Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เทสโกวาท100 ปี บทที่ว่าด้วยเรื่องจิตใจ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
poivang
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 ธ.ค.2005, 6:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



37133713.jpg


ความรู้เรื่องจิตใจเรียกว่า “วิชชา”

พระพุทธศาสนาสอนให้น้อมเข้ามาพิจารณาในตัวของเรานี้

ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็อยู่ในตัวของเรา

สอนออกไปนอกนั้น นั่นไม่ใช่พุทธศาสนา มันเป็นโลก

เห็นอย่างไรเรียกว่าเห็นธรรม

เห็นภายนอกด้วยตาว่าเราเป็นก้อนทุกข์

ทั้งเห็นภายใน เห็นชัดด้วยใจด้วย

เห็นเป็นธรรมทั้งหมด เราต้องพิจารณาให้ถึงสภาวะ

ตามเป็นจริงของสังขาร ให้เห็นชัดอย่างนั้นว่า

มันเป็นเพียงสักแต่ว่าธาตุ เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป

มันไม่ใช่ตัวตนของเรา เรามัวเมาก็หลงนะซิ

หลงสมมติว่าเป็นตัวเป็นตน จิตธรรมชาติเป็นของผ่องใส

อาคันตุกะกิเลสมันพาให้เศร้าหมอง

ที่มาหัดทำสมาธิภาวนานี้ ก็เพื่อขัดเกลาให้กิเลสหมดสิ้นไป

เพื่อให้มันใสสะอาดคืนตามสภาพเดิม ให้เห็นจิตเห็นใจของตน

จิตเป็นอย่างไร ใจเป็นอย่างไร

ความรู้เรื่องของจิต ของใจนี่แหละ เรียกว่า “วิชชา” เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว



พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าถึงใจ

พระพุทธศาสนาจึงสอนให้เข้าถึงใจ

คือสอนถึงที่สุด คือเข้าถึงความบริสุทธิ์นั่นเอง

สุดนั่นก็คือ ที่สุดของทุกข์นั่นเอง

การเห็นใจของเรานั่นแหละ เป็นของสำคัญอย่างยิ่ง

เป็นของเลิศประเสริฐ เป็นสิ่งที่เราจะต้องให้รู้จักเรื่องของตน

ถ้าไม่เห็นเรื่องไม่เห็นใจของตนแล้ว ทำดีทำชั่วก็ไม่รู้ทั้งนั้น



อบรมใจ

พระพุทธเจ้าสอนให้อบรมใจ

คนใดได้มาอบรมใจ ใจสงบแล้ว

ทอดธุระปล่อยวางเสียซึ่งสิ่งต่างๆ ลงในปัจจุบันได้

จะเห็นชัดขึ้นมาภายในเลยว่า

ทางนี้เป็นทางเป็นไปเพื่อสันติโดยแท้



ปัญญาเป็นเครื่องเจียรไนใจ

ทำใจให้ผ่องใสต้องใช้ปัญญาละซิ

เหมือนกับเพชรนิลจินดา ที่เขาเอาแต่ดิน

เป็นของใสจริง แต่มันมีเศร้าหมอง

ต่อเมื่อไปเจียระไนเสียให้ละเอียดลงไป

มันจึงค่อยผ่องใสเต็มที่ฉันใด

“ใจ” ก็อย่างนั้นเหมือนกัน



ใจเป็นใหญ่

ใจเป็นใหญ่กว่าอะไรทั้งหมด

ถ้าเราคุมใจให้สงบ ไม่วุ่นวายส่งส่ายได้แล้ว

ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า

ปวดนั่นปวดนี่จะหายไปโดยไม่รู้ตัว



ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน

ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่สำเร็จด้วยใจ

ถ้าจะพูดภาษาไทยๆของเรา ก็เรียกว่าธรรมทั้งหลาย

เกิดปรากฏขึ้นที่ใจ รู้เฉพาะใจของตน (ปัจจัตตัง)

ฉะนั้นใจจึงประเสริฐกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง

เพราะใจเป็นผู้ให้สำเร็จกิจทุกกรณี



รู้จิตไม่ต้องรู้สิ่งอื่น

รู้อะไร ก็รู้จิตของเรานั่นละซิ ไม่ต้องไปรู้สิ่งอื่น

รู้สิ่งอื่นไม่สามารถชำระจิตของตนได้

รู้จิตของเรานี่แหละ จึงจะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์



สัจธรรมไม่ปรากฎแก่ผู้ไม่ฝึกใจ

ใจมีอันเดียว ไม่ได้มีมาก ที่ว่ามากๆนั้นเป็นอาการของใจต่างหาก

ผู้ที่ยังไม่ได้ฝึกอบรมชำระอาการของใจให้ยังเหลือหนึ่งแล้ว

สัจธรรมของจริงจะไม่ปรากฏให้เห็นเลย

จะเห็นก็แต่อาการของใจ คือ “กิเลส” นั่นแล



กิเลสทั้งหลายเกิดจากจิต

พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าถึงจิตถึงใจอันเดียว

กิเลสทั้งหลายเกิดจากจิต จิตเป็นผู้ยึดเอากิเลสมาไว้ที่จิต จิตจึงเศร้าหมอง

เมื่อจิตเห็นโทษของกิเลส สละถอนกิเลสออกจากจิตได้แล้ว

จิตก็ผ่องใสบริสุทธิ์ นี่เป็นหลักพระพุทธศาสนา

จิตเป็นตัวการของสิ่งทั้งปวง

จิตเป็นตัวการของสิ่งทั้งปวงหมด ท่านจึงให้สำรวมจิต



รู้เท่าทันจิต

พระพุทธศาสนาสอนให้เราสำรวมจิต คือระวังจิต เมื่อจิตมันจะคิดนึกอะไร

ไม่ว่าดีหรือชั่วให้รู้ตัวอยู่เสมอ ให้รู้เท่าทันมัน มิใช่รู้ตามจิต รู้ตามจิตไม่มีวันจะตามทัน

เมื่อรู้เท่าทันมันแล้ว มันก็จะอยู่นิ่งเฉย ไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่ง ไม่เป็นอดีตไม่เป็นอนาคต

อยู่เป็นกลางเฉยๆ ไม่เป็นบุญเป็นบาป



จิตเป็นของไม่มีตัวตน

จิตเป็นของไม่มีตัวตน ถ้าไม่มีหลักให้จิตยึด ก็จับจิตได้ยาก



ทำจิตให้เหมือนของที่อยู่ในลิ้นชัก

การพักจิต ทำความสงบตามกาลเวลา

เป็นการสร้างพลังของจิตได้เป็นอย่างดี

การพักจิตก็เหมือนการพักกายนอนหลับ

การงานที่เราทำไม่เสร็จค้างไว้ มันก็ไม่เห็นเสียหายไปไหน

จงทำจิตให้เหมือนของที่อยู่ในลิ้นชัก

เมื่อต้องการใช้ ก็ชักออกมาหยิบเอาไปใช้

เมื่อไม่ต้องการใช้ก็ปิดไว้เสีย



ความอยากทำใจให้ขุ่นมัว

ความอยากทำใจให้ขุ่นมัว น้ำขุ่นทำให้ไม่เห็นตัวปลา

ถึงแม้น้ำใสแต่ยังกระเพื่อมอยู่ ก็ไม่เห็นตัวปลาเหมือนกัน



จิตเป็นหนึ่ง

จิตเป็นหนึ่ง มันเป็นแก่นสารในตัวของเราแท้

สาระอันนี้ไปไหนก็ไปด้วย ไม่เหมือนเนื้อหนังมังสา

ส่วนต่างๆทุกอย่าง มันเป็นของปฏิกูล เปื่อยเน่า

มันเป็นเพียงธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น



ธรรมชาติของใจ

ธรรมชาติของใจแท้ไม่มีอะไรทั้งหมด

มีแต่ผู้รู้อย่างเดียว เรียกว่าธาตุรู้

ก็ว่าความนิ่งเฉยเป็นอาการของใจผู้รู้ เป็นตัวใจแท้



สติควบคุมจิต

มีจิตจึงค่อยมีสติ สติควบคุมจิต

เราควบคุมได้อย่างนี้เรียกว่า

มันอยู่ในอำนาจของเรา

เราไม่ได้ไปตามอำนาจของจิต เราก็ใช้มันได้ละซิ



จงพากันหาจิต

จงพากันหาจิตดู จิตคือผู้นึกผู้คิดผู้ส่งส่าย

อาการเหล่านี้ เป็นเครื่องปกปิดกำบังของจิต

เราจงพากันปล่อยวางเรื่องเหล่านี้

แล้วจะเห็นจิตผู้เป็นกลางของสิ่งทั้งปวง

และไม่มีอดีต อนาคต เฉยอยู่

คราวนี้เราจะให้คิดก็ได้ ไม่คิดก็ได้

นั่นแหละเห็นจิตของตนแล้ว

จงรักษาไว้ให้มั่นคงต่อไป



มอบจิตบูชาพระรัตนตรัย

จิตใจที่มันส่งส่ายไปในเรื่องต่างๆ นั้นนะ

ถวายให้เป็นการบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เสีย

ความโกรธ ความโลภ ความหลง ก็เอาบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เสีย

อย่าเอามาเป็นของเราเลย



ทำบุญภายในด้วยกุศลจิต

หาอุบายทำบุญ ด้วยบุญที่เกิดจากกุศลจิต เป็นการทำบุญภายใน

ไม่ใช่ทำบุญภายนอกด้วยวัตถุสิ่งของ

แต่เราทำบุญด้วยการสร้างกุศลจิต สร้างจิตที่ผ่องใสมีคุณงามความดี

เป็นจิตไม่ตระหนี่เหนียวแน่น จิตไม่เกิดโทสะ มานะ ทิฏฐิ

จิตไม่ประกอบด้วยกิเลส จึงเป็นบุญมหาศาลหาค่ามิได้ เกิดจากจิตภายใน

ถ้าเราทำอย่างนี้อยู่เสมอๆ ก็เป็นอยู่ทุกอริยาบท และเราก็เห็นบุญในตัวของเรา

ชมเชยบุญของเรา หรือการที่เราละความชั่วได้ เราไม่เก็บความชั่วไว้ในตัวเรา

อันนั้นก็เป็นบุญกุศลเกิดขึ้นที่จิต เราเองก็รู้สึกชื่นชมยินดีในตัวของเรา

จะพากันไปหาบุญที่ไหนอีก บุญไม่ได้อยู่นอกเหนือจิตใจนี้หรอก

ขอให้พากันสะสมบุญอย่างนี้ ขึ้นภายในจิต ของตนทุกๆคน



อำนาจจิต

โดยทั่วไป จิตบังคับให้เรากระทำทุกสิ่งทุกอย่าง เราอยู่ในอำนาจของจิต

เป็นไปตามวิสัยอำนาจของจิต คนปุถุชนมันต้องเป็นอย่างนั้น

เมื่อเรากำหนดสติควบคุมจิตได้แล้ว เราจึงไม่อยู่ในอำนาจของจิต

แต่จิตอยู่ในอำนาจของเรา



จิตเป็นผู้แสวงหากิเลส

กิเลสเกิดขึ้นที่จิต จิตนี้เป็นผู้ไปแสวงหามา

เมื่อเห็นเช่นนั้นแล้วก็หยุดแสวงหา

เมื่อจิตหยุดแสวงหา จิตก็รวมเข้ามาในใจ

คือตัวกลางๆ วางเฉย และรู้ตัวว่าวางเฉย



ถ้าจิตหยุดนิ่งเป็นกลาง

ถ้าจิตหยุดนิ่งเป็นกลางที่เรียกว่า “ใจ” แล้วก็เป็นอันว่าความคิดนึกปรุงแต่ง

ตลอดถึงบาป บุญคุณโทษ หยาบละเอียด ดีชั่ว สมมติ บัญญัติทั้งหมด เป็นไม่มีในที่นั้น



ผลจากใจที่สงบ

ถ้าใจของเราสงบแล้ว ใจจะผ่องใสเบิกบาน สามารถรู้คำสอนของพระพุทธเจ้าได้ถูกต้อง

โดยแท้จริงนั่นแหละ จึงเป็นไปเพื่อชำระจิตใจของตนได้โดยถี่ถ้วน



โรคของใจ

โรคเกิดจาก ใจจิตใจไม่ปกติ เกิดความหวั่นไหว เกิดความโลภ ความโกรธ

เกิดความเกลียด ความรัก ความชัง เรียกว่าโรคของใจ

โรคของใจนี่แหละ พระพุทธเจ้าสอนให้พากันรักษา ด้วยธรรมโอสถ

ปฐมพยาบาลขั้นแรกก็คือ ปล่อยทิ้งเสีย อย่าให้เป็นอารมณ์

อย่าคิดถึงเรื่องนั้น ทำใจให้สงบนิ่งอยู่ในที่เดียว

หากมันไม่อยู่ก็ให้นึกเอา พุทโธ เป็นต้น มาไว้เป็นอารมณ์ นี่เรียกปฐมพยาบาล



กรรมเกิดที่ใจ

กรรมที่ตนกระทำไว้แล้ว ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมชั่ว

ผลของกรรมนั้นย่อมเกิดที่ใจของตนเอง

มิใช่ผู้ทำกรรมผู้หนึ่ง เจ้ากรรมนายเวรอีกผู้หนึ่ง



ผู้รับผลกรรม

พูดตามข้อเท็จจริงแล้ว เราคือธาตุ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประสมกัน

เป็นก้อนขึ้นมาแล้วแตกสลายดับไปเท่านั้น ไม่มีสาระอะไรเลย

ใจเป็นผู้เข้ามาครองรูปอันนี้ จึงทำให้เคลื่อนไหวได้

เมื่อก้อนอันนี้แตกดับไปแล้ว ใจก็ไม่สามารถใช้ก้อนอันนี้ได้

กรรมคือสิ่งที่ใจใช้ให้ก้อนอันนี้ กระทำทั้งดีและชั่วนั้น

เมื่อก้อนอันนี้แตกดับแล้ว ใจย่อมรับกรรมนั้นแต่เพียงผู้เดียว



ทำทานด้วยจิตเมตตา

สอนให้ทำทาน การสละสิ่งของของตน ให้แก่สัตว์อื่นแลบุคคลอื่น

ด้วยจิตเมตตาปารถนาความสุขแก่ผู้อื่น ถึงวัตถุนั้นจะเป็นของน้อยนิดเดียวก็ดี

หากมากด้วยจิตเมตตา ก็จะเป็นของมากเอง



เมื่อศีลเข้าถึงจิต เข้าถึงใจ

เมื่อศีลเข้าถึงจิตเข้าถึงใจแล้ว เราไม่ต้องรักษาศีล ศีลกลับมารักษาตัวเราเอง



ความอิ่มใจคือบุญแท้

ตัวบุญแท้อยู่ที่ใจของเรา ความอิ่มใจนั่นแลเป็นตัวบุญแท้

ฉะนั้นจึงว่าบุญและบาปมีที่ตัวของเรา เกิดที่ตัวของเรา นอกตัวเราไม่มีหรอก



สงบวิเวกด้วยใจ

คนเราเกิดมาในเมืองมนุษย์ ต้องพบมนุษย์อยู่ร่ำไป

พระพุทธเจ้าสอนให้อยู่ด้วยความสงบ วิเวกด้วยใจ

อย่าไปยึดเอาเรื่องของคนอื่นมา ไว้เป็นอารมณ์ของใจ

แล้วก็จะวิเวกอยู่คนเดียว

ถ้าใจไม่สงบแล้ว จะอยู่ในป่าคนเดียว

มันก็ไม่สงบอยู่ดีนั่นเอง



ทำใจให้บริสุทธิ์ขณะนี้

เราไม่คิดถึงกรรมที่เราทำไว้และล่วงมาแล้ว

เอาปัจจุบัน ทำใจให้บริสุทธิ์ในขณะนี้

ไม่คิดถึงเรื่องในอดีต อนาคต

ถ้าไปคิดแล้วกลุ้มใจร้อนใจ

มันยิ่งสร้างกรรมไม่ดีต่อไปอีก

เมื่อเราลงปัจจุบันเดี๋ยวนี้แล้ว ไม่มีอะไรเลย



ธรรมชาติของใจ

ใจ ธรรมชาติของเดิมเขาผ่องใส แต่มาเศร้าหมอง เพราะสิ่งที่มาห่อหุ้ม

คือกิเลสที่จรมาต่างหาก ให้ชำระกิเลสนั้นออกไป

มันก็จะเหลือแต่ ใจที่ผ่องใสสะอาดบริสุทธิ์



แท้จริงจิตใจเป็นของใสสะอาด

อุตส่าห์พยายามให้เห็น ให้รู้จักตัวของเรา

ทุกคนพยายามตรวจดูตัวของตน

ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันเกิดที่ตัวของเรา

ครั้นถ้าเราไม่เห็นตัวของเราแล้ว

เราก็ไม่เห็น ความโลภ ความโกรธ ความหลง

แท้ที่จริงจิตของเราเป็นของใสสะอาด บริสุทธิ์

แต่เราไปยึดเอา ความโลภ ความโกรธ ความหลงมาใส่

มันก็เลยขุ่นมัวไปหมด



อิสระเหนือใจ

ใจเป็นของมีคุณประโยชน์มาก

หากเราจับใจไม่ได้ ก็ใช้ใจไม่ถูก

ฉะนั้นใจจึงบังคับเรา ไม่ใช่เราบังคับใจ

ที่ใจบังคับเราหมายความว่า

ใช้ให้เราโกรธได้ ใช้ให้เรารัก เราชัง เราเกลียดก็ได้

ใช้ให้เราหัวเราะ ร้องไห้ก็ได้ อันนี้เรียกว่า “ใจใช้เรา”

ถ้าหากเราควบคุมใจของเราได้แล้ว

ไม่ให้มันโกรธ ไม่ให้มันโลภ ไม่ให้มันหลง ไม่ให้มันชัง

หรือไม่ให้มันหัวเราะร้องไห้ ไม่ให้ทุกข์กลุ้มใจได้

นั่นแลจึงมีอิสระเหนือใจได้ เหตุนั้นใจจึงเป็นของดีมีค่า



ไม่เห็นใจห่างไกลพุทธศาสนา

คนเราก็มีใจกันทุกคน

กิเลสทั้งหลายเกิดจากใจ

บาปทั้งหลายก็เกิดจากใจ

บุญทั้งหลายก็เกิดจากใจ

แต่เรายังไม่ทันเห็นใจ

จึงว่ายังห่างไกลจากพุทธศาสนามาก



 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง