Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สติมา การย้อนเข้ามาดูภายในของเจ้าของให้บ่อยครั้ง อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Nattharattha Panpin
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 30 ม.ค. 2006
ตอบ: 0

ตอบตอบเมื่อ: 30 ม.ค. 2006, 3:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สติมา
และการย้อนเข้ามาดูภายในของเจ้าของให้บ่อยครั้ง พิจารณา กาย วาจา เราไว้เสมอๆ เป็นหนทางช่วย ความเป็นกลางของจิต

ความที่คนเราทำอะไรก็มีอารมณ์ตัวเองเข้าไปร่วมด้วยกับสภาวะต่างๆ ทำให้เกิดการเห็นเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเป็นเช่นนั้น เมื่อเจอคำว่า "รู้ด้วยความเป็นกลาง" จึงทำให้เกิดความสงสัยว่า อะไรคือความเป็นกลางขึ้นมา
หากรู้ด้วยความเป็นกลางได้นั้น ก็ต้องให้รู้จักสภาวะธรรมเสียก่อน

http://www.dhammajak.net/webboard/show.php?Category=dhammajak&No=739
คุณปุ๋ยกล่าวว่า คำว่า " สภาวะธรรม " ในที่นี้หมายถึง ธรรมที่เป็นไปเอง ไม่มีใครไปบังคับได้ เป็นกฏของธรรมโดยเฉพาะ

ในขณะที่เรารู้สภาวะธรรมนั้น ตัวเรา join ร่วมไปกับสภาวะนั้นอยู่แล้ว จิตที่ join ไปแล้ว ช่างมันครับ ก็ให้มันดับไป เราใช้จิตอีกตัวหนึ่งไปรู้สภาวะที่เกิดอยู่นั้นต่อไปเลย
การที่กล่าวถึงการย้อนเข้ามาดูภายในของเจ้าของให้บ่อยๆ ก็เพื่อที่จะก่อให้มีความละวางต่อสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว โดยย้อนเข้ามาดูจิตตัวเองว่ามีความรู้สึกอย่างไร ตอนนี้แหละครับ จิตผู้รู้มันมาดูตัวเอง ไม่ได้ดูสภาวะข้างนอกนั้นแล้ว
ส่วนสภาวะที่เกิดไปแล้วนั้นมันจะเป็นอย่างไร มันก็ดำเนินไปตามแรงของมันที่มีอยู่ เราแค่ตามรู้ตามดูไม่ใส่เชื้อเข้าไปร่วมเท่านั้น มันหมดแรงมันก็ดับไปเอง
การย้อนกลับมาดูกายใจตัวเอง ก็เป็นการดึงเชื้อไฟ (การร่วมไปกับสภาวะ) ออกมา
ฝึกฝนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นนิสัย
เอาแค่นี้ก่อนนะ เผื่อมีผู้รู้เค้าอยากตอบ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
satima
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 120

ตอบตอบเมื่อ: 30 ม.ค. 2006, 10:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การย้อนเข้ามาดูภายในของเจ้าของ มาจากคำสอนของท่าน ก. เขาสวนหลวง ดังนี้

การพิจารณาในตนเอง ด้านนามธรรม เช่นสังขาร ก็ต้องคิดในแง่เข้ามาหาตนเอง
เมื่อคิดรุ้แจ้งก็หยุด หรือในมรรคมีองค์แปด สัมมาสังกัปปะอันรวมเป็นตัวปัญญาด้วย
และท่านแสดงไว้นั้น ควรต้องเข้าใจในความคิดที่จะให้เป็นไปในทางเกิดปัญญา
ไม่ใช่ไปนั่งข่มตะพึดไป
หลักในการอ่านตัวอง ถ้าขาดความรอบรู้จะเป็นของยาก
อันเป็นเหตุให้ปฏิเสธความจริงไปเสีย

ความพุ่งออกที่รุนแรงเป็นเครื่องปิดความรู้ในตัวเอง ดังนั้นมีอะไรต้องหดกลับ
ให้สอดส่องตัวเองดังคำกลอนที่ว่า "จุดธูปเทียนเวียนส่อง เพื่อค้นหาน้องในห้องใน"
"น้อง" หมายถึง จิตที่มีลักษณะไม่คงที่แปรเปลี่ยนอยู่เสมอ มันเป็นสภาพธรรมชนิดแรก
คือ "สัพเพ สังขารา อนิจจา" และ "สัพเพ สังขารา ทุกขา" ซึ่งจะต้อง
รู้ให้ทั่วถึงเสียก่อน เมื่อรู้ทั่วถึงแล้วจึงจะได้พบกับสภาพ "สัพเพ ธัมมา อนัตตา"

ลักษณะของความไม่เที่ยงและความทุกข์ มันมีทั่วไป ทั้งที่มีวิญญาณครอง และไม่มี
วิญญาณครอง การพิจารณาเพียงแค่รูปธรรมอย่างเดียว ยังเป็นของหยาบอยู่
จะต้องกลับเข้ามาพิจารณานามธรรมให้ทั่วถึงอีกด้วย การกลับเข้ามาดูภายใน
ว่ามันมีลักษณะเกิดดับอย่างไร รู้ลักษณะของมันจริงแล้ว จึงจะได้ชื่อว่า มีดวงตาเห็นธรรม
ไม่ใช่เป็นเพียงว่าเอาว่า ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ต้องดูใจ ที่มัน เกิด-ดับ ดูให้มันตรงจุดและตรงตัว

จิตที่ยีงไม่สงบ เมื่อได้รีบการอบรมและฝึกหัด จะต้องได้รรับประโยชน์ดีขึ้น สูงขึ้น
ตอนแรกย่อมจะมีพยศและดื้อดึงเป็นธรรมดา เมื่อค่อยอบรมไปฝึกฝนไป พอรู้พิษและ
ปราบปรามตรงจุดแล้วมันก็จะสงบลงทุที จงพิจารณาจิตของตัวเองเถิด ว่าลักษณะ
เป็นอย่างไร ของใครก็สอบและตรวจดูเอาเอง ดูให้รู้ลักษณะทุกขณะเดี๋ยวนี้

ที่จริงมันเป็นของมีอยู่ในตัวพร้อมอยู่ทุกเมื่อ น่าจะง่ายยิ่งกว่าไปหาสิ่งอื่น
บางคนอยากพบพระ แล้วก็ไปหมายเอาข้างหน้า พระในตัวมีอยู่กลับไม่ต้องการ
เนื้อแท้มันควรจะหยุดดูหยุดรู้ของจริงภายในตัวเอบ มากกว่าที่จะไปไขว่คว้าหาที่อื่น
อันเป็นของเท็จ ไม่จำเป็นต้องไปเรียนตำรับตำราอะไรมาก เพียงหยุดดู หยุดรู้
ความรู้จริงเห็นแจ้งมีขึ้น ก็เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เอง
อย่าไปหลงเปลือกนอกกันนักเลย

ถ้าจิตบริสุทธิ์ การแสดงออกทางกายวาจาก็บริสุทธิ์ไปตาม ถ้ามันชำรุด หรือ
เน่าภายใน มันก็จะแสดงลักษณะออกมาให้เห็นทางกายวาจา ฉะนั้น ควรที่จะต้องระวัง
รักษาคุณภาพของจิตอันเป็นของละเอียดลึกซึ้ง ถ้าละเลยห่างเหินในการรักษาจิตของตนแล้ว
จะพ้นทุกข์ไปไม่ได้เลย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ทิพวรรณ โชคไพศาล
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 03 พ.ค. 2006
ตอบ: 9
ที่อยู่ (จังหวัด): พิษณุโลก

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ค.2006, 12:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบเรียนญาติธรรมทุกท่านที่เคารพค่ะ
ขอบพระคุณมากเลยค่ะ มีความรู้เพิ่มมากมายมหาศาลจริง ๆ ที่เรารู้เพียงน้อยนิดอย่าคิดว่าเรารู้แล้วถูกต้องหมดแล้วจะเป็นความหลงผิดไป เป็นประโยชน์ต่อการน้อมนำไปปฏิบัติจริง ๆ ผนวกกับคำสอนครูบาอาจารย์ท่านต่าง ๆ และพุทธโอวาท ทิพวรรณกำลังฝึกฝนจิตอยู่ค่ะ ขอเป็นนักเรียนน้อย ๆ ระดับอนุบาลไปก่อนนะคะ
ด้วยความเคารพในธรรมค่ะ
ทิพวรรณ โชคไพศาล
 

_________________
หมั่นดูหมั่นรู้จักตน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง