Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ธรรมทำให้งาม...หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 19 ม.ค. 2006, 11:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความงามเป็นสมบัติที่มนุษย์ต้องการ คนเราจึงมีเครื่องแต่งตัวประดับประดาด้วยเครื่องอลังการต่าง ๆ เครื่องประดับทำให้งามภายนอก ส่วนศิลปวิทยาและความประพฤติคือเครื่องประดับภายใน ผู้ซึ่งแต่งตัวด้วยเครื่องประดับภายนอกแต่ไม่มีศิลปวิทยา ก็จะงามชั่วคราวไม่ยั่งยืน ถ้ามีวิชาความรู้ดูสง่า แต่ความประพฤตินั้นเสียไม่อาจรักษาความสง่านั้นไว้ได้

ความประพฤติจะเป็นไปถูกทางได้ ต้องอาศัยธรรมคือ ขันติ ความอดทน โสรัจจะ ความเสงี่ยม เป็นหลัก



ขันติแปลว่าความอดทน มี ๓ ประการคือ ทนตรากตรำ ทนลำบาก ทนเจ็บใจ



ความอดทนต่อหนาวร้อนลมแดดสัมผัส เหลือบยุงและสัตว์เลื้อยคลาน หากมุ่งประกอบการงานเป็นใหญ่ ไม่พรั่นพรึงต่อหนาวร้อน ได้ชื่อว่าทนตรากตรำ คนผู้มีรูปร่างล่ำสัน มีข้อลำแข็งแรงมีกำลังมาก ย่อมเป็นที่ชอบใจของตัวเองและผู้อื่น ตรงที่สามารถจะ

ทนตรากตรำ เดินทางได้ไกล และแบกลากภาระอันหนักได้ ไม่มีใครปฏิเสธว่าเป็นผลไม่ควรปรารถนา แม่ผู้ที่ไม่ต้องประกอบการงานหน้าก็ยังต้องการ



กำลังกายซึ่งเป็นดุจพาหนะอันแข็งแรงที่ใจจะขับให้ดำเนินไปในทางดีหรือชั่ว ใจดีย่อมขับกายให้ประกอบการหาเลี้ยงชีพโดยชอบ ใจชั่วย่อมขับกายให้ประกอบการนั้นโดยมิชอบอย่างไรก็ดีกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องมีไว้ จึงต้องมีวิธีฝึกหัดร่างกาย เพื่อจะบำรุงกำลังให้ทนทานตรากตรำทำกิจให้สำเร็จตามหน้าที่ของตนได้ ถ้ามีแต่กำลังกาย แต่ใจย่อท้อ ท้อแท้ต่อหนาวร้อน ก็ไม่อาจทำกิจกรรมให้สำเร็จตามหน้าที่ คนเช่นนั้นนับว่าไม่อดทน เป็นคนเกียจคร้านต้องตามลักษณะที่พระบรมศาสดาตรัสไว้ในสิงคาโลวาทสูตรมีใจความว่า



"คนเกียจคร้านมักอ้างว่า หนาวนัก ร้อนนัก เวลาเย็นแล้ว ยังเช้าอยู่ หิวนัก กระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน"

คนที่มีลักษณะเช่นนี้ มักทำอะไรไม่สำเร็จลาภยศที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น ที่มีอยู่แล้วก็เสื่อมทรามไป แต่ถ้ามีขันติก็กำกับอยู่ก็จะข่มใจขับไล่ความเกียจคร้านนั้นเสีย ทนตรากตรำ ทำกิจการให้สำเร็จ ไม่ยอมย่อท้อต่อความยากลำบาก อาจตั้งต้นได้ในลาภยศชื่อเสียงสุขกายสุขใจ ถึงจะเหน็ดเหนื่อยในเวลาทำงาน ภายหลังย่อมได้ผลแห่งความเหน็ดเหนื่อย กล่าวคือการงานที่ประกอบนั้นสำเร็จด้วยดี ทำให้เกิดปิติโสมนัสความชื่นบาน เพราะนึกถึงกิจการที่ทำมานั้น พระบรมศาสดาของเราทั้งหลาย จึงได้ตรัสผลของบุคคลที่อดทนโดยนิพนธ์พุทธสุภาษิตว่า

"เมื่อผู้ใดทำกิจของบุรุษ ไม่สำคัญว่าหนาวและร้อนยิ่งกว่าหญ้า ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจากสุข ขันติมีลักษณะดังกล่าวมานี้ได้ชื่อว่าทนตรากตรำ"



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 19 ม.ค. 2006, 11:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความอดทนต่อทุกขเวทนาอันเกิดเพราะเจ็บไข้ด้วยประการต่าง ๆ อย่างแรงกล้า ไม่แสดงอาการทุรนทุรายได้ชื่อว่า ทนลำบาก



คนเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาไม่เลือกว่าท่านผู้ใดเจ็บไข้โรคภัยบีบคั้น แสดงกิริยาแปรผัน ผู้นั้นได้ชื่อว่าไม่อดทน ท่านว่าเป็นผู้หลง เพราะไม่มีสติสัมปชัญญะที่จะทำใจให้มั่นคง ความอดทนต่อความเจ็บไข้เป็นปัจจัยไม่ให้เสียสติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นคุณควรต้องประสงค์ในมรณสมัย



คนเราเมื่อถึงคราวจำเป็นจะต้องละโลกก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมดา เวลานั้นถ้ามีสติสัมปชัญญะอดกลั้นทุกขเวทนา ไม่หวาดหวั่นต่อมรณภัยอันจะมีมาถึง ย่อมทำกิจที่ควรทำในที่สุดได้สำเร็จ เป็นที่สรรเสริญของนักปราชญ์ดังสมเด็จพระบรมศาสดาของเราทั้งหลาย ครั้นเมื่อทรงประชวรหนักใกล้จะเสด็จนิพพาน สุภัททปริพาชกจะเฝ้าเพื่อรับพระโอวาท ยังทรงอนุญาติให้เฝ้าโดยไม่เห็นแก่ความลำบาก ทรงสั่งสอนให้ได้รับผลตามที่มุ่งหมาย ที่สุดก็ยังมีพุทธพจน์ตรัสสั่งภิกษุทั้งหลายว่า



เราขอเตือนท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาท



พระโอวาทนี้สอนให้รู้จักความธรรมดาของสังขาร มิให้แสดงกิริยาทุรนทุรายในเวลาที่สังขารนั้นผันแปร กิจอันใดเป็นคุณประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น ให้ทำกิจการนั้นให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาท พระจริยวัตรของสมเด็จพระบรมศาสดาเป็นที่ย่าจับใจ พระองค์ได้ทรงทำกิจอันเป็นหน้าที่ของพระองค์ให้สำเร็จบริบูรณ์จนถึงที่สุด กิริยาที่ทนต่อความเจ็บไข้ดังพรรณามา ได้ชื่อว่า ทนความลำบาก



ความอดทนต่อความหมิ่นประมาทที่ผู้อื่นกระทำ มีกล่าวคำเสียดสีเป็นต้น ชื่อว่า ทนเจ็บใจ ข้อนี้ได้ชื่อว่าขันติโดยตรง เป็นปัจจัยไม่ให้ประพฤติผิดพลั้งด้วยกำลังโทสะปราบปรามจิตใจไม่ให้ผลุนผลัน ทำให้เป็นผู้หูหนักใจหนัก ผู้ที่ขาดคุณข้อนี้ย่อมเป็นคนผลุนผลันใจเร็วด่วนได้ แสดงกิริยาวาจาเป็นที่หน้าเกลียด อาการเช่นนั้นไม่ควรกระทำ เมื่อรู้สึกตัวภายหลังก็จะเกิดความเสียใจ ว่าทำอย่างนั้นพูดอย่างนั้นไม่ดีไม่งามไม่พอดีเลย ไม่ทำไม่พูดเสียดีกว่า จะเห็นความหน้าเกลียดด้วยตนเองความมัวหมองก็จะเป็นมลทินอยู่กับใจไม่รู้จักหาย



ส่วนที่มีขันติอดกลั้นไม่แสดงกิริยาแปรผันในเวลาที่สบอารทณ์อันเป็นที่ไม่พึงใจ ย่อมมีใจชื่นแช่มอยู่เสมอเป็นที่สรรเสริญของนักปราชญ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ดังนิพนธ์ภาษิตของสรภังคดาบส เมื่อแสดงทำแก่ท้าวสักกเทวราช กล่าวไว้ว่า

บุคคลฆ่าความโกธรได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศกในการไหน ๆ ฤาษีทั้งหลายย่อมสรรเสริญ การละความลบหลู่บุญคุณท่าน บุคคลพึงอดกลั้นคำหยาบที่เขากล่าของคนทุกประเภท สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวคำอดกลั้นนั้นว่า เป็นคุณธรรมอย่างสูง

ภาษิตนี้อธิบายว่า คนเราจะเศร้าโศกคับใจ ก็ตัวจิตคิดอาฆาตอันเกิดแต่ความโกรธเป็นมูล เมื่อความโกรธไม่มี ความโศกจะมีที่ไหน เพราะสภาพทั้งหลายย่อมเกิดแต่เหตุ ไม่มีเหตุ ผลก็ไม่มี เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ฆ่าความโกรธได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก

ความลบหลู่บุญคุณที่เขาทำไว้แก่ตน คือความเป็นคนอกตัญญู เป็นเครื่องหมายของอสัตบุรุษ มีอยู่ในผู้ใดย่อมเป็นมลทินแก่ผู้นั้น ทำให้เป็นคนมัวหมอง น่าเกลียดทั้งทางโลกและทางธรรม ให้ละเสีย พึงบำรุงอัธยาศัยให้ตั้งอยู่ในคุณธรรม คือความเป็นผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำไว้แล้วแก่ตน แม้นิดหน่อยก็ไม่ลืม เมื่อมีโอกาสก็ทำบุญคุณของท่านให้ปรากฏ กล่าวคือทำการตอบแทนตามที่ตนจะทำได้ นี้เป็นลักษณะของสัตบุรุษ เป็นที่สรรเสริญของนักปราชญ์ ทั้งในพุทธกาลและนอกพุทธการ ตัวอย่างดังในภาษิตนี้ คนเรามีคุณสมบัติต่าง ๆ กัน สูงกว่ากันโดยชาติสกุลก็มี ทรัพย์สมบัติก็มี ยศศักดิ์บริวารก็มี ความรู้ความสามารถก็มี เพราะฉะนั้นจึงสูงกว่ากันเป็นขั้น ๆ ตามโลกนิยม สูงกว่าก็มี เสมอกันก็มี ต่ำกว่าก็มี



ในเหล่าคนนั้นมีอัธยาศัยและความประพฤติไม่เสมอกันคนชั้นสูงมีเมตตากรุณาแก่ผู้น้อยก็มี กดขี่ด้วยอำนาจก็มี คนเสมอกันประพฤติสม่ำเสมอกันก็มี คอยเอาเปรียบแก่กันก็มี คนชั้นต่ำที่เสงี่ยมเจียมตัวก็มี ที่หยาบคายก็มี เพราะฉะนั้นต้องมีความอดทนต่อคนทุกชั้น



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 19 ม.ค. 2006, 11:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อดทนต่อโอวาทของคนชั้นสูง ย่อมทำตนให้เจริญด้วยความรู้และความพฤติ แม้ถึงกดขี่ด้วยอำนาจ อดทนไว้ได้ก็ยังคงเป็นคุณรักษาตนเองให้พ้นภัย



อดทนต่อความบีบคั้นของคนที่เสมอกันก็นับว่าดี เป็นทางป้องกันมิให้เกิดวิวาทระหว่างกันได้ เมื่อเขาเห็นความดีของตนก็จะเกิดความเลื่อมใส รู้สำนึกตน กลับเป็นคนดีได้ เช่นนั้นชื่อได้ว่าได้ชัยชนะอย่างประเสริฐ ต้องตามพุทธภาษิตที่ตรัสสอนไว้ว่า

พึงชนะความไม่ดีของเขาด้วยความดีของเรา



อดทนถ้อยคำที่กล่าวล่วงเกินของคนที่ต่ำกว่า ซึ่งไม่มีหนทางที่จะต่อสู้ได้ มีผลดีทุอย่างประเสริฐสุด เหตุฉะนี้ท่านจึงสอนไว้ว่า พึงอดทนถ้อยคำที่กล่าวล่วงเกินของคนทุกประเภท



ความอดทนมีผลดีทุกอย่าง แต่จะนับว่าเป็น ขันติความอดทนอดกลั้นนั้น ต้องอดได้โดยใจที่เป็นธรรม ไม่ใช่เพราะความกลัว ผู้ใดถูกเขาดูหมิ่นด้วยแสดงอาการทางกายหรือกล่าววาจาหยาบช้า ได้ความเจ็บใจ แต่ไม่อาจทำตอบเขาได้ด้วยประการใดประการหนึ่ง จำเป็นต้องนิ่ง ผู้นั้นไม่ได้ชื่อว่าประกอบด้วยขันติ คือความอดกลั้น หากผู้ใดถูกดูหมิ่นเช่นนั้น แม้ตนสามารถทำตอบเขาได้ แต่อดกลั้นไว้ด้วยความคิดเห็นโดยอุบายที่ชอบ ผู้นั้นได้ชื่อว่าประกอบด้วยขันติ เป็นที่สรรเสริญของนักปราชญ์ พึงเห็นตัวอย่างดังตำนานที่ท่านเล่าไว้



ครั้งเกิดสงครามระหว่างเทวดากับอสูร พวกเทวดาได้ชัยชนะ ควบคุมนำท้าวเวปจิตติสุรินทร์ไปสู่สำนักท้าวสักกเทวราช เธอด่าและปรามาสด้วยถ้อยคำหยาบคายต่างๆท้าวสักกเทวราช ผู้มีชัยชนะไม่ทรงนำถ้อยคำนั้นไว้ในใจ เพราะท้าวเธอมีอัธยาศัยมั่นคงในขันติโสรัจจะมานาน ครั้งนั้นมาตลีเทวบุตรคิดว่า ท้าวสักกเทวราชนี้ อดทนคำหยาบนี้ได้เพราะกลัวหรือประกอบด้วยขันติความอดกลั้น จึงกราบทูลถามเนื้อความนั้น ท้าวเธอตรัสตอบใจความว่า



เราอดทนต่อท้าวเวปจิตติ ไม่ใช่เพราะกลัว ไม่ใช่เพราะสู้ไม่ได้ ประโยชน์ใดจะยิ่งกว่าขันติไม่มี ผู้ใดเป็นผู้มีขันติเป็นกำลังย่อมอดทนอดกลั้นต่อคนทุรพลได้เป็นนิตย์



ทางพระศาสนา สมเด็จพระบรมศาสดาของเราทั้งหลายก็ทรงสรรเสริญโดยประการต่างๆ แม้พระองค์เองก็มั่นคงในคุณข้อนี้ แม้ถูกเขาด่า เขาบริภาษสักเท่าใดก็ทรงแนะนำสั่งสอนเขาให้ได้บรรลุมรรคผลเป็นอันมาก ความอดทนมีลักษณะดังกล่าวมานี้มีชื่อว่า ทนเจ็บใจ



ขันติ ๓ ประเภท ดังกล่าวมานี้ให้ผลดีคือ



ความทนตรากตรำ ย่อมเป็นปัจจัยให้ทำงานสำเร็จ ได้ทรัพย์สมบัติ ยศศักดิ์ชื่อเสียง เป็นผลบำรุงตนและหมู่คณะให้รุ่งเรืองไพศาล

ความทนลำบาก ย่อมเป็นปัจจัยมิให้เสียสติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นคุณควรต้องประสงค์ในเวลาจำเป็น



ความทนเจ็บใจ ย่อมเป็นปัจจัยไม่ให้ประพฤติผิดพลั้งด้วยกำลังโทสะ สกัดกั้นกายวาจามิให้แสดงกิริยาแปรผัน ซึ่งเป็นอาการน่าเกลียดน่าอาย




การรักษามารยาทให้เรียบร้อย ได้ชื่อว่า โสรัจจะ พูดสั้นๆคือ ความเสงี่ยม ข้อนี้ต้องมีเป็นคู่กัน ถ้ามีแต่ความอดทนอย่างเดียวไม่รู้จักรักษากิริยามารยาท กายวาจาก็จะไม่เรียบร้อยต้องตามความนิยม เมื่อมีโสรัจจะเข้ากำกับคู่กัน ย่อมทำให้งามทั้งภายในและภายนอก แม้สาธุชนก็ยึดธรรมข้อนี้เป็นหลัก ต้องทนตรากตรำทำกิจให้สำเร็จตามหน้าที่ของตน เวลาเจ็บไข้ไม่ทำใจเสาะ ต้องอดทน ทำใจให้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ จึงจะถูกต้องตามลักษณะของสาธุชน ท่านต้องเป็นผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำที่แสลงหู ไม่ทำใจมห้ผลุนผลันในเมื่อยังไม่ถึงเวลา ซึ่งเป็นกิริยาทำให้เสียการ ต้องเป็นผู้รักษากายวาจา รักษามรรยาทให้ให้ถูกต้องตามวินัยของตน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะบำรุงตนและหมู่คณะของตนให้รุ่งเรืองไพศาลเป็นที่สรรเสริญของนักปราชญ์ทั้งทางโลก และทางธรรม ดังพรรณนามา



จะเป็นใครก็ตาม เมื่อเกิดความโกรธ ความงามจะด้อย และยิ่งขาดธรรมะ คือ ขันติ โสรัจจะ แล้วจะหมดงามทันที







คัดลอกมาจาก:



หนังสือกฎแห่งกรรม เล่ม 18



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
I am
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 ม.ค. 2006, 8:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ.. ครับ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง