Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 โอวาทธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร ตอน 3 อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ธำรงค์ศักดิ์
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 03 ม.ค. 2008
ตอบ: 39
ที่อยู่ (จังหวัด): สระบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 11 ม.ค. 2008, 3:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปัจจุบันให้รู้ทางจิตฯ

ปฏิภาคเป็นเรื่องของปัญญาฯ

ให้เรียนทางจิตทวนกระแส ตัดรากเหง้าเครื่องผูกดุจรื้อเครื่องฟัก

ปฏิภาคนิมิต เป็นปาฏิหาริย์ของจิต มีอำนาจทำให้เป็นอากาศสว่างเปล่าได้อันเป็นอัศจรรย์ใหญ่หลวงฯ

ผู้มีราคะ ย่อมเศร้าโศกเสียใจเพราะราคะฯ

ธรรมที่ลึกลับ ไม่ควรพูดให้คนอื่นรู้ เพราะคนอื่นไม่เห็นตามธรรมจะเสีย ต้องพูดต่อผู้ปฏิบัติเหมือนกัน

ให้ถือตามมีตามได้ หันหาธรรมชาติ อย่าก่อความกังวลนั้นดีมาก เมื่อปฏิบัติได้แล้วก็ไม่ดีใจ เสียใจ

มรรค โลกย์ เทวทูต ชาติ ชรา มรณะ พยาธิ ให้โพธิสัตว์ออกบวชพระองค์บวชแล้ว ทำทุกรกิริยา ในวันที่ตรัสรู้ ปฐมยามราคะเกิดในดวงจิตของพระองค์ป่วนปั่น พระองค์ทวนกระแสว่า เราเห็นแล้วไม่ใช่หรือ ที่เราออกบวชเราจะไม่กลับแน่ ต่อนั้นทำจิตเข้าสู่ภวังค์ สงบ อยู่ในอัปปนาสมาธิ ต่อนั้นถึงเกิดปัญญาความรู้ขึ้นมา ระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้ ในมัชฌิมสมัย ต่อนั้นพระองค์ตรวจปฏิจจสมุปบาททวนไปทวนมาด้วยปัญญาอันยิ่ง จิตลงสู่ภวังค์ เกิดความรู้ขึ้นมาตรัสรู้ ดับอวิชชาตัณหา เป็นสยมภู พุทธปัจฉิมสมัยกาลครั้งนั้น

เพ่งนอกนั้นไม่สิ้นสงสัย เพราะยังหมายนอกหมายในอยู่ ตกอยู่ในกระแสของสมุทัย

ให้ระงับสังโยชน์ ที่ละเอียดสิงอยู่ในดวงจิตนั้นฯ

บริจาคทาน โลภนั้นคือปรารถนา เมื่อไดแล้วปรารถนาอยากได้มาก พระเวสสันดรท่านไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ท่านปรารถนาโพธิญาณ เป็นปรมัตถบารมี

มรรค ๘ ใครภาวนาเจริญดีแล้ว แก้โลกธรรม ๘ ประการ ฉะนั้นจิตท่านอรหันต์ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘ ประการ มีไตรลักษณ์บังคับ แม้โลกีย์ทั้งหลาย มีไตรลักษณ์บังคับอยู่เสมอ ไตรลักษณ์บังคับไม่ได้นั้น มีโลกุตระเท่านั้น โลกุตระอันนี้อยู่เหนือไตรลักษณ์สถานที่เกษมบุคคลที่จะพ้นโลกโลกีย์ไปถึงโลกุตระ ต้องสร้างพระบารมีเป็นการใหญ่ บุคคล ๓ จำพวกคือ พระพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจก ๑ พระอรหันต์ ๑ พระพุทธเจ้าสร้างบารมี ๓ ชนิด ปัญญาบารมี ๔ อสงไขย แสนกำไรมหากัป ศรัทธาบารมี ๘ อสงไขย แสนกำไรมหากัป วิริยบารมี ๑๖ องไขย แสนดำไรมหากัป พระปัจเจกสร้างบารมี ๒ อสงไขย แสนกำไรมหากัป พระอรหันต์สร้างบารมี ๑ อสงไขย แสนกำไรมหากัป ดังนี้ สร้างพระบารมีมิใช่น้อยกว่าจะสำเร็จพระนิพพานได้ดังนี้ ชำนาญมากที่สุด ๑ อสงไขย เหลือที่จะนับนั้นประการหนึ่ง เอาสวรรค์ เอานรกเป็นเรือนอยู่สร้างพระบารมี พระนิพพานเป็นของที่แพงที่สุด ต้องสร้างบารมีแลกเปลี่ยนเอาจึงจะได้พระนิพพาน

ชิวิตและนิพพาน ธาตุขันธ์มิจิตสิงอยู่เรียกว่า ชีวิต เมื่อพิจารณาวางตามสภาพได้แล้ว จิตหดหาจิตเดิมเข้า รู้เห็นในปัจจุบันเจริญมหาสติรอบในสติ มหาปัญญารอบในปัญญาแล้วเห็นปกติ

อคฺคํ มนุสฺเสสุ (มาจากประโยคเต็ม ซึ่งปรากฏในหนังสือ มุตโตทัย ว่า อคคํ ฐานํ มนุสเสสุ มคคํ สตตวิสทธิยา) มนุษย์เลิศมนุษย์น้ำใจสูง มีทุกข์ มีสมุทัย มีมรรค มีนิโรธ ครบทุกอย่าง จึงสำเร็จนิพพานได้ พระอินทร์ พระพรหม เป็นต้น บวชเป็นพระเป็นเณรไม่ได้เหมือนมนุษย์ มนุษย์เป็นธาตุพอ ดุจแม่ครัวแกงช่างเอร็ดอร่อย มันพอพริกพอเกลือ จึงให้สำเร็จมรรคผลได้ ไม่ขัดข้องด้วยประการใดๆ ฉะนั้นมนุษย์ไม่ควรน้อยเนื้อต่ำใจ ปฏิบัติให้ได้สวรรค์ นิพพาน ได้ธาตุพอเป็นชนิดที่สูงสุด

นิพพาน นั้นคือจิตหดโดยเห็นธาตุ รู้แจ้งธาตุ จิตฐีติภูตํ รู้อยู่นั้นเป็นตัวนิพพานฯ

วิชชา ๓ ของพระพุทธเจ้า ลึกลับสุขุมมาก ในยามที่ ๓ พระองค์ทำความรู้เท่าอย่างนั้น ยามที่ ๒ พระองค์ทำความรู้เท่านั้น นั้นยามที่ ๓ พระองค์ทำความรู้เท่าคือแก้อวิชชาและปฏิจจสมุปบาทในของจิตในช่องแคบมารแย่งไม่ได้ มีความรู้อันพิเศษขึ้นมาว่า พระองค์เป็นสยมภูความที่ท่านแก้อวิชชาเป็นของขั้นละเอียดยิ่งนัก บุคคลจะรู้เห็นตามนั้นน้อยที่สุด สุดอำนาจของจิต เมื่อกำหนดรู้ลงไปเป็นของว่างหมด ไม่ใช่ตัวตนสัตว์บุคคลเราเขา ไม่ใช่ผู้หญิงผู้ชาย ธาตุสุญโญ เป็นธาตุสูญ แล้วกำหนดจิต รู้จิต ตั้งอยู่ใน ฐีติธรรม

ธาตุกับจิตติดกัน จึงวนเวียนแก่ เจ็บ ตาย อยู่ทุกชาติหาที่สิ้นสุดมิได้ ธาตุเป็นของที่มีอยู่เช่นนั้นตั้งแต่ดั้งเดิมมา และแปรปรวนอยู่เช่นนั้น จิตของคนไม่ไปยึดไปถือ ก็เป็นจิตสิ้นทุกข์ได้ฯ

อายตนะภายในภายนอกแปรปรวนอยู่เป็นนิจ สว่างโร่ ทั้งภายนอกและภายในไม่ขาดระยะของ ทุกขํ อนิจจํ อนตตา ฟังเทศน์ธรรมชาติแสดงเรื่อยๆ พระโยคาวจรฟังเทศน์ในตอนนี้ ฉลาดในตอนนี้ สิ้นกิเลสในตอนนี้ เป็น ปจฺจตฺตํ ความเพียร มรรคผล ถือสมถะพอ วิปัสสนาพอ มันผลักกิเลสมันเอง

บรรพชิตจะต้องปฏิบัติตรงต่อพระนิพพาน

พุทธองค์เกิดในป่าลุมพินีวัน ปลงสังขารในป่า ให้โอวาทปาติโมกข์ในป่า ตรัสรู้ในป่าเปลี่ยว นิพพานในป่าเปลี่ยว วิจัยธรรมในป่า ชนะมารในป่า ธรรมทั้งหลายล้วนแต่เกิดในป่า เป็นธรรมราคาสูง ธรรมโลกุตระเหนือโลกีย์

จิตตั้งจิตมิได้ ตั้งจิต ตั้งธาตุ จึงแสดงรู้เห็นด้วยกันได้ เพราะจิตมันเป็นนามธรรม

อย่าถอนทำความเพียร มันจะเคยตัว ให้ทำจนชิน ให้ได้เนื้อหรือคุ้นเคย จึงจะเห็นมรรคผลเห็นผล

ปัญจวัคคีย์นั้นทางปรมัตถ์ว่า หัว ๑ แขน ๒ ขา ๒ เป็นห้า ภิกษุ แปลว่าคนต่อยกิเลส ปัญจวัคคีย์ก็เป็นภิกษุเหมือนกะเราฯ

วาจาของท่านเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีลาภ ยศ อามิสเจอวาจาของท่าน เทศน์จึงขลังดี พูดถูกธรรม ตรงไป ตรงมา ไม่เห็นแก่หน้าบุคคลและอามิส

ท่านไม่ให้ศีลแก่โยมที่รู้ศีล อ้างว่าแม้พระภิกษุที่บวชนั้นก็ไม่ให้ศีล ๒๒๗ เลย ให้แต่เพียง ศีล ๑๐ ชั้นสามเณรเท่านั้น ต่อนั้นประกาศสงฆ์ตั้งสมมติให้กันเอง แล้วก็พากันรักษาพระปาฏิโมขก์ นี้ฉันใด เพียงศีล ๕ ให้เจตนารักษาแต่เฉพาะตนเอง เท่านั้นก็เป็นพอ


แลบลิ้น
 

_________________
จงทำจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ธำรงค์ศักดิ์
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 03 ม.ค. 2008
ตอบ: 39
ที่อยู่ (จังหวัด): สระบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 11 ม.ค. 2008, 3:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จิตนั้นเมา สุราไม่ได้เมา สุราไม่ติดคน คนติดสุราต่างหาก เมื่อคนดื่มไปแล้ว ทำให้เป็นบ้าไปต่างๆฯ

เรื่องของโลกย่อมมีการยุ่งอยู่เรื่อยๆ มาตั้งแต่ไหนๆ

วิธีละกิเลสฝังแน่นอยู่ในสันดานนั้น ตีลิ่มใหม่ใส่ลงไปลิ่มเก่ากระดอนออกนี้ฉันใด มรรค เข้าไปฟอกกิเลสเก่าออกมาแล้วจึงเห็นความบริสุทธิ์

จิตเสวยเวทนาอย่างละเอียดนั้น ให้ละลายเวทนาเข้าไปอีกเอามรรคเข้าไปฟอกแล้วทำความรู้อยู่แทนเวทนา จึงจะเห็นตน เห็นธรรม เห็นความบริสุทธิ์ฯ

สมณะ พราหมณ์ มีการเพ่งอยู่เป็นนิจ มันไม่รู้ไม่ฉลาดแล้ว จะไปอยู่ ณ ที่ไหนอาพาธก็หาย บุญก็ได้ด้วย พระองค์ตรัสให้พระสารีบุตรทำเช่นนั้น แท้ที่จริงพระสารีบุตรก็ทำชำนาญมาแล้ว แล้วทำอีก อาพาธก็หายฯ

ให้พิจารณาธาตุ เมื่อเห็นธาตุแปรปรวนอยู่เป็นนิจ เรียกว่า สัมมาทิฐิ เห็นชอบ

ภุมเทวดา อยากดื้อ ทดลองเสมอทีเดียว ไปอยู่ที่เข็ดขวางต้องระวัง ต้องตรวจจิตเสมอฯ

มนุษย์เป็นสัตว์เลิศ เป็นที่ตั้งพระพุทธศาสนา ทวีปทั้ง ๓ ก็เป็นมนุษย์ เช่น อุดร กุรุทวีป แต่ไม่สมบูรณ์ พระองค์ไม่โปรดตั้งศาสนา เทวดาก็เหมือนกัน มนุษย์ที่มาเกิดในชมพูทวีปเป็นมนุษย์วิเศษ รับรัชทายาท

อารมณ์ภายนอกและภายใน เป็นของที่ตั้งอยู่เป็นธรรมดา แต่จิตเป็นของที่รับรู้ ฉะนั้นต้องทรมานทางจิตให้มากๆ แก้อวิชชา แก้อาสวะ แก้ทุกข์ แก้สมุทัย นิโรธ เกิดญาณตั้งอยู่เป็นอมตธรรมที่ไม่ตายฯ

แก้โทษคือแก้อาบัติ ให้แก้ปัจจุบันจิต อย่าส่งจิตอดีต อนาคต แล้วบอกจิตว่าไม่มีโทษ เมื่อท่านไปจำพรรษาอยู่เทือกเขาใหญ่ท่านเกิดอาบัติจนฉันอาหารเข้าไป ก็เป็นอันนั้นออกมา เพราะจิตวิบัติแล้ว ธาตุก็วิบัติด้วย ต่อนั้นแก้จิตได้แล้ว อาพาธ ๓ วัน หายเป็นปกติดี การอาบัติเช่น อาบัติอุกฤษฏ์ อย่าพึงล่วงง่ายๆ เพราะมันเคยตัวฯ

อจินไตย เกิดความรู้ ความฉลาด นั้นหาประมาณมิได้ฯ

ปฏิบัติผิดนั้น ลบสังขารด้วยไตรลักษณ์ไม่ได้ ประพฤติไปตามสังขาร ปฏิบัติถูกนั้น คือลบสังขารด้วยไตรลักษณ์ได้

พวกสุทธาวาสทั้งหลาย คือ เจริญฌานและวิปัสสนาต่อไป จึงสำเร็จได้ในที่นั้น

ผู้ที่รู้ธรรมแล้ว เป็นผู้วิเศษ อานิสงส์หาประมาณมิได้

สกลกายอันเดียวนี้แหละเป็นตัวธรรม

ละกิเลสด้วยสติ สติฟอกอาสวะกิเลสเอง

ธรรมเป็นฐีติธรรม ตั้งเที่ยงอยู่เช่นนั้น แปรปรวนอยู่เช่นนั้น ให้รู้ให้เห็นเฉพาะที่เกิดกับจิต

คณาจารย์บางองค์แสดงอริยสัจ มีลาภ ยศ เจืออริยสัจ เป็นส่วนมาก

จิตเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ หมดจดทุกอย่าง มนุษย์ เทวดา ไม่มีที่ครหาเลย

บรรดานักปฏิบัติให้เฉลียวฉลาดรู้เท่าทันโจร เมื่อรู้เท่าทันโจรแล้ว โจรย่อมไม่มีโอกาสลักสิ่งองไปได้ แม้ฉันใด ปฏิบัติให้มีสติและปัญญารักษาตน กิเลสมิอาจเข้าถึงได้ฯ

ที่แผ่นดินย่อมเป็นฝุ่นผีทั้งสิ้น ให้จิตพิจารณาตกลงถึงฐานฯ จิตจึงไม่กังวลฟุ้งซ่านกระสับกระส่ายฯ

มนุษย์ตาย จะเอาไปกินและเอาไปใช้ไม่ได้ ไม่เหมือนวัวควายวัวควายเนื้อกินได้

ในขณะที่มีชีวิตนั้นทำบุญดีมาก การทำศพถึงผู้ตายนั้นไม่ได้เป็นส่วนมาก แต่ทำตามประเพณีเท่านั้น พระอรหันต์นิพพาน ภูเขาถ้ำต่างๆ ใครทำศพให้ท่านเล่า---ท่านทำไมถึงนิพพาน

ใช้ไหวพริบเป็นอาชาไนยอยู่เนืองนิจฯ

ธรรมทั้งหลาย จิตประกอบกายยกขึ้นแสดง ปราศจากกายแล้วจะยกนามธรรมขึ้นแสดงไม่ได้เลย

เหตุเกิดก่อน ปัจจัยเกิดทีหลังฯ

จิตเป็นคนเรียกสมมุติเอง จิตเป็นเหตุที่กระสับกระส่าย จิตปกติดีแล้วก็เป็นอันได้รับความสุขฯ

ทำจิตให้สว่างโพลง กำหนดรู้ฐีติธรรม นั้นเรียกว่าปัญญาโดยแท้

ให้แก้อวิชชา แก้อนุสัยความไม่รู้ไม่ฉลาดนั้นให้กลับเป็นคนฉลาดฯ

พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร พระองค์เกิดในตระกูลมิจฉาทิฐิ ดุจดอกบัวย่อมเกิดในตมฉันใด


ต้องเจริญทุกข์ให้พอเสียก่อน ดับต้องอยู่ในที่นั้น ดุจตีลิ่มลงไป ลิ่มเก่าถอน ลิ่มใหม่เข้าแทน คือกิเลสออก ความบริสุทธิ์เข้าแทน ดุจของดีอยู่ในของชั่ว คืออวิชชาออกวิชชาเข้าแทนฯ

เดินมรรคให้เห็นทุกข์ ให้เดินมรรคเห็นสมุทัย ให้ยิ่งในมรรคให้ยิ่งมรรคนิโรธ จึงจะพ้นทุกข์ฯ

โลกียสัจจะคือโพธิสัตว์เห็นเทวทูต โลกุตรสัจจะคือโพธิสัตว์ตรัสรู้ฯ

ข้อเปรียบชั้นนิพพาน คือ นับ ๑ ไปถึง ๐ ๐ (สูญ) โลกเขาแปลว่าไม่มี แต่สูญมีอยู่นี้ฉันใด นิพพานเป็นของที่มีอยู่ฯ

ความรู้ความฉลาด มีอยู่ในสถานที่ไม่รู้

ธรรมทั้งหลายมาจากเหตุ คือจิตออกจากจิตเรียกเจตสิก ต่อนอกนั้นเป็นอาการทั้งหมด ดุจสันหรือหรือคมของดาบมาจากเหล็กฉะนั้นฯ

มีแต่จิต รูปไม่มี แสดงไม่ได้ ต้องอาศัยกันเป็นไปจึงแสดงได้ฯ

พระอรหันต์ทั้งหลาย จิตไม่มี มีแต่สติ เพราะจิตสังขารมันเป็นตัวสังขาร สังขารไม่มีในจิตของพระอรหันต์

เอกมูลา เหตุผลมาจากความที่เป็นหนึ่งของจิต เป็นเหตุเป็นปัจจัย (เหตุ ปัจจโย) ประกอบกัน จึงตั้งเป็นบทบาทคาถาฯ

มีนัยหลายนัย ถึงแปดหมื่นสี่พันประการฯ

มนุษย์วยเวียนเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด ติดของเก่ากามาวจรสวรรค์ ๑ สัตว์เดรัจฉาน ๑ มนุษย์ ๑ ท่านพวกนี้ติดของเก่า พระไตรปิฏก มีกิน ๑ มีนอน ๑ สืบพันธ์ ๑ แม้ปู่ย่าตายายของเราล้วนแต่ติดของเก่า พระพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกก็ดี พระอรหันต์ก็ดี เมื่อท่านยังไม่ตรัสรู้ก็ติดของเก่า เพลิดเพลินของเก่าในรูป เสียง กลิ่น รสของเก่าทั้งนี้ไม่มีฝั่งไม่มีแดน ไม้มีต้น ไม่มีสาย ย่อมปรากฏอยู่เช่นนั้น ตื่นนเต้นกับของเก่า ติดรสชาติของเก่า ใช้มรรค ๘ ให้ถอนของเก่า ให้อิทธิบาท ๔ ตีลิ่มสะเทือนใหญ่ปังๆ ลิ่มเก่าถอนคืออวิชชา ลิ่มใหม่คือวิชชาเข้าแทนดังนี้ ท่านพระอาจารย์มั่นท่านพูด ใช้ตบะความเพียรอย่างยิ่ง ที่จะถอนได้ต้องสร้างพระบารมีนมนาน จึงจะถอนได้ เพราะของเก่ามันบัดกรีกันได้เนื้อเชื้อสายของกิเลสมาพอแล้ว ย่อมเป็นอัศจรรย์ของโลกนนั้นทีเดียว

แก้บ้านั้น ให้ทวนกระแสเข้าจิตเดิม แก้ได้ เสือมาเฝ้าเราที่เป็นพระโยคาวจรเจ้าเป็นเทพโดยมาก ถ้าเป็นเสือ มันเอาไปกินแล้ว

ธรรมแสดงอยู่เรื่อยๆ เว้นแต่นอนหลับโดยมิได้กำหนดจะไม้รู้ไม่เห็นขณะนั้น

ส่งจิตออกนอกกาย ทำให้เผลอสติฯ

มัคโคหนทางดำเนินมีที่สุด ส่วนหนทางเดินเท้าไม่มีที่สิ้นสุดฯ

น้ำใจของสัตว์ยุ่งด้วยธาตุ ระคนอยู่ด้วยธาตุ ธาตุไม่มีที่สิ้นสุด แม้จิตก็ไม่มีสิ้นสุดฯ

จิตรับธุระหมดทุกอย่าง จิตเป็นแดนเกิด รู้เท่าอาการของจิตได้แล้ว รู้ปกติของธาตุฯ

เอโก มคฺโค หนทางอันเอก วิสุทธิยา เป็นหนทางอันบริสุทธิ์มีทางเดียวเท่านี้ มโน ปุพฺพํ จิตเป็นบุพภาคที่จะได้เป็นใหญ่ จิตถึงก่อนสำเร็จด้วยจิตฯ (มโน ปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนมยา)

จิตเป็นเครื่องบังคับกายกับวาจาให้พูดและให้ทำงานฯ

จิตที่ไม่ติดพัวพันในอารมณ์ทั้งปวง เรียกว่า บริสุทธิ์

มีแป้น (ไม่กระดาน) แล้วก็มีบ้าน มีบ้านแล้วก็มีแป้น พูดอย่างนี้จึงแจ่มแจ้งดี

พระองค์แสดงอนุปุพพิกถาไปโดยลำดับ ยกทานขึ้นก่อนดุจบันไดขึ้นต้น แม้ฉันใด โลกุตระ โลกีย์ก็ดี ก็ต้องเจริญต้นขึ้นไปก่อน ไม่เจริญขึ้นต้นไปก่อนเป็นผิด จะกระโดดขึ้นสูงทีเดียวไม่ได้ตายกัน

ธรรมเป็นของธรรมดาตั้งอยู่อย่างนั้น คือตั้งอยู่ด้วยความแก่ ความเจ็บ ความตาย จึงได้ชื่อว่าธรรมเป็นของจริง ไม่มีอาการไป ไม่มีอาการมา ไม่มีขึ้น ไม่มีลง เป็นสภาพที่ตั้งไว้ดุจกล่าวไว้ ข้างต้นฯ

ไม่อ้างสวรรค์ นิพพาน ไม่อ้างทุคติ อ้างความเป็นไปทางปัจจุบันอย่างเดียว เพราะชั่วดีก็ปัจจุบันที่ยังเป็นชาติมนุษย์

เอาธรรมชิ้นเดียวนี้เอง คือกายนี้เองไปเจ็บ กายชิ้นเดียวนี้เองไปแก่ กายชิ้นเดียวนี้เองไปตาย เมื่อตายแล้วก็ไปเกิดอีก ล้วนแต่ตื่นเต้นอยู่ด้วยธาตุอันนี้เอง หาที่จะจบไม่ได้และสิ้นสุดมิได้ฯ

เรื่องของโลกธาตุนั้น กระทบกระเทือนกันหมด กำหนดรู้ เฉพาะจิต ก็รู้สิ้นทางอื่นหมด

พระธรรมแสดงทั้งกลางวันและกลางคืน อกาลิโก กำหนดกาลเวลามิได้ แสดงทั้งภายนอกและภายใน

ให้กำหนดจิตให้กล้าแข็ง เรียนมรรคให้แข็งแรง จึงจะเห็นทางสิ้นทุกข์ไปได้

ให้ปล่อยจิต อย่ากดจิต เหตุผลเคลื่อนคลื่นอยู่ใน ให้พิจารณาความรักความชัง พิจารณานิสัยของตน จิตดื้อ บริษัทมากพึ่งนิสัยเดิมมิได้ ตะครุบจิตจึงมีกำลัง

คนในโลก หลงของเก่า คือหลวงธาตุนั้นเองแหละ ชังแล้วมารัก รักแล้วมาชัง หาที่สิ้นสุดมิได้ พระองค์ไม่หลง

ธาตุมนุษย์เป็นธาตุตายตัว ไม่เป็นอื่นเหมือนนาค เทวดาทั้งหลายที่เปลี่ยนเป็นอื่นได้ มนุษย์มีนิสัยภาวนาให้สำเร็จง่ายกว่าภพอื่น อคฺคํ ฐานํ มนุสฺเสสุ มคคํ สตตวิสุทธิยา มนุษย์มีปัญญาเฉียบแหลมคมคอยประดิษฐ์ กุศล อกุศล สำเร็จอกุศล...มหาอเวจีเป็นที่สุด ด้วยกุศลมีพระนิพพานให้สำเร็จได้ ภพอื่นไม่เลิศเหมือนมนุษย์ เพราะมีธาตุที่บกพร่องไม่เฉียบขาดเหมือนชาติมนุษย์ ไม่มีปัญญากว้างขวางพิสดารเหมือนมนุษย์ มนุษย์ธาตุพอหยุดทุกอย่าง สวรรค์ไม่พออบายภูมิธาตุไม่พอ มนุษย์มีทุกข์ สมุทัย...ฝ่ายชั่ว ฝ่ายดี...กุศลมรรคแปด นิโรธ รวมเป็น ๔ อย่าง มนุษย์จึงทำอะไรสำเร็จ ดังนี้ ไม่อาภัพเหมือนภพอื่น

สติปัฏฐานเป็นความรู้อนันตนัย หาประมาณมิได้ ไม่เหมือนความรู้ชนิดอื่น สนทิฏฐิโก เห็นด้วยเฉพาะนักปฏิบัติ ปจจตตํ รู้เฉพาะในดวงจิต รู้ธรรมลึกลับสุขุมคัมภีรภาพ


อายหน้าแดง อายหน้าแดง อายหน้าแดง
 

_________________
จงทำจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง