Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ท่านได้อะไร เมื่อไปงานศพ .......เก็บมาฝากค่ะ ^^ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ต้นข้าว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 25 ม.ค. 2006, 11:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท่านได้อะไร เมื่อไปงานศพ



--------------------------------------------------------------------------------



ท่านผู้จะต้องตายทั้งหลาย



เมื่อเรียกว่า “ท่านผู้จะต้องตาย” คนที่ได้ฟังคงจะนึกเคืองในใจว่า ท่านเจ้าคุณปัญญานันทะมาแช่งเราเสียแล้ว ในการที่มาเรียกว่าท่านผู้จะต้องตาย ความจริงนั้นเราทุกคนก็จะต้องตายด้วยกันทั้งนั้น ทั้งผู้ฟังทั้งผู้แสดงปาฐกถาก็จะต้องตายด้วยกันทุกคน หนีความตายไปไม่พ้น แต่ถ้าใครมาพูดว่า “คุณนี่ไม่ช้าจะต้องตาย” จะไม่มีใครชอบสักคนเดียว ก็เพราะว่าคนเราต้องการจะอยู่ในโลกนาน ๆ ไม่อยากตาย



ตามปกติคนเราไม่ต้องการความทุกข์ความเดือนร้อนและไม่อยากตาย การอยู่ในโลกนั้นมันยุ่ง แต่เราก็อยากจะอยู่นาน ๆ อันนี้เป็นเรื่องความต้องการของมนุษย์ เพราะฉะนั้น เมื่อได้ยินเสียงทักทายว่า “ท่านผู้จะต้องตายทั้งหลาย” ญาติโยมก็อย่าไปโกรธไปเคือง แต่ให้เข้าใจว่า ท่านเตือนให้เราทั้งหลายรู้เนื้อรู้ตัวว่า เรานี้จะต้องตายสักวันหนึ่ง แต่ว่ากำหนดไม่ได้จะต้องตายวันไหน



วันนี้เรามาประชุมกันที่ฌาปนสถานแห่งนี้ ก็มาประชุมกันเนื่องจากเรื่องเกิดเรื่องตาย เพราะมี เรื่องเกิด ก่อนแล้วจึงมี เรื่องตาย ตามมา เรามาประชุมกันด้วยเรื่อง 2 ประการนี้ แต่โดยมากเรามักจะพูดแต่เรื่องตาย ไม่ได้พูดโยงไปถึงเรื่องของการเกิด ความจริงการตายนั้นมันเนื่องมาจากการเกิด ถ้าไม่มีการเกิดก็ไม่มีการตาย แต่เวลาใดมีเรื่องการตายก็พูดแต่เรื่องเฉพาะหน้าในเรื่องเฉพาะหน้าในเรื่องของการตายประการเดียว ขอให้เราทั้งหลายเข้าใจว่า “ตาย” กับ “เกิด” เป็นของคู่กัน



เราทุกคนกำลังเกิดอยู่และทุกคนกำลังตายอยู่ ตายอยู่เกิดอยู่ตลอดเวลา นับตั้งแต่ลืมตาขึ้นดูโลก เราก็เรียกว่าคนเกิด ความจริงคนนั้นก็ตายแล้วในขณะนั้น การตายการเกิดจึงเป็นของคู่กันตลอดไปไม่มีการหยุดยั้ง จนกว่าจะถึงเวลาการเกิดมันหมดไป เพราะว่าเครื่องปรุงแต่งมันไม่มี ก็เรียกว่าเป็นความตายกันไปตอนหนึ่ง ปิดฉากไปตอนหนึ่ง ในขณะนี้เราอยู่ในสภาพมาดูคนอื่นเขาปิดฉาก คือ ตายไปคนหนึ่ง เราทั้งหลายก็มาช่วยกัน การช่วยกันในรูปแบบนี้เป็นการกระทำตามประเพณี เพราะเราทั้งหลายเป็นอยู่ในโลก คนที่เจริญทั้งหลายนั้นต้องมีประเพณี อันตนจะต้องจัดต้องทำตามฐานะ คนที่ไม่มีพิธีรีตองหรือไม่มีประเพณีอะไรเลยนั้น ก็มักจะเป็นคนประเภทป่าเถื่อนที่ยังไม่มีความก้าวหน้า เขาเรียกว่าไม่มีอารยธรรมเป็นหลักปฏิบัติ แต่ถ้าเป็นคนที่มีความเจริญพอสมควร ก็ย่อมจะมีระเบียบประเพณี อันตนจะต้องปฏิบัติด้วยกันทั้งนั้น



อย่าว่าแต่คนในบ้านในเมืองเลย แม้แต่คนตามป่าตามดง ซึ่งเรียกว่าชาวป่าชาวเขา อันยังไม่เจริญเหมือนกับเราชาวเมือง เขาก็มีขนบธรรมเนียมประเพณีอันเกี่ยวกับการเกิดการตาย โดยเฉพาะในเวลาตายนั้น เขาก็มีประเพณีอันจะต้องจัด ต้องกระทำกันตามสมควรแก่ฐานะใช้เวลาน้อยบ้าง ใช้เวลายืดยาวบ้าง เป็นเรื่องที่ต้องทำด้วยกันทั้งนั้น



คนเราเมื่อเกิดก็ต้องตาย เรื่องเกิดทำเรื่องอย่างใด เวลาตายก็ต้องทำเรื่องอย่างเดียวกัน สำหรับเราอยู่ในบ้านในเมืองมีความคิดความอ่าน เราจึงต้องจัดพิธีเกี่ยวกับการตาย หลายสิ่งหลายประการ พิธีเกี่ยวกับการตายนั้นมักจะต่อเนื่องกันในทางศาสนา เพราะเป็นเรื่องบำเพ็ญคุณงามความดีตามหลักคำสอนในทางศาสนา ทุก ๆ ศาสนา มีประเพณีเกี่ยวกับการตายทั้งนั้น ความจริงพระพุทธศาสนาของเรานั้นเรื่องประเพณีมีน้อย มุ่งการปฏิบัติธรรมเป็นส่วนใหญ่ แต่ว่าศาสนาอยู่กับคน คนอยู่ในสังคม เรื่องเกี่ยวกับสังคมนี้ ก็ต้องมีเรื่องปฏิบัติต่อกันเพื่อเป็นการผูกมิตรไมตรีกัน เพื่อแสดงออกซึ่งความรู้สึกในทางจิตว่าเราได้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความสัมพันธ์กับบุคคลนี้ในรูปอย่างใด เราจึงได้ประพฤติตามประเพณีที่ได้เคยกระทำกันมา โดยเฉพาะผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา



เมื่อมีการตายเกิดขึ้น เราก็นิมนต์พระมากระทำพิธีในศาสนา นับตั้งแต่เริ่มสวดอภิธรรมบ้าง การเทศนาบ้าง การสนทนาธรรมกันในงานศพนั้นบ้าง อันการกระทำในรูปดังที่กล่าวนี้ ก็เป็นไปในรูปของการศึกษา ในรูปของการปฏิบัติ ในรูปของการเผยแผ่ธรรมแก่คนที่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจนั่นเอง



เช่นว่าการนิมนต์พระมาสวดพระอภิธรรม ความจริงเวลาพระท่านสดพระอภิธรรมนั้น เราฟังไม่รู้เรื่อง เพราะพระท่านสวดเป็นภาษาบาลี แต่ถึงจะฟังไม่รู้เรื่อง พอพระท่านขึ้นว่านะโม...เราทุกคนนั่งอยู่ในอาการสงบพนมมือเรียบร้อย ไม่มีการพูดการคุยกัน เว้นแต่พวกขี้เมาบางคนที่เล่นหมากรุกก็ไม่เลิกเล่น คุยกันก็ไม่เลิกคุย พวกนั้นเป็นพวกนอกวง นอกบัญชี เขายกเว้นให้พวกหนึ่ง แต่พวกที่อยู่ในวงหรือว่าในบัญชีนั้น โดยมากเมื่อพระเริ่มสวด “นะโม” ก็นั่งด้วยอาการสงบเรียบร้อย



อาการที่นั่งสงบนั้นเราได้ความสงบในทางกาย วาจา ใจ ของเราก็จดจ่ออยู่กับเสียงของพระ พระท่านสวดไปหูเราก็ฟังเสียงนั้น เอาเสียงเป็นอารมณ์ ไม่ให้ใจฟุ้งซ่านไปในเรื่องอื่น ให้อยู่กับเสียงที่พระท่านสวดตลอดเวลา การกระทำในรูปเช่นนั้นก็เป็นการปฏิบัติในด้านสมาธิ คือการกระทำสมาธิ



คนเราถ้าใจเป็นสมาธิก็ย่อมจะเกิดความรู้บางประการแล้วก็ได้ความสงบในทางใจ ในขณะที่จิตเป็นสมาธิอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับธรรมะบาปไม่เกิดขึ้นกับเราในขณะนั้น เรามีความสุขความสงบในทางใจ นี่คือประโยชน์ที่เราได้รับจากการฟังพระท่านสวดอภิธรรม



เพราะฉะนั้นจึงให้ถือเป็นธรรมเนียมว่า เมื่อพระเริ่มสวดพระอภิธรรม เราก็นั่งด้วยอาการสงบตลอดเวลา พระท่านสวดก็ไม่ยาว มีระยะหยุด คือจบไปทีหนึ่งก็หยุดเสียทีหนึ่งญาติโยมได้พักผ่อนเปลี่ยนอิริยาบถ พระผู้สวดเองก็ได้พักผ่อนเปลี่ยนอิริยาบถด้วยเหมือนกัน แต่ถ้าเรามีความเข้าใจคือรู้ความคำแปล ความหมายของเรื่องที่พระท่านสวดแล้ว เราก็จะได้ความซาบซึ้งอันนี้เป็น “บุญกิริยา” คือการกระทำที่เป็นบุญส่วนหนึ่งในรูปของการศึกษาและปฏิบัติ



การเผยแผ่ธรรมะในขณะงานศพอยู่กับบ้าน นอกจากการสวดพระอภิธรรมแล้ว บางที่เราก็นิมนต์พระมาแสดงธรรมด้วย การแสดงธรรมในงานศพนั้น ก็เพื่อจะเอาธรรมมะมาระงับจิตใจของผู้เป็นเจ้าภาพ เพราะเราผู้ที่เป็นเจ้าภาพแต่ละคนนั้น มีความเศร้าโศกอยู่ในใจ มีความทุกข์ มีปัญหา



ความเศร้าโศกหรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจนั้นเกิดขึ้นจากอะไร...ก็เกิดขึ้นจากความยึดถือว่า สิ่งนั้นเป็นตัวเรา เป็นของเรา เช่น เราถือว่า มารดาบิดาของเรา สามีภรรยาของเรา ลูกหญิงลูกชายของเรา สิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นของเรา ความยึดถือในเรื่องใดเกิดขึ้น ย่อมเป็นทุกข์เพราะเรื่องนั้น



เมื่อมีความนึกความคิดในเรื่องอันใดก็ย่อมจะมีทุกข์โดยเฉพาะความทุกข์เมื่อจากกันด้วยเรื่องเกี่ยวกับความตายนั้น นับว่าเป็นความทุกข์ขนาดหนัก เพราะว่าเมื่อตายแล้วจะไม่ได้เห็นหน้ากันอีก ทุกคนก็ต้องมีความทุกข์ในทางใจ



ความทุกข์นั้นเป็นโรคอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดในใจของใครแล้ว มักจะเป็นโรคเรื้อรัง ถ้าไม่มีการรักษาเยียวยา โรคนั้นก็มักตั้งอยู่นาน ๆ ก็เรียกว่าตรมตรอมใจ แล้วก็มีความทุกข์เรื่อยไปตลอดเวลาเมื่อมีความคิดถึงบุคคลนั้น เช่นได้เห็นที่นั่งก็เป็นทุกข์ ได้เห็นที่นอนก็เป็นทุกข์ ได้เห็นเครื่องใช้ไม้สอยอันเตือนให้นึกถึงผู้ที่ตายจากไป เราก็มีความทุกข์ในทางใจ เวลากินเคยกินด้วยกัน เมื่อเห็นขาดไปคนหนึ่งเราก็มีความทุกข์อันเป็นด้วยเรื่องของการยึดติดพันในเรื่องนั้น



ความยึดถือความติดพันนี้เกิดเพราะเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงในเรื่องซึ่งควรจะรู้ควรจะเข้าใจ คือ ไม่รู้ว่าคนเราเกิดมาแล้วจะต้องมีการพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นธรรมดา



ความจริงพระท่านก็สอนให้เราพิจารณา เช่น อภิณหปัจเวกขณ์ 5 ประการ ท่านท่านก็สอนให้เราพิจารณาว่า

เราจะต้องแก่เป็นธรรม หนีจากการแก่ไปไม่พ้น

เราจะต้องเจ็บไข้เป็นธรรมดา หนีจากความเจ็บไปไม่พ้น

เราจะต้องตายเป็นธรรมดา หนีจากการตายไปไม่พ้น

เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นธรรมดา เราหนีจากเรื่องนั้นไปไม่พ้น

เราทำสิ่งใดไว้ เราก็ต้องได้รับผลอันเกิดจากการกระทำนั้น



อันนี้เป็นบทสำหรับพิจารณาเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งชัดในเรื่อนั้น ๆ ตามความเป็นจริง เพื่อจะไม่ให้เศร้าโสกอาลัยอาวรณ์มากเกินไป เพราะการเศร้าโศกทำให้เกิดความทุกข์ ต้องเสียน้ำตา ต้องเ**่ยวแห้งใจ บางทีก็รับประทานไม่ได้ นอนไม่หลับ ถ้าเป็นหลาย ๆ วันก็ทำให้อายุสั้น ทำให้ตนไม่สบาย



ฉะนั้นในเวลาที่งานศพอยู่ในบ้าน เราจึงนิมนต์พระมาเทศน์ การนิมนต์พระมาเทศน์ก็เท่ากับว่า เราเชิญหมอมาช่วยรักษาโรคทางใจของเรานั่นเอง เพราะว่าพระธรรมคำสั่งสอนนี้เป็นยารักษาโรคทางใจ พระผู้มีพระภาคของเราทรงค้นพบแล้ววางไว้เป็นบทเป็นแบบ เพื่อให้เรานำมาใช้แก้โรคทางใจ เราก็ไปหาหมอคือพระให้ช่วยบอกยาให้แก่เรา เราจึงได้ฟังธรรมเทศนาในขณะที่อยู่ในงานศพ



การกระทำในรูปเช่นนั้น ก็เป็นการศึกษาไปในตัวเป็นการปฏิบัติธรรมไปในตัว แล้วก็เป็นการเผยแผ่ธรรมะไปในตัว เพราะในงานศพมีคนหลายพวกหลายเหล่ามาชุมนุมกัน เมื่อเขามาแล้วอย่าให้เขาไปเปล่า ให้เขาได้อะไร ๆ กลับไปบ้านตามสมควรแก่ฐานะ การกระทำอย่างนี้จึงนับว่าเป็นประเพณีที่ดีงาม อันเราทั้งหลายได้กระทำกันอยู่



ความจริงในงานศพทั่ว ๆ ไปนั้น เราควรจะมุ่งเผยแผ่ธรรม ปฏิบัติธรรมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ไม่ควรจะมีสิ่งเหลวไหลเข้ามาเจือปนในงานศพ เช่น ความสนุกไม่เข้าเรื่อง หรือเลี้ยง หรือว่าการเล่นในเรื่องที่ไม่ควรจะเล่น อันนี้เป็นเรื่องทำลายเศรษฐกิจที่ไม่ได้ประโยชน์ทางใจ เราควรจะมุ่งเอางานศพนั้นเป็ฯสถานที่ที่เป็ฯวัตถุสำหรับศึกษาเพื่อให้เกิดปัญญาเกิดความรู้แจ้งชัดในเรื่องของชีวิตของเราเองตามความเป็นจริง อันนี้เป็นการชอบการควรประการหนึ่ง

__________________
http://www.palungjit.com/board/showthread.php?t=25410



 
pongsakorn28287
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 23 พ.ย. 2004
ตอบ: 42
ที่อยู่ (จังหวัด): จ.เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 25 ม.ค. 2006, 12:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เรียวไผ่ อ่างทอง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ม.ค. 2006, 7:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นบทธรรมที่ดีมากเหมาะแก่การนำมาปฎิบัติ ขอบคุณท่านผู้เขียนมากครับ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง