Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วจีสุจริต VS วจีทุจริต อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Iam
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 เม.ย.2006, 2:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วจีสุจริต

เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อเหลวไหล

คือแม้ว่าจะเป็นความจริง
แต่หากว่าเป็นคำส่อเสียดก่อให้เกิดความแตกร้าว

เช่นนำความข้างนี้ไปบอกข้างนั้น
นำความข้างนั้นมาบอกข้างนี้

เพื่อจะยุให้ทั้งสองฝ่ายแตกกัน
แม้จะเป็นความจริงที่ไม่ควรพูด
เพราะทำให้เขาแตกกัน
เข้าในพวกส่อเสียด

หรือแม้ว่าเป็นคำหยาบ
ไม่ได้มุ่งจะหลอกลวงให้เข้าใจผิด
แต่ว่าเป็นคำหยาบคาย
เช่นเป็นคำด่าว่า
เป็นสัตว์ดิรัจฉานอย่างโน้นอย่างนี้ อะไรเป็นต้น

หรือแม้วาจาอย่างอื่นซึ่งเป็นการกล่าว
กดให้เลวลง

ซึ่งทุกคนก็รู้ว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น
และก็ไม่ได้มุ่งที่จะหลอก
แต่ว่ากล่าวด้วยความโกรธ

ด้วยความเหยียดหยาม
ต้องการจะกดเขาให้เลว
ก็ไม่ควรพูด

และแม้ว่าเป็นคำที่เพ้อเจ้อเหลวไหล
ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
ไม่มีขอบเขตจำกัด หาสาระแก่นสารมิได้
หรือว่ามีสาระแก่นสารน้อยเกินไป
ก็เป็นคำไม่ควรพูด

วจีทุจริต

วาจาเช่นที่กล่าวมานี้ คือ
การพูดเท็จก็ดี
การพูดส่อเสียดก็ดี
การพูดคำหยาบก็ดี
การพูดเพ้อเจ้อเหลวไหลก็ดี

ก็นับว่าเป็น วจีทุจริต คือ
การพูดที่เป็นทุจริตเสมอกัน

เพราะฉะนั้นแม้เป็นความจริง
ก็ไม่ใช่ว่าเป็นข้อที่ควรพูดเสมอไป
ต้องอยู่ในขอบเขตอันสมควร


: ทศบารมีและทศพิธราชธรรม
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

====

การให้ธรรมเป็นทาน เป็นทานสูงสุด
ผู้ให้ให้ด้วยความเมตตา หวังบุญกุศลในธรรมทาน

หากให้ด้วยความไม่เมตตา
ท่านไม่เรียกธรรมทาน


สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 
ต้นหญ้า
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 เม.ย.2006, 3:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



mini-mini-buddha1.jpg


สาธุค่ะท่าน I am จูฬราหุโลวาทสูตร
เรื่องพระราหุล
[๑๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เขต
พระนครราชคฤห์. ก็สมัยนั้นแล ท่านพระราหุลอยู่ ณ ปราสาทชื่อว่าอัมพลัฏฐิกา. ครั้งนั้น
เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นอยู่แล้ว เสด็จเข้าไปยังอัมพลัฏฐิกาปราสาทที่ท่าน
พระราหุลอยู่. ท่านพระราหุลได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล จึงปูลาดอาสนะและตั้งน้ำ
สำหรับล้างพระบาทไว้. พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แล้วทรงล้างพระบาท.
ท่านพระราหุลถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๑๒๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเหลือน้ำไว้ในภาชนะน้ำหน่อยหนึ่ง แล้วตรัสกะ
ท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล เธอเห็นน้ำเหลือหน่อยหนึ่งอยู่ในภาชนะน้ำนี้หรือ?
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า.
ดูกรราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งรู้อยู่ ก็มีน้อย
เหมือนกันฉะนั้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเทน้ำที่เหลือหน่อยหนึ่งนั้นเสีย แล้วตรัสกะท่านพระราหุล
ว่า ดูกรราหุล เธอเห็นน้ำหน่อยหนึ่งที่เราเทเสียแล้วหรือ?
รา. เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็น
ของที่เขาทิ้งเสียแล้วเหมือนกันฉะนั้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงคว่ำภาชนะน้ำนั้น แล้วตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล
เธอเห็นภาชนะน้ำที่คว่ำนี้หรือ?
เห็น พระเจ้าข้า.
ดูกรราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของที่
เขาคว่ำเสียแล้วเหมือนกันฉะนั้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหงายภาชนะน้ำนั้นขึ้น แล้วตรัสกะท่านพระราหุลว่า
ดูกรราหุล เธอเห็นภาชนะน้ำอันว่างเปล่านี้หรือ?
เห็น พระเจ้าข้า.
ดูกรราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของ
ว่างเปล่าเหมือนกันฉะนั้น.
[๑๒๗] ดูกรราหุล เปรียบเหมือนช้างต้น มีงาอันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก
มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม ช้างนั้นเข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง
ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหู
ทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น. เพราะการที่ช้างรักษา
แต่งวงนั้น ควานช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ช้างต้นนี้แลมีงาอันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญ
ยิ่งนัก มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง
ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง
ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น ชีวิตชื่อว่า
อันช้างต้นยังไม่ยอมสละแล. ดูกรราหุล เมื่อใดแลช้างต้นมีงาอันงอนงามเป็นพาหนะที่เจริญ
ยิ่งนัก มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง
ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหู
ทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง. เพราะการที่ช้างทำกรรมด้วยงวงนั้น
ควานช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ก็ช้างต้นนี้แลมีงาอันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก
มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลัง
ทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง
ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง ชีวิตชื่อว่าอันช้างต้นยอมสละแล้ว บัดนี้ไม่มีอะไร
ที่ช้างต้นจะพึงทำไม่ได้ ฉันใด. ดูกรราหุล เรากล่าวว่าบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสา
ทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทำบาปกรรมแม้น้อยหนึ่งไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้นแหละ ราหุล
เธอพึงศึกษาว่า เราจักไม่กล่าวมุสา แม้เพราะหัวเราะกันเล่น ดูกรราหุล เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.
 
I am
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 เม.ย.2006, 10:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุครับ... คุณต้นหญ้า
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง