั้งหลายก็เป็นเช่นที่มันเป็น อันมีสาระดั้งเดิมแต่เพียงอย่างเดียว

ชั่วขณะแห่งความเห็นแจ้ง เราเป็นอิสระจากเครื่องจองจำ ไม่มีสิ่งใดมายึดเกาะเรา และเราก็ไม่ยึดเกาะต่อสิ่งใด ทุกสิ่งว่าง ชัดเจน และแจ่มแจ้งในตัวของมันเอง โดยที่จิตไม่ต้องใช้พลกำลังแต่อย่างใด ณ ที่นี้ ความคิด ความรู้สึก ความรู้และจินตนาการ ไร้คุณค่าโดยสิ้นเชิง

การเดินตามแบแผนและติดในกฎเกณฑ์ เป็นการผูกมัดตัวเองโดยไม่ต้องมีเชือก

การกระทำเพียงแค่รวมจิตเป็นหนึ่ง และบังคับมันให้สงบลง เป็นลัทธินิยมความนิ่งเฉยและเป็นเซนที่ผิด

การยึดถือความคิดของตนเอง และลืมโลกที่ปรากฎอยู่ตามสภาพของมัน เป็นการตกลงไปสู่หลุมที่ลึก

ความรู้สึกยึดมั่นที่ว่าตนจะต้องรู้ทุกอย่าง และไม่ยอมให้สิ่งใดมาหลอกลวง เป็นการตกลงไปสู่หลุมที่ลึก

ความรู้สึกยึดมั่นที่ว่าตนต้องรู้ทุกอย่าง และไม่ยอมให้สิ่งใดมาหลอกลวง เป็นการใส่โซ่ตรวนให้กับตัวเอง

การคิดถึงความดีและความชั่ว เป็นการติดอยู่ในสวรรค์หรือนรก

เธอจะต้องมานะพยายามอย่างถึงที่สุด ในอันที่จะบรรลุถึงการตรัสรู้ของเธอในชีวิตนี้ และจะต้องไม่ผลัดมันออกไปวันแล้ววันเล่า ด้วยการก้าวข้ามพ้นโลกทั้งสาม

"อย่ายึดเอาข้อสรุปใดเป็นคำตอบ"

"เราต้องไม่เข้าจัดการกับปัญหาต่างๆ ด้วยอารมณ์"

"หากไม่ดูจิตก็จะไม่เห็นจิต จะไม่รู้จักตัวเอง"

"ในเซนไม่มีหญิงไม่มีชาย มีแต่ธรรมชาติล้วนๆ"

"ต้องเท่าเทียมกันในใจของเรา ไม่มีใครมาทำให้ใจของเรากระเพื่อมได้"

"เพราะไม่รู้ตัวอยู่เสมอๆ พอความคิดเกิดขึ้นก็ตั้งตัวไม่ติด พลัดตกลงไปในกระแสแห่งความคิด"

"คนที่รอบรู้ที่สุด จะบอกว่าเขาไม่รู้อะไรเลย" ความรู้ที่แท้คือเมื่อรู้ก็รู้ว่ารู้ เมื่อไม่รู้ก็รู้ว่าไม่รู้ นี่แหละคือความรู้ที่แท้ละ



ซึ้ง สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2006, 1:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รูปลักษณะสภาวะทั้งหลายทั้งปวง เป็นเพียงพฤติภาพแห่งดวงจิตของบุคคล

- - - - - - - - - -

ข้อความทำนองนี้จะปรากฏมากมาย ในพระธรรมเทศนาของท่านมิลาเรปะ เป็นข้อเท็จจริงในธรรมชาติที่พิสูจน์ได้โดยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หรือแม้แต่การใช้วิธีตั้งข้อสังเกตง่ายๆของผู้ไม่รู้หนังสือ ก็ยังอาจสามารถพิสูจน์สัจจธรรมข้อนี้ได้ ผลลัพธ์ก็คือทำให้รู้เท่าทัน รูปลักษณะสภาวะทั้งหลายทั้งปวง ว่าล้วนไม่ได้มีตัวตนของมันเองดำรงอยู่จริง

- - - - - - - - - -

ในมุมมองของอนิจจัง เมื่อเรากระทบสัมผัสด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย อย่างใดอย่างหนึ่ง รูปลักษณะสภาวะในภายนอกซึ่งล้วนปราศจากตัวตนของมันเองได้ผันแปรไปแล้ว ดังนั้นการที่เรายังกำหนดความหมายหรือคุณค่าใดๆของรูปลักษณะสภาวะนั้นอยู่ต่อไป ก็นับว่าเป็นเรื่องของพฤติภาพภายในจิตใจซึ่งมีรูปแบบของการสั่งสมอวิชชาไว้หลากหลายนัยยะของแต่ละปัจเจกบุคคลเองล้วนๆ ที่เนื่องอยู่กับการกระทบสัมผัสนั้นๆ

- - - - - - - - - -

ในมุมมองของอนัตตา หรือความไม่มีตัวตนของมันเอง เช่นการที่เราเห็นก้อนเมฆเป็นสิ่งที่หมายถึงได้ แต่ถ้าเข้าไปพิจารณาองค์ประกอบของก้อนเมฆอย่างใกล้ชิด จะเห็นกลุ่มละอองน้ำ และเงาที่เกิดจากละอองเหล่านั้นบดบังแสงอาทิตย์ เราย่อมไม่เห็นก้อนเมฆแต่อย่างใด ภาพรวมออกมาเป็นก้อนเมฆปรากฏให้เห็นได้ในระยะไกลเท่านั้น แน่นอนที่สุดว่าเราไม่อาจพูดได้ว่าสิ่งที่หมายถึงภายในจิตใจ อันคือก้อนเมฆนั้น ว่ามีตัวตนของมันเองอยู่จริง ดังนั้นเราสามารถพูดได้ว่าเป็นเพียงพฤติภาพในดวงจิตของบุคคล หรือการที่เราเห็นดวงจันทร์ลอยเด่นอยู่ในฟากฟ้า และเป็นสิ่งที่หมายถึงได้ แต่เราสามารถจินตนาการได้ว่า

- - - - - - - - - -

สิ่งที่เราหมายถึงได้ภายในจิตใจนี้ มิได้มีอยู่จริงตามที่เห็น เพราะเพียงแต่เราเริ่มออกเดินทางค้นหาดวงจันทร์หรือสิ่งที่เราเห็นนี้ เราย่อมพบได้ว่าการเห็น หรือสิ่งที่หมายถึงของเราเปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือพูดได้ว่าเราไม่สามารถหาพบสิ่งที่หมายถึงได้นั่นเอง เพราะโดยที่แท้แล้ว เป็นเพียงพฤติภาพในดวงจิตของบุคคล ตัวอย่างของใกล้ตัว เช่นผ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่หมายถึงได้ เมื่อพิจารณาดูถึงองค์ประกอบย่อย เราเห็นแต่เส้นด้ายเรียงตัวเบียดชิดกันสนิท ไม่เห็นมีแม้แต่อะตอมเดียวของผ้า ถ้าเราพิจารณาองค์ประกอบย่อยของเส้นด้ายลึกลงไป เราย่อมพบความว่างเปล่าของด้าย ในทำนองเดียวกับที่เราพบความว่างเปล่าของผ้ามาแล้ว เพราะโดยที่แท้แล้ว เป็นเพียงพฤติภาพในดวงจิตของบุคคล

- - - - - - - - - -

สรรพสิ่งเป็นเพียงพฤติภาพในดวงจิตของบุคคล ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ควรเข้าไปหลงปรุงแต่งกำหนดหมายคุณค่าใดๆ(อวิชชาความไม่รู้ที่ทำให้เกิดการสังขารปรุงแต่ง)จนเกิดความยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน) ผู้ที่รู้แจ้งตระหนักชัดในสัจจธรรมข้อนี้ได้โดยไม่ต้องนึกคิดตรึกตรองด้วยเหตผล(อบรมโพธิปักขิยธรรมจนเกิดสัมมาญาณทัศนะ) ย่อมไม่ปล่อยให้พฤติภาพของดวงจิตหลงกำหนดหมายปรุงแต่งในจิตใจหลังการกระทบสัมผัสแม้เพียงชั่วขณะเดียว ซึ่งย่อมหมายถึงการที่ผู้นั้นสามารถระงับอวิชชาที่ทำให้เกิดสังขาร จนทำให้ รู้ หรือวิญญาณดับ อันทำให้ รู้ กับ สิ่งที่รู้ หรือนามรูป หยั่งลงไม่ได้

- - - - - - - - - -

เมื่อนามรูปดับ อายตนะหรือทวารรับรู้ก็ไม่ทำงานในวิถีที่เป็นเครื่องมือของอวิชชาอีกต่อไป อวิชชาสัมผัสจึงดับ เมื่อผัสสะด้วยโมหะดับ ความรักหรือชังย่อมดับลงได้อย่างเด็ดขาด นั่นคือเวทนาดับ ด้วยความรักความชังไม่มีเป้าหมายที่จะหยั่งลงไปได้ใน สิ่งที่รู้ ใดๆ เพราะนามรูปหยั่งลงไม่ๆได้ด้วยวิปัสสนาญาณรู้แจ้งตระหนักชัดว่ารูปลักษณะสภาวะทั้งปวงล้วนปราศจากตัวตนของมันเองเป็นอนัตตา และไม่ได้ดำรงอยู่แม้ขณะเดียวเพราะมีธรรมชาติที่ผันแปรเป็นอนิจจังอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ความอยากได้ อยากมี อยากเป็นหรือโลภะมูลจิต ซึ่งเกิดจากความรักความพอใจหรือความอยากให้พ้นๆไปหรือโทสะมูลจิตซึ่งเกิดจากความชัง ย่อมไม่สามารถเกิดได้ นั่นคือตัณหาหรือเหตุแห่งทุกข์ไม่เกิด ความทนได้ยากย่อมไม่เกิด นั่นหมายความว่าทุกข์ดับ สำเร็จประโยชน์แห่งการลุถึงความเป็นจริงของพระอริยเจ้าทั้งสี่ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค...

- - - - - - - - - -



ยิ้มแก้มปริ สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2006, 1:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เปล่าๆ บริสุทธิ์ : ณรงค์ศักดิ์ เนียมนัด

มีสติ รู้เท่าทัน ความคิด รู้เท่าทันอารมณ์ ทุกขณะปัจจุบัน เมื่อรู้เท่าทันเร็วเท่าใด ความคิดหรืออารมณ์จะหายไปเร็ววันเท่านั้น เดี๋ยวก็มีความคิดใหม่ หรือ มีอารมณ์ใหม่ รู้เท่าทันเร็วเท่าใด ก็หายไปเร็วเท่านั้นอีก

เมื่อความคิดและอารมณ์หายไป หรือ ดับไป ใจก็ว่างเปล่าอยู่ช่วงขณะหนึ่ง เดี๋ยวก็มีความคิดหรืออารมณ์เกิดขึ้นอีก ก็รู้เท่าทันอย่างรวดเร็วอีก ความคิดและอารมณ์ก็จะหายไป ใจก็ว่างเปล่าอีก จนเกิดความชำนาญในการมีสติรู้เท่าทันความคิดอารมณ์ได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่เริ่มความคิด หรือ เริ่มเกิดอารมณ์ใหม่ทุกครั้งไป

ข้อควรระวัง ไม่ใช้ความคิดสะกดความคิด สะกดอารมณ์ไว้จนมีความรู้สึกว่าไม่คิด ไม่มีอารมณ์ใดเลย ควาคิดที่จะสะกดความคิด หรือ สะกดอารมณ์ ฃไว้ ก็เป็ฯความนึกคิดปรุงแต่งจิตตลอดเวลา ต้องมีสติรู้เท่าทันความนึกคิดปรุ่งแต่งจิตนี้เหมือนกัน

ในที่สุดหยุดแสวงหา(ธรรม) หลุดการดิ้นรนแสวงหาธรรมะใด (หยุดนึกปรุงแต่ง) แล้วจะพบความจริง หรือ ความว่างจากทุกข์

ถ้ายังไม่หยุดการดิ้นรนทางใจ หรือหยุดอยากโดยสิ้นเชิง หรือยังไม่หยุดการคิดค้นการค้นการคว้า การแสวงหาธรรม ใจก็ยังดินรนอยู่ จะบอกว่าหยุดการดิ้นรนแสวงหาหรือหยุดการคิดค้น การค้นคว้าทางใจไม่ได้เลย

เมื่อใจเริ่มมีการดิ้นรนค้นหา แสวงหาธรรมครั้งใด ก็มีการเคลื่อนไหวทางใจเสียทุกครั้งไป ดังนั้นเมื่อมีการดินรนแสวงหาธรรมะในใจขึ้นครั้งใด ใจก็ไม่ว่างถึงธรรม

ในที่สุดต้องหยุดการดิ้นรนแสวงหาธรรมะทั้งหมด คือ หยุดการคิดค้นในเรื่องธรรมเรื่องกิเลสโดยสิ้นเชิง ใจก็จะถึงความว่าง คือ เมื่อใจมีการกระเพื่อมขึ้นมา หรือ สั่นไหวขึ้นมา โดยไม่ว่าจะมีการกระเพื่อมเพราะมีสิ่งใด เช่น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์ต่างๆ หรือความอยากบรรลุธรรมมาเป็นตัวล่อ ก็ให้รู้เท่าทันในทันทีทันใดทุกครั้งไป ความกระเพื่อมหรือความสั่นไหวของใจ ก็จะสงบลงไปเอง หรือเรียกว่ารู้เท่าทันความคิด ความนึก ความปรุงแต่งในใจทุกครั้ง ความว่างเปล่านี้ก็จะปรากฏขึ้นเรื่อยๆ หลังจากความคิดความนึก ความปรุงแต่งของใจ หรือการกระเพื่อมหวั่นไหวภายในใจสงบลง

ให้รู้เท่าทันความคิด ความนึก ความปรุงแต่งของใจทุกขณะปัจจุบัน โดยไม่สนใจว่าข้างหน้าจะเกิดผลเช่นใด จนเป็นปัจจัตตังรู้ได้ด้วยตัวเอง ในที่สุดก็ให้หยุดการดิ้นรน แสวงหาธรรมะโดยสิ้นเชิง เหมือนกับผู้ไม่รู้ธรรมอะไรเลย จึงเรียกว่าหยุดและว่างเปล่าจริงๆ ถ้าไม่หยุดก็ไม่ว่างเสียที


สู้ สู้ สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"

แก้ไขล่าสุดโดย พิชชาธร เมื่อ 26 ก.ค.2006, 6:07 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
พิชชาธร
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2006
ตอบ: 39

ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2006, 1:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความเข้าใจผิดในเรื่อง “สักแต่ว่ารู้ ” หรือ “รู้เปล่าๆ” : คลายทุกข์ คลายเครียด


คำว่า “สักแต่ว่ารู้ ” หรือ “รู้เปล่าๆ” นี้ ผู้ปฏิบัติจะเข้าใจผิดกันมาก คือ เมื่อรู้อะไรทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วพยายายามทำใจให้เป็นกลางๆ หรือ พยายามทำใจให้ว่างๆ เปล่าๆ โดยพยายามไม่ให้รู้สึกเป็นสุขเวทนา หรือ ทุกขเวทนาต่อสิ่งที่ถูกรู้โดยพยายามทำใจให้เป็นอุเบกขาต่อสิ่งที่ถูกรู้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นความเห็นหรือความเข้าใจที่ผิด เพราะไม่เข้าใจผัสสะตามธรรมชาติ


คือ เมื่อมีสิ่งใดมากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น และทางระบบประสาทกาย หรือ ทางความคิด จะต้องมีสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อุเบกขาเวทนา เกิดขึ้น มาพร้อมกับจิตรู้หรือ จิตคิดทุกครั้ง


ซึ่งแล้วแต่สิ่งที่มากระทบว่าจะทำให้เกิดเป็นสุขเวทนา หรือ ทุกขเวทนา หรือ อุเบกขาเวทนา เราจะบังคับให้เกิดแต่อุเบกขาเวทนาอย่างเดียวไม่ได้


เช่น เห็นคนที่คุ้นเคยกัน ก็เกิดสุขเวทนา (ยังไม่ถึงกับเกิดตัณหาใด) ติดมาพร้อมกับจิตรู้รูปทางตานั้น แล้วก็ดับไปทันทีพร้อมจิตรู้รูป


แต่ถ้าเห็นรถชนคนตายก็รู้สึกเป็นทุกขเวทนาติดมาพร้อมกับจิตรู้รูปทางตานั้น แล้วดับไปทันทีพร้อมจิตรู้รูปนั้น แต่ถ้าเห็นอิฐ หิน ปูน ทราย ถนน ก็จะเกิดอุเบกขาเวทนา หรือ ทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ หรือ ความรู้สึกเป็นกลางๆ) ติดมาพร้อมกับการเห็นรูปนั้น แล้วดับไปพร้อมกับจิตรู้รูปทางตานั้น


ในกรณีหูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส รู้อะไรทางระบบประสาททางกาย หรือ คิดถึงสิ่งใด หรือเรื่องราวใดขึ้นมา ก็มีสุขเวทนา หรือ ทุกขเวทนา หรือ อุเบกขาเวทนา ติดมากับจิตรู้ หรือ จิตคิดทุกครั้ง ไม่สามารถเลือกเอาแต่อุเบกขาเวทนาได้

ถ้าเพียงแค่เป็นสุขเวทนา หรือ ทุกขเวทนา หรือ อุเบกขาเวทนา เป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติที่บริสุทธิ์หรื่อเป็นเรื่องปกติของขันธ์ห้าตามธรรมชาติ เพราะเมื่อเกิดขึ้นมีอาการครบสามสิบสอง คือ มีตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ต้องมีการเห็นการได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การสัมผัส การนึกคิด และจะต้องมีสุขเวทนา หรือ ทุกขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนา ติดมาด้วยทุกครั้ง


ยิ้มเห็นฟัน สาธุ ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
"มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญบาปเอย"

แก้ไขล่าสุดโดย พิชชาธร เมื่อ 09 มิ.ย.2006, 9:04 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง