Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 "อริยบุคคล"--------หลวงปู่หล้า อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เฟ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 มี.ค.2006, 9:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำถาม

ในเพศฆราวาส การศึกษาเล่าเรียนจะเริ่มจากประถม - มัธยม - มหาวิทยาลัย -

ปริญญาตรี - โท - เอก อยากทราบว่าในเพศนักบวช การบรรลุธรรมตั้งแต่ โสดา -

สกิทาคา - อนาคา - อรหันต์ มีขึ้นตอนอย่างไร เหมือนกันกับทางโลกไหมครับ

คำตอบ

ขั้นตอนของพระอริยบุคคล ๔ จำพวก มีดังต่อไปนี้

๑. พระโสดาบันไม่เสียดายอยากล่วงละเมิดศีล ๕ ไม่เสียดายอยากจะถือ

ศาสนาอื่น ๆ ไม่เสียดายอยากเล่นอบายมุขทุกประเภท ไม่เสียดายอยากจะผูก

เวรสาปแช่งท่านผู้ใด ไม่เสียดายอยากค้าขายเครื่องประหาร มีศาสตราอาวุธ เป็นต้น

หรือยาเบื่อเมาที่ทำให้สัตว์ต่าง ๆ ตาย

๒. ส่วนพระสกิทาคามีนั้น ก็มีความหมายอันเดียวกัน แต่ละเอียดไปกว่า

พระโสดาบันบ้าง ให้เข้าใจว่าอยู่ในภูมิเดียวกัน ถ้าจะเทียบใส่ในของหยาบ ๆ ที่

เป็นผู้ทรงครรภ์มีลูกแฝด พระสกิทาคามีต้องออกมาก่อน พระโสดาบันออกมาที

หลังจำเป็นต้องได้เรียกผู้ออกมาจากครรภ์ก่อนว่าพี่ชาย หรือพี่หญิง และมีความ

ฉลาดลึกกว่ากันบ้าง ถ้าจะเทียบในชั้นมัธยมก็หยาบ ๆ ก็พระสกิทาคามีสอบได้ที่

หนึ่ง พระโสดาบันได้ที่สองแต่เป็นชั้นเดียวกัน

๓. พระอนาคามี เว้นจากไม่นึกถึงกามวิตก ความตริ ในทางกามเพราะ

ราคะขาดไปหมดแล้ว และกิเลสพระอนาคามียังมีอยู่แจกออกเป็นพิเศษ ๙ ข้อ

โดยใจความก็คือมานะถือตัว ๙ ข้อ

๑. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา

๒. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา

๓. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา

๔. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา

๕. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา

๖. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา

๗. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา

๘. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา

๙. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา

นี่แหละกิเลสของพระอนาคามี และยังอยู่อีก คือ อวิชชา คือ ความโง่อันละเอียด

ไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักเหตุเกิดทุกข์ ไม่รู้จักความดับทุกข์ ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึง

ความดับทุกข์ ไม่รู้จักอดีต ไม่รู้จักอนาคต ไม่รู้จักทั้งอดีต อนาคตโยงใส่กัน ไม่รู้

จักลูกโซ่ที่เกี่ยวข้องกันเป็นสายที่เป็นวงกลมผูกคออยู่ แต่ในโซ่นั้นดังนี้...มีอวิชชา

ความโง่คืออวิชชา ๔ ดังกล่าวแล้วนั้นเอง เมื่อมีความโง่ใน ๔ ข้อนี้แล้วก็เป็นเหตุ

ไม่รู้จักสังขาร สังขารนั้นแบ่งเป็น ๓ ปุญญาภิสัขาร อภิสังขารคือบุญที่สร้างขึ้น

ด้วย ทาน ศีล ภาวนาเป็นต้น อปุญญาภิสังขาร อภิสังขาร คือบาปอันตรงกันข้าม

กับบุญ อเนญชาภิสังขาร อภิสังขาร คือ อเนญชา ได้แก่สมาบัติ ไปติดสมาบัติจน

ถือว่าเป็นเราเป็นเขา เป็นสัตว์เป็นบุคคล จนแกะไม่ได้คายไม่ออก และขออธิบาย

อีกว่า ในคำว่า"บุญ" ในทางพระพุทธศาสนาหมายเอาพระอนาคามีเท่านั้น จะเหนือ

นั้นไปไม่บัญญัติว่าเป็นบุญ ส่วนในทางตรงกันข้าม คือ บาป หมายเอามหาอเวจี

นรกและโลกันตะนรกเท่านั้น

ทีนี้กล่าวถึงวิญญาณ จักขุวิญญาณ วิญญาณทางดวงตา โสตวิญญาณ

วิญญาณทางหู ฆานะวิญญาณ วิญญาณทางจมูก ชิวหาวิญญาณ วิญญาณทางลิ้น

กายวิญญาณ วิญญาณทางกาย มโนวิญญาณ วิญญาณทางใจ เมื่อไม่รู้เท่า

วิญญาณทั้งหลายเหล่านี้ก็เป็นวิญญาณปฏิภพปฏิสนธิ

ทีนี้กล่าวนามรูปต่อไป นามังแปลว่าชื่อมัน มีเวทนา สัญญาสังขาร

วิญญาณเป็นต้น ส่วนรูปหมายเอาดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันเป็นกายเรียกว่า รูป

ส่วนอายตนะมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นต้น ที่เรียกว่า อายตนะภายใน

ส่วนอายตนะภายนอก มี รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่มาสัมผัส

กับอายตนะภายในให้ปรากฏขึ้น ถ้าเป็นสิ่งที่ชอบใจก็เกิดเป็นสุขเวทนา ถ้าเป็นสิ่งที่

กลาง ๆ ไม่รักไม่ชังก็เป็นอุเบกขาเวทนา ถ้าเป็นสิ่งที่รังเกียจก็เป็นทุกขเวทนา จะ

เรียกว่าเวทนาทั้ง ๓ ก็ได้ แต่เวทนาทั้ง ๓ นี้แหละถ้าเป็นเวทนาสุขก็จัดเป็นกาม

ภพที่เรียกว่า กามตัณหา ถ้ากำหนดไว้ก็เรียกว่า ภวตัณหา ถ้าไม่ชอบก็เป็น วิภวตัณหา

เมื่อเกิดเป็นตัณหาทั้งหลายเหล่านี้แล้ว สิ่งที่ชอบก็เป็น "กามุปาทาน" มีทิฎฐิ และ

ความเห็นผิดก็เป็นทิฏฐุปาทาน ถ้าสงสัยลูบคลำก็เป็น "สีลัพพัตตุปาทาน" ถ้าถือมั่น

ว่าเรา ว่าเขา ว่าสัตว์ ว่าบุคคลก็เป็น "อัตตวาทุปทาน" แล้วก็กลายเป็นภพ เป็นรูปภพ

เป็นอรูปภพ สิ่งที่ไม่ชอบใจก็เป็นวิภวภพแล้วก็เกิดเป็นโยนิ ๔ ที่เรียกว่า ชาติที่เกิด

ในครรภ์ ในไข่ ในเถ้าในไคล และเกิดผุดขึ้นเหมือนเทวดา และสัตว์นรก ส่วนเกิด

ในครรภ์เราก็รู้ดีอยู่แล้ว พวกเกิดในฟองไข่เราก็รู้ดีอยู่แล้ว พวกที่เกิดในเถ้าไคล

ของหมักหมมมีพวกเลือดขาวเป็นต้นเราก็รู้ดีอยู่แล้ว ที่เรียกว่าชาติความเกิดมี ๔

ประเภท เมื่อชาติความเกิดมีแล้วความแก่ เจ็บ ตายก็เป็นเบี้ยบำเหน็จบำนาญไป

ตลอด ส่วนความปรารถนาไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์หัวใจอีก สังสารวัฏฏ์ก็วนเวียน

กันอยู่อย่างนี้ไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลาย ถ้าตามแต่ปลายไปหาต้นก็ไปเจออวิชชาดังกล่าว

แล้วนั้น (ความโง่) ถ้าตามอวิชชาลงมาเป็นลำดับก็มาเป็นวงกลมจรดกันกับ

"โทมนัสอุปายาส"

จะอย่างไรก็ตาม เรารู้ดีอยู่แล้วว่าที่กล่าวมานี้เป็นบ่วงลูกโซ่ที่คล้องคอของ

สัตว์ทั้งหลายเป็นบ่วงอยู่ซึ่งตัดไม่ได้ แต่ถ้าหากว่าตัดอวิชชาความโง่แล้วก็ดีหรือ

ตัดตอนใดตอนหนึ่งที่เป็นบ่วงวงกลมอยู่นั้นก็ขาดออกจากวงกลมไปหมดก็เป็นอัน

ว่าหลุดจากบ่วงไปแล้ว

ส่วนพระอรหันต์ ท่านรู้เท่าถึงการณ์สิ่งเหล่านี้ไปแล้ว รู้เท่าด้วย ปฏิบัติเท่า

ด้วย ตัดขาดเท่าด้วย แห่งใดแห่งหนึ่ง สายโซ่ก็ยึดออกไม่มีวงกลม ก็เป็นอันว่า

หลุดพ้นไปหมด

ส่วนทางโลกจะเรียนถึงปริญญาไหนก็ตาม เพราะเป็นเพียงความจำเท่านั้น

ถ้ากิเลส โลภ โกรธ หลง ไม่เบาลง มันก็ใช้ไม่ได้ ฝ่ายทางพระศาสนาเมื่อเห็นชัดใน

พระโสดาบันแล้ว ส่วนธรรมเบื้องสูงก็ต้องเปิดประตูไปเอง เร็วหรือช้าก็ต้องขึ้นอยู่

กับสติปัญญาของแต่ละคน และความเพียรที่แยบคายด้วย แต่ให้เข้าใจว่าเมื่อถึง

โสดาบันแล้ว เป็นผู้มองเห็นฝั่งพระนิพพาน คือฝั่งที่ไม่มีโลภ ไม่โกรธ ไม่หลงด้วย

พระปัญญา ไม่ใช่ตานอกตาเนื้อ เหมือนพวกโลกีย์เสียแล้ว พวกโลกีย์นั้นมันหลาย

บางที บางทีขึ้นหน้าก็มี บางทีถอยหลังก็มี บางทีปลีกไปทางอื่นเสีย ยกอุทาหรณ์

เราจะเรียนถึงเปรียญ ๙ ประโยคก็ตาม แต่ถ้ากิเลสไม่ลดละ ทุกข์ทั้งหลายก็ไม่

ลดละออกจากใจเหมือนกัน ให้เราเข้าใจว่า ครั้งพุทธกาลยังไม่ได้บัญญัติปาราชิก ๔

หรือวินัยข้อใดทั้งนั้น เมื่อผู้ฟังเข้าใจความหมายทั้งการฟังและการละ การถอน

กิเลสอยู่ในขณะฟัง ไม่มีอันใดก่อนอันใดหลังก็ถึงพระโสดาบันในขณะนั้นแล้ว ก็

เตลิดจนถึงพระอรหันต์ในขณะจิตเดียวนั้น แผล็บเดียวนั้นเหมือนเราเปิดสวิตช์ไฟฟ้า

การเปิดกับการสว่างไม่อยู่ห่างกันพอขณะใจ

ส่วนผู้ใดทีได้พระโสดาบันไม่เตลิดถึงพระอรหันต์ในขณะนั้น จะใส่ชื่อลือนามว่า

เป็นพระโสดาบันตลอดชาติไม่ได้ เช่น พระอานนท์ เป็นต้น ได้พระโสดาบันแต่นาน

แล้ว เมื่อพุทธองค์เข้าสู่ปรินิพพานแล้วจึงได้พระอรหันต์ในวันทำสังคายนาครั้งที่ ๑

นั้น จะบัญญัติว่าเป็นพระโสดาบันเอกพีชีก็ไม่ได้ เพราะสามารถเป็นอรหันต์ใน

ชาตินั้นอยู่ เช่นพระสุทโธทนะในชาตินั้นเมื่อได้พระโสดาบัน แล้วก็ยังอยู่หลายปีจึง

ได้พระอนาคามี ได้พระอรหันต์ในเวลาจวนจะสิ้นพระชนม์หรือพร้อมกับสิ้นพระ

ชนม์ดังนี้ จะเรียกว่าเป็นภูมิพระอนาคามีก็ไม่ได้ เพราะภูมิพระอรหันต์สามารถ

สำเร็จในชาติปัจจุบันอยู่

เทียบทางฆราวาสกับทางบรรพชิตก็เทียบได้เหมือนกัน ฆราวาสที่ถึงโลกุตร

นับแต่พระโสดาบันเป็นต้น บางท่านออกจากนั้นแล้ว ก็ไปยังอยู่สกิทาคาอนาคาก็มี

อยู่ บางท่านก็ไมค้างอยู่ เตลิดไปถึงพระอรหันต์ ส่วนบรรพชิตในข้อนี้ก็คงหมายเป็น

อันเดียวกัน แต่พระเณรที่เป็นโลกีย์ก็คงหมายเหมือนฆราวาสเหมือนกัน แต่ว่ามี

เพศต่างกัน ส่วนกุศลผลบุญถ้ามีศีลพอเป็นไปได้ ก็ต่างจากคฤสต์บ้าง แต่นี่

หมายความว่าคฤหัสถ์ที่ไม่มีศีล ส่วนคฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบัน เขามีศีล ๕

ไม่ด่างพร้อยแล้ว แม้พระภิกษุสามาเณพเป็นปุถุชนคนหนาอยู่ ก็สู้พรโสดาบันที่

รักษาศีล ๕ บริสุทธิ์อยู่บ้านไม่ได้

ที่มา ลานวัดดอดคอม
 
บัวเบลอ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 18 ต.ค. 2005
ตอบ: 86

ตอบตอบเมื่อ: 08 มี.ค.2006, 8:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำถาม
หลวงปู่ครับ .. ครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ท่านบรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว ผ่านความยากลำบากทุกข์
แสนสาหัสแล้ว แต่ท่านยังขยันในการปฏิบัติข้อวัตร มีสมาธิภาวนาเดินจงกรม บิณฑบาตรเป็นต้นท่านทำเพื่ออะไรครับ ในเมื่อจิตท่านบริสุทธิ์แล้ว และการที่ท่านครองธาตุขันธ์อยู่นี้ ท่านเป็นผู้
มีสติสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซนต์ใช่ไหมครับ


คำตอบ

ท่านผู้พ้นทุกข์แล้วเช่นครูบาอาจารย์ ท่านทำข้อวัตร เดินจงกรม ภาวนา รักษาข้อวัตรไว้
ท่านทำเพื่ออะไร .. ทำเพื่อเป็นที่อยู่ของขันธวิบาก และทอดสะพานให้อนุชนรุ่นหลังโดยโต้งๆ
ไม่ได้หวังว่าจะละกิเลสไปในตัว เพราะข้ามไปหมดแล้ว … เออ … ท่านอยู่ด้วยวิหารธรรมนั้น
ใช่แล้ว และท่านก็มีการหลงลืมอยู่บ้าง เช่น ลืมปราศจากไตรจีวรเป็นต้น และลืมเก็บเภสัชไว้
เกิน ๗ วัน แต่ก็ห่างที่สุดเท่ากับไม่บ่อย ในเวลาท่านลืมอย่างนั้นท่านไม่ได้เป็นอาบัติอะไรเลย
ถ้าหากว่ามีผู้โจทก์ฟ้องท่าน คณะสงฆ์ก็ให้สติวินัย แล้วก็หมดเรื่องไป แต่สติของท่านสมบูรณ์
กว่าคนธรรมดาหาที่เปรียบไม่ได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ลืมสติดังกล่าวแล้วนั้น เหตุนั้นวิธีระงับอธิกรณ์
พระอรหันต์ จึงให้สติวินัยดังกล่าวแล้วนั้น คำว่าให้สติวินัยนั้นให้อย่างไร คณะสงฆ์ให้ว่า
ท่านจงมีสติเน้อ … เท่านั้นก็เป็นใช้ได้

ที่มา : หนังสือ " หลวงปู่หล้า เขมปตฺโตตอบปัญหาธรรมะ "
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คนๆหนึ่ง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 มี.ค.2006, 9:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การเรียน นักธรรม เป็นลำดับ นธ. ตรี โท เอก (มีใบประกาศให้)
การเรียนบาลีก็เป็นลำดับ ประโยค 1-2 ถึงประโยค 9 (มีใบประกาศให้)

การบรรลุธรรมก็เป็นขั้น ๆ เหมือนกัน
แต่ไม่มีใบประกาศรับรองจากใคร เพราะไม่มีใครรู้ใจใคร
ที่กล่าวกันว่า องค์นั้นองค์นี้เป็นพระอริยขั้นนั้นขั้นนี้ ก็เป็นการพูดยกย่องกันเองในหมู่ชนผู้นับถือ
 
บัวเบลอ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 18 ต.ค. 2005
ตอบ: 86

ตอบตอบเมื่อ: 09 มี.ค.2006, 5:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สำหรับเราๆ ไม่คับข้องใจที่คุณเฟขึ้นหัวข้อนั้นกับหลวงปู่หล้า มีแต่อยากจะช่วย
ให้เพื่อนๆได้สัมผัสธรรมะความรอบรู้ ความลึกซึ้ง และความเมตตาขององค์ท่าน
แม้สักน้อยเพียงจากการอ่านก็ยังดี พอดีสแกนเนอร์รวนอยู่ ไม่งั้นจะสแกนมาให้อ่านเยอะๆเลย

ยังไงก็ลองเซิร์ทกูเกิ้ลหาธรรมะที่ท่านเคยพูดไว้ แล้วพิจารณาด้วยปัญญาแยบคาย

และคุณเฟพูดไม่ผิดหรอก พระธาตุของท่านเป็นพยานค่ะ ผีเสื้อ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง