Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การทำบุญให้ทาน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2004, 5:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การอธิษฐาน






ปัญหาของคนอยากได้บุญมาก มักจะถามว่า เวลาทำบุญควรจะอธิษฐานขออะไรไหม ท่านที่เคร่งวิชาการจะสอนว่าไม่ควรจะอธิษฐานขอ เพราะเป็นความโลภ บางคนเลยเถิดไปถึงกับว่า ตักบาตรทัพพีเดียว ขอสวรรค์ เป็นการค้ากำไรเกินควร ข้อนี้มีข้อมูลให้ท่านเลือกพิจารณาดังนี้





1.เส้นทางตรงเข้มข้น ท่านจะสอนว่า ให้อธิษฐานดังนี้





“ขอให้บุญกุศลที่ข้าพเจ้าทำในครั้งนี้ จงเป็นปัจจัยให้ถึงพระนิพพานเถิด “





ความหมายของท่านก็คือ เอาพระนิพพานตั้งไว้เป็นหลักชัย ทีนี้เมื่อเราทำบุญ ย่อมมีผลบุญอยู่แล้ว ก็ให้ผลจัดแจงให้เราเองจะพาไปยังไงก็ตาม เช่น ทำให้ชาติหน้ารวย หรือพอมีอันจะกิน ทำให้มีเวลาไปปฏิบัติธรรม จนกว่าจะได้บรรลุ เราไม่ต้องไปอธิษฐานขอปลีกย่อย ระหว่างชาติต่าง ๆขอให้รวย ขอให้รวย ขอให้ได้พบครูธรรมะ อะไรให้วุ่นวายไป ปล่อยให้กรรมจัดแจงแต่ผู้เดียว





การเอ่ยคำอธิษฐานแบบนี้ จะได้ตัดความเสี่ยงที่จะเป็นบาปไป เช่น เดี๋ยวเราจะไปขอให้รวย ๆ ( แต่ไม่ได้ “ เพื่อจะได้มีเวลาไปปฏิบัติธรรม “ ขึ้นมา ก็ยุ่งละซี ) เป็นโลภกิเลสไป เขาเรียกว่า ทำบุญปนบาป ทำให้บุญไม่บริสุทธิ์





2. เส้นทางอ่อนละมุน ด้านนี้ ท่านจะสอนว่า อธิษฐานได้แต่ต้องเข้าใจให้จบกระบวนความ คือ อันว่าปุถุชนนี้ จะลัดนิ้วมือเดียวไปพระนิพพานนั้นลำบาก ก็ค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าการ





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2004, 5:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อธิษฐานจะเป็นความโลภ ท่านว่า อาศัยโลภละโลภ อาศัยตัณหาละตัณหา คือ อาศัยตัณหา ( ความอยากทำบุญ ) ละตัณหา ( อยากไปสวรรค์ ) เหมือนเอามือล้างมือ เวลาจะล้างมือซ้าย ต้องอาศัยมือขวามาล้าง อาศัยกันไปพลาง ๆ ก่อน





คือ ถ้าไม่อยากไปสวรรค์ ก็ไม่อยากทำบุญ เลยอดทำบุญ





อย่างน้อย การขออะไร ในตอนแรกเริ่มปฏิบัติธรรม ก็คือ เรายังอุดมไปด้วยกิเลส พอทำบุญศึกษาธรรมไปนาน เข้าใจธรรมะ เห็นบุญที่สูงขึ้น ๆ ต่อไปก็เลิกขอไปเอง ขั้นอนุบาลก็ขอไปก่อนได้





ในพระไตรปิฎกจึงมีนิทานที่แสดงถึงอานิสงส์ของการอธิษฐานเอาไว้มากมายหลายเรื่อง เช่น





หญิงผู้หนึ่ง ชี้ทางให้พระภิกษุผู้มาหาร้านขายน้ำผึ้ง เพื่อเอาไปปรุงยาให้แก่ภิกษุป่วย นางชี้ทางให้ และตามไปดูว่า เจ้าของร้านจะถวายหรือไม่ ถ้าไม่ถวายนางจะซื้อถวายเอง เจ้าของร้านได้ถวายน้ำผึ้งจนล้นบาตรและอธิษฐานขอให้ได้ไปเกิดเป็นจักรพรรดิ นางจึงอธิษฐานว่า ถ้าคนขายน้ำผึ้งเป็นจอมจักรพรรดิเมื่อใด ขอให้นางไปเกิดเป็นมเหสีของท่าน และก็ได้สมหวังทั้งสองคน





นี่แค่ชี้ทางไปร้านน้ำผึ้งเท่านั้นนะ โอ้โฮ ! ว้าว





แต่ในบทธรรมที่สูงขึ้น ๆ ท่านก็จะเริ่มสอนให้เราละวางแม้ความดี บุญ – สวรรค์ ไม่ได้แปลว่าไม่ต้องทำดี แต่แปลว่าทำดีแล้วอย่ายึดติดกับความดีที่ทำ อย่าห่วงบุญห่วงสวรรค์ เ พราะเหตุว่า ถ้าหลงอยู่ในบุญหรือสวรรค์ ก็ยังต้องเหน็ดเหนื่อยเร่าร้อน กระวนกระวาย อยู่ด้วยการเสวยสุข ความดี ความพอใจ เมื่อบุญหรือสวรรค์ต้อง



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2004, 5:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เปลี่ยนแปรไปเพราะเป็นอนิจจัง ก็จะต้องมีความอาลัย ร่ำไรรำพัน เศร้าโศก เสียใจ อยากจะให้คงมีไว้ตลอดไป จึงกล่าวว่า ถ้ามัวเมาอยู่แต่ในบุญหรือสวรรค์อย่างไม่ลืมตาแล้ว บุญหรือสวรรค์นั่นแหละจะกลายเป็นนรก ให้เราร้อนใจอีก ท่านจึงสอนให้ทำดี แต่อย่าติดดี





ลูกศิษย์หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เรียนว่าที่ท่านช่วยเหลือชาวบ้านจนได้โบสถ์ใหญ่โต เป็นบุญมาก ท่านตอบว่า





“ ที่เราสร้างนี่ก็สร้างเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์สำหรับโลก สำหรับวัดวาศาสนาเท่านั้นแหละ ถ้าพูดถึงเอาบุญ เราจะมาเอาบุญอะไรอย่างนี้ “





เพราะท่านสงบจิตไปถึงไหน ๆ แล้ว บุญกุศลแบบปุถุชนนี้ไม่ได้เป็นสาระอีกต่อไป









 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2004, 5:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การให้ผลของบุญ






ผลบุญของการปฏิบัติธรรมนั้น มากน้อยเป็นลำดับตามการปฏิบัติดังนี้ คือ ทาน ศีล ภาวนา ปัญญา





ทาน คือ การทำบุญให้ทาน เป็นผลบุญน้อยที่สุด





ศีล คือ การรักษาศีล ได้บุญมากกว่าให้ทาน





ภาวนา คือ การสวดมนต์ , การนั่งสมาธิ , การสงบจิตใจ ได้บุญมากกว่าศีลอีก





ปัญญา คือ การพิจารณาตามรู้ตามความเป็นจริงของสัจธรรม รู้ไตรลักษณ์ คือ อนิจจังไม่เที่ยง ทุกขังเป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน รู้หลักกรรมคือ สัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน และย่อมเป็นไปตามกรรม รู้แล้วพิจารณาให้เข้าใจไปจนถึงจิตใจของเรา คลายความยึดมั่นถือมั่นลงได้ ข้อนี้เป็นบุญมากที่สุด





การใช้ปัญญาพิจารณานี้ ก็ทำได้ตลอดเวลา เช่น เราออกไปเดินเล่น เห็นใบไม้ร่วง เราก็พิจารณาว่า สังขารไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป ใบไม้นี้มันแก่แล้วก็ร่วงลง





เห็นหมาเดินมา ยังพิจารณาได้เลย ชาติก่อนมันคงทำไม่ดีอะไรสักอย่าง ชาตินี้เกิดมาเป็นหมา แต่คงทำบุญไว้เยอะเหมือนกัน เป็นหมาของคนรวย เขาจึงพามันมาตัดขนสวยเช้งกะเด้ะ ส่วนเจ้าหมาตัวนั้นหิวโซมาเชียว ชาติก่อนมันคงขี้เหนียวมากไม่ยอมแบ่งปันใคร เฮ้อ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม





เนี่ย พิจารณาไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็บรรลุเองล่ะ เชื่อมั้ย ถ้าเชื่อก็ทำ ไม่เชื่อก็…… ทำเถอะ นะ





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2004, 5:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีการอธิบายผลบุญในอีกรูปแบบหนึ่งว่า การทำทานทำให้ (ชาติหน้า ) รวย การรักษาศีลทำให้สวย การมีสมาธิ ทำให้จิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่านมาก การมีปัญญาทำให้ฉลาด ดังนั้น เราจึงควรทำทั้ง 4 อย่างเพื่อเกื้อxxxลกันและกัน เพราะเรายังต้องเกิดอีกหลายชาติมากมาย ถ้าเราเกิดเป็นคนรวยที่โง่ ก็ศึกษาธรรมไม่ได้ มัวแต่ทำบาปต่อไป ทำให้ต้องเกิดหลายชาติมากขึ้น ถ้าเราเกิดมาฉลาดแต่ยากจนมาก วัน ๆ ต้องทำงานหนัก ไม่มีโอกาสศึกษาธรรมะ ไม่มีโอกาสได้พบธรรมะ ก็ไม่อาจใช้ความฉลาดช่วยให้เกิดผลดีทางธรรมะแก่ตัวเอง ถ้าเรารวย ฉลาด แต่ฟุ้งซ่านมาก ก็บ้า ๆ บอ ๆ เอาเงินไปจัดงานแฟนซีสนุกสนาน กินเหล้าเมายา ปล่อยชีวิตไปเหมือนใบไม้ลอยน้ำ ไร้ค่าไร้ความหมาย ถ้าเราทำทั้ง 4 อย่าง ก็ทำให้เราไม่จนมากเกินไป ไม่โง่มากเกินไป ไม่ฟุ้งซ่านมากเกินไป ก็พอจะพบธรรมะและมีสติปัญญาพอศึกษาให้เข้าใจได้ ได้พาตัวเองพัฒนาขึ้นสู่ระดับที่ดีต่อไปได้เรื่อย ๆ





ดังนั้น เราก็ควรทำทั้ง 4 อย่าง และอย่างสม่ำเสมอ ด้วยจิตใจที่แน่วแน่มั่นคง เชื่อในผลของความพยายามกระทำดี 4 ข้อ





และถ้าเราทำดีในชาตินี้อย่างมีคุณภาพและปริมาณที่พอเพียงแล้ว เราย่อมหวังได้ว่าชาติไหน ๆ ในอนาคตกาลของเราก็ย่อมมีสิ่งดี ๆ รอเราอยู่อย่างแน่นอน ตามกฎของกรรมและผลของกรรมนั่นเอง









 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2004, 5:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมะรอบกองไฟ





โดย ขวัญ เพียงหทัย






 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว

ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 ม.ค. 2005, 2:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 12:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ท่านเด็กบ้านยางสีสุราช ประทับใจในความเพียรค่ะ เจริญในธรรมนะคะ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง