Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ตายเหมือนหมู (พระมหาณรงค์ศักดิ์ ฐิติยาโณ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
kong_014
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 30 พ.ย. 2006
ตอบ: 37
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 07 พ.ค.2007, 12:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตายเหมือนหมู

ในสมัยพุทธกาลมีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อนายจุนทสูกริก รูปร่างหน้าตาดีมาก ไม่ว่าเขาจะไป แห่งหนใด เมื่อหญิงสาวเห็นเขาแล้ว ทุกคนก็ต้องการที่จะได้มาเป็นคู่ครอง เมื่อนายจุนทสูกริกมีอายุได้ ๒๐ ปี เขาแต่งงานกับหญิงสาวผู้โชคดีซึ่งมีอายุเพียง ๑๘ ปี เมื่อทั้งสองแต่งงานแล้วก็ได้แยกออกมาจากบ้านเดิมของพ่อแม่ มาปลูกบ้านใหม่สร้างครอบครัวอยู่ในหมู่บ้านนั้น

นายจุนทสูกริกประกอบอาชีพด้วยการเลี้ยงหมู ทั้งฆ่ากินเองและขาย เมื่อหมูที่เลี้ยงไว้โตได้ที่แล้ว เขาจะจับหมูตัวนั้นมามัดที่ขาทั้ง ๔ และใช้ค้อนเหล็กตีลง ไปที่หัวของหมู เมื่อหมูถูกทุบด้วยค้อนเหล็กก็ส่งเสียง ร้องดังโหยหวนด้วยความเจ็บปวด เขากระหน่ำตีหมูอยู่ ๒-๓ ครั้ง เพราะรู้ว่าวิธีนี้จะทำให้หมูมีเนื้อที่หนาขึ้นและมีเลือดอันพอดี จากนั้นเขาจึงต้มน้ำให้เดือด แล้วใช้กระบวยตักน้ำร้อนที่กำลังเดือดพล่านนั้น เทกรอกลง ไปในปากหมู เพื่อขับมูตรคูถทั้งหลายในท้องหมูให้ออก มาทางทวาร

เมื่อหมูถูกกรอกน้ำร้อนอันเดือดพล่านเช่นนั้นก็ดิ้นพล่าน ร้องโหยหวน จนขาดใจตาย แต่นายจุนทะก็ยังกรอกน้ำร้อนต่อไปจนกระทั่งเห็นว่าข้างในของหมูสะอาดดีแล้ว จึงเอาน้ำร้อนราดจนทั่วตัวหมู เพื่อลอกหนังดำๆ ออกไป แล้วนำคบหญ้ามาจุดไฟลน ขนหมูให้หลุด จากนั้นจึงเอามีดอันคมกริบตัดคอหมู และนำภาชนะมารองเลือดจนเต็มแล้วจึงยกขึ้นดื่มกิน และตัดเอาเนื้อที่อ่อนนุ่มและตัดเอามันที่อ่อนมาคลุกเคล้ากับเลือดหมู นำไปย่าง เพื่อกินกันในครอบครัว ส่วนเนื้อหมูที่เหลือได้นำไปขายที่ตลาดในเมือง

นายจุนทะประกอบอาชีพเลี้ยงหมู และชำแหละหมู ขายเพื่อเลี้ยงภรรยาและลูกของตนตลอดมาถึง ๕๕ ปี ถึงแม้ว่าเขาจะอยู่ไม่ไกลจากที่ประทับของพระพุทธเจ้าก็ตาม แต่ก็ม่เคยคิดที่จะทำบุญหรือคิดที่จะใส่บาตรด้วยข้าวสักทัพพี ตรงกันข้ามกับภรรยาและลูกของเขาซึ่งพอตกเย็นได้เข้าไปฟังธรรมทุกวัน

วันหนึ่งนายจุนทะได้ล้มป่วยอย่างกะทันหัน เขารู้สึกร้อนผ่าวไปทั่วร่างกายทั้งภายในภายนอกความร้อนได้ทวีขึ้นทุกขณะ ดุจดังไฟนรกที่กำลังแผดเผาไปทั่วร่าง เขาร้องครวญครางด้วยน้ำเสียงคล้ายหมู และดิ้นพล่านคลานไปรอบๆ ห้องเหมือนหมู เมื่อเขาดื่มน้ำเพื่อหวังดับร้อนในกาย น้ำที่ไหลลงคอกลับเปรียบเสมือนน้ำร้อนที่ยิ่งเพิ่มความร้อนทบเท่าทวีคูณ

นายจุนทะตะโกนร้องดังลั่นด้วยความเจ็บปวด ราวกับถูกทุบด้วยค้อนขนาดใหญ่ และส่งเสียงร้องอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา กระทั่งเสียงไป รบกวนบ้านใกล้เรือนเคือง จนแทบไม่มีใครได้หลับได้นอน และเสียงนั้นยังดังไปถึงสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ นายจุนทะส่งเสียงร้องและคลานอยู่เช่นนั้นตลอด ๗ วัน ๗ คืน พอวันที่ ๘ เขาก็สิ้นใจตาย และไปเกิดในอเวจีมหานรก !!

ในเวลาเย็นวันนั้นพระภิกษุทั้งหลายได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้กราบทูลถามถึงเรื่องนายจุนทะ พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสกับพระภิกษุทั้งหลายว่า นายจุนทสูกริกนั้นเขาได้รับกรรมอัดเผ็ดร้อน ตามกรรมของเขาที่ได้ทำในชาตินี้และได้รับผลแห่งกรรมในโลกหน้า พระพุทธองค์ได้ตรัสต่อไปอีกว่าชื่อว่าผู้ประมาทแล้ว จะคฤหัสถ์ก็ตาม จะเป็นบรรพชิตก็ตาม ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง ว่า

“ผู้ทำบาปเป็นปกติ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไป แล้วย่อมเศร้าโศก ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง เขาเห็นกรรมเศร้าหมองของตนเองแล้วย่อมเศร้าโศกเขาย่อมเดือดร้อน”

บาป นั้นคือความชั่ว ที่บุคคลได้กระทำ ทั้งการกระทำที่เป็นกายทุจริต เช่น การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม ฯลฯ การกระทำที่เป็นวจีทุจริต เช่น พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ ฯลฯและการการทำที่เป็นมโนทุจริต เช่น คิดอาฆาตพยาบาท คิดปองร้าย คิดไม่ซื่อ เป็นต้น คนที่ได้ทำบาปดังนี้ย่อม เกิดความเศร้าโศกเศร้าหมองในจิตใจ หน้าตาไม่ผ่องใส เพราะกรรมชั่วที่ตนได้กระทำแล้วนั่นเอง

เห็นได้ว่ากรรมที่บุคคลทำแล้ว แม้จะมีคนเห็นก็ตาม ไม่มีคนเห็นก็ตาม ทุกคนย่อมหนีไม่พ้นกรรมเหล่านั้น ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนก็ตาม กรรมเหล่านั้นจะติดตามตัวไป เหมือนเงาแดดติดตามตัวเราไปทุกแห่งหน กรรมนั้นเป็นการจำแนกสัตว์ทั้งหลาย ทุกคนเกิดมาด้วยกรรมของตนเอง ทุกคนที่ได้รับกรรมอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะการกระทำ

เราอาจเห็นได้ว่าคนทำกรรมชั่วแล้ว ทำไมจึงไม่เห็นผล ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะในอดีตเขาทำกรรมดีไว้ และกรรมดียังให้ผลอยู่ แต่ถ้ากรรมดีหมดแล้ว กรรมชั่วก็จะปรากฏแน่นอน ทุกคนไม่มีใครที่จะหนีกรรมไปได้ เพราะกรรมนั้นจะต้องส่งผลอย่างแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว


(จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 78 เม.ย. 50 โดย พระมหา ดร.ณรงค์ศักดิ์ ฐิติยาโณ วัดใหม่ยายแป้น) ผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤษภาคม 2550 16:36 น.
 

_________________
ไม่กล่าวโทษผู้อื่น กล่าวโทษตนเองไว้เสมอ มุ่งปฎิบัติให้ถึงซึ่งพระนิพพาน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailYahoo Messenger
ไม้อ่อน
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2007
ตอบ: 62

ตอบตอบเมื่อ: 07 พ.ค.2007, 8:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนา สาธุ
 

_________________
Image
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง