Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 กมฺมุนา วตฺตตีโลโก อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
kanawat_ny
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2007
ตอบ: 47

ตอบตอบเมื่อ: 16 ส.ค. 2007, 12:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


“กมฺมุนา วตฺตตีโลโก...สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม”

พระพุทธศาสนสุภาษิตบทนี้เป็นคำตอบที่ชัดแจ้ง สำหรับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นมากมาย ว่าทำไมโลกทุกวันนี้จึงร้อนนัก เต็มไปด้วยความเลวร้ายต่าง ๆ นานาที่ไม่เคยมีมาก่อน ทั้งมรสุมใหญ่ ทั้งน้ำไฟทำลาย ทั้งโจรร้ายเข่นฆ่า ทั้งความเมตตากรุณาสิ้นจากจิตใจ ทั้งความขาดแคลนทุกข์ยากทั่วไปทั้งแผ่นดิน ความกตัญญูก็สิ้นสูญหมด ลูกหลานทรยศแม่พ่อพี่ป้าน้าอาปู่ย่าตายาย ถึงทุบตีเข่นฆ่าทำทารุณกรรม ครูอาจารย์ก็ทำร้ายได้ทั้งร่ายกายและจิตใจศิษย์น้อย ๆ ทำชีวิตให้พลอยสิ้นสุด จนถึงเกิดเป็นปัญหาว่า....

ทำไมเมืองพระพุทธศาสนาจึงเป็นเช่นนี้ได้ ?
ทำไมความเดือนร้อนชั่วร้ายจึงมากมายนัก ?
ทำไมผู้คนจึงลำบากยากแค้นนัก ตกอยู่ในสภาพที่น่าประหวั่นพรั่นพรึงนัก
“กมฺมุนา วตฺตตีโลโก...สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” นี่คือคำตอบ

กรรม..คือการกระทำทั้งที่ดีและไม่ดี..

กรรมหมายถึงการกระทำ ซึ่งมีความหมายเป็นกลาง คือ มีทั้งที่ดีและที่ไม่ดี

การกระทำที่ดีเป็นกรรมดี การกระทำที่ไม่ดีเป็นกรรมไม่ดี แต่ที่นำมาใช้นั้นเข้าใจว่า กรรม คือ ความไม่ดีสถานเดียว เช่น เมื่อมีอะไรร้าย ๆ เกิดแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง ก็จะกล่าวว่ากรรมของเขา คือ ความไม่ดีของเขา

“สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” ที่เป็นคำในพระพุทธศาสนสุภาษิต มีความหมายว่า คนและสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นไปต่าง ๆ นานา ทุกข์ก็มี สุขก็มี ดีก็มี ชั่วก็มี มิได้เกิดแต่ผู้ใดอื่น มิได้เกิดแต่อะไรอื่น มิใช่เกิดแต่เหตุใดทั้งนั้น นอกจากกรรมที่ตนได้กระทำแล้วเองเท่านั้น

อำนาจแห่งกรรมของตนเอง

ผู้ที่เป็นมนุษย์ในชาตินี้ อาจเกิดเป็นสัตว์ในชาติหน้าได้ ด้วยอำนาจแห่งกรรมของตนเอง ที่เพียงพอแก่ความเป็นสัตว์ ซึ่งมีต่าง ๆ ประเภท ทั้งหมู หมา กา ไก่ วัด ช้าง ม้า ที่อำนาจกรรมอาจนำให้มนุษย์ไปเกิดได้ประเภทนั้น ๆ

ในพระพุทธศาสนามีเรื่องเล่าถึงพระภิกษุรูปหนึ่งในสมัยพุทธกาล ที่ประพฤติดี ประพฤติชอบมาตลอด ก่อนแต่จะมรณภาพได้จีวรมาผืนหนึ่งซักตากไว้บนราว ด้วยมีใจผูกพันยินดีที่จะไครองจีวรใหม่ เกิดมรณภาพในช่วงเวลาก่อนจะทันได้ใช้จีวร เพื่อนภิกษุจะถือจีวรนั้นเป็นของตน สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้ามไว้ มีพระพุทธดำรัสให้รอก่อน 7 วัน

เพราะขณะนั้นพระภิกษุผู้เป็นเจ้าของได้ไปเกิดเป็นเล็นเกาะติดอยู่กับผ้าจีวร อายุของเล็นอยู่นานเพียง 7 วัน จากนั้นจะได้ไปเสวยผลแห่งกรรมดีที่พระภิกษุรูปนั้นได้ประกอบกระทำไว้เป็นอันมาก นี้เป็นเรื่องแสดงอำนาจของกรรทางใจที่ใหญ่ยิ่ง อาจนำให้พระภิกษุไปเกิดเป็นสัตว์ได้

ทุกสิ่งเป็นไปตามอำนาจแห่งใจ

ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ มนุษย์ต้องไปเกิดเป็นสัตว์ก็เพราะอำนาจแห่งใจ มีเรื่องของพระภิกษุสำคัญองค์หนึ่งในพระพุทธศาสนา ท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ได้เล่าไว้และมีผู้นำมาเขียนให้ได้อ่านกันต่อมา ท่านเล่าว่า ท่านต้องไปเกิดเป็นไก่หลายชาติ เหตุเพราะมีใช้ผูกพันในแม่ไก่ กว่าจะรอดกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็นานนักหนา

ต่อมาเมื่อได้มาเกิดเป็นมนุษย์ ได้ปฏิบัติธรรมคำทรงสอนของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความรู้สึกรู้ไกลไปในอดีตหลายภพชาติ จึงประจักษ์ในอำนาจของจิต ว่ายิ่งใหญ่นัก สามารถทำให้มนุษย์ไปเกิดเป็นสัตว์ได้ และทำให้สัตว์วนเวียนอยู่ในภพภูมิที่ต่ำนักหนาได้ ควรจะสลดสังเวชและควรจะกลัวอำนาจของจิตที่ตั้งไว้ผิดยิ่งนัก

ความไม่เข้าใจในเรื่องของกรรม

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม แม้จะเป็นจริงเช่นนี้ แต่มีผู้ที่เชื่อว่าเป็นจริงเพียงจำนวนน้อยนัก เพราะไม่มีภาพให้เห็นว่า เมื่อชีวิตออกจากร่างของคนคนหนึ่งไป ก็ไปเป็นอีกร่างหนึ่งได้ เช่น หมู หมา กา ไก่ ความไม่ได้เห็นชัด ๆ ด้วยตาเนื้อเช่นนี้ทำให้คนส่วนมากยากจะเชื่อว่าคนก็เกิดเป็นสัตว์ได้ สัตว์ก็เกิดเป็นคนได้

คนฐานะสูงก็เกิดเป็นคนฐานะต่ำได้ คนฐานะต่ำก็เกิดเป็นคนฐานะสูงได้ คนร่างกายดี ๆ ก็เกิดเป็นคนแขนด้วนขาด้วนได้ คนพิการแขนด้วนขาด้วนก็เกิดเป็นคนมีแขนมีขาได้ คนหน้าตาน่าเกลียดผิดพรรณเศร้าหมอง ก็เกิดเป็นคนสวยคนงามได้ คนสวยคนงามก็เกิดเป็นคนน่าเกลียดน่าชัง ผิดพรรณเศร้าหมองได้ ยิ่งกว่านั้นคนก็เกิดเป็นเทวดาได้ และเทวดาก็เกิดเป็นคนได้

ความไม่เห็นด้วยตาเนื้อ ประกอบกับความไม่มีความเข้าใจในเรื่องกรรม และการให้ผลของกรรม ที่ทำให้คนส่วนมากไม่กลัวการเกิดใหม่ ว่าจะนำไปสู่สภาพหรือภพชาติที่น่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก เช่นเป็นสัตว์นรก

ผู้ไม่เชื่อเรื่องมโนกรรม...น่าสงสารที่สุด

ใจสำคัญที่สุด ใจต้องคิดไปก่อน เป็นมโนกรรม...กรรมทางใจ อะไร ๆ จึงจะเป็นผลตามมา จะดีหรือจะชั่วก็แล้วแต่ใจจะคิดดีหรือคิดชั่ว ผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องกรรมที่เกดจากใจคิด เป็นผู้ที่น่าสงสารที่สุด เพราะเขามีโอกาสที่จะตกอยู่ในสภาพที่เลวร้าย น่าสลดสังเวชยิ่งนัก

สภาพที่เกิดแต่ใจคิดนำไปนั้น เกิดได้ทั้งในภพชาติปัจจุบันนี้ ตลอดไปจนถึงภพชาติข้างหน้า อย่างที่ว่าแม้คนก็เกิดเป็นสัตว์ได้ แม้คนก็เกิดเป็นเทวดาได้ และแม้สัตว์ก็เกิดเป็นคนได้ แม้สัตว์ก็เกิดเป็นเทวดาได้

การระวังใจ...สำคัญยิ่งนัก

การระวังใจจึงสำคัญยิ่งนัก ปล่อยใจให้คิดสูงส่งงดงามไปด้วยบุญกุศล ชาตินี้ก็เป็นสุขเบิกบานด้วยอำนาจของบุญกุศลที่ใจคิดถึง ละชาตินี้ไปแล้วจะได้มีชาติใหม่ที่งดงาม ควรแก่ความงดงามของความคิดที่อยู่ในจิตใจ

ผู้พรั่งพร้อมด้วยสมบัติทั้งกายและทางใจที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน คือ ผู้ที่เป็นไปตามอำนาจของใจในอดีต อันย่อมมีผลสืบเนื่องถึงอำนาจของใจในภพชาติใหม่ด้วย ส่วนผู้ที่ปล่อยใจให้คิดต่ำทรามชั่วร้าย...ด้วยบาปอกุศล ชาตินี้ก็เป็นทุกข์เร่าร้อนด้วยอำนาจของบาปอกุศลที่ใจคิดถึง ละไปแล้วจะได้มีชาติใหม่ที่ต่ำทรามบกพร่อง ควรแก่ความต่ำช้าของความคิดที่มีอยู่ในจิตใจ

ผู้ขาดแคลนทั้งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ที่เห็นกันอยู่ไม่น้อยในปัจจุบัน คือ ผู้เป็นไปตามอำนาจของใจในอดีต อันย่อมมีผลสืบเนื่องถึงอำนาจของใจในภพชาติใหม่ด้วย จึงพึงระวังความคิดให้อย่างยิ่ง ให้งดงามด้วยบุญกุศลไว้เสมอ จะได้ไม่ต้องมีสภาพที่ไม่เป็นที่พึงปรารถนา

ความคิด...เป็นเหตุแห่งสุขและทุกข์

ความคิดเป็นเหตุแห่งความทุกข์ และความคิดก็เป็นเหตุแห่งความสุขได้ พึงรอบคอบในการใช้ความคิด คิดให้ดี คิดให้งาม คิดให้ถูก คิดให้ชอบ แล้วชีวิตในชาตินี้ก็จะงดงาม สืบเนื่องไปถึงภพชาติใหม่ได้ด้วย

ระวังความคิดให้ดีที่สุด เพราะความคิดที่ผูกพันในสิ่งไม่สมควรที่ทำให้พระภิกษุองค์หนึ่งต้องไปเกิดเป็นเล็น อีกองค์หนึ่งต้องไปเกิดเป็นไก่อยู่หลายภพหลายชาติ เราทั้งหลายหาได้มีบุญสมบัติเสมอพระภิกษุทั้งสองนั้นไม่ ความคิดที่ผิดพลาดของเราจะมินำเราไปเป็นอะไรที่น่ากลัวเหลือเกินหรือ

: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
 

_________________
กมฺมุนา วตฺตตี โลโก
ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์
(อิสระ ชีวา)
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2007, 9:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง